สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

จันทร์ เม.ย. 20

Show

ผู้เขียน:  เจ้าหน้าที่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จาก สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 08:44 น.

 

อ่าน 15,745

ศิลปวัฒนธรรม ของเวียดนาม

     ศิลปวัฒนธรรม ของเวียดนามส่วนใหญ่มีอิทธิพลของจีนและฝรั่งเศสผสมผสาน โดยมีเทศกาลที่สำคัญๆ ได้แก่ เทศกาลเต็ด หรือ ตรุษญวน เป็นเทศกาลสำคัญทางศาสนา เรียกว่า "เต็ดเหวียนดาน" หมายถึง เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื้อ และศาสนาพุทธ

เทศกาลกลาง ฤดูใบไม้ร่วง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวน (บันตรังทู) พร้อมทั้งจัดขบวนแห่เชิดมังกรเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อดวงจันทร์

ศิลปะการแสดง ละครที่เป็นที่นิยมในแทบทุกภาคของเวียดนาม คือ "ฮัตบอย" (Hat Boi) หรืออุปรากรจีนตามแบบฉบับเวียดนาม ฮัต-ร้องเพลง และ บอย-การแสดงท่าทาง หมายถึงการแสดงที่มีการขับร้องและลีลาท่าทางที่เป็นแบบแผนมาแต่โบราณ ฮัตบอยพัฒนารูปแบบเป็นของเวียดนามมากขึ้น เช่น คำร้องแปลเป็นภาษาเวียดนาม ประพันธ์เพลงและทำนองขึ้นใหม่ หรือผสมผสานประวัติศาสตร์เวียดนามมาแสดง แต่ส่วนประกอบอื่นๆ ยังคงลักษณะของจีนไว้ด้วย เช่น เครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า การจัดฉากและอุปกรณ์การสร้างฉาก

นอกจากนี้ยัง มีการแสดงตามแบบฉบับราชสำนักพื้นบ้าน และการแสดงในอีกหลากหลายรูปแบบตามพื้นถิ่น รวมทั้งการแสดงหุ่นน้ำที่มีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่รู้จัก

โดย : กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 20 เมษายน 2558

คำค้นหา

เวียดนามมีประชากร 87.3 ล้านคน (ข้อมูลปี 2009) โดยร้อยละ 26 มีอายุต่ำกว่า 14 ปี ร้อยละ 7 มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป 

และร้อยละ 67 มีอายุระหว่าง 15 – 64 ปี ซึ่งเป็นวัยแรงงาน และเกินกว่าร้อยละ 50 เป็นประชากรที่อายุต่ำกว่า 30 ปี แยกเป็นประชากรเพศชาย ร้อยละ 49.16 ประชากรเพศหญิง ร้อยละ 50.84

ลักษณะทางสังคมวัฒนธรรม

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นสังคมนิยม  โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นองค์กรทางการเมืองสูงสุด แต่เวียดนามนับเป็นประเทศหนึ่งในคาบสมุทรอินโดจีนที่มีขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน และยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
 วิถีชีวิตของชาวเวียดนาม

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
เวียดนามมีความสัมพันธ์กับจีนมาก่อนการปฏิวัติระบบการปกครอง จึงทำให้มีความเชื่อ ศิลปะ 
วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับจีน ลัทธิความเชื่อต่างๆ ของจีนได้แพร่ขยายมายังเวียดนามด้วย ทั้งลัทธิขงจื๊อที่ให้ความสำคัญต่อการนับถือบรรพบุรุษ ลัทธิเต๋า ที่สอนเรื่องความสมดุลของธรรมชาติ  รวมไปถึงศาสนาพุทธนิกายมหายานที่สอนเรื่องกรรมดีและกรรมชั่ว แม้ว่ารัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเวียดนามจะทำลายความเชื่อและศาสนาส่วนหนึ่งไปในช่วงปฏิวัติระบบการปกครอง แต่ปัจจุบันมีการผ่อนปรนมากขึ้น โดยอนุญาตให้มีนักบวชในศาสนาพุทธและศาสนาอื่นๆ ได้ 
อีกทั้งพลเมืองส่วนหนึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมสืบทอดมาจน ถึงปัจจุบัน

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
 ชาวเวียดนามยังมีความนับถือสวรรค์หรือที่เรียกว่า "องเตร่ย (Ong Troi)" และเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีเทพเจ้าสถิตย์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเทพเจ้าดิน เทพเจ้าน้ำ หรือเทพเจ้าอื่นๆ ดังนั้น นอกจากวัดในศาสนาพุทธ 
(จั่ว - Chua) ศาลาประชาคม (ดินห์ - Dinh) หรือแท่นบูชาจักรพรรดิในอดีต (เดน - Den) แล้ว ยังมีการตั้งแท่นบูชาเทพเจ้า (เหมียว - Mieu) กระจายอยู่โดยทั่วไป ประชาชนนิยมนำดอกไม้ ธูป เทียน และผลไม้มาสักการะบูชาในวันที่ 1 และ 15 ค่ำ นอกจากนี้ คำสอนของขงจื๊อก็ยังคงอิทธิพลอยู่ในเวียดนาม ทำให้ชาวเวียดนามให้ความสำคัญกับการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ

พิกัดภูมิศาสตร์: 16°N 108°E / 16°N 108°E

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

Cộng hòa Xã hội chủ nghĩa
Việt Nam
  (เวียดนาม)

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

ธงชาติ

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

ตรา

คำขวัญ: Độc lập – Tự do – Hạnh phúc

"เอกราช อิสรภาพ ความสุข"

เพลงชาติ: Tiến Quân Ca
มาร์ชทหารเวียดนาม

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

ที่ตั้งของ ประเทศเวียดนาม  (เขียว)

ในอาเซียน  (เทาเข้ม)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวงฮานอย
21°2′N 105°51′E / 21.033°N 105.850°E
เมืองใหญ่สุดนครโฮจิมินห์
10°48′N 106°39′E / 10.800°N 106.650°E
ภาษาประจำชาติเวียดนาม[n 1]
กลุ่มชาติพันธุ์

  • 85.32% เวียดนาม[n 2]
  • ชนกลุ่มน้อย 53 กลุ่ม

    • 1.92% Tày
    • 1.89% ไทย
    • 1.51% Mường
    • 1.45% ม้ง
    • 1.37% เขมร
    • 1.13% นุง
    • 0.93% เหยา
    • 4.48% อื่น ๆ[3]

ศาสนา

  • 73.7% ไม่มีศาสนา / ศาสนาพื้นเมือง
  • 14.9% พุทธ
  • 8.5% คริสต์
  • 1.5% ลัทธิฮหว่าหาว
  • 1.2% ลัทธิกาวด่าย
  • 0.2% อื่น ๆ[4]

เดมะนิมชาวเวียดนาม
การปกครองรัฐเดี่ยว มากซ์-เลนิน พรรคเดียว สาธารณรัฐสังคมนิยม

• เลขาธิการ

เหงียน ฟู้ จ่อง[n 3]

• ประธานาธิบดี

เหงียน ซวน ฟุก

• นายกรัฐมนตรี

ฝั่ม มิญ จิ๊ญ

• รองประธานาธิบดี

Võ Thị Ánh Xuân

• ประธานสมัชชาแห่งชาติ

Vương Đình Huệ
สภานิติบัญญัติสมัชชาแห่งชาติ
ก่อตั้ง

• ราชวงศ์ห่งบ่าง (ราชวงศ์แรก)

ป. ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล

• จีนครอบครองเวียดนาม

พ.ศ. 432

• เป็นเอกราชจากจีน

พ.ศ. 1481

• ราชวงศ์เหงียน (ราชวงศ์สุดท้าย)

1 มิถุนายน พ.ศ. 2345

• กลายเป็นอาณัติฝรั่งเศส

6 มิถุนายน พ.ศ. 2427

• เป็นเอกราชจากฝรั่งเศส

2 กันยายน พ.ศ. 2488

• การประชุมเจนีวา (แบ่งเหนือ-ใต้)

21 กรกฎาคม พ.ศ. 2497

• ไซ่ง่อนล่มสลาย

30 เมษายน พ.ศ. 2518

• รวมประเทศ

2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519

• รัฐธรรมนูญปัจจุบัน

28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[n 4]
พื้นที่

• รวม

331,699 ตารางกิโลเมตร (128,070 ตารางไมล์) (อันดับที่ 66)

• แหล่งน้ำ (%)

6.38
ประชากร

• สำมะโนประชากร พ.ศ. 2562

96,208,984[3] (อันดับที่ 15)

• ความหนาแน่น

295.0 ต่อตารางกิโลเมตร (764.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 29)
จีดีพี (อำนาจซื้อ)พ.ศ. 2563 (ประมาณ)

• รวม

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
1,047.318 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 23)

• ต่อหัว

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
10,755 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 106)
จีดีพี (ราคาตลาด)พ.ศ. 2563 (ประมาณ)

• รวม

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
340.602 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 35)

• ต่อหัว

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
$3,498[6] (อันดับที่ 115)
จีนี (พ.ศ. 2561)
สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
 35.7[7]
ปานกลาง
เอชดีไอ (พ.ศ. 2562)
สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
 0.704[8]
สูง · อันดับที่ 117
สกุลเงินด่อง (₫) (VND)
เขตเวลาUTC+07:00 (เวลามาตรฐานเวียดนาม)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ไฟบ้าน220 โวลต์ – 50 เฮิร์ซ
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+84
โดเมนบนสุด.vn

เวียดนาม (เวียดนาม: Việt Nam [viət˨ nam˧] เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม: Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพื้นที่รวม 311,699 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 96 ล้านคนใน พ.ศ. 2562 จึงถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 15 ของโลก และเป็นอันดับ 9 ของเอเชีย มีพรมแดนติดกับประเทศจีนทางทิศเหนือ, ประเทศลาว และประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ อ่าวไทย ทางทิศตะวันออกและใต้[a] มีเมืองหลวงคือฮานอย และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือนครโฮจิมินห์ (เดิมชื่อว่า ไซ่ง่อน)

ดินแดนของเวียดนามเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่ยุคหินเก่า ผู้คนเข้ามาตั้งรกรากและรวมตัวกันเป็นรัฐต่าง ๆ บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงซึ่งเป็นที่ตั้งของภูมิภาคทางเหนือของเวียดนามในปัจจุบัน ดินแดนส่วนใหญ่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิจีนกว่าพันปี ตั้งแต่ 111 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ. 939 ราชวงศ์ฮั่นผนวกดินแดนตอนเหนือและตอนกลางเข้าด้วยกัน รัฐแรกเริ่มของเวียดนามก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 939 ภายหลังเวียดนามชนะจีน (มองโกล) ในยุทธนาวีแม่น้ำบักดั่ง เวียดนามและจักรพรรดิเวียดนามก็เจริญรุ่งเรืองและเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์เหงียนถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองดินแดนนี้ จนกระทั่งตกเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และภายหลังการปฏิวัติเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 กองทัพประชาชนในนาม เหวียตมิญ นำโดยโฮจิมินห์ มีบทบาทในการนำเวียดนามปลดแอกจากฝรั่งเศส[10]

เวียดนามต้องเผชิญกับสงครามที่ยืดเยื้อในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสกลับมาเถลิงอำนาจอีกครั้งในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง ซึ่งจบลงด้วยชัยของเวียดนามในปี 2497 กระนั้น สงครามเวียดนามได้ปะทุขึ้นไม่นานหลังจากนั้น โดยประเทศเวียดนามถูกแยกเป็นสองส่วนคือ เวียดนามเหนือ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและจีน และ เวียดนามใต้ (สาธารณรัฐเวียดนาม) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยเวียดนามเหนือนำไปสู่การสิ้นสุดของสงคราม[11] กรุงไซ่ง่อนได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโฮจิมินห์ ในขณะที่ฮานอยซึ่งเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ ได้กลายเป็นเมืองหลวงของเวียดนามหลังจากการรวมประเทศในปี 2519 ซึ่งดินแดนทั้งหมดได้รวมกันกลายเป็นรัฐสังคมนิยมในชื่อ "สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม" พรรคคอมมิวนิสต์มีบทบาทนำทางการเมือง สิ่งนี้นำไปสู่การวิจารณ์จากนานาชาติรวมถึงการคว่ำบาตรจากโลกตะวันตก สงครามกัมพูชา–เวียดนาม และ สงครามจีน–เวียดนาม ทำให้ประเทศเสื่อมโทรมมากขึ้น ก่อนที่นโยบายโด๋ยเม้ยในปี 2529 โดยพรรคคอมมิวนิสต์จะช่วยให้เศรษฐกิจประเทศเริ่มฟื้นตัว โดยยึดรูปแบบตามการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้เวียดนามกลายสภาพเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาค และเริ่มเข้าร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเมืองในเวทีโลกมากขึ้น

ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศกำลังพัฒนา โดยได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 และหากวัดตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ คาดว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะทัดเทียมกับประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2593 อย่างไรก็ดี ประชากรจำนวนมากยังประสบกับความยากจน และเวียดนามยังเผชิญความโดดเดี่ยวทางการเมือง ปัญหาสำคัญได้แก่ การทุจริตทางการเมือง รวมถึงการให้เสรีภาพสื่อและสิทธิมนุษยชนในระดับต่ำ ใน พ.ศ. 2543 ได้มีการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ เวียดนามเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก, ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และ องค์การการค้าโลก และยังเคยมีบทบาทในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ชื่อ[แก้]

คำว่า "เวียดนาม" หรือ "เหวียดนาม" (Việt Nam, /viə̀t naːm/, เหวียดนาม) คืออีกชื่อหนึ่งของ "นามเหวียด" (Nam Việt นามเหวียด; จีน: 南越; พินอิน: Nányuè; แปลว่า "เวียดใต้") โดยเป็นชื่อที่เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เจี่ยว (Nhà Triệu; 家趙, หญ่าเจี่ยว) ในช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล หรือช่วงระหว่างปีพ.ศ. 344 ถึง 443[12] คำว่า "เหวียด" (Việt)' เดิมเป็นชื่อย่อของ บั๊กเหวียด (Bách Việt บ๊าก เหฺวียด; จีน: 百越; พินอิน: Bǎiyuè; แปลว่า "ร้อยเวียด") ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มชนที่เคยอาศัยอยู่บริเวณทางใต้ของจีนและทางเหนือของเวียดนาม[13]

ประวัติศาสตร์[แก้]

สมัยก่อนประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมดงเซิน

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

เป็นอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในเวียดนามมีชื่อเสียงมากโดยเฉพาะอารยธรรมยุคหินใหม่ ที่มีหลักฐานคือกลองมโหระทึกสำริด และชุมชนโบราณที่ดงเซิน เขตเมืองแทงหวา ทางใต้ของปากแม่น้ำแดง สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของชาวเวียดนามโบราณผสมผสานระหว่างชนเผ่ามองโกลอยด์เหนือจากจีนและใต้ ซึ่งเป็นชาวทะเล ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวแบบนาดำและจับปลา และอยู่กันเป็นเผ่า บันทึกประวัติศาสตร์ยุคหลังของเวียดนามเรียกยุคนี้ว่าอาณาจักรวันลาง มีผู้นำปกครองสืบต่อกันหลายร้อยปีเรียกว่า กษัตริย์หุ่ง แต่ถือเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์

สมัยประวัติศาสตร์[แก้]

เวียดนามเริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์หลังจากตอนใต้ของจีนเข้ารุกรานและยึดครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแดง จากนั้นไม่นานจักรพรรดิจิ๋นซีซึ่งเริ่มรวมดินแดนจีนสร้างจักรวรรดิให้เป็นหนึ่งเดียว โดยได้ยกทัพลงมาและทำลายอาณาจักรของพวกถุกได้ ก่อนผนวกดินแดนลุ่มแม่น้ำแดงทั้งหมด ให้ขึ้นตรงต่อศูนย์กลางการปกครองหนานไห่ ที่เมืองพานอวี่หรือกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งปัจจุบัน หลังสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน ข้าหลวงหนานไห่คือจ้าวถัว ประกาศตั้งหนานไห่เป็นอาณาจักรอิสระ ชื่อว่า หนานเยว่ หรือ นามเหวียต ในสำเนียงเวียดนามซึ่งเป็นที่มาของชื่อเวียดนามในปัจจุบัน ก่อนกองทัพฮั่นเข้ายึดอาณาจักรนามเหวียด ได้ในปี พ.ศ. 585 และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีน ใช้ชื่อว่า เจียวจื้อ ขยายอาณาเขตลงใต้ถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน และส่งข้าหลวงปกครองระดับสูงมาประจำ เป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนนำวัฒนธรรมจีนทางด้านต่าง ๆ ไปเผยแพร่ที่ดินแดนแห่งนี้ พร้อมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทรัพยากรจากชาวพื้นเมืองหรือชาวเวียดนามจนนำไปสู่การต่อต้านอย่างรุนแรงหลายครั้งเช่น:

  • วีรสตรีในนาม ฮายบาจึง ได้นำกองกำลังต่อต้านการปกครองของจีน แต่ปราชัยในอีก 3 ปีต่อมาและตกเป็นส่วนหนึ่งของจีน
  • นักโทษปัญญาชนชาวจีนนามว่า หลีโบน ร่วมมือกับปัญญาชนชาวเวียดนามร่วมทำการปฏิวัติ ก่อตั้งราชวงค์หลี ขนานนามแคว้นว่า วันซวน แต่พ่ายแพ้ในที่สุด

การปกครองของจีนในเวียดนามขาดตอนเป็นระยะตามสถานการณ์ในจีนเอง ซึ่งเป็นโอกาสให้ชาวพื้นเมืองในเวียดนามตั้งตนเป็นอิสระ ในช่วงเวลาที่เวียดนามอยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์ถาง พุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่เวียดนาม เมืองต้าหลอหรือฮานอย เป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นศูนย์กลางการค้าการเดินทางของชาวจีนและอินเดีย พระสงฆ์และนักบวชในลัทธิเต๋าจากจีนเดินทางเข้ามาอาศัยในดินแดนนี้ ต่อมาราชวงศ์ถางได้เปลี่ยนชื่อเขตปกครองนี้ใหม่ว่า อันหนาน (หรืออันนัม ในสำเนียงเวียดนาม) หลังปราบกบฏชาวพื้นเมืองได้ แต่ถือเป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่จีนครอบครองดินแดนแห่งนี้

  • พ.ศ. 1498 - 1510 ราชวงศ์โง--หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ถางของจีน นายพลโงเกวี่ยนผู้นำท้องถิ่นในเขตเมืองฮวาลือ ทางใต้ของลุ่มแม่น้ำแดง ขับไล่ชาวจีนได้ แล้วจึงก่อตั้งราชวงศ์โงเปลี่ยนชื่อประเทศว่า ไดเวียด หลังจากจักรพรรดิสวรรคต อาณาจักรแตกแยกออกเป็น 12 แคว้น มีผู้นำของตนไม่ขึ้นตรงต่อกัน
  • พ.ศ. 1511 - 1523 ราชวงศ์ดิงห์--ขุนศึกดิงห์โบะหลิง แม่ทัพของราชวงศ์โง สามารถรวบรวมแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เปลียนชื่อประเทศเป็น

ไดโก่เวียด เริ่มสร้างระบบการปกครองแบบจีนมากกว่ายุคก่อนหน้า และตั้งตนเป็น จักรพรรดิดิงห์เตียน หรือ ดิงห์เตียนหว่าง เสมือนจักรพรรดิจิ๋นซีผู้รวบรวมจีน ถือเป็นการเริ่มใช้ตำแหน่งจักรพรรดิหรือ หว่างเด๋ ในเวียดนามเป็นครั้งแรก

  • พ.ศ. 1524-1552 ราชวงศ์เตี่ยนเลหรือเลยุคแรก--มเหสีของจักรพรรดิดิงห์โบะหลิง ได้ขับไล่รัชทายาทราชวงศ์ดิงห์ สถาปนาพระสวามีใหม่คือขุนศึกเลหว่านเป็นจักรพรรดิเลด่ายแห่ง โดยพยายามสร้างความมั่นคงด้วยการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับราชวงศ์ซ่งของจีนและปราบปรามกบฏภายใน แต่ก็ไม่รอดพ้นการรัฐประหาร สมัยนี้พุทธศาสนาและลัทธิเต๋ารุ่งเรืองมากและได้รับความเลื่อมใสศรัทธาในหมู่ชนชั้นสูงมาก

ราชวงศ์ยุคใหม่[แก้]

  • พ.ศ. 1552-1768 ราชวงศ์หลี--หลี กง อ่วนมีอำนาจในราชสำนักฮวาลือ เมื่อขึ้นครองราชย์ ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่ ทังลอง (ฮานอย) ทรงสร้างวัดขึ้น 150 แห่ง ในปี 1070 นำระบบการสอบจอหงวนมาใช้ ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวันเหมียว ให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีขงจื้อ เพื่อสอบเข้ารับราชการในระบบจอหงวน แต่ขุนนางยังมีจำนวนน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเชื้อสายผู้มีอิทธิพลในหัวเมือง ต่อมาทรงพระนามว่า หลีไถโต๋ สมัยหลีเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองและสังคมมาก ที่ปรึกษาราชการในบางสมัยเป็นพระสงฆ์ จักรพรรดิราชวงศ์หลีช่วงหลังสร้างวัดขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่ง และสละราชสมบัติออกผนวช เป็นสาเหตุให้การบริหารราชการเริ่มตกอยู่ในอำนาจของเครือญาติพระชายามาจากตระกูลที่มั่งคั่งในหัวเมือง ผู้ปกครององค์สุดท้ายเป็นเด็กหญิงที่ได้รับการตั้งเป็นจักรพรรดินี พระนามว่าหลีเจี่ยว การบริหารราชการตกอยู่ในอำนาจของญาติวงศ์พระชนนีซึ่งเป็นขุนศึกมีกองกำลังทหารอยู่ในมือ เช่นเจิ่นถูโดะ ซึ่งก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากราชวงศ์หลีในที่สุด
  • พ.ศ. 1768-1943 ราชวงศ์เจิ่น--เจิ่นถูโดะญาติของพระชายาจักรพรรดิก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจท่ามกลางสถานการณ์กบฏและการรุกรานจากข้าศึกต่างชาติ จากนั้นได้อภิเษกสมรสกับพระนางเจียว ฮว่าง จักรพรรดินีองศ์สุดท้ายของราชวงศ์หลีแล้วยกหลานขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์เจิ่น สมัยเจิ่นเวียดนามต้องเผชิญกับศึกสงครามโดยตลอด ที่ร้ายแรงที่สุดคือการรุกรานจากพวกมองโกลและจัมปา สมัยเจิ่นก็เริ่มให้ความสำคัญกับอารยธรรมจีนมากกว่ายุคก่อนหน้าโดยเฉพาะด้านภูมิปัญญาและอักษรศาสตร์ รวมถึงการบริหารราชการแบบจีน ในสมัยนี้มีการประมวลพงศาวดารชาติเป็นครั้งแรก ชื่อว่า ด่ายเหวียตสือกี๋ หรือ บันทึกประวัติศาสตร์มหาอาณาจักรเวียด โดยราชบัณฑิต เลวันฮึว นอกจากนี้ยังเริ่มมีการประดิษฐ์อักษรของเวียดนามที่เรียกว่า อักษรโนม ขึ้นเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 1943-1971 ราชวงศ์โห่--โห่กุ๊ยลี ญาติของพระชายาจักรพรรดิราชวงศ์เจิ่น สร้างฐานอำนาจของตนด้วยการเป็นแม่ทัพทำศึกกับพวกจามทางใต้ ต่อมาก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากจักรพรรดิราชวงศ์เจิ่นและพยายามกำจัดเชื้อสายราชวงศ์ที่หลงเหลืออยู่ จากนั้นขึ้นครองราชย์ ตั้งทายาทของตนเป็นจักรพรรดิต่อมา ราชนิกูลราชวงศ์เจิ่นได้ขอความช่วยเหลือไปยังจีน ทำให้จีนส่งกองทัพเข้ามาล้มล้าง ราชวงศ์โห่ แต่สุดท้ายก็ไม่มอบอำนาจให้แก่ราชวงศ์เจิ่น และยึดครองเวียดนามแทนที่
  • การกู้เอกราชและก่อตั้ง ราชวงศ์เล (ยุคหลัง) พ.ศ. 1971-2331 เล่เหล่ย ชาวเมืองแทงหวา ทางใต้ของฮานอย ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกตั้งตนขึ้นเป็นผู้นำเวียดนาม ขับไล่จีนออกจากเวียดนามได้สำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ. 1971 เลเหล่ยขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ สถาปนา ราชวงศ์เล ขึ้น มีราชธานีที่ฮานอยหรือทังลองและราชธานีอีกแห่งคือที่เมืองแทงหวา (ทันห์ว้า) หรือ ราชธานีตะวันตก ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของเลเหล่ยและตระกูลเล ต่อมาเลเหล่ยได้รับการถวายพระนามว่า เลไถโต๋

ราชวงศ์เลช่วงแรกเป็นช่วงสร้างความมั่นคงและฟื้นฟูประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะในสมัยเลไถโต๋หรือเลเหล่ย เช่นการสร้างระบบราชการ จัดสอบคัดเลือกขุนนาง ตรากฎหมายใหม่ แบ่งเขตการปกครองใหม่ ฟื้นฟูการเกษตร รวมถึงการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนทำให้เวียดนามเข้าสู่ยุคสงบสุขปลอดจากสงครามอีกครั้ง

หลังสมัยเลเหล่ย เริ่มเกิดความขัดแย้งระหว่างขุนนางพลเรือนกับบรรดาขุนศึกที่ร่วมทัพกับเลเหล่ยในการสู้รบกับจีน ความขัดแย้งบานปลายจนนำไปสู่การแบ่งพรรคแบ่งพวกในหมู่ข้าราชสำนัก จนเกิดการรัฐประหารครั้งแรกของราชวงศ์เลใน พ.ศ. 2002 มีการประหารพระชนนีและจักรพรรดิขณะนั้น ต่อมาบรรดาขุนนางจึงสนับสนุนให้ราชนิกูลอีกพระองค์หนึ่งมาเป็นจักรพรรดิแทน ต่อมาคือจักรพรรดิเลแถงตง (พ.ศ. 2003-2040)

รัชกาลจักรพรรดิเลแถงตงถือว่ายาวนานและรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เวียดนาม มีการปฏิรูปประเทศหลายด้านโดยยึดรูปแบบจีนมากกว่าเดิม ทั้งระบบการสอบรับราชการที่จัดสอบครบสามระดับตั้งแต่อำเภอจนถึงราชธานี จำนวนขุนนางเพิ่มขึ้นทวีคูณและทำให้ระบบราชการขยายตัวมากกว่ายุคสมัยก่อนหน้า นอกจากนั้นยังมีการประมวลกฎหมายใหม่พระองค์ทรงสร้างเวียดนามให้เป็นมหาอำนาจและเป็นศูนย์กลางด้วยการทำสงครามกับเพื่อนบ้านที่มักขัดแย้งกับเวียดนามคือจัมปาและลาว อิทธิพลของเวียดนามรับรู้ไปจนถึงหัวเมืองเผ่าไทในจีนตอนใต้และล้านนา หลังรัชกาลนี้ราชวงศ์เลเริ่มประสบปัญหาความขัดแย้งในหมู่ขุนนาง เชื้อพระวงศ์ ปัญหาเศรษฐกิจจนที่สุดก็ถูกรัฐประหารโดยขุนศึกหมักดังซุง ในปี พ.ศ. 2071 เชื้อพระวงศ์ราชวงศ์เลหลบหนีด้วยการช่วยเหลือของขุนศึกตระกูลเหวียนและจิ่ง ที่มีอิทธิพลในราชสำนักมาแต่แรก

ราชวงศ์เลเริ่มการฟื้นฟูกอบกู้อำนาจคืนโดยมีแม่ทัพเป็นคนตระกูลเหวียนและจิ่ง ทำสงครามกับราชวงศ์หมักจนถึงปี พ.ศ. 2136 จึงสามารถยึดเมืองทังลองคืนได้และฟื้นฟูราชวงศ์เลปกครองเวียดนามต่อไป

ยุคแตกแยกเหนือ-ใต้[แก้]

  • หลังการฟื้นฟูราชวงศ์เลขึ้นได้ ขุนศึกตระกูลจิ่งตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการ และให้ขุนศึกตระกูลเหวียนไปปกครองเขตชายแดนใต้บริเวณเมืองด่งเหยลงไปถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน ขุนศึกตระกูลจิ่งตั้งตนเป็น เจ้าสืบตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ในตระกูลของตนเอง ขุนศึกตระกูลเหวียนจึงประกาศไม่ยอมรับการปกครองของตระกูลจิ่งจนเกิดสงครามครั้งใหม่ต่อมาอีกหลายสิบปี เวียดนามแบ่งแยกเป็นสองส่วน ส่วนเหนือ คือ เวียดนามเหนือ อยู่ในการปกครองของราชวงศ์เลและเจ้าตระกูลจิ่ง มีศูนย์กลางที่ทังลอง ส่วนใต้ คือ เวียดนามใต้ มีตระกูลเหวียนปกครอง มีศุนย์กลางที่เมืองฝูซวนหรือเว้ในปัจจุบันตลอดมา

จักรวรรดิเวียดนาม[แก้]

  • พ.ศ. 2316 เกิดกบฏนำโดยชาวนาสามพี่น้องที่หมู่บ้านเตยเซินขึ้นในเขตเมืองบิ่งดิ่ง เขตปกครองของตระกูลเหวียน และสามารถยึดเมืองฝูซวนได้ องค์ชายเหงวียนแอ๋ง เชื้อสายตระกูลเหวียนหลบหนีลงใต้ออกจากเวียดนามไปจนถึงกรุงเทพฯ ก่อนกลับมารวบรวมกำลังเอาชนะพวกเตยเซินได้

องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือเหงวียนฟุกอ๊าน (องเชียงสือ) ผู้นำตระกูลเหงวียน ซึ่งตั้งตนเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งราชวงศ์เหงวียน ในปี พ.ศ. 2345 สถาปนาราชธานีใหม่ที่เมืองเว้ แทนที่ทังลอง ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ฮานอย

  • จักรวรรดิเวียดนาม (พ.ศ. 2345 -2488)

องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือจักรพรรดิยาลอง จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์เหวียนเริ่มฟื้นฟูประเทศ เวียดนามมีอาณาเขตใกล้เคียงกับปัจจุบัน ดินแดนภาคใต้ขยายไปถึงปากแม่น้ำโขงและชายฝั่งอ่าวไทย ทรงรักษาสัมพันธ์กับชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสที่ช่วยรบกับพวกเตยเซิน นายช่างชาวฝรั่งเศสช่วยออกแบบพระราชวังที่เว้ และ ป้อมปราการเมืองไซ่ง่อน

ราชวงศ์เหงวียนรุ่งเรืองที่สุดในสมัยจักรพรรดิมินหมั่ง จักรพรรดิองค์ที่สอง ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ด่ายนาม ขยายแสนานุภาพไปยังลาวและกัมพูชา ผนวกกัมพูชาฝั่งตะวันออก ทำสงครามกับสยามต่อเนื่องเกือบยี่สิบปี แต่ภายหลังต้องถอนตัวจากกัมพูชาหลังถูกชาวกัมพูชาต่อต้านอย่างรุนแรง

สมัยนี้เวียดนามเริ่มใช้นโยบายต่อต้านการเผยแพร่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงชาวตะวันตก มีการจับกุมและประหารบาทหลวงชาวตะวันตกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงชาวเวียดนามที่นับถือคริสต์ศาสนา จนถึงรัชกาลจักรพรรดิองค์ที่ 4 คือจักรพรรดิตึดึ๊ก ทรงต่อต้านชาวคริสต์อย่างรุนแรงต่อไป จนในที่สุดบาทหลวงชาวฝรั่งเศสขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตนให้ช่วยคุ้มครอง พ.ศ. 2401 เรือรบของกองทัพเรือฝรั่งเศสเข้ามาถึงน่านน้ำเมืองดานัง (หรือตูราน) ฐานทัพเรือใกล้เมืองหลวงเว้ นำไปสู่การสู้รบกันของทั้งฝ่าย

ต่อมากองกำลังฝรั่งเศสได้บุกโจมตีดินแดนภาคใต้บริเวณปากแม่น้ำโขงและยึดครองพื้นที่ได้เกือบทั้งหมด จักรพรรดิตึดึ๊กจึงต้องยอมสงบศึกและมอบดินแดนภาคใต้ให้แก่ฝรั่งเศส ชาวเวียดนามเริ่มต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสแต่ไม่อาจต่อสู้กับแสนยานุภาพทหางทหารที่เหนือกว่าได้ ฝรั่งเศสจึงเข้าควบคุมเวียดนามอย่างจริงจังมากขึ้นและแบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน คืออาณานิคมโคชินจีน ในภาคใต้ เขตอารักขาอันนัม ในตอนกลาง และ เขตอารักขาตังเกี๋ยในภาคเหนือ และเวียดนามยังมีจักรพรรดิเป็นประมุขเช่นเดิม แต่ต้องผ่านการคัดเลือกโดยข้าหลวงฝรั่งเศส และมีฐานะเป็นสัญลักษณ์ อำนาจในการบริหารการคลัง การทหาร และ การทูตเป็นของฝรั่งเศส ถือว่าเวียดนามสิ้นสุดฐานะเอกราชนับแต่นั้น

ยุคอาณานิคม[แก้]

ดูบทความหลักที่: อินโดจีนฝรั่งเศส

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

ฝรั่งเศสแสวงหาผลประโยชน์จากการปกครองเวียดนามทางด้านเศรษฐกิจ เวียดนามเป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่นกาแฟ และยางพารา ส่งออกไปยังฝรั่งเศสและเป็นวัตถุดิบแก่โรงงานในฝรั่งเศส ที่ดินในเวียดนามถูกยึดและตกเป็นของชาวฝรั่งเศส และเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศสให้แพร่หลายในเวียดนาม ชาวเวียดนามส่วนหนึ่งได้รับการศึกษาแบบใหม่และเริ่มต้องการอิสระในการทำงานและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มชาตินิยมต่าง ๆ ที่เข้มแข็งที่สุดคือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่ตั้งขึ้นโดยโฮจิมินห์ ในปี พ.ศ. 2473 และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น กลุ่มเวียดมินห์ ได้นำชาวนาก่อการต่อต้านฝรั่งเศสในชนบท

ยุคเอกราช[แก้]

พ.ศ. 2488 โฮจิมินห์รับมอบอำนาจจากจักรพรรดิบ๋าวได่และรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกหลังประกาศเอกราช แต่หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้กลับเข้ามาขับไล่รัฐบาลของโฮจิมินห์และไม่ยอมรับเอกราชของเวียดนาม นำไปสู่สงครามจนในที่สุดฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่กองกำลังเวียดมินห์ที่ค่ายเดียนเบียนฟู ในปี พ.ศ. 2497 และมีการทำสนธิสัญญาเจนีวา ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ยอมรับเอกราชของเวียดนาม แต่สหรัฐอเมริกาและชาวเวียดนามในภาคใต้บางส่วนไม่ต้องการรวมตัวกับรัฐบาลของโฮจิมินห์ ต่อมาได้ก่อตั้งดินแดนเวียดนามภาคใต้เป็นอีกประเทศหนึ่ง คือ สาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) มีเมืองหลวงคือ ไซ่ง่อน ใช้เส้นละติจูดที่ 17 องศาเหนือแบ่งแยกกับเวียดนามส่วนเหนือใต้การปกครองของโฮจิมินห์ (เวียดนามเหนือ)

สงครามเวียดนาม[แก้]

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

ดูบทความหลักที่: สงครามเวียดนาม

เวียดนามเหนือไม่ยอมรับสถานภาพของเวียดนามใต้ ขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ให้การช่วยเหลือทางทหารแก่เวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งทหารมาประจำในเวียดนามใต้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เวียดนามเหนือประกาศทำสงครามเพื่อขับไล่และ ปลดปล่อย เวียดนามใต้จากสหรัฐอเมริกาและรวมเข้าเป็นประเทศเดียวกัน พร้อมให้การสนับสนุนกลุ่มชาวเวียดนามใต้ที่ต่อต้านสหรัฐอเมริกา (เวียดกง) ในการทำสงคราม

การรบส่วนใหญ่กลายเป็นการรบระหว่างทหารสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรจากต่างประเทศ กับกองกำลังเวียดกงและเวียดนามเหนือ ทั้งในชนบทและการโจมตีในเมือง แม้สหรัฐอเมริกาได้ทุ่มเทแสนยานุภาพอย่างเต็มที่แต่ก็ไม่อาจทำให้สงครามยุติลงได้ หลังการรุกโจมตีครั้งใหญ่ของเวียดนามเหนือและเวียดกงในปี พ.ศ. 2511 ที่เมืองเว้และเมืองหลักอื่น ๆ ในเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาเริ่มเตรียมการถอนกำลังจากเวียดนามใต้และให้เวียดนามใต้ทำสงครามโดยลำพัง

สหรัฐอเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2516 กองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกงจึงสามารถรุกเข้ายึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2518 การรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นับแต่นั้น

หน่วยงานราชการและการเมือง[แก้]

1.การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียว ผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่

  • กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย
  • กลุ่มอนุรักษนิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ “วิวัฒนาการที่สันติ” (peaceful evolution) อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ และ
  • กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก

2.เวียดนามได้มีการเลือกตั้งสภาแห่งชาติ สมัยที่ 11 เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 มีผู้ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 498 คน เป็นผู้เลือกตั้งอิสระเพียง 2 คน ที่เหลือเป็นผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากพรรคคอมมิวนิสต์ สภาแห่งชาติมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่ตรากฎหมาย แต่งตั้งหรือถอดถอนประธานาธิบดี ประธานรัฐสภา และ นายกรัฐมนตรี

3.สภาแห่งชาติชุดใหม่ได้เปิดประชุมเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 โดยสภาได้มีมติสำคัญ ๆ คือ

  • รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อ 19 พฤษภาคม
  • เลือกตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ประจำสภา
  • การเลือกตั้งให้นายเหวียน วัน อาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาต่อไป (เมื่อ 23 กรกฎาคม)
  • การเลือกตั้งให้นายเจิ่น ดึ๊ก เลือง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป (เมื่อ 24 กรกฎาคม) และ
  • เลือกตั้งให้นายฟาน วัน ขาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป (เมื่อ 25 กรกฎาคม) และได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อ 8 สิงหาคม 2545 โดยในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ 26 คน มีรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ 15 คน

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ หลายคนเคยดำรงรัฐมนตรีช่วยในกระทรวงนั้น ๆ มาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกระทรวงใหม่ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม และกระทรวงภายใน ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการปฏิรูปเศรษฐกิจและการบริหารประเทศมากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาในประเด็นนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามที่ดำเนินไปด้วยดีในปัจจุบัน

4.แผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี ค.ศ. 2001-2010 เน้น 4 ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ และการปฏิรูปด้านการคลัง

การทหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพเวียดนาม

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้]

ตามเอกสารของสภาแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม:พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ การเปิดการกระจายความหลากหลายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบพหุภาคีการประสานงานระหว่างประเทศเชิงรุกกับคติ "เวียดนามยินดีที่จะเป็นเพื่อนและพันธมิตรที่เชื่อถือได้ของทุกประเทศในประชาคมโลกที่มุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ สันติภาพความเป็นอิสระและการพัฒนา "

เวียดนามเข้าร่วมกับองค์การสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2520 ในสมัยฯพณฯประธานาธิบดีเดยเหม่ยอย่างเป็นทางการเวียดนามได้ปรับความสัมพันธ์กับจีนในปี พ.ศ. 2535 และสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2538 เข้าร่วมอาเซียนในปีเดียวกันนั้นเอง

ปัจจุบันเวียดนามได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 180 ประเทศ (รวมถึง 43 ประเทศในเอเชีย, 47 ประเทศในยุโรป, 11 ประเทศในโอเชียเนีย, 29 ประเทศในอเมริกา, 50 ประเทศในแอฟริกา) ทุกทวีป (เอเชีย - แปซิฟิก: 33 ประเทศ, ยุโรป: 46 ประเทศ, อเมริกา: 28 ประเทศ, แอฟริกา: 47 ประเทศ,และ ตะวันออกกลาง: 16 ประเทศ), รวมถึงทุกประเทศที่สำคัญและศูนย์กลางทางการเมืองของ โลก เวียดนามยังเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศ 63 แห่งและมีความสัมพันธ์กับองค์กรพัฒนาเอกชนมากกว่า 650 องค์กร ในเวลาเดียวกันเวียดนามมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับ 165 ประเทศและดินแดน ในสหประชาชาติเวียดนามทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการ ECOSOC สมาชิกคณะกรรมการบริหารของ UNDP UNFPA และ UPU

บทบาทภายนอกของเวียดนามในชีวิตทางการเมืองระหว่างประเทศได้รับการแสดงผ่านองค์กรที่ประสบความสำเร็จจากการประชุมระดับนานาชาติหลายครั้งในเมืองหลวงของกรุงฮานอย

ในปี พ.ศ. 2540 จัดประชุมสุดยอดชุมชนฝรั่งเศส

ในปี พ.ศ. 2541 มีการประชุมสุดยอดอาเซียน

ในปี พ.ศ. 2546 จัดประชุมนานาชาติเกี่ยวกับความร่วมมือและการพัฒนาในเวียดนามและแอฟริกา

ในปี พ.ศ. 2547 การประชุมสุดยอด ASEM จัดขึ้นในเดือนตุลาคม

ในปี พ.ศ. 2549 จัดประชุมสุดยอดเอเปคในเดือนพฤศจิกายน

ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมาเวียดนามได้กลายเป็นสมาชิกลำดับที่ 150 ขององค์การการค้าโลก (WTO) อย่างเป็นทางการ นี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในกระบวนการของการรวมเข้ากับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 2550 เป็นเจ้าภาพการคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นิวยอร์กได้รับการโหวตอย่างเป็นทางการเวียดนามได้รับเลือกอย่างเป็นทางการในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในวาระปี พ.ศ. 2551-2552 .

เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 เวียดนามถือว่าบทบาทของประธานอาเซียนและในปีนั้นมีการประชุมระดับภูมิภาคจำนวนมาก

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นิวยอร์กได้ลงคะแนนในการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของเวียดนามเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) อย่างเป็นทางการปี 2016-2018

ในปี พ.ศ. 2559 จัดโอลิมปิกสากลชีวภาพ

ในปี พ.ศ. 2560 จัดการประชุมสุดยอดเอเปคในเดือนพฤศจิกายน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

ภูมิศาสตร์[แก้]

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

ชาวเวียดนามนิยมปลูกข้าวแบบขั้นบันได

เวียดนามเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวยาว และ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แต่มีภูเขาที่มีป่าหนาทึบแค่ 20% โดยมีพันธุ์ไม้ 13,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์กว่า 15,000 สายพันธุ์

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

  • มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือ ตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
  • มีที่ราบสูงตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มีเขา ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง 3,143 เมตร (10,312 ฟุต)

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

  • เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ)
  • เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณร้อยละ 84 ตลอดปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5 องศาเซลเซียส

ชายแดน[แก้]

ทั้งหมด 4,638 กิโลเมตร (2,883 ไมล์) โดยติดกับประเทศกัมพูชา 1,228 กิโลเมตร (763 ไมล์) ประเทศจีน 1,281 กิโลเมตร (796 ไมล์) และประเทศลาว 2,130 กิโลเมตร (1,324 ไมล์)

เศรษฐกิจ[แก้]

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

เกษตรกรรม[แก้]

มีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย (ในปี พ.ศ. 2549 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน) [14] การประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์

อุตสาหกรรม[แก้]

อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า ศูนย์กลางอยู่ที่โฮจิมินห์ซิตีและมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เบียนโฮ[15] การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ เวียดนามเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย [16]

สถานการณ์เศรษฐกิจ[แก้]

เวียดนามมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเผชิญภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า จึงมีการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตั้งแต่กันยายนปี 2004 [17] แม้ว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจจะเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญรองจากเหตุผลทางการเมืองและยุทธศาสตร์ในการที่อาเซียนรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก แต่ก็ยังคงความสำคัญในระดับหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามและประกาศถอนทหารออกจากกัมพูชา และเมื่อเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงปารีสในปี 1991

เหตุผลการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน[แก้]

  1. การสนับสนุนและความช่วยเหลือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมจากประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเวียดนามมองว่าเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับการปรับสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์และการปรับนโยบายต่างประเทศ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนจะทำให้เวียดนามมีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศจากสมาชิกต่าง ๆ อันจะมีส่วนเอื้ออำนวยและเร่งการพัฒนาของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของการแข่งขันได้ในที่สุด
  2. เวียดนามให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเข้าร่วมในระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและระบบเศรษฐกิจของโลก การเป็นสมาชิกของอาเซียนจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในเขตการค้าเสรีอาเซียน และนำเวียดนามไปสู่ความคุ้นเคยกับแนวทางปฏิบัติในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับโลก อันจะมีผลดีและเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่จะผลักดันเวียดนามให้ก้าวไปสู้การเป็นสมาชิกของ APEC และ WTO ได้ในที่สุด
  3. ในฐานะของสมาชิกอาเซียน เวียดนามหวังที่จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของการค้าและการลงทุนกับประเทศอาเซียนทั้งหลาย ขณะเดียวกันในขณะที่การค้าภายในกลุ่มอาเซียนกำลังขยายตัว เวียดนามก็ได้ตระเตรียมและปรับทิศทางการส่งออกของตนที่จะไปสู่ตลาดอาเซียนนี้อย่างจริงจังมากขึ้น การนำเข้าของเวียดนามจากอาเซียนในขณะนี้เป็นครึ่งหนึ่งของการนำเข้าทั้งหมดของทั้งหมดของเวียดนาม และประมาณร้อยละ 30 ของการค้าทั้งหมดของเวียดนามที่มีกับอาเซียนนอกจากนี้ เวียดนามยังหวังว่าตนจะได้รับสิทธิพิเศษ GSP อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป และเวียดนามยังจะเป็นจุดส่งออกที่สำคัญสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ

ในด้านการลงทุน ทั้งเวียดนามและประเทศในกลุ่มอาเซียนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนเข้าไปลงทุนในเวียดนามโดยเวียดนามจะสามารถดูดซึมเทคนิค วิทยาการและเทคโนโลยีที่ผ่านมากับการลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการร่วมทุน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการผลิตของเวียดนาม และขณะเดียวกัน นับตั้งแต่เวียดนามเปิดประเทศและประกาศกฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติ ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างก็ให้ความสนใจลพยายามแสวงหาโอกาสเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ทั้งนี้เพราะอาเซียนก็สนใจในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกันทั้งด้านการค้าและการลงทุน เนื่องจากเวียดนามเป็นตลาดใหญ่มีประชากรถึง 73 ล้านคน มีความสมบูรณ์ทางทรัพยาธรรมชาติ มีแรงงานที่มีศักยภาพและมีราคาถูก การมีเวียดนามเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นจะทำให้อาเซียนมีประชากรเพิ่มเป็น 420 ล้านคน และจะมีผลผลิตมวลรวมภายในถึง 500 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ อันจะทำให้อาเซียนมีศักยภาพในการขยายตัวกางเศรษฐกิจได้มากขึ้นไปอีก

ในปัจจุบัน ประเทศที่ได้รับการอนุมัติด้วยมูลค่าลงทุนมากที่สุดได้แก่สิงคโปร์ ซึ่งมีโครงการการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติจำนวนโครงการ ด้วยมูลค่า 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนในเวียดนามคิดได้เป็นร้อยละ 27.69 ของมูลค่าของการลงทุนต่างชาติทั้งสิ้นในเวียดนาม กล่าวคือในมูลค่า 8.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าของการลงทุนต่างชาติทั้งสิน 29.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีโครงการทั้งสิ้น 337 โครงการ โดยมาเลเซียลงทุนเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ ไทยลงทุนเป็นอันดับ 3 ประเภทของการลงทุนที่สมาชิกอาเซียนดำเนินการในเวียดนาม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้างสำนักงาน ที่อยู่อาศัย การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและการแปรรูปอาหาร เวียดนามหวังว่าการลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียนนี้จะมีส่วนช่วยถ่วงดุลการลงทุนจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น

ในขณะเดียวกันในส่วนของอาเซียน เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้อาเซียนยินดีรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกก็คือ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนของเวียดนามนั้นจะมีผลไปเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอีกทั้งอำนาจในการต่อรองทางการเมืองทั้งหลายต่างก็มีผลประโยชน์ที่สอดคล้องกัน ทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจร่วมกันอันนำไปสู่การยอมรับในที่สุด

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]

เวียดนามมีพื้นฐานของนักปราชญ์ตั้งแต่ยุคโบราณ มีการสั่งสมความรู้ทั้งด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จนเป็นที่เลื่องลือ โดยในปัจจุบันเวียดนามเริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยี ในปี 2553 เวียดนามมีงบประมาณทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่ที่ 0.45% ของ GDP

การขนส่ง[แก้]

อากาศ[แก้]

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

เวียดนามมีท่าอากาศยานขนาดใหญ่ 6 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย (Noi Bai) ในกรุงฮานอย, ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต (Tan Son Nhat) ในนครโฮจิมินห์, โครงการท่าอากาศยานนานาชาติล็องถั่ญ (Long Thanh) ในจังหวัดด่งนาย, ท่าอากาศยานจูลาย (Chu Lai) ในจังหวัดกว๋างนาม และท่าอากาศยานนานาชาติดานัง (Danang) ในนครดานัง[18]

ถนน[แก้]

ในปี 2553 ระบบถนนของเวียดนามมีความยาวรวมประมาณ 188,744 กิโลเมตร (117,280 ไมล์) โดยมี 93,535 กิโลเมตร (58,120 ไมล์) เป็นถนนลาดยาง

ทางรถไฟ[แก้]

ทางรถไฟในเวียดนาม ปัจจุบันมีการเชื่อมต่อกับประเทศจีน และมีเครือข่ายในประเทศเท่านั้น ยังไม่มีทางเชื่อมต่อกับลาวและกัมพูชา ซึ่งขณะนี้กำลังวางแผนก่อสร้าง

ประชากรศาสตร์[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

มีจำนวน 84.23 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 253 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นชาวญวนร้อยละ 86 (บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่าย ชาวไท เหมื่อง ฮั้ว (จีน) ชาวเขมร นุง ชาวม้ง[19][20][21]

ภาษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภาษาเวียดนาม

การสื่อสารใช้ภาษาเวียดนาม ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (Quốc ngữ) แทนตัวอักษรจีน (Chữ Nôm) ในการเขียนภาษาเวียดนาม [22]

ศาสนา[แก้]

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2557[23] ประเทศเวียดนามมีประชากรนับถือศาสนา 90 ล้านคน แบ่งได้ดังนี้ ศาสนาพื้นบ้านเวียดนามและไม่มีศาสนา 24 ล้านคน (73.2%) ศาสนาพุทธ 11 ล้านคน (12.2%) ศาสนาคริสต์ 7.6 ล้านคน (8.3%) ลัทธิเฉาได 4.4 ล้านคน (4.8%) ลัทธิฮหว่าหาว 1.3 ล้านคน (1.4%) และศาสนาอื่น ๆ (0.1%) เช่น ศาสนาอิสลาม 75,000 คน ศาสนาบาไฮ 7,000 คน ศาสนาฮินดู 1,500 คน[24][25][26][27][28][29]

การศึกษา[แก้]

ประวัติการศึกษาของเวียดนาม[แก้]

ประเทศเวียดนามได้มีการพัฒนาการศึกษาควบคู่ไปกับพัฒนาของประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นระยะ ๆ ย่อ ๆ ในเชิงประวัติศาสตร์ดังนี้ (Pham Minh Hac,1995, 42-61)

1. ระยะที่อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จีน (Period of Chinese Imperial Domination) : 200 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 938

ในระยะนี้ประเทศเวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จีน ดังนั้นผู้บริหารของประเทศจีน จึงเป็นผู้ก่อตั้งระบบการศึกษาในประเทศเวียดนามทั้งในแบบของรัฐและเอกชน ซึ่งในสมัยก่อนเน้นเฉพาะการศึกษาของบุตรชายและการฝึกอบรมบุคคลเพื่อเข้าไปรับราชการและบริหารประเทศ มีนโยบาย "Feudal Intelligentsia" ซึ่งจะคัดเลือกเฉพาะบุตรชายจากครอบครัวขุนนางไปรับราชการกับราชวงศ์จีน ระบบการศึกษาต่อเนื่องของชาวเวียดนามในบางศตวรรษพบว่า บุคคลชาวเวียดนามที่มีฐานะทางสังคมดีและมีสติปัญญาดีจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปศึกษาต่อในประเทศจีน โดยมีการสอบแข่งขันหลายขั้นตอนและครั้งสุดท้ายจะสอบที่กรุงปักกิ่ง เมื่อสอบผ่านจะได้วุฒิเทียบเท่า Doctor’s Degree ระบบการศึกษาดังกล่าวสืบทอดมาจนถึง ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 - ค.ศ. 907) ระบบการศึกษาที่เลียนแบบมาจากประเทศจีนประกอบด้วย การศึกษาเบื้องต้น (Primary Education) ที่มีระยะเวลาการศึกษาน้อยกว่า 15 ปี และการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education) ที่มีระยะเวลาการศึกษามากกว่า 15 ปีขึ้นไป

2. ระยะที่ประเทศมีอิสรภาพ (Period of National Independence) : ค.ศ. 938 - ค.ศ. 1859

ในปี ค.ศ. 938 Ngo Dinh ได้รบชนะจีนและก่อตั้งราชวงศ์ Ngo Dinh และราชวงศ์ Le ตอนต้น (ค.ศ. 939 - ค.ศ. 1009) การศึกษาส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการโดยเอกชนและโรงเรียนพุทธศาสนา จนกระทั่งราชวงศ์ Le (ค.ศ. 1009 - ค.ศ. 1225) เริ่มให้ความสำคัญกับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ เช่น เมืองหลวงทังลอง หรือฮานอยในปัจจุบัน มีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศเวียดนามเป็นแห่งแรก ใน ค.ศ. 1076 ที่มีชื่อเรียกว่า "Quoc Tu Gian หรือ Royal College" เพื่อเป็นแหล่งการศึกษาของบุตรชายของครอบครัวที่มีฐานะดี ในยุคนี้มีการสร้างโรงเรียนของรัฐขึ้นอีกทั้งในส่วนกลางและจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้บุตรชายของสามัญชนเข้ารับการศึกษา ทำให้ระบบการศึกษาในประเทศเวียดนามในยุคนี้แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

  • Royal College อยู่ในเมืองหลวง อยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของกษัตริย์
  • โรงเรียนในระดับจังหวัดและอำเภอ เป็นโรงเรียนของรัฐซึ่งยังมีจำนวนไม่มากนัก
  • โรงเรียนของภาคเอกชน

อาจสรุปได้ว่าการศึกษาในระยะต้น ๆ ของประเทศเวียดนามอยู่ในระบบศักดินา ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการคัดเลือกคนเข้าไปเรียนเพื่อเป็นขุนนางและข้าราชการในระดับต่าง ๆ

3. ระยะที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศส (Period of French Colonialism): ค.ศ. 1859 - 1945

ในระยะที่ประเทศเวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนี้ ระยะแรก ๆ ยังคงใช้ระบบการศึกษาตามลัทธิขงจื้ออยู่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1917 จึงได้มีการเริ่มระบบการศึกษาแบบฝรั่งเศส แต่ให้ความสำคัญกับการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีโรงเรียนประถมศึกษาเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่มีพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่น

การศึกษาในเบื้องต้นมีเกรด 1 - 2 มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน Ecole Communale ใช้เรียกการศึกษาในทางตอนเหนือ Ecole Auxilier Preparatoire ใช้เรียกการศึกษาทางตอนใต้ และ Ecole Preparatoire ใช้เรียกการศึกษาในตอนกลางของประเทศ ในบางเมืองมีการศึกษาพื้นฐาน 6 ปี ในเมืองใหญ่ ๆ เช่น ฮานอย ไฮฟอง และวิญ มีการศึกษาที่สูงกว่า ระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 4 ปี และมีเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ เท่านั้นที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษา คือ Ha Noi, Hue และ Saigon

ตอนต้นศตวรรษที่ 20 ประเทศฝรั่งเศสมีการพัฒนาการศึกษาวิชาชีพ (Professional Education) ขึ้น โดยมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาที่มีรูปแบบตะวันตก ในปี ค.ศ. 1902 มีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกที่กรุงฮานอย และมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลายแห่งในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีสถาบันการศึกษาทางด้านเทคนิคและอุตสาหกรรมอีกหลายแห่ง ซึ่งมีระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี เน้นการฝึกอบรมทักษะในการทำงานกับเครื่องจักรกล สถาบันการศึกษาในระดับนี้เรียกว่า โรงเรียนฝึกวิชาชีพชั้นสอง จนกระทั่ง ค.ศ. 1919 จึงมีระบบการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยที่มีการศึกษาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วิชาฟิสิกส์ เคมี จนกระทั่งถึง ค.ศ. 1923 ได้เริ่มมีการจดทะเบียนผู้ที่ศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย

โดยทั่วไปแล้วระบบการศึกษาของประเทศเวียดนามภายใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศส ยังมีความจำกัดอยู่มาก โดยพบว่ามีจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนประมาณรัอยละ 2.6 ของประชากรในวัยเรียนทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่มีประชากรทั้งหมด 17,702,000 คน ในปี ค.ศ. 1931

4. ระยะหลังการปฏิวัติเดือนสิงหาคม (Period after August Revolution) : ค.ศ. 1945 - 1975

5. ระยะของการรวมประเทศ (Period of National Reunification) : ค.ศ. 1975 - ปัจจุบัน

การศึกษาของเวียดนามในปัจจุบัน[แก้]

ปัจจุบันเวียดนามแบ่งลักษณะของการจัดการศึกษาไว้ 5 ลักษณะ คือ

1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (Pre-School Education) ประกอบด้วยการเลี้ยงดูเด็ก สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี และอนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3 - 5 ปี

2. การศึกษาสามัญ (5 - 4 – 3)

  • ระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับ 5 ปี ชั้น 1 - 5
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือชั้น 6 - 9
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือชั้น 10 - 12

3. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ มีเทียบเคียงทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย

4. การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็นระดับอนุปริญญา (Associate degree) และระดับปริญญา

5. การศึกษาต่อเนื่อง เป็นการศึกษาสำหรับประชาชนที่พลาดโอกาสการศึกษาในระบบสายสามัญและสายอาชีพ

การศึกษาสามัญ 12 ปี (General Education) ของเวียดนามนั้นเวียดนามมีวัตถุประสงค์ที่จะ ให้ประชาชนได้มีวิญญาณในความเป็นสังคมนิยม มีเอกลักษณ์ประจำชาติ และมีความสามารถในด้านอาชีพ ในอดีตการศึกษาสามัญของเวียดนามมีเพียง 10 ปีเท่านั้น และไม่มีอนุบาลศึกษามาก่อนจนถึงปีการศึกษา 2532 - 2533 จึงมีการศึกษาถึงชั้นปีที่ 9 ทั้งประเทศ ซึ่งได้เรียกการศึกษาสามัญ 9 ปี ดังกล่าวนี้ว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic Education) และเมื่อได้ขยายไปถึงปีที่ 12 แล้วจึงได้เรียกการศึกษาสามัญ 3 ปีสุดท้ายว่า มัธยมชั้นสูง (Upper Secondary School) ปี 2535 - 2536 ระบบการศึกษาสามัญในเวียดนามจึงกลายเป็นระบบ 12 ชั้นเรียนทั้งประเทศ โดยเด็กที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 จะมีอายุย่างเข้าปีที่ 6

เมื่อเวียดนามได้ใช้ระบบการศึกษาเป็น 12 ปีแล้ว จำนวนนักเรียนในทุกระดับชั้นยังมีน้อย ดังนั้นปี 2534 สภาแห่งชาติของเวียดนามจึงได้ออกกฎหมายการกระจายการศึกษาระดับประถมศึกษา (Law of Universal Primary Education) ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกว่าด้วยการศึกษาของเวียดนาม

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมเวียดนาม

วัฒนธรรมของเวียดนามส่วนใหญ่ล้วนมีวัฒนธรรมที่มีรากฐานมาจากจีน และศาสนาพุทธและลัทธิเต๋า

สื่อสารมวลชน[แก้]

สื่อของเวียดนามได้รับการควบคุม โดยรัฐบาลตามกฎหมายปี 2004 ในการเผยแพร่ [30] โดยทั่วไปจะมองเห็นว่า ภาคสื่อของเวียดนามถูกควบคุม โดยรัฐบาลไปตามเส้นทางของพรรคคอมมิวนิสต์ แม้ว่าหนังสือพิมพ์บางฉบับจะค่อนข้างตรงไปตรงมา [31] เสียงของเวียดนามเป็นบริการกระจายเสียงทางวิทยุแห่งชาติที่รัฐ ออกอากาศผ่านทางเอฟเอ็มโดยใช้เครื่องส่งสัญญาณให้เช่าในประเทศอื่น ๆ และการให้การออกอากาศจากเว็บไซต์ของ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศเวียดนาม เป็นบริษัทวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

ตั้งแต่ปี 1997 เวียดนามมีการควบคุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสาธารณะอย่างกว้างขวาง โดยใช้วิธีการทางกฎหมายและทางเทคนิค เพื่อล็อกผลจะเรียกกันอย่างแพร่หลายว่า "แบมบู ไฟร์วอลล์"[32] โครงการความร่วมมือโอเพ่นเน็ตริเริ่มจัดระดับของเวียดนามการเซ็นเซอร์ทางการเมืองจะเป็นการ "แพร่หลาย"[33] ในขณะที่ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเวียดนามพิจารณาให้เป็นหนึ่งใน 15 ของโลก "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต"[34] แม้ว่ารัฐบาลของเวียดนามอ้างว่าเพื่อป้องกันประเทศกับเนื้อหาลามกอนาจารหรือไม่เหมาะสมทางเพศผ่านความพยายามสกัดกั้นของหลายทางการเมืองและศาสนาเว็บไซต์ที่มีความสำคัญเป็นสิ่งต้องห้ามยัง[35]

ดนตรี[แก้]

เพลงเวียดนามแบบดั้งเดิมแตกต่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศ ดนตรีคลาสสิกเหนือเป็นรูปแบบดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดของเวียดนามและเป็นประเพณีที่เป็นทางการมากขึ้น ต้นกำเนิดของดนตรีเวียดนามสามารถโยงไปถึงการรุกรานของมองโกลในศตวรรษที่ 13 เมื่อเวียดนามจับกุมคณะงิ้ว[36]

วรรณกรรม[แก้]

วรรณกรรมในเวียดนาม มีมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์โง มีการกล่าวเน้นเกี่ยวกับบรรพบุรุษหรือวีรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกไปด้วย

เทศกาล[แก้]

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

ต้นไม้ของประเพณีตรุษญวน (ปีใหม่ทางจันทรคติ)

เวียดนามมีเทศกาลตามปฏิทินจันทรคติมากมาย เทศกาลที่สำคัญที่สุดคือการเฉลิมฉลองปีใหม่ตรุษญวน งานแต่งงานเวียดนามแบบดั้งเดิมยังคงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและมักจะมีการเฉลิมฉลองโดยชาวเวียดนามในประเทศตะวันตก

เทศกาลเต๊ตเป็นเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด มีชื่อเต็มว่า "เต๊ตเงวียนด๊าน" หมายความว่า เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี มีขึ้นระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื่อ และศาสนาพุทธ และเป็นการเคารพบรรพบุรุษเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวน (บันตรังทู) พร้อมทั้งจัดขบวนแห่เชิดมังกร เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อดวงจันทร์

การท่องเที่ยว[แก้]

การท่องเที่ยวเป็นองค์ประกอบสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศคิดเป็น 7.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เวียดนามต้อนรับผู้มาเยือนกว่า 12.9 ล้านคนในปี 2560 เพิ่มขึ้น 29.1% จากปีก่อนทำให้เวียดนามเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่เติบโตเร็วที่สุดในปีที่ผ่านมา ผู้มาเยือนเวียดนามส่วนใหญ่ในปี 2560 มาจากเอเชียมีจำนวน 9.7 ล้านคน จีน (4 ล้านคน) เกาหลีใต้ (2.6 ล้านคน) และญี่ปุ่น (798,119) คิดเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดในปี 2560 [285] เวียดนามยังดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากจากยุโรปด้วยจำนวน 1.9 ล้านคนในปี 2017 รัสเซีย (574,164) ), สหราชอาณาจักร (283,537), ตามมาด้วยฝรั่งเศส (255,396) และเยอรมนี (199,872) เป็นแหล่งที่มาของนักท่องเที่ยวจากยุโรปที่ใหญ่ที่สุด จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (614,117) และออสเตรเลีย (370,438)

กีฬา[แก้]

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

กีฬาที่ได้รับความนิยมมากในเวียดนามคือ กีฬาโววีนัม เป็นศิลปะการต่อสู้แบบเวียดนาม ในขณะเดียวกันกีฬาจากตะวันตกอย่างฟุตบอลก็ได้รับความนิยมอย่างสูงในเวียดนาม ฟุตบอลทีมชาติเวียดนามชนะการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนสองสมัยในปี 2551 และ 2561 แบะผ่านเข้าถึงรอบก่องรองชนะเลิศเอเชียนคัพ 2019 ทีมเยาวชนชุดอายุต่ำกว่า 23 ปี คว้ารองแชมป์ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2018 และคว้าอันดับสี่ในฟุตบอลเอเชียนเกมส์ 2018 ในขณะที่ทีมรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ได้มีส่วนร่วมในฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี 2017[37][38] ฟุตบอลหญิงทีมชาติเวียดนาม มีผลงานโดดเด่นเช่นกัน โดยเป็นทีมที่คว้าเหรียญทองในกีฬาซีเกมส์ได้มากที่สุดจำนวน 7 สมัย

กีฬาอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมได้แก่ แบดมินตัน, เทนนิส, วอลเลย์บอล, เทเบิลเทนนิส และ หมากรุกสากล ปัจจุบันเวียดนามเป็นหนึ่งในชาติที่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันทางด้านกีฬา จากการคว้าชัยชนะจากกีฬาหลายประเภท และมีส่วนร่วมในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน โดยเป็ยสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล

อาหาร[แก้]

สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม

เฝอ หนึ่งในอาหารเวียดนามยอดนิยม

อาหารในเวียดนามมีวัฒนธรรมอาหารที่มาจากจีน หรือประยุกต์มาจากอาหารแบบจีน โดยผสมผสานกับวัฒนธรรมแบบเกษตรเวียดนาม ซึ่งเฝอเป็นอาหารยอดนิยมในเวียดนาม และโด่งดังในฐานะอาหารประจำชาติของประเทศเวียดนาม

การแต่งกาย[แก้]

การแต่งกายอ๊าวส่าย (Ao dai) เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัว สวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงาน และพิธีการสำคัญของประเทศ ชุดผู้หญิงคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมมากจากผู้หญิงเวียดนามทั่วทั้งประเทศ ส่วนผู้ชายจะสวมใส่ชุดอ๊าวส่ายด๋ในพิธีแต่งงานหรือพิธีศพ

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ภาษาเวียดนาม
  • ฟุตบอลทีมชาติเวียดนาม
  • วีลีก

หมายเหตุ[แก้]

  1. ทะเลจีนใต้ในเวียดนามเรียกว่าทะเลตะวันออก (Biển Đông)[9]

  1. รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามกล่าวว่าภาษาเวียดนามเป็น "ภาษาประจำชาติ" มากกว่า "ภาษาทางการ"; ภาษาเวียดนามเป็นภาษาเดียวโดยพฤตินัยที่ใช้ในเอกสารราชการและกฎหมาย[1]
  2. มีอีกชื่อว่าชาวกิญ[2]
  3. เหงียน ฟู้ จ่องยังดำรงตำแหน่งSecretary of the Central Military Commission of the Communist Party of Vietnam ตำแหน่งแรกก่อนเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองในรัฐคอมมิวนิสต์พรรคการเมืองเดียว เวียดนามเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ไม่ใช่ประธานาธิบดีเวียดนาม
  4. มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Constitution of the Socialist Republic of Vietnam". Vietnam News Agency. 15 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-01. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
  2. Communist Party of Vietnam 2004.
  3. ↑ 3.0 3.1 General Statistics Office of Vietnam 2019.
  4. "2019 Report on International Religious Freedom: Vietnam". U.S. Department of State.
  5. Constitution of Vietnam 2014.
  6. ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 International Monetary Fund.
  7. World Bank 2018c.
  8. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). hdr.undp.org. United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-9-211-26442-5. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  9. "China continues its plot in the East Sea". Vietnamnet News. 10 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-16. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013.
  10. "Vietnam | History, Population, Map, Flag, Government, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  11. Editors, History com. "Vietnam War". HISTORY (ภาษาอังกฤษ).
  12. Woods 2002, p. 38
  13. Yue-Hashimoto 1972, p. 1
  14. http://www.nhandan.com.vn/english/business/050707/business_p.htm
  15. "อมตะซิตี้ เบียนโฮ ทางเลือกใหม่ลงทุน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-07-02.
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2007-08-18.
  17. http://thai.cri.cn/1/2007/12/05/
  18. "เวียดปักธงสนามบิน $8 พันล้าน แข่งสุวรรณภูมิ (ผู้จัดการ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2007-07-04.
  19. "Under South Vietnam Rule" เก็บถาวร 2012-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. MHRO.org. 2010. Retrieved 21 April 2012.
  20. World Directory of Minorities and Indigenous Peoples – Vietnam: Chinese (Hoa).UNHCR Refworld. Retrieved 12 February 2013.
  21. Vietnam (08/08). U.S. Department of State. Retrieved 12 February 2013.
  22. หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6 คอลัมน์ หน้าต่างความจริง วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10620
  23. [1] Religion in Vietnam
  24. "Background Note: Vietnam". US Department of State. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
  25. "The Largest Buddhist Communities" เก็บถาวร 2010-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Adherents.com. Retrieved 9 July 2013. This source quotes a much lower figure than the 85% quoted by the US Department of State.
  26. "Vietnam". APEC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-06. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
  27. "Vietnam". Encyclopedia of the Nations. 14 August 2007. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
  28. "Religion of the Vietnamese". Mertsahinoglu.com. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
  29. "Vietnam: International Religious Freedom Report 2007". U.S. Department of State: Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor. 14 September 2007. สืบค้นเมื่อ 21 January 2008.
  30. "Law on Publication (No. 30/2004/QH11 of 3 December 2004)". Ministry of Justice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-18. สืบค้นเมื่อ 21 September 2011.
  31. "Muting the Messengers: Vietnam's Press Under Pressure". The Economist. London. 15 January 2009. สืบค้นเมื่อ 17 January 2009.
  32. Wilkey, Robert N (2002). "Vietnam's Antitrust Legislation and Subscription to E-ASEAN: An End to the Bamboo Firewall Over Internet Regulation?". John Marshall Journal of Computer and Information Law. 20 (4). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-19. สืบค้นเมื่อ 2013-08-20.
  33. OpenNet Initiative (9 May 2007). "Country Profile: Vietnam". สืบค้นเมื่อ 15 July 2008.
  34. Reporters Without Borders. "Internet Enemies: Vietnam". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 15 July 2008.
  35. "OpenNet Initiative Vietnam Report: University Research Team Finds an Increase in Internet Censorship in Vietnam". Berkman Center for Internet & Society at Harvard University. 5 August 2006. สืบค้นเมื่อ 15 July 2008.
  36. "Opera—Vietnam". Encyclopedia of Modern Asia. 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 11 August 2012 – โดยทาง BookRags.com.
  37. "Feature: Football mania spreads after Vietnam makes history at Asiad - Xinhua | English.news.cn". web.archive.org. 2018-08-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-19. สืบค้นเมื่อ 2022-07-18.
  38. Rick, August. "How Vietnamese Soccer Upset The Odds That China Is Banking On". Forbes (ภาษาอังกฤษ).

อ่านเพิ่ม[แก้]

สิ่งพิมพ์[แก้]

  • Dror, Olga (2018). Making Two Vietnams: War and Youth Identities, 1965–1975. Cambridge University Press. ISBN 9781108470124.
  • Goscha, Christopher (2016). Vietnam: A New History. Basic Books. ISBN 9780465094363.
  • Holcombe, Alec (2020). Mass Mobilization in the Democratic Republic of Vietnam, 1945–1960. University of Hawaiʻi Press. ISBN 9780824884475.
  • Nguyen, Lien-Hang T. (2012). Hanoi's War: An International History of the War for Peace in Vietnam. University of North Carolina Press. ISBN 9780807835517.
  • Vu, Tuong; Fear, Sean, บ.ก. (2020). The Republic of Vietnam, 1955–1975: Vietnamese Perspectives on Nation Building. Cornell University Press. ISBN 9781501745133.
  • Richardson, John (1876). A school manual of modern geography. Physical and political. Publisher not identified.
  • Thái Nguyên, Văn; Mừng Nguyẽ̂n, Văn (1958). A Short History of Viet-Nam. Vietnamese-American Association.
  • Chesneaux, Jean (1966). The Vietnamese Nations: Contribution to a History. Current Book Distributors.
  • Heneghan, George Martin (1969). Nationalism, Communism and the National Liberation Front of Vietnam: Dilemma for American Foreign Policy. Department of Political Science, Stanford University.
  • Gravel, Mike (1971). The Pentagon Papers: The Defense Department History of United States Decision-making on Vietnam. Beacon Press. ISBN 978-0-8070-0526-2.
  • Peasant and Labour. 1972.
  • Yue Hashimoto, Oi-kan (1972). Phonology of Cantonese. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-08442-0.
  • Jukes, Geoffrey (1973). The Soviet Union in Asia. University of California Press. ISBN 978-0-520-02393-2.
  • Turner, Robert F. (1975). Vietnamese communism, its origins and development. Hoover Institution Press, Stanford University. ISBN 978-0-8179-6431-3.
  • Phan, Khoang (1976). Việt sử: xứ đàng trong, 1558–1777. Cuộc nam-tié̂n của dân-tộc Việt-Nam. Nhà Sách Khai Trí (ภาษาเวียดนาม). University of Michigan.
  • Vu, Tu Lap (1979). Vietnam: Geographical Data. Foreign Languages Publishing House.
  • Lewy, Guenter (1980). America in Vietnam. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-991352-7.
  • Holmgren, Jennifer (1980). Chinese colonisation of northern Vietnam: administrative geography and political development in the Tongking Delta, first to sixth centuries A.D. Australian National University, Faculty of Asian Studies: distributed by Australian University Press. ISBN 978-0-909879-12-9.
  • Taylor, Keith Weller (1983). The Birth of Vietnam. University of California Press. ISBN 978-0-520-04428-9.
  • Leonard, Jane Kate (1984). Wei Yuan and China's Rediscovery of the Maritime World. Harvard Univ Asia Center. ISBN 978-0-674-94855-6.
  • Tran, Tu Binh (1985). David G. Marr (บ.ก.). The Red Earth: A Vietnamese Memoir of Life on a Colonial Rubber Plantation. Southeast Asia Series. แปลโดย John Spragens, Jr. Athens, OH: Ohio University Press. ISBN 978-0-896-80119-6.
  • Khánh Huỳnh, Kim (1986). Vietnamese Communism, 1925–1945. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-9397-3.
  • Miller, Robert Hopkins (1990). United States and Vietnam 1787–1941. DIANE Publishing. ISBN 978-0-7881-0810-5.
  • McLeod, Mark W. (1991). The Vietnamese Response to French Intervention, 1862–1874. Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0-275-93562-7.
  • Joes, Anthony James (1992). Modern Guerrilla Insurgency. ABC-CLIO. ISBN 978-0-275-94263-2.
  • Miettinen, Jukka O. (1992). Classical Dance and Theatre in South-East Asia. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-588595-8.
  • Adhikari, Ramesh; Kirkpatrick, Colin H.; Weiss, John (1992). Industrial and Trade Policy Reform in Developing Countries. Manchester University Press. ISBN 978-0-7190-3553-1.
  • Akazawa, Takeru; Aoki, Kenichi; Kimura, Tasuku (1992). The evolution and dispersal of modern humans in Asia. Hokusen-sha. ISBN 978-4-938424-41-1.
  • Cortada, James W. (1994). Spain in the Nineteenth-century World: Essays on Spanish Diplomacy, 1789–1898. Greenwood Press. ISBN 978-0-313-27655-2.
  • Keyes, Charles F. (1995). The Golden Peninsula: Culture and Adaptation in Mainland Southeast Asia. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-1696-4.
  • Gettleman, Marvin E.; Franklin, Jane; Young, Marilyn B.; Franklin, H. Bruce (1995). Vietnam and America: A Documented History. Grove Press. ISBN 978-0-8021-3362-5.
  • Proceedings of the Regional Dialogue on Biodiversity and Natural Resources Management in Mainland Southeast Asian Economies, Kunming Institute of Botany, Yunnan, China, 21–24 February 1995. Natural Resources and Environment Program, Thailand Development Research Institute Foundation. 1995.
  • Hampson, Fen Osler (1996). Nurturing Peace: Why Peace Settlements Succeed Or Fail. US Institute of Peace Press. ISBN 978-1-878379-55-9.
  • de Laet, Sigfried J.; Herrmann, Joachim (1996). History of Humanity: From the seventh century B.C. to the seventh century A.D. Routledge. ISBN 978-92-3-102812-0.
  • Tonnesson, Stein; Antlov, Hans (1996). Asian Forms of the Nation. Routledge. ISBN 978-0-7007-0442-2.
  • Murray, Geoffrey (1997). Vietnam Dawn of a New Market. St. Martin's Press. ISBN 978-0-312-17392-0.
  • Jones, John R. (1998). Guide to Vietnam. Bradt Publications. ISBN 978-1-898323-67-9.
  • Brigham, Robert Kendall (1998). Guerrilla Diplomacy: The NLF's Foreign Relations and the Viet Nam War. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-3317-7.
  • Li, Tana (1998). Nguyễn Cochinchina: Southern Vietnam in the Seventeenth and Eighteenth Centuries. SEAP Publications. ISBN 978-0-87727-722-4.
  • Vietnam: Selected Issues. International Monetary Fund. 1999. ISBN 978-1-4519-8721-8.
  • Litvack, Jennie; Litvack, Jennie Ilene; Rondinelli, Dennis A. (1999). Market Reform in Vietnam: Building Institutions for Development. Greenwood Publishing Group. ISBN 978-1-56720-288-5.
  • Đức Trần, Hồng; Thư Hà, Anh (2000). A Brief Chronology of Vietnam's History. Thế Giới Publishers.
  • Cook, Bernard A. (2001). Europe Since 1945: An Encyclopedia. Taylor & Francis. ISBN 978-0-8153-4057-7.
  • Knoblock, John; Riegel, Jeffrey (2001). The Annals of Lü Buwei. Stanford University Press. ISBN 978-0804733540.
  • Selections from Regional Press. Vol. 20. Institute of Regional Studies. 2001.
  • Green, Thomas A. (2001). Martial Arts of the World: A-Q. ABC-CLIO. ISBN 978-1-57607-150-2.
  • Karlström, Anna; Källén, Anna (2002). Southeast Asian Archaeology. Östasiatiska Samlingarna (Stockholm, Sweden), European Association of Southeast Asian Archaeologists. International Conference. Museum of Far Eastern Antiquities, Stockholm. ISBN 978-91-970616-0-5.
  • Levinson, David; Christensen, Karen (2002). Encyclopedia of Modern Asia. Charles Scribner's Sons. ISBN 978-0-684-31247-7.
  • Pelley, Patricia M. (2002). Postcolonial Vietnam: New Histories of the National Past. Duke University Press. ISBN 978-0-8223-2966-4.
  • Woods, L. Shelton (2002). Vietnam: a global studies handbook. ABC-CLIO. ISBN 978-1-57607-416-9.
  • Largo, V. (2002). Vietnam: Current Issues and Historical Background. Nova Publishers. ISBN 978-1-59033-368-6.
  • Page, Melvin Eugene; Sonnenburg, Penny M. (2003). Colonialism: An International, Social, Cultural, and Political Encyclopedia. ABC-CLIO. ISBN 978-1-57607-335-3.
  • Dodd, Jan; Lewis, Mark (2003). Vietnam. Rough Guides. ISBN 978-1-84353-095-4.
  • Hiẻ̂n Lê, Năng (2003). Three victories on the Bach Dang river. Nhà xuất bản Văn hóa-thông tin.
  • Lieberman, Victor (2003). Strange Parallels: Integration of the Mainland Southeast Asia in Global Context, c. 800-1830, Vol 1. Cambridge University Press.
  • Protected Areas and Development Partnership (2003). Review of Protected Areas and Development in the Four Countries of the Lower Mekong River Region. ICEM. ISBN 978-0-9750332-4-1.
  • Meggle, Georg (2004). Ethics of Humanitarian Interventions. Walter de Gruyter. ISBN 978-3-11-032773-1.
  • Ooi, Keat Gin (2004). Southeast Asia: A Historical Encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor. ABC-CLIO. ISBN 978-1-57607-770-2.
  • Smith, Anthony L. (2005). Southeast Asia and New Zealand: A History of Regional and Bilateral Relations. Victoria University Press. ISBN 978-0-86473-519-5.
  • Alterman, Eric (2005). When Presidents Lie: A History of Official Deception and Its Consequences. Penguin. ISBN 978-0-14-303604-3.
  • Anderson, Wanni Wibulswasdi; Lee, Robert G. (2005). Displacements and Diasporas: Asians in the Americas. Rutgers University Press. ISBN 978-0-8135-3611-8.
  • Kissi, Edward (2006). Revolution and Genocide in Ethiopia and Cambodia. Lexington Books. ISBN 978-0-7391-1263-2.
  • Oxenham, Marc; Tayles, Nancy (2006). Bioarchaeology of Southeast Asia. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-82580-1.
  • Englar, Mary (2006). Vietnam: A Question and Answer Book. Capstone Publishers. ISBN 978-0-7368-6414-5.
  • Tran, Nhung Tuyet; Reid, Anthony, บ.ก. (2006). Viet Nam: Borderless Histories. University of Wisconsin Press. ISBN 978-0-299-21773-0.
  • Hoàng, Anh Tuấn (2007). Silk for Silver: Dutch-Vietnamese Relations, 1637–1700. Brill Publishers. ISBN 978-90-04-15601-2.
  • Jeffries, Ian (2007). Vietnam: A Guide to Economic and Political Developments. Routledge. ISBN 978-1-134-16454-7.
  • Olsen, Mari (2007). Soviet-Vietnam Relations and the Role of China 1949–64: Changing Alliances. Routledge. ISBN 978-1-134-17413-3.
  • Neville, Peter (2007). Britain in Vietnam: Prelude to Disaster, 1945–46. Routledge. ISBN 978-1-134-24476-8.
  • Smith, T. (2007). Britain and the Origins of the Vietnam War: UK Policy in Indo-China, 1943–50. Palgrave Macmillan UK. ISBN 978-0-230-59166-0.
  • Koskoff, Ellen (2008). The Concise Garland Encyclopedia of World Music: The Middle East, South Asia, East Asia, Southeast Asia. Routledge. ISBN 978-0-415-99404-0.
  • Ramsay, Jacob (2008). Mandarins and Martyrs: The Church and the Nguyen Dynasty in Early Nineteenth-century Vietnam. Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-7954-8.
  • Calò, Ambra (2009). Trails of Bronze Drums Across Early Southeast Asia: Exchange Routes and Connected Cultural Spheres. Archaeopress. ISBN 978-1-4073-0396-3.
  • Sharma, Gitesh (2009). Traces of Indian Culture in Vietnam. Rajkamal Prakashan. ISBN 978-81-905401-4-8.
  • Isserman, Maurice; Bowman, John Stewart (2009). Vietnam War. Infobase Publishing. ISBN 978-1-4381-0015-9.
  • Koblitz, Neal (2009). Random Curves: Journeys of a Mathematician. Springer Science + Business Media. ISBN 978-3-540-74078-0.
  • Cottrell, Robert C. (2009). Vietnam. Infobase Publishing. ISBN 978-1-4381-2147-5.
  • Asian Development Bank (2010). Asian Development Outlook 2010 Update. Asian Development Bank. ISBN 978-92-9092-181-3.
  • Lockard, Craig A. (2010). Societies, Networks, and Transitions, Volume 2: Since 1450. Cengage Learning. ISBN 978-1-4390-8536-3.
  • Elliott, Mai (2010). RAND in Southeast Asia: A History of the Vietnam War Era. RAND Corporation. ISBN 978-0-8330-4915-5.
  • Gustafsson, Mai Lan (2010). War and Shadows: The Haunting of Vietnam. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-5745-6.
  • Jones, Daniel (2011). Cambridge English Pronouncing Dictionary. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-76575-6.
  • Lewandowski, Elizabeth J. (2011). The Complete Costume Dictionary. Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-4004-1.
  • Pike, Francis (2011). Empires at War: A Short History of Modern Asia Since World War II. I.B.Tauris. ISBN 978-0-85773-029-9.
  • Vierra, Kimberly; Vierra, Brian (2011). Vietnam Business Guide: Getting Started in Tomorrow's Market Today. John Wiley & Sons. ISBN 978-1-118-17881-2.
  • Vo, Nghia M. (2011). Saigon: A History. McFarland & Company. ISBN 978-0-7864-8634-2.
  • Khoo, Nicholas (2011). Collateral Damage: Sino-Soviet Rivalry and the Termination of the Sino-Vietnamese Alliance. Columbia University Press. ISBN 978-0-231-15078-1.
  • Cooke, Nola; Li, Tana; Anderson, James (2011). The Tongking Gulf Through History. University of Pennsylvania Press, Incorporated. ISBN 978-0-8122-4336-9.
  • Zwartjes, Otto (2011). Portuguese Missionary Grammars in Asia, Africa and Brazil, 1550–1800. John Benjamins Publishing Company. ISBN 978-90-272-4608-0.
  • Frankum Jr., Ronald B. (2011). Historical Dictionary of the War in Vietnam. Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-7956-0.
  • Tucker, Spencer C. (2011). The Encyclopedia of the Vietnam War: A Political, Social, and Military History, 2nd Edition [4 volumes]: A Political, Social, and Military History. ABC-CLIO. ISBN 978-1-85109-961-0.
  • Tonnesson, Stein (2011). Vietnam 1946: How the War Began. University of California Press. ISBN 978-0-520-26993-4.
  • Kỳ Phương, Trần; Lockhart, Bruce M. (2011). The Cham of Vietnam: History, Society and Art. NUS Press. ISBN 978-9971-69-459-3.
  • Thaker, Aruna; Barton, Arlene (2012). Multicultural Handbook of Food, Nutrition and Dietetics. John Wiley & Sons. ISBN 978-1-118-35046-1.
  • Keith, Charles (2012). Catholic Vietnam: A Church from Empire to Nation. University of California Press. ISBN 978-0-520-95382-6.
  • Olson, Gregory A. (2012). Mansfield and Vietnam: A Study in Rhetorical Adaptation. MSU Press. ISBN 978-0-87013-941-3.
  • Waite, James (2012). The End of the First Indochina War: A Global History. Routledge. ISBN 978-1-136-27334-6.
  • Vo, Nghia M. (2012). Legends of Vietnam: An Analysis and Retelling of 88 Tales. McFarland & Company. ISBN 978-0-7864-9060-8.
  • Muehlenbeck, Philip Emil; Muehlenbeck, Philip (2012). Religion and the Cold War: A Global Perspective. Vanderbilt University Press. ISBN 978-0-8265-1852-1.
  • Rabett, Ryan J. (2012). Human Adaptation in the Asian Palaeolithic: Hominin Dispersal and Behaviour During the Late Quaternary. Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-01829-7.
  • Li, Xiaobing (2012). China at War: An Encyclopedia. ABC-CLIO. ISBN 978-1-59884-415-3.
  • Gilbert, Adrian (2013). Encyclopedia of Warfare: From the Earliest Times to the Present Day. Taylor & Francis. ISBN 978-1-135-95697-4.
  • Chico, Beverly (2013). Hats and Headwear around the World: A Cultural Encyclopedia: A Cultural Encyclopedia. ABC-CLIO. ISBN 978-1-61069-063-8.
  • Boobbyer, Claire; Spooner, Andrew (2013). Vietnam, Cambodia & Laos Footprint Handbook. Footprint Travel Guides. ISBN 978-1-907263-64-4.
  • Willbanks, James H. (2013). Vietnam War Almanac: An In-Depth Guide to the Most Controversial Conflict in American History. Skyhorse Publishing. ISBN 978-1-62636-528-5.
  • Choy, Lee Khoon (2013). Golden Dragon And Purple Phoenix: The Chinese And Their Multi-ethnic Descendants In Southeast Asia. World Scientific. ISBN 978-981-4518-49-9.
  • van Dijk, Ruud; Gray, William Glenn; Savranskaya, Svetlana; Suri, Jeremi; และคณะ (2013). Encyclopedia of the Cold War. Routledge. ISBN 978-1-135-92311-2.
  • Cosslett, Tuyet L.; Cosslett, Patrick D. (2013). Water Resources and Food Security in the Vietnam Mekong Delta. Springer Science + Business Media. ISBN 978-3-319-02198-0.
  • Lim, David (2014). Economic Growth and Employment in Vietnam. Taylor & Francis. ISBN 978-1-317-81859-5.
  • Gunn, Geoffrey C. (2014). Rice Wars in Colonial Vietnam: The Great Famine and the Viet Minh Road to Power. Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 978-1-4422-2303-5.
  • Anderson, James A.; Whitmore, John K. (2014). China's Encounters on the South and Southwest: Reforging the Fiery Frontier Over Two Millennia. Brill Publishers. ISBN 978-90-04-28248-3.
  • de Mora, Javier Calvo; Wood, Keith (2014). Practical Knowledge in Teacher Education: Approaches to teacher internship programmes. Taylor & Francis. ISBN 978-1-317-80333-1.
  • Eggleston, Michael A. (2014). Exiting Vietnam: The Era of Vietnamization and American Withdrawal Revealed in First-Person Accounts. McFarland Publishing. ISBN 978-0-7864-7772-2.
  • Dennell, Robin; Porr, Martin (2014). Southern Asia, Australia, and the Search for Human Origins. Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-72913-1.
  • Hong Lien, Vu; Sharrock, Peter (2014). Descending Dragon, Rising Tiger: A History of Vietnam. Reaktion Books. ISBN 978-1-78023-388-8.
  • Gibbons, William Conrad (2014). The U.S. Government and the Vietnam War: Executive and Legislative Roles and Relationships, Part III: 1965–1966. Princeton University Press. ISBN 978-1-4008-6153-8.
  • Ooi, Keat Gin; Anh Tuan, Hoang (2015). Early Modern Southeast Asia, 1350–1800. Routledge. ISBN 978-1-317-55919-1.
  • Oxenham, Marc; Buckley, Hallie (2015). The Routledge Handbook of Bioarchaeology in Southeast Asia and the Pacific Islands. Routledge. ISBN 978-1-317-53401-3.
  • Duy Hinh, Nguyen; Dinh Tho, Tran (2015). The South Vietnamese Society. Normanby Press. ISBN 978-1-78625-513-6.
  • Yao, Alice (2016). The Ancient Highlands of Southwest China: From the Bronze Age to the Han Empire. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-936734-4.
  • Howe, Brendan M. (2016). Post-Conflict Development in East Asia. Routledge. ISBN 978-1-317-07740-4.
  • Thanh Hai, Do (2016). Vietnam and the South China Sea: Politics, Security and Legality. Taylor & Francis. ISBN 978-1-317-39820-2.
  • Phuong Linh, Huynh Thi (2016). State-Society Interaction in Vietnam. LIT Verlag Münster. ISBN 978-3-643-90719-6.
  • Ozolinš, Janis Talivaldis (2016). Religion and Culture in Dialogue: East and West Perspectives. Springer Publishing. ISBN 978-3-319-25724-2.
  • Howard, Michael C. (2016). Textiles and Clothing of Việt Nam: A History. McFarland & Company. ISBN 978-1-4766-2440-2.
  • Kiernan, Ben (2017). Việt Nam: A History from Earliest Times to the Present. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-516076-5.
  • DK (2017). The Vietnam War: The Definitive Illustrated History. Dorling Kindersley Limited. ISBN 978-0-241-30868-4.
  • Travel, DK (2017). DK Eyewitness Travel Guide Vietnam and Angkor Wat. Dorling Kindersley Limited. ISBN 978-0-241-30136-4.
  • Moïse, Edwin E. (2017). Land Reform in China and North Vietnam: Consolidating the Revolution at the Village Level. University of North Carolina Press. ISBN 978-0-8078-7445-5.
  • Hinchey, Jane (2017). Vietnam: Discover the Country, Culture and People. Redback Publishing. ISBN 978-1-925630-02-2.
  • Kort, Michael (2017). The Vietnam War Re-Examined. Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-04640-5.
  • Trieu Dan, Nguyen (2017). A Vietnamese Family Chronicle: Twelve Generations on the Banks of the Hat River. McFarland Publishing. ISBN 978-0-7864-8779-0.
  • Tran, Tri C.; Le, Tram (2017). Vietnamese Stories for Language Learners: Traditional Folktales in Vietnamese and English Text (MP3 Downloadable Audio Included). Tuttle Publishing. ISBN 978-1-4629-1956-7.
  • Tran, Anh Q. (2017). Gods, Heroes, and Ancestors: An Interreligious Encounter in Eighteenth-Century Vietnam. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-067760-2.
  • Cosslett, Tuyet L.; Cosslett, Patrick D. (2017). Sustainable Development of Rice and Water Resources in Mainland Southeast Asia and Mekong River Basin. Springer Publishing. ISBN 978-981-10-5613-0.
  • Zhu, Ying; Ren, Shuang; Collins, Ngan; Warner, Malcolm (2017). Business Leaders and Leadership in Asia. Taylor & Francis. ISBN 978-1-317-56749-3.
  • Dohrenwend, Bruce P.; Turse, Nick; Wall, Melanie M.; Yager, Thomas J. (2018). Surviving Vietnam: Psychological Consequences of the War for US Veterans. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-090444-9.
  • Lamport, Mark A. (2018). Encyclopedia of Christianity in the Global South. Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 978-1-4422-7157-9.
  • Dinh Tham, Nguyen (2018). Studies on Vietnamese Language and Literature: A Preliminary Bibliography. Cornell University Press. ISBN 978-1-5017-1882-3.
  • Dayley, Robert (2018). Southeast Asia in the New International Era. Taylor & Francis. ISBN 978-0-429-97424-3.
  • Chen, Steven (2018). The Design Imperative: The Art and Science of Design Management. Springer Publishing. ISBN 978-3-319-78568-4.
  • Wilcox, Wynn, บ.ก. (2010). Vietnam and the West: New Approaches. Ithaca, NY: SEAP Publications, Cornell University Press. ISBN 978-0-87727-782-8.

ข้อมูลกฎหมายและรัฐบาล[แก้]

  • Constitution of Vietnam (1992). "Constitution [Chapter Five: Fundamental Rights and Duties of the Citizen]". Ministry of Justice (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2018.
  • French Senate (1997). "Annexe au procès-verbal de la séance du 1er octobre 1997" (ภาษาฝรั่งเศส). Senate (France).
  • Vietnam Penal Code (1999). "Penal Code (No. 15/1999/QH10)". Ministry of Justice (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2013.
  • Vietnam National Assembly (2004). "Law on Publication (No. 30/2004/QH11)". Ministry of Justice (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2011.
  • Vietnam Ordinance of Beliefs and Religion (2004). "Ordinance of Beliefs and Religion [No. 21]". Ministry of Justice (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2018.
  • Office of International Religious Freedom (2019). "Report on International Religious Freedom: Vietnam". US Department of State.
  • United States Department of State (2005). "International Religious Freedom Report 2006". Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor. United States Department of State.
  • United States Department of State (2006). "U.S. Humanitarian Mine Action Programs: Asia". United States Department of State.
  • Trung Chien, Tran Thi (2006). "Vietnam Health Report" (PDF). Ministry of Health (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 October 2018.
  • Nielsen, Chantal Pohl (2007). "Vietnam's Rice Policy: Recent Reforms and Future Opportunities" (PDF). AgroInfo. Ministry of Agriculture and Rural Development (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 October 2018.
  • Vietnam Ministry of Agriculture and Rural Development (2007). "Vietnamese general company of rubber-prospect of being a foremost Vietnamese agriculture group". AgroViet Newsletter. Ministry of Agriculture and Rural Development (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2008.
  • Vietnam Ministry of Foreign Affairs (2007). "Vietnam Foreign Policy". Ministry of Foreign Affairs (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มกราคม 2009. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009.
  • Vietnam General Statistics Office (2009a). "MEDIA RELEASE: The 2009 Population and Housing Census". General Statistics Office of Vietnam. Ministry of Planning and Investment (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2010.
  • Mạnh Cường, Nguyễn; Ngọc Lin, Nguyễn (2010). "Giới thiệu Quốc hoa của một số nước và việc lựa chọn Quốc hoa của Việt Nam" [Introducing the national flower of some countries and the selection of national flower of Vietnam] (ภาษาเวียดนาม). National Archives of Vietnam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2019.
  • Vietnam General Statistics Office (2010). "Transport, Postal Services and Telecommunications". General Statistics Office of Vietnam. Ministry of Planning and Investment (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2018.
  • Fong-Sam, Yolanda (2010). "2010 Minerals Yearbook [The Mineral Industry of Vietnam]" (PDF). United States Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 March 2013.
  • Taylor, Claire; Rutherford, Tom (2011). "Military Balance in Southeast Asia [Research Paper 11/79]" (PDF). House of Commons Library.
  • Vietnam General Statistics Office (2011). "Monthly statistical information – Social and economic situation, 8 months of 2011 [Traffic accidents]". General Statistics Office of Vietnam. Ministry of Planning and Investment (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2018.
  • Green, Michael (2012). "Foreign policy and diplomatic representation". Te Ara: The Encyclopedia of New Zealand.
  • National Congress of the Communist Party of Vietnam (2012). "Bộ Luật Lao Động (No. 10/2012/QH13)" (ภาษาเวียดนาม). Ministry of Justice (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2018.
  • Australia Special Broadcasting Service (2013). "Key ingredients: Vietnamese". Special Broadcasting Service, Government of Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2018.
  • Canada Ministry of Citizenship and Immigration (2013). "Vietnam [The Full Picture of Vietnam]" (PDF). Ministry of Citizenship and Immigration (Canada), Government of Ontario. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 October 2018.
  • Vietnam Ministry of Foreign Affairs (2013). "General Information about Countries and Regions [List of countries which maintains diplomatic relations with the Socialist Republic of Vietnam (as April 2010)]". Ministry of Foreign Affairs (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Vietnam Culture Information Network (2014). "Nha Trang city: Vietnamese cultural cuisine festival 2014 opens". Centre of Information and Technology – Ministry of Culture, Sports and Tourism (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Vietnam Ministry of Culture, Sports and Tourism (2014). "Conquering the Fansipan". VIR. Ministry of Culture, Sports and Tourism (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2018.
  • Vietnam Ministry of Foreign Affairs (2014). "Continue moving forward with intensive international integration". Ministry of Foreign Affairs (Vietnam).
  • Vietnam General Statistics Office (2015). "Số liệu thống kê – Danh sách". General Statistics Office of Vietnam (ภาษาเวียดนาม). Ministry of Planning and Investment (Vietnam).
  • Government of the Netherlands (2016). "Minister Schultz signs agreement on water treatment project in Vietnam". Government of the Netherlands. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Garamone, Jim (2016). "Lifting Embargo Allows Closer U.S., Vietnam Cooperation, Obama, Carter Say". United States Department of Defense.
  • United Kingdom Department for International Development (2017). "UK aid helps clear lethal landmines in war-torn countries following generosity of British public". Government of the United Kingdom.
  • Government of the Netherlands (2018). "Speech by Cora van Nieuwenhuizen, Minister of Infrastructure and Water Management, at the celebration of 45 years of bilateral relations with Vietnam, Hilton Hotel The Hague, 26 March 2018". Government of the Netherlands. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Russia Ministry of Defence (2018). "Russia and Vietnam draft International Military Activity Plan 2020". Ministry of Defence (Russia).
  • United Kingdom Department for International Trade (2018). "UK trade with Vietnam – looking to the next 45 years". Government of the United Kingdom.
  • Anh, Van (2018). "Vietnam and Netherlands reaffirm economic relations". Vietnam Investment Review. Ministry of Planning and Investment (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2019.
  • Vietnam Investment Review (2018). "Contract signed for feasibility study for Long Thanh airport". Vietnam Investment Review. Ministry of Planning and Investment (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2018.
  • Vietnam Ministry of Foreign Affairs (2018). "Vietnam and International Organizations". Ministry of Foreign Affairs (Vietnam).
  • Vietnam General Statistics Office (2018). "International visitors to Viet Nam in December and 12 months of 2017". General Statistics Office of Vietnam. Vietnam National Administration of Tourism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2019.
  • Government of Vietnam (I). "Overview on Vietnam geography". Government of Vietnam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Government of Vietnam (II). "About Vietnam (Political System)". Government of Vietnam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Japan Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism. "An Overview of Spatial Policy in Asian and European Countries". Local Governments and Spatial Planning System. Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism (Japan).{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • United States Agency for International Development (3 December 2018). "Environmental Remediation [Agent Orange]". United States Agency for International Development.
  • Vietnam Ministry of Foreign Affairs. "Tài Liệu Cơ Bản Nước Cộng Hoà Hồi Giáo Pa-kít-xtan" (ภาษาเวียดนาม). Ministry of Foreign Affairs (Vietnam).
  • Vietnam National Environment Administration. "Báo cáo Hiện trạng môi trường quốc gia 2005 Chuyên đề Đa dạng sinh học" (ภาษาเวียดนาม). Ministry of Natural Resources and Environment (Vietnam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2009.
  • General Statistics Office of Vietnam (2019). "Completed Results of the 2019 Viet Nam Population and Housing Census" (PDF). Statistical Publishing House (Vietnam). ISBN 978-604-75-1532-5.

การเผยแพร่ทางวิชาการ[แก้]

  • Crozier, Brian (1955). "The Diem Regime in Southern Vietnam". Far Eastern Survey. 24 (4): 49–56. doi:10.2307/3023970. JSTOR 3023970.
  • Gittinger, J. Price (1959). "Communist Land Policy in North Viet Nam". Far Eastern Survey. 28 (8): 113–126. doi:10.2307/3024603. JSTOR 3024603.
  • Trần, Văn Khê (1972). "Means of Preservation and Diffusion of Traditional Music in Vietnam". Asian Music. 3 (1): 40–44. doi:10.2307/834104. JSTOR 834104.
  • Riehl, Herbert; Augstein, Ernst (1973). "Surface interaction calculations over the Gulf of Tonkin". Tellus. 25 (5): 424–434. Bibcode:1973Tell...25..424R. doi:10.3402/tellusa.v25i5.9694.
  • Norman, Jerry; Mei, Tsu-lin (1976). "The Austroasiatics in Ancient South China: Some Lexical Evidence". Monumenta Serica. 32: 274–301. doi:10.1080/02549948.1976.11731121.
  • Fraser, SE (1980). "Vietnam's first census". POPLINE. Intercom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2018. สืบค้นเมื่อ 16 October 2018.
  • Higham, C.F.W. (1984). "Prehistoric Rice Cultivation in Southeast Asia". Scientific American. 250 (4): 138–149. Bibcode:1984SciAm.250d.138H. doi:10.1038/scientificamerican0484-138. JSTOR 24969352.
  • Nguyen, Lan Cuong (1985). "Two early Hoabinhian crania from Thanh Hoa Province, Vietnam". Zeitschrift für Morphologie und Anthropologie. 77 (1): 11–17. doi:10.1127/zma/77/1987/11. JSTOR 25757211. PMID 3564631.
  • Trần, Văn Khê (1985). "Chinese Music and Musical Traditions of Eastern Asia". The World of Music, Verlag für Wissenschaft und Bildung. 27 (1): 78–90. JSTOR 43562680.
  • Gough, Kathleen (1986). "The Hoa in Vietnam". Contemporary Marxism, Social Justice/Global Options (12/13): 81–91. JSTOR 29765847.
  • Kimura, Tetsusaburo (1986). "Vietnam—Ten Years of Economic Struggle". Asian Survey. 26 (10): 1039–1055. doi:10.2307/2644255. JSTOR 2644255.
  • Quach Langlet, Tâm (1991). "Charles Fourniau : Annam-Tonkin 1885–1896. Lettrés et paysans vietnamiens face à la conquête coloniale. Travaux du Centre d'Histoire et Civilisations de la péninsule Indochinoise". Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient (ภาษาฝรั่งเศส). 78 – โดยทาง Persée.
    สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
  • Huu Chiem, Nguyen (1993). "Geo-Pedological Study of the Mekong Delta" (PDF). Southeast Asian Studies. 31 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2018 – โดยทาง Kyoto University.
  • Thayer, Carlyle A. (1994). "Sino-Vietnamese Relations: The Interplay of Ideology and National Interest". Asian Survey. 34 (6): 513–528. doi:10.2307/2645338. JSTOR 2645338.
  • Greenfield, Gerard (1994). "The Development of Capitalism in Vietnam". Socialist Register. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2018.
  • Hirschman, Charles; Preston, Samuel; Manh Loi, Vu (1995). "Vietnamese Casualties During the American War: A New Estimate". Population and Development Review. 21 (4): 783–812. doi:10.2307/2137774. JSTOR 2137774.
  • Goodkind, Daniel (1995). "Rising Gender Inequality in Vietnam Since Reunification". Pacific Affairs. 68 (3): 342–359. doi:10.2307/2761129. JSTOR 2761129.
  • Amer, Ramses (1996). "Vietnam's Policies and the Ethnic Chinese since 1975". Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia. 11 (1): 76–104. doi:10.1355/SJ11-1D. JSTOR 41056928.
  • Momoki, Shiro (1996). "A Short Introduction to Champa Studies" (PDF). Kyoto University Research Information Repository, Kyoto University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 October 2018 – โดยทาง COnnecting REpositories.
  • Meacham, William (1996). "Defining the Hundred Yue". Bulletin of the Indo-Pacific Prehistory Association. 15: 93–100. doi:10.7152/bippa.v15i0.11537.
  • Jacques, Roland (1998). "Le Portugal et la romanisation de la langue vietnamienne. Faut- il réécrire l'histoire ?". Outre-Mers. Revue d'Histoire (ภาษาฝรั่งเศส). 318 – โดยทาง Persée.
    สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
  • Zinoman, Peter (2000). "Colonial Prisons and Anti-Colonial Resistance in French Indochina: The Thai Nguyen Rebellion, 1917". Modern Asian Studies. 34 (1): 57–98. doi:10.1017/S0026749X00003590. JSTOR 313112. S2CID 145191678.
  • Xuan Dinh, Quan (2000). "The Political Economy of Vietnam's Transformation Process". Contemporary Southeast Asia. 22 (2): 360–388. doi:10.1355/CS22-2G. JSTOR 25798497.
  • Matsumura, Hirofumi; Lan Cuong, Nguyen; Kim Thuy, Nguyen; Anezaki, Tomoko (2001). "Dental Morphology of the Early Hoabinian, the Neolithic Da But and the Metal Age Dong Son Civilized Peoples in Vietnam". Zeitschrift für Morphologie und Anthropologie. 83 (1): 59–73. doi:10.1127/zma/83/2001/59. JSTOR 25757578. PMID 11372468.
  • Emmers, Ralf (2005). "Regional Hegemonies and the Exercise of Power in Southeast Asia: A Study of Indonesia and Vietnam". Asian Survey. University of California Press. 45 (4): 645–665. doi:10.1525/as.2005.45.4.645. JSTOR 10.1525/as.2005.45.4.645 – โดยทาง JSTOR.
  • Endres, Kirsten W. (2001). "Local Dynamics of Renegotiating Ritual Space in Northern Vietnam: The Case of the "Dinh"". Journal of Social Issues in Southeast Asia. 16 (1): 70–101. doi:10.1355/sj16-1c. JSTOR 41057051. PMID 19195125.
  • McLeod, Mark W.; Thi Dieu, Nguyen (2001). Culture and Customs of Vietnam. Culture and Customs of Asia. Greenwood Press. ISBN 978-0-313-30485-9. ISSN 1097-0738.
  • Gallup, John Luke (2002). "The wage labor market and inequality in Viet Nam in the 1990s". Policy Research Working Paper Series, World Bank. Policy Research Working Papers. doi:10.1596/1813-9450-2896. hdl:10986/19272. S2CID 18598221 – โดยทาง Research Papers in Economics.
  • Wai-ming, Ng (2002). "The Impact of Japanese Comics and Animation in Asia" (PDF). Journal of Japanese Trade & Industry – โดยทาง Chinese University of Hong Kong.
  • Freeman, Nick J. (2002). "United States's economic sanctions against Vietnam: International business and development repercussions". The Columbia Journal of World Business. 28 (2): 12–22. doi:10.1016/0022-5428(93)90038-Q.
  • Wilkey, Robert Neil (2002). "Vietnam's Antitrust Legislation and Subscription to E-ASEAN: An End to the Bamboo Firewall Over Internet Regulation". The John Marshall Journal of Information Technology and Privacy Law. 20 (4).
  • Wagstaff, Adam; van Doorslaer, Eddy; Watanabe, Naoko (2003). "On decomposing the causes of health sector inequalities with an application to malnutrition inequalities in Vietnam". Journal of Econometrics. 112 (1): 207–223. doi:10.1016/S0304-4076(02)00161-6. hdl:10986/19426. S2CID 122165846.
  • Van Tho, Tran (2003). "Economic development in Vietnam during the second half of the 20th century: How to avoid the danger of lagging behind" (PDF). The Vietnamese Economy: Awakening the Dorming Dragon (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 October 2018 – โดยทาง Waseda University.
  • Miguel, Edward; Roland, Gérard (2005). "The Long Run Impact of Bombing Vietnam" (PDF). University of California, Berkeley. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2018.
  • Manyin, Mark E. (2005). "U.S. Assistance to Vietnam" (PDF). CRS Report for Congress. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 October 2018 – โดยทาง Federation of American Scientists.
  • Van Nam, Nguyen; de Vries, Peter J.; Van Toi, Le; Nagelkerke, Nico (2005). "Malaria control in Vietnam: the Binh Thuan experience". Tropical Medicine & International Health. 10 (4): 357–365. doi:10.1111/j.1365-3156.2005.01387.x. PMID 15807800. S2CID 22083432.
  • Berg, M; Stengel, C; Pham, TK; Pham, HV; และคณะ (2007). "Magnitude of arsenic pollution in the Mekong and Red River Deltas—Cambodia and Vietnam". Science of the Total Environment. 372 (2–3): 413–25. Bibcode:2007ScTEn.372..413B. doi:10.1016/j.scitotenv.2006.09.010. PMID 17081593.
  • Zuckerman, Phil (2007). "Atheism: Contemporary Rates and Patterns" (PDF). Cambridge Companion to Atheism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 June 2009 – โดยทาง Pitzer College.
  • Odell, Andrew L.; Castillo, Marlene F. (2008). "Vietnam in a Nutshell: An Historical, Political and Commercial Overview" (PDF). NYBSA International Law Practicum. 21 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 October 2018 – โดยทาง Duane Morris.
  • Matsumura, Hirofumi; Yoneda, Minoru; Yukio, Dodo; Oxenham, Marc; และคณะ (2008). "Terminal Pleistocene human skeleton from Hang Cho Cave, northern Vietnam: implications for the biological affinities of Hoabinhian people". Anthropological Science. 116 (3): 201–217. doi:10.1537/ase.070416. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2018 – โดยทาง J-STAGE.
  • Van De, Nguyen; Douglas, Ian; McMorrow, Julia; Lindley, Sarah; และคณะ (2008). "Erosion and Nutrient Loss on Sloping Land under Intense Cultivation in Southern Vietnam". Geographical Research. 46 (1): 4–16. doi:10.1111/j.1745-5871.2007.00487.x.
  • Nasuchon, Nopparat (2008). "Coastal Management and Community Management in Malaysia, Vietnam, Cambodia and Thailand, with a case study of Thai Fisheries Management" (PDF). United Nations-Nippon Foundation Fellow Research Presentation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2018 – โดยทาง United Nations.
  • Obermeyer, Ziad; Murray, Christopher J L; Gakidou, Emmanuela (2008). "Fifty years of violent war deaths from Vietnam to Bosnia: analysis of data from the world health survey programme [Table 3]". BMJ. 336 (7659): 1482–6. doi:10.1136/bmj.a137. PMC 2440905. PMID 18566045.
  • Hoang Vuong, Quan; Dung Tran, Tri (2009). "The Cultural Dimensions of the Vietnamese Private Entrepreneurship". The IUP Journal of Entrepreneurship Development. SSRN 1442384 – โดยทาง Social Science Research Network.
  • Lieberman, Samuel S.; Wagstaff, Adam (2009). Health financing and delivery in Vietnam. World Bank. doi:10.1596/978-0-8213-7782-6. ISBN 978-0-8213-7782-6.
  • Cuong Le, Duc; Kubo, Tatsuhiko; Fujino, Yoshihisa; Minh Pham, Truong; และคณะ (2010). "Health Care System in Vietnam: Current Situation and Challenges". Asian Pacific Journal of Disease Management. 4 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2018 – โดยทาง J-STAGE.
  • Cira, Dean; Dastur, Arish; Kilroy, Austin; Lozano, Nancy; และคณะ (2011). Vietnam Urbanization Review (Report). World Bank. doi:10.13140/2.1.5100.6249 – โดยทาง ResearchGate.
  • Buiter, Willem; Rahbari, Ebrahim (2011). "Global growth generators: Moving beyond emerging markets and BRICs". Centre for Economic Policy Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2018.
  • Pincus, Jonathan (2015). "Why Doesn't Vietnam Grow Faster?: State Fragmentation and the Limits of Vent for Surplus Growth" (PDF). Southeast Asian Economies. 32 (1): 26. doi:10.1355/ae32-1c. S2CID 154680467. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 October 2018 – โดยทาง Flanders Investment and Trade.
  • Thomas, Martin (2012). Rubber, coolies and communists: In Violence and Colonial Order: Police, Workers and Protest in the European Colonial Empires, 1918–1940 (Critical Perspectives on Empire from Part II – Colonial case studies: French, British and Belgian). pp. 141–176. doi:10.1017/CBO9781139045643.009. ISBN 978-1-139-04564-3.
  • Hong Phuong, Nguyen (2012). "Seismic Hazard Studies in Vietnam" (PDF). GEM Semi-Annual Meeting – Academia Sinica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 October 2018 – โดยทาง Taiwan Earthquake Research Center.
  • McCaig, Brian; Pavcnik, Nina (2013). "Moving out of agriculture: structural change in Vietnam" (PDF). Dartmouth College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2018.
  • Chapman, Bruce; Liu, Amy Y.C. (2013). "Repayment Burdens of Student Loans for Vietnamese Higher Education". Crawford School Research Paper. SSRN 2213076 – โดยทาง Social Science Research Network.
  • Huu Duc, Nguyen; Mai Hoa, Duong Thi; Thien Huong, Nguyen; Ngoc Bao, Nguyen (2013). "On Various Essential Data Related to Status Quo of Motorcycles in Vietnam". Journal of the Eastern Asia Society for Transportation Studies. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2018 – โดยทาง J-STAGE.
  • Ngoc Vo, Anne; Le, V (2014). "Governmental influences on the evolution of agricultural cooperatives in Vietnam: an institutional perspective with case studies". Faculty of Business, University of Wollongong Research Online. 20 (3). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2018 – โดยทาง University of Wollongong.
  • Banout, Jan; Urban, Ondrej; Musil, Vojtech; Szakova, Jirina; และคณะ (2014). "Agent Orange Footprint Still Visible in Rural Areas of Central Vietnam". Journal of Environmental and Public Health. 2014: 1–10. doi:10.1155/2014/528965. PMC 3930020. PMID 24639878.
  • Różycka-Tran, Joanna; Anh Tran, Quan (2014). "Self-regulation techniques in Vietnamese Zen Truc Lam Monastery" (PDF). Terebess Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 October 2018.
  • Crook, Joe (2014). "Traveling Through Space: A Look at the Evolution of Transportation in Vietnam and its Implications". Independent Study Project (ISP) Collection. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2018 – โดยทาง SIT Digital Collections.
  • Grigoreva, Nina V. (2014). "Legendary Ancestors, National Identity, and the Socialization of Children in Contemporary Vietnam" (PDF). Centre for Asian and African Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 October 2018.
  • Merola, R. B.; Hien, T. T.; Quyen, D. T. T.; Vengosh, A. (2014). "Arsenic exposure to drinking water in the Mekong Delta". Science of the Total Environment. 511: 544–552. Bibcode:2015ScTEn.511..544M. doi:10.1016/j.scitotenv.2014.12.091. PMID 25585157.
  • Ha Trân, Thi Thai (2014). "Education financing in Vietnam". Revue Internationale d'Éducation de Sèvres – โดยทาง OpenEdition Journals.
    สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
  • Kim Phuong, Tran (2014). "Vietnam: Highland bauxite Projects and initial economic effects". Vietnam Institute of Geosciences and Mineral Resources. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2018 – โดยทาง Metal Bulletin.
  • Pham, Alice (2015). "The Vietnam Telecommunications Sector: Good Practices in Regulatory Reform in Relation to Competition Policy & Law Issues" (PDF). Toronto, Geneva and Brighton. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 February 2019 – โดยทาง CUTS International.
  • Tung Hieu, Ly (2015). "Confucian Influences on Vietnamese Culture". Vietnam Social Sciences. 5 (169). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2018 – โดยทาง Vietnam Journals Online.
  • Sohr, Alexander; Brockfeld, Elmar; Sauerländer, Anke; Melde, Eric (2016). "Traffic Information System for Hanoi". Procedia Engineering. 142: 221–228. doi:10.1016/j.proeng.2016.02.035.
  • BirdLife International (2016). "Lophura edwardsi". The IUCN Red List of Threatened Species. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T45354985A95145107.en.
  • Ngo, Lan A. (2016). Nguyễn–Catholic History (1770s–1890s) and the Gestation of Vietnamese Catholic National Identity (PDF). Georgetown University Graduate School of Arts and Sciences (Thesis). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2018 – โดยทาง DigitalGeorgetown.
  • Viet Trung, Le; Quoc Viet, Tran; Van Chat, Pham (2016). "An Overview of Vietnam's Oil and Gas Industry" (PDF). Petroleum Economics & Management. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 October 2018 – โดยทาง Vietnam Petroleum Institute.
  • Trinh, Q. M.; Nguyen, H. L.; Do, T. N.; Nguyen, V. N.; และคณะ (2016). "Tuberculosis and HIV co-infection in Vietnam". International Journal of Infectious Diseases. 46 (2): 12–22. doi:10.1016/0022-5428(93)90038-Q. PMID 27044521.
  • Nhu Nguyen, Quynh Thi (2016). "The Vietnamese Values System: A Blend of Oriental, Western and Socialist Values" (PDF). International Education Studies. 9 (12). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 October 2018 – โดยทาง Institute of Education Sciences.
  • Feinberg, Richard E. (2016). "Principles and Power". Problems of Post-Communism. 63 (2): 75–83. doi:10.1080/10758216.2015.1083377. S2CID 156148830 – โดยทาง Taylor & Francis.
  • Linh Le, Thi Phuong; Anh Trinh, Tu (2016). "Encouraging Public Transport Use to Reduce Traffic Congestion and Air Pollutant: A Case Study of Ho Chi Minh City, Vietnam". Procedia Engineering. 142: 236–243. doi:10.1016/j.proeng.2016.02.037.
  • Anh Dinh, Thuy (2016). "The Causes and Effects of Korean Pop Culture on Vietnamese Consumer Behavior" (PDF). Thammasat University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 October 2018.
  • Minh Hoang, Truong; van Lap, Nguyen; Kim Oanh, Ta Thi; Jiro, Takemura (2016). "The influence of delta formation mechanism on geotechnical property sequence of the late Pleistocene–Holocene sediments in the Mekong River Delta". Heliyon. 2 (11): e00165. doi:10.1016/j.heliyon.2016.e00165. PMC 5114594. PMID 27882357.
  • Shaofei, YE; Guoqing, Zhang (2016). "The relationship between Nanyue and Annam in the ancient historical records of China and Vietnam". Honghe Prefecture Center for Vietnamese Studies, Honghe University – โดยทาง CNKI Journal Translation Project.
  • Van Hoang, Chung (2017). "Evangelizing Post-Đổi Mới Vietnam: The Rise of Protestantism and the State's Response" (PDF). Perspective. ISEAS–Yusof Ishak Institute (34). ISSN 2335-6677. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 October 2018.
  • H. Dang, Hai-Anh; Glewwe, Paul W. (2017). "Well Begun, but Aiming Higher: A Review of Vietnam's Education Trends in the Past 20 Years and Emerging Challenges" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 October 2018 – โดยทาง Research on Improving Systems of Education.
  • Overland, Indra (2017). "Impact of Climate Change on ASEAN International Affairs: Risk and Opportunity Multiplier". Norwegian Institute of International Affairs (NUPI) and Myanmar Institute of International and Strategic Studies (MISIS). ISSN 1894-650X – โดยทาง ResearchGate.
  • Baccini, Leonardo; Impullitti, Giammario; Malesky, Edmund J. (2017). "Globalization and State Capitalism: Assessing Vietnam's Accession to the WTO". CESifo Working Paper Series. SSRN 3036319 – โดยทาง Social Science Research Network.
  • Hong Truong, Son; Ye, Qinghua; Stive, Marcel J. F. (2017). "Estuarine Mangrove Squeeze in the Mekong Delta, Vietnam". Journal of Coastal Research. 33 (4): 747–763. doi:10.2112/JCOASTRES-D-16-00087.1. S2CID 131892649 – โดยทาง BioOne.
  • Nang Chung, Trinh; Giang Hai, Nguyen (2017). "Dong Son Culture in First Ten Centuries AD". Institute of Archaeology, Vietnam Academy of Social Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2018.
  • Dang Vu, Hoai Nam; Nielsen, Martin Reinhardt (2018). "Understanding utilitarian and hedonic values determining the demand for rhino horn in Vietnam". Human Dimensions of Wildlife. 23 (5): 417–432. doi:10.1080/10871209.2018.1449038. S2CID 46933047 – โดยทาง Taylor & Francis.
  • Trương, Ngân (2018). "Solid Waste Management in Vietnam" (PDF). Degree Programme in Environmental Engineering. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 January 2019.
  • Truong, Nhu; Vo, Dang H.; Nguyen, Dzung (2018). "Mekong State of Land" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2018 – โดยทาง Mekong Region Land Governance.
  • Quang Vinh, Bui. "Vietnam 2035: Toward Prosperity, Creativity, Equity, and Democracy" (PDF). George Washington University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 October 2018.
  • Cornell University. "Rice in Vietnamese Culture and Economy". Mario Einaudi Center for International Studies – Southeast Asia Program.
  • Van Van, Hoang. "The Current Situation and Issues of the Teaching of English in Vietnam" (PDF). 22 (1). Ritsumeikan Asia Pacific University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 October 2018.

ข่าวและวารสาร[แก้]

  • The Harvard Crimson (1972). "Med School Professor Praises North Vietnam's Medical Care". The Harvard Crimson.
  • The New York Times (3 July 1976). "2 Parts of Vietnam Officially Reunited; Leadership Chosen". The New York Times.
  • Spokesman-Review (1977). "Vietnam outlines collectivization goals". The Spokesman-Review.
  • Swanson, Susan (1978). "Vietnamese Celebrate 'Women's Day' in Old and New Ways". The Washington Post.
  • Cockburn, Patrick (1994). "US finally ends Vietnam embargo". The Independent.
  • Shenon, Philip (23 April 1995). "20 Years After Victory, Vietnamese Communists Ponder How to Celebrate". The New York Times.
  • Mitchell, Alison (12 July 1995). "Opening to Vietnam: The Overview; U.S. Grants Vietnam Full Ties; Time for Healing, Clinton Says". The New York Times.
  • BBC News (1997). "Vietnam: changing of the guard". BBC News.
  • BBC News (2004). "Vietnam's new-look economy". BBC News.
  • BBC News (2005). "The legacy of Agent Orange". BBC News.
  • DigInfo (2007). "TOSY TOPIO – Table Tennis Playing Robot". DigInfo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2009.
  • China Daily (2008). "Vietnam win first int'l title". China Daily. Sina English.
  • The Economist (2008). "A bit of everything [Vietnam's quest for role models]". The Economist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2018.
  • Vietnam+ (2008). "High speed railway engineers to be trained in Japan". Vietnam+.
  • Khanh, Vu (2008). "Cultural values of traditional Vietnamese wedding". Sài Gòn Giải Phóng.
  • BBC News (2009). "Vietnam lawyer charged with subversion". BBC News.
  • Mydans, Seth (24 December 2009). "Vietnam Charges Lawyer With Capital Crime". The New York Times.
  • The Japan Times (2009). "Vietnam opts for Japanese bullet trains". The Japan Times Online. The Japan Times.
  • Corapi, Annie (2010). "The 10 healthiest ethnic cuisines". CNN Health.
  • Borel, Brooke (2010). "A Ping-Pong-Playing Terminator". Popular Science.
  • Huong, Minh (2010). "Folk poetry preservation a labour of love". Việt Nam News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Thanh Niên (2010). "Vietnam's 2010 growth fastest in three years". Thanh Niên.
  • Việt Nam News (2010). "Tech, science spending too low". Việt Nam News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Nguyen, Andrea (2011). "Heaven in a Bowl: The Original *Pho*". Saveur.
  • Gillet, Kit (2011). "Riding Vietnam's Ho Chi Minh trail". The Guardian.
  • Kinver, Mark (2011). "Javan rhino 'now extinct in Vietnam'". BBC News.
  • Nhân Dân (2011). "Pink lotus leads vote for Vietnam's national flower". Nhân Dân.
  • Ha, K. Oanh; Giang, Nguyen Kieu; Denslow, Neil (2012). "Vietnam Air Aims to Win Southeast Asia's No. 2 Title by 2020". Bloomberg L.P. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2013.
  • MacLeod, Calum (2012). "Fifty years later, U.S., Vietnam deal with Agent Orange". USA Today.
  • Pham, Hiep (2012). "Government's student loan scheme inadequate to ensure access". University World News.
  • Phuong, Le (2012). "Vietnam's cultural integration seen by researchers". Voice of Vietnam.
  • The Telegraph (2012). "Vietnam begins naval exercises with the US". The Daily Telegraph.
  • Cham, Tran (2012). "China continues its plot in the East Sea". VNE. Vietnam Net.
  • Tuổi Trẻ News (2012). "Vietnam to be listed top economies by 2050: HSBC". Tuổi Trẻ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2012.
  • Việt Nam News (2012). "Top three telecoms control 95 per cent of market share". Việt Nam News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • UPI.com (2013). "Oil production starts offshore Vietnam". United Press International.
  • Summers, Chris (2014). "How Vietnam became a coffee giant". BBC News.
  • Haberman, Clyde (12 May 2014). "Agent Orange's Long Legacy, for Vietnam and Veterans". The New York Times.
  • Constitution of Vietnam (2014). "The constitution of the socialist republic of Viet Nam". XIIIth National Assembly of the Socialist Republic of Vietnam. Việt Nam News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-01. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Batruny, Joe (2014). "20 Vietnamese dishes and drinks you need to try". Matador Network.
  • Le, Pha (2014). "Marble Mounts – The 'rockery' masterpiece in the heart of Da Nang". Vietnam Net.
  • Yan News (2014). "Nhóm nhạc Hàn Quốc tiết lộ lý do hợp tác cùng Thanh Bùi" [Korean music group revealed the reason for co-operation with Thanh Bùi] (ภาษาเวียดนาม). Yan.vn.
  • Norton, Barley (2015). "Ca Trù Singing in Vietnam". Smithsonian Folkways Magazine.
  • Minh Do, Anh (2015). "Vietnam's chat app Zalo challenges Facebook with 30 million registered users". Tech in Asia.
  • Thanh Niên (2015). "Horrific photos recall Vietnamese Famine of 1945". Vo An Ninh. Thanh Niên.
  • The Japan Times (2015). "Japan defense vessel to stop at Vietnam naval base in South China Sea". The Japan Times Online. The Japan Times.
  • Vietnam Net (2015). "Rare photos of Vietnam's famine in 1945". Vo An Ninh. Vietnam Net.
  • Agence France-Presse (2016). "The US is helping to clean up Agent Orange residue, 50 years since the Vietnam War". Agence France-Presse. TheJournal.ie.
  • Sims, Alexandra (2016). "Rio 2016: Vietnam wins first ever Olympic gold medal". The Independent.
  • Duy, Dinh (2016). "The Revival of Boléro in Vietnam". The Diplomat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2018.
  • McNeil Jr., Donald G. (2016). "Vietnam's Battle With Tuberculosis". The New York Times.
  • Lyimo, Henry (2016). "Africa: Lessons From Vietnam's March to Progress". AllAfrica.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2018.
  • Hirano, Ko (2016). "Japanese language studies taking root in Vietnam elementary schools". The Japan Times Online. The Japan Times.
  • Anh, Lan (2016a). "Ba Be, the biggest mountain lake in Vietnam". Voice of Vietnam.
  • Anh, Lan (2016b). "Vietnamese family reunion during Tet". Voice of Vietnam.
  • Nguyen, Mai; Binh Minh, Ho; Pham, My; Burmistrova, Svetlana; และคณะ (2016). "Vietnam abandons plan for first nuclear power plants". Reuters.
  • Cerre, Mike (2016). "Agent Orange's legacy continues to haunt Vietnam and Veterans". KABC-TV.
  • Le, Pha (2016). "Top national parks in Vietnam". Vietnam Net.
  • Tiezzi, Shannon (2016). "It's Official: Formosa Subsidiary Caused Mass Fish Deaths in Vietnam". The Diplomat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2019.
  • Yan, Sophia (2016). "Vietnam's defense spending is $5 billion and rising fast". CNNMoney.
  • Vietnam Net (2016a). "Tourism contributes significantly to Vietnam's economy". Vietnam News Agency. Vietnam Net.
  • Vietnam Net (2016b). "Decree on university autonomy in final stages". VN Economic Times. Vietnam Net.
  • Van Thanh, Vo (2016). "Vietnam draws up danger-zone map of unexploded bombs". VnExpress.
  • Việt Nam News (2016). "Seismologists predict potential earthquakes". Việt Nam News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-10. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Voice of Vietnam (2016). "Vietnam joins int'l naval exercise in Brunei and Singapore". Voice of Vietnam.
  • Buleen, Chad (2017). "Average Temperature in Vietnam". USA Today.
  • FourFourTwo (2017). "The time has come for Vietnam to turn beautiful football into real success". FourFourTwo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2018. สืบค้นเมื่อ 16 October 2018.
  • Clark, Helen; Miller, Karryn (2017). "Vietnamese food: 40 delicious dishes you'll love". CNN Travel.
  • Raslan, Karim (2017). "How Vietnam's answer to Whatsapp, Zalo, began with a hack". South China Morning Post.
  • Chi, Kim (2017). "Vietnam builds north-south highway, but not a railway". Vietnam Net.
  • Tatarski, Michael (2017). "Vietnam's tale of two metros, one built by the Japanese and the other by the Chinese". South China Morning Post.
  • Dall, Nick (2017). "How Vietnam learned to stop poaching and love its beasts". Ozy.
  • Nghia, Son; Luan, Nguyen (2017). "Unique Fighting-Cock Martial Arts". Báo Ảnh Việt Nam.
  • Mai, Thanh (2017). "Vietnam remains world's No 1 exporter of cashews". Vietnam Net.
  • Giap, Trong (2017). "Vietnam signs global treaty to ban nuclear weapons". VnExpress.
  • Williams, Vicki (2017). "Why a Vietnamese food journey is sure to tantalise diners from north to south". South China Morning Post.
  • Vietnam Net (2017a). "Top 15 tourist attractions in Vietnam". Zing/Voice of Vietnam. Vietnam Net.
  • Vietnam Net (2017b). "Bird watching in Thung Nham bird sanctuary". Hanoi Tour/VNN. Vietnam Net.
  • Tao, Zhang (2017). "Deadly relics: "Mine village" on China-Vietnam border". China Military Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Rick, August (2018). "How Vietnamese Soccer Upset The Odds That China Is Banking On". Forbes.
  • BBC News (2018). "Vietnamese capital Hanoi asks people not to eat dog meat". BBC News.
  • Loan, Doan (2018). "Vietnam's 2019 holiday plan includes 9-day Tet break". VnExpress.
  • Quốc Hoàng, Giang (2018). "Ji Yeon và Soobin lần đầu song ca trong đêm nhạc Việt – Hàn tại TP.HCM" [Ji Yeon and Soobin first duet in the night of Vietnamese-Korean music in Ho Chi Minh City] (ภาษาเวียดนาม). Zing.vn.
  • Dam-young, Hong (2018). "S.M. Entertainment to hold K-pop auditions in 10 countries". The Korea Herald/Asia News Network. The Jakarta Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2019.
  • Phương, Lan (2018). "Jiyeon (T-ara) chủ động diễn cảnh tình cảm với Soobin Hoàng Sơn" [Jiyeon (T-ara) took the initiative to act out a love scene with Soobin Hoàng Sơn] (ภาษาเวียดนาม). Zing.vn.
  • Pike, Matthew (2018). "11 Traditional Vietnamese Tết Dishes". Culture Trip.
  • Quy, Nguyen (2018). "Three Vietnam hotspots among 100 most visited cities". VnExpress.
  • NHK World-Japan (2018). "Japan, Vietnam to launch dioxin cleanup project". NHK World-Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2018. สืบค้นเมื่อ 16 October 2018.
  • Nikkei Asian Review (2018). "Vietnam's Agent Orange cleanup enlists Japanese tech". Nikkei Asian Review.
  • Terzian, Peter (2018). "The World's Top 15 Cities". Travel + Leisure.
  • Chin, Stephen (2018). "Vietnam plays catch up with high speed rail". The ASEAN Post.
  • Stewart, Phil (2018). "U.S. prepares for biggest-ever Agent Orange cleanup in Vietnam". Reuters.
  • The Economic Times (2018). "Indian, Vietnamese armies hold first military exercise". The Economic Times.
  • The Nation (2018). "Major Vietnam high speed railway to be elevated, tunnelled: draft report". Việt Nam News/Asia News Network. The Nation (Thailand).
  • The Saigon Times Daily (2018). "Wild celebrations in Hanoi as Vietnam win regional title". The Saigon Times Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Brown, Vanessa (2018). "Dark side of Vietnam reveals cost of war". news.com.au.
  • Việt Nam News (2018a). "Monsanto court ruling bolsters the hope for millions of Vietnamese Agent Orange victims". Việt Nam News.
  • Việt Nam News (2018b). "US continues to be key export market for Việt Nam". Việt Nam News.
  • Việt Nam News (2018c). "Water industry needs smart tech". Việt Nam News.
  • Việt Nam News (2018d). "Water quality inspections to be held nationwide". Việt Nam News.
  • Vietnam Net (2018a). "Northern mountain frozen as temperatures drop". Dân Trí News. Vietnam Net.
  • Vietnam Net (2018b). "$58b for North-South high speed train: consultants". VNS. Vietnam Net.
  • Voice of Vietnam (2018a). "Vietnam celebrates International Women's Day". Voice of Vietnam.
  • Voice of Vietnam (2018b). "Chief of General Staff of Lao People's Army visits Vietnam". Voice of Vietnam.
  • Voice of Vietnam (2018c). "Vietnam's pepper industry about to burst". Voice of Vietnam.
  • Voice of Vietnam (2018d). "Vietnam's folk music treasure promoted". Voice of Vietnam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Yan; Jun, Tao; Long, Bui (2018). "Feature: Football mania spreads after Vietnam makes history at Asiad". Xinhua News Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • Gomes, Alaric (2019). "Asian Cup: Vietnam continue to chase their dream with quarters berth". Gulf News.
  • Nikkei Asian Review. "Petrovietnam Gas JSC". Nikkei Asian Review.
  • The Telegraph. "In pictures: Inside Hang Son Doong, the world's largest caves in Vietnam". The Daily Telegraph.
  • Le Dinh Tinh; Hoang Long (31 August 2019). "Middle Powers, Joining Together: The Case of Vietnam and Australia". The Diplomat.
  • Hutt, David (13 July 2020). "US, Vietnam ties have never been better". Asia Times. สืบค้นเมื่อ 24 March 2021.
  • Corr, Anders (7 November 2019). "Can Vietnam Be America's New Ally Against China?". The National Interest. สืบค้นเมื่อ 24 March 2021.
  • Tran, Bich T. (15 July 2020). "Will We See a US-Vietnam Strategic Partnership?". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 24 March 2021.

เว็บไซต์[แก้]

  • Tran, Anh Q. (2018). "The Historiography of the Jesuits in Vietnam: 1615–1773 and 1957–2007". Brill.
  • Sagan, Ginetta; Denny, Stephen (1982). "Re-education in unliberated Vietnam: Loneliness, Suffering and Death". The Indochina Newsletter. University of California, Berkeley.
  • Nam Dang, Vu Hoai; Nielsen, Martin (2019). "We asked people in Vietnam why they use rhino horn. Here's what they said". Public Radio International. Public Radio International.
  • UNESCO World Heritage Convention (1994). "Ha Long Bay". World Heritage Convention. UNESCO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2018.
  • LM Report (2000). "Denmark Mine Removal Action Funding [Table 1. Governmental donations to mine action in calendar year 1999]". International Campaign to Ban Landmines.
  • World Bank (2002). "Issues and Dynamics: Urban Systems in Developing East Asia" (PDF). Urbanization Dynamics and Policy Frameworks in Developing East Asia, East Asia Infrastructure Department. World Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 January 2019.
  • UNESCO World Heritage Convention (2003). "Phong Nha-Ke Bang National Park". World Heritage Convention. UNESCO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2018.
  • Communist Party of Vietnam (2004). "Dân tộc Kinh" (ภาษาเวียดนาม). Communist Party of Vietnam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016.
  • Vietnam Women's Union (2005). "Vietnam set priorities for HIV/AIDS prevention in 2006". Vietnam Women's Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2018.
  • Berkman Klein Center (2006). "OpenNet Initiative Vietnam Report: University Research Team Finds an Increase in Internet Censorship in Vietnam". Berkman Klein Center for Internet & Society.
  • Bich Loan, Hoang Thi (2007). "Consistently pursuing the socialist orientation in developing the market economy in Vietnam". Ministry of Culture and Information (Vietnam). Communist Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2011.
  • Vu, Tuong (2007). "Newly released documents on the land reform". Naval Postgraduate School. University of Washington Libraries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2011.
  • PWC (2008). "Vietnam may be fastest growing emerging economy". PricewaterhouseCoopers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2011.
  • Le, Thomas D. (2008). "Vietnamese Poetry". Le World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2009.
  • McKinney, Brennan (2009). "The Human Migration: Homo Erectus and the Ice Age". Yahoo! Voices. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2013.
  • South East Asia Iron and Steel Institute (2009). "Japan-Vietnam alliance to advise high-speed railway project". Thanh Niên. South East Asia Iron and Steel Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2018. สืบค้นเมื่อ 16 October 2018.
  • Vietnam General Statistics Office (2009b). "Migration and Urbanization in Vietnam: Patterns, Trends and Differentials" (PDF). Vietnam Population and Housing Census 2009. United Nations Population Fund Vietnam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 January 2019.
  • CNRS (2010). "2010 Fields Medal awarded to mathematician Ngô Bao Châu". Centre national de la recherche scientifique. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2018.
  • Intellasia (2010). "Huge hydro plant starts operation in Vietnam, says official". Intellasia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2011.
  • Vandemoortele, Milo; Bird, Kate (2010). "Viet Nam's Progress on Economic Growth and Poverty Reduction: Impressive improvements". Development Progress Stories. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2011 – โดยทาง Overseas Development Institute.
  • Vandemoortele, Milo (2010). "The MDG fundamentals: improving equity for development". ODI Briefing Papers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2010 – โดยทาง Overseas Development Institute.
  • Karmel, Roberta S. (2010). "The Vietnamese Stock Market" (PDF). Financial Women's Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2010.
  • Koppes, Steve (2010). "Ngô Bao Châu receives Fields Medal, highest honor in mathematics". University of Chicago. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2018.
  • OpenNet Initiative (2012). "Country Profiles [Vietnam]". OpenNet Initiative.
  • UNESCO Intangible Cultural Heritage (2012). "Worship of Hùng kings in Phú Thọ". Intangible cultural heritage. UNESCO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2018.
  • World Bank (2013). "School enrollment, primary (% net)". World Bank.
  • Bielefeldt, Heiner (2014). "Press Statement on the visit to the Socialist Republic of Viet Nam by the Special Rapporteur on freedom of religion or belief". United Nations Special Rapporteur on Freedom of Religion or Belief. Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2018.
  • Hoang Vuong, Quan (2014). "Vietnam's Political Economy in Transition (1986–2016)". Stratfor.
  • Văn Phúc, Vũ (2014). "Reform policy of the Communist Party of Vietnam after nearly 30 years of renewal". Ministry of Culture and Information (Vietnam). Communist Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2018.
  • UNICEF (2015). "Viet Nam [Sanitation]". UNICEF.
  • Waitemata District Health Board (2015). "Vietnamese Culture" (PDF). Waitemata District Health Board, New Zealand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 January 2019.
  • World Bank (2015). "Progression to secondary school (%)". World Bank.
  • Chonchirdsin, Sud (2016). "Mythical creatures in Vietnamese culture". British Library.
  • Hoang, Hai (2016). "[Listing Note] Riding the boom of passenger traffic growth" (PDF). Airports Corporation of Vietnam (ACV). Viet Capital Securities. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 October 2018.
  • Index Mundi (2016). "Vietnam – Improved water source (% of population with access)". Index Mundi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • UNESCO Media Services (2016). "ASEAN Economic Community likely to spur scientific co-operation, says report". UNESCO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2018.
  • Vietnam National Space Centre (2016). "History of Establishment and Development [The period of 2016–2020]". Vietnam National Space Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2018.
  • World Bank (2016b). "Life expectancy at birth, male (years)". World Bank.
  • World Bank (2016c). "Life expectancy at birth, female (years)". World Bank.
  • Gallop, Annabel (2017). "Vietnam and Dragons". British Library.
  • Electricity of Vietnam (2017). "Vietnam Electricity [Annual Report]" (PDF). Electricity of Vietnam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 October 2018.
  • Oxford Business Group (2017). "Operators in Vietnam bolster infrastructure and introduce new products and services in telecoms sector". Oxford Business Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2019.
  • United Kingdom Department for International Trade (2017). "Vietnam Water Sector Briefing" (PDF). United Kingdom Department for International Trade. British Business Group Vietnam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 January 2019.
  • Vietnam Academy of Science and Technology (2017). "Recent development and implementation plan 2017–2022 of Vietnam Space Center Project". Vietnam Academy of Science and Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2018.
  • World Bank (2017). "Mortality rate, infant (per 1,000 live births)". World Bank.
  • Datta, Ajoy; Mendizabal, Enrique (2018). "Political and economic transition in Vietnam and its impact on think tank traditions". Medium.
  • Communist Party of Vietnam Online Newspaper (2018). "Vietnamese women in Romania mark International Women's Day". Communist Party of Vietnam Online Newspaper.
  • Formula One (2018). "Vietnam to host Formula 1 Grand Prix from 2020". Formula One.
  • History (2018). "U.S. withdraws from Vietnam [1973]". History.
  • Human Development Report (2018). "Human Development Indices and Indicators" (PDF). Human Development Report. United Nations Development Programme. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 October 2018.
  • Index Mundi (2018). "Waterways [km]". Index Mundi.
  • Dallek, Matthew (2018). "How the Tet Offensive Shocked Americans into Questioning if the Vietnam War Could be Won". History.
  • SM Entertainment Group (2018). "SM ENTERTAINMENT Signs MOU for Strategic Alliance and Collaboration with IPP Group, Vietnam's Largest Retail & Lifestyle Company". SM Entertainment Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2019.
  • United Nations Development Programme (2018). "Viet Nam: Mine Action Project launched with support from Korea". United Nations Development Programme. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  • University of Technology Sydney (2018). "Hundreds of Vietnamese children access safe water". University of Technology Sydney. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2019.
  • Vietnam News Agency (2018). "China tops Vietnam's list of importers". VEN.vn.
  • World Bank (2018a). "Prevalence of HIV, total (% of population ages 15–49)". World Bank.
  • World Bank (2018b). "Urban population (% of total)". World Bank.
  • World Bank (2018c). "GINI index (World Bank estimate)". World Bank.
  • Agent Orange Record. "Dealing With the Damage". Agent Orange Record. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2018.
  • Cultural Orientation Resource Centre. "The Montagnards – Culture Profile [Language and Literacy]" (PDF). Cultural Orientation Resource Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 October 2018.
  • Embassy of Vietnam in USA. "Government Structure". Embassy of the Socialist Republic of Vietnam in the United States of America.
  • International Monetary Fund. "World Economic Outlook Database, October 2020". International Monetary Fund.
  • International Olympic Committee (2018). "Vietnam". International Olympic Committee.
  • Montagnard Human Rights Organisation. "Under South Vietnam Rule (1955–1975)". Montagnard Human Rights Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2012.
  • Reporters Without Borders. "Internet Enemies [Vietnam]". Reporters Without Borders. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2011.
  • Thi Anh, Do. "Flood in Vietnam". Asian Disaster Preparedness Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2018.
  • UNESCO Publishing. "UNESCO Science Report: towards 2030" (PDF). UNESCO.
  • UNICEF. "At a glance: Viet Nam [Statistics]". UNICEF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2008.
  • United Nations Department of Economic and Social Affairs. "Data Query". United Nations Department of Economic and Social Affairs.
  • United Nations Treaty Collection. "Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons [Vietnam]". United Nations Treaty Collection.
  • Vietnamese-American Association. "Lạc Long Quân & Âu Cơ" (PDF). Vietnamese-American Association of Raleigh, North Carolina. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 October 2018.
  • Vietnamese Waters Zone. "Catches by Taxon in the waters of Viet Nam". Sea Around Us.
  • Lowy Institute (2020). "Asia Power Index 2020 Edition | Vietnam". Lowy Institute.

เนื้อหาเสรี[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Vietnam profile จาก BBC News
  • Vietnam. The World Factbook. Central Intelligence Agency. (CIA)
  • Vietnam จาก UCB Libraries GovPubs
  • ประเทศเวียดนาม ที่เว็บไซต์ Curlie
  • Vietnam ที่ Encyclopædia Britannica
  • สังคมและวัฒนธรรมของเวียดนาม
    Wikimedia Atlas of Vietnam
  • Key Development Forecasts for Vietnam จาก International Futures

รัฐบาล[แก้]

  • Portal of the Government of Vietnam เก็บถาวร 2020-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม – เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาเวียดนาม)
  • National Assembly – the Vietnamese legislative body
  • General Statistics Office
  • Ministry of Foreign Affairs
  • Chief of State and Cabinet Members เก็บถาวร 2020-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

สื่อและการเซ็นเซอร์[แก้]

  • Robert N. Wilkey. "Vietnam's Antitrust Legislation and Subscription to E-ASEAN: An End to the Bamboo Firewall Over Internet Regulation?" The John Marshall Journal of Computer and Information Law. Vol. XX, No. 4. Summer 2002. Retrieved 16 February 2013.

การท่องเที่ยว[แก้]

  • Official tourism website

วัฒนธรรมของประเทศเวียดนามมีอะไรบ้าง

ศิลปวัฒนธรรม ของเวียดนามส่วนใหญ่มีอิทธิพลของจีนและฝรั่งเศสผสมผสาน โดยมีเทศกาลที่สำคัญๆ ได้แก่ เทศกาลเต็ด หรือ ตรุษญวน เป็นเทศกาลสำคัญทางศาสนา เรียกว่า "เต็ดเหวียนดาน" หมายถึง เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื้อ และศาสนาพุทธ

เวียดนามเป็นสังคมแบบใด

เวียดนามปกครองโดยระบอบสังคมนิยมมีระบบพรรคเพียงพรรคการเมืองเดียว คือพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม โดยในมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ฉบับปี 1992 กำหนดว่า “พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเป็นพลังนำของรัฐและสังคม” โดยมีเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้นำสูงสุด และมีคณะกรมการเมืองซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำของพรรคที่มีบทบาท ...

เพราะเหตุใดประเทศเวียดนามจึงมีลักษณะทางสังคมเหมือนประเทศจีน

ไม่เพียงแต่เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีเขตแดนติดกัน เวียดนามและยังจีนมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาอย่างยาวนาน เพราะชาวเวียดนามเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จีนเป็นเวลานานถึงสองพันปี และนั่นทำให้เวียดนามได้รับอิทธิพลจากจีนทั้งทางวัฒนธรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม รวมถึงการปกครองการเมืองระบอบคอมมิวนิสต์ ที่ทำให้ทั้งสองประเทศมี ...

เวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากประเทศอะไร

การศึกษาลักษณะภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเวียดนามที่ได้รับอิทธิพลมาจากการปกครองของจีนและฝรั่งเศส โดยศึกษา จากงานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลโดยการสำรวจและการสังเกต พบว่า เวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของจีน มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (140-86 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จนถึงช่วงของจักรพรรดิซาลองและจักรพรรดิหมินหมั่ง เวียดนาม