ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดอุปสงค์คืออะไร ข้อสอบ

อุปสงค์(demand) และอุปทาน (supply) เป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ ใช้สำหรับอธิบายการเปลี่ยนแปลงของราคาและจำนวนของสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน ในทางเศรษฐศาสตร์จุลภาค เรื่องดังกล่าวเป็นหนึ่งในเรื่องพื้นฐานของแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ที่พบได้ทั่วไป เนื่องจากมักจะถูกใช้เป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำหรับแบบจำลองและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ชั้นสูง ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบตลาดในฐานะที่มันได้อธิบายกลไกการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่เกิดขึ้น แต่สำนักนีโอคลาสสิกได้โต้แย้งว่า ความสัมพันธ์ของอุปสงค์และอุปทานจะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขปกติที่เรียกว่า ดุลยภาพทั่วไป

อุปสงค์

อุปสงค์ คือ ปริมาณความต้องการสินค้าของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยจะต้องมีทั้งความต้องการที่จะซื้อ และความสามารถในการซื้อ จากกฏอุปสงค์ กล่าวว่า เมื่อปัจจัยอื่นๆคงที่แล้ว อุปสงค์จะมีความสัมพันธ์ในทางลบกับราคา กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ความต้องการสินค้านั้นจะลดลง อุปสงค์สามารถแสดงได้โดยเส้นกราฟและสมการคณิตศาสตร์ โดยเส้นกราฟจะมีความชันลาดลง ปัจจัยที่กำหนดปริมาณอุปสงค์ของผู้บริโภคแต่ละคนได้แก่ ราคาสินค้านั้น รายได้ของผู้บริโภค รสนิยมส่วนบุคคล ราคาของสินค้าทดแทน (substitution goods) และราคาของสินค้าใช้ร่วมกัน (complementary goods) แม้ว่าเส้นกราฟอุปสงค์ของสินค้าส่วนใหญ่ จะมีลักษณะความชันลาดลง ก็ได้มีการยกตัวอย่างถึงสินค้าที่เส้นกราฟดีมานด์มีลักษณะชันขึ้น โดยเรียกสินค้านั้นว่าสินค้ากิฟเฟน (Giffen good) อย่างไรก็ตาม การดำรงอยู่ในสินค้ากิฟเฟนในความเป็นจริงก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

อุปทาน

อุปทาน คือ ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตเสนอขาย ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ปัจจัยหลักที่กำหนดปริมาณอุปทานคือราคาตลาดและต้นทุนการผลิต จากกฏอุปทาน กล่าวว่า โดยทั่วไปปริมาณอุปทานจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระดับราคา กล่าวคือ เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ขายจะยินดีเสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าโดยทั่วไปเส้นกราฟอุปทานจะมีลักษณะชันขึ้น อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่เส้นกราฟอุปทานไม่เป็นไปตามลักษณะดังกล่าว ตัวอย่างของข้อยกเว้นนี้ได้แก่ เส้นกราฟอุปทานของแรงงานที่มีลักษณะของการโน้มกลับ กล่าวคือ เมื่ออัตราค่าแรงเพิ่มขึ้น แรงงานก็พร้อมจะทำงานเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากขึ้น แต่เมื่ออัตราค่าแรงขึ้นถึงจุดที่สูงมากๆ ปริมาณอุปสงค์ของแรงงานจะลดลง ภาวะดุลยภาพ
เมื่อปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน จะเรียกว่าตลาดอยู่ในภาวะดุลยภาพ (equilibium) โดยที่ภาวะนี้การกระจายสินค้าและบริการจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะปริมาณสินค้าที่มีการเสนอขายจะเท่ากับปริมาณความต้องการสินค้านั้น จากกราฟ จุดดุลยภาพคือจุดที่เส้นกราฟอุปสงค์และอุปทานตัดกัน เมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิตได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น เรียกว่าเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (excess demand) ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น หรือเรียกว่าเกิดอุปทานส่วนเกิน (excess supply) กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ภาวะดุลยภาพ

การเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟอุปสงค์และอุปทาน
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานมีขึ้นได้ในสองลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงบนเส้นกราฟ และการเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟ การเปลี่ยนแปลงบนเส้นกราฟ คือการเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานไปยังจุดต่างๆบนเส้นกราฟเดิม เกิดขึ้นเมื่อปัจจัยอื่นๆนอกจากราคาและปริมาณนั้นคงที่ หากมีการเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟ หมายความว่าที่ระดับราคาเดิม ปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานมีความเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเกิดจากปัจจัยอื่นนอกเหนือจากราคา เช่น การเปลี่ยนแปลงของรสนิยมผู้บริโภค หรือการค้นพบวิธีการผลิตที่เพิ่มประสิทธิภาพทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง เป็นต้น จากกราฟ จะเห็นว่า เส้นกราฟของอุปสงค์มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจาก D1 ไปยัง D2 ส่งผลให้เกิดจุดดุลยภาพใหม่ ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก P1 เป็น P2 และปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก Q1 เป็น Q2

ความยืดหยุ่น สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในหลักการของอุปสงค์และอุปทานได้แก่ความยืดหยุ่น (elasticity) ในทฤษฏีของอุปสงค์และอุปทาน ความยืดหยุ่นคือการวัดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานต่อปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน วิธีหนึ่งในการหาความยืดหยุ่นคือการนำร้อยละของความเปลี่ยนแปลงของแต่ละตัวแปรมาหารกัน เรียกว่าความยืดหยุ่นแบบช่วง ซึ่งต่างจากความยืดหยุ่นแบบจุดที่ใช้แคลคูลัสในการหาความเปลี่ยนแปลงที่จุดๆหนึ่ง ความยืดหยุ่นที่นิยมนำมาพิจารณาได้แก่ความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานต่อความเปลี่ยนแปลงของราคา เรียกว่าความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อราคา (price elasticity of demand) และความยืดหยุ่นอุปทานต่อราคา (price elasticity of supply) โดยความยืดหยุ่นชนิดนี้ ใช้ในการวางแผนของผู้ผลิตในการกำหนดราคา รวมถึงการวางแผนของรัฐบาลในการวางแผนการเก็บภาษี นอกจากนั้นแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งตัวคือรายได้ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (income elasticity of demand) จะวัดความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์ของสินค้าที่มีต่อความเปลี่ยนแปลงของรายได้ของผู้บริโภค ความยืดหยุ่นอีกตัวหนึ่งที่มีการนำมาพิจารณาเรียกว่าความยืดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์ (cross elasticity of demand) ซึ่งแสดงความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์ที่มีต่อราคาของสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมักจะใช้ในการศึกษา

    กลไกราคา  หมายถึง  ตัวกำหนดการจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจที่มีปัจจัยสำคัญในการกำหนดราคา คือ อุปสงค์และอุปทาน

    อุปสงค์
    อุปสงค์  คือ ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการของผู้ซื้อในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กัน  ความต้องการซื้อจะแตกต่างจากความต้องการทั่วไป  แต่จะต้องรวมอำนาจซื้อคือ เต็มใจและมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายสินค้านั้นด้วย  อย่างไรก็ตามปริมาณความต้องการซื้อนี้จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีปัจจัยกำหนดอุปสงค์ตัวอื่นๆ  เปลี่ยนแปลงด้วย  เช่น  รายได้ของผู้ซื้อ  รสนิยมราคาสินค้าชนิดที่ใช้ทดแทนกันได้  เช่น  เนื้อหมูกับเนื้อไก่  เป็นต้นหากนำปริมาณความต้องการซื้อ ณ  ระดับราคาต่างๆ  กันมาจับคู่แสดงในรูปต่างๆ  จะได้เส้นอุปสงค์  เช่น  ส้มราคากิโลกรัมละ 25 บาท  นาย ก จะซื้อ 3 กิโลกรัม  ถ้าราคาเพิ่มขึ้นเป็น 30 บาท จะซื้อลดลงเหลือ 2 กิโลกรัม  เป็นต้น  แต่ถ้าหากราคาสูงขึ้นจนถึง  40 บาท ก็จะไม่มีผู้ซื้อเลย  ซึ่งเป็นไปตาม กฎของอุปสงค์

    ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์
    การที่ผู้บริโภคจะทำการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเป็นจำนวนเท่าใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ราคาสินค้าและบริการ (ตามกฎของอุปสงค์)
2. รายได้ของผู้บริโภค
3. รสนิยมของผู้บริโภค
4. สมัยนิยม
5. การโฆษณาและเทคนิคการตลาด
6. ราคาสินค้าหรือบริการอื่นๆ ที่ต้องใช้ร่วมกันหรือแทนกันได้
7. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค
8. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค
9. พฤติกรรมของผู้บริโภค  เช่น  ฤดูการ  การศึกษา
10. ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นๆ

อุปทาน
    อุปทาน  คือ  ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการของผู้ขายในระยะเวลาใด  เวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กัน โดยผู้ขายเต็มใจจะขาย กล่าวคือ  ถ้าราคาต่ำปริมาณที่เสนอขายก็จะลดต่ำลงด้วย  และในทางตรงข้าม  หากระดับราคาสูงขึ้นก็จะมีปริมาณเสนอขายเพิ่มขึ้น  ซึ่งเป็นไปตาม กฎของอุปทาน ปัจจัยที่ทำให้อุปทานเปลี่ยนแปลง  เช่น  การเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีในการผลิต ราคาของปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ  การเปลี่ยนแปลงฤดูการ  การคาดคะเนราคาสินค้าและบริการของผู้ขาย
    การที่ผู้บริโภคจะทำการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเป็นจำนวนเท่าใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายหลายชนิด  อันได้แก่
1.    ราคาสินค้า  เป็นค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อที่มีต่อสินค้านั้นๆ  ดังนั้น  เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
2.    รายได้ของผู้บริโภค  เป็นงบประมาณหรือกำลังซื้อของผู้บริโภค
3.    จำนวนประชากร  ถึงแม้ว่าราคาสินค้าและรายได้ของผู้บริโภคแต่ละรายอาจไม่เปลี่ยนแปลงแต่ในกรณีที่ประชากรหรือจำนวนผู้ซื้อมีจำนวนที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
4.    ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ความต้องการบริโภคเนื้อไก่  ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับราคาเนื้อไก่  แต่ในขณะเดียวกันก็อาจขึ้นอยู่กับราคาเนื้อสุกรด้วย
5.    รสนิยมของผู้บริโภครสนิยมของผู้บริโภคมีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปทาน
    การที่ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่
1. ราคาสินค้า  สินค้าที่ผู้ผลิตขายได้เป็นรายได้ผลตอบแทนที่ผู้ผลิต
 2. ต้นทุนการผลิต ถ้าหากปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น  ผลกำไรสุทธิของผู้ผลิตย่อมน้อยลง
3. ราคาสินค้าชนิดอื่น ในกรณีที่ผู้ผลิตสามารถเลือกสินค้าหรือธุรกิจได้ดีพอสมควร
4. เทคโนโลยีการผลิตที่นำมาใช้
5. สภาวะของตลาดและภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น
6. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการของผู้ผลิต (การเกิดกำไร)
7. จำนวนผู้ผลิตที่เป็นคู่แข่ง  (ราคาสินค้าและบริการชนิดเดียวกันที่มีการแข่งขันกัน)
8. ฤดูกาล
9. ปัจจัยอื่น  เช่น นโยบายรัฐบาล

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดอุปสงค์คืออะไร ข้อสอบ