จุด บกพร่อง ใน งาน เชื่อม คือ

การเชื่อมสเตนเลส คือ การประสานสเตนเลส 2 ชิ้น (สเตนเลสทั้ง 2 ชิ้นจะเป็น สเตนเลสชนิดเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ หรือชิ้นหนึ่งเป็นสเตนเลสอีกชิ้นเป็นโลหะอื่นก็ได้) ให้ยึดติดกันโดยการให้ความร้อนแก่สเตนเลส ตรงบริเวณรอยต่อจนกระทั่งสเตนเลสเกิดการหลอมละลายแล้วประสานติดกัน ในขณะที่สเตนเลสกำลังหลอมละลายอยู่นั้นอาจเติมลวดเชื่อมประสานลงไปบริเวณรอยต่อหรือไม่ก็ได้ ในการเชื่อมบางแบบอาจใช้แรงกดบริเวณรอยต่อในขณะที่สเตนเลสกำลังหลอมละลายอยู่ เพื่อช่วยทำให้เนื้อสเตนเลสประสานติดก้นดียิ่งขึ้น

จุดบกพร่องในงานเชื่อมสเตนเลส

จุด บกพร่อง ใน งาน เชื่อม คือ
การเชื่อมสแตนเลส (Welding Stainless Steel)

- ฟองอากาศ (Porosity) เกิดจากแก๊สภายในของเนื้อแนวเชื่อมของสเตนเลส ซึ่งไม่สามารถขับออกมาด้านนอกได้

- สารมลทินฝังใน (Slag inclusion) เกิดจาการรวมตัวของสารที่ไม่ใช่โลหะฝังอยู่ในแนวเชื่อมหรือระหว่างแนวเชื่อมกับสเตนเลส มักพบได้ในงานเชื่อมไฟฟ้า อันเป็นผลมาจากความผิดพลาดทางด้านเทคนิคการเชื่อม

- การหลอมละลายไม่สมบูรณ์ (Incomplete Fusion) การหลอมละลายไม่สมบูรณ์เป็นผลมากจากเทคนิคการเชื่อม รวมทั้งการเตรียมรอยต่อไม่ถูกต้อง หรือการออกแบบแนวเชื่อมไม่ดี

- รอยต่อไม่หลอมละลาย (Incomplete penetration) เป็นลักษณะของการซึมลึกตรงรอยต่อไม่เพียงพออาจจะเกิดจากความร้อนไม่เพียงพอ หรือการออกแบบไม่ถูกต้อง

- รอยเชื่อมไม่เต็ม (Underfill) คือ รอยเชื่อมไม่เต็มอาจจะเป็นด้านหน้าหรือด้านรากแนวเชื่อม เป็นผลมาจากช่างเชื่อมไม่เติมให้เต็ม

- รอยกัดแหว่ง (Undercut) โดยทั่วไปแล้วเกิดจากเทคนิคการเชื่อมหรือใช้กระแสไฟมากเกินไป

- รอยพอกเกย (Overlap) คือ ส่วนของรอยเชื่อมพอกเกยออกมาจากแนวเชื่อม โดยที่ไม่หลอมละลาย อาจจะเกิดที่ด้านหน้าหรือด้านรากของแนวเชื่อม เป็นผลมาจากการควบคุมการเชื่อมไม่ดี

- รอยแยกชั้น (Laminations) ส่วนใหญ่จะเกิดตามยาวของวัสดุ ปกติจะพบที่กึ่งกลางของชิ้นงาน อาจจะตรวจได้โดยใช้ คลื่นเสียงความถี่สูง

- รอยแยกชั้นแบบเป็นโพรง (Delamination) เป็นการแยกออกจากกันของรอยแยกชั้นอันเนื่องมาจากรอยแยกชั้น

- รอยตะเข็บและรอยเกย (Seam and Laps) คือ จะเกิดตามความยาวของโลหะอาจพบในการผลิตเหล็ก

งานเชื่อมเหล็กหากไม่ได้ทำโดยผู้ที่เชี่ยวชาญในงานด้านนั้นก็อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ในภายหลัง โดยตำหนิบนชิ้นงานมีหลายชนิดในที่นี้จะยกตัวอย่างเฉพาะจุดบกพร่องที่พบเห็นได้บ่อยรวมถึงสาเหตุของการเกิดปัญหานั้นๆ

จุด บกพร่อง ใน งาน เชื่อม คือ

การซึมลึกไม่สมบูรณ์ (Incomplete penetration)

การซึมลึกไม่สมบูรณ์คือการที่เนื้อเชื่อมไม่ได้ก่อตัวเริ่มต้นขึ้นจากรากของแนวร่องรอยต่อของชิ้นงานที่เตรียมไว้ ทำให้เกิดช่องหรือร่องที่ราก อันนำไปสู่ปัญหาใหญ่ เช่นกรณีการเชื่อมต่อท่อขนส่งของเหลว โดยการเชื่อมจากภายนอกท่อ ร่องหรือช่องที่เกิดจากการซึมลึกไม่สมบูรณ์จะทำให้ของเหลวมาติดอยู่ในบริเวณนี้ เกิดการกัดกร่อน หรือขัดขวางการไหล สาเหตุของการซึมลึกไม่สมบูรณ์คือการปรับตั้งค่ากระแสไม่ ระยะอาร์ค มุมการเชื่อม และลักษณะการเดินแนวเชื่อม ไม่เหมาะสม

สารมลทินฝังใน (Slag inclusion)

เกิดจาการรวมตัวของสารที่ไม่ใช่โลหะฝังอยู่ในแนวเชื่อมหรือระหว่างแนวเชื่อมของชิ้นงาน จะพบได้ในงานเชื่อมไฟฟ้า อันเป็นผลมาจากความผิดพลาดทางด้านเทคนิคการเชื่อม การออกแบบที่ไม่ถูกต้องหรือชิ้นงานสกปรก

จุด บกพร่อง ใน งาน เชื่อม คือ

รอยแตก (Crack)

รอยแตกในชิ้นงานประกอบด้วยหลายประเภทโดยจะยกตัวอย่างมาเพียงบางประเภทเท่านั้น

  • การแตกร้าวเย็น(Cold cracking)

  • เกิดขึ้นกับเฉพาะโลหะกลุ่มเหล็กกล้า มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิดโครงสร้างมาร์เทนไซต์ในเนื้อวัสดุเนื่องจากอัตราการเย็นตัวของแนวเชื่อม การแตกร้าวจะเกิดขึ้นที่บริเวณกระทบร้อน หรือบริเวณรอบๆ แนวเชื่อมที่เนื้อวัสดุเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางจุลภาคเนื่องมาจากความร้อนจากกระบวนการเชื่อม การลดปัญหาคือการจำกัดปริมาณความร้อนที่เข้าสู่ชิ้นงาน จะทำให้ความเค้นตกค้างเกิดขึ้นน้อยลงและเกิดการบิดเสียรูปน้อยลง การวางลำดับกระบวนการเชื่อมเป็นเทคนิคหนึ่ง เช่นการเชื่อมเป็นช่วงๆ แทนการเชื่อมต่อเนื่องตลอดความยาวของชิ้น

  • การแตกร้าวร้อน (Hot Cracking)

  • หรือการแตกร้าวขณะกำลังแข็งตัว (Solidification Cracking) เกิดขึ้นได้กับการเชื่อมโลหะทุกชนิด เกิดขึ้นในบริเวณบ่อหลอม ทางแก้คือการลดระดับ จับยึด ตรึง หรือให้แรงจากภายนอกแก่วัสดุขณะเชื่อมที่เป็นสาเหตุให้เกิดความเค้นขณะวัสดุขยายตัวเนื่องจากความร้อน ทำให้แนวเชื่อมเกิดการแตกร้าวร้อนน้อยลง นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแตกร้าวร้อน เช่น การเลือกใช้ลวดเชื่อมไม่เหมาะสม กระแสไฟฟ้าขณะเชื่อมที่สูงเกินไป การออกแบบรอยต่อการเชื่อมที่ไม่เหมาะสม การเจือปนจากธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ เช่นกำมะถัน และฟอสฟอรัส การให้ความร้อนก่อนการเชื่อมแก่ชิ้นงานไม่เพียงพอ การเดินแนวเชื่อมที่เร็วเกินไป ระยะอาร์คที่มากเกินไป เป็นต้น

  • การแตกร้าวแบบแครเตอร์ (Crater crack)

การแตกร้าวแบบแครเตอร์ เกิดขึ้นที่จุดกึ่งกลางของบ่อหลอมของเนื้อเชื่อมไม่ถูกเติมลงไปให้เต็ม ก่อนที่จะหยุดให้ความร้อน หรือดับเปลวอาร์ค ทำให้อุณหภูมิบริเวณรอบๆ ของจุดศูนย์กลางบ่อหลอมเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วแต่เมื่อเทียบกับจุดศูนย์กลางบ่อหลอมถือว่าเป็นการเย็นตัวที่แตกต่างกัน เนื่องจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วมากทำให้เกิดความเค้นซึ่งก่อให้เกิดการแตกร้าวในรูปแบบตามยาว ตามขวาง และตามแนวรัศมี แบบใดแบบหนึ่ง หรือเกิดร่วมกัน รอบๆ จุดศูนย์กลางบ่อหลอมที่เกิดแครเตอร์ได้

ฟองอากาศ (Porosity)

เกิดจากแก๊สภายในแนวเชื่อมหรือวัสดุทีไม่สามารถขับออกมาด้านนอกได้ เนื่องจากการเย็นตัวขอโลหะ ฟองอากาศเป็นจุดเสียในงานเชื่อมที่ไม่อันตรายมาก แต่ต้องขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะและทิศทางของแรงที่กระทำ สาเหตุอาจเกิดได้จากขบวนการเชื่อมที่ผิดพลาด เนื้อของโลหะที่เชื่อมไม่สะอาด ส่วนผสมของลวดที่เติมไม่เหมาะสมกับโลหะงาน ความชื้นในแบบหล่อ ฟองอากาศอาจจะเกิดจากออกซิเจนหรือไฮโดรเจน เนื่องจากไฮโดรเจนอาจจะนำไปสู่การแตกร้าวที่แนวเชื่อมและส่วนที่มีผลเนื่องจากความร้อนได้ในภายหลัง

จุด บกพร่อง ใน งาน เชื่อม คือ

ปัญหาเหล่านี้คือปัญหาที่มักพบได้บ่อยในงานเชื่อม อาจมาจากความชำนาญของตัวช่างหรือกระบวนการเป็นต้น ส่งผลให้เสียทั้งเวลาและต้นทุนในการผลิต บริษัท DPATT มีช่างมากประสบการณ์ที่ทำงานอย่างมืออาชีพ ทำงานตรงตามแบบของลูกค้าไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลังอย่างแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก Wikipedai