นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มี 5 ประเภทได้แก่อะไรบ้าง

        กฎหมายเป็นบรรทัดฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อย กฎหมายจึงมุ่ง บังคับใช้กับมนุษย์ ซึ่งในทางกฎหมายเรียกว่า “บุคคล” แม้กฎหมายบางเรื่องจะไม่ได้กําหนดถึงการบังคับใช้ กับบุคคลโดยตรง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 บัญญัติว่า “ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่” และวรรคสอง “ไม้ล้มลุกหรือธัญธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือ หลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน” หรือในมาตรา 1348 บัญญัติว่า “ดอกผลแห่งต้นไม้ที่หล่น ตามธรรมดาลงในที่ดินติดต่อแปลงใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น” เช่นนี้ จะเห็นว่าแม้กฎหมายจะบัญญัติโดยไม่มีข้อความเกี่ยวกับตัวบุคคลโดยตรง " แต่ก็มีนัยที่ท้ายที่สุดแล้วจะได้ นําไปเพื่อพิสูจน์สิทธิของบุคคลในภายหลังนั่นเอง

บุคคลตามกฎหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล

นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มี 5 ประเภทได้แก่อะไรบ้าง

    นิติบุคคล หมายถึง บุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้นให้สามารถกระทําการบางอย่างได้ดังเช่นบุคคลธรรมดา แต่การกระทําบางอย่างที่เป็นกิจกรรมที่กําหนดให้เฉพาะบุคคลธรรมดาทํานิติบุคคลก็ไม่สามารถท้า เช่น การสมรส การจดทะเบียนรับรองบุตร การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม เป็นต้น

    นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีทั้งสิ้น 5 ลักษณะ ได้แก่ มูลนิธิ, สมาคม ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน (ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล), ห้างหุ้นส่วนจํากัด, บริษัทจํากัด และ นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นๆ ด้วย เช่น กระทรวง กรม จังหวัด วัด องค์กรปกครองส่วนท้องถน พรรคการเมือง มหาวิทยาลัย เป็นต้น

    นิติบุคคลเป็นบุคคลที่กฎหมายจัดตั้งขึ้นก็จริงแต่การดําเนินการของนิติบุคคลจะไม่สามารถกระทํา ได้ด้วยตนเอง จําเป็นต้องกระทําผ่านบุคลากรของนิติบุคคลนั้นๆ เรียกว่า “ผู้แทนนิติบุคคล” เช่น มูลนิธิมี คณะกรรมการมูลนิธิเป็นผู้แทนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนมีหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้แทนนิติบุคคล หรือวัดมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนนิติบุคคลเป็นต้น ซึ่งคําว่า “ผู้แทนนิติบุคคล” นี้มีความหมายแตกต่างจากคําว่า “ตัวแทนนิติบุคคล” หมายความว่า ผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ทําการของนิติบุคคลนั้นๆ ส่วนตัวแทนนิติบุคคล เป็นการมอบหมายงานใดงานหนึ่งโดยนิติบุคคลนั้นแต่งตั้งบุคคลหนึ่งๆ มาเป็นตัวแทนนิติบุคคลตามสัญญา ตัวแทนยกตัวอย่างเช่นวัดบ้านไร่มีหลวงพ่อคูณเป็นผู้แทนนิติบุคคล แต่หากวัดบ้านไร่ต้องการสร้างวัตถุมงคล วัตถุมงคลขึ้น หลวงพ่อคูณอาจตั้งให้ลูกศิษย์วัดคนใดคนหนึ่งเป็นตัวแทนนิติบุคคลไปติดต่อโรงงานเพื่อจัดสร้าง


นิติบุคคล คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

หมวดหมู่ : คำไทยน่ารู้ Tags: นิติบุคคล

นิติบุคคล คือบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้นเพื่อให้มีความสามารถ มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบได้ตามกฎหมายเหมือนกับบุคคลธรรมดา แม้ว่านิติบุคคลจะมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา แต่ก็ไม่สามารถกระทำการเหมือนกับบุคคลธรรมดาได้ทุกเรื่อง เนื่องจากนิติบุคคลเป็นเพียงบุคคลสมมติที่ไม่มีชีวิต ร่างกาย และสติปัญญาเหมือนกับบุคคลธรรมดา ดังนั้นนิติบุคคลจึงต้องมี “ผู้แทนนิติบุคคล” เพื่อแสดงออกถึงสิทธิ หน้าที่ และความประสงค์ของนิติบุคคล…

————– advertisements ————–

นิติบุคคลมีกี่ประเภท
นิติบุคคล ตามที่กฎหมายไทยได้บัญญัติไว้ สามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน หมายถึง ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแบ่งแยกย่อยออกไปได้ 5 ประเภทด้วยกัน คือ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน สมาคม และมูลนิธิ
2. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน หมายถึง นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในกฎหมายมหาชนอื่นๆ ได้แก่ วัด จังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์การมหาชน เป็นต้น

ดังนั้นนิติบุคคลจึงเป็นบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้นเพื่อให้มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา หรืออาจพูดให้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า นิติบุคคลเป็นกลุ่มคนหลายคนในองค์กรหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นกระทรวง กรม วัด จังหวัด สมาคม มูลนิธิ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งกฎหมายให้สมมติตนเองขึ้นมาเป็นนิติบุคคลที่มีสิทธิเทียบเท่ากับบุคคลธรรมดาได้ เพื่อความสะดวกในทางกฎหมาย

-------------- advertisements --------------

-------------- advertisements --------------

Comments

นิติบุคคล คือ

นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มี 5 ประเภทได้แก่อะไรบ้าง
นิติบุคคล

สรุปสาระสำคัญ มาทำความรู้จักกับ “นิติบุคคล”

หลายคนคงชงเคยได้ยินคำว่า“นิติบุคคล” กันบ้างแล้ว และเกิดคำถามในใจว่า “นิติบุคคล” นี้คืออะไร ทำไมต้องมี“นิติบุคคล”ขึ้นมาบนโลกใบนี้ แล้วมันไม่เหมือนกับบุคคลธรรมดาอย่างไร อะไรบ้างที่จัดว่าเป็นนิติบุคคล บริษัทคือนิติบุคคลไหม วัดเป็นนิติบุคคลหรือไม่ ห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นนิติบุคคลหรือไม่คำถามมากมายเกิดขึ้น ที่สำคัญคือแล้วเราจะรู้จักกับ“นิติบุคคล” ไปทำไมกัน ก็เพราะว่า “นิติบุคคล” นั้นมีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครอง ครอบคลุมไม่เหมือนกันกับบุคคลธรรมดา หากเราแยกบุคคลธรรมดาและ“นิติบุคคล” ไม่ได้ จะไม่สามารถทำความเข้าใจสาระสำคัญเรื่องอำนาจและกฎหมายได้นั่นเอง อีกหนึ่งความเข้าใจผิดก็คือ “นิติบุคคลบุคคลธรรมดา” ไม่มีอยู่จริง จะไม่มีการใช้คำนี้ เพราะคนมักจะเอาคำว่า “นิติบุคคล” มารวมกันกับคำว่า “บุคคลธรรมดา” ซึ่งสิทธิหน้าที่ หรือการใช้อำนาจทางกฎหมาย รวมถึงความคุ้มครองบางอย่างก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ไม่ได้เหมือนกันแต่อย่างใด

นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มี 5 ประเภทได้แก่อะไรบ้าง
นิติบุคคลคือ

นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มี 5 ประเภทได้แก่อะไรบ้าง
ความหมายของนิติบุคคล นิติบุคคลภาษาอังกฤษเรียกว่า (Juristic Persons) คือ  บุคคลหรือกลุ่มบุคคลหรือองค์กร หน่วยงาน ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่ บุคคลธรรมดา แต่มีสิทธิและหน้าที่คล้ายกันกับบุคคลธรรมดา และกำหนดให้นิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542) โดยจะมีสิทธิหน้าที่บางอย่างไม่เหมือนกันกับบุคคลธรรมดา เช่น สิทธิในครอบครอบครัว สิทธิทางการเมือง แต่นิติบุคคลจะสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ สามารถเป็นโจทก์หรือจำเลยได้ รวมทั้งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ฯลฯ ตามที่กฎหมายกำหนด

ทั้งนี้ การจะสร้างหรือก่อตั้งนิติบุคคลเกิดขึ้นได้จำเป็นจะต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมายเท่านั้นในการรับรอง เรียกง่าย ๆ ว่าบุคคลธรรมดาจะก่อตั้งขึ้นมาเองไม่ได้ จะต้องทำเรื่องยื่นขอกฎหมายรับรองหรือเรียกว่าเป็นการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การที่จะตั้งก่อขึ้นโดยไม่มีกฎหมายมารองรับหรือไม่มีกฎหมายให้อำนาจในการจัด ตั้งไว้ไม่ได้ ถือว่านิติบุคคลไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลตามกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลนี้ก็คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา  65 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น” เท่านั้น ตามที่ได้ระบุไว้

การจดทะเบียนนิติบุคคลคืออะไร

การจดทะเบียนนิติบุคคล หรือเรียกว่าการจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การที่บุคคลหรือกลุ่มคนขอกฎหมายรับรองในการจัดตั้งเป็นนิติบุคคลเพื่อการดำเนินงานทางธุรกิจ หรือเรียกได้ว่าเพื่อจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ ซึ่งการจดทะเบียนนิติบุคคลก็จะมีสถานะเป็นบุคคลธรรมดากับนิติบุคคล

  1. ธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา

จะเป็นการจดทะเบียนพาณิชย์เพื่อแจ้งให้รับรู้โดยทั่วกันว่าธุรกิจของคุณได้จดทะเบียน และได้เริ่มต้นประกอบกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะปรากฏชื่ออยู่ในระบบทะเบียนการค้าของประเทศ และแสดงให้เห็นว่าธรุกิจที่กระทำมีหลักแหล่งรวมทั้งสถานที่ตั้งกิจการเพื่อดำเนินงานอย่างชัดเจน กลล่าวถึงเรื่องทางกฎหมาย การทำนิติกรรมสัญญา รวมทั้งการดำเนินการชำระเงินภาษีเงินได้ จะเป็นในนามของตัวบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบการหรือเป็นเจ้าของกิจการ

ลักษณะนี้เรียกว่าจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจแบบนี้เราเรียกว่า “การจดทะเบียนพาณิชย์” หรือที่มักจะเรียกว่าเป็นการไปจดทะเบียนการค้านั่นเอง ขั้นตอนจะไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน ดำเนินการเพียงไม่กี่ชั่วโมง และมีค่าธรรมเนียมเพียง 50 บาทเท่านั้น หากผู้ประกอบกิจการอยู่ต่างจังหวัดไม่สามารถไปยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ในกรุงเทพฯ ได้ ก็จะสามารถขอยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดที่ประกอบกิจการนั้น ๆ ได้เลย อนึ่ง หมายความรวมถึงการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยเช่นกัน

  1. ธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

รูปแบบนี้คือการที่เจ้าของกิจการ กลุ่มคนต้องการให้ธุรกิจแยกออกจากการเป็นบุคคลธรรมดาอย่างชัดเจน ไม่ถือว่าเป็นเจ้าของกิจการโดยตรงอย่างรูปแบบแรก จะแยกกันเด็ดขาด ซึ่งจะส่งผลให้เมื่อดำเนินกิจกรมภายใต้ธุรกิจนั้นแล้วก็จะถือว่าเป็นในนามกิจการเองทั้งหมด มิใช่ตัวบุคคลธรรมดา จะมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องชำระเงินภาษีเงินได้ การทำนิติกรรมสัญญา ฯลฯ เพราะจะเป็นนามของกิจการทั้งหมดนั่นเอง

ลักษณะนี้จะเป็นจัดตั้งธุรกิจใหม่นาม “นิติบุคคล” ซึ่งจะแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • บริษัทจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด

การขอกฎหมายรับรองเพื่อจดทะเบียนนิติบุคคลจะต้องไปยื่นจดทะเบียนบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้โดยจะต้องกำหนดให้ขึ้นทะเบียนได้ไม่กี่ที่ สำหรับเขตกรุงเทพมหานครสามารถขอยื่นจดทะเบียนธุรกิจซึ่งมีอยู่ 7 สำนักงาน หรือที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าถนนนนทบุรี 1 อ.เมือง จ.นนทบุรี แต่ถ้าหากอยู่ต่างจังหวัดควรเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) เพื่อหาสถานที่ใกล้เคียงที่สะดวกเดินทางไปยื่นเรื่องจดทะเบียนนิติบุคคลได้

กฎหมายนิติบุคคล

นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มี 5 ประเภทได้แก่อะไรบ้าง
นิติบุคคลภาษาอังกฤษ

การแบ่งประเภทของนิติบุคคลตามกฎหมาย

เมื่อมีการจัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้วก็จะสามารถแบ่งประเภทตามกฎหมายได้เป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้

  1. นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
    • ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
    • ห้างหุ้นส่วนสามัญ
    • ห้างหุ้นส่วนจำกัด

1.2) บริษัทจำกัด คือ บริษัทที่ตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน และจะต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นทุกคน จะต้องรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ กล่าวคือถือหุ้นเท่าไรก็จะมีส่วนได้ส่วนเสียในนามกิจการซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแต่เพียงเท่านั้น การเป็นบริษัทจำกัดนี้กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนเท่านั้น และเมื่อจดทะเบียนแล้วก็จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายนั่นเอง

1.3) สมาคม คือ กลุ่มคนหรือการที่บุคคลหลายคนได้ทำการตกลงร่วมกันเพื่อทำการหรือกิจกรรมอันใดอันหนึ่งอันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกัน และโดยมิใช่เป็นการหากำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน จึงมีลักษณะที่แตกต่างกับบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนซึ่งจะเป็นการทำธุรกิจเพื่อมุ่งแสวงหาผลกำไร สมาคมที่ได้จดทะเบียนแล้วจะเป็นสถานภาพนิติบุคคลตามกฎหมาย

1.4) มูลนิธิ คือ ทรัพย์สินอันจัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ เพื่อการศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยจะต้องมิได้มุ่งหมายหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และต้องจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย และมูลนิธิที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

  1. นิติบุคคลตามกฎหมายลักษณะอื่น คือ

นอกจากนิติบุคคลแบบตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ก็จะมีนิติบุคคลตามกฎหมายที่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นกรณีเฉพาะ อาทิเช่น สหกรณ์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ราชบัณฑิตสถานเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตย สถาน พ.ศ. 2485

ทางราชการหรือในส่วนของทบวงการเมือง ก็จะเป็นรูปแบบนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะอีกลักษณะ ได้แก่ กระทรวง ทบวง และกรมในรัฐบาล จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา วัดวาอาราม เฉพาะวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา แต่ไม่รวมถึงสำนักสงฆ์ เป็นต้น

เรื่องภาษีที่ควรรู้..กับกฎหมายภาษีอากรสำหรับธุรกิจ

นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรู้เพราะบุคคลธรรมดาจะมีความแตกต่างกับนิติบุคคลเรื่องของการเสียภาษีด้วยเช่นกัน การหักภาษี การนำส่งภาษี ก็จะไม่เหมือนกัน

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลหรือผู้ประกอบกิจการร้านค้าที่จดทะเบียนเป็นทะเบียนพาณิชย์ ต้องยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด. 94 ในครึ่งปีแรก และยื่น ภ.ง.ด. 90 อีกครั้งในครึ่งปีหลังแก่กรมสรรพากร
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล หมายถึง กิจการหรือธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัดแล้วตามกฎหมาย ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ในปีแรกเพื่อประมาณการรายได้ จากนั้นเมื่อถึงสิ้นปีจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 52 พร้อมทั้งส่งงบดุล และจะต้องมีการตรวจสอบบัญชีของกิจการ

นอกจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ธุรกิจก็ควรที่จะต้องรู้เรื่องภาษีเพิ่มเติมดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มจะเสียต่อเมื่อมีรายได้ทั้งปีเกิน 1,800,000 บาทต่อปี หากในกรณีธุรกิจจดทะเบียนพาณิชย์ที่มีรายได้ทั้งปีไม่ถึง 1,800,000 บาทต่อปีนั้นไม่จำเป็นต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ แต่กรณีเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด) ตามกฎหมายทุกรายจะต้องมีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 01) เพื่อจะสามารถคำนวนภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักภาษีซื้อ
  • การออกใบกำกับภาษี คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำขึ้นมา และออกให้ผู้ซื้อทุกครั้งมีการขายสินค้าหรือมีการรับเงิน หรือในกรณีที่มีการส่งมอบสินค้า ซึ่งภายในใบกำกับภาษีต้องแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ระบุรายละเอียด และระบุจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้รับสินค้า วิธีการมอบใบกำกับภาษีจะต้องส่งมอบให้กับผู้ซื้อทันที โดยจะต้องแยกตัวต้นฉบับให้ผู้ซื้อทันทีและผู้ขายเก็บตัวสำเนาไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งรูปแบบใบกำกับภาษีมี 2 แบบ คือ ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ และใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ใครคือผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มี 5 ประเภทได้แก่อะไรบ้าง
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กล่าวคือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลก็คือ “นิติบุคคล” ตามกฎหมายที่ได้กล่าวมาข้างต้นไม่ว่าจะเป็น

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่บริษัท จำกัด, บริษัทมหาชน จำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
  2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
  3. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไร
  4. กิจการร่วมค้า (Joint Venture) เช่น บริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นต้น
  5. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
  6. นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

ใครคือนิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าประเภทของนิติบุคคลมีด้วยกัน 2 ประเภทตามกฎหมาย คือ 1.           นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และนิติบุคคลกฎหมายอื่น ทั้งนี้ในส่วนของนิติบุคคลกฎหมายอื่นที่จัดตั้งขึ้นเฉพาะตามกฎหมายไทย เช่น กระทรวง ทบวง กรม สหกรณ์ จะไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมาย

นอกจากนี้นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรซึ่งจะได้รับข้อเว้น ได้แก่

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
  2. บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
  3. บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่าง ประเทศได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
  4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญา

สรุป

กล่าวได้ว่านิติบุคคลแต่ละประเภทจะมีความแตกต่าง รวมทั้งมีลักษณะและการดำเนินกิจการไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การดำเนินงานด้วย เช่น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการและมุ่งหวังผลกำไรมาแบ่งปันกัน ส่วนสมาคมก็จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการบางอย่างต่อเนื่องร่วมกันและไม่มีการหาผลกำไรหรือรายได้ อย่างไรก็ตามเมื่อบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรธุรกิจใดที่จัดตั้งขึ้นมีสถานะเป็นนิติบุคคลขึ้นมาแล้ว นั้นหมายถึงเกิดสถานภาพเปลี่ยนเป็นบุคคลลักษณะบุคคลตามกฎหมาย ก็จะต้องอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องนิติบุคคล ซึ่งก็จะมีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ได้ในนามของนิติบุคคลไม่ว่าจะเป็น เรื่องความคุ้มครองตามกฎหมาย การทำนิติกรรมสัญญา รวมทั้งการดำเนินการชำระเงินภาษีเงินได้ด้วยเช่นกัน

อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 31 ตุลาคม 2022

 

นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มี 5 ประเภทได้แก่อะไรบ้าง

ข้อใดเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประเภทของนิติบุคคล นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้นมีบัญญัติเอาไว้หลายประเภท เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด มูลนิธิ สมาคม เป็นต้น

นิติบุคคลตามกฎหมายไทยมีกี่ประเภท

ประเภทของนิติบุคคล การเป็นนิติบุคคล แบ่งตามอำนาจของกฎหมายที่ก่อตั้งขึ้นได้เป็น 2 ประเภท คือ นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ๆ 1) นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ 1.1) ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด

บุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของ คาว่าบุคคล บุคคล หมายถึง คนซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. บุคคลธรรมดา หมายถึง ผู้ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย 2. นิติบุคคล หมายถึง กลุ่มบุคคล หรือองค์กรซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้ให้เป็นบุคคล ...

นิติบุคคล มีกี่ประเภท ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ประเภทของธุรกิจ แบบนิติบุคคล ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ บริษัทจำกัดครับ