องค์ประกอบของการประเมินโครงการมีอะไรบ้าง

             กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดเกณฑ์และตัวชี้วัดสำหรับการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ (๔ ด้าน ๒๓ ตัวชี้วัด) และเกณฑ์และตัวชี้วัดการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินวิถีชีวิตของชุมชน ๖ ด้าน ๑๒ ตัวชี้วัด (๖ x ๒) เพื่อประเมินความพร้อมในการพัฒนาต่อให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้

2) การประเมินในระหว่างการดำเนินงาน เป็นการดำเนินงาน เมื่อนำโครงการที่วางแผนไว้ไปปฏิบัติ โดยผู้รับผิดชอบโครงการควรศึกษาจุดเด่น จุดด้อยการดำเนินงาน เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้หรือไม่ มีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคนั้น มีวิธีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร จะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที

3) การประเมินหลังการดำเนินงาน เป็นการประเมินที่ผู้รับผิดชอบโครงการต้องตอบคำถามที่ว่าโครงการประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ผลจากโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ ผลการดำเนินงานคุ้มค่าหรือไม่ เกิดผลกระทบอะไรกับโครงการบ้าง เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจว่าควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป หรือปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น หรือล้มเลิกโครงการนี้

องค์ประกอบของการประเมินโครงการมีอะไรบ้าง

4. ขั้นตอนการประเมินโครงการ

ในการประเมินขั้นตอนการประเมินแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ : 2544) ดังต่อไปนี้

แผนภูมิ : แสดงวงจรระเบียบวิธีการประเมิน

องค์ประกอบของการประเมินโครงการมีอะไรบ้าง

ขั้นที่ 1
กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประเมิน ในขั้นตอนนี้ ผู้ประเมินจะดำเนินการดังนี้

  • 1.1 ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการหนือสิ่งที่มุ่งประเมินกับวัตถุประสงค์หลักการของโครงการ ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ใครบ้างที่ต้องหารใช้ผลประเมินนี้
  • 1.2 สัมภาษณ์ผู้บังคับบังชาของผู้ประเมิน และกลุ่มผู้ใช้ผลประเมิน เกี่ยวกับความต้องการใช้ผลประเมิน ต้องการใช้เมื่อใด ต้องการสารสนเทศในประเด็นใดบ้าง
  • 1.3 จากข้อมูล 1.1 และ 1.2 กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประเมิน เป็นที่น่าสังเกตว่าวัตถุประสงค์ของการประเมิน เป็นผลมาจากการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ผลประเมิน และจากวัตถุประสงค์หลักของโครงการ หรือสิ่งที่มุ่งประเมิน

ขั้นที่ 2
วางแผนการประเมิน เมื่อกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์การประเมินแล้ว นำวัตถุประสงค์ของการประเมินในแต่ละข้อมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการประเมิน แล้วกรอกลงในแบบวางแผนประเมินดังนี้

วัตถุประสงค์ของการประเมิน :

ประเภทของการประเมิน

ประเด็นคำถาม

แหล่งที่มาของข้อมูล

เวลาที่เก็บข้อมูล

วิธีการเก็บข้อมูล

วิธีวิเคราะห์ข้อมูล

      

จากวัตถุประสงค์ของการประเมิน ผู้ประเมินนำมาวิเคราะห์ว่าเป็นประเภทไหนของการประเมิน เช่น ประเมินสภาวะแวดล้อม ประเมินปัจจัยเบื้องต้น ประเมินกระบวนการ การประเมินผลผลิต ฯลฯ ประเด็นคำถามเพื่อจะได้ช่วยให้เก็บข้อมูลอย่างครบถ้วน แหล่งที่มาของข้อมูลที่ต้องการอาจมาจากผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้สังเกตการณ์ เอกสาร หรือผลการปฏิบัติต่างๆ ช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล แบ่งเป็น 3 ช่วง ก่อนการดำเนินโครงการ และขณะโครงการดำเนินโครงการอยู่และเมื่อสิ้นสุดโครงการ

ขั้นที่ 3
ดำเนินการประเมินตามแผน เมื่อจัดทำแผนการประเมินเรียบร้อยแล้ว จะเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงต่างๆโดยเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่ระบุไว้ในแผนการประเมิน

ขั้นที่ 4
วิเคราะห์ข้อมูล แจงนับรวบรวมข้อมูล เพื่อทำการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการประเมินแต่ละข้อ แล้วสรุปว่าวัตถุประสงค์นั้นๆบรรลุหรือไม่ เพียงใด มีปัญหา หรืออุปสรรคอย่างไรบ้าง

ขั้นที่ 5
รายงานผลการประเมิน โดยทั่วไปรายงานการประเมินผลมักจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปของรายงาน ซึ่งอาจแบ่งเป็นรายงานรวมฉบับเดียว หรือการประเมินผลโครงการ และการติดตามผลหรือแยกเป็นรายงาน 2 ฉบับ คือ รายงานการประเมินผลโครงการหลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินงาน โดยยังไม่ได้ดำเนินการติดตามผล และรายงานการติดตามผล หลังจากสิ้นสุดโครงการไปแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน

สำหรับรูปแบบของรายงานการประเมินโดยทั่วไป จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 7 ส่วน คือ
1. สรุปสาระสำคัญสำหรับผู้บริหาร
2. บทนำ
3. ระเบียบวิธีการประเมิน
4. ผลการวิเคราะห์
5. สรุปผลการประเมินและข้อเสนอแนะ
6. บรรณานุกรม
7. ภาคผนวก ซึ่งประกอบด้วย ตัวโครงการหรือสิ่งที่มุ่งประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล สูตร สถิติ ข้อมูลพื้นฐาน เป็นต้น

5. การเขียนโครงการประเมิน

โครงการประเมิน คือ แผนการประเมิน ซึ่งเป็นการเสนอกรอบความคิดในการประเมินว่า ทำไมต้องประเมิน ประเมินเพื่อใคร ประเมินอะไร ประเมินอย่างไร ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน ประเมินเมื่อไรและใช้ทรัพยากรมากน้อยเพียงไร

5.1 ความสำคัญของการเขียนโครงการประเมิน
1) เป็นการวางแผนสำหรับดำเนินงานอย่างมีขั้นตอน และมีระบบแบบแผน
2) เป็นพิมพ์เขียวของการดำเนินงานเพื่อประเมินโครงการ
3) เป็นข้อสัญญาที่ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติ
4) ช่วยในการประมาณการค่าใช้จ่าย แรงงาน และระยะเวลาของการประเมิน
5) เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอนุมัติหรือการให้ทุนสนับสนุนการประเมิน
6) ช่วยให้สามารถติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการประเมินได้

5.2 กรอบความคิดของการเขียนโครงการประเมิน

1

ประเมินทำไมหลักการและเหตุผลของการประเมิน

2

ประเมินเพื่อใครใครคือผู้ใช้ผลการประเมิน

3

ประเมินอะไรวัตถุประสงค์ของการประเมิน

4

ประเมินอย่างไรการออกแบบวิธีการประเมิน

5

ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน

6

ประเมินเมื่อไรกำหนดการของกิจกรรมและระยะเวลา

7

ใช้ทรัพยากรมากน้อยเพียงไรงบประมาณการประเมิน

5.3 โครงสร้างการเขียนโครงการประเมิน

1) ชื่อโครงการประเมิน
2) ผู้เสนอโครงการ/ผู้รับผิดชอบ/หน่วยงานที่รับผิดชอบ
3) ปีที่ทำการประเมิน
4) ความเป็นมาของการประเมิน/เหตุผลที่ต้องประเมิน
5) วัตถุประสงค์ของการประเมิน
6) ขอบเขตของการประเมิน
– โครงการที่มุ่งประเมิน/สาระโดยสรุป
– ตัวแปร/รายการที่ศึกษา

7) ข้อตกลงเบื้องต้น
8) คำจำกัดความที่ใช้ คำจำกัดความที่เกี่ยวข้อง
9) ข้อจำกัดของการประเมิน (ไม่จำเป็นจะไม่เขียนยกเว้นกรณีวิกฤต)
10) แนวทางการดำเนินงาน
– แหล่งข้อมูล/กลุ่มตัวอย่าง
– เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือ
11) งบประมาณที่ใช้
12) แผนการเผยแพร่ผลการประเมิน/การนำเสนอผลการประเมิน
13) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
14) ปฏิทินการปฏิบัติงาน
15) บรรณานุกรม
16) ภาคผนวก

เอกสารอ้างอิง

การศึกษานอกโรงเรียน. กรม. การประเมินโครงการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : กองแผนงาน กรมการศึกษานอกโรงเรียน, 2536. เอกสารอัดสำเนา (เอกสารนำเสนอประกอบการอบรมการประเมินโครงการการศึกษานอกโรงเรียน)

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2544. กรุงเทพมหานคร : กรมการศึกษานอกโรงเรียน. ม.ป.ป., เอกสารอัดสำเนา

องค์ประกอบการประเมินมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบของการประเมินผล การประเมินผลมีองค์ประกอบ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. ข้อมูล 2. เกณฑ์ 3. การตัดสินคุณค่าหรือการตัดสินใจ

องค์ประกอบของการเขียนโครงการมีอะไรบ้าง

1. ชื่อโครงการ ... .
2. ผู้รับผิดชอบโครงการ ... .
3. หลักการและเหตุผล ... .
4. วัตถุประสงค์ ... .
5. กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดาเนินงาน ... .
6. วิธีการดาเนินการ ... .
7. ระยะเวลาดาเนินการ ... .
8. ปฏิทินกิจกรรมหรือปฏิทินงานในโครงการ.

การประเมินผลโครงการมีอะไรบ้าง

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศมีขั้นตอนในการดำเนินการประเมินผลประกอบด้วย ๙ ขั้นตอน คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดวัตถุประสงค์ พัฒนาเครื่องมือประเมิน กำหนดพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลและข้อเสนอแนะ และจัดทำรายงานสรุปผลการประเมิน

การประเมินโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

ในการประเมินโครงการมีเป้าประสงค์หลักคือ ต้องการข้อมูลที่บ่งชี้ว่าโครงการที่ดำเนินการนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่หรือเป็นโครงการที่คุ้มค่าต่อการตัดสินใจในการดำเนินการหรือไม่ รวมถึงการศึกษาว่าในการดำเนินการโครงการมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขในเรื่องอะไรบ้าง และเป็นโครงการที่มีคุณค่ามากน้อย ...