ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงประชากรมีอะไรบ้าง

Skip to content

งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ผลกระทบต่อความยั่งยืนของระบบประกันสุขภาพ การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ความมั่นคงของมนุษย์ และ รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว

ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงประชากรมีอะไรบ้าง

ดำเนินโครงการโดย: รศ. ดร. ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติและคณะ

เกี่ยวกับโครงการ: ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี พศ 2539 ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศอย่างรุนแรงมากกว่าช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานะการคลังของประเทศ และย่อมส่งผลโดยตรงต่อระบบบริการสุขภาพของรัฐและเอกชน ตลอดจนการเข้าถึงบริการสุขภาพ เนื่องจากระบบประกันสุขภาพแห่งชาติอาศัยเงินรายได้จากภาษีของรัฐเป็นหลัก นอกจากนั้นประเทศไทยยังเผชิญปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ในขณะที่ประเทศยังมีรายได้ระดับกลางอยู่ ทำให้เกิดปัญหาการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวทั้งรูปแบบในระบบและนอกระบบตามมา ในท้ายสุดคือการส่งผลต่อความมั่นคงและความยั่งยืนของมนุษย์

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา

(1) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทย โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัย-ผลผลิต และการวิเคราะห์ส่วนแบ่งส่วนแปรเปลี่ยน
(2) การประชุมกลุ่มในภาคต่างๆทั้งสี่ภาค เพื่อวิเคราะห์ถึงประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสุขภาพของแรงงานในภาคทางการอย่างไร
(3) ทบทวนการศึกษาเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย เน้นที่ประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมีผลกระทบอย่างไร รวมทั้งการเข้าถึงบริการสุขภาพ และ
(4) ทบทวนรูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงวัยในเขตเมือง เพื่อเสนอข้อเสนอะแนะเชิงนโยบาย

ตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 จากการประชุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ใน ปี พศ 2560 สรุปประเด็นได้ดังนี้

  1. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ท้าทายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจคือคุณภาพและทัศนคติของคนรุ่นใหม่ในกำลังแรงงาน ทั้งสี่ภาคมีความเห็นตรงกันว่าคนรุ่นใหม่ต้องการแสวงหางานที่ให้ค่าตอบแทนสูงแต่ทำงานน้อยๆ และไม่ได้สนใจมุมอื่นๆที่สำคัญเช่น ความมั่นคงของงาน หรือการพัฒนาทักษะของตนเอง แรงงานรุ่นใหม่มีความรับผิดชอบต่ำและไม่ทนต่อการทำงานหนัก ทำให้เกิดความขัดแย้งกับคนรุ่นเก่า ส่งผลให้การดำเนินงานไม่ราบลื่น นอกจากนั้นประเด็นด้านแรงงานที่เห็นพ้องกันทั้งสี่ภาคคือ ต้องการนโยบายแรงงานที่มุ่งต่อปัญหาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่นบริษัทในภาคใต้รายงานว่าการจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อทำงานในระดับปฏิบัติการเนื่องจากคนไทยรุ่นใหม่ไม่ต้องการทำและยินดีอยู่กับบ้านหากไม่ได้งานประเภทอื่น แต่การจ้างแรงงานต่างด้าวมีความซับซ้อนและใช้เวลามาก บริษัทในภาคกลางก็เผชิญปัญหาที่แรงงานที่มีทักษะมีไม่เพียงพอ ทำให้ต้องจัดการรณรงค์เพื่อไปรับแรงงานที่โรงเรียนหรือวิทยาลัยวิชาชีพโดยตรงทั่วประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ประเด็นสำคัญลำดับถัดมาคือ แรงงานแบบรายวันไม่มีการออมที่เพียงพอ สุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงในอนาคตของแรงงานกลุ่มดังกล่าวหากไม่มีนโยบายความมั่นคงทางสังคมจากภาครัฐ สาเหตุที่สำคัญคือ (1) ความล้มเหลวของค่าจ้างขั้นต่ำที่ไม่สามารถตามการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพได้ทัน และ (2) การขาดทักษะการจัดการทางการเงินในหมู่แรงงาน

  1. ความมั่นคงด้านสุขภาพ

ผู้เข้าร่วมสนทนาได้ถกเถียงในประเด็นท้าทายต่อโครงการประกันสังคมดังนี้ (1) คุณภาพบริการที่ต่ำ เช่นทัศนคติของผู้ให้บริการที่มีต่อแรงงาน (2) ต้องรอนานในการเข้ารับการรักษา (3) ผู้รับบริการมีความรู้สึกว่าการรักษาและยาที่ได้รับมีคุณภาพต่ำ แรงงานหลายคนเห็นว่า การประกันสังคมไม่มีประโยชน์และหากไม่ผิดกฎหมายก็ไม่อยากจ่ายเบี้ยประกันสังคม ในขณะที่ แรงงานในวัยกลางคน และแรงงานอาวุโสล้วนเห็นว่าประกันสุขภาพเอกชนแบบกลุ่มเป็นสวัสดิการที่สำคัญของบริษัท ผู้เข้าร่วมสนทนามีความเห็นว่าการตั้งเพดาน 15,000 บาทเพื่อการคำนวณเงินบำนาญนั้นไม่เพียงพอ อีกทั้งผู้เข้าร่วมสนทนาส่วนใหญ่คิดว่าอยากออมเงินด้วยตัวเองมากกว่าเนื่องจากคิดว่าการบริหารเงินกองทุนโดยประกันสังคมไม่ได้เป็นการบริหารเพื่อผลประโยชน์ของสมาชิก

สำหรับประเด็นการดูแลผู้สูงวัยในระยะยาวนั้น ผู้เข้าร่วมสนทนาเห็นว่าสมาชิกในครอบครัวควรดูแลพ่อแม่ที่สูงอายุเอง และไม่เห็นด้วยที่จะให้องค์กรหรือศูนย์ทำหน้าที่ดูแล โดยมีข้อเสนอะแนะจากผู้ร่วมสนทนาบางส่วนว่าองค์การบริหารส่วนตำบลควรทำหน้าที่สนับสนุนระบบการดูแลผู้สูงอายุเพื่อที่ผู้สูงอายุจะไม่ต้องย้ายออกไปจากพื้นที่ เช่น จัดให้มีสมาคมผู้สูงอายุในชุมชน หรือท้องถิ่นที่ผู้สูงอายุจะได้พบปะ และทำกิจกรรมร่วมกันหรือ จัดให้มีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในเวลากลางวัน

ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงประชากรมีอะไรบ้าง

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของประชากร

การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น เป็นปรากฎการณ์อย่างหนึ่งที่เกิดจากปัจจัยหลักเพียง 2 ประการคือ การเกิด และการตาย ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงของประชากรในภูมิภาคย่อยๆ เช่น ทวีป หรือประเทศ ที่มีปัจจัยหลัก นอกจากการเกิด และการตายแล้ว ยังมีการย้ายถิ่นของประชากรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ปัจจัยใดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของประชากรมากที่สุด

1) ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร โดยเฉพาะการย้ายถิ่น กล่าวคือท้องถิ่นใดมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มีสิ่งแวดล้อมดี มีช่องทางในการทำมาหากินดีกว่าที่อยู่เดิม ก็จะเป็นเหตุจูงใจให้คนในท้องถิ่นอื่นเข้ามาอยู่อาศัย แต่ถ้าท้องถิ่นใดมีทรัพยากรน้อย สภาพแวดล้อมแห้งแล้งทุรกันดาร มีโรคระบาด ...

การมีประชากรมากมีผลดีอย่างไร

ในแง่นี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรจึงเป็นทั้งภาพสะท้อนผลลัพธ์ความสำเร็จของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ อาทิ การพัฒนาด้านสาธารณสุข โภชนาการ สุขอนามัยของปัจเจกบุคคล และยารักษาโรคที่ทำให้มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ยอยู่ได้ยาวนานมากขึ้นและตายน้อยลง ขณะเดียวกันก็ยังเป็นผลลัพธ์สะท้อนความล้มเหลวของการสร้างหลักประกันให้ทุกคนในทุกแห่งหน ...

ประชากรลดลงส่งผลอย่างไร

ปัญหาของประชากรน้อยลงที่เห็นได้ชัดที่สุดน่าจะเป็นเศรษฐกิจ ประชากรน้อยลง หมายถึง จำนวนผู้บริโภคน้อยลง ผู้บริโภคน้อยลงก็หมายถึงรายได้ของบริษัทน้อยลง เมื่อรายได้ของทุกบริษัทน้อยลง ก็จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย พอเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตลาดหุ้นตกลง การลงทุนจากนักลงทุนก็ลดน้อยลงไปด้วย