ข้าราชการท้องถิ่น สังกัดอะไร

ปัญหาที่อึดอัดคับข้องใจของคนท้องถิ่นที่สั่งสมมานาน และเริ่มทวีขึ้นจนแทบระเบิดออกมา ในช่วงที่อยู่ภายใต้การยึดอำนาจของ คสช. นั่นเพราะมีการออกคำสั่งต่างๆ ที่เพิ่มอำนาจให้แก่กระทรวงมหาดไทย จนเป็นการทำหน้าที่เกินบทบาทของ “การกำกับดูแล (Tutelle Administrative)” แทบจะเป็น “การควบคุมบังคับบัญชา (Controle Hie’rarchiue)” ไปเกือบสมบูรณ์แบบแล้ว 

จึงมีความพยายามดิ้นรนของ “ท้องถิ่น” ที่จะ  “หลุดจากแอก” ที่หนักอึ้งนี้ไปให้ได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการพยายามที่จะจัดตั้ง “กระทรวงท้องถิ่น” หรือ “กระทรวงการปกครองท้องถิ่น” หรือในรูปแบบอื่น เช่น สภาท้องถิ่นแห่งชาติ, คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นแห่งชาติ ฯลฯ แยกออกมาจากกระทรวงมหาดไทย  

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้มีประเด็นข้อถกเถียงทางวิชาการอย่างมากว่า มีความเหมาะสมหรือถูกต้องตามหลักการการกระจายอำนาจหรือการปกครองท้องถิ่นหรือไม่ อย่างไร ถ้ามีกระทรวงท้องถิ่น ควรให้มีบทบาทอำนาจหน้าที่ทำอะไร ถ้าไม่มีกระทรวงท้องถิ่น รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีกลไกอะไรสำหรับทำหน้าที่บริหารจัดการระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

อย่าลืมว่าในโลกนี้มีหลายประเทศมีการจัดตั้ง “กระทรวงท้องถิ่น” ซึ่งอาจจะใช้ชื่ออื่นแต่ทว่าก็มีหน้าที่เช่นเดียวกับกระทรวงท้องถิ่น ขณะเดียวกันก็มีหลายประเทศที่ไม่มีการจัดตั้ง “กระทรวงท้องถิ่น”  ทั้งๆ ที่ทุกประเทศในโลกนี้ต่างก็มีการปกครองท้องถิ่นด้วยกันแทบทั้งสิ้น   

สามารถแบ่งกลุ่มได้ 2 ประเภท ดังนี้  

1. ประเทศที่มีระบบการปกครองแบบกระจายอำนาจเต็มที่ 

ประเทศเหล่านี้พัฒนามาจากการรวมตัวของเมืองต่างๆ ซึ่งแต่ละเมืองเคยมีอิสระในการปกครองมาก่อน แต่ยอมสละอำนาจบางส่วนของตนก่อตั้งขึ้นเป็นรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลระดับชาติหรือส่วนกลางกับท้องถิ่น มีลักษณะของการแบ่งงานกันทำ โดยรัฐบาลระดับชาติจะทำหน้าที่หรือจัดทำบริการสาธารณะเพียงไม่กี่ประเภท โดยจะเป็นเฉพาะเรื่องในระดับชาติเท่านั้น ส่วนบริการที่เหลือที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนเกือบทั้งหมดเป็นหน้าที่ของท้องถิ่น  

ประเทศเหล่านี้มักจะไม่มีกระทรวงท้องถิ่น แต่หากจะมีก็จะทำหน้าที่เกี่ยวกับนโยบายสำคัญๆ ที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ โครงสร้างประเทศ ความรับผิดชอบและการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ท้องถิ่น รวมถึงการนำทางในด้านความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น เป็นต้น (core policy issues relating to the constitution,structure,accountability and funding /leads the relationship between central and local government) ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น ,เกาหลีใต้,มาเลเซีย,ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร,นิวซีแลนด์,นอร์เวย์,สวีเดน เป็นต้น 

2.ประเทศที่มีระบบการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ 

ประเทศในกลุ่มนี้แม้ว่าอาจจะมีการกระจายอำนาจบ้าง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับท้องถิ่นจะอยู่ในลักษณะเป็นแนวดิ่ง ประเทศกลุ่มนี้มักจะมี “กระทรวงท้องถิ่น” หรือภายใต้ชื่อที่แตกต่างกันไป โดยอำนาจหน้าที่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำกฎหมาย กฎ ระเบียบ มาตรฐานการบริการสาธารณะ / จัดสรรเงินอุดหนุนและเข้าไปทำหน้าที่จัดบริการสาธารณะแทน อปท.ที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอ /ร่วมลงทุนหรือจัดทำข้อตกลงกับ อปท.ในการลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคตามนโยบายของรัฐ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น ไทย, ตูนีเซีย, อูกานดา, แซมเบีย, ฟีจิ,ร วันดา, เลโซโธ, จาไมกา, กานา, อาฟริกาใต้, ซิมบับเว,แซมเบีย, บอสวานา, มอริเธียส,โคโซโว, มาซิโดเนียเหนือ,ศรีลังกา, ตรินิแดดและโตบาโก,   กิยานา ฯลฯ 

เหตุผลของฝ่ายที่อยากให้มีกระทรวงท้องถิ่นแยกจากระทรวงมหาดไทย 

ฝ่ายที่สนับสนุนให้เหตุผลว่าเพื่อรวบรวมเอาหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นต่างๆ ที่อยู่กระจัดกระจายตามส่วนราชการต่าง ๆ เช่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) จากกระทรวงมหาดไทย /สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) จากสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย/ สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) จากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ฯลฯ มารวมไว้ที่เดียวกัน และเพื่อเป็นการแยกอำนาจจากกระทรวงมหาดไทยให้ชัดเจน โดยให้กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ดูแลความมั่นคงภายในต่าง ๆ เช่น การรักษาความมั่นคงภายใน การปราบปรามยาเสพติด หรืองานรัฐพิธี ฯลฯ ได้อย่างเต็มที่มากขึ้น  

ส่วนกระทรวงปกครองท้องถิ่น ให้มีหน้าที่ในการพัฒนา โดยมอบให้ อปท. พัฒนาท้องถิ่นของตนให้ดียิ่งขึ้น เพราะคนท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาของท้องถิ่นและแก้ปัญหาได้ตรงจุดกว่าส่วนกลางที่อยู่ไกลกว่า ฯลฯ 

เหตุผลของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งกระทรวงท้องถิ่น 

การตั้งกระทรวงปกครองท้องถิ่น คือการนำท้องถิ่นเข้าไปสู่การบริหารราชการส่วนกลาง ที่มี รมต. ปลัดกระทรวง อธิบดี เพิ่มขึ้น มีผู้บังคับบัญชา ที่อาจมิใช่มีเพียงผู้กำกับดูแลที่มากขึ้น เส้นสายการบังคับบัญชาก็จะยาวขึ้น และการที่หวังว่าจะได้คนท้องถิ่นเข้าไปเป็นบุคลากรในส่วนกลางนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะจะต้องมีการโอนย้ายและเปลี่ยนประเภทของข้าราชการจากข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นไปเป็นข้าราชการหรือพนักงานสังกัดกระทรวงหรือกรมอื่น มิใช่เป็นข้าราชการหรือพนักงานของส่วนท้องถิ่นอีกต่อไป   

สรุป 

หลายๆ คนหรือแม้แต่คนของ อปท.เองก็ตามมักจะเข้าใจว่า อปท.นั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งผมขอยืนยันว่าโดยหลักการปกครองท้องถิ่นและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อปท.ไม่ได้สังกัดกระทรวงมหาดไทยแต่อย่างใด เพียงแต่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ(แล้วแต่กรณี) เท่านั้น  

กระทรวงมหาดไทยหรือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นเพียง staff ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดก็เป็น staff ของผู้ว่าราชการจังหวัด มิใช่เป็นผู้บังคับบัญชาหรือต้นสังกัดของ อปท.แต่อย่างใด  

ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือกระทรวงมหาดไทยและจังหวัดอำเภอ ปัจจุบัน เล่นบทบาทเกินกว่าการเป็นผู้กำกับดูแล แต่ไปทำหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชา จึงทำให้เกิดการอึดอัดขัดข้องจนต้องมีการเรียกร้องให้ตั้งกระทรวงใหม่ ซึ่งผมเห็นว่ามิใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง 

เพราะการแก้ปัญหาที่ถูกต้องก็คือ ท้องถิ่นต้องกล้าโต้แย้ง ต่อสู้ หรือคัดค้านระเบียบ หนังสือสั่งการ ประกาศหรือคำสั่งที่ไม่ถูกต้องทั้งจากกกระทรวงมหาดไทยและจากกระทรวงอื่นๆ ด้วย แม้จะต้องไปฟ้องศาลปกครองก็ต้องทำ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานต่อไป 

คำตอบสุดท้ายของผมก็คือ แทนที่จะตั้งกระทรวงใหม่ เราต้องรณรงค์ไปให้ถึงการเกิดขึ้นของจังหวัดจัดการตนเองที่เป็นการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคและเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงจากประชาชน ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจอย่างเต็มรูปแบบ  

แต่ในระหว่างทางที่ยังไปไม่ถึง การมี “สภาท้องถิ่นแห่งแห่งชาติ ”อาจจะพอเป็นคำตอบได้บ้าง ซึ่งอาจจะดีขึ้นในแง่ของการบริหารบ้างหรือการใช้อำนาจบางประการ แต่สุดท้ายส่วนกลางหรือภูมิภาคก็ยังบีบรัดท้องถิ่นผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภออยู่ดี 

Facebook

Twitter

Line

ข้าราชการท้องถิ่น สังกัดอะไร

ชำนาญ จันทร์เรือง

นักวิชาการด้านกฎหมายและการเมือง หนึ่งในผู้ผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจ ยุติรัฐราชการรวมศูนย์ รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่ถูกคน 7 คนใส่ชุดครุยขึ้นไปนั่งบนบัลลังก์ กระทำการในนามของศาลรัฐธรรมนูญลงมติเสียงข้างมากให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ และตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี

ข้าราชการอปท.สังกัดอะไร

เป็นส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่มีบทบาทภารกิจสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการพัฒนาและให้คำปรึกษา แนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงินการคลัง และการบริหารจัดการ เพื่อให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพ ...

ท้องถิ่นเป็นข้าราชการอะไร

1.กำหนดให้ "ข้าราชการส่วนท้องถิ่น" หมายถึง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้าราชการเทศบาล ข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบล ข้าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการเมืองพัทยา เหตุผล เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพเท่าเทียมกันไม่แบ่งแยกตามประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

อปท.คือหน่วยงานใด

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) คือหน่วยงานของรัฐที่มีการดำเนินงานเป็นอิสระจากส่วนกลาง ทำหน้าที่บริหารจัดการกิจการต่างๆ ในท้องถิ่นของตน โดยผู้บริหาร อปท. ก็เป็นคนในท้องถิ่นที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งการที่รัฐยอมให้ อปท. ดำเนินงานได้อย่างมีอิสระ หมายความถึงรัฐกระจายอำนาจลงมาสู่ระดับท้องถิ่น จะช่วย ...

นายกเทศมนตรี สังกัดหน่วยงานใด

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น