หลักธรรมในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ 5 ข้อ มีอะไรบ้าง

หลักธรรมกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

หลักธรรมในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ 5 ข้อ มีอะไรบ้าง

เราสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมีดังนี้

1. เว้นจากการทำชั่วและมุ่งทำความดี ทุกศาสนาสอนให้ละเว้นการกระทำความชั่วและทำแต่ความดีทั้งสิ้น เพื่อให้ศาสนิกชนทั้งหลายเป็นคนดีนั่นเอง ถึงแม้แนวทางปฏิบัติของแต่ละศาสนาอาจมีข้อแตกต่างกันไป เช่น พระพุทธศาสนามีศีล คือ ข้อห้าม และธรรมะ คือหลักสำหรับเป็นข้อปฏิบัติ ศาสนาคริสต์มีบัญญัติ 10ประการ ศาสนาอิสลามสอนให้ยึดหลักศรัทธา 6 ประการ และหลักปฏิบัติ 5 ประการ เป็นต้น

2. ความรัก ความเมตตา แต่ละศาสนากล่าวถึงความรักความเมตตาไว้มากมายทั้งหลักธรรมคำสอนในคัมภีร์ และคำสอนแทรกไว้ในแต่ละตอนของคำสอนนั้นๆ บางครั้งก็มีคำสอนทำนองภาษิตเตือนใจ เช่น พระพุทธศาสนามีคติธรรมที่ยึดถือ เช่น เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลกและพึงเอาชนะความชั่วด้วยความดี ในศาสนาคริสต์พระเยซูทรงสอนว่า จงรักพระเจ้าอย่างสุดใจสุดความคิด และสุดกำลัง และจงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง ศาสนาอิสลาม ศาสดามูฮัมหมัดก็ทรงกล่าว ผู้ใดขาดความเมตตาเพื่อนมนุษย์ผู้นั้นไม่ได้รับเมตตาจิตเช่นกัน ดังนั้นทุกศาสนาจึงเน้นเรื่องความรัก ความเมตตาเพราะหากมนุษย์ทุกคนมีความรักความเมตตาอยู่ในใจแล้ว ก็จะไม่มีการเบียดเบียนกัน ต่างให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

3. การเสียสละหรือการสังคมสงเคราะห์ เมื่อ มนุษย์มีความรักความเมตตาแล้ว ก็จะมีความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้การสงเคราะห์ซึงกันและกัน ศาสนาต่างๆ จึงสอนให้สงเคราะห์กันด้วยความเมตตากรุณาไม่ใช่หวังผลตอบแทน แต่เน้นการเสียสละด้วยความบริสุทธิ์ใจ เช่น พระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่เรียกว่า สังคหวัตถุ4 ซึ่งได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา ศาสนาอิสลามได้มีการกำหนดหลักการให้ชาวมุสลิมมีการบริจาคทาน (ซากาด) แก่ผู้ยากจนหรือสมควรได้รับความช่วยเหลือในอัตราร้อยละ 2.5 ของรายได้ ศาสนาคริสต์จะเน้นให้มนุษย์เสียสละ ให้อภัย เอื้อเฟื้อ โดยไม่หวังผลตอบแทน

4. ความอุตสาหะและพัฒนาตนเอง ศาสนา ต่างๆ สอนให้คนมีความเพียร อดทน ขยันขันแข็ง และมีความอุตสาหะ มีความพยายาม อันจะช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จและรู้จักพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เช่น พระพุทธศาสนาสอนให้คนเคารพในการศึกษา สรรเสริญความเจริญก้าวหน้า มีหลักคำสอน อิทธิบาท 4 อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มีคติเตือนใจ เช่น ความเพียรอยู่ในความสำเร็จอยู่ที่นั่น ศาสนาอิสลามสอนให้คนใฝ่หาความรู้ตั้งแต่เกิดจนตายและมีคำสอนว่า ผู้ใดมีความพยายาม ผู้นั้นจะได้รับผลสำเร็จ หรือคำสอนในศาสนาคริสต์ก็มีกล่าวไว้ว่า เราทั้งหลายภูมิใจความยากลำบาก เพราะรู้ว่าความยากลำบากนั้นทำให้เกิดความอดทนและความอดทนนั้นทำให้เกิด อุปนิสัยที่ดี เป็นต้น

5. ความยุติธรรม คำสอนทุกศาสนาเน้นเรื่องความยุติธรรม เพราะการที่สังคมจะอยู่ร่วมกันโดยสันติสุขนั้น จำเป็นต้องมีหลักแห่งความยุติธรรมเป็นแกนกลาง พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้อยู่ภายใต้อคติ 4 ประการ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ศาสนาคริสต์มุ่งเน้นในการรักษาความยุติธรรมในสังคมว่า เจ้าทั้งหลายอย่าเห็นแก่หน้าผู้ใดในการพิพากษา จงฟังท่าน ผู้ใหญ่ ผู้น้อย เหมือนกัน เจ้าทั้งหลายอย่ากลัวผู้ใด เพราะการพิพากษานั้นเป็นการตัดสินของพระเจ้า หรือศาสนาอิสลามสอนให้คำรงความยุติธรรม แม้จะกระทบกระเทือนต่อตัวเจ้าของ ต่อมารดา บิดาหรือญาติ ไม่ว่าเขาจะเป็นคนมีหรือคนจน และอย่าถือตามอารมณ์ใคร่ในการรักษาความยุติธรรม เป็นต้น

หลักธรรมที่พึ่งนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน 
ควรดำเนินการดังนี้

1.ฝึกการใฝ่หาความรู้ แบ่งออกได้เป็น 2 ทางคือ

การศึกษาทางโลกหมาย ถึง การศึกษาเล่าเรียนวิชาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการทำมาหากิน หรือนำมาใช้ประโยชน์ในการทำการงานทางโลก ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาชั่วระยะเวลาหนึ่ง การศึกษาทางโลกหรือการทำการงานทางโลก เป็นการกระทำที่ไม่มีวันสิ้นสุด ทำแล้วทำอีก หมดรุ่นนี้เดี๋ยวก็มีรุ่นใหม่มาให้ทำ เหมือนระลอกคลื่นที่เกิดขึ้น คลื่นลูกใหม่จะเกิดขึ้นไล่คลื่นลูกเก่าให้กระทบฝั่งไป เกิดอยู่เช่นนี้เป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป เรียกว่าโลกิยะวิสัย ซึ่งไม่เคยมอบความสำเร็จให้แก่ใคร ใครที่ยังมั่วสุมอยู่กับการงานทางโลกหรือการศึกษาทางโลก จึงไม่มีวันเสร็จงานหรือเสร็จการศึกษา

การศึกษาทางธรรมหมาย ถึง การงานทางธรรม ทำเสร็จแล้วไม่ต้องทำอีก ไม่ต้องศึกษาอีก ได้เป็นอเสกขะบุคคลแล้ว คือบรรลุนิพพานแล้ว ไม่ต้องศึกษาขวนขวายอะไรอีก มีแต่ทรงไว้และสงเคราะห์ แต่เสวยสุขซึ่งเป็นผลของการศึกษาทางธรรมไปเรื่อยๆ เมื่อหมดอายุขัยทางโลกแล้ว จิตวิญญาณดวงนั้นก็จะเสวยสุขหลุดพ้นอยู่แดนนิพพานตลอดไป

2.ฝึกบังคับตนเองไม่ทำความชั่วทั้งปวง การไม่ทำความชั่วทั้งปวงได้แก่

2.1 การไม่ทำความชั่วทางกาย ได้แก่ ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ลักขโมย ไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น

2.2 การไม่ทำความชั่วทางวาจา ได้แก่ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดหลอกลวง ไม่พูดคำหยาบ

2.3 การไม่ทำความชั่วทางใจ ได้แก่ ไม่คิดโลภ ไม่คิดพยาบาท ไม่เห็นผิดเป็นชอบ

3. ฝึกการทำความดี การกระทำความดี 3 ทางคือ

3.1การทำความดีทางกาย ได้แก่ มีเมตตากรุณาช่วยเหลือผู้อื่น

3.2 การทำความดีทางวาจา ได้แก่ พูดแต่ความจริง พูดแต่คำสุขภาพอ่อนหวาน ไม่พูดคำหยาบคาย

3.3 การทำความดีทางใจ ได้แก่ พอใจแต่สิ่งที่ได้มาโดยชอบ

4.การฝึกจิตให้บริสุทธิ์การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หมายถึง การชำระหรือล้างจิตใจให้สะอาดหมดจดจากสิ่งอันเป็นเครื่องเศร้าหมองที่เรียกว่า กิเลส

กิเลส เป็นภาบาลี แปลว่า เศร้าหมอง หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ซึ่งสาเหตุหรือต้นตอของกิเลสก็คือ อวิชชา ที่แปลว่าสภาพที่ปราศจากความรู้ที่ถูกต้อง ความไม่รู้นี้เป็นเหตุให้เศร้าหมอง กิเลสจำแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ โลภะ โทสะ โทสะ และโมหะ รวมเรียกว่า อกุศลมูล ลักษณะ ที่เรียกว่า โลภะ เช่น ความโลภ อยากได้ในทางทุจริต การกอบโกยผลประโยชน์ใส่ตนโดยไม่คำนึงถึงกรรมสิทธิ์และจิตใจของผู้อื่น การอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน เป็นต้น

ลักษณะที่เรียกว่า โทสะ เช่น ความโกรธ เคียดแค้น อาฆาตพยาบาท คิดประทุษร้าย เป็นต้น ลักษณะที่เรียกว่า โมหะ เช่น ความลังเลสงสัย ความประมาท ความหดหู่ท้อแท้เซื่องซึม ความเห็นผิดเป็นชอบ เป็นต้น

ข้อใดเป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องสำหรับติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น

สังคหวัตถุ 4 หมายถึง เครื่องมือ หรือหลักธรรม 4 ประการ ที่ช่วยประสานคนหมู่มากให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นเครื่องช่วยขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทำให้คนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่ระดับครอบรัวจนถึงระดับสังคม เป็นธรรมที่ก่อให้เกิดความผาสุกในบ้านเมือง และประเทศชาตินั่นเอง

การสร้างความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาควรใช้หลักธรรมใด

หลักธรรมในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ หลักธรรมในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ การประพฤติปฏิบัติต่อกันอย่างมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีอาจใช้ ได้แก่ สังคหวัตถุธรรม ๔ อิทธิบาทธรรม ๔ ไตรสิกขา สัปปุริสธรรม ฆราวาสธรรม ๗ และหลักทศพิธราชธรรม

ธรรมข้อใดคือหัวใจของมนุษยสัมพันธ์

หลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้นมีอยู่มากมาย แต่หลักธรรมคำสอนที่นิยมนำมาใช้กับเรื่องมนุษยสัมพันธ์มากที่สุดนั้นก็คือ “สังคหวัตถุ 4” ที่พูดถึงหลักธรรมในความสามัคคีนั่นเอง สังคหวัตถุ หมายถึง ธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจบุคคลและประสานหมู่ชนไว้ในความสามัคคี

หลักธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าที่สามารถช่วยในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ให้ประสบความสำเร็จในการทำงานมีอะไรบ้าง

อิทธิบาท 4 คือ หลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งกิจการ มี 4 ประการคือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา 1. ฉันทะ คือ ความพอใจ ใฝ่รัก ใฝ่หาความรู้ และใฝ่สร้างสรรค์ 2. วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม มีความอดทนไม่ท้อถอย 3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่และตั้งใจแน่วแน่ในการทำงาน