ความสำคัญของการเป็นพลเมืองดี

ทุกสังคมต้องการพลเมืองที่ดี เพื่อที่จะสามารถนำพาความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมและประเทศชาติได้อย่างมั่นคง เราควรเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กได้รู้จักหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี โดยมีผู้ใหญ่ทำตัวเป็นแบบอย่าง เพราะเมื่อเด็กเติบโตขึ้น พวกเขาจะได้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพอย่างที่ทุกคนในสังคมต้องการ

การที่ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าได้นั้น พลเมืองในประเทศต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง หากเราทุกคนทำหน้าที่ของตนเองได้เป็นอย่างดี เชื่อว่าบ้านเมืองจะเจริญก้าวหน้าไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

พลเมืองที่ดี หมายถึง ผู้ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องทำและควรทำได้อย่างครบถ้วน สอดคล้องกับหลักธรรม วัฒนธรรม ประเพณีที่ได้กำหนดไว้ มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ถือได้ว่า พลเมืองเป็นส่วนสำคัญของสังคม ทุกสังคมต่างต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาพลเมืองให้มีคุณภาพที่ดี คือ

  1. ให้ทราบถึงบรรทัดฐานของสังคม
  2. รู้จักการปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น
  3. ต้องเคารพกฎหมาย มีระเบียบวินัย ตามที่สังคมได้วางไว้
  4. ปรับทัศนคติและค่านิยมที่ดีในสังคม

ลักษณะของพลเมืองที่ดี คือ

  1. ต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน คือ ต้องมีความอดทน ขยัน ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ เห็นความสำคัญในประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าของตนเอง
  2. ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ คือ สามารถประพฤติ ปฏิบัติได้อย่างที่สังคมต้องการ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีเหตุผล

การปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีตามแนวทางประชาธิปไตยทำได้หลายด้านเช่น

  • ด้านสังคม พลเมืองที่ดีต้องแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสมมีเหตุผล, รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น, ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้เป็นอย่างดี ร่วมพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า เสียสละเพื่อส่วนรวม
  • ด้านเศรษฐกิจ ต้องรู้จักประหยัด อดออม, มีความซื่อสัตย์สุจริต, ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • ด้านการเมืองการปกครอง ต้องเคารพกฎหมายบ้านเมือง, ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

หน้าที่ของพลเมืองดี ที่พึงปฏิบัติ คือ

  1. นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากกว่าประโยชน์ส่วนตน
  2. มีระเบียบ วินัย เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยความเรียบร้อย
  3. รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
  4. มีความอดทน สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีแม้ว่าจะต้องเหตุการณ์ที่สร้างความไม่พอใจก็ตาม
  5. รู้จักประหยัด อดออม ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้จ่ายยามจำเป็น ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
  6. มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักการให้อภัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
  7. มีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา
  8. เคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้เป็นอย่างดี
  9. มีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี

ทุกสังคมต้องการพลเมืองที่ดี เพื่อที่จะสามารถนำพาความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมและประเทศชาติได้อย่างมั่นคง เราควรเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กได้รู้จักหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี โดยมีผู้ใหญ่ทำตัวเป็นแบบอย่าง เพราะเมื่อเด็กเติบโตขึ้น พวกเขาจะได้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพอย่างที่ทุกคนในสังคมต้องการ

บุคคลจะเป็นพลเมืองดีของสังคมนั้น ต้องตระหนักถึง บทบาท หน้าที่ ที่จะต้องปฎิบัติสอดคล้องกับหลักธรรม วัฒนธรรม ประเพณี และรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ รวมทั้งบทบาททางสังคมที่ตนดำรงอยู่ เมื่อสามารถปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ย่อมเกิดความภาคภูมิใจ และเกิดผลดีทั้งต่อตนเองและสังคม การเป็นพลเมืองที่ดีเคารพกฎหมาย เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น มีความกระตือรื้อร้น ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชนและสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลัก ในการดำเนินชีวิตอย่างสงบสุข

ความสำคัญของการเป็นพลเมืองดี

พลเมืองดี ในวิถีประชาธิปไตย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำต่างๆดังนี้

พลเมือง หมายถึงชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
วิถี หมายถึง สาย แนว ทาง ถนน
ประชาธิปไตย หมายถึง รูปแบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ถือเอาเสียงข้างมาก

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จึงหมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลัการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฎิบัติตนตามกฎหมาย ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคม และ ประเทศชาติ ให้เป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตามหลักประชาธิปไตย

ในครอบครัวจะประกอบด้วยสมาชิกที่สำคัญ ได้แก่ พ่อ แม่ และลูก ในบางครอบครัวคนอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วย เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย เมื่อเราอยู่ร่วมกันในครอบครัว สมาชิกทุกคนต่างก็มีบทบาทและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ เช่น

หน้าที่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูก

- หารายได้มาเลี้ยงครอบครัว

- อบรมสั่งสอน

- ให้การศึกษาแก่ลูก

- อื่น ๆ

หน้าที่ของลูกที่มีต่อพ่อแม่

- ช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่

- ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน

- เคารพเชื่อฟังพ่อแม่

- อื่น ๆ

นอกจากการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ในฐานะของสมาชิกที่ดีของครอบครัวแล้ว ทุกคนควรปฏิบัติตามข้อตกลงของครอบครัว และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อให้อยู่ร่วมกันในครอบครัวอย่างมีความสุข

3.2 การเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน

เมื่อเราอยู่ในโรงเรียน เราทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อโรงเรียน เพราะโรงเรียนเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้ ซึ่งเราต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้องเรียนและโรงเรียน เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น

- เมื่อมาโรงเรียน เราต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของโรงเรียน เช่น แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบ มาให้ทันเข้าแถวเคารพธงชาติในตอนเช้า

- เมื่ออยู่ในโรงเรียน เราต้องช่วยกันรักษาความสะอาดในห้องเรียน และในบริเวณต่าง ๆ ของโรงเรียน ทิ้งขยะลงในถังขยะที่โรงเรียนจัดให้

- ให้ความเคารพเชื่อฟังครูอาจารย์ ตั้งใจเรียนหนังสือ รวมทั้งทำงานต่าง ๆ ที่ครูมอบหมายด้วยความตั้งใจและเอาใจใส่

นอกจากนี้ เราควรปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของห้องเรียนและโรงรียน เช่น

- ปฏิบัติในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ต้องรู้ว่าเมื่อเราเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรปฏิบัติตนอย่างไร และเมื่อเป็นผู้ตามควรปฏิบัติตนอย่างไร

- รู้จักแสดงความคิดเห็นตามสิทธิของตนเอง รวมทั้งรุ้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเคารพข้อตกลงของคนส่วนใหญ่

- ถ้าเกิดข้อขัดแย้งกัน ให้แก้ปัญหาด้วยหลักเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์หรือพละกำลังในการแก้ปัญหา เพราะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง แต่กลับจะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา

- ในการแข่งขันทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น การแข่งกีฬา การประกวดในด้านต่าง ๆ ต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้รู้จักแพ้ ชนะ และให้อภัย รวมทั้งยอมรับในคำตัดสินของคณะกรรมการ

3.3 การเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน

1. ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของชุมชน เช่น ปฏิบัติตามกฎจราจร โดยข้ามถนนตรงทางม้าลาย หรือสะพานลอย ไม่วิ่งข้ามถนนตัดหน้ารถ ไม่ทิ้งขยะลงในที่สาธารณะ ไม่ทำลายสิ่งของที่เป็นของสาธารณะ และทรัพย์สินส่วนตัวของผู้อื่นให้ได้รับความเสียหายเพราะความสนุกสนานของตนเอง

2. เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เพื่อช่วยรักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนไว้ ในแต่ละชุมชนจะมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา เช่น ประเพณีการทำบุญเมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีวันลอยกระทง

3. บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน เช่น ช่วยเก็บเศษขยะที่พบเห็นในบริเวณต่าง ๆ ช่วยดูแลต้นไม้ ดอกไม้ในสวนสาธารณะของชุมชน

4. ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยให้ทุกคนในชุมชนมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ชุมชนที่มีป่าชายเลน ควรจะร่วมใจกันอนุรักษ์ป่าชายเลน เพื่อให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งยังเป็นแหล่งหลบภัยของลูกสัตว์น้ำอีกด้วย

ชุมชนที่อยู่ติดชายทะเล ควรร่วมใจกันรักษาความสะอาดของชายหาด เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของชุมชน

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนควรเป็นความร่วมมือกันหลายฝ่ายระหว่างบ้าน โรงเรียน และชุมชน

3.4 การเป็นสมาชิกที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก

1. เคารพกฎหมายและปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม

เมื่อพลเมืองทุกคนปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม และบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้ะอื่น หรือไม่กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดก็จะทำให้รัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการป้องกัน ปราบปรามและจับกุมผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษ

นอกจากนี้ยังทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบสงบสุขทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ไม่หวาดระแวงคิดร้ายต่อกัน

2.เป็นผู้มีเหตุผล และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ทุกคนย่อมมีอิสระเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ซึ่งการรู้จักการใช้เหตุผลในการดำเนินงาน จะทำให้ช่วยประสาน

ความสัมพันธ์ ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีงามต่อกัน

3.ยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่

เมื่อมีความขัดแย้งกันในการดำเนินกิจกรรมอันเกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และจำเป็นต้องตัดสินปัญหาด้วยการใช้เสียงข้างมากเข้าช่วย และมติส่วนใหญ่ตกลงว่าอย่างไร ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับความคิดของเรา เราก็ต้องปฎิบัติตาม เพราะเป็นมติของเสียงส่วนใหญ่นั้น

4.เป็นผู้นำมีน้ำใจประชาธิปไตย และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

ผู้ที่มีความเป็นประชาธิปไตยนั้น จะต้องมีความเสียสละ ในเรื่องที่จำเป็น เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาไว้ซึ่งสังคมประชาธิปไตย เป็นการส่งผลต่อความมั่นคง และความก้าวหน้าขององค์กร ซึ่งสุดท้ายแล้วผลประโยชน์ดังกล่าวก็ย้อนกลับมาสู่สมาชิกของสังคม เช่นการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ถึงแม้ว่าเราจะมีอาชีพบางอย่างที่มีรายได้ตลอดเวลา เช่นค้าขาย แต่ก็ยอมเสียเวลาค้าขายเพื่อไปลงสิทธิ์เลือกตั้ง บางครั้งเราต้องมีน้ำใจช่วยเหลือกิจกรรมส่วนร่วม เช่น การสมัครเป็นกรรมการเลือกตั้ง หรือสมาคมบำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น

5.เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

ควรรูจักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นเช่นบุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด แต่ต้องไม่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นที่ใส่ร้ายผู้อื่นให้เสียหาย

6.มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชน ประเทศชาติ

ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ย่อมต้องมีการทำงานเป็นหมู่คณะ จึงต้องมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในงานนั้นๆให้สมาชิกแต่ละคนนำไป

ปฎิบัติตามที่ได้รับหมอบหมายไว้อย่างเต็มที่

7.มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมือง การปกครอง

ในสังคมประชาธิประไตยนั้นสมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครอง เช่น การเลือกตั้ง เป็นต้น

8.มีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง

ช่วยสอดส่องพฤติกรรมมั่วสุมของเยาวชนในสถานบันเทิงต่าง ไม่หลงเชื่อข่าวลือคำกล่าวร้ายโจมตี ไม่มองผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเราเป็นศัตรู รวมถึงสงเสริมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆด้วยสันติวิธี

9. มีคุณธรรม จริยธรรม และปฎิบัติตนตามหลักธรรม

ทุกคนควรมีศีลธรรมไว้เป็นหลักในการควบคุมพฤติกรรมของบุคลให้ดำเนินไปอย่างเหมาะสม ถึงแม้จะไม่มีบทลงโทษใดๆก็ตาม

การมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครอง

การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตย ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้ ดังนี้

1. การใช้สิทธิในกรเลือกตั้งระดับต่างๆ

เมื่ออายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ทุคนต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งในระดับประเทศ เช่นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น เช่น การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร การเลือกตั้งสมาชิกองค์กรส่วนท้องถิ่น เป็นต้น เพื่อเลือกตัวแทนไปทำหน้าที่บริหารประเทศหรือท้องถิ่นทั่วไป

2. การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นประชาชนทุกคนล้วนมีส่วนร่วมมือกันสอดส่องดูแลการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลหรือตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ในองค์กรต่างๆ เพื่อไม่ให้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้อง

3. การเป็นแกนนำปลุกจิตสำนึกให้แก่ผู้อื่นในการร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง

ได้แก่การใช้สิทธิเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบอำนาจของรัฐ โดยการเป็นแกนนำนั้น สามารถปฎิบัติได้หลายอย่าง เช่น ประกาศโฆษณาประชาสัมพันธ์ การเข้าไปชี้แจงเป็นรายบุคคลการจัดให้มีการประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นที่มีผลกระทบต่อสังคม

การเป็นพลเมืองที่ดีมีความสำคัญอย่างไร

ความสาคัญของพลเมืองดี พลเมืองที่ดีช่วยให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย • สังคมมีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว • มีการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยใช้หลักเหตุผล • ช่วยลดความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรงในสังคม

การเป็นพลเมืองดีมีความสำคัญต่อประเทศชาติอย่างไร

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จึงหมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลัการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฎิบัติตนตามกฎหมาย ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคม และ ประเทศชาติ ให้เป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตาม ...

เราจะเป็นพลเมืองดีได้อย่างไร

การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีโดยการมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความกตัญญูกตเวที มีความเสียสละและทาประโยชน์เพื่อส่วนร่วม เป็นสิ่งที่ ดีงาม หากทุกคนปฏิบัติตนตามคุณธรรมดังกล่าว ย่อมทาให้สังคมและประเทศชาติมีความสุขสงบร่มเย็น

การเป็นพลเมืองดีมีประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอย่างไร

ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมมีความสำคัญต่อประเทศ เช่น 1. ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง 2. ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย 3. ทำให้เกิดความรักแบะความสามัคคีในหมู่คณะ