ศีรษะครูที่ใช้ประกอบพิธีไหว้ครู

คณะผู้บริหาร บริษัทเวิร์คพอยท์ นำศิลปินดาราและพนักงาน เข้าร่วมพิธีไหว้ครูนาฏยมหามงคล ประจำปีพุทธศักราช 2561

วันที่ 22 พ.ย. 2561 บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)  จัดพิธีไหว้ครูศิลปะการแสดงครั้งใหญ่ “นาฏยมหามงคล 2561” ณ สตูดิโอ 2 บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) อ.เมือง จ.ปทุมธานี เริ่มพิธีตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. โดยภายในงานมหามงคลนี้มีคณะผู้บริหารนำโดย คุณปัญญา นิรันดร์กุล, คุณประภาส ชลศรานนท์, พนักงาน รวมถึงเหล่าศิลปินในสังกัด อีกทั้งคนวงการบันเทิงไทยนุ่งโจงแดงเข้าร่วมพิธีไหว้ครูเพื่อเสริมสิริมงคลกันอย่างคับคั่ง

โดยมีครูผู้ประกอบพิธีไหว้ครูคือ อ.สมบัติ แก้วสุจริต เป็นครูหนึ่งใน 5 ท่าน ที่ได้รับพระราชทานครอบครูโขนละครและต่อหน้าพาทย์เพลงพระพิราพ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้ประกอบพิธีไหว้ครูโขนละคร ซึ่งปัจจุบันเหลือท่านเพียงคนเดียว

สำหรับศีรษะครูที่ใช้ครอบนั้น มี 3 เศียร ซึ่งความหมายตามตํานานนาฏยศิลป์ที่มีความเชื่อสืบต่อกันมา
๑. พระภรตฤษี เป็นครูท่านแรกที่จดจําท่ารำของพระอิศวรที่ลงมาถ่ายทอดในโลกมนุษย์และเป็นผู้แต่งตำรานาฏยศาสตร์ขึ้น
๒. พระพิราพ เป็นปางหนึ่งของพระอิศวรผู้ให้กําเนิดการฟ้อนรํา
๓. เทริด เป็นสัญลักษณ์ของละครแบบแรก คือ ละครโนราห์หรืออีกความหมายหนึ่งคือเทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะที่ใช้ได้ทั้งพระและนาง การครอบด้วยเทริดจึงเท่ากับว่ารับบทบาทได้ทั้งพระและนาง

งานพิธีไหว้ครู “นาฏยมหามงคล 2561” นี้  ถือเป็นพิธีใหญ่ที่เวิร์คพอยท์ฯ จัดขึ้นเพื่อบูชาครู เทพองค์ต่างๆ ที่เป็นบรมครูด้านนาฏยศาสตร์และดุริยางคศาสตร์ เพื่ออุทิศส่วนกุศล และขอขมาครู และขอให้ครูอำนวยพรแก่ผู้ประกอบอาชีพในสาขาศิลปะการแสดง ทั้งงานเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ให้ชีวิตราบรื่น งานเจริญรุ่งเรือง และเกิดความเป็นสิริมงคลต่อผู้เข้าร่วมพิธี เรียกว่าอิ่มบุญอิ่มเอมกันไปตาม ๆ กัน

          ซึ่งถ้าจะแสดงเป็นเรื่องในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ก็มักจะต้องมีพิธีไหว้ครูที่พิเศษออกไปกว่าปกติก่อนการฝึกซ้อมหรือการแสดงทุกครั้ง เพราะละครไทยส่วนใหญ่แล้วไม่นิยมแสดงเกี่ยวกับตัวละครต้องตายในเรื่องหรือถูกจองจำหรือเกี่ยวกับภูติผี ด้วยถือว่าเป็นอัปมงคล หากจะต้องแสดงก็จำเป็นต้องทำพิธีดังกล่าวขึ้น

         ดนตรีที่ใช้บรรเลงนิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า ส่วนเพลงที่บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครูเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์อันเป็นเพลงที่ในวงการศิลปินให้ความเคารพ  ผู้ที่บรรเลงได้จะต้องเป็นบุคคลที่มีฝีมือเป็นอย่างดี เพราะถ้าเกิดความผิดพลาดอาจจะมีผลถึงตนเอง ที่เรียกว่า "ผิดครู" ซึ่งเพลงดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับพิธีไหว้ครูเป็นอย่างมาก เป็นเพลงที่จะกำหนดอัญเชิญครูปัธยาย (ครูเทพเจ้าต่างๆ) มาร่วมในพิธี ซึ่งแต่ละสถานที่อาจมีการกำหนดเพลงเรียงตามลำดับไม่เหมือนกัน เช่น

กรุงเทพฯ--27 พ.ย.--สหมงคลฟิล์ม
“ครู”มาจากภาษาบาลีว่า “คุรุ”ซึ่งแปลว่า“ผู้สั่งสอน” ว่ากันว่าครูเป็นผู้มีพระคุณ เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้กับศิษย์ นอกจากครูคนแรกผู้ให้กำนิดแก่เราคือมารดาและบิดาแล้ว ครูผู้ให้ความรู้ ให้การศึกษา สร้างความก้าวหน้า อนาคตที่ดีจนพวกเราสำเร็จในหน้าที่การงานก็เป็นอีกท่านที่มีพระคุณต่อเรา จึงควรระลึกถึงยกย่อง กราบไหว้อยู่เป็นนิจ จึงก่อให้เกิดประเพณีการกราบไหว้ครูขึ้นอยู่เป็นประจำทุกปีเพื่อให้ศิษย์ได้กตัญญูตอบแทนพระคุณครู
ประเพณี “การไหว้ครูนาฏศิลป์ ครอบครูโขน-ละคร” กล่าวได้ว่าเป็นประเพณีชั้นสูงที่มีความศักดิ์สิทธิ์และได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ ตามประวัติได้มีการเริ่มจดบันทึกขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีครูเกษ ซึ่งท่านเป็นข้าหลวงเดิมมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 3 และทำการตกทอดสืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน
ว่ากันว่าครูผู้เป็นประธานไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครได้นั้นจะต้องได้รับการมอบหมายหรือสืบทอดกันอย่างเป็นทางการ โดยในปี2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสืบทอดประเพณีดังกล่าวจึงโปรดเกล้าฯให้ทางกรมศิลปากรคัดสรรผู้ทรงคุณวุฒิเข้ารับมอบเป็นประธานผู้ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครจากพระองค์จำนวน 5 ท่าน นายธีระยุทธ์ ยวงศรี(เสียชีวิตแล้ว) ,นายธงไชย โพธยารมย์,นายทองสุก ทองหลิม(เสียชีวิตแล้ว),นายอุดม อังศุธรและนายสมบัติ แก้วสุจริต
ต่อมานายธงไชย โพธยารมย์ได้มีการถ่ายทอดให้นายเผด็จ พลับกระสงค์ข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากรเป็นประธานผู้ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละคร
ประเพณี “การไหว้ครูนาฏศิลป์ ครอบครูโขน-ละคร”จะให้ความสำคัญกับครูเป็นพิเศษเพราะจะถือว่าครูเปรียบเสมือนกับเทพเจ้า ผู้มาประสิทธิประสาทวิชาให้กับตน ว่ากันว่า “พระอิศวร”เป็นเทพเจ้าสูงสุดอยู่บนสวรรค์คือครูคนแรกที่ถ่ายทอดท่าร่ายรำนาฏศิลป์มาสู่โลกมนุษย์ โดยให้พระภรตฤาษีเป็นผู้จดบันทึกท่าร่ายรำ และนำไปสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาต่อไป พระภรตฤาษีก็
คือครูผู้ใหญ่หรือครูคนแรกที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดท่ารำระบำบรรพ์อันวิจิตร จากพระอิศวรมาสู่โลกมนุษย์และนำไปสั่งสอนเป็นลำดับต่อไป การไหว้ครูทางนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครจึงขาดไม่ได้ที่จะมีเศียรของเหล่าเทพเจ้า และศีรษะฤาษีเป็นเครื่องบูชาเคารพกราบไหว้
ในระหว่างการทำพิธีไหว้ครูครอบครูซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นพิธีโบราณที่ได้รับการสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานซึ่งประกอบไปด้วยพีธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์มากมาย อาทิ พิธีบูชาครูและเทพเจ้า ,พิธีสรงน้ำเทวรูป,การถวายเครื่องสังเวย,พิธีเจิมและเบิกเนตรศรีษะใหม่,การรำถวายมือ การโปรยข้าวตอก,รำกราวรำ ส่วนทางด้านเครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบพิธีไหว้ครูครอบครูจะเป็นเครื่องดนตรีปี่พาทย์ไม้แข็งโดยจะเป็นเครื่องคู่หรือเครื่องห้าก็ได้ โดยทำการบรรเลงพลงหน้าพาทย์ตามประเพณีที่ประกอบพิธีไหว้ครู จึงกล่าวได้ว่าพิธีไหว้ครูครอบครูเป็นพิธีที่ได้รับการยกย่องและเคารพเป็นอย่างยิ่งด้วยความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีนั้นเอง
ดังนั้นประเพณีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครจึงถือได้ว่ามีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เข้าร่วมในพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละคร เพราะผู้ที่เข้าสู่พิธีไหว้ครูถือได้ว่าได้ผ่านวิชานาฏศิลป์หรือวิชาช่างในทุกสาขาต้องได้ผ่านประเพณีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละคร เพื่อความเป็นศิริมงคลของตนและได้ผ่านขั้นตอนขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
พิธีการไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครให้กับจา พนม ยีรัมย์
การจัดงานพิธีการไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละคร ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 นั้นได้รับเกียรติจากนายเผด็จ พลับกระสงค์ข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากรเป็นประธานผู้ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครให้กับจาพนม ยีรัมย์ ตัวแทนทูตวัฒนธรรมแห่งชาติที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพการแสดง จนสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติอย่างยิ่งยวดจากการถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้แม่ไม้มวยไทยโบราณ เผยแพร่ออกไปให้คนทั่วโลกได้รู้จักจากผลงานภาพยนตร์เรื่ององค์บาก และต้มยำกุ้ง ประกอบกับทางจา พนม ยีรัมย์ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมตัวที่จะก้าวมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์พร้อมกับแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง “องค์บาก 2” ซึ่งมีรายละเอียดของเนื้อหาภาพยนตร์ที่สอดคล้องเกี่ยวกับการเชิดชูครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะการต่อสู้ในภาพยนตร์เองยังได้รับอิทธิพลพื้นฐานจากท่าทางของการแสดงโขน แต่จุดประสงค์สำคัญคือเพื่อความเคารพครูบาชาอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาท วิชาและเพื่อความเป็นศิริมงคล และความก้าวหน้าประสบความสำเร็จต่อวิชาชีพสืบต่อไป
สำหรับทางด้านรูปแบบพิธีการไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครให้กับจา พนม ยีรัมย์ ที่จัดขึ้นนี้กล่าวได้ว่าเป็นพิธีที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องมาตามรูปแบบพิธีไหว้ครูครอบครูอย่างเป็นทางการ โดยทั้งนี้ศีรษะโขนที่ใช้ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครมีศีรษะหลักๆ 9 ศีรษะดังนี้
1.ศีรษะพระอิศวร
2.ศีรษะพระนารายณ์
3.ศีรษะพระพรหม
4.ศีรษะพระปัญจสิงขร
5.ศีรษะพระปรคนธรรพ์
6.ศีรษะพระพิคเณศ
7.ศีรษะพระพิราพ
8.ศีรษะพ่อแก่พระฤษี
9.ศีรษะเทริดโนราห์
และศีรษะที่ใช้ครอบให้กับจา พนม ยีรัมย์ที่เข้ารับการไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครมี3ศีรษะคือ
1.ศีรษะพระฤษี
2.ศีรษะพระพิราพ
3.ศีรษะเทริดโนราห์
นอกจากนี้สำหรับพิธีไหว้ครูครอบครูให้จา พนม ยีรัมย์ที่จัดขึ้นนี้ได้มีการเพิ่มพิธีครอบอีก 1ศีรษะคือศีรษะพระวิษณุกรรม เพราะถือได้ว่าเป็นศีรษะทางช่าง เป็นวิชาชีพศิลปะแขนงหนึ่ง เพราะฉะนั้นการที่จา พนม ยีรัมย์ได้ทำพิธีรับครอบศีรษะพระวิษณุกรรมนี้ ถือว่าได้รับมอบทางครูช่างเรียบร้อยแล้ว
กำหนดการพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครให้กับจา พนม ยีรัมย์
เวลา08.30น. เชิญสื่อมวลชนร่วมลงทะเบียนและรับประทานอาหารบริเวณลาน
ด้านหน้าโรงละครแห่งชาติโรงเล็ก
เวลา09.00น.
-จา พนม ยีรัมย์พร้อมทีมงานภาพยนตร์เรื่อง “องค์บาก2” จุดธูปเทียนถวายสักการะบูชาสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
-จา พนม ยีรัมย์จุดธูปเทียนบูชาสักการะเทพยดาฟ้าดินกลางแจ้งบริเวณลานด้านนอกข้างๆอนุสาวรีย์สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
เวลา09.39 น.
-จา พนม ยีรัมย์พร้อมทีมงานภาพยนตร์เรื่อง “องค์บาก2”เข้าประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขนละครอย่างเป็นทางการภายในโรงละคร
แห่งชาติโรงเล็ก
- จุดธูปเทียนถวายพระรัตนตรัย โดยมีวงปี่พาทย์บรรเลงตลอด
-จุดธูปเทียนหน้าปรัมพิธีเพื่อสักการะเทพเจ้า
-จา พนม ยีรัมย์มอบถวายขันกำนลครู
เวลา 10.00น.
-ประธานผู้ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ครอบครูโขน-ละครทำพิธีอัญเชิญบูชาครูเทพเจ้า
-พิธีสรงน้ำเทวรูปและถวายเครื่องสังเวย
-พิธีครอบครูโขน-ละครเพื่อความเป็นศิริมงคลตามสืบทอดประเพณีโบราณ
-ข้าราชการฝ่ายนาฏศิลป์สำนักการสังคีตทำพิธีรำถวายมือ
-ผู้เข้าร่วมพิธีไหว้ครูครอบครูรับพรจากครูพร้อมทำพิธีส่งครู
-ผู้เข้าร่วมพิธีทำพิธีรำโปรยข้าวตอกดอกไม้ ,และร่วมรำแสดงความยินดี ประกอบเพลงกราวรำ
เวลา13.30 น.
-ประธานผู้ประกอบพิธีไหว้ครูมอบเครื่องโรง(ศาสตราอาวุธต่างๆ)ให้กับ จา พนม เปรียบเสมือนว่าได้รับการมอบสิทธิในการเป็นผู้ถ่ายทอดทางด้านศิลปะการแสดงสืบต่อไป
-ทุกคนร่วมแสดงความยินดีไชโยโห่ร้อง อันเป็นจบพิธี


ศีรษะครูที่ใช้ประกอบพิธีไหว้ครูมีอะไรบ้าง

๙. ครูผู้ประกอบพิธี ทำพิธีครอบให้ศิษย์ที่มาร่วมงาน โดยนำศีรษะครูมาครอบให้ ๓ ศีรษะ คือ - ศีรษะพระครูฤาษี อันเป็นสัญลักษณ์ครูทั่วไป - ศีรษะพระพิราพ อันเป็นสัญลักษณ์ครูโขน - ศีรษะเทริดโนห์รา อันเป็นสัญลักษณ์ครูละคร

ศีรษะครูที่ใช้ในพิธีไหว้ครูดนตรีนาฏศิลป์สื่อความหมายอย่างไร

๙. หัวโขนพระพิราพ แทนสัญลักษณ์องค์พระพิราพ ถือว่าเป็นครูอสูรเทพผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ซึ่งศิลปินโขน-ละคร ดนตรีไทย เคารพสักการะในฐานะเป็นครูดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์ เป็นเทพเจ้าแห่งความตาย ความหายนะทั้งปวง ในขณะเดียวกันก็เป็นเทพเจ้าแห่งความประสบโชค ขจัดโรคภัยต่างๆ เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านซ้ายของเวที ต่ำกว่าพระ ...

ศีรษะเทพองค์ใดจัดไว้บนสุดของปรัมพิธี

๑. หัวโขนพระอิศวร แทนสัญลักษณ์องค์พระอิศวร ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่ง และเป็นเป็นเทพเจ้าผู้ทำลายล้าง เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะต้องตั้งให้สูงสุดกว่าหัวโขนอื่ ๐

เศียรครูมีอะไรบ้าง

โดยปรกติแล้วเศียรหลักของการไหว้ครูทางด้านนาฏศิลป์นั้นจะบูชาทั้งหมด ๑๐ เศียร ๑.พระอิศวร ๒.พระนารายณ์ ๓.พระพรหม ๔.พระปรคนธรรม ๕.พระปัญจสิงขร ๖.พระวิษณุกรรม ๗.พระพิฆเนศ ๘.พ่อแก่หรือ พระพรตมุนี ๙.พระพิราพ ๑๐.เทริดมโนราห์