การออกแบบรูปภาพและสัญลักษณ์ คือ

  1. 1.      การออกแบบ คือข้อใด

ก.   สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

ข.    การศึกษาองค์ประกอบ

ค.   การประยุกต์เอกภาพ

ง.    การพัฒนาขั้นพื้นฐาน

     2.    เพราะเหตุใดการออกแบบจึงมีบทบาทสำคัญในสังคมปัจจุบัน

ก.   ชีวิตมนุษย์เกี่ยวข้องกับหลักการจัดองค์ประกอบ

ข.                                     ชีวิตมนุษย์เกี่ยวข้องกับการสื่อสารรับรู้ข้อมูล

ค.   ชีวิตมนุษย์เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข้อมูล

ง.                                      ชีวิตมนุษย์เกี่ยวข้องกับความแปลกใหม่

     3.    กระบวนการออกแบบรูปภาพที่จำเป็น คือข้อใด

ก.   จำนวนจุด  ลักษณะของเส้น

ข.                                     ขนาดของแบบ สีที่ใช้

ค.   สังเกต แก้ปัญหา การวางแผน

ง.                                      ศึกษาหลักการขององค์ประกอบ

     4.    การออกแบบรูปภาพเป็นองค์ประกอบหลักของการออกแบบประเภทใด

ก.   งานประดิษฐ์

ข.   งานแกะสลัก

ค.   งานโฆษณา

ง.   งานปั้น

5.   ความหมายของการออกแบบสัญลักษณ์ คือข้อใด

ก.   สามารถตอบสนองทางอารมณ์

ข.   สะท้อนความคิดของเจ้าของผลงาน

ค.   นำรูปร่างแบบเรขาคณิตมาจัดวางเป็นระเบียบ

ง.   สื่อความหมายให้เข้าใจร่วมกัน

     6.    สัญลักษณ์เกี่ยวข้องกับกติกาของสังคมในเรื่องใด

ก.   ทำให้ผู้พบเห็นได้เข้าใจตรงกัน

ข.   มีการออกแบบซับซ้อนเข้าใจยาก

ค.   รูปแบบแตกต่างจากธรรมชาติ

ง.   มีคำบรรยายประกอบภาพ

     7.    แนวทางการออกแบบสัญลักษณ์ คือข้อใด

ก.   ดัดแปลงจากของเดิมเท่านั้น

ข.   รูปทรงแปลกใหม่

ค.   สื่อความหมายให้เข้าใจตรงกัน

ง.   มีคำบรรยายประกอบ

     8.    การออกแบบกราฟิก คือข้อใด

ก.   การรวบรวมกระบวนการทัศนศิลป์

ข.   การรวบรวมกระบวนการพิมพ์ทุกแขนง

ค.   การวางแผนการเลือกใช้ทัศนธาตุ

ง.   สื่อความหมายได้อย่างสมบูรณ์

     9.    ความสำคัญของการออกแบบกราฟิก คือข้อใด

ก.   มีแนวคิดที่ทันสมัยและก้าวหน้า

ข.   นำไปใช้ตรงตามวัตถุประสงค์

ค.   สร้างความประทับใจให้กับผู้พบเห็น

ง.   ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ช่วยเสริมการรับรู้

     10.  ข้อใดคือวัตถุประสงค์ในการออกแบบกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์

ก.   เสริมสร้างลักษณะเด่นของผลงาน

ข.    ผลงานดึงดูดความสนใจ

ค.   ผลงานสร้างความน่าเชื่อถือ

ง.    ผลงานมีความประณีต

     11. การวิจารณ์เพื่อประเมินงานทัศนศิลป์ ควรคำนึงถึงเรื่องใด

ก.    หลักเกณฑ์และแบบประเมิน

ข.    หลักเกณฑ์และเหตุผล

ค.    การวิเคราะห์และเหตุผล

ง.    การแสดงความคิดเห็น

          12. การวิจารณ์งานทัศนศิลป์ต้องพิจารณาจากเรื่องใด

               ก.    ประสบการณ์ ฝีมือ ความคิดสร้างสรรค์

ข.    ประสบการณ์ ฝีมือ วัสดุ – อุปกรณ์

ค.    ฝีมือ วัสดุ – อุปกรณ์  ความคิดสร้างสรรค์

ง.    ประสบการณ์ วัสดุ – อุปกรณ์ ความคิดสร้างสรรค์

          13. การวิจารณ์งานทัศนศิลป์ที่ดี ควรคำนึงถึงเรื่องใด

               ก.    ต้องพิจารณาอย่างมีเหตุผล

ข.    ต้องมีความคิดเห็นเหมือนๆ กัน

ค.    สิ่งที่เราคิดจะต้องถูกต้องเสมอ

ง.    สามารถใช้รสนิยมส่วนตัว

          14. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานทัศนศิลป์

ก.    เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานงานศิลปะ

ข.     มีความยุติธรรม

ค.    มีความมั่นใจในตัวเองสูง

ง.     มีความใจกว้าง

          15. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ของการประเมินงานทัศนศิลป์

ก.    เพื่อความชื่นชมผลงาน

ข.    เพื่อปรับปรุงพัฒนาผลงาน

ค.    เพื่อความเข้าใจในเรื่องราวของผลงาน

ง.    เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงาน

          16. ความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะอย่างไร

               ก.    คัดลอกผลงานได้ดี

ข.    ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ

ค.    ความแปลกใหม่ของรูปแบบ

ง.    เนื้อหาสาระมีอยู่ทั่วไป

          17. ความสำคัญของการแสดงออก คือเรื่องใด

ก.    มีลักษณะเฉพาะของตนเอง

ข.    ลอกเลียนผลงานที่มีคุณภาพ

ค.    เนื้อหาสาระใหม่ดีกว่าเดิม

ง.    สื่อความหมายได้ชัดเจน

          18. วิธีการและเทคนิค มีลักษณะอย่างไร

               ก.    การแสดงถึงความก้าวหน้า

ข.    มีอิสระ และมีไหวพริบในการดัดแปลง

ค.    รู้จักใช้วัสดุที่มีคุณภาพ

ง.    ความแปลกใหม่ของรูปลักษณ์

          19. หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ มีความสำคัญอย่างไร

               ก.    ทำให้เนื้อหาสาระแปลกใหม่

ข.    สามารถปรับปรุงผลงานได้

ค.    มีข้อมูลที่แสดงออกชัดเจน

ง.    ผลงานเหมาะสมสวยงาม

          20. ข้อใดไม่ใช่ความประณีตสวยงามของผลงาน

               ก.    สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจ

ข.    สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่น

ค.    สะท้อนให้เห็นถึงความสุนทรียภาพ

ง.    สะท้อนให้เห็นถึงความมีไหวพริบ

          21. งานทัศนศิลป์ของชาติสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ลักษณะใด

ก.    ลักษณะนามธรรม

ข.    ลักษณะการดำรงชีวิต

ค.    ลักษณะและรูปแบบในอุดมคติ

ง.    ลักษณะและรูปแบบของแต่ละท้องถิ่น

     22. ลักษณะงานจิตรกรรมไทยในสมัยโบราณนิยมเขียนขึ้นเพื่อสิ่งใด

ก.    การใช้ชีวิตประจำวันบนผนังถ้ำ

ข.    ประเพณีวัฒนธรรมที่ศาลาการเปรียญ

ค.    พุทธบูชาตามผนังโบสถ์วิหาร

ง.    เรื่องราวทางศาสนาบนผืนผ้า

23. “พระบฏ” คืออะไร

ก.    จิตรกรรมบนผืนผ้า

ข.     จิตรกรรมฝาผนัง

ค.    จิตรกรรมสมุดภาพ

ง.      จิตรกรรมแผ่นไม้

          24. “ประติมากรรม” ใช้กับงานปั้นประเภทใด

ก.    ประเภทนูนต่ำ

ข.    ประเภทนูนสูง

ค.    ประเภทลอยตัว

ง.    ประเภทพระพุทธรูป

25. ประติมากรรมไทยสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด

ก.    ใช้ในชีวิตประจำวัน

ข.    การค้าขาย

ค.    ศรัทธาต่อศาสนา

ง.    แลกเปลี่ยนในชุมชน

          26. งานสถาปัตยกรรมมีลักษณะเดียวกันกับงานประติมากรรมในเรื่องใด

ก.    ลักษณะ 3 มิติ

ข.     เลียนแบบสิ่งมีชีวิต

ค.    มุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอย

ง.     ศรัทธาต่อศาสนา

     27. ข้อใดไม่ใช่งานทัศนศิลป์ท้องถิ่น

ก.    ภูมิปัญญาไทยด้านจิตรกรรม

ข.    ภูมิปัญญาไทยด้านประติมากรรม

ค.    ภูมิปัญญาไทยด้านสถาปัตยกรรม

ง.    ภูมิปัญญาไทยด้านการแสดง

          28. ลักษณะทางภูมิศาสตร์ มีผลต่องานทัศนศิลป์ในเรื่องใด

ก.    รูปแบบงานจิตรกรรม ประติมากรรม นาฏดุริยางค์กรรม

ข.    รูปแบบงานประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม

ค.    รูปแบบงานจิตรกรรม วรรณกรรม นาฏดุริยางค์กรรม

ง.    รูปแบบงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม

          29. ความเหมือนของงานจิตรกรรมที่สำคัญทุกภาค คือข้อใด

ก.    พุทธประวัติ

ข.    ความเชื่อทางศาสนา

ค.    ความเชื่อทางไสยศาสตร์

ง.     การใช้ชีวิตประจำวัน

     30. ภาคใดที่มีการสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ก.    ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้

ข.    ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ค.    ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้

ง.    ภาคเหนือ ภาคกลาง

  1. 31.  การแสดงออกของศิลปินไทยเพื่อจุดประสงค์ใด

ก.    เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์

ข.    เพื่อตอบสนองความต้องการของจิตใจ

ค.    เพื่อตอบสนองธรรมชาติ

ง.    เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการออกแบบ

32. ปรัชญาความเชื่อมีผลกระทบต่อการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์เรื่องใด

ก.    ความคิดเกี่ยวกับศิลปะเพื่อชีวิต

ข.         ความคิดเกี่ยวกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ค.    ความคิดเกี่ยวกับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ

ง.    ความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อม

          33. บุคคลอาชีพใดมีธรรมชาติเป็นครู

ก.    ครู

ข.     ศิลปิน

ค.    นักออกแบบ

ง.     นักเขียน

     34. จุดประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย คือข้อใด

ก.    ถ่ายทอดประสบการณ์จากธรรมชาติ

ข.    ความศรัทธาทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

ค.    รับวัฒนธรรม จาก อินเดีย จีน เปอร์เซีย

ง.    สนองตอบความต้องการของชุมชน

35. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลงานทัศนศิลป์ประเภทใดเจริญรุ่งเรื่องมากที่สุด

ก.    ผลงานจิตรกรรม

ข.     ผลงานประติมากรรม

ค.    ผลงานสถาปัตยกรรม

ง.     ผลงานวรรณกรรม

36. การสร้างสรรค์ศิลปะสากล มีรูปแบบอย่างไร

ก.    มีขอบเขตจำกัด

ข.    แยกประเภทวัสดุ-อุปกรณ์ชัดเจน

ค.    มีรูปแบบเฉพาะตัว

ง.    มีอิสระไม่มีขอบเขต

          37. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ของงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล

ก.    แสวงหาความจริงจากธรรมชาติ

ข.    ผสานแนวคิดและรูปแบบในลักษณะต่างๆ

ค.    หาข้อเท็จจริงความงามในมุมมองเดิมๆ

ง.    ไม่เน้นรูปแบบของความเป็นชาติใดชาติหนึ่ง

38. ทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยและสากลคล้ายคลึงกันในเรื่องใด

ก.    ความเชื่อของศิลปินแต่ละคน

ข.    การใช้ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ

ค.    มีเนื้อหาสาระและรายละเอียดมาก

ง.    ความเชื่อความศรัทธาทางศาสนา

39. เพราะเหตุใดจึงไม่สามารถเปรียบเทียบทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยและสากลได้

ก.    ไม่มีหลักฐานชัดเจน

ข.    ไม่มีการรวบรวมข้อมูลเป็นรูปธรรม

ค.    มีเนื้อหาสาระและรายละเอียดมาก

ง.    วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมต่างกัน

     40. ถ้าจำเป็นต้องเปรียบเทียบทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยและสากล ควรใช้วิธีการใด

ก.    การค้นคว้าทางภูมิศาสตร์

ข.    การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์

ค.    ใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์

              ง.    ศึกษาช่วงเวลาร่วมสมัยกัน