ขั้น ตอน การทำ โครงการ เพาะเห็ด นางฟ้า

5 วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า ในส่วนของขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า วิธีทำก้อนเห็ดนางรม วิธีเพาะเห็ดนางฟ้า วิธีการหยอดเชื้อเห็ด การเพาะเห็ดนางรม วิธีการเก็บเห็ดนางรม และที่สำคัญก็คือปัญหาการเพาะเห็ดนางฟ้า วันนี้ทาง Panitan Farm จะมาพูดคุย เล่าเรื่องราวจากรปสบการณ์ตรงในวิธีการเพาะเห็ด การเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดนารม และเห็ดอื่นๆ กันนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ไม่มากก็น้อย เอาหล่ะเรามาเริ่มต้นกันโดยการเลื่อนลงไปดูไปอ่านไปชมได้เลยจร้า

www.panitanfarm.com/วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า/


1 . วิธีการทำโรงเรือนเห็ดนางฟ้า ทำโรงเห็ดนางรม

ขั้น ตอน การทำ โครงการ เพาะเห็ด นางฟ้า

วิธีการทำโรงเรือนเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม โรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าโดยทั่วไปนั้นควรมีขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 15 เมตร สูง 2 เมตร ซึ่งจะสามารถวางก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า และเห็ดนางรมได้ประมาณถึง 4,000 ก้อน

โรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า หรือเห็ดนางรม ควรเป็นแบบที่สร้างง่าย มีต้นทุนน้อย วัสดุที่นำมาสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้านั้น ควรหาง่าย เป็นวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น สามารถหาได้จากธรรมชาติ เช่น หญ้าแฝก, ไม้ไผ่ ,ฟาง เป็นต้น สำหรับการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด ให้เหมาะสมนั้น

ควรหาพื้นที่สร้างในที่เย็นชื้น สะอาด และปราศจากศัตรูของเห็ด ใช้หลังคามุงจาก หรือแฝก แล้วให้คลุมทับด้วยสะแลนอีก 1 ชิ้น วิธีการคลุมหลังคาโรงเพาะเห็ดขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดด้วย เป็นการป้องกันลมหนาว ลมแรง ลมค่อย ลมแห้งแล้ง

เพราะสภาพอากาศเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลกระทบต่อการออกดอกของเห็ด ให้เพื่อน ๆ ปิดประตูด้วยกระสอบป่าน หรือแผ่นยาง แล้วปูพื้นด้วยทราย เพื่อให้สามารถเก็บความชื้น

ในส่วนของทิศทางลม ก้อเป็นส่วนสำคัญในการทำโรงเพาะเห็ด จำเป็นต้องดูทิศทางของลมเหนือลมใต้ เพื่อป้องกันการพัดพาเชื้อโรค ที่มีผลกระทบต่อก้อนเห็ด และการออกดอกของเห็ดนั่นเอง

ขั้น ตอน การทำ โครงการ เพาะเห็ด นางฟ้า

การสร้าง โรงเรือนเพาะเห็ด นางฟ้าขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 15 เมตร สูง 2 เมตร นั้น จะมีทั้งหมด 4 ด้านด้วยกัน ซึ่งในแต่ละด้านจะสามารถเก็บก้อนเชื้อเห็ดนางรม ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าได้มากถึง 1,000 ก้อน

วิธีการทำโรงเรือนเพาะเห็ดในลักษณะนี้ ใช้พื้นที่รวมแล้วแค่ 60 ตารางเมตรเท่านั้น วัสดุที่ใช้สำหรับการทำงานก็เลือกที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ไม้ยูคา ไม้ไผ่ หรือ อื่น ๆ

ตัวเสาโรงเพาะเห็ดอาจเลือกใช้ไม้ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของโรงเรือนให้อยู่ยาวนาน หลังคาก็ใช้หญ้าแฝก เพราะเป็นวัสดุที่เหมาะกับการทำโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เนื่องจากสามารถกักเก็บความร้อนชื้นได้เป็นอย่างดี และเป็นภูมิอากาศที่เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้านั้นชอบ


2 . วิธีการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า วิธีทำก้อนเห็ดนางรม

ขั้น ตอน การทำ โครงการ เพาะเห็ด นางฟ้า

วิธีการทำก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางฟ้า การก้อนเห็ดนางรม มีความจำเป็นต้องหาวัสดุอุปกรณ์ที่จะต้องเตรียมตัวก่อนดังนี้ เริ่มจากขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน หรือขี้เลื่อยยางพารา

ในส่วนของทางปฏิบัตินั้นขี้เลื่อยยางพาราจะเป็นตัวที่ให้ผลดีที่สุด จากนั้นให้หาส่วนผสมต่าง ๆ เพื่อให้เราได้คุณค่าทางอาหารมากยิ่งขึ้น ในส่วนของสูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดนางรม ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้ามีส่วนผสมหลัก ๆ ดังต่อนี้

  1. ขี้เลื่อยยางพาราแห้งสนิท 100 กิโลกรัม
  2. หินปูนหรือผงชอล์ก 1 กิโลกรัม
  3. ข้าวโพดป่น 3 – 5 กิโลกรัม
  4. รำละเอียด 6 – 8 กิโลกรัม
  5. น้ำเปล่า 80 กิโลกรัม
  6. ปูนยิบซัม 1 กิโลกรัม
  7. ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
  8. EM ปริมาณ 1 ลิตร

เมื่อเพื่อน ๆ หาส่วนผสมมาครบแล้ว ให้ทำการตากกองขี้เลื่อยยางพาราไว้กับแดด ประมาณ 7 วัน จากนั้นค่อย ๆ เริ่มทำการผสม โดยให้เราทำการเติมน้ำเปล่าลงประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ แล้วให้ทำการทดสอบโดยการกำส่วนผสม

ถ้าหากว่ากำแล้วมีน้ำซึมออกมาตามง่ามมือนั้น แสดงว่าเพื่อน ๆ ผสมน้ำมากเกินไป แต่ถ้าหากบีบมือแล้วขี้เลื่อยแตกเป็น 3 ก้อน นั่นแสดงว่าการผสมใช้ได้ เราเรียกว่าพอดี

แต่ถ้าว่าเรากำแล้วแบมือออก ขี้เลื่อยจับตัวไม่เป็นก้อน นั่นแสดงว่าเพื่อน ๆ เติมน้ำน้อยเกินไป เมื่อเราผสมเข้ากันได้ที่อย่างพอดีแล้ว ก็ให้ทำการกรอกใส่ถุงเพาะเห็ดนางฟ้า ถุงเพาะเห็ดนางรม ใส่ถุงให้ได้น้ำหนักประมาณ 800 – 900 กรัม แล้วหลังจากนั้นก็ให้เริ่มทำการรวบรวมปากถุงเห็ด กระทุ้งกับพื้นให้แน่นพอประมาณ แล้วให้ทำการใส่คอขวด


ขั้นตอนที่ 3 วิธีการหยอดเชื้อเห็ด วิธีเพาะเห็ดนางฟ้า การเพาะเห็ดนางรม

ขั้น ตอน การทำ โครงการ เพาะเห็ด นางฟ้า

วิธีเพาะเห็ดนางฟ้า การเพาะเห็ดนางรม วิธีการหยอดเชื้อเห็ด เมื่อเพื่อน ๆ ทำก้อนเชื้อเห็ดเสร็จแล้ว เราก็นำก้อนเชื้อที่ได้มาทำการหยอดเชื้อ และบ่มเชื้อเห็ดนางฟ้า เชื้อเห็ดนางรม ตามลำดับ

ซึ่งก่อนอื่นเลย ก้อนเชื้อที่ได้มานั้นเราจะนำมาทำการนึ่ง ( เพื่อฆ่าเชื้อ ) ถ้ามีหม้อนึ่งความดันอยู่แล้วให้เพื่อน ๆ นึ่งที่ความดัน 25 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ให้ใช้ระยะเวลาในการนึ่งที่ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง

ถ้าหากเพื่อน ๆ ไม่มีหม้อนึ่งความดันอาจให้เลือกใช้ หม้อนึ่งจากถังน้ำมัน 200 ลิตร แทนได้ โดยต้องทำการนึ่ง ประมาณ 3 ครั้ง ใช้อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส และใช้ระยะเวลาในการนึ่งประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง ( ทำแบบนี้ 3 ครั้ง )

เมื่อเพื่อนๆ ผ่านขั้นตอนการนึ่งฆ่าเชื้อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็จะเริ่มทำการหยอดเชื้อเห็ดลงสู่ก้อนเชื้อที่ได้เตรียมไว้ เชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่างนั้น ควรหยอดเชื้อลงในประมาณ 20 – 25 เมล็ด

เมื่อเราหยอดเชื้อลงสู่ก้อนเชื้อเห็ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เราทำการปิดปากถุงก้อนเชื้อ หลังจากนั้นให้เพื่อน ๆ บ่มเชื้อเห็ดในขั้นตอนถัดไป การบ่มเชื้อนั้นต้องนำก้อนไปบ่มไว้ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 – 25 วัน

ซึ่งกรรมวิธีการบ่มเชื้อเห็ดก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมากมาย เพียงแต่เราต้องเก็บให้เป็นระเบียบ ไม่ให้ไม่ถูกฝน ถูกแดด ลมไม่โกรก ไม่มีหนู ไม่มีแมลง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกนั่นเอง


ขั้นตอนที่ 4 วิธีการเก็บเห็ดนางรม วิธีเก็บเห็ดนางฟ้า

ขั้น ตอน การทำ โครงการ เพาะเห็ด นางฟ้า

วิธีเก็บเห็ดนางฟ้า วิธีการเก็บเห็ดนางรม หลังจากที่ได้เพื่อน ๆ ทำการบ่มเชื้อเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าในโรงเพาะเห็ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นช่วงเวลาของการเปิดดอกเห็ด และทำการเก็บเกี่ยวดอกเห็ดนางรม ดอกเห็ดนางฟ้าของเรา เห็ดจะออกดอกเมื่อมีความชื้นสูงพอ ออกเมื่ออากาศไม่ร้อนมาก

เมื่อเห็ดถูกเหนี่ยวนำด้วยอากาศเย็นตอนกลางคืน จะทำให้ออกดอกได้ดี เทคนิคที่ทำให้เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรมออกดอกอย่างสม่ำเสมอ และเห็ดออกดอกใหญ่ ๆ สามารถทำได้ดังนี้  เมื่อเพื่อน ๆ เก็บดอกเห็ดเสร็จแล้ว ต้องทำความสะอาดหน้าก้อนเชื้อเห็ด

โดยเขี่ยเศษเห็ดออกให้หมด แล้วงดให้น้ำประมาณ 3 วัน เพื่อให้เชื้อฟักตัว แล้วค่อยกลับมาให้น้ำอีกตามปกติ เห็ดของเราก็จะเกิดเยอะเหมือนเดิม หรือเมื่อเพื่อน ๆ เก็บดอกเห็ดเสร็จ ให้ทำความสะอาดหน้าก้อนเชื้อ แล้วรัดปากถุงเพื่อไม่ให้อากาศเข้า ทิ้งก้อนเห็ดไว้ประมาณ 2 – 3 วัน แล้วค่อยให้น้ำปกติ

เมื่อเพื่อน ๆ เปิดปากถุงก็จะเกิดดอกที่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นวิธีการการเหนี่ยวนำให้เห็ดออกดอกพร้อมกัน เมื่อเห็ดของเราออกดอก และบานจนได้ขนาดที่เพื่อน ๆ ต้องการแล้ว ให้เริ่มเก็บดอกโดยจับที่โคนดอกทั้งช่อ คือ โยกซ้าย – ขวา – บนล่าง แล้วให้ดึงออกจากถุงเห็ด ต้องค่อย ๆ ระวังอย่าให้ปากถุงเห็ดบาน

ถ้าดอกเห็นโคนขาดติดอยู่ ให้เราแคะออก และทิ้งให้สะอาดเพื่อป้องกันการเน่าเสีย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอนจากการวางไข่ของแมลงได้ วิธีการการดูลักษณะดอกเห็ดที่ควรเก็บนั่นก็คือ ดอกไม่แก่ หรือดอกไม่อ่อนจนเกินไป ให้เพื่อน ๆ ดูที่ขอบดอก

ถ้ายังงุ้มอยู่คือดอกที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยว แต่ถ้าขอบยกขึ้นแสดงว่าแก่แล้ว เป็นดอกเห็ดที่แก่จัด และจะออกสปอร์เป็นผงขาวด้านหลังดอกเห็ด เราต้องรีบเก็บออก เพราะสปอร์จะเป็นตัวชักนำแมลงเข้ามาในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า และเห็ดนางรมของเรา


5 ปัญหาการเพาะเห็ดนางฟ้า ปัญหาเห็ดนางรม

ขั้น ตอน การทำ โครงการ เพาะเห็ด นางฟ้า

ปัญหาการเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อน ๆ สามารถวิเคราะห์ปัญหาการเพาะเห็ดนางฟ้า ปัญหาเห็ดนางรม ออกมาได้ 7 ปัญหาการเหาะเห็ด เป็นข้อหลัก ๆ ดังนี้

  1. เห็ดไม่ออกดอก เพราะเชื้อในถุงไม่เดิน

สาเหตุ ขณะที่เราหยอดเชื้อ ถุงก้อนเชื้ออาจร้อนเกินไป เชื้ออ่อนแอเกินไป หรือ เพื่อน ๆ ลืมหยอดเชื้อ

วิธีแก้ไข ให้เราตั้งก้อนเชื้อให้เย็นอย่างน้อย 24 ชั่งโมง โดยคัดเชื้ออ่อนแอทิ้ง ก่อนการหยอดเชื้อ ขณะหยอดเชื้อต้องตั้งใจ มีสติในการเพาะเห็ด

  1. ปัญหาเพาะเห็ดหนอนแมลงหวี่กินเส้นใย

สาเหตุ แมลงหวี่ไข่ไว้ตรงที่ฝาจุกหรือสำลี

วิธีแก้ไข เราควรตรวจสอบสุขภาพอนามัยของโรงเรือน จุก สำลี ที่ใช้ก็ต้องทำการ นึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อ สำลีต้องอุดให้แน่น ควรปิดกระดาษให้สนิท ไม่ให้มีช่องเหลือ

  1. เชื้อเห็ดเดิน แต่หยุด ก้อนเห็ดมีกลิ่นบูด มีน้ำเมือก มีสีเขียว สีเหลือง หรือสีดำ

สาเหตุ เกิดราหรือแบคทีเรียปนเปื้อน เพราะอาจนึ่งฆ่าเชื้อไม่หมด นึ่งฆ่าเชื้อดีพอ หรือในส่วนของกระบวนการลดความร้อน และเปิดหม้อนึ่งนั้นไม่ถูกต้อง เชื้อเห็ดที่เพื่อน ๆ ใช้ไม่มีคุณภาพ วิธีการหยอดเชื้อไม่ดีพอ หรือ บ่มถุงก้อนเชื้อหนาแน่นเกินไป อาจทำให้การระบายอากาศไม่ดี เพราะมีคาร์บอนไดออกไซค์มากจนเกินไป

วิธีแก้ไข ให้ลองทบทวนสาเหตุหลักของการปนเปื้อน ตรวจสอบกระบวนการนึ่ง ทั้งเรื่อง อุณหภูมิ เวลา จำนวนก้อน วิธีการไล่อากาศในหม้อนึ่ง เราควรค่อย ๆ ลดความร้อน อย่าเปิดหม้อนึ่งแบบรวดเร็ว ตรวจดูจุกสำลีว่ามีความแน่นหรือไม่ ให้ใช้เชื้อเห็ดที่บริสุทธิ์ ควรลองอบรมวิธีการปลอดเชื้อ และปรับปรุงวิธีทำงานให้ดีมากยิ่งขึ้น ( ห้องบ่มเชื้อเห็ดควรมีอุณหภูมิ 25 – 30 องศาเซลเซียส )

  1. ปัญหาเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อน แต่ไม่ออกดอก

สาเหตุ เชื้อเห็ดอาจเป็นหมัน เชื้อไม่ดีพอ สภาพแวดล้อมในโรงเรือนเพาะเห็ดไม่เหมาะสม มีสิ่งปนเปื้อน เช่น แบคทีเรีย หนอน รา ไร และมีการใช้สารเคมีมากจนเกินไป

วิธีแก้ไข จัดหาเชื้อใหม่ คุณภาพดี จัดสภาพในโรงเรือนให้เหมาะสม ให้จัดการสุขอนามัยฟาร์ม อุณหภูมิ แสง ความชื้น การถ่ายเทอากาศ และที่สำคัญไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดแมลง

  1. ปัญหาเกิดดอกเห็ดแต่ก้านยาวหมวกดอกไม่แผ่ออก

สาเหตุ มีแสงไม่เพียงพอ หรือมีคาร์บอนไดออกไซค์มากเกินไป

วิธีแก้ไข ต้องปรับแสงให้มากขึ้น จัดการให้อากาศถ่ายเทได้ดีกว่าเดิม

  1. เกิดหน่อมากแต่ดอกกลับเติบโตน้อย

สาเหตุ เพราะใช้เชื้อเห็ดอ่อนแอ เงื่อนไขเหมาะแก่การเกิดหน่อ นั้นไม่เหมาะแก่การพัฒนาของดอก เห็ดขาดออกซิเจน และแสง อาหารในก้อนเชื้อนั้นไม่เพียงพอหรือไม่อาจมีคุณภาพ เชื้อเห็ดที่ใช้ไม่ดี มีคุณภาพต่ำ เกิดจุลินทรีย์ต่าง ๆ รบกวน หรือการถ่ายเทอากาศไม่ดีพอ มีความชื้นสูงเกินไป รวมไปถึงรดน้ำมากเกินไป และอาจเกิดจากการใช้สารเคมีในช่วงเปิดดอก

การแก้ไข ให้เปลี่ยนเชื้อใหม่ ปรับเงื่อนไขของการเกิดดอก ควรเพิ่มการถ่ายเทอากาศ เพิ่มช่องแสงให้มากขึ้น ควรตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ ให้ใช้เชื้อที่มีอัตราการเดินเส้นใยดี ต้องปรับโรงเรือนไม่ให้เหมาะกับจุลินทรีย์ แล้วค่อย ๆ เพิ่มการถ่ายเทอากาศ ลดความชื้นลง ที่สำคัญควรเลิกใช้สารเคมีในช่วงเปิดดอกเห็ด

  1. ปัญหาเกิดดอกเพียงรุ่นเดียวรุ่นต่อไปไม่เกิด

สาเหตุ เพราะอาหารในก้อนเชื้อไม่เพียงพอ อาจเกิดการปนเปื้อน หรือการจัดโรงเรือนไม่ดี เชื้อไม่ดี

การแก้ไข ให้ปรับสูตรอาหารใหม่ จัดการเรื่องสุขอนามัยฟาร์มโดยทำการ ปรับความชื้น เรื่องแสง อุณหภูมิ ขูดลอกผิวส่วนที่ปากถุงออก ค่อย ๆ ปรับปรุงวิธีการจัดการ และ เพื่อน ๆ ควรเอาใจใส่การเพาะเห็ดให้มากขึ้น หรือเปลี่ยนเชื้อใหม่

# เคล็ดลับ : เห็ดจัดว่าเป็นพืชที่มีการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม และสิ่งเร้าทางภายนอกอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นปัญหาที่พบหากได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง และท่วงทันเวลา ก็จะทำให้เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรมของเพื่อน ๆ เจริญเติบโตได้ดีขึ้น และ ทำให้เห็ดของเราที่มีคุณภาพ ขอบคุณที่มา https://autanfarmhed.wordpress.com/ขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ/