ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล

ไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่แน่นอน เพื่อที่จะให้มนุษย์ตระหนักถึงกรรมดีและกรรมชั่วและพบกับความสุขไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน โดยในตอน มนุสสภูมิ นี้ก็ได้กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ที่อธิบายโดยใช้หลักความเชื่อทางพุทธศาสนามาอธิบายจึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มีความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ จากที่ครั้งก่อนเราได้เรียนเรื่องนี้กันไปแล้วในส่วนของที่มาและความสำคัญและเนื้อเรื่องย่อ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เพิ่มเติมแต่เป็นเรื่องของตัวบทเพื่อถอดคำประพันธ์ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย

ตัวบทเด่น ๆ ในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ

 

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล
ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล

 

ถอดความ

เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริ่มเป็นเซลล์ โดยอธิบายว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชายหรือหญิง ก็จะเริ่มจากการเป็นกลละ แล้วโตขึ้นทีละน้อย เมื่อถึง 7 วันเป็นดังน้ำล้างเนื้อเรียกว่า อัมพุทะ เมื่ออัมพุทะโตขึ้นจนถึง 7 วันก็จะข้นเหมือนตะกั่วที่เชื่อมอยู่ เรียกว่า เปสิ และอีก 7 วันถัดมาก็จะแข็งเหมือนไข่ไก่ เรียกว่าฆนะ

 

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล
ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล

 

ถอดความ

พูดถึงการกำเนิดมนุษย์ในครรภ์เมื่อผ่านไปแล้ว 28 วันนับจากเมื่อครั้งยังเป็นกลละ อัมพุทะ เปสิ ฆนะ ถัดมาตัวอ่อนจะมีตุ่มออกมา 5 แห่งเหมือนหูดเรียกว่า เบญจสาขาหูด หูดนั้นจะกลายเป็น มือ 2 ข้าง เท้า 2 ข้าง และศีรษะอีก 1 และค่อย ๆ ขยาย เติบโตไปเรื่อย ๆ กระทั่ง 7 วันผ่านไปก็จะกลายเป็นฝ่ามือ มีนิ้วมือ ต่อจากนั้นไปจนครบ 42 วัน จึงจะมีผม ขน เล็บมือ เล็บเท้า ครบอวัยวะเป็นมนุษย์ทุกประการ

 

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล
ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล

 

ถอดความ

รูปของสัตว์เกิดในครรภ์มี 184 รูป คือส่วนกลาง (ตั้งแต่คอถึงสะดือ) มี 50 รูป รูปส่วนบน (ตั้งคอขึ้นไปจนถึงศีรษะ) มี 84 รูป รูปส่วนเบื้องต่ำ (ตั้งแต่สะดือถึงฝ่าเท้า) มี 50 รูป ซึ่งขณะอยู่ในครรภ์จะนั่งอยู่ตรงกลางท้องมารดา

 

คุณค่าใน ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ

 

ไตรภูมิพระร่วง เป็นงานประพันธ์ที่ถึงแม้จะแต่งเป็นร้อยแก้วในลักษณะความเรียง แต่ความงดงามของภาษาก็ไม่ได้แพ้บทประพันธ์อื่น ๆ เลย เพราะนอกจากจะโดดเด่นในด้านการใช้โวหารต่าง ๆ บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร อุปมาโวหาร วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังโดดเด่นอย่างมากในเรื่องของการสรรคำ

 

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล
ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล

 

ไม่เพียงแต่การสรรคำเท่านั้นที่โดดเด่นในเรื่อง แต่ยังมีเรื่องของการหลากคำที่เลือกใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียนคนละแบบเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ในด้านคำศัพท์ของผู้แต่งรวมถึงการซ้ำคำที่ปรากฏในเห็นในบทประพันธ์

 

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล
ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล

 

และที่สำคัญ วรรณคดีเรื่องนี้มีรสวรรณคดีอย่างพิโรธวาทัง ที่ใช้อธิบายถึงทารกขณะที่อยู่ในครรภ์ซึ่งเป็นที่คับแคบ ขยับไม่ได้ เหยียดมือหรือเท้าก็ไม่ได้ ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพและรับรู้ความยากลำบากภายในครรภ์ผ่านงานประพันธ์

 

คุณค่าด้านสังคม

มนุสสภูมิเป็นตอนที่พูดถึงการเกิดของมนุษย์ดังนั้นจึงมีความเชื่อเรื่องบุญกรรมไว้มากมาย สะท้อนถึงความเชื่อของคนไทยในยุคสมัยนั้น

ตัวอย่าง

สิ่งอาหารอันแม่กินเข้าไปนท้องนั้นไหม้และย่อยลง ด้วยอำนาจแห่งไฟธาตุอันร้อนนั้น ส่วนตัวกุมารนั้นบมิไหม้ เพราะว่าเป็นธรรมดาด้วยบุญกรรมนั้นจะเป็นคนแล จึงให้บมิไหม้บมิตาย

จากข้อความที่ยกมา คนไทยมีความเชื่อว่าเด็กที่อยู่ในท้องแม่ ต้องอยู่รวมกันอาหาร แต่ไม่ถูกย่อยไปด้วยเพราะมีบุญคอยหุ้มตัวเด็กไว้ นอกจากเรื่องบุญกรรมแล้วก็ยังมีเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับสวรรค์และนรกเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังที่เชื่อว่าในท้องของแม่มีลมแห่งกรรม พัดตัวเด็กให้กลับหัวให้อยู่ข้างล่างและให้เท้าชี้ขึ้นด้านบน เหมือนยมบาลจับข้อเท้าจะหย่อนลงไปในนรก หรือความเชื่อที่ว่าเด็กที่เกิดมาแล้วร้องไห้ เพราะมาจากนรก ส่วนเด็กที่ไม่ร้องไห้ เพราะมาจากสวรรค์

 

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล
ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล

โดยความเชื่อเรื่องบุญ กรรม นรก สวรรค์หรือการเวียนว่ายการเกิดของคนไทยนั้นมาจากการนับถือศาสนาพุทธนั่นเอง

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลังจากที่ได้ศึกษาตัวบทเด่น ๆ กันไปแล้ว ถึงแม้ว่าเนื้อหาจะได้เรียนกันไปแล้วในบทเรียนครั้งก่อน แต่การศึกษาตัวบทเด่น ๆ ก็ทำให้เราได้เห็นตัวบทประพันธ์และคำศัพท์รวมไปถึงสำนวนโบราณที่ไม่ค่อยได้เห็นกันอีกแล้วในปัจจุบัน นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ถึงคุณค่าทั้งสองด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านวรรณศิลป์หรือด้านสังคมที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดและความเชื่อของคนไทยอีกด้วย สุดท้ายนี้ก่อนจากกัน น้อง ๆ อย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียนและทำแบบฝึกหัดไปพร้อม ๆ กันชมคลิปสรุปความรู้ของครูอุ้มเพื่อทบทวนความเข้าใจของตัวเองกันด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล
ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล
ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

ดูคลิป

แนะนำ

แชร์

การใช้ should ในการสร้างประโยค

การใช้ should ในการสร้างประโยค เกริ่นนำ เกริ่นใจ เคยสงสัยมั้ยว่า ชีวิตนี้ของเราควรจะต้องทำอะไรบ้าง? ภาษาอังกฤษเองก็มีอะไรแบบนี้เหมือนกันนะเอาจริง จริง ๆ ทุกภาษาก็มีเหมือนกันนะแม่ที่หากเราต้องการที่จะแนะนำว่าใครควรทำหรือชักชวนเพื่อให้รู้จักมักคุ้นกับอะไรยังไงสักอย่างอย่างมีระบบเราก็จะมีชุดคำศัพท์ที่เรา “ควร” ที่จะใช้ และนั่น!! นำมาซึ่งเนื้อหาของเราในวันนี้ อย่างเรื่อง “ควร หรือ Should” ในโลกของภาษาอังกฤษกัน แก… เราควรไปทำผมใหม่ปะ? แก… เราว่าเราควรตั้งใจเรียนแล้วปะ? แก…

ประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่รักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูตัวอย่างประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions กันค่ะ ไปลุยกันเลย ตารางเปรียบเทียบประโยคก่อนเข้าสู่บทเรียน: คำถาม Wh-questions VS Yes-no Questions ประโยคคำถามแบบ Wh-question “what” ประโยคคำถามที่ใช้ would + Subject +like…

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล
ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล

โคลนติดล้อ บทความปลุกใจในรัชกาลที่ 6

เป็นที่รู้กันดีกว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ของเรานั้น ทรงโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ยังเยาว์ และเริ่มงานวรรณกรรมตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ทำให้มีผลงานในพระราชนิพนธ์มากมายหลายเรื่อง และแตกต่างกันออกไป ที่ผ่านมาน้อง ๆ คงจะได้เรียนมาหลายเรื่องแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับผลงานของพระองค์อีกเรื่องหนึ่ง แตกต่างจากเรื่องก่อน ๆ ที่เคยเรียนมาอย่างแน่นอน เพราะเรากำลังพูดถึงโคลนติดล้อ ผลงานในพระราชนิพนธ์ที่อยู่ในรูปแบบของบทความ จะมีที่มา มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันเลยค่ะ   ที่มาของ โคลนติดล้อ

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล
ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล

ความน่าจะเป็น

บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักกับ ความน่าจะเป็น ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น เช่นการทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ ความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็น (Probability)  เป็นจำนวนที่ใช้เพื่อบอกโอกาสที่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0 อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ จะมีค่าความน่าจะเป็นอยู่ระหว่าง 0 กับ 1

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล
ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล

แผนภูมิแท่ง และการเปรียบเทียบข้อมูล

บทความนี้จะพูดถึงการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิแท่งไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูล 2 จำนวน และ 3 จำนวน น้องๆจะสามารถนำข้อมูลที่สำรวจมาเขียนเป็นแผนภูมิแท่งได้และจะง่ายต่อการนำเสนอมากยิ่งขึ้น

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล
ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ แปล

Describing People: การบรรยายบุคคลในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการบรรยายลักษณะบุคคลเป็นภาษาอังกฤษกันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย!

ไตรภูมิพระร่วงตอนมนุสสภูมิกล่าวถึงเรื่องใด

มนุษย์เราควรทำความดีด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิเช่น การกตัญญูต่อมารดาผู้ให้กำเนิด การยึดมั่นในศีลธรรม รู้จักพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่โลภ ไม่มีกิเลสตัณหา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ฯลฯ ซึ่งหากเราทำได้เช่นนี้ ตัวเราและสังคมก็ย่อมมีแต่ความสงบสุข

ไตรภูมิพระร่วงมีความหมายว่าอย่างไร

2. ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่กล่าวถึงภพภูมิตามทัศนะพุทธ ปรัชญา ซึ่งมีเนื้อหาอธิบายเกี่ยวกับที่อยู่ ที่ตั้ง และการเกิดของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย มนุษย์ และเทวดา ซึ่งภพภูมิทั้งหมดนี้มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง และเขาพระสุเมรุนั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาลมีทิวเขาและทะเลล้อม

ไตรภูมิพระร่วงมีตอนอะไรบ้าง

เป็นวรรณกรรมศาสนาพุทธที่แต่งในสมัยสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1888 โดยพระราชดำริในพระมหาธรรมราชาที่ 1 รวบรวมจากคัมภีร์ในศาสนาพุทธ มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสัณฐานที่แบ่งเป็น 3 ส่วน หรือ ไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ

ใครคือผู้แต่งเรื่องไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ

ผู้แต่ง พระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือพญาลิไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย ที่มาของเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า ไตรภูมิกถา หรือเตภูมิกภา มีความหมายว่า เรื่องราว ของโลกทั้งสาม ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ