การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร

หน้าที่พระ-ชาวพุทธที่ดี ควรเป็นอย่างไร??

สัปดาห์นี้ลองมองย้อยดูสำรวจตัวเอง “ชาวพุทธที่ดี” ควรจะเป็นอย่างไร ส่วนพระภิกษุในพระธรรมวินัย จะมีหน้าที่อะไรบ้าง ไปอ่านกัน... พุธที่ 27 มิถุนายน 2561 เวลา 10.00 น.

Show

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร

ช่วงนี้ใกล้เทศกาลเข้าพรรษาแล้ว พระภิกษุก็ต้องทำหน้าที่ของพระภิกษุ ส่วนพวกเราชาวพุทธก็จะต้องทำหน้าที่ชาวพุทธที่ดี หน้าที่ของพระภิกษุในธรรมบท ซึ่งเป็นหลักสูตรเรียนของพระภิกษุ-สาเณร ระบุไว้ชัดเจนว่า พระภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีหน้าที่ 2 ประการ ได้แก่ 1.คันถธุระศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรมหรือพระธรรมวินัย 2.วิปัสสนาธุระการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เป็นการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะต่างๆ

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร

อย่างไรก็ตาม นอกจากจะทำหน้าที่ทั้ง 2 ประการแล้ว ควรช่วยเหลือสังคมที่สมัยปัจจุบันใช้คำว่า ควรมีจิตอาสา ด้วยการช่วยพัฒนาท้องถิ่นกันดารต่างๆ ช่วยบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะอันเป็นสมบัติทางศาสนา ช่วยพัฒนาสาธารณประโยชน์พื้นฐานของสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาศาสนา และอนุเคราะห์ให้กุลบุตรกุลธิดาได้ศึกษาเล่าเรียนตามความเหมาะสมอีกด้วย รวมทั้งมีหน้าที่สอนพุทธศาสนิกชนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม

สำหรับหน้าที่ชาวพุทธที่ดี ต้องเป็นผู้ที่เคารพเลื่อมใสและศรัทธาในพระรัตนตรัย ตั้งมั่นอยู่ในศีล 5 เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ให้ความเคารพนับถือ เอาใจใส่ทำนุบำรุง และบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดและพระสงฆ์ และนำแนวทางการปฏิบัติตนของพระสงฆ์ มาเป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำเนินชีวิต สำหรับหน้าที่ชาวพุทธโดยทั่วไป

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร

ด้านการศึกษาและปฏิบัติธรรมชาวพุทธที่ดีควรให้ความสนใจศึกษาค้นคว้า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และน้อมนำหลักธรรมที่ได้ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมแก่ฐานะ รวมทั้งมั่นทำบุญบำเพ็ญกุศล เข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาในโอกาสสำคัญต่างๆ อย่าทำให้ศูนย์กลางชุมชน คือ วัด กลายเป็นสถานที่ร้าง จึงต้องร่วมกันพัฒนาอยู่เสมอๆ

ด้านการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนานอกจากมีหน้าที่ในการศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม และสั่งสอนธรรมแล้ว ยังต้องปฏิบัติศาสนกิจอื่นๆ เพื่อความดีงามและความสงบสุขของประชาชน ชาวพุทธที่ดีจึงควรช่วยอุปถัมภ์บำรุงและส่งเสริมพระภิกษุสามเณร เพื่อให้มีกำลังในการปฏิบัติศาสนกิจสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป

การทำนุบำรุงวัดและพุทธศาสนสถานพระพุทธศาสนามีวัดเป็นศูนย์กลางสำหรับบำเพ็ญกุศล ฝึกอบรม และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน โดยมีพระสงฆ์ในฐานะศาสนบุคคลเป็นผู้ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต วัดจึงเป็นอุทยานการศึกษา เพราะเป็นแหล่งการเรียนรู้สำคัญทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ วัดบางแห่งยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติและมรดกโลก

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร

การปฏิบัติตนเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมชาวพุทธที่ดี คือ ผู้ปฏิบัติตนในฐานะพลเมืองดีของชาติ ด้วยการดำรงตนอยู่ในกรอบกฎหมาย ปฏิบัติตนตามสิทธิและหน้าที่อย่างเหมาะสม ไม่ละเมิดกฎระเบียบและกติกาของสังคม เมื่อปฎิบัติได้ดังนี้ สังคมประเทศชาติก็ร่มเย็นอยู่เป็นสุข

ด้านการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาถือเป็นมรดกชาติไทย ที่บรรพบุรุษได้ปกป้องคุ้มครองมาด้วยชีวิต เมื่อวิกฤตการณ์เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา ชาวพุทธไม่ควรนิ่งดูดายและปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์เพียงฝ่ายเดียว ควรจะช่วยกันแก้ไขระงับเหตุการณ์มิให้ลุกลามใหญ่โต

สุดท้ายมีข่าวฝากจาก คุณปุ๊ก หรือ คุณอุรมาเกษตร เกษตรพืชผล ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ เป็นประจำทุกปีที่จะจัดงาน “มีเทศน์มีทอร์ก” รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วจะมอบให้กับองค์กรการกุศลต่างๆ ถือว่าเป็นกิจกรรมบุญที่ได้ทั้งความสุขและความสนุกในตัว เพราะนอกจากจะพบกับพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงแล้ว ยังได้พบกับนักทอร์กระดับเกจิของเมืองไทยด้วย ใครว่างเชิญได้ ณ แจ้งวัฒนะฮอลล์ เซ็นทรัลพลาซาแจ้งวัฒนะ ฟรีตลอดงาน ภายในงานมีของที่ระลึกด้วย ผมก็จะไปแล้วเจอกันที่งานครับ.
...............................
คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง
โดย “เปรียญ10” :
ขอบคุณแหล่งภาพ : @สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร

คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่

  • เห็นด้วย

    80%

  • ไม่เห็นด้วย

    20%

ความคิดเห็น

ข่าวล่าสุด

การปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสงฆ์ ระเบียบปฏิบัติการแสดงความเคารพพระสงฆ์การลุกขึ้นยืนรับพระสงฆ์         ๑. ถ้านั่งเก้าอี้อยู่หากพระสงฆ์เดินมานิยมลุกขึ้นยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านมาตรงหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้วจึงนั่งลงตามเดิม         ๒. ถ้าคฤหัสถ์ (อุบาสก-อุบาสิกา) นั่งกับพื้น ไม่นิยมลุกขึ้นยืนรับเมื่อท่านเดินผ่านมาเฉพาะหน้า นิยมยกมือไหว้หรือกราบตามความเหมาะสมแก่สถานที่นั้น (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์นิยมจัดอาสนะสงฆ์หรือเก้าอี้ไว้ต่างหากจากฆราวาส หรืออุบาสก-อุบาสิกาถ้าสถานที่ชุมชนนั้นจัดให้นั่งเก้าอี้ที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้เฉพาะพระสงฆ์ หากท่านมาต้องลุกหลีกไป ให้โอกาสแก่พระสงฆ์นั่งเก้าอี้แถวหน้าหากชายจำเป็นต้องนั่งแถวเดียวกับพระสงฆ์ นิยมนั่งด้านซ้ายของพระสงฆ์สตรีเพศ (อุบาสิกา) ไม่นิยมนั่งแถวเดียวกันหรืออาสนะยาวเดียวกัน เว้นแต่กรณีจำเป็น ต้องมีบุรุษคั่นอยู่การตามส่งพระสงฆ์ ถ้านั่งเก้าอี้ นิยมลุกขึ้นยืนส่งท่าน เมื่อท่านเดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ ถ้านั่งกับพื้น นิยมไม่ต้องยืนส่ง เมื่อท่านเดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้านิยมกราบหรือยกมือไหว้ตามควรแก่กรณีเจ้าภาพหรือประธานพิธี ต้องตามไปส่งท่านจนพ้นบริเวณงานหรือจนกว่าท่านจะขึ้นรถพ้นออกไปจากบริเวณงานแล้ว ก่อนที่ท่านจะจากไปนิยมน้อมตัวลงไหว้เมื่อพระสงฆ์เดินตามหลังมา๑. หลีกทางชิดข้างทางด้านซ้ายมือของพระสงฆ์๒. ยืนตรง มือทั้งสองต้องประสานกันไว้ข้างหน้า หันหน้ามามองท่าน๓. เมื่อพระสงฆ์เดินมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้๔. ถ้าท่านพูดด้วยนิยมประนมมือพูดกับท่าน ถ้าไม่พูดด้วยก็อยู่ในท่าปกติ วิธีเดินตามหลังพระสงฆ์เดินตามไปเบื้องหลัง โดยให้เยื้องไปทางซ้ายของท่านระยะห่างจากท่าน ๒-๓ ก้าวกิริยาเดินตามหลัง ต้องสำรวมเรียบร้อยนิยมไม่แสดงความเคารพผู้อื่นขณะเดินตามหลังท่าน นิยมไม่พูดคุยทักทายปราศัยกับผู้อื่น คำพูดกับ แทนตัวท่าน ชาย หญิง คำแทนตัวผู้พูด คำรับ (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); คำแทนตัวผู้พูด คำรับ ๑. สมเด็จพระสังฆราช ฝ่าพระบาท หรือฝ่าบาท เกล้ากระหม่อม หรือกระหม่อม พ่ะย่ะค่ะ กระหม่อมฉัน หรือหม่อมฉัน เพคะ ๒. สมเด็จพระราชาคณะและ พระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป (จะมีคำว่า ราช, เทพ, ธรรม, หรหมหรือสมเด็จนำหน้าเป็น เครื่องสังเกตง่าย ๆ) พระเดชพระคุณ หรือใต้เท้า เกล้าหรือ เกล้ากระผม ครับกระผม หรือ ขอรับกระผม หรือครับผม ดิฉัน หรือ อิฉัน (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); เจ้าค่ะ ๓. - พระราชาคณะชั้น   สามัญลงมา - พระราชาคณะ - พระครูสัญญาบัตรและ   พระครูฐานานุกรม - พระเปรียญ - พระอันดับธรรมดา - พระผู้เฒ่า - พระสงฆ์ผู้เป็นญาติ ท่านเจ้าคุณหรือท่าน ท่านพระครูหรือท่านท่านมหาหรือท่าน พระคุณเจ้าหรือท่าน หลวงพ่อหรือหลวงปู่ ใช้ตามฐานะเดิมที่เป็น เช่น หลวงลุง หลวงอา หลวงน้า หลวงพี่ ฯลฯ กระผม หรือ ผม ครับ ดิฉัน หรือ อิฉัน เจ้าค่ะ หรือ ค่ะ ๔. คำพูดกับพระธรรมทั่วไป ไม่รู้จักไม่ทราบสมณศักดิ์ ควรใช้คำพูดกลาง ๆ พระคุณเจ้าหรือท่าน กระผมหรือผม ครับ ดิฉัน หรือ อิฉัน เจ้าค่ะ หรือ ค่ะ

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ทำให้เกิดผลดีต่อผู้ปฏิบัติอย่างไร

๒. การปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ทางวาจา เราควรประนมมือพูดกับท่าน ไม่ควรล้อเล่น พูดคำหยาบ หรือเล่าเรื่องส่วนตัว ส่วนผู้หญิงไม่ควรสนทนากับพระสงฆ์ตามลำพังสองต่อสอง.
ฉันทะ คือ ความสนใจ ความรัก ความชอบ.
วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม.
จิตตะ คือ ความเอาใจใส่.
วิมังสา คือ การพิจารณาใคร่ครวญ.

การปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมต่อพระภิกษุให้เกิดประโยชน์อย่างไร

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางกาย เป็นการแสดงความเคารพต่อพระภิกษุซึ่งแสดงถึงความเคารพอ่อนน้อม แสดงถึงมารยาทที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระเบียบประเพณี การปฏิบัติตนที่เหมาะสมทางกาย เช่น การลุกขึ้นต้องรับ และยกมือไหว้ เมื่อพระภิกษุมาถึงยังบริเวณพิธีนั้น ๆ การประนมมือฟังพระธรรมเทศนา การเจริญพระพุทธมนต์ การฟังสวดอภิธรรม ...

การปฏิบัติตนที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อพระสงฆ์ควรทำอย่างไรบ้าง

๑. หลีกทางชิดข้างทางด้านซ้ายมือของพระสงฆ์ ๒. ยืนตรง มือทั้งสองต้องประสานกันไว้ข้างหน้า หันหน้ามามองท่าน ๓. เมื่อพระสงฆ์เดินมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ ๔. ถ้าท่านพูดด้วยนิยมประนมมือพูดกับท่าน ถ้าไม่พูดด้วยก็อยู่ในท่าปกติ

การปฏิบัติตนได้ถูกต้องเหมาะสมในเรื่องการปฏิสันถารพระสงฆ์มีผลดีอย่างไร

การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างนี้ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ปฏิสันถาร” แปลว่า การอุดรูรั่วต่างๆ ระหว่างตนกับคนอื่น ก่อให้เกิดสามัคคีธรรมขึ้นระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ลบล้างรอยแตกแยกความร้าวฉานให้หมดสิ้นไป มีความคิดเห็นตรงกันแม้จะมีฐานะต่างกันก็อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสงบสุข