ภาพถ่ายทางอากาศประเภทนี้มักจะใช้ในการสำรวจเส้นทางถนนหรือรถไฟ

การเริ่มงานทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศภายหลังการถ่ายรูปทางอากาศบริเวณจังหวัดสุรินทร์แล้วประมาณ ๒๐ ปี จึงได้มีการนำเรื่องการทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศ เสนอต่อกระทรวงมหาดไทย โดยกรมที่ดินได้เสนอนโยบายเร่งรัดการทำแผนที่รังวัดที่ดิน แต่เกิดสงครามเสียก่อน ครั้นเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ กรมที่ดินจึงได้ยกเรื่องขึ้นพิจารณาอีกครั้ง แล้วเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย และคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ ทางกรมแผนที่ก็ได้เสนองบประมาณการทำแผนที่ไปด้วย เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ คณะรัฐมนตรีเห็นว่า การทำแผนที่ของทั้ง ๒ กระทรวงมีความมุ่งหมายคล้ายคลึงกัน จึงได้มอบให้เจ้ากรมแผนที่ทหารบก ขณะนั้น คือ พล.ต.พระวิภัติภูมิประเทศ เป็นเจ้าของเรื่อง พิจารณาร่วมกับผู้แทนกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตร และกระทรวงคมนาคม ประชุมตกลงให้จัดตั้งองค์การทำแผนที่ จากรูปถ่ายทางอากาศขึ้น โดยมี พล.ท.พระยาศัลวิธานนิเทศ เป็นประธาน รัฐบาลอนุมัติให้จัดตั้งองค์การนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ และได้อนุมัติให้เป็นกรมการแผนที่รูปถ่ายทางอากาศเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ เจ้าหน้าที่ในขณะนั้น เป็นผู้สำเร็จปริญญาตรี จากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ที่เกษียณอายุจากกรมแผนที่ ที่ยังมีร่างกายกำลังแข็งแรง มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์อย่างดีจากงานทำแผนที่ เป็นผู้ดำเนินงาน

การทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศ มีทั้ง งานบินถ่ายรูปและงานทำแผนที่ งานบินถ่ายรูป แต่เดิมเป็นหน้าที่ของกรมอากาศยาน ซึ่งภายหลัง เป็นกองทัพอากาศ เมื่อเป็นกรมการแผนที่รูปถ่าย ทางอากาศแล้ว ก็มีเครื่องบินเฉพาะงานนี้ แต่ให้กองทัพอากาศดำเนินการ ใช้นายทหารและเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศทั้งสิ้น ส่วนงานอื่นเป็นหน้าที่ ของกรมการแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ

ระหว่างที่เป็นองค์การได้ทำงานชิ้นแรก เป็นงานสำรวจทำแผนที่เพื่อใช้ในการสร้างทางรถไฟ พื้นที่บริเวณที่จะสร้างทางรถไฟยังไม่มีการสำรวจ แผนที่ภูมิประเทศ อันดับแรกจึงต้องทำการสำรวจ ทำแผนที่ภูมิประเทศ บริเวณแนวทางที่จะสร้างทางรถไฟ ตามระบบกระบวนการสำรวจ ทางรถไฟที่จะสร้างนี้ คือ สายแก่งคอยไปบัวใหญ่ เป็นโอกาสดีที่องค์การฯ ได้ทำงานสำรวจโดยใช้รูปถ่าย ทางอากาศ ซึ่งเป็นความประสงค์ของทางการ รถไฟ เพราะจะได้ผลงานเร็ว และไม่สิ้นเปลือง ไปกว่าการสำรวจทางพื้นดิน ทางการรถไฟมีเงิน สำหรับการนี้ จึงได้ตกลงคัดเลือกให้บริษัท ฮันติง แอโร เซอร์เวย์ (Hunting Aero Servey) รับเหมา สำรวจถ่ายรูปทางอากาศ ส่วนองค์การฯ จัดหาคน ทำงานประกอบทางพื้นดิน บริษัทนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศอังกฤษ เป็นบริษัทมีชื่อเสียง และความสามารถดี เคยทำงานสำรวจทางอากาศ ในพม่า อินเดีย มาเลเซีย และทางตะวันออกกลาง รวมหลายแห่ง ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทมี อุปกรณ์สำหรับทำงานโฟโตแกรมเมตรีครบถ้วน ตั้งแต่เครื่องบินทำการบินถ่ายภาพตลอดไปจนถึง การรวบรวมเขียนรายละเอียดแผนที่ ในการเขียนรายละเอียดแผนที่ เขาใช้เครื่องออโทกราฟ แบบวิลด์ เอ ๕ (Autograph Wild A5) และเครื่องสเตอริโอ เรสติทิวเทอร์ แบบวิลด์ เอ ๖ (Stereorestituter Wild A6) ซึ่งมีอยู่หลายเครื่อง และเป็นเครื่องแบบเดียวกันกับของเรา ที่กำลังจะติดตั้งใช้ บริษัทได้ส่งเครื่องบินแบบเพอร์ซิวัล พรินซ์ (Percival Prince) และเจ้าหน้าที่เข้ามาทำการบินถ่ายภาพ และอัดล้างภาพที่องค์การฯ

ส่วนงานประกอบการทำแผนที่สำรวจทางพื้นดิน บริษัทได้ส่งผู้ดำเนินงานมาเพียง ๑ คน องค์การฯ ได้ช่วยหาช่างแผนที่และผู้ช่วยให้

งานนี้ได้ดำเนินไปโดยไม่มีอุปสรรคอย่างใด จนในที่สุดเป็นผลสำเร็จเสร็จสิ้น และใช้ในการ เลือกแนวเส้นทางวางราง และการรถไฟได้ดำเนินการไปจนบัดนี้ เสร็จเป็นทางรถไฟสายแก่งคอย- บัวใหญ่แล้ว

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ให้นายช่างของเขา เข้ามาประจำทำการฝึกสอนให้พนักงานของเรา เรียนใช้เครื่องอุปกรณ์เขียนแผนที่อย่างละเอียดมากนั้นด้วย โดยองค์การฯ จัดหาที่พักและค่าพาหนะ จากที่พักไป-มา ทำงานฝึกหัดพนักงานของเราให้ ผลที่สุดเราได้พนักงานที่สามารถทำงานใช้อุปกรณ์ อันละเอียดได้ และมีพื้นฐานความรู้ทางโฟโตแกรมเมตรีที่เกี่ยวข้อง

กรมชลประทานได้แจ้งความประสงค์จะได้ แผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศของพื้นที่หลายพันตารางกิโลเมตรทางภาคเหนือ ในพื้นที่บริเวณนี้ ยังไม่มีจุดหมุดหลักฐานที่โยงยึดจากหมุดหลักฐานการ สามเหลี่ยม ซึ่งต้องมีใช้ตามกระบวนการสำรวจแผนที่ภูมิประเทศมาตรฐาน โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศ เมื่อทางกรมชลประทานต้องการด่วน เพราะได้ กำหนดเวลาเริ่มงานสร้างเขื่อนไว้แล้ว และภายหลังที่ได้มีการพิจารณาปรึกษากันระหว่างบริษัท ที่ถ่ายรูปทางอากาศ และกรมชลประทาน แล้วตกลงให้ทำเป็นแผนที่รูปถ่ายโมเสก (mosaic) ใช้โยง ยึดต่อฐานสมมติทั้งพิกัดภูมิศาสตร์ และความสูง บรรดารายละเอียดที่เด่นชัดใช้โยงยึดกับพิกัดภูมิศาสตร์และความสูงสัมพันธ์กับมูลฐานที่สมมติใช้ บริษัทที่ทำงานนี้ เป็นบริษัทเดียวกันกับที่ทำแผนที่ทางอากาศให้แก่รถไฟแผ่นดิน เพื่อสร้างทางรถไฟสายแก่งคอย-บัวใหญ่

ยังมีงานอีกรายหนึ่งซึ่งเป็นงานสำรวจทาง ธรณีวิทยา ทางกรมการแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ ได้จัดให้บริษัทฮันติง แอโร เซอร์เวย์ จัดทำ ใช้วิธีแมกนิโตมิเตอร์ (magnitometer) พ่วงติดกับ เครื่องบินถ่ายเป็นครั้งแรกที่ใช้ในประเทศไทย

ภาพถ่ายทางอากาศประเภทนี้มักจะใช้ในการสำรวจเส้นทางถนนหรือรถไฟ
พลโท พระยาศัลวิธานนิเทศ ประธานคณะกรรมการ จัดตั้งองค์การทำแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ

นอกจากงานที่ทำให้แก่ ๓ สถาบันซึ่งได้ กล่าวมาแล้ว กรมการแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ ได้ทำงานร่วมกับทางฝ่ายสหรัฐอเมริกา แล้วงาน นั้นก็ติดตามไปอยู่ที่กรมแผนที่ ภายหลังที่ได้โอน งานไป

มีการลงนามในสัญญาลงวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่บัดนั้น สาระ สำคัญมีว่า ทางสหรัฐอเมริกาจะจัดการถ่ายรูป ทางอากาศประเทศไทยทั้งหมดให้ ส่วนงานทาง พื้นดินเป็นหน้าที่ของไทย

ทางสหรัฐอเมริกาได้ว่าจ้างบริษัทถ่ายรูป ที่มีชื่อเสียงดี เพื่อใช้ทำแผนที่ทางอากาศ ให้ เข้ามาทำการนี้ในนามของ บริษัทเวิรลด์ ไวด์ เซอร์เวย์ (World Wide Survey; WWS) ซึ่งเป็นบริษัทที่ ตั้งขึ้นโดยร่วมทุนกันระหว่างบริษัทแฟร์ไชลด์ แอเรียล เซอร์เวย์ (Fairchild Aerial Survey) ซึ่งมี สำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอสแองเจลีส (Los Angeles) และบริษัทแอโร เซอร์วิซ คอร์ปอเรชัน (Aero Service Corporation) สำนักงานใหญ่อยู่ที่ฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia) ใช้เครื่องถ่ายแบบแฟร์ไชลด์ (Fair- child) และเครื่องบินโบอิง ๑๗ (Boeing 17) และ ภายหลังใช้บีชคราฟต์ (Beechcraft) ในการดำเนิน งาน ใช้สำนักงานที่ถนนราชดำเนินนอก บริษัท นี้ได้ถ่ายตั้งแต่เหนือลงมาใต้ทั้งหมดถึงละติจูด ๑๑ ํ ๔๕' ในชั่วเวลาไม่นาน ส่วนบริเวณใต้ละติจูด ๑๑ ํ ๔๕' ลงไป สภาพดินฟ้าอากาศไม่อำนวย ไม่สามารถถ่ายรูปได้ ต่อมาได้มีข้อตกลงกับทาง สหรัฐฯ ที่จะรวบรวมเขียนแผนที่และพิมพ์ขึ้นเป็น แผ่นแผนที่ใช้ระวางขนาด ๑๐ x ๑๕ แทนที่จะ เป็น ๑๐ ํ x ๑๐ และให้ใช้อักษรทั้งไทยและอังกฤษ ทางสหรัฐฯ เป็นฝ่ายรวบรวมเขียนรายละเอียดใน แผนที่ และจัดพิมพ์ขึ้นก่อน เพราะมีเครื่องมือ เครื่องใช้บริบูรณ์ ฝ่ายเราต้องรวบรวมข้อมูลที่ ต้องใช้ส่งไปให้ ในการนี้ทางกรมแผนที่ได้ส่ง นายทหารไปประจำกับทางฝ่ายสหรัฐฯ เป็นผู้ ประสานงานเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว โดย ไปประจำอยู่คราวละ ๑ ปี แล้วส่งคนใหม่ไปแทน บางทีก็ต้องส่งไป ๒ คน ไปประจำทำหน้าที่ประสานงานที่วอชิงตันด้วยอีกคนหนึ่ง เริ่มส่งไปคน แรก ๑ คน ที่หน่วยบริการแผนที่กองทัพบกสหรัฐฯ แห่งตะวันออกไกลเมืองโตเกียว (U.S. Army Map Service, Far East Tokyo) ประเทศญี่ปุ่น ใน พ.ศ. ๒๔๙๘ และเลิกส่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕

งานบินถ่ายรูปที่เหลือค้างอยู่ในเวลานั้น ระหว่างแนวพรมแดนไทย-มาเลเซีย ถึงละติจูด ๑๑ ํ ๔๕' เหนือประเทศไทย ในฐานะประเทศภาคี ขององค์การสนธิสัญญาร่วมป้องกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.) ได้ติดต่อขอให้อังกฤษ ช่วยทำการบินถ่ายรูปให้ โดยกองทัพอากาศ อังกฤษ ได้ใช้เครื่องบินแคนเบอร์รา (Canberra) ถ่ายด้วยกล้องที่มีความยาวโฟกัส ขนาด ๖ นิ้ว ๒๐ นิ้ว และ ๓๖ นิ้ว รวม ๗ กล้อง ถ่ายเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ รูปถ่ายที่ใช้กล้องความยาว โฟกัส ๖ นิ้ว มีมาตราส่วนประมาณ ๑:๖๐,๐๐๐ ซึ่งจะใช้ในการรวบรวมเป็นแผนที่ ยังไม่คมชัด เหมาะสมดีพอสำหรับวิธีโฟโตแกรมเมตรี ทาง อังกฤษจึงได้บินถ่ายรูปให้อีกทั่วบริเวณตั้งแต่ละติจูด ๑๑ ํ ๔๕' จนถึงพรมแดนมาเลเซีย

เมื่อเสร็จแล้ว อังกฤษยังได้ขยายความ ช่วยเหลืองานบินถ่ายรูปให้แก่ประเทศไทยทั่วบริเวณ ตั้งหมุดอยู่ที่เหนือละติจูด ๑๑ ํ ๔๕' ขึ้นไปจนเหนือสุด งานนี้ได้แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๐๕ กรมแผนที่ได้ใช้รูปถ่ายเหล่านี้เป็นข้อมูลแก้ไขในรายละเอียดแผนที่ ซึ่งได้จากการบินถ่าย พ.ศ. ๒๔๙๕ ทำให้แผนที่มีรายละเอียดถูกต้องมากขึ้น

ในการทำแผนที่มาตรฐาน ๑:๕๐,๐๐๐ ใต้ละติจูด ๗ ํ ยังไม่ได้รูปถ่ายทางอากาศที่ดีพอ จึงได้มีการหารือร่วมกัน ระหว่างเจ้าหน้าที่กรมแผนที่กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้เสนอ ให้มีการจัดทำสิ่งที่ใช้แทนแผนที่ ของบริเวณ ใต้ละติจูด ๗ ํได้ตกลงกันว่า จะต้องมีการบินถ่ายรูปหรือสำรวจทางอากาศ ทั่วบริเวณระหว่าง ละติจูด ๗ ํ ลงไปจนถึงพรมแดนไทย-มาเลเซีย ขึ้นใหม่และผลิตแผนที่พิกโต การบินถ่ายรูปนี้ ได้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๐๙ ทาง สหรัฐฯ ได้ส่งหน่วยบินแวฟ ๖๑ (VAP-61 หรือ Heavy Photographic Squadron) เข้ามาทำการบิน ถ่ายรูปบริเวณดังกล่าว กล้องถ่ายรูปที่ใช้มี ๒ แบบ คือ แบบซีเอ-๑๔ (CA-14) ความยาวโฟกัส ๖ นิ้ว และแบบเคเอ-๔๗เอ (KA-47a) ความยาว โฟกัส ๑๒ นิ้ว ใช้ทำแผนที่รูปถ่ายมาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐

ขณะที่สหรัฐฯ ทำการบินถ่ายรูปเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๙ กรมแผนที่กำลังดำเนิน การแก้ไขแผนที่ ๑:๕๐,๐๐๐ ขนาด ๑๐ x ๑๕ ที่ปกคลุมเหนือพื้นที่ละติจูด ๗° เพื่อให้โครงการ แก้ไขแผนที่ ๑:๕๐,๐๐๐ เสร็จในเวลาอันสั้น ทางฝ่ายสหรัฐฯ ได้ตกลงบินถ่ายรูปบริเวณที่เหลือ ของประเทศทั้งหมด รูปถ่ายทางอากาศชุดนี้จึง เป็นข้อมูลที่ทันสมัย

ใน พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้มีการพิจารณาเปลี่ยน ขนาดระวางแผนที่จากขนาดเดิม ๑๐' x ๑๕' เป็น ขนาด ๑๕' x ๑๕' และชื่อชุดระวาง จึงเปลี่ยนจากแอล ๗๐๘ (L 708) เป็น แอล ๗๐๑๗ (L 7017) จำนวนระวางแผนที่เดิม ๑,๒๑๖ ระวาง จึงได้ ลดลงเหลือ ๗๗๒ ระวาง

การดำเนินงานเปลี่ยนขนาดระวางแผนที่นี้ ได้ดำเนินการจนเสร็จตามภารกิจของกรมแผนที่ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖ รวม ๕๐๐ ระวาง ส่วนที่เหลือนั้นดีเอ็มเอ (Defense Mapping Agency; DMA) สหรัฐฯ เป็น ผู้ดำเนินการ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้มีการโอนแผนที่ชุดแอล ๗๐๑๕ แอล ๗๐๑๖ (L 7015, L 7016) ซึ่งเป็นแผนที่เขตแดน ไทย-ลาว และไทย-กัมพูชาอีก ๕๘ ระวางเข้า ในชุดแอล ๗๐๑๗ ดังนั้นแผนที่ครอบคลุมประ- เทศไทยทั้งสิ้นจึงเป็น ๘๓๐ ระวาง

เพื่อส่งเสริมหน่วยงานทำแผนที่พร้อมกับ ให้นักโฟโตแกรมเมตรีได้รับการอบรมงานทางด้าน นี้ ใน พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่สหรัฐอเมริกา ได้มีการสอน วิชาโฟโตแกรมเมตรีเป็นแห่งแรกที่มหาวิทยาลัย มลรัฐนิวยอร์ก

ในยุโรปก็มีการสอนวิชานี้ และในเวลา ใกล้เคียงกัน ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ก็ได้มีการสอนวิชาโฟโตแกรมเมตรี

การสำรวจด้วยรูปถ่ายทางอากาศ เป็น วิทยาการทางวิทยาศาสตร์ ทางศิลปะ และทาง เทคโนโลยี ด้วยเป็นวิทยาการที่ต้องการข้อมูล ที่มีลักษณะทางกายภาพของวัตถุและสิ่งแวดล้อม โดยผ่านการจดบันทึก การวัด และการแปลความหมาย หรือตีความหมาย จากภาพจุดในรูปถ่าย และรูปลักษณะแบบอย่างของแม่เหล็กไฟฟ้าที่ บันทึกไว้ รวมถึงการวิเคราะห์รูปลักษณะของ พลังงานแสง และปรากฏการณ์ทางแม่เหล็ก ด้วย

การสำรวจทางรูปถ่ายประกอบด้วยงาน ๒ ลักษณะ คือ

(๑) งานสำรวจรูปถ่ายที่เกี่ยวกับการวัดจากรูปถ่าย (photogrammetry) ซึ่งรวมการวัด และการคำนวณให้ได้ขนาด และรูปร่าง ของวัตถุ

(๒) งานสำรวจรูปถ่ายที่เกี่ยวกับการแปล ความหมายของรูปถ่าย (interpretation) ซึ่งเป็นปฏิบัติการเกี่ยวกับการตรวจรู้ (recognition) และชี้แจงจำแนกวัตถุต่างๆ ในรูปถ่าย

งานลักษณะแรกเป็นการประยุกต์ใช้รูปถ่าย ในการทำแผนที่รูปแบบต่างๆ

งานลักษณะหลัง เป็นการแปลความหมายรูปถ่าย เป็นการสำรวจข้อมูลจากระยะไกล หรือเรียกว่า การรับรู้จากระยะไกล (Remote sensing) งานแปลความหมายรูปถ่าย เป็นระบบการศึกษา ภาพจุดรูปถ่าย เพื่อวัตถุประสงค์ในการชี้จำแนก และวินิจฉัยความสำคัญทางวัตถุ การรับรู้จากระยะไกลเป็นสาขาใหม่ ของการสำรวจข้อมูลด้วยรูปถ่าย ที่เกี่ยวกับการแปลความหมาย มีกรรมวิธีเหมือนกับการแปลความหมายรูปถ่าย ในการตรวจให้รู้ และการชี้กำหนดวัตถ ุโดยไม่ต้องไปสัมผัสที่วัตถุนั้นๆ โดยตรง แต่ต่างกันตรงที่ การรับรู้จากระยะไกล ใช้ข้อมูลที่ได้จากเครื่องตรวจข้อมูล ซึ่งมีใช้หลายประเภท เช่น กล้องถ่ายรูปเชิงมัลติสเปกตรัม (multispectral camera) เครื่องอินฟราเรดเซนเซอร์ (infrared sensor) เครื่องเทอร์เมลสแกนนิง (thermal scanning) และไซด์ลุคกิงเรดาร์ (side looking radar) ติดตั้งเครื่องมือไว้ทั้งบนเครื่องบิน หรือดาวเทียม ที่โคจรไปรอบโลก