งาน ทัศน ศิลป์ ในวัฒนธรรมท้องถิ่น ป. 4

สังคมไทยมีวิถีชีวิตอยู่กันอย่างเรียบง่าย มีประเพณีและศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาก่อน ดังนั้น ความผูกพันของจิตใจจึงอยู่ที่ธรรมชาติแม่น้ำและพื้นดิน สิ่งหล่อหลอมเหล่านี้จึงเกิดเป็น   ความเชื่อและประเพณีในท้องถิ่น แล้วถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างงดงาม ซึ่งส่วนใหญ่การสื่อสารทางวัฒนธรรมนั้นกระทำโดยผ่านสัญลักษณ์ และสัญลักษณ์นี้คือผลงานของมนุษย์นั้นเองที่เรียกว่า ศิลปะไทย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด ศ1.2 ป. 4/2 บรรยายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ

จุดประสงค์

1 อธิบายลักษณะของงานศิลปะที่เกี่ยวข้องวัฒนธรรมไทยได้

2 สร้างสรรค์ผลงานศิลปะลายไทย

3 เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ และรู้จักรักษาอุปกรณ์สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

การวัดผลและประเมินผล

1. ตรวจสอบจากการตอบคำถามของนักเรียน

2. ประเมินจากแบบประเมินชิ้นงาน

3. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

      สังคมไทยมีพัฒนาการที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน เห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่มีการค้นพบทรัพยากรทางวัฒนธรรมหรือ ผลงานทัศนศิลป์  เป็นจำนวนมากที่กระจายอยู่ ปัจจัยที่ทำให้งานทัศนศิลป์ของไทยมีความแตกต่างกัน ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์  ศาสนา  ความเชื่อ  และสังคมวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่  ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดรูปแบบผลงานที่เป็นลักษณะเฉพาะของชาติและท้องถิ่นตามลำดับ  ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นและคนในชาติควรภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด ศ1.2 ป. 4/1 ระบุ และอภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ ในเหตุการณ์ และงานเฉลิมฉลองของวัฒนธรรมในท้องถิ่น

แผนการสอนโดย ครูวรัญญา เฟื่องชูนุช, ครูทินกร ปิ่นทอง, ครูจิราภรณ์ พยัพพฤกษ์และครูจันทิมา อนุกูล

ครูผู้สอน ครูวรัญญา เฟื่องชูนุช, ครูทินกร ปิ่นทอง, ครูจิราภรณ์ พยัพพฤกษ์และครูจันทิมา อนุกูล


ครูวรัญญา เฟื่องชูนุช, ครูทินกร ปิ่นทอง, ครูจิราภรณ์ พยัพพฤกษ์และครูจันทิมา อนุกูล
ศิลปะ

ปันสื่อฟรีดอทคอม ขอนำเสนอใบงานครบปีการศึกษาวิชาศิลปะชั้น ป.4 สามารถดาวน์โหลดฟรี ไฟล์ Word , PDF สามารถนำไปแก้ไขเพื่อใช้ในการสอนได้เลยครับ

งาน ทัศน ศิลป์ ในวัฒนธรรมท้องถิ่น ป. 4
งาน ทัศน ศิลป์ ในวัฒนธรรมท้องถิ่น ป. 4
แจกฟรี ใบงานครบปีการศึกษาวิชาศิลปะชั้น ป.4

วิชาศิลปะและใบงานวิชาศิลปะ ป.4

การเรียนรู้ศิลปะ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ การคิดที่เป็นเหตุเป็นผลถึงวิธีการทางศิลปะ
ความเป็นมาของรูปแบบ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และรากฐานทางวัฒนธรรมค้นหาว่าผลงานศิลปะสื่อความหมายกับตัวเอง ค้นหาศักยภาพ ความสนใจส่วนตัวฝึกการรับรู้การสังเกตที่ละเอียดอ่อนอันนำไปสู่ความรัก
เห็นคุณค่าและเกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะและสิ่งรอบตัว พัฒนาเจตคติ สมาธิ รสนิยมส่วนตัว มีทักษะ
กระบวนการ วิธีการแสดงออก การคิดสร้างสรรค์

ส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักถึงบทบาทของศิลปกรรมในสังคมในบริบทของการสะท้อนวัฒนธรรมทั้งของตนเองและวัฒนธรรมอื่นพิจารณาว่าผู้คนในวัฒนธรรมของตนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่องานศิลปะ ช่วยให้มีมุมมองและเข้าใจโลกทัศน์กว้างไกลช่วยเสริมความรู้ ความเข้าใจ มโนทัศน์ด้านอื่นๆ สะท้อนให้เห็นมุมมองของชีวิต สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และความเชื่อความศรัทธาทางศาสนา

ด้วยลักษณะธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะการเรียนรู้เทคนิค วิธีการทำงาน ตลอดจนการเปิดโอกาสให้แสดงออกอย่างอิสระ ทำให้ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้คิดริเริ่มสร้างสรรค์ ดัดแปลง จินตนาการ มีสุนทรียภาพและเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยและสากลกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเสริมสร้างให้ชีวิตมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ช่วยให้มีจิตใจงดงามมีสมาธิ สุขภาพกายและสุขภาพจิตมีความสมดุล อันเป็นรากฐานของการพัฒนาชีวิตที่สมบูรณ์เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์โดยส่วนตน และส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมโดยรวม

สาระการเรียนรู้ที่ต้องเรียน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจมีทักษะวิธีการทางศิลปะเกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างอิสระ
ในศิลปะแขนงต่างๆ ประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ


ทัศนศิลป์ มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบศิลป์ ทัศนธาตุสร้างและนำเสนอผลงานทางทัศนศิลป์จากจินตนาการ โดยสามารถใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม รวมทั้งสามารถใช้เทคนิควิธีการของศิลปินในการสร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าของงานทัศนศิลป์เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานศิลปะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ดนตรี มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบดนตรี แสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึกทางดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ร้องเพลง และเล่นดนตรีในรูปแบบต่างๆแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรี แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประเพณีวัฒนธรรม และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์

นาฏศิลป์ มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์แสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ใช้ศัพท์เบื้องต้นทางนาฏศิลป์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆประยุกต์ใช้นาฏศิลป์ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล