หัวใจทารกในครรภ์ เต้น ผิดปกติ

  • เดือนที่ 1 (4สัปดาห์) ทารกจะมีขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดข้าว จะเริ่มมีตุ่มเล็กๆยื่นออกมาลักษณะคล้ายมือและเท้า มีการสร้างสายสะดือและถุงน้ำคร่ำห่อหุ้ม ส่วนเซลล์ภายในจะมีเนื้อเยื่อพิเศษสองชั้นและจะกลายเป็นสามระดับชั้นตามลำดับ โดยเซลล์ชั้นแรกจะพัฒนาเป็นสมอง ระบบประสาท ผิวหนัง ตา และหู ส่วนชั้นต่อมาจะพัฒนาเป็นปอด กระเพาะอาหาร และชั้นที่สามจะกลายเป็นหัวใจ หลอดเลือด กล้ามเนื้อ และกระดูก
  • เดือนที่ 2 (8สัปดาห์) ช่วงนี้ทารกจะมีการการเจริญเติบโตของระบบที่สำคัญในร่างกาย ในเดือนที่ 2 นี้ตัวทารกจะมีความยาวประมาณ 1 นิ้วฟุต ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ทารกก็จะมี แขน ขา หน้า รูปร่างเหมือนมนุษย์ขนาดจิ๋ว และคุณแม่เองก็จะเริ่มมีอาการแพ้ท้อง
  • เดือนที่ 3 (12สัปดาห์) เริ่มเห็นอวัยวะแต่ละส่วนของทารกชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา มือ เท้า จมูก ตา ปาก ใบหน้า ขนาดลำตัวของทารกที่โตขึ้นประมาณ 3นิ้้ว มีอวัยวะครบ 32 แต่ยังไม่สมบูรณ์ ช่วงนี้ยังสามารถได้ยินเสียงเต้นของหัวใจทารกได้ แต่ไม่ดังมาก ระยะนี้ควรระมัดระวังเรื่องยาที่รับประทาน ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • เดือนที่ 4 (16สัปดาห์) ทารกจะมีขนอ่อน และเริ่มมีขนขึ้นตามร่างกายส่วนต่างๆ อาทิ มีเส้นผมขึ้น มีสีคิ้วเข้มขึ้น และขนตาเริ่มปรากฏชัดขึ้น จมูก นิ้วมือและเท้า จะเห็นได้ชัดเจน ระบบการส่งคลื่นเสียงของหูเริ่มทำงานเต็มที่ และคุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการดิ้นของลูกเป็นครั้งแรก
  • เดือนที่ 5 (20สัปดาห์) เริ่มมีการดิ้นมากขึ้น ไวต่อการสัมผัส เนื่องจากระบบประสาทพัฒนาอย่างสมบูรณ์จนสามารถควบคุบการทำงานของกล้ามเนื้อได้แล้ว ฟันน้ำนมเริ่มก่อตัวขึ้นในเหงือก ช่วงนี้ทารกลูกเริ่มได้ยินเสียงจากภายนอกและตอบสนองได้
  • เดือนที่ 6 (24สัปดาห์) ทารกเริ่มเติบโตช้ากว่าเดิม เพื่อให้อวัยวะภายใน เช่น ปอด ระบบย่อยอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันได้พัฒนาอย่างเต็มที่ สมองพัฒนาจนเริ่มจดจำและเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ การดิ้นของทารกในช่วงนี้ก็เกิดขึ้นอย่างมีวัตถุประสงค์มากขึ้น ประสาทการได้ยินก็พัฒนามากขึ้นจนจำเสียงพ่อกับแม่ได้
  • เดือนที่ 7 (28สัปดาห์) คุณแม่จะรู้สึกได้ดีถึงการเคลื่อนไหวของทารก ระยะครรภ์นี้ทารกจะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัมโดยประมาณ เปลือกตาจะเปิดเป็นครั้งแรก เริ่มมีอาการมดลูกบีบตัวเป็นระยะห่างๆกันและจะบีบรัดตัวครั้งละไม่นานเกิน 30 วินาที ในระยะนี้คุณแม่ควรจะได้เข้าอบรมเรียนรู้ขั้นตอนการเตรียมคลอด
  • เดือนที่ 8 (32สัปดาห์) มีการเจริญเติบโตของระบบกล้ามเนื้อมากขึ้น การทำงานของอวัยยวะต่างๆ ประสานงานกันได้ดีขึ้น หรืออาจอยู่ในท่ากลับหัวพร้อมที่จะคลอด มีการขยับตัวน้อยลงเพราะพื้นที่ในท้องแม่น้อยเกินไปเนื่องจากขนาดตัวของทารกโตขึ้น ช่วงหนึ่งเดือนก่อนคลอดคุณแม่อาจมีอาการมดลูกบีบรัดตัวซึ่งเป็นอาการที่ เรียกว่า เจ็บท้องหลอก การหดตัวรัดตัวนี้ก็เพื่อดันตัวทารก มาประชิดปากมดลุกเพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอด
  • เดือนที่ 9 (36สัปดาห์) ทารกจะสลัดขนอ่อนตามร่างกายออกเกือบหมดเหลือไว้แต่บริเวณไหล่ แขน ขา และรอยย่นตามลำตัว ผิวหนังนุ่มและเรียบ ยังคงมีไขสีขาวเคลือบอยู่บ้างบริเวณหลังเพื่อหล่อลื่นให้ทารกคลอดได้ง่าย เล็บมือจะยาว ปลายเล็บอาจข่วนบริเวณใบหน้าได้ ต่อมหมวกไตจะสร้างฮอร์โมนเร่งความสมบูรณ์ของปอด เพื่อเตรียมการหายใจครั้งแรกของชีวิตหลังคลอด ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัว 3-4 กก. และมีความยาวจากศีรษะถึงก้นประมาณ 35-37 ซม. สังเกตดูใน 1 ชั่วโมงหลังอาหาร เด็กทารกในครรภ์ต้องดิ้นไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ถ้าน้อยกว่าให้สังวรว่า อาจจะมีความผิดปกติเกิดแก่ทารก ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็ว

  • การตรวจพบการเต้นของหัวใจทารก

    เราสามารถตรวจการเต้นของหัวใจทารกภายในครรภ์ได้ตามวิธีดังนี้
  • ตรวจด้วยstethoscope: เริ่มได้ยินเสียงหัวใจทารกเมื่ออายุครรภ์ 17-19 สัปดาห์ อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์จะอยู่ที่ 120-160 ครั้ง/นาที ทั้งนี้ เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นจะได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น
  • ตรวจด้วยUltrasonic Doppler: วิธีนี้จะได้ยินเสียงหัวใจทารกตั้งแต่อายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ขึ้นไป
  • ตรวจด้วยReal time sonography: สามารถตรวจการเต้นของหัวใจทารกและการเคลื่อไหวของทารก หลังจากเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์
  • ตรวจด้วยEchocardiography: สามารถฟังเสียงเต้นของหัวใจทารกได้ตั้งแต่ 48 วันหลังประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย

  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจหรือหลอดเลือดใกล้หัวใจตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยปกติหัวใจของทารกในครรภ์จะเริ่มสร้างเมื่อทารกมีอายุครรภ์ได้ 5 สัปดาห์ และเสร็จสมบูรณ์เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ การสร้างหัวใจจะถูกกำกับด้วยสารทางพันธุกรรมเรียกว่ายีน อาจแสดงอาการตั้งแต่แรกเกิดหรือเพิ่งเริ่มสังเกตเห็นอาการเมื่อเริ่มโตขึ้น โรคนี้แบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่

    • ชนิดเขียว: หัวใจและหลอดเลือดผิดปกติทำให้เลือดแดง และเลือดดำผสมกัน จนลำเลียงออกซิเจนไม่ได้ ทำให้อวัยวะต่างๆ ไม่ได้รับออกซิเจนในเลือดเพียงพอ ส่งผลให้เด็กที่เกิดมามีผิวสีเขียวคล้ำ โดยเฉพาะปลายมือ ปลายเท้า ริมฝีปาก จะเห็นได้ชัดขณะที่เด็กดูดนม หรือขณะกำลังร้อง
    • ชนิดไม่เขียว: เป็นภาวะที่เลือดมีออกซิเจนเพียงพอแต่กลับไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างที่เหมาะสม และหัวใจมีการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้น้อยลง เช่น โรคผนังกั้นห้องหัวใจรั่วทั้งบนและล่าง โรคลิ้นของเส้นเลือดไปปอดตีบ โรคเส้นเลือดเกิน ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากได้เหมือนคนปกติ ในวัยทารกจะมีอาการเหนื่อยง่ายขณะดูดนม หากโตขึ้นมีการทำกิจกรรมที่หนักอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ร่างกาย และสมองขาดออกซิเจน เป็นลมหมดสติได้ง่าย

    ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

    ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่สันนิษฐานว่าเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่

    1. โรคทางพันธุกรรมบางชนิด ความผิดปกติของพันธุกรรมสามารถส่งผลต่อกระบวนการสร้างหัวใจ ทำให้หัวใจไม่สมบูรณ์ เช่น ดาวน์ซินโดรม เกิดจากการที่เด็กมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา พบว่าประมาณร้อยละ 40 จะทำให้มีความผิดปกติของหัวใจ และ เทอร์เนอร์ซินโดรม เกิดจากการที่โครโมโซมเพศหายไป 1 ตัวในเด็กหญิง พบว่าประมาณร้อยละ 30 มีความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจและเส้นเลือดตีบ
    2. ปัจจัยเสี่ยงของแม่ขณะตั้งครรภ์ เช่น การมีโรคประจำตัวเบาหวาน การเจ็บป่วยและได้รับเชื้อขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เช่น หัดเยอรมัน ไข้หวัดใหญ่ รวมไปถึงการได้รับยาหรือสารแคมีต่างๆ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

    อาการของเด็กหัวใจพิการแต่กำเนิด

    อาการของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของความผิดปกติ โรคนี้ไม่ได้พบแค่ในทารกแรกเกิดเท่านั้น แต่ยังสามารถพบได้ในเด็กเล็ก สำหรับเด็กที่ไม่ได้เป็นโรคนี้อย่างรุนแรงอาการอาจจะไม่แสดงออก แต่สามารถสังเกตอาการได้ในภายหลัง โดยมีลักษณะ ดังนี้

    1. อาการเขียว ในเด็กแรกเกิดจะสามารถสังเกตได้จากบริเวณเยื่อบุบริเวณริมฝีปาก ลิ้น เยื่อบุตา หรือใต้เล็บ ในเด็กเล็กที่เริ่มมีอาการเขียว อาจเห็นว่าปลายนิ้วมือมีสีแดงม่วงกว่าส่วนอื่น
    2. เสียงหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งสามารถตรวจโดยแพทย์เฉพาะทาง
    3. มีเหงื่อออกมากโดยเฉพาะบริเวณศีรษะ โดยไม่ได้สัมพันธ์กับเสื้อผ้าที่หนา หรืออากาศร้อน
    4. เหนื่อยง่าย ในเด็กแรกเกิดสังเกตได้จากการดูดนมใช้เวลานานกว่าปกติ ในเด็กโตขึ้นจะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย หายใจหอบ หรือต้องนอนศีรษะสูง
    5. ตัวเล็ก เลี้ยงไม่โต น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์ หรือพัฒนาการทางกล้ามเนื้อช้า
    6. หน้ามืด เป็นลม
    7. หัวใจเต้นเร็วและแรงกว่าปกติ มีการกระเพื่อมของหน้าอกซ้ายด่านล่าง แถวๆ ใกล้ราวนม คล้ายกลองที่ถูกตี

    หัวใจทารกในครรภ์ เต้น ผิดปกติ

    การตรวจวินิจฉัยหัวใจพิการแต่กำเนิด

    การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจในเด็กโดยกุมารแพทย์โรคหัวใจสามารถทำได้หลายวิธี โดยขั้นตอนการตรวจจะเริ่มจากการตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การตรวจร่างกายฟังเสียงหัวใจ การวัดปริมาณออกซิเจนในร่างกายที่มือและเท้าทั้ง 2 ข้าง สามารถใช้ตรวจคัดกรองโรคหัวใจในเด็กได้ตั้งแต่แรกเกิด หลังจากนั้นกุมารแพทย์โรคหัวใจจะพิจารณาการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น การทำเอกซเรย์ทรวงอกและปอด เพื่อดูขนาดหัวใจ และดูลักษณะของเส้นเลือดในปอด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจความผิดปกติของขนาดห้องหัวใจ การอัลตราซาวด์หัวใจ และการสวนหัวใจ เป็นการสอดท่อขนาดเล็กเพื่อตรวจดูการทำงานของหัวใจ เป็นต้น

    โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดรักษาอย่างไร

    การรักษาขึ้นอยู่กับอาการ และความรุนแรงของผู้ป่วยด้วย ได้แก่

    • การรักษาด้วยยา จะเป็นการรักษาเพื่อประคับประคองการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจในรายที่หัวใจมีความผิดปกติไม่มากและหายเองได้ ได้แก่ กลุ่มยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เพื่อควบคุมอาการทางหัวใจ เช่น ในกรณีที่มีผนังกั้นห้องหัวใจด้านล่างรั่ว ซึ่งเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่พบบ่อยที่สุด
    • การรักษาด้วยการสวนหัวใจ สามารถรักษาโดยการใส่อุปกรณ์พิเศษเพื่อปิดรูรั่ว ใช้รักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดมีรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจด้านล่าง และด้านบน โรคหัวใจที่มีเส้นเลือดแดงเกินผิดปกติระหว่างปอดและหัวใจ การใส่บอลลูนเพื่อขยายลิ้นหัวใจและหลอดเลือดที่ตีบ และใส่ขดลวดเพื่อขยายส่วนที่ตีบได้ ในโรคลิ้นหัวใจเส้นเลือดไปปอดตีบ ลิ้นหัวใจเส้นเลือดไปร่างกายตีบ เส้นเลือดไปปอดตีบ เป็นต้น
    • การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อแก้ความผิดปกติ ในกรณีเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว หรือ การผ่าตัดปิดผนังกั้นห้องหัวใจด้านล่างที่รั่ว

    โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเป็นได้ตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงอาการรุนแรง การตรวจเช็คว่าลูกน้อยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่จึงมีความสำคัญ เด็กที่สงสัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วโดยกุมารแพทย์โรคหัวใจ เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลนครธน และโรงพยาบาลเปาโล

    ป้ายกำกับ:กุมารแพทย์โรคหัวใจ, ดาวน์ซินโดรม, โครโมโซม, โรคทางพันธุกรรม, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, โรคหัวใจในเด็ก

    ทารกในครรภ์หัวใจเต้นเร็วผิดปกติไหม

    เสียงหัวใจทารกในครรภ์แบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ สัญญาณเตือนที่คุณแม่สามารถสังเกตได้ก็คือ พบว่าหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หรืออาจจะอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน โดยที่อัตราการเต้นของหัวใจจอยู่ต่ำกว่า 120 ครั้งต่อนาทีหรือเต้นมากกว่า 160 ครั้งต่อนาที

    ทำไม หัวใจทารก เต้นช้า

    Bradyarrhythmia หมายถึงภาวะที่หัวใจทารกเต้นช้ากว่า 100 ครั้งต่อนาที สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก blocked PACs, atrioventicular block, และ sinus bradycardia ส่วนหัวใจทารกเต้นช้าเป็นระยะเวลาสั้น ๆ พบได้บ่อยและมักสัมพันธ์กับ vagal stimulation อันเนื่องมาจากหน้าท้องมารดาถูกกด (จากหัวตรวจอัลตราซาวด์) หรือเกิดจากสายสะดือทารกถูกกด ...

    ทารกในครรภ์หัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาที

    อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วคนท้องจะมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น 10-15 ครั้งต่อนาที ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากหัวใจมีการสูบฉีดเลือดเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

    หัวใจทารกควรเต้นเท่าไร

    เด็กเล็กหรือทารก ควรมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 90-140 ครั้งต่อนาที หากเต้นช้าหรือมากกว่านี้ ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือน แสดงความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจได้