ผลดี และผลเสียของการแทรกแซงราคาของรัฐบาล

นโยบายแทรกแซงราคาลำไย, เศรษฐศาสตร์การเมือง, กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ, price intervention policy, longan, political economics, decision-making process ofeconomic policy

Abstract

บทคัดย่อ

Show

บทความนี้วิเคราะห์ผลดำเนินงานนโยบายแทรกแซงราคาลำไยจากการหลุดจำนำ การขาดทุนของรัฐ และรายได้ของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น วิเคราะห์รวมถึงกระบวนการกำหนดนโยบายที่มีต่อผลการดำเนินงาน ช่วงปี 2545-2547 รัฐขาดทุนต่อวงเงินที่รัฐใช้แทรกแซงร้อยละ 90.98 เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นต่อวงเงินแทรกแซงเพียงร้อยละ 23.08 รายได้ส่วนหนึ่งตกแก่กลุ่มทุจริตโดยเฉพาะวิธีการสวมสิทธิ์เกษตรกร ระบบทุนนิยมโลก โครงสร้างส่วนบนของระบบเศรษฐกิจ อุปทานของนโยบาย และอุปสงค์ของนโยบาย เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้กระบวนการกำหนดนโยบายมีความไม่โปร่งใส การจ่ายชดเชยส่วนต่างราคาให้เกษตรกรโดยตรงแทนวิธีจากรับซื้อ/รับจำนำ จะลดขั้นตอนความซับซ้อนที่เป็นเหตุของการทุจริต และน่าจะทำให้เม็ดเงินถึงเกษตรกรได้มากขึ้น 

คำสำคัญ : นโยบายแทรกแซงราคาลำไย, เศรษฐศาสตร์การเมือง, กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ

 

Abstract

This article analyzes the performance of the longan price intervention policy by usingthe rate of forfeiture, the revenue loss to the government, and the change in farmers' income. Thestudy includes an analysis of the policy formulation process and its effect on the policyperformance. During year 2002-2004 the government lost 90.98% of its total interventioninvestment. Farmers' income increased merely 23.08%. Some of the budget was transferred tointerest groups particularly by means of stealing the farmers' right. A number of factors rangingfrom inappropriate policy instruments to opportunistic behavior, contributed to poor policyperformance and the tendency towards graft and corruption.  Direct deficiency payment (the difference of target price and market price) to farmers would reduce the complicated procedures,which tended to generate corruption. Using this measure, farmers would likely get more benefit.

Keywords : price intervention policy, longan, political economics, decision-making process ofeconomic policy

Downloads

Download data is not yet available.

ผลดี และผลเสียของการแทรกแซงราคาของรัฐบาล

Downloads

  • PDF

How to Cite

สายหยุด ภ., & สิงหปรีชา จ. (2013). ผลกระทบทางการเมืองและเศรษฐกิจของนโยบายแทรกแซงราคาลำไย. Applied Economics Journal, 14(2), 103–120. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AEJ/article/view/10522

More Citation Formats

  • ACM
  • ACS
  • APA
  • ABNT
  • Chicago
  • Harvard
  • IEEE
  • MLA
  • Turabian
  • Vancouver

Download Citation

  • Endnote/Zotero/Mendeley (RIS)
  • BibTeX

Issue

Vol. 14 No. 2 (2007): December

Section

Research Articles

License

Submission of a manuscript to Applied Economics Journal will be taken to imply that the author(s) guarantee that the paper is an original work, has not been published, and is not being considered for publication elsewhere either in printed or electronic form. The author(s) have obtained permission from the copyright holder to reproduce in the article material not owned by them, that author(s) have acknowledged the source, and that this article contains no violation of any existing copyright or other third party right or any material of an obscene, indecent, libelous or otherwise unlawful nature and that the article does not infringe the rights of others. The author(s) will indemnify and keep indemnified the editors and Applied Economics Journal, Center for Applied Economics Research (CAER), Faculty of Economics, Kasetsart University against all claims and expenses. The author(s) agree that the publisher may arrange for the article to be published and sold or distributed on its own, or with other related materials, and could reproduce and/or distribute in printed, electronic or any other medium whether now known or hereafter devised, in all languages, and to authorize third parties to do the same.

หรืออีกมุมหนึ่งก็เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมหลัก ที่เกี่ยวข้องกับประชากรในประเทศเป็นจำนวนมาก อย่างในประเทศไทยก็คือ ภาคการเกษตร

หากพูดถึงการตรึงราคาสินค้าและบริการแล้ว เราก็มักจะนึกถึงสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม ข้าว ซึ่งก็รวมไปถึงราคาค่ารถโดยสารสาธารณะต่าง ๆ ด้วย

แต่มีนักเศรษฐศาสตร์จำนวนไม่น้อย มองว่านโยบายการควบคุมราคาสินค้าและบริการ ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลนั้น มักไม่มีประสิทธิภาพ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงราคาสินค้านานเกินไป กลับกลายเป็นว่ามันจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น

- ทำให้เกิดภาระทางเศรษฐกิจของประเทศ
อีกทั้งยังส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปด้วย

ตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดคือ การตรึงราคาพลังงานที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย

อย่างกรณีของราคาน้ำมันขายปลีกนั้น

ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 ระบุว่าราคาน้ำมันขายปลีกดีเซล B7 อยู่ที่ 34.94 บาทต่อลิตร

โดยที่ปัจจุบันรัฐบาลช่วยจ่ายให้เรา เพื่ออุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลที่ 10.92 บาทต่อลิตร ผ่านกองทุนน้ำมัน
หมายความว่า ถ้าไม่มีการอุดหนุนตรงนี้ ราคาน้ำมันขายปลีกดีเซล B7 จะอยู่ที่ประมาณ 45 บาทต่อลิตร

น้ำมันดีเซลนั้นถือเป็นต้นทุนที่สำคัญในหลายภาคส่วน ตั้งแต่ภาคเกษตรกรรม ภาคการผลิตในโรงงาน ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคขนส่ง

แน่นอนว่า การอุดหนุนราคาน้ำมันนั้น จะช่วยให้ประชาชนได้ใช้น้ำมันในราคาที่ถูกลง และเยียวยาภาระค่าครองชีพไปได้บ้าง

แต่การอุดหนุนราคาน้ำมันนั้น มีต้นทุนมหาศาล เพราะที่ผ่านมา
ประเทศไทยของเรา มีการอุปโภคน้ำมันดีเซล ประมาณ 65 ล้านลิตรต่อวัน
แปลว่าต้นทุนในการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันนั้น สูงถึงวันละกว่า 700 ล้านบาท
คิดเป็นเดือนละกว่า 21,000 ล้านบาท

ซึ่งถ้ากองทุนน้ำมันทำแบบนี้ต่อไปตลอดทั้งปี
หมายความว่าจะต้องใช้เงินกว่า 252,000 ล้านบาท
หรือคิดเป็นกว่า 8% ของงบประมาณรายจ่าย เลยทีเดียว

นอกจากนั้น หากการควบคุมราคาสินค้า กินระยะเวลายาวนานเกินไป ก็จะทำให้กลไกราคานั้นไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงด้วย

ยิ่งถ้าผู้บริโภคเชื่อว่ารัฐบาลจะยังคงอุดหนุน หรือตรึงราคาต่อไปเรื่อย ๆ
ผู้บริโภคก็จะไม่เกิดการประหยัดในการใช้สินค้านั้นในที่สุด

- ส่งผลเสียต่อผู้ผลิต และอาจนำไปสู่ตลาดมืด

สินค้าบางอย่าง แม้ว่ารัฐบาลอาจจะไม่ได้มีภาระในการใช้เงินเข้าไปอุดหนุน
เนื่องจากรัฐบาลอาจควบคุมราคาสินค้าและบริการ ด้วยการขอความร่วมมือจากผู้ผลิต

แต่การที่ผู้ผลิตต้องถูกควบคุมราคาขายสินค้านั้น
หากต้นทุนในการผลิตพุ่งสูงขึ้น กำไรของผู้ผลิตก็จะลดลง

ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ก็เป็นเพียงการผลักภาระต้นทุนทางเศรษฐกิจ จากฝั่งผู้บริโภคมาให้ผู้ผลิตเท่านั้น
ถ้าเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ ก็อาจไม่ส่งผลกระทบอะไรมาก

แต่ในระยะยาวนั้น ผู้ผลิตที่ถูกควบคุมราคาขายสินค้า มีโอกาสที่จะผลิตสินค้าและบริการออกมาสู่ตลาดน้อยลง

อย่างกรณีของรถโดยสารขนส่งสาธารณะที่กำลังขาดแคลน
เนื่องจาก ผู้ประกอบการนั้นลดจำนวนเที่ยววิ่งลง หรือหยุดการให้บริการในบางเส้นทาง
เพราะต้นทุนน้ำมันที่สูง แต่ไม่สามารถปรับราคาค่าโดยสารขึ้นได้ จนส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารจำนวนไม่น้อย

การควบคุมราคาสินค้า ยังทำให้ผู้ผลิตขาดแรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ หรือขาดการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต จนอาจส่งผลต่อการลงทุน การจ้างงาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศได้เช่นกัน