เดือนอาสาฬหะ เรียกอีกอย่าง

คำว่า “อาสาฬหบูชา” ย่อมาจากคำว่า “อาสาฬหบุรณมีบูชา” หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ (ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลัง)

วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ในโอกาสเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์

ทรงประกาศพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก โดยแสดงปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกิดพระอริยสาวกสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา จึงถือได้ว่าเป็นวันแรกที่ครบองค์พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน ๖ หรือที่รู้จักว่าคือวันวิสาขบูชา 

ต่อมาทรงคำนึงว่า ธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ที่เคยมีอุปการคุณแก่พระองค์ จึงเสด็จออกจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เดินทางไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ถึงในตอนเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ประทับแรมอยู่กับปัญจวัคคีย์ ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หรือเดือนอาสาฬหะ พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ต่อจากนั้นทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ หลักความจริงของชีวิตที่จะช่วยให้คนพ้นจากห้วงความทุกข์ ๔ ประการ ได้แก่

ทุกข์  หมายถึง ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ

สมุทัย หมายถึง เหตุให้เกิดทุกข์ คือความอยากต่างๆ

นิโรธ   หมายถึง ความดับทุกข์ คือ นิพพาน

มรรค         หมายถึง ทางที่จะปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะ ซึ่งเป็นหัวหน้าปัญจวัคคีย์มีความเข้าใจหลักธรรมของพระพุทธองค์ก่อนผู้ใด จึงทูลขออุปสมบทเป็นคนแรก นับเป็น “ปฐมสาวก” พระพุทธองค์ประทานอนุญาต จึงนับว่าท่านโกณฑัญญะเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา

แต่เดิมวันนี้ไม่มีพิธีใดเป็นการพิเศษ คงเนื่องมาจากเป็นวันก่อนวันเข้าพรรษาเพียงวันเดียว 

และพุทธศาสนิกชนก็ทำบุญตักบาตรในวันพระเป็นปกติอยู่แล้ว ต่อมาพุทธศักราช ๒๕๐๑ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ขณะดำรงตำแหน่งสังฆมนตรี ได้เสนอให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาอีกวันหนึ่ง คือ 

วันอาสาฬหบูชาหรือวันธรรมจักร ด้วยเป็นวันสำคัญที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมที่เรียกว่า ธรรมจักกัปปวัตนสูตร คณะสังฆมนตรีลงมติรับหลักการดังกล่าว และเสนอให้รัฐบาลเห็นชอบ จากนั้นจึงนำความกราบบังคมทูล

พระกรุณาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ และต่อมาจึงออกประกาศคณะสงฆ์ เรื่อง กำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๑ กำหนดระเบียบปฏิบัติการบำเพ็ญกุศลในวันอาสาฬหบูชาเพื่อให้ทุกวัด

เราใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานจากการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราและเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูลและ เนื้อหาต่างๆ ที่ผู้เข้าใช้งานจะได้รับชม

โดยทางเว็บไซต์จะสร้างไฟล์ข้อมูลที่มีขนาดเล็กไว้ในอินเตอร์เน็ตเบราว์เซอร์ของผู้เข้าใช้งาน เพื่อเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานของท่าน รวมถึงเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการต่างๆ ภายในเว็บไซต์ของเรา และเมื่อผู้เข้าใช้งานกลับมาเยี่ยมชม หรือกลับเข้ามาใช้บริการในครั้งต่อไป แต่การเก็บข้อมูลด้วยคุกกี้จะไม่เก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆของท่าน การยอมรับนี้จะไม่ทำให้เครื่องของท่านติดไวรัส หรือมัลแวร์แต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อทำการวิเคราะห์ซึ่งอาจทำหรือให้บริการโดยบุคคลอื่นที่ให้บริการหรือได้รับมอบหมายให้กระทำแทนในนามของเรา เช่น Google Analytic เป็นต้น เมื่อผู้เข้าใช้งานมีการกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์โดยไม่เปลี่ยนแปลงการตั้งค่าคุกกี้บนอินเตอร์เน็ตเบราส์เซอร์ อุปกรณ์ของผู้ใช้งานจะยอมรับคุ๊กกี้อัตโนมัติในการเข้าใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งถ้าหากผู้เข้าใช้งานไม่ต้องการให้คุกกี๊ทำการรวบรวมข้อมูล ผู้ใช้งานสามารถเลือกเปลี่ยนแปลง หรือตั้งค่าการยอมรับคุกกี๊ได้ที่เมนู "การตั้งค่า" ของอินเตอร์เน็ตเบราว์เซอร์ที่ใช้งานอยู่

อาสาฬหบูชา

เดือนอาสาฬหะ เรียกอีกอย่าง
              วันอาสาฬหบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม
              เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภททั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและ ข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียน ในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่นสาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘
 

ใจความสำคัญของปฐมเทศนา

              ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการคือ
ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
              ๑. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค
              ๒. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
              ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
              ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
              ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
              ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
              ๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
              ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
              ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
              ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
              ๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด
              ๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ
              ๓. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
              ๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น
 

ผลจากการแสดงปฐมเทศนา

              เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแล้ว ปรากฏว่าโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดเข้าใจธรรม เรียกว่า เกิดดวงตาแห่งธรรมหรือธรรมจักษุ บรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอบรรพชาและถือเป็นพระภิกษุสาวก รูปแรกในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ
 

ความหมายของอาสาฬหบูชา

              “อาสาฬหบูชา” (อา-สาน-หะ-บู-ชา/อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา) ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘ หรือเรียกให้เต็มว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา
โดยสรุป วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๘ หรือ การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน ๘ คือ
              ๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
              ๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา
              ๓. เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน จัดเป็นอริยบุคคลท่านแรกในอริยสงฆ์
              ๔. เป็นวันที่เกิดพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ การที่ท่านโกณฑัญญะขอบรรพชาและ ได้บวชเป็นพระภิกษุ หลังจากฟังปฐมเทศนาและบรรลุธรรมแล้ว
              ๕. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวกคือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า
              เมื่อเปรียบกับวันสำคัญอื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา บางทีเรียกวันอาสาฬหบูชา นี้ว่า วันพระสงฆ์ (คือวันที่เริ่มเกิดมีพระสงฆ์)

              พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด
 
เรียบเรียงจาก ความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญไทย (เสฐียรโกเศศ และ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ,๒๕๔๑ : ๓๙ – ๕๙)

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine