วิวัฒนาการของดนตรีสากล 9 ยุค

1. สมัยกลาง ( The Middle Ages ค.ศ. 850 – 1450 ) พ.ศ. 1393 – 1993 ก่อนสมัยนี้ราวศตวรรษที่ 6 ดนตรีขึ้นอยู่กับศาสนา Pope Gregorian เป็นผู้รวบรวมบทสวด เป็นทำนองเดียว ( Monophony ) โดยได้ต้นฉบับจากกรีก เป็นภาษาละติน ต่อมาจึงมี 2 ทำนอง( Polyphony ) ศตวรรษที่ 11 การศึกษาเริ่มในโบสถ์ในสมัยกลางนี้เองได้เริ่มมีการบันทึกตัวโน้ต โดยมีพระองค์หนึ่งเป็นชาวอิตาเลียนชื่อ Guido D’Arezzo ( พ.ศ. 1538 – 1593 ) ได้สังเกตเพลงสวดเก่าแก่เป็นภาษาละตินเพลงหนึ่งแต่ละประโยคจะมีเสียงค่อย ๆ สูงขึ้น จึงนำเอาเฉพาะตัวแรกของบทสวดมาเรียงกัน จึงออกเป็น Do Re Mi Fa Sol La Te Do( เว้นตัว Te เอาตัวที่ 2 ) ต่อมา ค.ศ. 1300 ( พ.ศ. 1843 ) ดนตรีก็เริ่มเกี่ยวกับศาสนาอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

2. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ( The Renaissance Period ค.ศ. 1450 – 1600 ) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1993 – 2143 ตรงกับสมัยโคลัมบัส และเชคสเปียร์ ดนตรีในยุคนี้มักจะเป็นการเริ่มร้องหมู่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการร้องเพื่อสรรเสริญพระเจ้า ร้องกันในโบสถ์มี 4 แนว คือ โซปราโน อัลโต เทเนอร์ และเบส การร้องจะมีออร์แกนหรือขลุ่ยคลอ ดนตรีในสมัยนี้ยังไม่มีโน้ตอ่าน และมักเล่นตามเสียงร้อง 

3. สมัยบาโรค ( BaroQue ค.ศ. 1650 – 1750 ) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2143 – 2293 และนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ บาค ไฮเดิล ในยุคต้นของสมัยบาโรค ( พ.ศ. 2143 – 2218 ) มีเครื่องดนตรีประมาณ 20 – 30 ชิ้นสลับกันเล่น เพื่อให้มีรสชาติในการฟังเครื่องดนตรีในการคลอเสียงร้อง เช่น ลิ้วท์ ขลุ่ย ต่อมาได้วิวัฒนาการใช้เครื่องสายมากขึ้นเพื่อประกอบการเต้นรำ รวมทั้งเครื่องลมไม้ด้วย ในสมัยนี้ผู้อำนวยเพลงจะเล่นฮาร์พซิคอร์ด

4. สมัยคลาสสิค ( Classical Period ค.ศ. 1750 – 1825 ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2273 – 2368 สมัยนี้ตรงกับการปฏิวัติและการปฏิรูปในอเมริกา ไฮเดิลเป็นผู้ริเริ่มในการแต่งเพลงและคลาสสิค การแต่งเพลงในยุคนี้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของคีตกวีที่จะเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับลีลา และโอกาสตามอารมณ์ของดนตรี เช่น ดนตรีลักษณะหวานก็ใช้ไวโอลิน ถ้าแสดงความองอาจกล้าหาญ ก็ใช้แตรทรัมเปต มีการเดี่ยวเครื่องดนตรี นักดนตรีต้องศึกษาและเล่นให้ถูกต้องตามแบบแผน เพราะดนตรีในยุคนี้เริ่มเข้าร่องเข้ารอย คีตกวีในยุคที่มีไฮเดิล โมสาร์ท กลุ๊ก บีโธเฟน โดยเฉพาะบีโธเฟน เป็นคีตกวีในสมัยโรแมนติกด้วย

5. สมัยโรแมนติก ( Romantic Period ค.ศ. 1825 – 1900 ) พ.ศ. 2368 – 2443 สมัยนี้ตรงกับสมัยนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส เพลงในสมัยนี้ ผิดไปจากเพลงในสมัยก่อน ๆ คือเมื่อก่อนเริ่มแรกเกี่ยวกับศาสนา ต่อมามีการเลือกใช้เครื่องดนตรีและในสมัยนี้ จะแต่งตามจุดประสงค์ตามความคิดฝันของคีตกวี เน้นอารมณ์เป็นสำคัญนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี ชูเบิร์ต เสตร้าส์ เมนโดโซน โชแปง ชูมานน์ บราหมส์ ไชคอฟสกี้ โดยเฉพาะในยุคนี้ แต่ละประเทศในยุโรปจะมีความนิยมไม่เหมือนกัน เช่น ลักษณะของเพลงร้อง เพลงประกอบละคร เพลงเต้นรำแบบวอลท์ เป็นไปตามคีตกวีและความนิยมส่วนใหญ่

6. สมัยอิมเพรสชั่นนิสซึม ( Impressionism ค.ศ. 1850 – 1930 ) ประมาณ พ.ศ. 2393 – 2473 เป็นสมัยแห่งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ดัดแปลงดั้งเดิมจากสมัยโรแมนติกให้แปลกออกไปตามจินตนาการของผู้แต่ง เปรียบเทียบได้กับการใช้สีสันในการเขียนรูปให้ฉูดฉาด ในด้านดนตรีผู้ประพันธ์มักสรรหาเครื่องดนตรีแปลก ๆ จากต่างประเทศ เช่น จากอินเดียมาผสมให้มีรสชาติดีขึ้น การประสานเสียงบางครั้งแปร่ง ๆ ไม่รื่นหูเหมือนสมัยก่อน ทำนองเพลงอาจนำมาจากทางเอเชียหรือประเทศใกล้เคียง แล้วมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับดุริยางค์ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี คลาวด์อบุชชี อิกอร์ สตราวินสกี่ อาร์โนลด์ โชนเบิร์ล           

7. สมัยคอนเทมพอลารี ( Contempolary ค.ศ. 1930 – ปัจจุบัน ) หรือ Modern Music – Eletronics ตั้งแต่ พ.ศ. 2473 จนถึงปัจจุบัน ชีวิตของคนในปัจจุบันอยู่กับความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ได้รู้ได้เห็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ เช่น ไอพ่น ยานอวกาศโทรทัศน์ นักแต่งเพลงปัจจุบัน จึงเปลี่ยนวิธีการของการประพันธ์เพลงให้เป็นไปในแบบปัจจุบัน

วิวัฒนาการของดนตรีสากล

-กุมภาพันธ์ 17, 2562

 วิวัฒนาการของดนตรีสากลแบ่งตามยุคสมัยได้ดังนี้
   1.  ยุคกลาง  มีช่วงระยะเวลายาวนานถึง 450 ปี แบ่งเพลงออกได้สองแบบ คือ เพื่อความบันเทิง และเพลงเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งเพลงเกี่ยวกับศาสนายังมีทำนองเดียว  แต่ยุคนี้เริ่มมีเสียงประสานอย่างง่ายที่เรียกว่า  ออกานุม ขึ้นมา ในสมัยนี้นิยมเพลงร้องในพิธีเรียกว่า โมเท็ต และเพลงศาสนาเรียกว่า แมส โดยโมเท็ตจะมีท่วงทำนองที่สั้นกว่า โดยทั้งสองเพลงมีเนื้อร้องเป็นภาษาละติน เป็นที่นิยมมากในประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี
     ยุคนี้เริ่มมีการบันทึกดนตรีในระบบโน้ตสากลแล้วโดยพระชาวอิตาลี ชื่อ กวิโด ดาเรซโซ ซึ่งเป็นต้นแบบของโน้ตตามที่เราใช้เรียนอยู่ในยุคปัจจุบัน และเริ่มใช้เครื่องดนตรีประเภท ลูต หรือ ซึง คลอตามเสียงร้อง
 
   2. ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ  ยุคนี้เป็นยุคทองของการขับร้องประสานเสียง ซึ่งนิยมขับร้องประสานแบบสี่แนว หรือ สี่กลุ่ม โดยแบ่งเป็น กลุ่มเสียงผู้หญิง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเสียงโซปราโน (เสียงสูงสุด)  กับกลุ่มเสียงอัลโต (เสียงต่ำของผู้หญิง) และกลุ่มเสียงของผู้ชาย มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเสียงเทเนอร์ (เสียงสูงผู้ชาย) กับกลุ่มเสียงเบส (เสียงต่ำผู้ชาย)  เพลงที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาในยุคนี้คือเพลงแมดริกัน ซึ่งใช้ภษาแต่ละชาติ(ไม่ใช่ภาษาละติน) เป็นเนื้อร้อง และมีเนื้อร้องเกี่ยวกับความรักและสรรเสริญบุคคลสำคัญ

  3. ยุคบาโรก  สะท้อนให้เห็นกระบงนการแบบฉบับเฉพาะตัวของยุค ที่เน้นความ โอ่อ่า หรูหรา และฟุ่มเฟือย  เน้นความสม่ำเสมอของจังหวะ ทำนองเป็นแบบทำนองเดียวสั้นๆ เครื่องดนตรีเริ่มมีใช้มากขึ้นเพืื่อให้เกิดสีสันแลอรรถรสในการรับฟัง ที่เด่นชัดคือใช้เสียงกระหึ่มของเสียงออร์แกน

  4. ยุคโรโคโค   เป็นยุคที่เน้นการประดับให้หรูหรางดงามกับศิลปะ
ทุกสาขา ดนตรีในยุคนี้มีลักษณะเบา  งดงาม และบางครั้งอาจแทรกความตลกคะนองลงไปด้วย

  5. ยุคคลาสสิก  ยุคนี้จะแยกดนตรีทางศาสนาและดนตรีเพื่อความสุนทรีย์ออกจากกัน จังผหวะและเสียงดนตรีในเพลงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด  ทำนองเพลงมีความเร็วและช้าสลับกันไม่นิยมสอดประสานทำนองแบบลีลาประสานทำนอง แต่หันมาเน้นทำนองหลักทำนองเดียวและใส่แนวเสียงประสานเพื่อเน้นให้ทำนองหลักมีความไพเราะยิ่งขึ้น 
    นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนดรูปแบบของเพลงที่เป็นแบบแผน ได้แก่ เพลงซิมโฟนีและเพลงคอนแชร์โต มีเครื่องดนตรีที่ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเปียโน  มีการประสมวงที่แน่นอน เช่น วงเชมเบอร์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 2 - 9 ชิ้น วงออร์เคสตรา ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มเครื่องสาย  กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้ กลุ่มเครื่องเป่าลมทองงเหลือง และกลุ่มเครื่องกระทบ
    ในยุคนี้การแสดงอุปรากร (Opera) เป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะเป็นการแสดงที่รวมศิลปะหลายอย่างไว้ด้วยกันทั้ง ศิลปะดนตรี  ศิลปะการแสดง  ศิลปะการจัดฉาก ศิลปะการเขียนบท  โดยสังคีตกวีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ ได้แก่ ฟรานซ์ โยเซฟ ไฮเดิน  บิดาแห่งเพลงซิมโฟนี และ โวล์ฟกัง  อะมาเดอุส  โมสาร์ท  บิดาแห่งเพลงสตริงคลอเต็ทผู้ประพันธ์เพลงมากกว่า 600 บทเพลงและ ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน  ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสังคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล

    6. ยุคโรแมนติก ในยุคนี้เริ่มมีการจัดการแสดงที่เรียกเก็บเงินค่าเข้าชมที่เรียกว่า คอนเสิร์ต ลักษณะดนตรีในยุคนี้มีทั้งดนตรีเพื่อศิลปะดนตรีบรรยายเรื่องราว ดนตรีที่แสดงความเป็นชาตินิยม มีการนำคอร์ดที่มีเสียงไม่กลมกลืนมาใช้มากขึ้น เน้นความหนัก เบา และเทคนิคการบรรเลงมากยิ่งขึ้น

   7. ยุคศตวรรษที่ 20 ยุคนี้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามามีบทบาทในชีวิต และมีอิทธิพลต่อดนตรีอย่างมาก  ในยุคนี้ได้เกิดเพลงและดนตรีประเภท ป๊อบปูลาร์ (Popular Songs) ขึ้น



WINKWHITE

วิวัฒนาการของดนตรีสากลเริ่มต้นในยุคใด

1. ยุคกลาง (Middle Age) ค.ศ. 500-1400. บทเพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงร้องที่ใช้ในโบสถ์เพื่อสรรเสริญพระเจ้าเพียงอย่างเดียว โดยบางครั้งอาจเป็นการร้องสอดประสานกันบ้างประมาณ 2-3 แนวในปลายยุคและยังไม่พบการบรรเลงที่เป็นรูปแบบมาตรฐานอย่างเด่นชัด 2. ยุครีเนซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ค.ศ. 1400-1600.

ต้นกำเนิดของดนตรีสากลมีวิวัฒนาการมาจากสิ่งใด

ดนตรีสากล หมายถึง ดนตรี เครื่องดนตรี และแนวดนตรีที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นที่แพร่หลายจนเป็นมาตรฐานเดียวกัน ดนตรีสากลมีที่มาจากเพลงศาสนา ต่อมาชาวยุโรปได้มีการบันทึกทำนองเพลงที่เป็นแบบแผนเดียวกันโดยใช้สัญลักษณะที่เรียกว่า "โน้ตสากล" และใช้กับเครื่องดนตรีสากลที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ...

วิวัฒนาการของดนตรีสากลแบ่งออกเป็นกี่ยุคสมัย? มียุคสมัยอะไรบ้าง

ยุคสมัยของดนตรีตะวันตก ... .
1. ยุคกลาง (Middle Ages) ... .
2. ยุครีเนซองค์ (Renaissance Period) ... .
4. ยุคคลาสสิค (Classical period) ... .
5. ยุคโรแมนติด(Romantic period) ... .
6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (Impressionistic Period หรือ Impressionism) ... .
7. ยุคศตวรรษที่ 20(Contemporary Period).

วิวัฒนาการด้านดนตรีในยุคคลาสสิคมีการเปลี่ยนแปลงไปจากยุคบาโลกอย่างไร

ลักษณะของดนตรีในสมัยคลาสสิกที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรกที่เห็นได้ชัด คือ การไม่นิยม การสอดประสานของทำนองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนอง หลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสาน ลักษณะของบาสโซ คอนตินูโอเลิกใช้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น