ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มวัยรุ่นมีแนวทางอย่างไร

ความขัดแย้ง หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะของความไม่เป็นมิตรหรือตรงกันข้ามหรือไม่ลงรอยกันหรือความไม่สอดคล้องกัน ลักษณะของความไม่ลงรอยกันหรือไม่สอดคล้องกันนี้จะเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ หลายประเด็น เช่น เป้าหมาย ความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม ความสนใจ ความสัมพันธ์ เป็นต้น 

                วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตและความเป็นอยู่อย่างมาก เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงมักจะเกิดปัญหาความขัดแย้งในวัยรุ่น ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาหาทางแก้ไข โดยจะเริ่มจากสาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางการแก้ปัญหาทั้งแบบไม่ใช้ความรุนแรงและแบบสร้างสรรค์ ดังนี้

สาเหตุ


1.จากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

                ความขัดแย้งที่มาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หมายถึงความคับข้องใจที่มีจากการกระทำคำพูดของผู้อื่นส่งผลให้เราไม่พอใจ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆดังต่อไปนี้

   1.1 กระบวนการทางความคิดและการสื่อสารไม่ตรงกันวัยรุ่นจะมีความคิดและมักจะยึดตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ยอมรับในความคิดผู้อื่น และในบางครั้งวัยรุ่นมักเป็นวัยที่พูดจาโผงผางและไม่ระมัดระวังในคำพูด ทำให้ผู้รับสารเข้าใจผิดในสิ่งที่ตนเองพูด ส่งผลทำให้ผู้รับสารไม่พอใจเกิดการกระทบกระทั่ง เกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกันได้

   1.2 ความแตกต่างของพฤติกรรม ความแตกต่าง ของพฤติกรรมที่วัยรุ่นแสดงออกต่อกันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เราจะพบว่าวัยรุ่นบางคนที่มีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันชอบสิ่งต่างๆเหมือนกัน เมื่อได้รู้จักกันครั้งแรกก็มักจะสนิทสนมกันได้อย่างรวดเร็ว ราวกับได้รู้จักกันมานานปี ในทางตรงกันข้าม บางคนเมือพบกันรู้สึกไม่ชอบหน้ากันแล้วทั้งๆที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เพราะพฤติกรรมของอีกกลุ่มบุคคลไม่เป็นที่พึงพอใจของอีกกลุ่มหนึ่ง จึงเป็นสาเหตุแห่งความขัดแย้งในวัยรุ่น


ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มวัยรุ่นมีแนวทางอย่างไร


                จากสาเหตุความขัดแย้งที่วัยรุ่นต่างปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ทำให้สามารถแยกประเภทของความแตกต่างที่วัยรุ่นแสดงต่อกันได้เป็น 4 ประเภทต่อไปนี้

1)ความขัดแย้งที่แท้จริง เป็นความขัดแย้งที่ทั้ง๒ฝ่ายมีความแตกต่างกันทั้งทางกระบวนการทางความคิดและพฤติกรรม

2)ความขัดแย้งซ่อนเร้น เป็นความขัดแย้งที่ทั้ง ๒ ฝ่ายมีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน แต่มีกระบวนการทางความคิดและลักษณะการพูดจาที่แตกต่างกัน

3)ความขัดแย้งเท็จ เป็นความขัดแย้งที่ทั้ง ๒ ฝ่ายมีกระบวนการทางความคิดและลักษณะการพูดที่คล้ายคลึงกัน  แต่พฤติกรรมที่แสดงออกแตกต่างกัน

4)ไม่มีความขัดแย้ง คือ การที่ทั้ง ๒ ฝ่ายมีกระบวนการทางความคิด ลักษณะการพูดจาและพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน

2.ความขัดแย้งภายในตัววัยรุ่นเอง

                ความขัดแย้งภายในตัววัยรุ่นเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของวัยรุ่นเอง  เป็นความขัดแย้งที่วัยรุ่นมีความต้องการที่จะบรรลุเป้าหมายบางอย่าง จึงได้สร้าง แรงขับ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น  แต่เมื่อมีบางสิ่งบางอย่างที่เรียกว่า  อุปสรรค  มาขัดขวางหรือกั้นกลางไว้ระหว่างแรงขับและเป้าหมายนั้น ซึ่งมีผลต่อจิตใจของวัยรุ่นอย่างรุนแรง  ทำให้เกิดความคับข้องใจ  ทำให้วัยรุ่นสร้างกลไกในการป้องกันตัวขึ้น  เช่น   พฤติกรรมความก้าวร้าว  พฤติกรรมการถอนตัว


ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มวัยรุ่นมีแนวทางอย่างไร


3.ความขัดแย้งจากสภาพแวดล้อม

                สภาพแวดล้อมที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง  คือสิ่งแวดล้อมที่ได้จัดกระทำขึ้นมาทำให้เกิดความคับข้องใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง สภาพแวดล้อมที่เป็นสาเหตุของการขัดแย้ง  เช่น ถูกจำกัดด้วยกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด  จึงทำให้วัยรุ่นมีความอึดอัด ต้องการอิสระจากสิ่งต่างๆ เป็นทุนอยู่แล้วเมื่อถูกจำกัดด้วยกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ผู้อื่นตั้งไว้ เช่น พ่อแม่ หรือครูอาจารย์ ก็จะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านกับสิ่งนั้น โดยการพยายามออกนอกกฎเกณฑ์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การหลบหนี และการประชดประชัน นอกจากนี้วัยรุ่นยังขัดแย้งเนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรม  โดยเฉพาะการได้รับข้อยกเว้นสำหรับบางกลุ่มที่ไม่ต้องปฏิบัติตามบทบาท หรือปฏิบัติไม่เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดก็เป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้

นักเรียนมีแนวทางการป้องกันปัญหาความขัดแย้งอย่างไร

คำแนะนำที่จะช่วยทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็ว คือ.
อ้าแขนรับปัญหา | เจรจาด้วยเหตุผล ... .
หันหน้าคุยกัน | เลี่ยงคำพูดรุนแรง ... .
ฟังอย่างตั้งใจ | ป้องกันตีความผิด ... .
หาข้อตกลง | ยึดงานเป็นที่ตั้ง ... .
หาคนกลาง | ไกล่เกลี่ยปัญหา ... .
ขอโทษให้เป็น | อภัยให้เร็ว.

นักเรียนจะป้องกันปัญหาความขัดแย้งในวัยรุ่นได้อย่างไร

ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดในวัยรุ่นส่งผลทำให้มีความรุนแรงเกิดขึ้นตามมาในโรงเรียน สถาบันศึกษา และในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นความขัดแย่งภายในโรงเรียนและการทะเลาะวิวาท นอกสถาบัน แนวทางการแก้ไขปัญหาควรปฏิบัติดังนี้ 1. ฝึกตนเองให้สามารถรู้จักแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิดดี เหตุผล หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์และความรุนแรง รู้จัก ประนีประนอม ...

มีวิธีป้องกันความขัดแย้งได้อย่างไร

1. ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติและอาจเกิดขึ้นได้เสมอ 2. ทั้ง 2 ฝ่าย มีทัศนคติในการช่วยกันแก้ปัญหามากกว่ามุ่งเอาชนะกันและกัน 3. มีความจริงใจที่แสดงความต้องการที่แท้จริงออกมา 4. หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อช่วยการตัดสินใจ 5. หลีกเลี่ยงการใช้คะแนนเสียงข้างมากเป็นข้อยุติ 6. เอาใจใส่ซึ่งกันและกันและไม่เห็นแก่ตัว

ข้อใดเป็นวิธีป้องกันและลดปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มนักเรียนและวัยรุ่นได้ดีที่สุด

1. ฝึกตนเองให้สามารถรู้จักแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิดดี เหตุผล หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์และความรุนแรง รู้จักประนีประนอม พูดจาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง 2. รู้จักการให้อภัยเพราะการให้อภัยจะทำให้ความขัดแย้งจบได้รวดเร็ว 3. ไม่ใช้อารมณ์ ความรุนแรง ตัดสินปัญหาความขัดแย้ง แต่ควรใช่สติและความคิดในการแก้ไขปัญหา