ยกตัวอย่างภูมิปัญญาไทยมีอะไรบ้าง

ลักษณะสาคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น...

1. เป็นความรู้แบบองค์รวมที่เกิดจากการเชื่อมโยงความรู้หรือกิจกรรม ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต

2. เป็นวิถีความสัมพันธ์ที่สมดุลระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ 3. มีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamics) คือ เปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และมีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา 4. มีวัฒนธรรมเป็นพื้นฐาน 5. มีลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ในตัวเอง

การแบ่งประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น...

ประเภทหรือการจัดกลุ่มของภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการจัดแบ่งได้ หลายลักษณะ เช่น

การจัดแบ่งลักษณะที่ 1

         ภูมิปัญญาที่เป็นนามธรรม ได้แก่ มโนทัศน์ การตระหนักรู้ วิธีคิด ความเชื่อ ปรัชญาในการดาเนินชีวิตของผู้คน

        ภูมิปัญญาที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ เทคโนโลยีการทามาหากิน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แพทย์พื้นบ้านและการ ดูแลสุขภาพ การเกษตร ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ฯลฯ

 การจัดแบ่งลักษณะที่ 2 ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความอยู่รอดหรือชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งได้แก่ ปัจจัยสี่ คือ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย 

  อาหารไทย มีองค์ประกอบหลักเป็นผักพื้นบ้านหรือสมุนไพรที่มี สรรพคุณเสริมหรือต้านฤทธิ์กัน มีความเหมาะสมกลมกลืนทั้งในด้านคุณ ประโยชน์และฤดูกาลบริโภค 

ยารักษาโรค เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ชาวบ้านใช้ทั้งรักษาอาการเจ็บ ป่วยและดูแลสุขภาพ

 เครื่องนุ่งห่ม มีการเลือกใช้วัสดุพื้นบ้านและวิธีการนุ่งห่มที่เหมาะสม กับสภาพอากาศโดยมีลายผ้าและวิธีการถักทอที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น 

ที่อยู่อาศัย มีรูปแบบและโครงสร้างที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ประโยชน์ใช้สอย และชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในแต่ละภูมิภาค

ภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการทามาหากิน เช่น การกาจัด ศัตรูพืชแบบพื้นบ้าน การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ การจักสาน หัตถกรรม การ ทาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

ภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ และตานาน ต่างๆ 

ประเพณีและพิธีกรรม เช่น บุญบั้งไฟ การบวชป่า การผูกเสี่ยว ทาขวัญต่างๆ 

ตานาน ความเชื่อ เช่น บั้งไฟพญานาค 

การละเล่นพื้นบ้าน เช่น เต้นการาเคียว ฯลฯ

การจัดแบ่งลักษณะที่ 3 ภูมิปัญญาของตัวบุคคล (Individual wisdom) เป็นความรู้ ความสามารถ ความคิด วิธีการ ของบุคคล เช่น ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม จากจังหวัดฉะเชิงเทรา ในเรื่องนวเกษตร ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญาพฤทธิ์ จากจังหวัดบุรีรัมย์ ในเรื่องการปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

ภูมิปัญญาของชุมชน ( Local wisdom ) เป็นภูมิปัญญาที่ สั่งสม สืบสาน อยู่ในวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือในชุมชน ไม่มีตัวบุคคลใด บุคคลหนึ่งเป็นเจ้าของ อาจเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็นภูมิปัญญานิรนาม เช่น ภูมิปัญญาการทอผ้าแพรวาของชุมชนชาวผู้ไท จังหวัดกาฬสินธุ์ การทาไข่เค็ม ไชยา ของชาวสุราษฎร์ธานี

ภูมิปัญญาในภาพรวมของประเทศ ( National wisdom ) เป็นภูมิปัญญาที่บ่งบอกองค์ความรู้ หรือความสามารถของคนในภาพรวม ของประเทศ เช่น ภูมิปัญญาอาหารไทย สมุนไพรไทย ผ้าไหมไทย มวยไทย

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ยกตัวอย่างภูมิปัญญาไทยมีอะไรบ้าง
ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย

                คำว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภาษาอังกฤษแปลว่า Wisdom ฟังดูแล้วเป็นเรื่องที่อาจจะไกลตัวสำหรับคนรุ่นใหม่ไปมาก เพราะเรามักจะคิดว่าความเป็นท้องถิ่นไทยนั้นเป็นวัฒนธรรมสมัยก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้วคำว่าท้องถิ่นนั้นก็คือ ความเป็นชุมชน ความมีอัตลักษณ์ (Identity) ที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของพื้นที่นั้นเอง เมื่อใครเกิดในภูมิภาคไหน ท้องถิ่นอะไรก็จะมีอัตลักษณ์หรือความเป็นท้องถิ่นนั้นอยู่แล้ว ดังนั้น ภูมิปัญญาเมื่อมารวมกับความเป็นท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องของพวกเราทุกคนในสังคมที่ต้องทำความเข้าใจ ยอมรับร่วมกัน ซึ่งจะมีความหมาย ความสำคัญ และสามารถแบ่งประเภทของภูมิปัญญาไทยได้กี่ชนิดเราไปดูกันเลย

ความหมาย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญา หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ร่วมกันกับเรื่องความเชื่อของบุคคลนั้นสามารถตกผลึกถ่ายทอดออกมาได้เป็นแนวทางการปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์การปฏิบัติสิ่งนั้นเพื่อต้องการพัฒนา แก้ไขให้กับมนุษย์หรือคนในสังคม โดยภูมิปัญญาจะเป็นเรื่องที่อยู่บนพื้นฐานความรู้ที่สังคมสามารถยอมรับร่วมกันได้ เมื่อเกิดการยอมรับในสังคม จะนำไปสู่ความเข้าใจ ความเชื่อถือที่เกิดขึ้นร่วมกัน ซึ่งในความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ (๒๕๔๖, หน้า ๘๒๖) อธิบายถึงความหมายภูมิปัญญาไว้ว่า พื้นความรู้ความสามารถ โดยภูมิปัญญาเป็นเรื่องของทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรความรู้ที่ได้มีอยู่ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งทรัพยากรเหล่านั้นจะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละบุคคลหรือเป็นลักษณะที่ยอมรับร่วมกันในสากล

ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้และความสามารถร่วมกันของคนไทย เกิดจากการหลอมร่วมกันของทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ โดยจะเป็นประสบการณ์ที่ถ่ายทอด สืบสานต่อกันมาผ่านกระบวนการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาต่อยอด เติมแต่ง เลือกสรรมาต่อเนื่องกันจากรุ่นสู่รุ่นของคนไทย โดยภูมิปัญญาไทยเกิดขึ้นเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่ร่วมกัน แก้ไขปัญหาวิถีชีวิตคนไทยให้สอดคล้องกับยุคสมัย จึงสรุปได้ว่าภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมของภูมิปัญญาคนไทยนำมาร่วมกัน ส่งผลให้เกิดคุณค่าที่ดีต่อวิถีคนไทยมากขึ้น

 ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ภูมิปัญญาพื้นบ้านหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า (Local Wisdom) ซึ่งถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งและมีความหมายด้วยกันหลากหลายความหมาย คือ พื้นเพรากฐานของความรู้ชาวบ้านหรือประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น เป็นความรอบรู้ของชาวบ้านที่ได้เรียนรู้และได้สั่งสมประสบการณ์ของบุคคล มีการสืบสอดความรู้ความสามารถกันมาทั้งทางตรงและทางอ้อม การเรียนรู้มาทางตรงคือได้รับประสบการณ์เอง ส่วนความรู้ทางอ้อมเป็นการเรียนรู้จากผู้ใหญ่อาศัยการจดจำนำมาใช้ จึงเป็นลักษณะของความรู้ที่สะสมและได้สืบต่อกันมา

ยกตัวอย่างภูมิปัญญาไทยมีอะไรบ้าง
วัฒณธรรมไทย

ความเข้าใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

วัฒนธรรมท้องถิ่น หมายถึง วิถีชีวิตของคนในแต่ละชุมชน เป็นมรดกที่สืบทอดต่อกันมา ซึ่งทุกคนในท้องถิ่นมีความภูมิใจและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งร่วมกัน รูปแบบของศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นสามารถบ่งชี้ได้ถึงเรื่อง การให้ความสำคัญของคนในสังคมที่ได้สืบทอดต่อกันมาว่ามีความสนใจและมีความเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องอะไร

เมื่อมองภาพของวัฒนธรรมท้องถิ่นกับภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้วจะสะท้องให้เห็นว่ามีความใกล้เคียงกันอยู่มากทีเดียว แต่ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกัน โดยวัฒนธรรมท้องถิ่นจะเป็นเรื่องที่เป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในท้องถิ่นที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอยู่แล้ว ให้สังเกตเรื่องวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ชาวเล ซาไก จะสามารถเข้าใจถึงความมีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะได้อย่างชัดเจน และสำหรับภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเรื่องขององค์ความรู้และความสามารถของบุคคลที่ได้นำมาใช้เพื่อปรับแก้ไขปัญญาในการดำเนินชีวิต ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้จะต้องไม่ได้มีความขัดแย้งต่อการยอมรับของวัฒนธรรมท้องถิ่น จะต้องสามารถนำมาต่อยอด พัฒนาและส่งเสริมความเป็นท้องถิ่นให้มีวิถีชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีในชุมชนเองจัดเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามยุคสมัย ซึ่งคนจะเข้าใจผิดว่าภูมิปัญญา ท้องถิ่นจะต้องมีความดั่งเดิม ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้น การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ซึ่งมาจากบุคคลสามารถเป็นภูมิปัญญา ท้องถิ่นได้ ทั้งนี้ ในเชิงของภูมิปัญญาไทยที่ควรอนุรักษ์มักจะต้องสอดรับกับยุคสมัยได้ เพราะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าพอยุคสมัยเปลี่ยนไป การดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่อาจจะไม่ได้พึ่งเรื่องภูมิปัญญาไทยบางอย่าง ทำให้เลือนหายไปตามกาลเวลาเป็นเพียงประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ดังนั้น เทคโนโลยีท้องถิ่นเป็นภาพที่สะท้อนถึงความร่วมสมัยของภูมิปัญญา ท้องถิ่นในแต่ละยุคได้ด้วยเช่นกัน

ยกตัวอย่างภูมิปัญญาไทยมีอะไรบ้าง
ภูมิปัญญาไทย

ความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น

                ภูมิปัญญา ท้องถิ่นจัดเป็นเรื่องของภูมิปัญญาของการดำเนินชีวิตของคนไทย เพราะมีส่วนทำให้วิถีชีวิตคนไทยดำรง สืบสานวัฒนธรรมความอยู่ต่อกันมาอย่างเนิ่นนาน ภูมิปัญญาเปรียบได้กับคำสอนที่สั่งสอนให้เรียนรู้ว่าต้องดำรงและใช้ชีวิตอย่างไร หากไม่มีภูมิปัญญาหรือไม่มีองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดต่อกันมาก็ทำมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

                แต่เดิมภูมิปัญญานั้นเป็นเรื่องของท้องถิ่นจึง คำว่าภูมิปัญญา ท้องถิ่นจึงมีเอกลักษณ์ในเรื่องของการดำรงอยู่ร่วมกันแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เรียกได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของท้องถิ่นใครท้องถิ่นมัน เมื่อสังคมมีความกว้างมากขึ้นภูมิปัญญาจึงได้ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยและเกิดคำว่าภูมิปัญญาไทย แสดงถึงเรื่องที่เป็นองค์ความรู้ที่หลอมร่วมและดำเนินวิถีชีวิตร่วมกันในสังคม

            ลักษณะภูมิปัญญาไทยในปัจจุบัน

ในสมัยใหม่เรานิยมใช้คำว่าการแก้ไขปัญญาว่าเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งแท้จริงแล้วก็เปรียบได้กับการนำภูมิปัญญา ท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านที่คิดขึ้นได้เองมาแก้ไขปัญหาให้กับคนในสังคม ดังนั้น เมื่อยุคสมัยแปรเปลี่ยนไปรูปแบบของภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญา ท้องถิ่นจึงได้ปรับเปลี่ยนไปตามการดำเนินชีวิต เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

ประเภทของภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญาไทยมีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญา ท้องถิ่นสามารถแบ่งออกเป็นสาขาของภูมิปัญญาไทย อ้างอิงจากสานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๑) ทั้งหมด 10 สาขา ดังนี้

  1. สาขาเกษตรกรรม คือ ทักษะความรู้และเทคนิคที่ใช้กับเกษตรกรรม เป็นการหลอมรวมกันระหว่างเทคโนโลยีและความรู้ทางเกษตรกรรม ช่วยให้สามารถพึ่งพาตนเองแก้ไขปัญหาเรื่องเกษตรกรรมได้
  2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค) คือ กระบวนการที่ให้ชุมชนท้องถิ่นหรือคนในท้องที่นั้นได้พึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อแปรรูปผลผลิตช่วยลดการนำเข้าตลาด เช่น โรงงานยางพารา การทำหัตถกรรมแม่บ้าน เป็นต้น
  3. สาขาการแพทย์ไทย คือ ความรู้ความสามารถที่สามารถป้องกัน รักษาสุขภาพของคนในชุมชนได้ สนับสนุนให้คนในชุมชนพึ่งพาตนเองในชุมชนไปรักษาที่อนามัยหรือปรึกษาปรึกษาปัญหาสุขภาพได้ดี
  4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ การอนุรักษ์ การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สร้างสมดุลของสิ่งแวดล้อม
  5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน คือ ความสามารถในการดำเนินการในเรื่องบริการจัดการเรื่องกองทุนของชุมชน การจัดการเรื่องการสะสม โดยจะเป็นทั้งรูปแบบเงินตราและโภคทรัพย์ ช่วยให้ความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนดีขึ้น
  6. สาขาสวัสดิการ คือ ความสามารถในการจัดการรูปแบบของสวัสดิการการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมได้
  7. สาขาศิลปกรรม คือ รูปแบบของความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิตงานด้านศิลปะ โดยจะสามีแขวงวิชาต่าง ๆ เช่น จิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ เป็นต้น
  8. สาขาจัดการ คือ ความสามารถในการบริการจัดการด้านต่าง ๆ ของคนในชุมชน ซึ่งเป็นลักษณะขององค์กรชุมชนในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้านระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน ถือเป็นความสำคัญในการบริหารจัดการที่ต้องมีประสิทธิภาพในชุมชน โดยจะต้องมีกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและถ่ายทอดต่อยอดได้อย่างเหมาะสม
  9. สาขาภาษาและวรรณกรรม คือ รูปแบบความสามารถในการผลิตงานด้านภาษาถิ่น การใช้ภาษาไทย ภาษาท้องถิ่น ภาษาโบราณในแต่ะวัฒนธรรม ตลอดจนการสืบต่อเรื่องวรรณกรรมดังเดิมทุกประเภทด้วยเช่นกัน
  10. สาขาศาสนาและประเพณี คือ รูปแบบของความสามารถในสืบสาน ประยุกต์ ปรับใช้หลักคำสอน หลักธรรมของศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ทั้งนี้ จะต้องประยุกต์อย่างเหมาะสมโดยรักษาแก่นของศาสนาและประเพณีอันดีงามไว้ ตัวอย่างเช่น การถ่ายทอดศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ประเพณีท้องถิ่น เป็นต้น

ดังนั้นหากถามว่าการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตของคนไทยเป็นภูมิปัญญาในลักษณะใด ก็ขึ้นอยู่กับบริบทของท้องถิ่นและบุคคลนั้นว่าจะเลือกดำเนินชีวิต หรือมีวิถีชีวิตในรูปแบบใด เพราะไม่ว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างไร คนเราสามารถนำภูมิปัญญาต่าง ๆ เข้ามาผสมผสานกับอาชีพและการดำรงชีวิตได้ทั้งสิ้น

ยกตัวอย่างภูมิปัญญาไทยมีอะไรบ้าง
ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย

                ภูมิปัญญาไทยนั้นมีหลากหลายรูปแบบ โดยมาจากทุกท้องถิ่นของไทย ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจนว่าภูมิปัญญาไทยจะมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ วัฒนธรรม ซึ่งตัวอย่างของตัวอย่างภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่น เราจะสามารถจำแนกภูมิปัญญาไทยมีอะไรบ้าง มีดังนี้

            ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย ท้องถิ่นเทศบาลนครปากเกร็ด

  • การทำปุ๋ยจากสารอินทรีย์ โดยนายธำรง จันทร์สุกรี
  • เครื่องปั้นดินเผา โดยนายอำนาจโห้เฉื่อย
  • สูตรยาดมส้มโอมือ โดยนางสาวดวงอมร กฤษณ์มพก
  • ศิลปะการเพ้นท์จากขวดแก้ว โดยนายประภัทร สุขเกษม
  • งานไม้เขียนลาย โดยนางนิรมล ใจสว่าง
  • การเป่าแก้วประยุกต์ศิลปะไทย โดยนายสมชาย น้อยจินดา
  • กระบวนการแปรสภาพขยะ คือปุ๋ยหมัก และน้ำ โดยนายอเนก  หอมหวาน

ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย พื้นบ้านอีสาน

  • การสานกระติบข้าว
  • การละเล่นเดินกะลา
  • ซุปหน่อไม้
  • เซิ้งกระติบข้าว
  • พิธีบายศรีสู่ขวัญ

อย่างไรก็ตาม เห็นได้อย่างชัดเจนว่าภูมิปัญญา ท้องถิ่นนั้นมีความหลากหลายอย่างมาก และไม่ได้มีข้อจำกัดแค่เพียงการประดิษฐ์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องของการบริการการจัดการบางอย่างก็ได้ด้วยเช่นกัน ฉะนั้น คนรุ่นใหม่หรือใครที่ยังไม่เข้าใจเรื่องภูมิปัญญาไทยและมองว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว ให้เราสังเกตง่าย ๆ ว่าเพียงแค่เราหรือคนในชุมชนต้องการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรหรือวิถีชีวิตให้ดีขึ้น ลงมือทำคนเดียวหรือร่วมกันทำให้สำเร็จได้ก็ถือเป็นภูมิปัญญาได้เรียบร้อยแล้ว เพราะภูมิปัญญาเป็นเรื่องของความรู้ความสามารถที่จะนำมาต่อยอดเพื่อช่วยเหลือตนเองและคนในสังคม ยิ่งถ้ามีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงได้มากเท่าไรและลงมือ ร่วมแรง ร่วมใจ เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าวิถีชีวิตคนไทยจะพัฒนาและดีขึ้นได้อย่างแน่นอน  

รวมอาชีพ มีอะไร สุจริต อิสระ น่าสนใจ ในฝัน

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่มาอ้างอิง

  • ภูมิปัญญา ท้องถิ่น. เทศบาลนครปากเกร็ด. สืบค้นวันที่ 14 พ.ย.64 .จาก https://www.pakkretcity.go.th/index.php/2-uncategorised/2873-local-wisdom.html
  • ภูมิปัญญา ท้องถิ่น. เทศบาลตำบลน้ำตกไทรโยคน้อย. สืบค้นวันที่ 14 พ.ย.64 .จาก http://www.namtoksaiyoknoi.go.th/Main/PlaceotopPreview/id/6
  • ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน. โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สืบค้นวันที่ 14 พ.ย.64 .จาก https://sites.google.com/site/phumipayyaphunbanxisan/
  • วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมท้องถิ่น. สยามรัฐออนไลน์. 1 พฤศจิกายน จาก https://siamrath.co.th/n/25668

อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 31 ตุลาคม 2022

 

ยกตัวอย่างภูมิปัญญาไทยมีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญาไทยมี อะไร บาง ยก ตัวอย่าง

ภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น การทำนา ทำสวน ทำไร่ จับสัตว์น้ำ ทอผ้า ค้าขาย ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการรักษาโรค ภูมิปัญญาที่ใช้ในการดูแลรักษา และแก้ปัญหาสุขภาพ เช่น การใช้สมุนไพรเป็นยาและอาหาร พืชสมุนไพร หมอพื้นบ้าน และการแพทย์แผนโบราณ

ภูมิปัญญาไทยมีด้านใดบ้าง

คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม แบ่งประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ 7 ประเภท ดังนี้ 1. ภูมิปัญญาด้านการเกษตร 2. ภูมิปัญญาด้านเศรษฐกิจ 3. ภูมิปัญญาด้านศาสนาคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมความเชื่อ 4. ภูมิปัญญาด้านการจัดการทรัพยากรและการพัฒนาหมู่บ้าน 5. ภูมิปัญญาด้านศิลปะ 6. ภูมิปัญญาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 7. ภูมิปัญญา ...

ความสําคัญของภูมิปัญญาไทย มีอะไรบ้าง

ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย.
1. สร้างความภาคภูมิใจและเกียรติภูมิแก่คนไทย คนไทยในอดีตมีความสามารถเป็นที่ปรากฏในประวัติศาสตร์มากมาย และถือได้ว่าเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ ... .
2. ช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ภูมิปัญญาสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงปกครองประชาชน.

ภูมิปัญญาด้านการทำมาหากินมีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นความรู้เรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า ทอเสื่อ การสานตระกร้า และเครื่องใช้ด้วยไม้ไผ่ ด้วยหวาย การทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องมือทางการเกษตร นอกจากนั้น ยังมีศิลปะดนตรี การฟ้อนรำ และการละเล่นต่างๆ การรักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ เช่น การใช้ยาสมุนไพร การนวด เป็นต้น