วิสัย ทัศน์ การบริหาร ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ให้มีประสิทธิภาพ

วิสัยทัศน์/พันธกิจ/กลยุทธ์

รายละเอียด เขียนโดย Super User หมวด: Clinic Center

วิสัยทัศน์
                เป็นศูนย์บริหารจัดการและพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย โดยส่งเสริมการกระจายอำนาจ และให้บุคลากรร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อแก้ไขปัญหานำพาท้องถิ่นให้อยู่ดีมีสุข
 
พันธกิจ
1.      บริหารจัดการและพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เกิดการประสานแผน ประสานปฏิบัติ ร่วมแก้ไขปัญหาของประชาชน
2.      สนับสนุนและพัฒนา การเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะบุคลากรด้าน การพัฒนาท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ
3.     ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.      สนับสนุนให้ประชาชนร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตนเอง
 
กลยุทธ์
1.     ประสานการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดอย่างบูรณาการระหว่างส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด
2.          ประสานการปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด ร่วมกันแก้ไขปัญหาของประชาชนและพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
3.     จัดกิจกรรมและเวทีสาธารณะ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นประจำ
4.     พัฒนาบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนให้สามารถศึกษา ค้นคว้า แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์

รายละเอียด เผยแพร่เมื่อ วันพฤหัสบดี, 10 พฤศจิกายน 2559 17:17

วิสัย ทัศน์ การบริหาร ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ให้มีประสิทธิภาพ

ประเมินความพึงพอใจ

วิสัย ทัศน์ การบริหาร ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ให้มีประสิทธิภาพ

Visitors Counter

1913224

Today

Yesterday

This Week

Last Week

This Month

Last Month

All days

61

1788

6133

1898917

24783

55008

1913224


Your IP: 132.145.101.69

Server Time: 2022-10-20 02:38:55

ประเด็นสำคัญ

  • ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน Policy Brief ฉบับนี้ได้จากการถอดบทเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่งที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ โดยได้รับรางวัลด้านการบริหารจัดการต่างๆ มากมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า เป็นต้น โดยทั้งสององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
  • จากการถอดบทเรียนปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการของทั้ง 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า มีปัจจัยหลายประการที่มีส่วนส่งเสริมให้การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบความสำเร็จทั้งในระดับองค์กรและระดับโครงการ โดยสรุปได้หลักๆ ดังนี้
    • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ
    • มีการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ให้กันภายในระหว่างบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    • มีกลไกในการส่งเสริมการทำงานร่วมกันที่เป็นระบบ
    • ผู้บริหารมีภาวะความเป็นผู้นำสูง
    • บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความสามารถและมีความรับผิดชอบ
    • การบริหารงานมีการรับฟังความคิดเห็นจากภายนอก และมีความคล่องตัว
    • มีการแปลงวิสัยทัศน์ นโยบาย และยุทธศาสตร์ ขององค์กรมาสู่การปฏิบัติงานอย่างแท้จริง
    • เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    • มีการติดตามและประเมินผลโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
    • มีความเพียงพอของงบประมาณ

* สรุปและเรียบเรียงจาก วิมล ชาตะมีนา, วชิรา วราศรัย และ รุ่งทิพย์ จินดาพล (2551)  ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการและดำเนินโครงการของอบจ.แพร่และของ อบจ.พิษณุโลก รายงานวิจัยเลขที่RDG5040021., สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (มรุต วันทนากร สรุปและเรียบเรียง)

1. บทนำ

Policy Brief ฉบับนี้เรียบเรียงขึ้นจากงานวิจัยหลักเรื่องปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการและดำเนินโครงการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่และขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกและงานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกอย่างน้อย3 งานวิจัยได้แก่นวัตกรรมสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น / Best Practicesขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน และงานวิจัยในโครงการธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาการริเริ่มของท้องถิ่นกระบวนการนโยบายและปัจจัยสู่ความสำเร็จ 

คุณูปการของงานวิจัยเหล่านี้คือได้นำเสนอปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านต่างๆ  และPolicy Brief ฉบับนี้จะเน้นถอดบทเรียนปัจจัยแห่งความสำเร็จเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อ

•    เป็นตัวอย่างให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นนำเอาประสบการณ์และบทเรียนในเรื่องการบริหารจัดการไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตน

•    ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นย่นระยะเวลาการทำงานของตนไม่ต้องเสียเวลาในการลองผิดลองถูกซึ่งจะทำให้การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว

•    เป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และการช่วยเหลือกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยยกระดับความรู้ความสามารถในการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามการนำบทเรียนจากโครงการ/งานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่งไปประยุกต์ใช้จำเป็นจะต้องทำการศึกษาและวิเคราะห์ให้ชัดเจนว่าโครงการ/งานเหล่านั้นประสบความสำเร็จได้ด้วยปัจจัยที่เฉพาะเจาะจงหรือไม่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆสามารถนำบทเรียนเหล่านั้นไปใช้ได้ทั้งหมดหรือประยุกต์ใช้ได้เพียงบางส่วนซึ่งอาจจะต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆประกอบด้วย

2. เหตุผลและความจำเป็นของการศึกษาการพัฒนาความสามารถทางการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลังปี..2550 พบว่า นับตั้งแต่ที่ได้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.. 2542 เป็นต้นมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้รวมที่สามารถนำมาพัฒนาท้องถิ่นของตนเองเพิ่มขึ้นตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญโดยในปีงบประมาณ 2542 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้รวม 100,805ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 14.22 ของรายได้รัฐบาล และในปีงบประมาณ 2549 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้รวม 327,113 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 24.42 ของรายได้รัฐบาลกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว

ไม่เพียงแต่รายได้เท่านั้น อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็มากขึ้นตามไปด้วยซึ่งเป็นไปตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะงานที่ได้มีการถ่ายโอนจากหน่วยราชการส่วนภูมิภาคเช่นงานบริการการศึกษางานบริการสาธารณสุขและงานทะเบียนต่างๆเป็นต้น

เมื่ออำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบและรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีความจำเป็นต้องมีความพร้อมในการบริหารจัดการรายได้และความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นด้วยทั้งนี้เพื่อให้การบริหารจัดการด้านต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีผลงานที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของประชาชนในท้องถิ่นและสาธารณะชนทั่วไป

อย่างไรก็ตามมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ โดยพัฒนาการบริหารจัดการภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของตนเอง(ดังจะเห็นได้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านั้นได้รับรางวัลในการบริหารจัดการที่ดีจากกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ในขณะเดียวกันก็มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้กล่าวคือ ยังไม่มีการพัฒนาการบริหารจัดการภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดีพอจึงส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพประสิทธิผลและความพึงพอใจของประชาชนท้องถิ่น

ดังนั้นการศึกษาถึงการพัฒนาการความสามารถทางการบริหารจัดการและปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆสามารถนำประสบการณ์และบทเรียนเหล่านั้น มาเป็นตัวอย่างในการบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี

ในการพัฒนาความสามารถทางการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถในการบริหารขององค์กรอย่างน้อย 4 ด้านประกอบด้วยความสามารถด้านการพัฒนาท้องถิ่นความสามารถด้านพัฒนาองค์กรความสามารถด้านการบริหารการเงินการคลังและความสามารถในการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งมิติทั้ง 4 ด้านนี้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันและถือเป็นหัวใจของการบริหารจัดการองค์กรปกครองท้องถิ่นยุคใหม่

นอกจากนี้ความสำเร็จในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังจะต้องเกิดขึ้นใน2 ระดับได้แก่ความสำเร็จในการบริหารจัดการระดับโครงการและความสำเร็จในการบริหารจัดการระดับองค์กรซึ่งความสำเร็จทั้ง2 ระดับนี้ จะมีส่วนเกื้อหนุนและส่งเสริมกันและกันกล่าวคือหากสร้างความสำเร็จในระดับโครงการได้ก็จะมีผลทำให้การบริหารจัดการในระดับองค์กรประสบความสำเร็จตามไปด้วยและในขณะเดียวกันหากมีความสามารถในการบริหารระดับองค์กรภาพรวมประสบความสำเร็จก็จะมีผลให้การบริหารโครงการต่างๆที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำขึ้นมีผลสำเร็จลุล่วงได้ง่ายเช่นกัน

วีระศักดิ์ เครือเทพ, นวัตกรรมสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, (กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย), 2548

อรทัย ก๊กผล, Best practices ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน, (นนทบุรี : วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า), 2546

โครงการธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, คู่มือและหลักสูตรการฝึกอบรมกระบวนการนโยบายธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้โครงการธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาการริเริ่มของท้องถิ่น กระบวนการนโยบาย และปัจจัยสู่ความสำเร็จ, (กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2550

2.1 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ในระดับองค์กร)

•    ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ในระดับองค์กร) มีอยู่ด้วยกัน7 ประการได้แก่

  1. (1)    มีการกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาท้องถิ่น 

        องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีการทำการวิเคราะห์หาจุดอ่อนจุดแข็ง (SWOT  Analysis) ขององค์กรโดยการระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในองค์กรเพื่อให้บุคลากรในองค์กรมีทิศทางในการปฏิบัติงานที่มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันโดยการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นและเสนอแนะแนวทางแก้ไขร่วมกันทั้งนี้ได้คำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมในการกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจและยุทธศาสตร์  นอกจากนั้นแล้วยังต้องคำนึงถึงยุทธศาสตร์และเป้าหมายของการดำเนินงานของจังหวัดเพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับแผนพัฒนาในระดับที่สูงกว่า

    (2)  การสร้างความรู้ความเข้าใจและถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่บุคลากรในองค์กร

ผู้บริหารขององค์กรทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ โดยผู้บริหารได้นำเอาพื้นฐานความรู้และประสบการณ์เชิงธุรกิจมาประยุกต์ใช้กับการบริหารองค์กรรวมทั้งมีแนวความคิดในเรื่องการกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่นที่เป็นอิสระมุ่งสู่การรับใช้ประชาชนมาถ่ายทอดความรู้และมุมมองให้แก่บุคลากรในองค์กรเพื่อให้ทุกคนมีความรู้และมุมมองในการดำเนินงานเปิดกว้างและไปในทิศทางเดียวกันซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพการทำงานให้แก่บุคลากร

    (3)  การส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกัน

มีการส่งเสริมการทำการงานอย่างบูรณาการโดยการทำงานร่วมกันระหว่างกอง/ฝ่ายต่างๆหรือส่งเสริมการทำงานเป็นทีมมีการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดเช่นในการจัดเก็บภาษีอากรกองคลังต้องประสานงานให้ผู้ช่วยพัฒนาชุมชนกองส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ทำงานในพื้นที่ช่วยจัดเก็บภาษีให้หรือประสานงานให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานอำเภอจัดเก็บภาษีให้ นอกจากนี้ยังต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างนักการเมืองข้าราชการและประชาชนและทำงานเป็นทีมจากหน่วยงานภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงาน

    (4)  ลักษณะผู้บริหารมีภาวะความเป็นผู้นำ

ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีลักษณะความเป็นผู้นำสูงมีความรู้ความสามารถกล้าคิดกล้าเปลี่ยนแปลงกล้ารับผิดชอบในการตัดสินใจในการดำเนินงาน มีความมุ่งมั่นในการทำงานกระตือรือร้นใฝ่เรียนรู้คิดเร็วทำเร็วและมีความคิดริเริ่มในโครงการใหม่ๆหรือนวัตกรรมเสมอโดยนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้กับการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนอกจากนั้นผู้บริหารยังต้องมีทัศนคติที่เปิดกว้างรับรู้รับฟังสิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลายอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมีความเสียสละ และอุทิศตนในการทำงานเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 

    (5)  บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความสามารถและมีความรับผิดชอบ

ต้องมีการส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรได้เข้ารับการอบรมและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทำให้บุคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนอกจากนั้นบุคลากรในระดับปฏิบัติงานต้องมีความรอบรู้มีความกระตือรือร้นในการทำงานมีความรับผิดชอบสูง และอุทิศตนทุ่มเทการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรรวมทั้งบุคลากรยังต้องมีความคล่องตัวในการยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงมีการเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ร่วมกัน 

    (6)  การบริหารงานที่มีความคล่องตัว

ส่งเสริมให้องค์กรมีการบริหารงานที่มีความคล่องตัวโดยการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อลดขั้นตอนในการทำงานให้สั้นลง ทั้งนี้ผู้บริหารจะเป็นผู้กำหนดนโยบายหรือทิศทางการทำงานในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องนำแผนและนโยบายลงสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรหากผู้ปฏิบัติงานมีปัญหาอุปสรรคในการทำงานจะร่วมกันแก้ไขปัญหาระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานโดยมีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเป็นประจำ

    (7)  การรับฟังความคิดเห็นจากภายนอก

ในการพัฒนาการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภายนอกได้แก่ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านเพื่อช่วยในการเสริมสร้างความรู้ความสามารถให้แก่บุคลากรภายในองค์กรและเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานและโครงการเช่นการตั้งสภาที่ปรึกษารวมทั้งการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถบริหารงานและเสนอโครงการตรงตามความต้องการของประชาชน เพื่อให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจมากที่สุดนอกจากนั้นยังเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบุคคลภายนอกเช่นการจัดตั้งสถาบันพัฒนาผู้นำท้องถิ่นโดยมีวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ความรู้และร่วมมือในการดำเนินโครงการรวมทั้งการศึกษาดูงานหรือโครงการที่ดีและประสบความสำเร็จเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรของตน

2.2 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ในระดับโครงการ)

•    ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่ด้วยกัน5 ประการได้แก่

    (1)  การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ

โครงการที่ประสบความสำเร็จจะต้องเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจและความร่วมมือจากประชาชนการที่จะทำให้ประชาชนสนใจและร่วมมือได้ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดและดำเนินโครงการเพื่อให้ได้โครงการที่ประชาชนต้องการและพึงพอใจมากที่สุดดังนั้นก่อนที่จะเริ่มโครงการใดใดผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจะต้องสอบถามและรับฟังความคิดเห็นหรือความต้องการของประชาชนเช่นโครงการเสริมสร้างสุขภาพดีถ้วนหน้า โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและโครงการส่งเสริมสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้น

    (2)  การร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน

ในการดำเนินโครงการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการหรือให้ประชาชนจัดทำโครงการเพื่อของบประมาณอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระยะเริ่มแรกประชาชนอาจจะยังไม่มีความรู้ความสามารถในการนำเสนอโครงการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมอบหมายเจ้าหน้าที่ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการเขียนโครงการที่ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการนอกจากนั้นยังต้องทำหน้าที่ประสานงานเสนอแนะและอำนวยความสะดวกในการดำเนินโครงการให้แก่ประชาชนเช่นการติดต่อวิทยากรมาให้ความรู้แก่ประชาชน และการสนับสนุนให้ชุมชนหันมาช่วยเหลือและร่วมมือกันมากขึ้นเป็นต้น

    (3)  การแปลงวิสัยทัศน์นโยบายและยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติงานอย่างแท้จริง

ในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์นโยบายและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเพื่อนำมาสู่การปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นโดยการจัดทำและดำเนินโครงการให้เป็นรูปธรรมเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนอย่างมีคุณภาพทั้งนี้ในการดำเนินโครงการใดใดจะต้องคำนึงถึงการบรรลุวิสัยทัศน์นโยบายยุทธศาสตร์และเป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ซึ่งจะต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวดังนั้นการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ขององค์กรและนโยบายของผู้บริหารให้แก่บุคลากรผู้ดำเนินงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จประการหนึ่ง

    (4)  การติดตามและประเมินผลโครงการ

ในการดำเนินโครงการจะต้องมีการติดตามและประเมินผลเพื่อให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานและเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนอกจากนั้นยังทำให้ทราบถึงความต้องการและความพึงพอใจของประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งจะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับทราบถึงปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการและสามารถประเมินได้ว่าโครงการที่จัดทำขึ้นประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นแล้วควรมีการประเมินผลถึงความคุ้มค่าของงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการก็จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    (5)  ความเพียงพอของงบประมาณ

งบประมาณเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินโครงการซึ่งการดำเนินให้สำเร็จจะต้องมีการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมและเพียงพอนอกจากนั้นจะต้องคำนึงถึงการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพรวมทั้งเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยต้องพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้นหากเป็นโครงการที่มีผลให้ประชาชนมีความสุขเพิ่มขึ้นโดยไม่สามารถวัดออกมาในเชิงปริมาณก็ตามก็ถือว่าโครงการมีความคุ้มค่าเช่นกัน

5 ถอดจากบทเรียนในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ และ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้รับรางวัลการบริหารจัดการดีเด่นในหลายโครงการ เช่น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ โครงการพัฒนาเยาวชนคนเก่งสู่ดวงดาว การบริหารเงินสดเพื่อเพิ่มผลตอบแทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น

3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

•    เนื่องด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นปัจจัยความสำเร็จประการแรกของการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ภาครัฐหาหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการดำเนินการในการเพิ่มพูนความรู้ (Training Center) ให้แก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างจริงจังโดยหน่วยงานดังกล่าวต้องจัดทำการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะเทคนิคที่จำเป็นต่างๆในการบริหารองค์กรเช่นการวิเคราะห์หาจุดอ่อนจุดแข็ง (SWOT) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์หรือการจัดทำแผนกลยุทธ์ (Strategic plan) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการฝึกอบรมดังกล่าวต้องเป็นการฝึกอบรมแบบครบวงจรและในบุคลากรทุกระดับ  (Full course training) เริ่มตั้งแต่การจัดฝึกอบรมการประเมินผลการฝึกอบรมการทดสอบภายหลังการฝึกอบรมและการฝึกอบรมภาคปฏิบัติภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

•    หลักสูตรในการจัดฝึกอบรม ไม่ควรเน้นเพียงแต่เฉพาะประเด็นเรื่องระเบียบปฏิบัติทางราชการอย่างที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นดำเนินการอยู่เท่านั้นเทคนิคการบริหารจัดการองค์กรการบริหารองค์กรเชิงธุรกิจการวางแผนการตลาดตามความต้องการของประชาชนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นควบคู่ไปด้วยกับประเด็นเรื่องกฎระเบียบทางราชการ

•    การจัดทำแผนกลยุทธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองต้องเกิดจากทุกภาคส่วนในท้องถิ่น มิใช่เกิดจากการร่างของกองหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้นดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดให้มีสัปดาห์แห่งการจัดทำแผนกลยุทธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นการระดมสมองของบุคลกรจากทุกภาคส่วนในท้องถิ่นและประชาชนเข้ามาร่วมดำเนินการจัดทำแผนฯการจัดทำแผนฯที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมีผลสำคัญที่จะทำให้แผนกลยุทธ์มีผลในทางปฏิบัติมากขึ้น

•    กำหนดสัดส่วนของโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยให้มีสัดส่วนของโครงการที่มาจากประชาชนร่วมอยู่ด้วยมิใช่เป็นโครงการที่เกิดจากฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่เพียงอย่างเดียวและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดลำดับความสำคัญของการใช้งบประมาณไปยังโครงการที่มาจากประชาชนเป็นลำดับต้นๆ

•    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมอบหมายเจ้าหน้าที่ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการเขียนโครงการที่ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ นอกจากนั้นยังต้องทำหน้าที่ประสานงานเสนอแนะและอำนวยความสะดวกในการดำเนินโครงการให้แก่ประชาชนเช่นการติดต่อวิทยากรมาให้ความรู้แก่ประชาชนและการสนับสนุนให้ชุมชนหันมาช่วยเหลือและร่วมมือกันมากขึ้น

•    จัดให้มีการสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ด้านต่างๆในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมีการประเมินผลทุกๆ1 ปี – 2 ปี (การประเมินผลตามดัชนีชี้วัดบ่อยเกินไปจะทำให้เป็นภาระแก่บุคลากรท้องถิ่นซึ่งจะส่งผลต่อเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรท้องถิ่น)

•    จัดให้มีการชำระระเบียบปฏิบัติทางราชการภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อลดขั้นตอนการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสั้นลง

•    จัดให้มีองค์กรภาคประชาชนในท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆเช่น สภาที่ปรึกษาประชาชนในท้องถิ่นเวทีรับฟังความคิดเห็นการจัดตั้งสถาบันพัฒนาผู้นำท้องถิ่นเพื่อให้องค์กรเหล่านั้นเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งนี้เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถบริหารงานและเสนอโครงการได้ตรงตามความต้องการของประชาชนและให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจมากที่สุด

•    การศึกษาดูงานในท้องถิ่นอื่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีมีโครงการที่ประสบความสำเร็จ และนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรตนก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้

เอกสารอ้างอิง

•    โกวิทย์พวงงาม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย : ปรับวิธีคิดเพิ่มความสามารถและพลังสร้างสรรค์, (กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2544.

•    โครงการธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, คู่มือและหลักสูตรการฝึกอบรมกระบวนการนโยบายธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้โครงการธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาการริเริ่มของท้องถิ่นกระบวนการนโยบาย และปัจจัยสู่ความสำเร็จ, (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2550.

•    จรัสสุวรรณมาลา, วิถีใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย, รายงานวิจัย, (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

•    วีระศักดิ์ เครือเทพ, นวัตกรรมสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, (กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย), 2548.

•    วุฒิสารตันไชยและคณะ, การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น, รายงานวิจัย, (กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2542.

•    สุพรรณี  ไชยอำพร, การศึกษาเจาะลึกโครงการพัฒนาองค์กรประชาชนกรณีจังหวัดสุรินทร์, รายงานวิจัย,  (กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน), 2531.

•    อรทัยก๊กผล, Best practices ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน, (นนทบุรี: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า), 2546.