การเดินทางในนิราศเมืองแกลง

การถอดคำประพันธ์ ก็คือ การเรียบเรียง เก็บความจากคำประพันธ์มาเขียนใหม่เป็นภาษาร้อยแก้วที่สละสลวย โดยต้องคงเนื้อความเดิมไว้

โดยจุดประสงค์หลักก็คือ การถอดความตามเนื้อความเดิมจากที่อ่านคำประพันธ์นั่นเอง

ถ้าครูไกด์จะให้นักเรียนถอดนิราศเป็นตัวหนังสือ กับคำประพันธ์เยอะๆ ยาวๆ เด็กๆ เบื่อและคงง่วงแน่เลย เพราะว่าสุนทรภู่จะเดินทางไปถึงปลายทาง ก็ผ่านหลายที่ หลายวัน

#นิราศ ก็คือ การเดินทาง เอ๊ะ! การเดินทาง ก็ต้องเกี่ยวกับแผนที่ซิเนาะ

ครูไกด์เลย จับเอาแผนที่มาบูรณาการกับการถอดคำประพันธ์ซะเลย

เริ่มจาก....

  1. ให้นักเรียนอ่านคำประพันธ์ จับให้ได้ว่าสุนทรภู่เดินทางผ่านสถานที่ไหนบ้าง
  2. แต่ละสถานที่ สุนทรภู่กล่าวถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ มีอะไรบ้าง จดจำลักษณะเด่นไว้
  3. ร่วมกันทำแผนที่บนกระดานด้วยกัน โดยเส้นทางสายหลักก็คือ "แม่น้ำเจ้าพระยา"
  4. ติดบัตรภาพสถานที่สำคัญๆ ที่ถูกกล่าวถึงในนิราศภูเขาทอง

5.จากนั้นก็ถึงเวลาที่นักเรียนต้องลงมือวาดแผนที่ของตนเองแล้ว โดยให้คิดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง

6.อาจมีการใช้สัญลักษณ์สำคัญในแต่ละจุดที่ปรากฏในเรื่องด้วยนะ เช่น วัด วัง โรงเหล้า บ้านมอญ แล้วแต่นักเรียนจะสื่อความหมายได้เลย

๑ บอกจุดประสงค์ในการแต่งนิราศเมืองแกลงด้านประวัติ แสดงให้เห็น ถึงว่าสุนทรภู่อายุยังน้อย แต่ก็คงเป็นผู้ที่มีความสามารถ จึงมีผู้มาสมัครเป็นศิษย์และคงจะมีอายุไล่เลี่ยกัน

                       โอ้จำใจไกลนุชสุดสวาท        
                    จึงนิราศเรื่องรักเป็นอักษร

                    ให้เห็นอกตกยากเมื่อจากจร            
                    ไปดงดอนแดนป่าพนาวัน

                    กับศิษย์น้อยสองนายล้วนชายหนุ่ม 
                    น้อยกับพุ่มเพื่อนไร้ในไพรสัณฑ์

                    กับนายแสงแจ้งทางกลางอารัญ     
                    จะพากันแรมทางไปต่างเมือง

                                             (นิราศเมืองแกลง : ๘๑)

    ๒.   จุดมุ่งหมายในการแต่ง

        จุดมุ่งหมายในการแต่งนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ คือ สุนทรภู่คิดถึงบิดาและตั้งใจจะไปบวชบ้างก็ว่าตั้งใจจะไปบอกบิดาว่าตอนนี้กำลังจะเป็นฝั่งเป็นฝา และมีเรื่องเดือดร้อนให้ช่วย จากการเดินทางเมืองแกลงในครั้งนี้เป็นตอนที่สุนทรภู่มีความรักเป็นครั้งแรกและต้องพลัดพรากจากคนรักโดยที่ไม่ได้บอกลากับหญิงคนรักก็คือแม่จัน นั่นเอง

        .๑ สุนทรภู่คิดถึงบิดา ตั้งใจจะไปหาบิดา

                        มาพบพ่อท้อใจด้วยไกลแม่  
                   ให้ตั้งแต่เศร้าสร้อยละห้อยหา

                   ชนนีอยู่ศรีอยุธยา                       
                   บิดามาอ้างว้างอยู่กลางไพร

                   ภูเขาขวางทางกั้นอรัญเวศ         
                   ข้ามประเทศทุ่งท่าชลาไหล

                   เดินกันดารปานปิ้มจะบรรลัย      
                   จึงมาได้เห็นหน้าบิดาตัว

                   ท่านชูช่วยอวยพรให้ผ่องแผ้ว     
                   ดังฉัตรแก้วกางกั้นไว้เหนือหัว

                   อุตส่าห์ฝนไพลทารักษาตัว         
                   ค่อยยังชั่วมึนเมื่อยที่เหนื่อยกาย

                                            (นิราศเมืองแกลง : ๙๗)

    

        ๒.๒ จุดประสงค์ในการแต่งนิราศ

                         นิราศเรื่องเมืองแกลงแต่งมาฝาก   
                   เหมือนขันหมากมิ่งมิตรพิสมัย

                   อย่าหมางหมองข้องขัดตัดอาลัย  
                   ให้ชื่นใจเหมือนแต่หลังมั่งเถิดเอยฯ

                                            (นิราศเมืองแกลง : ๑๐๑)

       ๒.๓ สาเหตุที่สุนทรภู่จำต้องเดินทางจากนางอีกสาเหตุหนึ่ง 

นอกเหนือจากการต้องการไปเยี่ยมบิดา

                         ฉันพลัดพรากจากจรเพราะร้อนจิต   
                   ใช่จะคิดอายอางขนางหนี

                   ให้นิ่มน้องครองรักไว้สักปี                     
                   ท่านสุขีเถิดข้าขอลาไป

                                            (นิราศเมืองแกลง : ๘๒)

  ๓.   เนื้อเรื่องย่อ

        นิราศเมืองแกลงมีเนื้อหาเป็นช่วงชีวิตหนึ่งของสุนทรภู่ เป็นตอนที่มีความรักครั้งแรกและต้องพลัดพรากจากคนรัก การคร่ำครวญ

ความรักในนิราศจึงแสดงถึงความทุกข์ ความห่วงใย ความอาลัย

ของการพลัดพรากจากคนรักโดยมีเนื้อเรื่องย่อดังนี้

        นิราศเมืองแกลงมีเรื่องราวเกี่ยวกับสุนทรภู่เดินทางไปเยี่ยมบิดาซึ่งบวชอยู่ที่ตำบลบ้านกร่ำอำเภอแกลงจังหวัดระยองนิราศเรื่องนี้สุนทรภู่ได้เริ่มต้นโดยการกล่าวพรรณนาความน้อยใจที่มีคนรัก

แต่ไม่ได้อยู่ใกล้กัน(คือแม่จันภรรยาคนแรกของสุนทรภู่)การจากนางไปในครั้งนี้ยังไม่ทันได้ล่ำลาใดๆทั้งนั้น การเดินทางไปเมืองแกลง

ในครั้งนี้มีผู้ร่วมเดินทางไปด้วยเป็นศิษย์ ๒ คน คือ น้อยกับพุ่ม 

และนายแสงซึ่งเป็นคนนำทางลงเรืออกจากกรุงเทพฯ(ออกจากพระราชวังหลัง) ล่องตามแม่น้ำเจ้าพระยา คลองสำโรง คลองหัวตะเข้ ออกแม่น้ำบางปะกงขึ้นบกที่บางปลาสร้อย หนองมน บางพระ ศรีราชา ทุ่งสาขลา บางละมุง ทุ่งพัทยา ห้วยอีร้า ห้วยโป่ง ห้วยพร้าว สุนักข์กะบาก บ้านทับม้า ระยอง บ้านแลง คลองกรุ่น บ้านแกลง ชายทะเลแหลมทองหลวง ชะวาลาวน และถึงที่หมายปลายทาง

นั่นก็คือบ้านกร่ำ นิราศเมืองแกลงมีเนื้อหาเป็นช่วงชีวิตหนึ่งของ
สุนทรภู่เป็นตอนที่มีความรักครั้งแรกและต้องพลัดพรากจากคนรัก การคร่ำครวญความรักในนิราศจึงแสดงถึงความทุกข์ความห่วงใย ความอาลัยของการพลัดพรากจากคนรัก


        ๓.๑ ข้อสันนิษฐานในช่วงต้นเรื่อง

                    โอ้สังเวชวาสนานิจจาเอ๋ย

               จะมีคู่มิได้อยู่ประคองเชย             
               ต้องละเลยดวงใจไว้ไกลตา

               ถึงทุกข์ใครในโลกที่โศกเศร้า      
               ไม่เหมือนเราภุมรินถวิลหา

               จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา     
               ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน

               โอ้จำใจไกลนุชสุดสวาท              
               จึงนิราศเรื่องรักเป็นอักษร

               ให้เห็นอกตกยากเมื่อจากจร         
               ไปดงดอนแดนป่าพนาวัน

               กับศิษย์น้องสองนายล้วนชายหนุ่ม 
               น้อยกับพุ่มเพื่อนไร้ในไพรสัณฑ์

               กับนายแสงแจ้งทางกลางอรัญ     
               จะพากันแรมทางไปกลางเมือง

                                           (นิราศเมืองแกลง : ๘๑)

        ๓.๒ การเดินทางในครั้งนี้สุนทรภู่ไม่ได้บอกกล่าวกับแม่จัน

                     ขออารักษ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สิงศาล  
                ลือสะท้านอยู่ว่าเจ้าห้าวกำแพง

                ข้าจะไปทางไกลถึงเมืองแกลง       
                เจ้าจงแจ้งใจภัคนีที

                ฉันพลัดพรากจากจรเพราะร้อนจิต  
                ใช่จะคิดอายอางขนางหนี

                ให้นิ่มน้องครองรักไว้สักปี               
                ท่านสุขีเถิดข้าขอลาไป

                                            (นิราศเมืองแกลง : ๘๒)

        ๓.๓ สะท้อนถึงความกังวลเรื่องความรักกับแม่จัน

                     จึงหลีกตัวกลัวบุญคุณบิดา            
                ไปแรมป่าปิ้มชีวันจะบรรลัย

                                            (นิราศเมืองแกลง : ๑๐๑)

        ๓.๔ มีการฝากน้องและมารดากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์

                     ขออารักษ์หลักประเทศนิเวศน์วัง 
                 เทพทั้งเมืองฟ้าสุราลัย

                 ขอฝากน้องสองรามารดาด้วย             
                 เอ็นดูช่วยปกครองให้ผ่องใส

                                            (นิราศเมืองแกลง : ๘๑)

        ๓.๕ เดินทางผ่านคลองสำโรง

                     พอแจ่มแจ้งแสงเงินเงาระยับ   
                 ดาวเดือนดับเด่นดวงพระสุริย์ใส

                 ถึงปากช่องคลองสำโรงสำราญใจ    
                 พอน้ำไหลขึ้นเช้าก็เข้าคลอง

                                            (นิราศเมืองแกลง : ๘๒)

      

         ๓.๖ เดินทางผ่านคลองหัวตะเข้

                     ระหริ่งเรื่อยเฉื่อยเสียงเรไรไพร  
                 ฤทัยไหวแว่วว่าพะงางาม

                 ถึงชะแวกแยกคลองสองชะวาก           
                 ข้างฝั่งฟากหัวตะเข้มีมะขาม

                                           (นิราศเมืองแกลง : ๘๔)

        .๗ เดินทางผ่านหนองมน

                     ริมทางเถื่อนเรือนเหย้ามีรายราย
                 เห็นฝูงควายปล่อยเกลื่อนอยู่กลางแปลง

              ถึงหนองมนมีตำบลชื่อบ้านไร่    
              เขาถากไม้ทุกประเทศทุกเขตแขวง

                                           (นิราศเมืองแกลง : ๘๘)

        ๓.๘ เดินทางผ่านบางละมุง

                     ออกพ้นย่านบ้านบางละมุงไป   
                ค่อยคลายใจจรเลียบชลามา

                ในกระแสแลล้วนแต่โป๊ะล้อม        
                ลงอวนอ้อมโอบสกัดเอามัจฉา

                                            (นิราศเมืองแกลง : ๙๐)

        ๓.๙ เดินทางผ่านทุ่งพัทยา

                   ออกชะวากปากทุ่งพัทยา        
                นายแสงพาเลี้ยวหลงที่วงเวียน

                บุกละแวกแฝกแขมที่แอร่มรก     
                กับกอกกสูงสูงเสมอเศียร

                                            (นิราศเมืองแกลง : ๙๐)

        ๓.๑๐ เดินทางผ่านห้วยอีร้า

               ถึงห้วยอีร้าแลระย้าล้วนสายหยุด      
               ดอกนั้นสุดที่จะดกดูไสว

               กะมองกะเมงนมแมวเป็นแถวไป    
               ล้วนลูกไม้กลางป่าทั้งหว้าพลอง

                                           (นิราศเมืองแกลง : ๙๓)

        ๓.๑๑ เดินทางผ่านห้วยโป่ง

                  ถึงห้วยโป่งเห็นธารละหานไหล 
               คงคาใสปลาว่ายคล้ายคล้ายเห็น

               มีกรวดแก้วแพรวพรายรายกระเด็น   
               บ้างแลเห็นเป็นสีบุษราคัม

                                           (นิราศเมืองแกลง : ๙๓-๙๔)

        ๓.๑๒ เดินทางผ่านห้วยพร้าว

                 ถึงห้วยพร้าวเท้าเมื่อยออกเลื่อยล้า  
               เห็นผิดฟ้าฝนย้อยลงหยิมหยิม

               สุริย์ฉายบ่ายเยื้องเมืองประจิม          
               อุระปิ้มศรปักสลักทรวง

                                           (นิราศเมืองแกลง : ๙๔)

        ๓.๑๓ เดินทางผ่านระยอง

                  แล้วชวนสองน้องรักร่วมชีวิต     
               ให้เปลี่ยวจิตไม่แจ้งรู้แห่งหน

               จากระยองย่องตามกันสามคน         
               เลียบถนนคันนาป่ารำไร

                                           (นิราศเมืองแกลง : ๙๕)

        ๓.๑๔ เดินทางผ่านบ้านแลง

                  เขาชี้นิ้วแนะทิวหนทางไป          
               ประจักษ์ใจจำแน่ดำเนินมา

               ถึงบ้านแลทางแห้งเห็นทุ่งกว้าง     
               เฟือนหนทางทวนทบตลบหา

                                           (นิราศเมืองแกลง : ๙๕)

        ๓.๑๕ เดินทางผ่านบ้านแกลง

                  ถึงบ้านแกลงลัดบ้านไปย่านกลาง     
               เห็นฝูงนางสานเสื่อเห็นเหลือใจ

               แต่ปากพลอดมือสอดขยุกขยิก             
               จนมือหงิกงอแงไม่แบได้

                                           (นิราศเมืองแกลง : ๙๖)

        ๓.๑๖ เดินทางถึงบ้านกร่ำ

                  ถึงหย่อมย่านบ้านกร่ำพอค่ำพลบ         
               ประสบพบเผ่าพงศ์พวกวงศา

               ขึ้นกระฎีที่สถิตท่านบิดา                   
               กลืนน้ำตาก็ไม่ฟังเฝ้าพรั่งพราย

                                           (นิราศเมืองแกลง : ๙๗)

  ๔.    คุณค่า

        ๔.๑ คุณค่าด้านวรรณศิลป์

           ๔.๑.๑ การดำเนินเรื่องมีความเร้าใจให้ผู้อ่านสนใจติดตามไปตลอดเรื่อง การดำเนินเรื่องจะบรรยายไปตามระยะเวลา

ของการเดินทาง กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สภาพชีวิต

ความเป็นอยู่ของผู้คนที่พบเห็นวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ธรรมชาติที่พบเห็น สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ และยังได้สอดแทรกคติธรรม ทำให้ผู้อ่านติดใจในถ้อยคำ

ที่บรรยายธรรมชาติที่งดงาม ในนิราศเรื่องนี้ใช้ความรัก

ความอาลัยเป็นแก่นเรื่องเพื่อสร้างเรื่องให้งดงามสะเทือนอารมณ์


                     ตัวอย่าง

                    ๑.) สภาพชีวิตความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพ

                            อันพวกเขาชาวประมงไม่โหยงหยิบ 
                       ล้วนตีนถีบปากกัดขัดเขมร

                       จะได้กินข้าวเช้าก็ราวเพล             
                       ดูจัดเจนโลดโผนในโคลนตม

                       จึงมั่งคั่งตั้งบ้านในการบาป           
                       แต่ต้องสาปเคหาให้สาสม

                       จะปลูกเรือนก็มิได้ใส่ปั้นลม          
                       ใครขืนทำก็ระทมด้วยเพลิงลาม

                                                   (นิราศเมืองแกลง : ๘๗)

                  ๒.) อารมณ์ความรู้สึกอันรุนแรงด้วยการกล่าวให้เกิดความสะเทือนใจ หรือเกิดความรู้สึก

                            เห็นทิวทุ่งวุ้งเวิ้งให้หวั่นหวาด  
                       กัมปนาทเสียงนกวิหคโหย

                       ไหนจะต้องละอองน้ำค้างโปรย      
                       เมื่อลมโชยชื่นนวลจะชวนเชย

                       โอ้นึกนึกแล้วก็น่าน้ำตาตก             
                       ด้วยแนบอกมิได้แนบแอบเขนย

                       ได้หมอนข้างต่างน้องประคองเกย  
                       เมื่อไรเลยจะได้คืนมาชื่นใจ ฯ

                                                     (นิราศเมืองแกลง : ๘๕)         

                  ๓.) แสดงอารมณ์สะเทือนใจของกวี ให้เห็นถึงทุกข์
อันเกิดจากการพลัดพรากจากคนรัก

          โอ้สังเวชวาสนานิจจาเอ๋ย
     จะมีคู่มิได้อยู่ประคองเชย       
     ต้องละเลยดวงใจไว้ไกลตา

      ถึงทุกข์ใครในโลกที่โศกเศร้า  
      ไม่เหมือนเราภุมรินถวิลหา

      จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา  
      ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน

                                   (นิราศเมืองแกลง : ๘๑)

                ๔.๑.๒ ลักษณะคำประพันธ์ นิราศเมืองแกลงแต่งเป็นกลอน เลือกใช้ถ้อยคำที่มีสัมผัสเพื่อให้กลอนมีความไพเราะความสำคัญ
ของนิราศอยู่ที่อารมณ์สะเทือนใจ แนวนึกคิดของกวีที่แสดงออก
ในนิราศดีเด่นประทับใจผู้อ่าน ทำให้กลอนเกิดเสียงเสนาะ

                     ตัวอย่าง

                     ๑.) ความสะเทือนใจของกวีที่เกิดจากการสัมผัสสิ่งต่างๆ ทำให้เกิดอารมณ์และถ่ายทอดออกมา

                           ถึงอารามนามชื่อวัดดอกไม้    
                      คิดถึงไปแนบทรวงดวงสมร

                      หอมสุคนธ์เคียงกายขจายจร             
                      โอ้ยามนอนห่างนางระคางคาย

                                                      (นิราศเมืองแกลง : ๘๒)

               ๔.๑.๓ การใช้ถ้อยคำ ที่สั้นและง่ายทำให้ความกระชับ
และให้ภาพเด่นชัดใช้เสียงของถ้อยคำให้เกิดอารมณ์ได้อย่างวิเศษ การเล่นคำ พลิกแพลงคำ ใช้คำพ้องรูป พ้องเสียง เพื่อให้การใช้เสียงอ่อนหวานเสนาะหู การซ้ำเสียง การใช้โวหาร เป็นการสื่อสารที่กระทบอารมณ์ผู้อ่านได้อย่างลึกซึ้ง

นิราศเมืองแกลงเดินทางผ่านสถานที่ใดบ้าง

คราวนี้เรามาติดตามอ่านนิราศเมืองแกลง ฉบับเต็ม ที่ท่านสุนทรภู่ ได้พรรณนาถึงการเดินทางไปบ้านกร่ำเมืองแกลง ผ่านสถานที่ต่างๆ มากมาย โดยล่องเรือไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา ลัดเลาะคลองบางนาไปออกมาแม่น้ำบางปะกงแล้วลงสู่ทะเล เลียบริมทะเลไปขึ้นฝั่งที่บริเวณหาดบางแสน จากนั้นจึงเดินเท้าต่อ สุนทรภู่ได้แวะพักที่บ้านขุนรามอยู่เป็นหลายวัน ...

การไปเมืองแกลงของนายภู่มีวิธีเดินทางอย่างไร

นิราศเมืองแกลง สุนทรภู่ออกเดินทางจากกรุงเทพฯไปเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลง ไปทางเรือเมื่อ เดือน ๗ มีลูกศิษย์เดินทางมาด้วย ๒ คน คือนายน้อยและนายพุ่ม และมีนายแสงชาวเมืองระยองขอร่วม เดินทางไปด้วย และช่วยน าทางให้ สุนทรภู่ออกเดินทางจากคลองส าโรง ปากลัด บ้านบางระจ้าว คลอง จระเข้ บางมังกร(บางปะกง)ขึ้นบกที่บางปลาสร้อย จังหวัด ...

เหตุใดสุนทรภู่จึงเดินทางไปยังเมืองแกลง *

แต่เจ้านายท่านใดใช้ไป และไปธุระเรื่องใดไม่ปรากฏ อย่างไรก็ดีสุนทรภู่ได้เดินทางเลยไปถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า ๒๐ ปี ในช่วงที่สุนทรภู่พักที่บ้านกร่ำนั้นเกิดล้มป่วยและเจ็บหนักเกือบถึงชีวิตกว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ก็ล่วงถึงเดือน ๙ ปี พ.ศ. ๒๓๔๙

นิราศเมืองแกลงให้ข้อคิดอะไร

บทประพันธ์ของสุนทรภู่สอนให้ตระหนักถึงความสาคัญของการพูด คาพูดนับเป็น สิ่งสาคัญที่จะสร้างมิตรและก่อศัตรูให้เราได้ อีกทั้งยังเป็นเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น หากเราจะรู้จักใช้ ถ้อยคาให้ถูกต้อง เหมาะสม เช่น ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทาลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา (นิราศภูเขาทอง) การสอน ...