การขยายพันธุ์พืชมีวิธีใดบ้าง

การขยายพันธุ์พืช เป็นการเพิ่มปริมาณจำนวนต้นพืชให้มากขึ้น และยังคงรักษาคุณลักษณะเดิมไว้ ไม่ให้เปลี่ยนแปลง โดยใช้วิธีการต่างๆ โดยปกติแล้ว พืชจะสร้างเมล็ด หน่อ หางไหล หัว เหง้า หรือตา ออกมาเอง เป็นการสืบพันธุ์ของพืชตามธรรมชาติ

การขยายพันธุ์พืชต่างๆ มี 4 ลักษณะ คือ

1.การขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือการเพาะเมล็ด เป็นการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของต้นไม้นั้นเอง ปัจจุบัน
ดังนี้มีการผสมพันธุ์ช่วยให้ได้ลูกผสมใหม่ๆ ขึ้นมา จึงทำให้เกิดพันธุ์ไม้แปลกๆ และมีคุณภาพดีกว่าที่ปล่อยให้พืชผสมเองตามธรรมชาติ ต้นไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ได้แก่ จำพวกไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งเป็นไม้ล้มลุกต่างๆ ส่วนไม้ยืนต้นและไม้พุ่มนั้น จะไม่นิยมเพาะด้วยเมล็ด เพราะจะเจริญเติบโตช้า นอกจากต้องการปริมาณมาก จึงขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ทั้งนี้ เมล็ดที่จะใช้ในการทำพันธุ์นั้น จะต้องเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ที่สุด ไม่เก่า ไม่ลีบ ไม่แห้งจนเกินไป จึงจะได้ต้นไม้ที่สมบูรณ์

2.การขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อหรือกอ เป็นการขยายพันธุ์ของพืชที่มีหน่อ หางไหล หัว เหง้า ซึ่งเป็นต้นที่อยู่ใต้ดิน มีวิธีทำดังนี้
1) ก่อนจะแยกหน่อออกจากลำต้น ให้เลือกหน่อที่แข็งแรง ที่มีใบประมาณ 2-3 ใบ ใช้น้ำรดให้ทั่วเสียก่อน เพื่อให้ดินอ่อนตัวลง แล้วใช้เสียมหรือมีดขุดแยกออกมา ให้ทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้หน่อช้ำ เมื่อตัดออกแล้ว เอาดินกลบโคนต้นแม่ให้เรียบร้อย
2) นำหน่อที่แยกออกมา ดูความสมบูรณ์ แล้วตัดแต่งให้สวย โดยเอาส่วนที่เน่าเปื่อย รากหรือใบที่ช้ำ ออกทิ้งไป แล้วนำไปปลูกลงในกระถาง หรือดินที่ได้เตรียมไว้ กดดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม เก็บไว้ในที่ร่มก่อน ถ้าปลูกลงในแปลง ต้องกำบังกันแดดให้จนกว่าต้นไม้จะตั้งตัวได้ ควรดูแลทุกวัน ถ้าอากาศร้อนมาก ควรรดน้ำให้สม่ำเสมอ
3) การแยกกอ เป็นพวกไม้ประเภทเฟิร์นต่างๆ ที่มีรากมาก รากมักจะลอยอยู่เหนือดิน ในการแยก ให้ขุดแยกออกเป็นกอย่อยๆ ตัดรากที่เสียทิ้ง แล้วจึงค่อยนำไปปลูก

3.การขยายพันธุ์โดยการตัดชำการขยายพันธุ์แบบนี้ กระทำได้ง่าย ให้ผลเร็ว และไม่กลายพันธุ์ ในการ ตัดชำนั้น จะต้องเตรียมดิน ภาชนะที่ตัดชำควรเป็นแบบเดียวกับการเพาะเมล็ด หรืออาจจะเป็นกระบะ หรือถุงพลาสติกก็ได้ ส่วนวัตถุที่ใช้ในการปักชำนั้น ให้ใช้ถ่านแกลบ ทรายหยาบ หรือ ดินผสมคลุกเค้าให้เข้ากัน มีวิธีตัดชำดังนี้
1) ใช้กิ่งหรือลำต้นตัดชำ  ใช้ได้กับพืชประเภทไม้ดอกไม้ประดับ
2) ใช้ใบตัดชำ ใช้ได้กับพืชประเภทพืชอวบน้ำ
3) ใช้รากตัดชำ ใช้ได้กับพืชประเภทมันเทศ

4.การตอน เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่ง ที่ทำให้กิ่ง หรือต้นพืชเกิดราก ขณะที่ติดอยู่กับต้นแม่ เมื่อตัดไปปลูก จะได้ต้นพืชใหม่ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ แต่มีข้อเสียคือ ระบบรากของพืชไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากไม่มีระบบรากแก้ว

การขยายพันธุ์พืชมีวิธีใดบ้าง

การเตรียมดินเพาะ สูตรดินทั่วไปสำหรับเพาะเมล็ด หรือปลูกกิ่ง ตัดชำ หรือกิ่งตอนมีส่วนผสมดังนี้

ทราย ๑-๒ ส่วนโดยปริมาตร
ดินร่วน ๑ ส่วนโดยปริมาตร
ใบไม้ผุหรือปุ๋ยหมัก ๑ ส่วนโดยปริมาตร

๓. เมล็ดที่จะนำมาเพาะ

ควรจะเป็นเมล็ดที่ได้จากต้นแม่ที่แข็งแรง เมล็ดที่ความสมบูรณ์ดี คือ เมล็ดเต่งและมีน้ำหนักดี เป็นเมล็ดที่ไม่อยู่ในระยะพักตัว งอกได้มาก หรือมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง งอกได้เร็วและสม่ำเสมอ ไม่มีวัตถุอื่นเจือปนมากับเมล็ด เป็นเมล็ดที่ปราศจากเชื้อโรค หรือผ่านการคลุกยาฆ่าเชื้อโรคมาแล้ว

การขยายพันธุ์พืชมีวิธีใดบ้าง

การคัดเลือกเมล็ดก่อนนำไปใช้ ๔. วิธีการเพาะเมล็ดในภาชนะ

ก. การบรรจุดินลงภาชนะเพาะ ถึงแม้ภาชนะเพาะจะมีรูระบายน้ำไว้แล้วเพื่อให้น้ำที่ใช้รด มีทางไหลออกไปได้ แต่การบรรจุดินเพาะเมล็ดล้วนๆ ลงในภาชนะนั้นๆ ดินอาจไปอุดตันรูระบาย น้ำนั้นได้ เพื่อป้องกันข้อบกพร่องข้อนี้ การบรรจุดินจึงควรมีวัตถุช่วยระบายน้ำอีกชั้นหนึ่ง ก่อนที่จะถึงวัตถุที่ใช้เพาะ สำหรับวัตถุช่วยระบายที่นิยมกัน อาจใช้เศษอิฐหัก เศษหิน หรือเศษหญ้าแห้ง เปลือกถั่วลิสง ใยกาบมะพร้าว หรือแกลบดิบอย่างใด อย่างหนึ่งก็ได้ ส่วนการบรรจุดินควรปฏิบัติดังนี้คือ ใส่วัตถุช่วยระบายที่ก้นภาชนะเพาะสูง

๑/๔ - ๑/๒ นิ้ว แล้วบรรจุดินที่ใช้เพาะให้เต็มภาชนะเพาะ ปรับหน้าดินเพาะให้เรียบ และได้ระดับ และปรับให้ระดับหน้า ดินเพาะต่ำกว่าขอบภาชนะเล็กน้อยเพื่อป้องกันการ ชะล้างหน้าดินเนื่องมาจากรดน้ำมากเกินไป และหลังจากปรับหน้าดินเรียบร้อยแล้ว ความหนาของ เนื้อดินที่ใช้เพาะควรหนาอย่างน้อย ๓ นิ้ว

ข. การหว่านเมล็ดภายในภาชนะเพาะ มักจะทำอยู่ ๒ แบบ คือ หว่านเป็นแถว และหว่านทั่วไปทั้งภาชนะ และถ้าหว่านเป็นแถว ก็มักจะวางแถวตามความยาวของภาชนะเพาะ ซึ่งถ้าเป็นกระ บะเพาะขนาด ๑๒" x ๑๕" x ๔" ก็จะหว่านได้ประมาณ ๔-๖ แถว การหว่านหรือโรยเมล็ด ขั้นแรก จะโรยพอบางๆ ก่อน แต่ถ้าเห็นว่ายังบางไปก็อาจจะ โรยซ้ำให้หนาขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยให้การตกของเมล็ดสม่ำเสมอขึ้น สำหรับเมล็ดที่มีขนาดเล็กมากๆ ไม่สะดวกที่จะหยิบโรยได้ง่าย ควรจะผสมกับวัตถุอื่น ที่มีสีต่างไปจากดินที่ใช้เพาะ เช่น ผสมกับทรายหรือ ผงถ่านหรือปุยมะพร้าวป่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกใน การหว่านหรือโรยเมล็ด และช่วยให้เมล็ดไม่ตกหนา ที่หนึ่งที่ใดมากเกินไป

ค. การกลบดินทับเมล็ด โดยปกติจะใช้ดินที่เพาะเมล็ดนั้นๆ สำหรับการกลบเมล็ดตื้นหรือลึก ขนาดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับชนิด และขนาดของเมล็ด ถ้าเป็นเมล็ดที่ต้องการแสงในการงอก ก็จะกลบแต่พอบางๆ แต่ถ้าเป็นเมล็ดที่ไม่ต้องการแสงในการงอก ก็จะกลบให้หนาหรือลึก แต่ก็ไม่ควรกลบ เมล็ดให้หนาเกิน ๒-๓ เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเมล็ด และหลังจากกลบดินทับเมล็ดแล้ว ควรจะกดดินให้พอกระชับเมล็ด เพื่อให้เมล็ดได้รับความชื้นและงอกได้สม่ำเสมอ จากนั้น จึงจะรดน้ำให้ชุ่ม

ง. การดูแลรักษา ปฏิบัติเช่นเดียวกับการ เพาะในแปลงเพาะ (ดูการดูแลรักษาต้นกล้าของการ เพาะเมล็ดในแปลงเพาะ)

การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ

ส่วนมากเป็น การเพาะเมล็ดในฤดูกาลตามปกติ ซึ่งมีดินฟ้าอากาศอำนวย ฉะนั้นงานใดที่ต้องใช้กล้าจำนวนมากๆ จึงมักจะใช้การเพาะเมล็ดโดยวิธีนี้ ความสำเร็จของ การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่ กับการเลือกสภาพพื้นที่ และวิธีการเตรียมแปลง ส่วนการดูแลรักษาต้นกล้านั้น ทำได้ง่ายในฤดูนี้

ก. การเลือกที่และการเตรียมแปลงเพาะ

มีวิธีปฏิบัติดังนี้

การขยายพันธุ์พืชมีวิธีใดบ้าง

การเพาะเมล็ดมะม่วงในแปลงเพาะลงในดิน ๑. เลือกที่ที่มีวัชพืชขึ้นน้อย และดินมีความสมบูรณ์พอสมควร ไม่เป็นที่ที่เคยปลูกพืชอื่นมาก่อนโดยเฉพาะพืชที่เกิดโรคง่าย หรือแมลงชอบทำลาย  ๒. ถางหญ้าและเก็บเศษวัชพืชต่างๆ ออกให้หมด โดยเฉพาะวัชพืชที่มีหัวหรือเหง้า เช่น แห้ว หมู ผักเป็ด ชันกาด หรือหญ้าคา เป็นต้น

๓. วางหรือกะแปลงเพาะให้หัวท้ายของแปลงอยู่ในแนวทิศเหนือและทิศใต้ และกะให้แปลง มีขนาดความยาวประมาณ ๖ เมตร กว้างประมาณ ๑.๒๐ เมตร

๔. ถ้าเป็นพื้นที่ดินเหนียว จะต้องฟื้นดิน ตากแดดให้แห้ง การฟื้นดินควรฟื้นขึ้นเป็นรูป D เพื่อให้มีพื้นที่ถูกแดดได้มาก ซึ่งจะช่วยให้ดินแห้งเร็วขึ้น

๕. เมื่อดินแห้งดีแล้วจึงค่อยย่อยดิน พร้อมกันนี้จะใส่ปุ๋ยคอกลงไป มากน้อยแล้วแต่ความสมบูรณ์และชนิดของดิน และอาจใส่ปูนขาวเล็กน้อย เมื่อเห็นว่า ดินมีฤทธิ์เป็นกรดมากเกินไป รดน้ำให้ดินชื้น จากนั้นจึงย่อยดินให้ทั่วแปลง สำหรับขนาดของดินที่ย่อยแล้ว ควรจะมีขนาดราว ๑ ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยเฉพาะในระดับ ๑๐ เซนติเมตร จากผิวหน้าดิน แล้วจึงแต่งดินยกเป็นรูปแปลงตามขนาดที่กะไว้ โดยให้ตัวแปลงสูงจากพื้นทางเดินราว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร

๖. เพื่อความแน่ใจว่าแปลงเพาะจะไม่มีโรคหรือแมลงที่เป็นศัตรูของเมล็ดและกล้าพืชที่เพาะ จึงควรจะอบดินเสียก่อน เช่น อาจใช้สารเมทิลโบรไมด์ ในการอบฆ่าศัตรูในดิน เป็นต้น

ข. การหว่านเมล็ดในแปลงเพาะ

นิยมหว่านเมล็ดทั่วแปลง แต่เนื่องจากแปลงเพาะมีขนาดกว้าง จึงต้องแบ่งหว่านครั้งละซีกแปลง การหว่านถือหลักเช่นเดียวกับการหว่านเมล็ดในภาชนะเพาะ ในกรณีที่เมล็ดมีขนาดเล็ก หรือการย่อยดินไม่ละเอียดพอ ก่อนหว่านเมล็ดมักนิยมใช้ปุ๋ยคอกเก่าๆ หว่านให้ ทั่วแปลง แล้วรดน้ำให้ปุ๋ยคอกลงไปอุดช่องดินเสียก่อน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันเมล็ดตกลงไปตามซอกก้อนดิน ซึ่งลึกเกินไปจนไม่อาจงอกและโผล่พ้นผิวดินได้ การหว่านเมล็ดควรจะหว่านพอบางๆ ก่อน แล้วจึงหว่านทับอีกเมื่อเห็นว่าเมล็ดตกบางเกินไป ส่วนการ กลบดินทับเมล็ดก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ด ในภาชนะเพาะ

ค. การทำร่มให้แก่ต้นกล้าในแปลงเพาะ

ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเมล็ดในภาชนะเพาะหรือเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ จะต้องทำร่มให้แก่กล้าที่เพาะ เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ระยะที่กล้าพืชเริ่มงอกจนกระทั่ง ถึงระยะย้ายปลูก ทั้งนี้เพื่อป้องกันสภาพธรรมชาติ เป็นต้นว่าฝนแรงและแดดจัด ซึ่งกล้าพืชที่ยังอ่อนๆ หรือเพิ่งเริ่มงอกไม่อาจทนได้ การทำร่มให้แก่แปลง เพาะนี้โดยหลักการก็คือ เมื่อต้นพืชยังเล็กอยู่ก็จะให้ แสงแต่น้อย คือ ให้เฉพาะเช้าหรือเย็นขณะที่แดดยัง ไม่ร้อนเกินไป แต่เมื่อต้นพืชโตขึ้นก็จะให้แสงให้ มากขึ้นๆ จนกระทั่งถึงระยะถอนย้าย ซึ่งจะไม่ให้ ร่มแก่กล้าพืชเลย ทั้งนี้ เป็นการช่วยให้ต้นกล้าที่จะถูกถอนย้าย ปรับตัวที่จะไปอยู่สภาพแปลงปลูกใหม่ได้ดีขึ้น สำหรับการทำร่มพรางแสงนั้น จะใช้วัตถุอะไรก็ได้ที่ทึบแสง มาวางให้สูงจากกล้าพืชพอสมควร โดยจัดวางให้กล้าพืชได้รับแสงแต่น้อย แต่ถ้าเป็นการให้ร่มที่ต้องการป้องกันฝนด้วย ก็อาจใช้ผ้าพลาสติกที่โปร่งแสง หรือผ้าฝ้ายสีขาวทำเป็นผืนยาวเท่าขนาดแปลงคลุมทับโครงไม้ที่ปักคร่อมแปลงเพาะอยู่ วิธีเตรียมโครงไม้และผ้าคลุม ปฏิบัติดังนี้

๑. ใช้ไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก กว้างประมาณ ๓-๕ ซม. ยาวประมาณ ๒.๕ เมตร เหลาให้อ่อน พอโค้งได้ ปักคร่อมแปลงให้แต่ละอันห่างกันราว ๗๐ ซม. และให้โค้งบนสูงสุดจากพื้นแปลง ๘๐-๙๐ ซม. ซึ่งถ้าแปลงยาว ๖ เมตร จะต้องปักไม้โค้งนั้น ประมาณ ๘ อัน

การขยายพันธุ์พืชมีวิธีใดบ้าง

การทำร่มพรางแสงโดยใช้ตาข่ายพลาสติก ๒. ปักหลักกลางตามขวางของแปลงสำหรับ เป็นที่ขึงลวดตามยาวตลอดแปลง ๓ หลัก โดยปักหัวท้ายข้างละหนึ่งหลัก และกลางแปลงหนึ่งหลัก และควรปักให้สูงประมาณ ๘๐-๙๐ ซม. หรือให้หัว หลักเสมอระดับไม้โค้ง แล้วใช้ลวดขนาด ๑/๑๖ นิ้ว ขึงตลอดทั้ง ๓ หลัก

๓. ปักหลักสำหรับผูกลวดที่ร้อยผ้าคลุม แปลงทั้งสองข้างแปลง ข้างละ ๒ หลัก โดยปักที่มุมแปลงมุมละหนึ่งหลัก รวมเป็นสี่หลัก และปักให้สูงจากพื้นดินประมาณ ๓๐ ซม.

๔. ใช้ผ้าดิบสีขาวชนิดหนายาวเท่าความ ยาวของแปลง และมีหน้ากว้างราว ๑๗๐ ซม. โดย ใช้ผ้าหน้ากว้าง ๙๐ ซม. เย็บติดกัน ๒ ผืน แล้วทำหูสำหรับร้อยลวดที่ชายทั้งสี่ด้าน ก่อนใช้ผ้าควร

ซักเพื่อให้หมดแป้งเสียก่อน แล้วอาบด้วยยาป้องกันเชื้อรา เพื่อป้องกันผ้ามิให้ผุง่าย

๕. ใช้ลวดร้อยหูด้านข้างตามยาวทั้งสองด้าน และหลังจากที่เพาะเมล็ดเรียบร้อยแล้ว จึง คลุมผ้าบนไม้โค้ง แล้วผูกลวดติดกับหลักที่ปักไว้ ตรงมุมแปลงทั้ง ๔ หลักให้แน่น จากนั้นก็คอยปรับ แสงให้มากน้อยตามความต้องการของกล้า จนกว่าจะถึงเวลาย้ายปลูกลงแปลงต่อไป

ง. การดูแลรักษาต้นกล้า

จุดมุ่งหมายในการดูแลรักษาต้นกล้าก็คือ เพื่อเลี้ยงดูกล้าพืชให้แข็งแรง พ้นจากการทำลายของโรคโคนเน่าคอดิน สำหรับการดูแลรักษากล้าพืชในระยะแรกก็คือ การเปิดให้ต้นกล้าได้รับแสงหลังจากที่งอกโผล่พ้นผิวดิน นอกจากแสงแล้ว อุณหภูมิก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญของกล้าพืชอีกด้วย โดยปกติอุณหภูมิขนาดปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ จะช่วยให้กล้าพืชเจริญได้แข็งแรง ซึ่งถ้าเป็นพืชฤดูหนาวก็ควรจะอยู่ในช่วงของ อุณหภูมิ ๖๐° - ๖๕°ฟ. ในเวลากลางวัน และอุณหภูมิ ที่ต่ำกว่านี้ ๕° - ๑๐°ฟ. ในเวลากลางคืน ส่วนพืชฤดูร้อนควรจะมีอุณหภูมิราว ๗๐° - ๗๕°ฟ. ในเวลากลางวัน และอุณหภูมิที่ต่ำกว่านี้ ๕° - ๑๐°ฟ. ในเวลากลางคืน

การให้น้ำแก่กล้าพืชก็เป็นเรื่องสำคัญ คือ จะต้องคอยสังเกตความชื้นในแปลงเพาะและความต้อง การน้ำของกล้าพืชเป็นสำคัญ โดยรักษาระดับความ ชื้นในแปลงเพาะให้พอเหมาะไม่มากเกินไปจนทำให้ อากาศถ่ายเทในดินไม่สะดวก อันจะเป็นทางหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคโคนเน่าคอดินระบาดได้รวดเร็ว โดยทั่วไปขณะที่กล้าพืชยังเล็กอยู่ รากยังมีน้อย ควรจะ รดน้ำให้บ่อยครั้ง เพื่อช่วยให้รากเจริญได้เร็วขึ้น แต่เมื่อกล้าเจริญได้ดีพอแล้ว อาจจะงดการให้น้ำได้ บ้าง แต่ก็ควรให้แปลงเพาะชื้นอยู่เสมอ การรดน้ำกล้าพืชควรจะทำตอนเช้าหรือตอนบ่าย ๓-๔ โมงเย็น เพื่อให้น้ำจับต้นกล้าได้มีโอกาสแห้งโดยเฉพาะใน ตอนเย็น ซึ่งจะเป็นการป้องกันโรคได้ทางหนึ่ง และถ้ามีการเกิดโรคก็ควรจะงดการรดน้ำตอนเย็นเสีย โดยรดแต่ตอนเช้าเพียงเวลาเดียว พร้อมกันนี้ก็ควรใช้ยาป้องกันเชื้อรารดกล้าพืชที่เป็นโรคนั้นจนกว่าโรคนั้นจะหายไป

จ. การย้ายกล้า

ในกรณีที่การหว่านเมล็ดหนา เกินไป และเมล็ดงอกเบียดเสียดกันมาก ซึ่งถ้าไม่ถอนย้ายก็อาจทำให้เกิดโรคโคนเน่าคอดินได้ง่ายขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็อาจย้ายกล้าไปปลูกเสียขั้นหนึ่งก่อน เป็นการย้ายปลูกชั่วคราวก่อนที่จะย้ายลงแปลงหรือกระถางถาวร การย้ายกล้าในระยะนี้ ควรจะทำเมื่อกล้าพืชมีใบจริง ๒-๓ ใบ และมีขนาดพอที่จะหยิบ จับได้ถนัดพอสมควร การย้ายปลูกชั่วคราวนี้ มักนิยมใช้กระบะไม้เป็นภาชนะในการย้ายปลูก เพราะ สามารถเคลื่อนย้ายไปปลูกในที่ต่างๆ ได้สะดวก การเตรียมกระบะ และเตรียมดินย้ายปลูกทำเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ด จากนั้นก็ดำเนินการย้ายปลูก โดยใช้ไม้กดดิน กดดินในกระบะให้เป็นรู ในตำแหน่งที่จะย้ายปลูก แล้วจึงย้ายต้นกล้าลงไปปลูกในรูที่ เตรียมไว้ กดดินให้กระชับรากพืช แล้วรดน้ำให้ โชก ใน ๒-๓ วันแรก ควรคลุมหรือเก็บกระบะไว้ในที่ร่มและชื้นจนกว่าต้นพืชจะตั้งตัวซึ่งจะใช้ เวลา ๒-๓ วัน จากนั้น ก็เป็นการเลี้ยงดูต้นกล้า ให้เจริญเติบโตเช่นเดียวกับปฏิบัติกับกล้าพืชทั่วๆ ไป เมื่อต้นพืชเจริญดีและมีขนาดพอที่จะย้ายปลูก ลงกระถางหรือแปลงปลูกถาวร จึงค่อยย้ายปลูก อีกครั้งหนึ่ง สำหรับความสำเร็จในการย้ายกล้าพืช ไปปลูกในที่อื่น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่กล้าพืชจะพึงได้รับ เมื่อถูกย้ายออกไป ถ้าสภาพแวดล้อมใหม่ใกล้เคียงกับสภาพของต้นกล้าที่ได้รับขณะอยู่ ในแปลงเพาะหรือแปลงย้ายปลูกชั่วคราว ความ สำเร็จในการย้ายปลูกก็จะมีมาก แต่ถ้าสภาพแวด ล้อมใหม่แตกต่างไปจากสภาพแวดล้อมเดิมมาก การย้ายปลูก ก็ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ในกรณีของการย้ายกล้าไปปลูกในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไป จากเดิมมากๆ นี้ จำเป็นต้องทำให้กล้าพืชแข็งตัว ซึ่งอาจทำได้โดยทำให้กล้าพืชชะงักการเจริญ ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นพืชสะสมอาหารประเภทแป้งไว้มาก อันจะทำให้ต้นพืชสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่ ไม่เหมาะสมได้ดีขึ้น ในการทำให้กล้าพืชแข็งตัวนี้ อาจทำได้โดยรดน้ำต้นกล้าให้น้อยลง หรืออาจใช้โพ แทสเซียมคลอไรด์ (KC1) อัตราส่วน ๑:๒๕๐-๓๐๐ ละลายน้ำรดต้นพืช ซึ่งควรจะจัดทำก่อนที่จะย้าย ปลูกไปที่ใหม่ประมาณ ๗-๑๐ วัน สำหรับการปฏิบัติ ในการถอนย้ายต้นกล้า ก่อนอื่นจะต้องรดน้ำให้ดินใน แปลงเพาะชุ่มและอ่อนตัว ซึ่งเมื่อถอนย้ายแล้วต้น พืชจะได้รับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด การถอน ย้ายก็ควรจะมีดินติดไปบ้างเล็กน้อย เพื่อกล้าพืชจะ ได้ตั้งตัวได้เร็วขึ้น โดยจะต้องพิจารณาความสามารถ ในการตั้งตัวของพืชแต่ละชนิดและสภาพแปลงปลูก ใหม่ที่จะถอนย้ายไปปลูกด้วย หลังจากการปลูกแล้ว จะต้องรดน้ำให้ชุ่มและควรทำร่มให้เป็นการชั่วคราว ๒-๓ วัน จนกระทั่งกล้าพืชตั้งตัวได้ พร้อมทั้งคอยรดน้ำ อย่าให้กล้าพืชเหี่ยวเพราะขาดน้ำในระยะนี้ได้

การขยายพันธุ์พืชมีวิธีใดบ้าง

ต้นมะเขือเทศหลังการย้ายปลูกแบบรากเปลือย การใช้ปุ๋ยเร่งจะช่วยให้ต้นพืชตั้งตัวเร็วขึ้น ปุ๋ยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยผสมที่มีฟอสฟอรัส (P2O5) สูง เช่น ใช้สูตร N:P:K = ๑๐:๕๒:๑๗ ในอัตรา ส่วน ๕-๖ ปอนด์ ต่อน้ำ ๑๐๐ แกลลอนหรือประมาณ ๒.๓-๒.๗ กก. ต่อน้ำ ๔๐๐ ลิตร รดกล้าพืชหลังจาก การย้ายปลูกใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้กล้าพืชตั้งตัวเร็วขึ้น แต่ต้องระวังอย่าใช้ให้เข้มข้นมาก โดยเฉพาะเมื่อดิน มีความชื้นน้อยหรือรดน้ำไม่พอขณะที่ย้ายปลูก ใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้กล้าพืชได้รับอันตรายได้
การขยายพันธุ์พืชมีวิธีใดบ้าง

การย้ายกล้าชั่วคราวก่อนลงแปลงปลูก ๒. การเพาะหรือปลูกเมล็ดโดยตรงในแปลงปลูก

การปลูกพืชโดยหว่านเมล็ดโดยตรงในแปลงปลูก เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดแบบหนึ่ง ซึ่งมักจะใช้กับการปลูกพืชไร่ และธัญพืช รวมทั้งการปลูกผักเป็นการค้า โดยปกติแล้วการปลูกพืชโดยวิธีนี้เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก เพราะไม่ต้องใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์มาก การปลูกพืช จำนวนมากๆ จึงมักจะใช้วิธีนี้ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและสะดวก จึงเป็นวิธีที่นิยมอย่างกว้างขวางในหมู่ชาวไร่ชาวสวนทั่วไป เพราะต้นพืชจะเจริญติดต่อกันไปรวดเดียวโดยไม่ชะงักการเจริญเติบโต

วิธีการโดยทั่วไปก็คือ นำเมล็ดมาหว่านหรือดำลงในแปลง ซึ่งเตรียมไว้เป็นพิเศษ การหว่านหรือดำจะหนาหรือบาง ถี่หรือห่าง แล้วแต่เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด ถ้าเมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอกน้อย ก็จะหว่านหรือดำเมล็ดให้หนา และถ้าเมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง ก็จะหว่านเมล็ดให้บางลง และเมื่อเห็นว่า จะมีต้นพืชขึ้นหนาแน่นเกินไป ก็จะถอนแยก หรือถอนทิ้งออกเสียบ้าง เพื่อมิให้ต้นพืชขึ้นเบียดเสียดแน่นจนเกินไป การปลูกพืชโดยวิธีนี้ เหมาะกับพืชที่เมล็ดมีราคาถูก เพราะต้องสิ้นเปลืองเมล็ด มากกว่าการปลูกพืช โดยการเพาะ แล้วย้ายปลูกทีหลัง ประกอบกับต้นพืชที่ผลิตได้ มักมีราคาจำหน่ายต่ำด้วย จึงต้องหาวิธีขยายพันธุ์ที่ทำได้ง่าย และลงทุนน้อย พืชที่นิยมปลูกโดยวิธีนี้ ได้แก่ ละหุ่ง ฝ้าย ป่าน ปอ กระเจี๊ยบ ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง คะน้า ผักกาดชนิดต่างๆ ผักบุ้ง ผักชี รวมทั้งไม้ ดอกบางชนิด เช่น บานไม่รู้โรย ดาวกระจาย และแอสเทอร์ เป็นต้น
การขยายพันธุ์พืชมีวิธีใดบ้าง

พริกเป็นพืชล้มลุกที่เพาะเมล็ดแล้วจึงทำการย้ายปลูก การเตรียมแปลงปลูกนับว่าเป็นหัวใจสำคัญ ในการปลูกพืชโดยวิธีนี้ แปลงปลูกที่ดีจะต้องมี ลักษณะดังนี้

๑. อุ้มน้ำหรือมีความชื้นเพียงพอตลอดระยะ เวลาการงอกของเมล็ดรวมทั้งระยะแรกๆ ของการ เจริญของกล้าพืช
๒. มีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ดีซึ่งหมายถึง ร่วน โปร่ง และอุ้มน้ำได้ดี ซึ่งจะทำให้เมล็ดได้รับน้ำ ติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน
๓. มีอากาศถ่ายเทสะดวก

ปัญหาในการเตรียมแปลงปลูกพืชโดยวิธีนี้ อยู่ที่ความพอดีระหว่างการถ่ายเทอากาศในดิน (earation) และความชื้นในดิน (moisture) ซึ่งมักจะไม่พอดีกัน คือ ถ้ามีการถ่ายเทอากาศในดินมาก ก็มักจะมีความชื้นในดินน้อยหรือถ้ามีความชื้นในดินมาก ก็จะมีการถ่ายเทอากาศในดินน้อย เช่นนี้เป็นต้น ปัญหานี้จะหมดไปถ้าทำการปลูกพืชในที่ที่เป็นดินปนทราย (medium textured loam) ซึ่งถ้าเป็นดินทราย (light sandy soil) ดินมักจะแห้งเร็ว หรือถ้าเป็นดินเหนียวจัด (heavy clay soil) ก็มักจะมีการถ่ายเทอากาศไม่ดี และการระบายน้ำก็ไม่ดีด้วย นอกจากนี้ดินเหนียวเมื่อแห้งยังทำให้ดินแข็งไม่สะดวกในการพรวนดิน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยหมักในดินประเภทนี้ จะเป็นการช่วยแก้ลักษณะไม่ดีดังกล่าวได้มาก และปุ๋ยหมักที่ใส่ลงในดิน ควรจะให้ในรูปของพืชคลุม หรือในรูปของปุ๋ยคอกก็ได้ และควรจะยืดเวลาให้นานพอสมควร เพื่อให้ปุ๋ยได้มีโอกาสผุเปื่อยเสียก่อน ก่อนที่จะหว่านเมล็ดพืช สำหรับการปลูกพืชเพียงเล็กน้อย เช่น การทำสวนครัวหลังบ้านก็อาจใช้ใบไม้ผุๆ หรือเศษขยะเก่าๆ ในบริเวณบ้านได้ ซึ่งแปลงปลูกที่เตรียมดีแล้วควรจะมีลักษณะดังนี้

๑. แปลงจะต้องมีความชื้นสม่ำเสมอ แต่ไม่เปียกแฉะ
๒. ไถพรวนให้มีความลึก ๖-๑๐ นิ้ว โดยเฉพาะความลึกระดับ ๓-๔ นิ้ว จากหน้าดินจะต้องย่อยให้ละเอียด
๓. แปลงจะต้องแน่นพอสมควร เพื่อมิให้เกิดโพรงอากาศขนาดใหญ่อันจะทำให้แปลงปลูกแห้งเร็วเกินไป เนื่องจากการระเหย และสูญเสียน้ำได้ง่าย

ส่วนวิธีเตรียมแปลงนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับขนาดของแรงงานและชนิดของพืชที่จะปลูก สำหรับการปลูกพืชที่เป็นงานใหญ่ จะต้องใช้เครื่องทุ่นแรงช่วย เช่น จอบ ไถ พรวน เครื่องทำแถว เครื่องปรับระดับ แต่ถ้าเป็นงานเล็กๆ อาจมีเพียงจอบฟัน และมือพรวน ก็เป็นการเพียงพอ หลังจากที่ได้ไถหรือฟันดินแล้ว จึงย่อย หรือคราดหลายๆ ครั้ง และถ้าดินที่เตรียมแห้งเกินไป ก็อาจรดน้ำช่วย ซึ่งจะทำให้การเตรียมแปลงทำได้ง่ายขึ้น ในขณะที่ดินยังเปียกอยู่ ไม่ควรจะเตรียมดิน เพราะจะทำให้ดินแน่น ขาดการถ่ายเทอากาศ และน้ำจะระบายได้ยากในภายหลัง การที่จะกะว่า ดินปลูกแห้งหรือเปียกขนาดไหนจึงจะเตรียมแปลงได้ อาจทำได้ง่าย โดยวิธีกำดินให้แน่น พอตึงมือ แล้วสังเกตลักษณะดินที่กำนั้น ถ้ามีลักษณะเป็นก้อน แสดงว่า ยังเปียกเกินไป แต่ถ้าไม่จับเป็นก้อน แสดงว่า เตรียมดินได้

การขยายพันธุ์พืชมีวิธีใดบ้าง

ผักชี  การฆ่าเชื้อโรค และแมลงในดินรวมทั้งเมล็ดวัชพืชก็อาจทำได้ในขณะเตรียมแปลงนี้ แต่ควรจะพิจารณาใช้กับพืชที่มีราคาสูง และคุ้มค่าเท่านั้น การปลูกพืชโดยวิธีนี้ ก่อนอื่นจะต้องพิจารณาความเหมาะสมของดินฟ้าอากาศ ของแต่ละท้องถิ่นเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่มักจะปลูกกันเพียงฤดูเดียว คือ ฤดูฝน แต่สำหรับการปลูกผักอาจทำได้ ๒ ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งในแต่ละฤดู ก็อาจปลูกพืชได้ ๒-๓ ชนิด โดยเฉพาะพืชอายุสั้นๆ ฉะนั้นแทบจะกล่าวได้ว่า การปลูกผักหว่านโดยวิธีนี้ ชาวสวนมักจะทำติดต่อกันไปเกือบทั้งปี ทั้งนี้ เพื่อให้ผลิตผลได้ออกสู่ตลาดเป็นประจำ ปัญหาสำคัญในการปลูกพืชโดยวิธีนี้ อีกอย่างหนึ่งก็คือ การกะ ปริมาณเมล็ดพืชที่จะหว่าน เพื่อให้ได้พืชตามที่ต้องการ ถ้าหว่านบางไป ก็จะทำให้ได้ผลิตผลน้อย แต่ถ้าหว่านเมล็ดหนาเกินไป อาจทำให้ขนาดและคุณภาพของพืชด้อยลง ดังนั้น การกะประมาณจำนวนต้นพืชที่ต้องการไว้ล่วงหน้า ก็จะสามารถคำนวณอัตราการใช้เมล็ดได้ ถ้าเราทราบเปอร์เซ็นต์ความงอก เปอร์เซ็นต์ความบริสุทธิ์ และจำนวนเมล็ดพืชต่อน้ำหนัก ๑ ปอนด์ หรือ ๑ ออนซ์
การขยายพันธุ์พืชมีวิธีใดบ้าง

แปลงปลูกผักแบบทำการย้ายกล้ามาปลูก สูตรในการคำนวณมีดังนี้

จำนวนเมล็ด (คิดเป็นปอนด์หรือออนซ์ต่อ ๑ หน่วยพื้นที่)
=

(จำนวนต้นพืชที่ต้องการต่อ ๑ หน่วยพื้นที่ / จำนวนเมล็ด (ต่อปอนด์หรือออนซ์)) x เปอร์เซ็นต์ความงอก x เปอร์เซ็นต์ความบริสุทธิ์

สำหรับอัตราการใช้เมล็ดที่คำนวณตามวิธีนี้ เป็นอัตราที่ใช้เมล็ดน้อยที่สุด ดังนั้นการปฏิบัติจริงๆ ในไร่ควรจะคิดเผื่อไว้ สำหรับความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากศัตรูพืชด้วย และเมื่อต้นพืชมีขนาดโตพอแล้ว ควรจะได้ถอนออก ให้เหลือห่างกันตามต้องการ

การขยายพันธุ์พืชมีวิธีการอย่างไร

การขยายพันธุ์พืช แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ ได้แก่ การขยายพันธุ์โดย การใช้เมล็ด และการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ได้แก่ การขยายพันธุ์โดยการใช้ส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช เช่น การปักช า การตอนกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง รวมถึง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การขยายพันธุ์พืชมีวิธีการและมีประโยชน์อย่างไร

๑. ช่วยรักษาพันธุ์พืชที่มีอยู่ไม่ให้สูญหายหรือสูญพันธุ์ไป ๒. ทำให้เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติดีขึ้นกว่าพันธุ์เดิม เช่น มะม่วงอกร่องทอง กะทิมีลักษณะหวานมัน ๓. ช่วยสร้างอาชีพ ทำให้เกิดรายได้เช่น อาชีพรับจ้างขยายพันธุ์พืชจำหน่าย ๔. ช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร เกษตรกรผู้เพาะปลูกหากสามารถ ขยายพันธุ์พืชปลูกเองได้ ...

การขยายพันธุ์พืชให้ได้จำนวนมากใช้วิธีใด

วิธีขยายพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืช เป็นการเพิ่มปริมาณจำนวนต้นพืชให้มากขึ้น และยังคงรักษาคุณลักษณะเดิมไว้ ไม่ให้เปลี่ยนแปลง โดยใช้วิธีการต่างๆ โดยปกติแล้ว พืชจะสร้างเมล็ด หน่อ หางไหล หัว เหง้า หรือตา ออกมาเอง เป็นการสืบพันธุ์ของพืชตามธรรมชาติ

วิธีการขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัยเพศมีอะไรบ้าง

การขยายพันธุแบบไมอาศัยเพศ คือวิธีการขยายพันธุจากเนื้อเยื่อชิ้นสวนตาง ๆ ของตนพืช เชน ลําตน ตา ใบ ราก เพื่อใหไดตนพืชที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิมทุกประการดวย วิธีการตอนกิ่ง การปกชํา การติดตา การตอกิ่ง และการทาบกิ่ง การแบงสวนและการแยกสวน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช