สาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบคืออะไร

โรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบตัน ส่วนใหญ่มากกว่า 95% มาจากการอักเสบ การเสื่อมของหลอดเลือดซึ่งใช้เวลานานนับสิบๆ ปี
       ความเสื่อมจะมากหรือน้อยนั้นต่างกันตามสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้น กรรมพันธุ์ ความดันโลหิต สูงเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ การสูบบุหรี่ ความอ้วน การไม่ออกกำลังกาย ถ้าหลอดเลือดในหัวใจเริ่มตีบแคบเกิน 50% จะเริ่มมีอาการเหนื่อยเมื่อออกแรงมากขึ้น พอพักก็หาย และถ้าตีบเกิน 75% อาจมีอาการแม้อยู่เฉยๆ นอกจากนี้ บางสถานการณ์อาจมีการปริแตกของตระกรัน (Plaque) ในหลอดเลือดแดง เกล็ดเลือด และปัจจัยแข็งตัวของเลือดจะเข้ามาอุดทำให้หลอดเลือดหัวใจเส้นนั้นเกิดตีบตันฉับพลัน มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเป็นมากขึ้นก็หอบเหนื่อย (เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว) หรือหัวใจหยุดเต้น เรียกกลุ่มอาการอันตรายนี้ว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน (ACS: Acute Coronary Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะเร่งด่วนทางหัวใจที่ต้องรักษาฉับพลัน คนทั่วไปอาจเรียกว่า Heart Attack (อาการโรคหัวใจอันตรายฉับพลัน) 
ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
 
      ในอดีตโรคนี้มักเจอในผู้ชายวัยกลางคน และหญิงวัยทอง แต่ปัจจุบันพบภาวะนี้ในอายุน้อยลงๆ อาจเป็นเพราะสถานการณ์ทุกวันนี้มีความเครียดสูง การแข่งขันกันมาก การเร่งรีบ พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ส่งผลเร่งให้เกิดความเสื่อมของหลอดเลือดแดงเร็วขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่พบเห็นผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันในอายุ 30 ปีกว่าๆ มากขึ้น บางคนมี Heart Attack เสียชีวิตระหว่างขับรถในขณะที่อายุ 48-49 ปีเท่านั้น ปัจจัยเสี่ยงของอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ

Show

  • ปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้: อายุ เพศชาย มีประวัติบิดาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจก่อน 55 ปี หรือมารดาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจก่อนอายุ 65 ปี
  • ปัจจัยที่แก้ไขได้: ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันสูง สูบบุหรี่ อ้วนลงพุง (ผู้ชายวัดเส้นรอบสะดือ>36 นิ้ว ผู้หญิงวัดได้>32 นิ้ว) การไม่ออกกำลังกายบุคลิกเคร่งเครียดตลอดเวลา

การควบคุมปัจจัยเสี่ยง

  • หยุดสูบบุหรี่เด็ดขาด (ยังช่วยรักษาโรคอื่นด้วย)
  • ควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า หรือเท่ากับ 130/85 สำหรับคนที่ไม่เป็นเบาหวาน สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานควรมีความดันน้อยกว่า หรือเท่ากับ 130/80 และสำหรับผู้ที่เป็นไตเสื่อมควรมีความดันน้อยกว่า หรือเท่ากับ 125/75 (มีไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่าวันละ 1 กรัม)
  • ควบคุมเบาหวาน< 130 mg% เมื่ออดอาหาร 6 ชม. และให้เบาหวานเฉลี่ย 3 เดือน (HbA1c) < 7%
  • ควบคุมไขมัน คอเลสเตอรอล< 200 mg%, ไตรกลีเซอร์ไรด์< 150 mg%, แอลดีแอล (ไขมันร้าย)< 100 mg%, เฮชดีแอล (ไขมันดี)> 40 mg% (ชาย) และ> 45 mg% (หญิง)
  • ควบคุมน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย (BMI) < 25 หรือให้เส้นรอบสะดือ< 36 นิ้ว (ชาย) < 32 นิ้ว (หญิง)
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิค> 30 นาที มากกว่า 5 ครั้ง/สัปดาห์
  • รู้จักพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เคร่งเครียดตลอดเวลา

 อาการเส้นเลือดหัวใจตีบ       เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลาง ร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้ายบางรายมีปวดร้าวขึ้นไปตามคออาการเป็นมากขึ้นเวลาออกแรง นั่งพักจะดีขึ้นในรายที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบมากจนตัน จะทำให้มีการขาดเลือดอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกรุนแรง กระสับกระส่าย เหงื่อออกตัวเย็น ถ้านำส่งโรงพยาบาลไม่ทันก็อาจเสียชีวิตได้ จากอาการที่กล่าวมาข้างต้น หากเกิดความสงสัยว่ามีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บหน้าอกอาจเป็นได้จาก 2 กรณี คือ เกิดจากการขาดเลือดเนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการอุดตันของเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอย่างกะทันหัน หากเป็นการขาดเลือดจากหลอดเลือดตีบ คือมีอาการขณะออกแรง หรือออกกำลังกาย ให้หยุดการออกแรง หรือออกกำลังกายที่มากจนทำให้เกิดอาการ และพบแพทย์โดยเร็ว แต่ไม่ถึงกับฉุกเฉิน แต่หากเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการอุดตันของเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอย่างกะทันหัน คือมีอาการในขณะพัก หรืออยู่เฉยๆ โดยมีอาการค่อนข้างมาก ให้พบแพทย์โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยด่วนทั้งนี้ กล้ามเนื้อหัวใจจะตายเกือบทั้งหมดภายใน 4-6 ชั่วโมง แต่ถ้าเราแก้ไขได้ก่อน 4-6 ชั่วโมง จะสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจกลับมาทำงานได้ตามปกติ โดยเฉพาะในปัจจุบันมียาฉีดที่สามารถละลายก้อนเลือดที่ไปอุดตันหลอดเลือดได้ผลดีมาก ฉะนั้น ถ้ามีอาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ไม่ควรปล่อยไว้นานเกิน 4-6 ชั่วโมงนอกจากนี้ ภาวะไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูง ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตีบเพิ่มขึ้น

การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 
      ปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบหลายวิธี เช่น การทำบายพาส โดยการนำเส้นเลือดจากบริเวณอื่นมาต่อเชื่อมจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปยังหลอดเลือดหัวใจใต้จุดที่มีการอุดตัน การใช้บอลลูนเข้าไปขยายหลอดเลือด และการใช้ขดลวดตาข่ายค้ำยันหลอดเลือดที่มีการอุดตัน อย่างไรก็ตาม ในรายที่พบหลอดเลือดอุดตันแล้ว การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นเพียงการประคับประคองอาการเท่านั้น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือการป้องกัน ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มีน้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง หรือสูบบุหรี่ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเลิกสูบบุหรี่ ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หมั่นออกกำลังกาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยรับประทานอาหารให้มีไขมัน แป้ง น้ำตาล ให้น้อยลง เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงมากขึ้น

สาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบคืออะไร

การทำผ่าตัดบายพาสโรคเส้นเลือดหัวใจตีบปัจจุบัน มี2วิธี คือ

  1. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (Off-Pump CABG) หรือ แบบ “ไม่ต้องหยุดหัวใจ” มีข้อดี คือใช้ปริมาณเลือดในการผ่าตัดน้อยลง และลดระยะเวลาในการผ่าตัด รวมถึงการดมยาสลบ ตลอดจนระยะเวลาการพักฟื้นในโรงพยาบาลสั้นกว่าแบบผ่าตัดบายพาสหยุดหัวใจ
  2. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แบบต้องใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On Pump CABG) เพื่อ “หยุด” การทำงานของหัวใจทั้งหมด

อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
      เป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสชาติไม่จัดจนเกินไป ควรเลือกคาร์โบไฮเดรตที่มีกากใยสูง มีส่วนประกอบของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวต่ำ (low glycemic index) และเลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำ โดยไขมันที่รับประทานควรมีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัว นอกจากนี้ ควรเพิ่มการบริโภคอาหารที่มีผัก ผลไม้ อาหารกลุ่มธัญพืช และกากใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ ซึ่งเป็นแหล่งวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันภาวะท้องผูก และลดการเกิดมะเร็งลำไส้ อีกทั้ง ไม่ควรรับประทานผลไม้ และอาหารที่มีรสจัด


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ หัวใจ

สาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบคืออะไร

อาการเส้นเลือดหัวใจตีบเป็นยังไง

อาการหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ แต่ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันค่อนข้างมากจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างมากจนทนไม่ได้ เหมือนมีอะไรหนัก ๆ กดทับตรงกลางหน้าอก หรือการเจ็บจากหน้าอกขึ้นไปถึงคาง หรือเจ็บลงไปถึงแขนซ้าย หายใจหอบ เหนื่อย เหงื่อแตกใจสั่น หมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น (Heart Attack)

เส้นเลือดหัวใจตีบ มาจากอะไร

ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ เช่น ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา รับประทานอาหารไขมันสูง อ้วนลงพุง และขาดการออกกำลังกาย

ปัจจัยใดก่อให้เกิดความเสี่ยงในอาการหลอดเลือดหัวใจตีบมากที่สุด

การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลอดเลือดทั่วร่างกาย มีผลทำให้เกิดความผิดปกติของผนังหลอดเลือดตีบตันในที่สุด