ดูเลขบัญชีธนาคารเกียรตินาคิน

ธนาคารขอเรียนให้ท่านทราบว่า ธนาคารไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าหรือบุคคลอื่นใดด้วย วิธีการดังกล่าว และธนาคารขอให้ท่านเพิ่มความระมัดระวังในการให้ข้อมูลใดๆ ผ่านอีเมล, ข้อความ หรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนตัดสินใจทำธุรกรรมใดๆ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ท่านสามารถศึกษาการใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างปลอดภัยเพิ่มเติมได้ที่ https://bank.kkpfg.com/th/internet-online-security-policy

หากท่านมีข้อสงสัยหรือพบพฤติกรรมดังกล่าว สามารถแจ้งข้อมูลมาที่ [email protected] หรือ KKP Contact Center โทร 02 165 5555 เพื่อให้ธนาคารทำการตรวจสอบและดำเนินการต่อไป

บริษัทใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของบริษัทที่ดีขึ้น รวมถึงใช้ในการทำการตลาดให้ตรงตามความสนใจของท่านมากที่สุด โดยท่านสามารถเลือก

หากท่านปฏิเสธคุกกี้ หรือยังคงใช้งานเว็บไซต์ต่อไป บริษัทจะยังคงเก็บคุกกี้ (Cookies) ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์ของท่านเท่านั้น ทั้งนี้ท่านสามารถตั้งค่าการจัดการคุกกี้ได้ตามวิธีการตั้งค่าที่ระบุไว้ในแต่ละเว็บเบราเซอร์ที่ใช้บริการ ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ (Cookies Policy) และ ประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

การลงทะเบียนพร้อมเพย์จำเป็นต้องมีการพิสูจน์ตัวตนของเจ้าของบัญชีและหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น ในกรณีปกติ จึงต้องมีการพิสูจน์ตัวตน อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี เช่น ผู้พิการหรือผู้ที่ต้องมีผู้ดูแล ซึ่งต้องการรับสวัสดิการและลงทะเบียนด้วยเลขประจำตัวประชาชน สามารถมอบอำนำจให้ผู้แทนมาลงทะเบียนได้ โดยธนาคารจะมีวิธีการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ตัวตนให้มั่นใจว่าเป็นเจ้าของบัญชีที่ลงทะเบียนจริงตามกระบวนการและวิธีการที่ธนาคารกาหนด

(?)ลูกค้าสามารถตรวจสอบว่าตนเองลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้แล้วหรือยัง และลงทะเบียนไว้ที่ธนาคารใด ได้หรือไม่

1. กรณีลูกค้าติดต่อผ่าน call center เจ้าหน้าที่จะพิสูจน์ตัวตนของลูกค้า และสามารถตอบได้ว่า ลูกค้าได้ลงทะเบียนไว้กับธนาคารแล้วหรือไม่ (โดยไม่บอกข้อมูลของธนาคารอื่น) และสามารถแนะนำลูกค้าให้ตรวจสอบข้อมูลด้วยตนเอง ด้วยวิธีการดังนี้
- ลูกค้าอาจใช้ internet/mobile banking ของธนาคารที่ใช้บริการ ทำการตรวจสอบโดยสมัครลงทะเบียนอีกครั้ง ระบบของหลายธนาคาร จะมีการตอบกลับว่าได้ลงทะเบียนไว้แล้ว และบอกด้วยว่าลงไว้กับธนาคารใด
- ลูกค้าอาจไปที่สาขาที่ตนเองต้องการลงทะเบียน และลงทะเบียนอีกครั้ง (ต้องมีหลักฐานแสดงตัวตน) ระบบงานที่สาขาจะสามารถให้ข้อมูลในกรณีที่ลงทะเบียนซ้ำว่าลงทะเบียนไว้แล้วที่ธนาคารใด และสามารถแจ้งลูกค้าได้
2. ในกรณีที่ต้องแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า และลูกค้าแจ้งความประสงค์จะทราบข้อมูลว่าลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้แล้วที่ใดผ่าน call center ธนาคารต้องมีวิธีการพิสูจน์ตัวตนและขอความยินยอมจากลูกค้าในการเรียกดูข้อมูลส่วนตัว และจัดเจ้าหน้าที่ call center/ เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง ที่สามารถดูข้อมูลในระดับที่ลึกขึ้นเพื่อให้ข้อมูลแก่ลูกค้า

(?)ในการลงทะเบียนพร้อมเพย์ หากผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือ นำโทรศัพท์ของเราไปลงทะเบียนโดยไม่ได้รับอนุญาต จะเกิดความเสียหายหรือไม่

ผู้อื่นจะไม่สามารถลงทะเบียนได้ เนื่องจากการลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ธนาคารจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด โดยตรวจสอบความเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือกับชื่อเจ้าของบัญชีธนาคาร ซึ่งสามารถทำได้โดยการกด USSD หรือการแสดงเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ รวมทั้ง มีการใช้ OTP เพื่อตรวจสอบการถือครองอย่างถูกต้องด้วย

(?)การยกเลิกพร้อมเพย์จากธนาคารหนึ่งเพื่อมาลงทะเบียนกับอีกธนาคารใช้เวลานานเท่าใด

การยกเลิกการลงทะเบียนพร้อมเพย์จะมีผลทันที โดยเมื่อยกเลิกสำเร็จแล้ว ก็สามารถไปลงทะเบียนกับธนาคารแห่งใหม่ได้เลย

(?)กรณีหมายเลขโทรศัพท์มือถือติดการลงทะเบียนพร้อมเพย์ของเจ้าของเบอร์เดิม จะต้องทำอย่างไร

ให้ลูกค้าแจ้งกับธนาคารที่ต้องการลงทะเบียน ซึ่งธนาคารดังกล่าวจะดำเนินการ (1) พิสูจน์ตัวตนและความเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด (2) แจ้งธนาคารเดิมที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขโทรศัพท์เดิม ให้ติดต่อเจ้าของเบอร์เก่าและยกเลิกการลงทะเบียน ตามกระบวนการและวิธีการที่ธนาคารกาหนด

(?)ลูกค้านิติบุคคลจะสมัครพร้อมเพย์ได้เมื่อไหร่

ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ธนาคารที่ร่วมโครงการ จะเปิดให้ลูกค้านิติบุคคลลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวันกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของธนาคารแต่ละแห่ง

(?)การใช้ USSD เพื่อตรวจสอบความเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือ จะใช้ได้ตลอดไปหรือไม่

สามารถใช้ได้ตลอด

(?)กรณีโอนเงินผิด หรือระบบขัดข้องเงินไม่เข้าบัญชีปลายทาง ต้องทำอย่ำงไร

ให้ผู้โอนแจ้งธนาคารต้นทาง โดยสมาคมธนาคารไทยมีการกำหนด SLA กรณีเกิดปัญหาของการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ไว้แล้ว (เผยแพร่ SLA ตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค. 60) ซึ่งได้มีการกำหนดระยะเวลาที่จะใช้ดูแลลูกค้าสาหรับบริการพร้อมเพย์ ดังนี้

  • หากมีสาเหตุจากระบบขัดข้อง ธนาคารจะตรวจสอบ แจ้งผล และปรับปรุงรายการให้ถูกต้อง (ถ้ามี) ภายใน 3 วันทาการ
  • หากเป็นกรณีลูกค้ำโอนผิดบัญชีหรือจำนวนเงินผิด
    + กรณีธนาคารเดียวกัน ธนาคารจะตรวจสอบ และแจ้งผลการติดตามให้ลูกค้าทราบ ภายใน 15 วันทาการ
    + กรณีต่างธนาคาร ภายใน 20 วันทำการ

(?)การโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ทางตู้ ATM จำเป็นต้องใช้ตู้ ATM ของธนาคารเจ้าของบัญชีหรือไม่

จำเป็นต้องใช้ตู้ ATM ของธนาคารเจ้าของบัญชี

(?)กรณีลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์มือถือ แต่ไม่ได้แจ้งธนาคารหรือแจ้งธนาคารล่าช้า แล้วมีการโอนเงินในช่วงเวลานั้น จะเป็นอย่างไร

เงินยังคงเข้าบัญชีเดิมที่เคยผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือไว้จนกว่าจะมีการแจ้งเปลี่ยนแปลง/ยกเลิกการผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือดังกล่าว อย่างไรก็ดี หากมีการเปลี่ยนเจ้าของเบอร์ เจ้าของใหม่จะไม่สามารถนำหมายเลขโทรศัพท์ไปลงทะเบียนได้ จนกว่าเจ้าของเดิมจะยกเลิกการลงทะเบียน

(?)พร้อมเพย์ต้องทำผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นใช่หรือไม่ สามารถทำได้ที่สาขาธนาคารได้หรือไม่

การโอนเงินพร้อมเพย์สามารถทำผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ตู้ ATM, Internet banking และ Mobile banking เป็นหลัก

(?)มีการกำหนดวงเงินการโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ต่อวันหรือไม่

แต่ละธนาคารมีการกำหนดวงเงินการโอนต่อวันเพื่อการบริหารความเสี่ยงที่แตกต่างกัน และเจ้าของบัญชีสามารถกำหนดวงเงินการโอนของตนเองได้เช่นเดียวกับการโอนเงินปกติ

(?)หากโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ 20,000 บาท ภายในธนาคารเดียวกันจะเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่ ซึ่งการโอนแบบเดิมจะไม่เสียค่าธรรมเนียม

ขึ้นอยู่กับอัตราค่าธรรมเนียมที่แต่ละธนาคารกำหนด แต่สูงสุดไม่เกิน 2 บาท ตามอัตราค่าธรรมเนียมพร้อมเพย์ โดยค่าธรรมเนียมของพร้อมเพย์จะไม่ได้แยกว่าเป็นการโอนธนาคารเดียวกัน หรือต่างธนาคาร หรือข้ามเขต แต่จะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการโอนตามจานวนเงินที่โอน

(?)หากโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ แต่ผู้รับไม่ได้ลงทะเบียน รายการจะถูกปฏิเสธหรือไม่

ผู้โอนจะไม่สามารถทำรายการได้

(?)การรับเงินคืนภาษีผ่านบริการพร้อมเพย์ ควรปฏิบัติอย่างไร

ผู้เสียภาษีสามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนที่ธนาคารใดก็ได้ โดยเมื่อยื่นแบบฟอร์มและผ่านขั้นตอนการตรวจสอบแล้ว กรมสรรพากรจะโอนเงินคืนภาษีผ่านพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน และผู้เสียภาษีจะได้รับเงินเข้าบัญชีในวันเดียวกันทุกธนาคาร อย่างไรก็ดี ขอให้ลูกค้าติดตามสถานะการยื่นภาษีจาก website ของกรมสรรพากร เป็นข้อมูลประกอบด้วย

(?)การลงทะเบียนพร้อมเพย์เพื่อรับสวัสดิการภาครัฐ สามารถลงทะเบียนได้ที่ธนาคารใด

ให้ประชาชนศึกษาเงื่อนไขการรับสวัสดิการแต่ละประเภท เนื่องจากบางสวัสดิการจะกำหนดว่าต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้กับธนาคารใด หากไม่ได้กำหนดก็สามารถลงทะเบียนได้ทุกธนาคาร โดยเป็นการลงทะเบียนแบบที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน

(?)หากไม่สมัครพร้อมเพย์สามารถรับเงินภาษีได้หรือไม่

ผู้เสียภาษีสามารถรับเงินคืนภาษีผ่านเช็คได้เช่นเดิม แต่จะได้รับช้ากว่าการคืนภาษีผ่านพร้อมเพย์ตามที่กรมสรรพากรกำหนด

(?)กรณีผู้เสียภาษีไม่ได้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้ สามารถลงทะเบียนหลังจากยื่นขอคืนภาษีได้หรือไม่

ผู้เสียภาษีควรลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนก่อนยื่นเสียภาษี แต่หากยื่นภาษีแล้ว ผู้เสียภาษีควรรีบลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนโดยเร็ว โดยศึกษาข้อมูลการคืนภาษีผ่าน พร้อมเพย์ของกรมสรรพากรให้ชัดเจน

(?)เงินคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต่อไปนี้หลังวันที่ 1 มกราคม 2560 จะไม่คืนเป็นเช็คคืนภาษีอีก ดังนั้น บุคคลใดก็ตามที่จะขอคืนภาษีเงินได้ ต้องลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ไว้เพื่อให้โอนเข้าบัญชี ใช่หรือไม่ ?

ตั้งแต่ปี 2560 ผู้เสียภาษีซึ่งอาจได้รับเงินภาษีคืนจากกรมสรรพากร จะสามารถรับเงินภาษีคืนผ่านทางเลขประจำตัวประชาชน ที่ได้ไปผูกกับบัญชีเงินฝากธนาคารไว้ โดยเงินภาษีคืนจะถูกโอนเข้าบัญชีโดยใช้เลขประจำตัวประชาชนโดยตรง ได้รับเงินรวดเร็ว ไม่ต้องกังวลเรื่องการรอรับเช็คหรือเช็คหายอีกต่อไป

(?)หากมีการรับสวัสดิการ เช่น เบี้ยคนพิการ ถ้าไม่ได้มาลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์เพื่อผูกเลขประจำตัวประชาชน จะถูกตัดสิทธิ์การรับสวัสดิการหรือไม่ ? และถ้ามีบัญชีที่พร้อมรับเงินสวัสดิการจากรัฐอยู่ในระบบของกรมบัญชีกลางแล้ว ยังจำเป็นต้องลงทะเบียนหรือไม่ ?

- พร้อมเพย์เป็นทางเลือกใหม่ เพิ่มเติมจากบริการโอนเงินในปัจจุบัน ถ้าไม่ได้ผูกบัญชี ก็ยังคงได้รับเงินสวัสดิการ/เงินช่วยเหลือต่างๆ จากภาครัฐตามปกติผ่านช่องทางปัจจุบัน

- อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่มีสิทธิรับเงินสวัสดิการ/เงินช่วยเหลือต่างๆ จากภาครัฐ ควรลงทะเบียนระบบพร้อมเพย์ โดยผูกเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งจะช่วยให้การรับเงินสวัสดิการ/เงินช่วยเหลือต่างๆ ของภาครัฐในอนาคตมีความสะดวกมากขึ้น ภาครัฐจะส่งเงินสวัสดิการ/เงินช่วยเหลือต่างๆ มาให้ได้ตรงตัวผ่านเลขประจำตัวประชนชน ครบถ้วนทุกประเภทสวัสดิการที่เรามีสิทธิได้รับด้วยความรวดเร็ว

(?)ต้องรีบมาลงทะเบียนหรือไม่ ไม่ลงทะเบียนได้หรือไม่ ?

การลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์เป็นการลงทะเบียนแบบสมัครใจ แต่ควรเริ่มทยอยลงทะเบียนตามความต้องการใช้งาน โดยรัฐบาลมีแนวคิดในการดูแลผู้รับเงินสวัสดิการและการคืนภาษีต่างๆ ให้แก่ประชาชนผ่านเลขประจำตัวประชาชน ดังนั้น ผู้ที่จะรับสวัสดิการต่างๆ จากรัฐบาลควรเริ่มทยอยมาลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์โดยผูกบัญชีเงินฝากของตนเองกับเลขประจำตัวประชาชน

ทั้งนี้ หากยังไม่ใช้บริการพร้อมเพย์ ลูกค้าก็ยังสามารถใช้บริการโอน-รับเงินที่มีอยู่ของธนาคารได้ตามปกติ

(?)ผู้ใช้บริการพร้อมเพย์ ต้องลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์หรือไม่ ?

ผู้โอนเงิน : ถึงแม้ว่าไม่ได้ลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ ก็สามารถโอนเงินด้วยพร้อมเพย์ได้ แต่ผู้รับโอนต้องลงทะเบียนใช้บริการพร้อมเพย์แล้ว ผู้โอนเงินจึงสามารถโอนผ่านพร้อมเพย์ด้วยค่าธรรมเนียมใหม่ได้

ผู้รับโอนเงิน : จะต้องลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีธนาคารของตนเองกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือเลขประจำตัวประชำชนก่อน และแจ้งหมายเลขดังกล่าวให้ผู้โอนทราบ เพื่อรับเงินเข้าบัญชีที่ได้ผูกไว้

(?)การลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์มีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ?

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน

(?)สามารถผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือเลขประจำตัวประชาชน ได้กี่บัญชี กี่ธนาคาร ผู้ที่มีบัญชีเงินฝากธนาคารหลายบัญชี จำเป็นต้องมาลงทะเบียนพร้อมเพย์ทุกบัญชีหรือไม่ ?

  • เลขประจำตัวประชาชน ผูกได้กับเพียงบัญชีเดียวเท่านั้น
  • หมายเลขโทรศัพท์มือถือ 1 เลขหมาย ผูกได้กับเพียงบัญชีเดียวเท่านั้น
  • บัญชีเงินฝากธนาคาร 1 บัญชี สามารถผูกได้กับทั้งเลขประจำตัวประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์มือถือ
  • บัญชีเงินฝากธนาคาร 1 บัญชี สามารถผูกกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือได้สูงสุดตามจำนวนที่แต่ละธนาคารกำหนด

สำหรับผู้ที่มีบัญชีเงินฝากธนาคารหลายบัญชี ไม่จำเป็นต้องมาลงทะเบียนพร้อมเพย์ทุกบัญชี แต่อาจเลือกบัญชีใดบัญชีหนึ่งไว้สำหรับรับเงินด้วยพร้อมเพย์ก็ได้ หรือในกรณีที่อยากใช้พร้อมเพย์กับหลายบัญชี ก็สามารถเลือกผูกเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีที่ 1 และผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือกับบัญชีที่ 2 ก็ได้ แต่ต้องระวังว่าหมายเลขเดียวกันผูกซ้ำเกินกว่า 1 บัญชีไม่ได้

(?)ผู้สูงอายุ หรือบุคคลที่ไม่ได้ใช้หรือไม่มีโทรศัพท์มือถือจะทำอย่างไร ?

  • การลงทะเบียนใช้บริการพร้อมเพย์ สามารถลงทะเบียนผูกบัญชีเงินฝากธนาคารไว้กับเลขประจำตัวประชาชน และ/หรือ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในกรณีที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเพียงอย่างเดียวได้ โดยสามารถลงทะเบียนได้ที่สาขาธนาคาร หรือ ตู้ ATM (สอบถามเพิ่มเติมได้จากธนาคารที่เลือกใช้บริการ)
  • การโอนเงินด้วยพร้อมเพย์ สามารถใช้ช่องทางการโอนผ่าน Mobile Banking, Internet Banking หรือ ตู้ ATM ซึ่งผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือสามารถเลือกใช้ช่องทาง ATM ได้ โดยสอบถามข้อมูลได้จากธนาคารที่เลือกใช้บริการ

(?)การที่ผู้อื่นรู้เลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือของเรา จะเอาไปโอนเงินออกจากบัญชีเราได้หรือไม่ ?

  • กรณีนี้ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากการผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือนั้น ทำเพื่อการรับเงินได้สะดวก การโอนเงินออกจากบัญชีไม่มีอะไรเปลี่ยนจากเดิม หากโอนโดยใช้ Mobile Banking หรือ Internet Banking ก็ต้องมี Username / Password หรือหากโอนที่ ATM ก็ต้องมีบัตร ATM และรหัสผ่าน จึงจะโอนเงินออกไปได้ หรือการถอนเงินที่สาขา ก็ต้องมีลายเซ็น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับ เลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือแต่อย่างใด
  • การนำหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้อื่นไปแอบอ้างลงทะเบียนผูกบัญชีของตนเองเพื่อขโมยเงินมา ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากธนาคารจะมีระบบรักษาความปลอดภัยหลายชั้น เช่น การตรวจสอบลูกค้า (Know Your Customer: KYC) ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด และการตรวจสอบความเป็นเจ้าของ ของหมายเลขโทรศัพท์มือถือและตัวเครื่องในขั้นตอนการลงทะเบียน นอกจากนี้ ข้อมูลของผู้ลงทะเบียนดังกล่าวต้องมีความถูกต้องตรงกันกับข้อมูลในบัญชีเงินฝากธนาคารด้วย

(?)บริการพร้อมเพย์ปลอดภัยหรือไม่ ?

บริการพร้อมเพย์เป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่นเดียวกับระบบการโอนเงินประเภทต่างๆ ที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

ระบบพร้อมเพย์มีการดูแลความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการลงทะเบียนที่รัดกุม การพัฒนาระบบกลางที่มั่นคงปลอดภัย และการใช้งานของประชาชนผู้โอนเงินอย่างถูกต้อง

ลงทะเบียนรัดกุม : ธนาคารจะมีการตรวจสอบตัวตนของลูกค้าและความเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถืออย่างรัดกุม นอกจากนี้ ธปท. ได้กำชับให้ธนาคารปฎิบัติตามแนวทางที่กำหนดในการรับลงทะเบียนพร้อมเพย์ ซึ่งได้ออกไปเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.59 เพื่อให้การลงทะเบียนมีความปลอดภัย เป็นมาตรฐาน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน รวมทั้ง ธปท. มีการตรวจสอบขั้นตอนและการควบคุมดูแลระบบการลงทะเบียนพร้อมเพย์เป็นการเฉพาะ เพื่อให้มั่นใจในความมั่นคงปลอดภัยและความพร้อมใช้งาน

ระบบกลางมั่นคงปลอดภัย : พร้อมเพย์เป็นระบบที่พัฒนาเพิ่มจากระบบโอนเงินที่ใช้อยู่ปัจจุบัน จึงมีความปลอดภัยไม่ด้อยกว่าบริการโอนเงินในปัจจุบัน เป็นระบบที่เชื่อมระหว่างธนาคารและผู้ให้บริการระบบกลางพร้อมเพย์ของประเทศไทย คือ บริษัท NITMX จึงเป็นระบบปิดที่มีการดูแลรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล คนภายนอกไม่สามารถต่อเข้ากับระบบนี้ผ่านช่องทาง Internet ทั่วไปได้ และ ธปท. ได้ติดตามดูแลการพัฒนาระบบด้านความมั่นคงปลอดภัยด้วย

นอกจากนี้ ได้มีการเตรียมการรองรับในด้านความปลอดภัย รวมถึงการดูแลระบบสารสนเทศ (IT) ในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานความถูกต้อง ความพร้อมใช้ของระบบ การดูแลการเข้าถึงข้อมูล การสำรองข้อมูล การมีแผนรองรับกรณีฉุกเฉินด้วย

ระบบกลางของพร้อมเพย์ ได้ถูกออกแบบและพัฒนาโดยบริษัทที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการชำระเงิน และเป็นผู้พัฒนาระบบการชำระเงินที่ใช้ในประเทศต่างๆ อาทิ ระบบที่มีลักษณะเดียวกันกับพร้อมเพย์ที่ประเทศอังกฤษ (ใช้มาเป็นเวลา 8 ปี) และสิงคโปร์ (2 ปี) โดยมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงระดับสากล และยังมีระบบติดตามและป้องกันการทุจริตเพื่อเพิ่มความปลอดภัยด้วย
ทั้งนี้ ผู้ให้บริการระบบกลาง ได้ให้บริการโดยระบบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ ตามมาตรฐาน ISO-27001 ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระบบสากล และมีการตรวจสอบประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภายนอกที่ได้รับการรับรองอีกชั้นหนึ่ง

ประชาชนโอนเงินอย่างถูกต้อง : นอกเหนือจากความปลอดภัยของระบบกลางแล้ว ได้มีการออกแบบความปลอดภัยในส่วนของกระบวนการเข้าใช้งาน กล่าวคือ ผู้ใช้บริการที่ทุกธนาคาร จะต้องมีการใส่เลขรหัสหรือ Password และมีการยืนยันรายการก่อนทำการโอนทุกครั้ง

(?)ข้อมูลส่วนตัวจะปลอดภัยหรือไม่ ?

การตัดสินใจเลือกผูกบัญชีเงินฝากของธนาคารใดๆ กับหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือเลขประจำตัวประชาชน ควรขึ้นกับความสะดวกและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเอง และหากได้ลงทะเบียนผูกบัญชีไปแล้ว สามารถที่จะยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการผูกบัญชีดังกล่าวได้ในภายหลัง

(?)หากลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ไปแล้ว ต่อมาเลิกใช้/ยกเลิกหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์มือถือใหม่ จะต้องทำอย่างไร ?

ต้องแจ้งยกเลิกการผูกบัญชีให้ธนาคารเจ้าของบัญชีรับทราบ เพื่อทำการยกเลิกการผูกบัญชีในระบบโดยเร็ว ส่วนหมายเลขโทรศัพท์มือถือใหม่ หากยังต้องการใช้บริการรับเงินโอนผ่านบริการพร้อมเพย์ จะต้องลงทะเบียนเพื่อผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือใหม่นั้น กับบัญชีเงินฝากธนาคารอีกครั้งหนึ่ง

(?)สามารถโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ ไปยังบัญชีของธนาคารในต่างประเทศ หรือโอนเงินจากธนาคารในต่างประเทศมาเข้าบัญชีของธนาคารในประเทศไทย ได้หรือไม่ ?

ไม่ได้ เนื่องจากบริการพร้อมเพย์เป็นการให้บริการโอนเงินเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น

(?)หมายเลขโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน (Prepaid) สามารถใช้ในการลงทะเบียนได้หรือไม่ และจะตรวจสอบความเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือได้อย่างไร ?

  • หมายเลขโทรศัพท์มือถือแบบ Prepaid ที่ลงทะเบียนด้วยชื่อของท่าน สามารถนำมาลงทะเบียนได้ โดยดำเนินการตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
  • ประชาชนสามารถตรวจเช็คว่าหมายเลขโทรศัพท์มือถือของตนได้ลงทะเบียนกับค่ายโทรศัพท์มือถือไว้ด้วยเลขประจำตัวประชาชนของตนเองหรือไม่ (ทั้ง Prepaid และ Postpaid) ก่อนการลงทะเบียนผูกบัญชีพร้อมเพย์ ซึ่งสามารถเช็คได้ด้วยตัวเอง โดยการ กด *179*เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก# และโทรออก โดยใช้ได้กับทุกค่ายมือถือตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. 59 เป็นต้นไป

(?)ถ้าประชาชนยังไม่เปลี่ยนบัตรเดบิต/บัตร ATM ชิปการ์ด จะสามารถใช้บริการพร้อมเพย์ได้หรือไม่ ? บัญชีที่ไม่มีบัตรเดบิต/บัตร ATM สามารถสมัครบริการพร้อมเพย์ได้หรือไม่ ?

ถ้าประชาชนยังไม่เปลี่ยนบัตรเดบิต/บัตร ATM ชิปการ์ด จะสามารถใช้บริการพร้อมเพย์ได้ ระบบไม่ได้เกี่ยวข้องกัน และบัญชีที่ไม่มีบัตรเดบิต/บัตร ATM สามารถลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ได้ปกติ

(?)ข้อมูลการใช้บริการพร้อมเพย์ถูกนำไปเก็บในบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรเดบิต/บัตร ATM ชิปการ์ด หรือไม่ ?

ไม่ได้ถูกเก็บในบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรเดบิต/บัตร ATM ชิปการ์ด แต่ถูกเก็บไว้ในระบบกลางที่มีความปลอดภัยสูง และมีระบบสำรองที่มั่นคงปลอดภัย

(?)เมื่อมีบริการพร้อมเพย์แล้ว จะสามารถใช้ธุรกรรมการโอนเงินแบบเดิมของธนาคารได้หรือไม่ ?

ใช้ได้ตามปกติ เนื่องจากพร้อมเพย์เป็นบริการทางเลือกใหม่ที่เพิ่มเติมจากบริการที่มีอยู่เดิม

(?)หากใช้บริการ Mobile Banking ในปัจจุบันแล้ว จำเป็นต้องลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์อีกหรือไม่ ?

ถ้าต้องการใช้บริการพร้อมเพย์ ก็ต้องทำการลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ด้วย

(?)หากใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือกับ Mobile Banking ของธนาคารไหนแล้ว จำเป็นต้องใช้เลขที่บัญชีของธนาคารนั้นผูกกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่จะใช้บริการพร้อมเพย์หรือไม่ ?

ไม่จำเป็น การผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือกับ Mobile Banking เป็นคนละระบบกับการลงทะเบียนผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือกับบัญชีเงินฝากธนาคารในบริการพร้อมเพย์

(?)หากการโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์มีความผิดพลาด เช่น เงินตัดต้นทางแต่ไม่เข้าปลายทาง หรือโอนเงินผิด จะทำอย่างไร ?

ผู้ใช้บริการควรเก็บรายละเอียดหรือหลักฐานการโอนเงินต่างๆ และแจ้งกับธนาคารต้นทางเพื่อทำการตรวจสอบ ธนาคารมีกระบวนการรองรับปัญหานี้อยู่แล้ว ซึ่งเป็นกระบวนการที่เหมือนกับการแก้ปัญหาการโอนเงินในระบบปัจจุบัน

(?)หากการโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์มีความผิดพลาด เช่น หมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับโอนเงินโดนระงับสัญญาณ การโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์จะสำเร็จหรือไม่ ?

ยังสามารถทำการโอนเงินได้ อย่างไรก็ดี ควรตรวจสอบผลการโอนกับธนาคาร และผู้รับเงินด้วย

(?)ถ้าไม่สามารถลงทะเบียนด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือ เพราะเจ้าของหมายเลขเดิมยังไม่ยกเลิกการลงทะเบียน ควรทำอย่างไร ?

ติดต่อธนาคารที่จะไปลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ โดยธนาคารจะเช็คข้อมูลว่าหมายเลขโทรศัพท์มือถือนี้ เคยมีการลงทะเบียนมาก่อนหรือไม่ หากมี ธนาคารจะติดต่อเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือเดิม ให้ทำการยกเลิกภายใน 5 วันทำการ (เป็นข้อกำหนดที่ธนาคารตกลงกันใน business rule)