แบบทางไฟฟ้าหลัก ๆ ที่ใช้ในการติดตั้งประกอบด้วยอะไร

การอ่านแบบไฟฟ้า และระบบพิกัดในงานเขียนแบบ from NeeNak Revo

หลักการเบื้องต้นในการออกแบบและเขียนแบบไฟฟ้า from NeeNak Revo

พูดได้ว่าไฟฟ้าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอีกชนิดหนึ่งที่แทบทุกบ้านจะขาดไม่ได้ ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในปัจจุบันมีมากมายที่ใช้ไฟฟ้า ดังนั้นการรู้ถึงระบบไฟฟ้าภายในบ้านจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร หรือโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ ๆ

หลักการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน มีอะไรบ้าง

1. เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย

การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า อาทิเช่น สายไฟ ปลั๊กไฟ จะต้องเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ หรือได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม อาทิเช่น มอก. เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้เลือกมา มีความทนทาน แข็งแรง และปลอดภัยที่จะใช้งาน

2. เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสม

การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรจะเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรา เช่น เลือกขนาดสายไฟให้มีขนาดที่สามารถรองรับการใช้งานภายในอาคารได้ หรือไม่เผื่อเยอะเกินไป รวมถึงการเลือกซื้อให้เพียงพอ ไม่เผื่อมากจนเกินไป เพื่อความประหยัดในการติดตั้ง แต่ก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพด้วยเพื่อความปลอดภัย

3. ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ถูกต้องตามมาตรฐานของการไฟฟ้า

การติดตั้งสายไฟฟ้า ควรติดตั้งให้มีความเรียบร้อยสวยงาม เป็นระเบียบ โดยเฉพาะสายไฟ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่ควรรู้ต่อการติดตั้งสายไฟ มีดังนี้

3.1 การเลือกสายไฟ – นอกจากสายไฟที่ได้เลือกมาจะได้รับมาตรฐานแล้ว สายไฟที่ใช้ติดตั้งภายในอาคาร ควรจะเป็นสายชนิดที่มีฉนวนหุ้ม เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่ไปสัมผัสกับสายไฟโดยตรง

3.2 การเดินสายผ่านหนังหรือกำแพง – ในกรณีที่มีการติดตั้งโดยเจาะทะลุผนัง จะต้องมีวัสดุที่ไม่มีคมหุ้มสายไฟไว้ อาทิเช่น ปลอกพลาสติก หรือขอบยาง เพื่อไม่ให้มีสิ่งมีคมไปทำความเสียหายให้กับสายไฟ

3.3 การจับยึดสายไฟ – ในกรณีที่การติดตั้ง เป็นการติดตั้งแบบติดผนัง ควรจะมีอุปกรณ์จับยึดกับผนัง อาทิเช่น เข็มขัดรัดสาย รางไฟ หรือ ท่อร้อยสายไฟ โดยอุปกรณ์ที่นำมายึดสายจะต้องใช้วัสดุที่ไม่ทำอันตรายต่อฉนวนไฟฟ้า สำหรับเข็มขัดรัดสายจะต้องมีระยะในการยึดสายไฟที่เหมาะสม โดยปกติจะไม่เกิน 20 เซนติเมตร สำหรับท่อร้อยสายไฟ จะเป็นอุปกรณ์ที่มักจะ ร้อยในงานพิเศษ เช่นใต้หนัง ใต้เพดาน เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสายไฟ

3.4 ห้ามเดินสายไฟซ้อนกัน – การติดตั้งสายไฟ จะต้องเรียงต่อกันเป็นชั้นเดียว ห้ามเดินสายไฟซ้อนกันเป็นอันขาด

3.5 ไม่ควรเดินสายไฟบนพื้นผิวที่อาจจะเป็นอันตรายกับสายไฟได้ เช่น พื้นผิวที่ไม่มีความแข็งแรง

3.6 ควรเก็บงานตามจุดต่อต่างๆ ให้เรียบร้อย – จุดต่อ หรือรอยเชื่อมต่างๆ ถ้าหากมีการติดตั้งที่ไม่ดีพอ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไฟช็อต หรือ ไฟฟ้าลัดวงจรได้ ดังนั้นตามจุดรอยต่อต่างๆ ควรติดตั้งให้เรียบร้อยและมีฉนวนไฟฟ้าหุ้มไว้เพื่อความปลอดภัย

4. แยกวงจรไฟฟ้าเป็นระบบย่อย

ไม่ควรติดตั้งระบบไฟฟ้าทั้งหมดทั้งอาคารภายในสวิตช์เดียว ควรแยกวงจรเป็นจุดต่างๆ โดยอาจจะใช้ กล่องพักสายไฟ เป็นตัวแยกวงจรย่อย และสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้ไฟฟ้าเป็นปริมาณมาก อาทิเช่น เครื่องปรับอากาศ ควรจะแยกสวิตช์ต่างหาก และเมื่อมีปัญหาก็สามารถบำรุงรักษาได้ง่ายอีกด้วย

5.เลือกช่างไฟฟ้าที่ไว้ใจได้

สุดท้ายการเลือกช่างไฟฟ้าที่จะเข้ามาติดตั้งระบบไฟฟ้าให้กับเราก็สำคัญเช่นกัน เพราะจะส่งผลถึงต่อความปลอดภัยอีกด้วย

Riser Diagram คือ แบบแสดงโครงสร้างของระบบไฟฟ้าภายในอาคารจะแสดงอุปกรณ์หลักในระบบ และสายป้อนในแนวดิ่งที่จ่ายไฟไปตามจุดหรือชั้นต่างๆ ของอาคาร พร้อมแสดงตู้ควบคุมหลัก (MDB), ตู้ควบคุมรอง (SDB), และตู้ควบคุมย่อย (LP) ในแต่ละชั้น

แบบทางไฟฟ้าหลัก ๆ ที่ใช้ในการติดตั้งประกอบด้วยอะไร

ซึ่ง Riser Diagram ระบบไฟฟ้า คือประเภทหนึ่งของแผนผังระบบไฟฟ้า (Diagram) การติดตั้งระบบไฟฟ้าในอาคารสูงโดยทั่วไปจะต้องมีไดอะแกรมที่แสดงถึงรายละเอียดต่างๆ เช่น ท่อ สาย รวมถึงข้อมูลที่จำเป็นไดอะแกรมนี้เรียกว่า ไรเซอร์ไดอะแกรม คือ ไดอะแกรมที่แสดงตำแหน่งของอุปกรณ์ และรายละเอียดของอุปกรณ์ ตลอดจนการต่อเชื่อมโยงกับระบบของอุปกรณ์นั้นๆ การแสดงไรเซอร์ไดอะแกรมนี้สามารถทำได้ง่าย เพราะเป็นการเขียนในลักษณะชั้นต่อชั้น และแสดงการเชื่อมต่อของระบบในลักษณะชั้นต่อชั้น 

  • การเขียนไรเซอร์ไดอะแกรมจะต้องรู้ถึงวันไลน์ไดอะแกรม ตลอดจนถึงรู้ถึงความต้องการของระบบ เช่น ระบบควบคุมไฟไหม้ ระบบโทรศัพท์ และในบางกรณียังต้องรู้ถึงโครงสร้างอาคารด้วย
  • การวางตำแหน่งไรเซอร์ไดอะแกรม ทำได้โดยเขียนเส้นในแนวราบ แทนชั้นต่างๆที่ต้องการจะออกแบบในบางกรณีอาจจะต้องแบ่งอาคารเป็นแกน (Core)

ซึ่งจะสัมพันธ์กับไรเซอร์ไดอะแกรมที่จะเขียนขึ้น

ผู้เขียน : นาถชนก สารโภค

ช่างไฟดอทคอมช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

งานไฟฟ้า เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้และความชำนาญในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเขียนแบบไฟฟ้า เนื่องจากงานไฟฟ้าเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะเป็นในทางของไฟฟ้าหรือปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ดังนั้น การที่เราจะทำการติดตั้งหรือซ่อมแซมไฟฟ้าในแต่ละครั้ง เราจึงควรที่จะมีการเขียนแบบไฟฟ้าเอาไว้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำงานไฟฟ้านั้น ๆ 

โดยทั่วไปแบบในการเขียนไฟฟ้านั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

แบบทางไฟฟ้าหลัก ๆ ที่ใช้ในการติดตั้งประกอบด้วยอะไร

เป็นแบบไฟฟ้าที่มีลักษณะเป็นภาพเสมือนงานไฟฟ้าของจริง ที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะภายนอกของการติดตั้งไฟฟ้าทั้งหมด โดยแบบไฟฟ้าประเภทนี้จะนิยมเขียนให้เห็นเป็นรูปลักษณ์ของอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งจริง ตามลักษณะภายนอกที่ตาสามารถมองเห็นได้ ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ หรือ จุดที่ติดตั้ง เป็นต้น

  1. แบบไดอะแกรมแผนผัง (Schematic Diagram)
แบบทางไฟฟ้าหลัก ๆ ที่ใช้ในการติดตั้งประกอบด้วยอะไร

เป็นแบบไฟฟ้าที่แสดงให้เห็นถึงทางเดินของกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีการติดตั้ง โดยมันเป็นแบบไฟฟ้าที่มีวัตถุประสงค์ในการออกแบบ ก็เพื่อต้องการให้ช่างไฟฟ้าได้เห็นหรือทราบถึงการต่อวงจรภายในของระบบไฟฟ้านั้น ๆ เพื่อที่ช่างไฟฟ้าจะได้ทำการติดตั้งหรือซ่อมแซมวงจรไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องตามที่ได้ออกแบบเอาไว้

  1. แบบไดอะแกรมเส้นเดียว (One Line Diagram)
แบบทางไฟฟ้าหลัก ๆ ที่ใช้ในการติดตั้งประกอบด้วยอะไร

เป็นแบบไฟฟ้าที่มีลักษณะที่คล้ายกับแบบงานจริง แต่จะแตกต่างกันตรงที่แบบไฟฟ้าประเภทไดอะแกรมเส้นเดียวจะเขียนเส้นออกมาเพียงแค่เส้นเดียวแทนสายไฟ โดยมันเป็นแบบไฟฟ้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ช่างไฟฟ้าสามารถทราบตำแหน่งที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพียงอย่างเดียว โดยในส่วนของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ภายในแบบ จะถูกเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์อื่น ๆ 

  1. แบบไดอะแกรมวงจรไฟฟ้า (Wiring Diagram)
แบบทางไฟฟ้าหลัก ๆ ที่ใช้ในการติดตั้งประกอบด้วยอะไร

เป็นแบบไฟฟ้าที่แสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ทั้งหมดของการเขียนแบบทางไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่งที่ทำการติดตั้ง หรือ การต่อวงจรไฟฟ้าต่าง ๆ โดยอุปกรณ์ของจริงภายในแบบไฟฟ้าประเภทนี้จะถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า