หน้าที่หลักและความสามารถที่ Data Analyst ต้องมีมีอะไรบ้าง

นักวิเคราะห์ข้อมูล หรือ “Data Analyst” เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันเนื่องจากในปัจจุบันหลายองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลมากขึ้นเพราะการเติบโตของเทคโนโลยีรวมไปถึงสภาวะการแข่งขันในหลายอุตสาหกรรมที่มีความเข้มข้น การเข้าใจถึงข้อมูลจนไปถึงสามารถทำนายความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นกลายเป็นหนึ่งในความได้เปรียบในการแข่งขัน

จากผลสำรวจของ Linkedin ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Social Media ที่ช่วยในเรื่องของการจัดหางานพบว่าหนึ่งในสายงานที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ และมีการเติบโตมากถึง 40% ตั้งแต่ปี 2019 คือสายงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี สำหรับประเทศไทยนั้นสายงานที่เกี่ยวข้องกับ Data ได้แก่ Data Engineer, Data Analyst หรือ Data Scientist รับเงินเดือนเฉลี่ยเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 ถึง 50,000 บาท หากเป็นคนที่มีประสบการณ์มากจนสามารถไต่เต้าไปจนถึงระดับหัวหน้าอาจจะได้รับเงินเดือนสูงถึง 150,000 บาทเลยทีเดียว 

จากที่กล่าวมาทั้งหมดส่งผลให้คนเริ่มหันมาสนใจที่จะเอาดีกับทางด้าน Data กันมากขึ้น แต่ในทางกลับกันเนื่องจากเป็นสายงานที่มีความใหม่ที่เพิ่งจะเติบโตได้ไม่กี่ปี ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่าการที่จะเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลได้นั้นต้องทำอย่างไร

ดังนั้นวันนี้ DIGI จะพาทุกคนไปไขข้อสงสัยที่หลายคนมักจะมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับสายอาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูลว่า Data Aanlyst คืออะไร แล้วต้องจบคณะอะไรมาถึงจะสามารถมาทำงานเป็น Data Analyst แล้วการที่จะเป็น Data Analyst คนไม่มีประสบการณ์สามารถเป็นได้ไหม รวมไปถึงวิธีการสำหรับคนที่กำลังสนใจจะทำงานว่าต้องเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง ไปจนถึง Course สำหรับผู้เริ่มต้นเป็น Data Analyst

Data Analyst คืออะไร แล้วต้องมีองค์ความรู้อะไรบ้าง ? 

Data Analyst หรือ “นักวิเคราะห์ข้อมูล” คือบุคคลที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลขององค์กรหรือลูกค้าไปใช้ในกระบวนวิเคราะห์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรในเชิงของการทำธุรกิจมากที่สุด ซึ่งการที่องค์กรจะมีกลยุทธ์ที่สามารถดำเนินธุรกิจจนเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมได้นั้นต้องอาศัยความเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง (Business Insight) จนสามารถทำนายความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ (Prediction) ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญของนักวิเคราะห์ข้อมูล

หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มจากการนำข้อมูลดิบมาแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูลที่จะสามารถนำไปใช้ต่อได้ด้วยวิธีการ Data Transformation หรือการทำ Data Cleansing หลังจากที่ข้อมูลพร้อมแล้วก็สามารถนำไปทำการวิเคราะห์ได้ตั้งแต่การสรุปข้อมูลไปจนถึงการทำโมเดล ซึ่งตรงจุดนี้ต้องอาศัยทักษะและความรู้ที่ค่อนข้างมาก สุดท้ายขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการเป็นนักวิเคราะห์คือการนำเสนอสิ่งที่เราได้รู้ให้แก่เจ้าของธุรกิจหรือลูกค้าได้เข้าใจและเห็นภาพเรียกกระบวนการนี้ว่า Data Visualization

หน้าที่หลักและความสามารถที่ Data Analyst ต้องมีมีอะไรบ้าง

จากกระบวนการที่นักวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องจัดการข้อมูลนั้นทำให้คนที่สนใจจะมาทำงานในสายงานนี้ต้องมีองค์ความรู้ที่สำคัญทั้งหมด 3 หมวดหลักได้แก่

  • Mathematics and Statistics

ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และสถิติถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับนักวิเคราะห์ข้อมูลเพราะกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลต้องอาศัยการสรุปข้อมูลที่ได้รับมาเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนไปจนถึงการสร้างสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการทำนายผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตดังนั้นทักษะการคำนวณจึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักวิเคราะห์ควรมี

ถัดมาคือทักษะในด้านการใช้เครื่องมือเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเนื่องจากนักวิเคราะห์ข้อมูลจำเป็นต้องทำงานร่วมกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ส่งผลให้กระบวนการคำนวณหรือการวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์นั้นใช้วิธีการคำนวณแบบปกติ เช่นการใช้เครื่องคิดเลขทั่วไปไม่ได้ แต่ต้องอาศัยเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำมากยิ่งขึ้นโดยตัวอย่าง Tools ที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายก็จะเป็น Microsoft Excel หรือ Google Sheet แต่หากข้อมูลมีความซับซ้อนมากขึ้นก็จำเป็นจะต้องใช้งานเครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวกมากไปกว่าเดิมได้แก่ SQL หรือ SAS ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมเองด้วยภาษา Python

สุดท้ายเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญมากนั่นคือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ Data โดยตรง เช่น ความรู้ในด้านธุรกิจที่กำลังทำ หรืออะไรก็ตามที่เป็นโจทย์ของการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งหากนักวิเคราะห์ข้อมูลขาดทักษะความรู้ทางด้านนี้ก็จะทำให้ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ข้อมูลอาจจะผิดไปจากความต้องการขององค์กร ท้ายสุดคือไม่สามารถสื่อสารให้กับเจ้าขององค์กรหรือลูกค้าเข้าใจถึงจุดประสงค์ในการวิเคราะห์

ไม่มีประสบการณ์หรือไม่ได้จบคณะที่เกี่ยวข้องโดยตรงสามารถเป็น Data Analyst ได้ไหม ?

คำถามสำคัญที่หลายคนสงสัยว่าตนเองไม่ได้เรียนหรือจบจากคณะที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ หรือด้านการเขียนโปรแกรมมาโดยตรงสามารถทำงานเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลได้ไหม คำตอบคือ ได้ เพราะอย่างที่เกริ่นไปในตอนต้นว่าอาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูลเป็นอาชีพใหม่ที่เพิ่งมีการเติบโตและได้รับความนิยม

หน้าที่หลักและความสามารถที่ Data Analyst ต้องมีมีอะไรบ้าง

ประกอบกับข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data เพิ่งเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้ไม่กี่ปีทำให้ไม่ได้มีมหาวิทยาลัยไหนเปิดสอนเป็นคณะแบบจริงจัง แต่อาจจะมีการเสริมหลักสูตรเข้าไปในคณะที่มีอยู่ ทำให้ส่วนใหญ่คนที่กำลังทำงานอยู่ในสายงานนี้ก็มักจะเรียนรู้จากพวกคอร์สที่สอนออนไลน์หรืออ่านตามตำรา Text Book โดยสรุปก็คือทุกคนสามารถเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลได้แต่ต้องอาศัยการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ความขยัน และความอดทนในเรื่องการเรียนรู้สิ่งใหม่ 

ทำอย่างไรถึงจะได้เป็น Data Analyst ?

มาถึงจุดนี้หลายคนเริ่มมีความรู้สึกอยากเปลี่ยนตนเองเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเรียนรู้จากที่ไหน DIGI ขอแนะนำคอร์สเรียนออนไลน์ที่จะสอนตั้งแต่พื้นฐานการเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลไปจนถึงเทคนิคการวิเคราะห์ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

เป็นแหล่งรวมการสอนออนไลน์ที่เปิดโดยสอนโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะสอนโดยคณาจารย์จากคณะต่าง ๆ ที่มีความรู้ ความสามารถอย่างเข้มข้นในวิชาที่สอน ซึ่งวิชาที่จะแนะนำได้แก่ Intro to Data Analytics and Big Data และ Practical Data Analytics Using RapidMiner โดยที่คอร์สที่กล่าวมาทั้งหมดสอนตั้งแต่พื้นฐานการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญคือไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ถ้าอยากจะได้ความรู้ในระดับที่สูงขึ้นทางเว็บไซต์จะมีคอร์สที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเติม สิ่งที่ได้รับก็คือใบ Certificate ว่าผ่านการเรียนการสอน ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการยื่นสมัครงานได้

https://mooc.chula.ac.th/courses/53

https://mooc.chula.ac.th/courses/28

หากใครต้องการความรวดเร็วไม่ต้องการที่จะสมัครเรียนให้ยุ่งยากขอแนะนำช่องของคุณ prasertcbs สามารถเข้าไปดูได้ช่องทาง Youtube ซึ่งเป็นช่องที่รวบรวมวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่การใช้โปรแกรมพื้นฐานอย่าง Microsoft Excel ไปจนถึงระดับที่ยากขึ้นด้วยโปรแกรม SQL หรือ R Studio ซึ่งวิดีโอทั้งหมดจัดทำโดยรศ.ดร. ประเสริฐ คณาวัฒนไชย จาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

https://www.youtube.com/c/prasertcbs

หากใครมีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษสามารถเรียนรู้การเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลได้แต่พื้นฐานไปจนถึงระดับที่สามารถทำงานในองค์กรใหญ่ระดับโลกได้ด้วยการเรียนรู้ผ่านคอร์สของเว็บไซต์ Datacamp และ Coursera ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้มักจะมีคอร์สฟรีให้เราได้ทดลองเรียนก่อน หากต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมหรือใบ Certificate ก็สามารถสมัครเรียนแบบจ่ายเงินได้

https://www.datacamp.com

https://www.coursera.org

สรุป

สำหรับหลายคนที่ให้ความสนใจอยากเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับทำงานในสายงานนี้มีความสำคัญมากตั้งแต่การเรียนรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และสถิติ ความรู้ด้านการใช้เครื่องการวิเคราะห์ข้อมูล และที่สำคัญสุดคือองค์ความรู้หลักของตัวข้อมูล โดยทั้งหมดที่กล่าวมาจุดประสงค์เพื่อให้องค์กรหรือลูกค้าเกิดความเข้าใจในข้อมูลมากขึ้นจนถึงขั้นเข้าใจอย่างลึกซึ้งเพื่อตอบคำถามกับสิ่งที่พวกเขาต้องการที่จะรู้ โดยสุดท้ายแล้วก็เพื่อให้องค์กรเกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ถึงที่สุด

หน้าที่สำคัญของ Data Analyst มีอะไรบ้าง

หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของ Data Analyst.
กำหนด Data Sources เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล.
รวบรวมข้อมูลที่จะใช้ในการวิเคราะห์.
การจัดหาข้อมูลที่ขาดหายไป.
กำหนด ตั้งค่า โครงสร้างพื้นฐาน.
สร้าง Insight จากข้อมูล และระบุแนวโน้มที่เกิดขึ้นได้.
สร้าง รายงาน สร้าง Dashboard / Automated Dashboard สำหรับผู้บริหาร และ ทีมงาน.

ขั้นตอนใดคือหน้าที่ของนักวิเคราะห์ข้อมูล

ขั้นตอนการทำงาน ทีมนักวิเคราะห์ต้องเข้าถึงข้อมูลด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจกลุ่มตลาด การรายงานผลการดำเนินการย้อนหลังขององค์กรมาวิเคราะห์ เป็นต้น เพื่อให้ได้กองข้อมูลจำนวนมหาศาลมาตอบคำถามนั้นได้ จัดหมวดหมู่ฐานข้อมูลเหล่านั้นอย่างเป็นระบบแล้วจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลออกมา

หน้าที่หลักและความสามารถที่ Data Engineer ต้องมีมีอะไรบ้าง

วิศวกรข้อมูล (Data engineer) คือผู้ที่จะนำข้อมูลเข้าระบบ ทำการแปลงข้อมูล ทำเรื่อง Data Cleansing ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องขึ้น ซึ่งงานตรงส่วนนี้ต้องมีความรู้ด้านไอที การพัฒนาโปรแกรมภาษาต่างๆเช่น Python และเทคโนโลยีด้านข้อมูล โดยเฉพาะเรื่องของ Big Data อาทิเช่น Database, Hadoop, Spark และ Cloud services ต่างๆ

นักวิเคราะห์ข้อมูลมีคุณสมบัติอย่างไร

มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ด้าน SQL Data Query. มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะด้านข้อมูลทั่วไป ระดับดี และสามารถสื่อสารให้บุคคลอื่นได้ สามารถวิเคราะห์ปัญหา พัฒนาแผนการดำเนินงาน นำเสนอและดำเนินงานโครงการด้านข้อมูลได้ ทั้งการดำเนินงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับบุคคลอื่น