ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม Powerpoint

หน้าต่างหลักที่ทำงานเร็วขึ้นด้วยโปรแกรม Microsoft Office Pawerpoint2007

มีส่วนประกอบดังนี้

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

1.เช่น ปุ๋ม Office button เป็นปุ๋มรวบรวมคำสั่งที่ใช้งานกับไฟล์งานทั้งหมดเช่นสร้าง(New)

เปิดopen

2.แถบเครื่องมือด่วน/แถบเครื่องมือลัด(Quick Access toolbar) แถบสำหรับเก็บเครื่องมือที่ใช้งาน

บ่อยๆ ทดลองเลื่อนเมาท์ชี้ปุ๋มจะมีคำอธิบายแต่ละปุ่ม เรียกแถบคำอธิบายว่า " ทูลทิป"(Tooltip)

3.ปุ่ม กำหนดแถบเครื่องมือด่วนทดลองคลิกที่ปุ่มนี้ดูคำสั่งภายใน เลือกรายการย่อ Ribbonให้เล็กสุด

(ซ้ำ)จะปรากฎแถบ Ribbon ตามเดิม หรือกดคีย์บนแป้นพิมพ์ Ctrl+f1 เพื่อแสดง/ซ่อนแถบเครื่องมือ ริบบอน/คลิกขวาที่แท็บแทรก (Insert) จะปรากฎเมนูลัดเลือกรายการย่อ Ribbon ให้เล็กสุด

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

4. ไตเติ้ลบาร์ (Titie Bar) แสดงชื่อโปรแกรมและชื่อ"ไฟล์เอกสารที่เปิดใช้งานอยู่ในดับเบิลคลิก

ที่ไตเติ้ลบาร์ เพื่อ ย่อ/ขยายหน้าต่างโปรแกรม

5. คอนโทรลเมนู(Control Menu) ปุ่มควบคุ้มการทำงานของหน้าต่างโปรแกรมให้ทดลองคลิกที่ปุ่ม

(Minimize) ย่อหน้าต่างไว้ที่ Taskbar ปุ่ม (Minimize) ขยายเต็มหน้าจอปรากฎเครื่องหมาย(Restore) และปุ่ม (close) ปิดที่หน้าต่างโปรแกรม

6. ปุ่ม Help แสดงคำแนะนำการใช้PowerPoint ให้ทดลองคลิกปุ่มจะปรากฎหน้าต่าง

PowerPoint Help สามารถคลิกแต่ละหัวคอเพื่อดูวิธีการใช้การ

7. เมนูบาร์( Menu bar ) แสดงรายการคำสั่งต่างๆของโปรแกรม PowerPoint 2007

ให้ทดลองคลิกเมนูหน้าแรก (Home)เมนูแทรก(Insert) เมนูออกแบบ(Design) เมนูภาพเคลื่อนไหว

(Animation) เมนูการนำเสนอภาพนิ่ง(Slid show) เมนูตรวจทาน (Reviser)และเมนูมุมมอง(View) จะเปลี่ยนตามแต่ละเมนู

8. แถบริบบอนหรือทูลบาร์(Ribbon/Toolbar) เป็นแถบเครื่องมือเก็บคำสั่งที่ใช้งาน ซึ้งช่วยให้การ

ใช้งานPowerPoint ง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วยริบบอนนำคำสั่งต่างๆ ที่นิยมใช้มมากที่สุดไว้ในส่วนหน้าสุด

ทดลองคลิกแท็บ หน้าแรก(Home)

แสดงคำสั่งการสร้างภาพนิ่งและการจัดสไลด์ แบ่งเป็นกลุ่มคำสั่งภาพนิง(Slides)กลุ่มคำสั่งแบบ

อักษร(Font) กลุ่มคำสั่ง ย่อหน้า (Paragraph) กลุ่มคำสั่ง รูปวาด(Drawing) และกลุ่มคำสั่งแก้ไข้

(Editing) เป็นเครื่องมือค้นหา และแทนที่ข้อความ

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

แทรก(Insert)

แสดงคำสั่งเกี่ยวกับการแทรกตาราง แทรกภาพประกอบต่างๆแบ่งเป็นกลุ่งคำสั่ง ตาราง(Tables)

กลุ่มคำสั่ง การเชื่อมโยง (Links) กลุ่มคำสั่งข้อความ(Text) และมีเดียคลิป(Media clips)

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

ออกแบบ (Desing)

แสดงคำสั่งเกี่ยวกับการตั่งหน้าสไลด์ แบ่เป็นกลุ่มคำสั่ง ตั่งค่าหน้ากระดาษ(Page setup)

การตกแต่งสไลด์ใส่เอฟเฟกต์ กลุ่มคำสั่ง ชุดรูปแบบ (themes) และการใส่พื้นหลัง กลุ่มคำสั่งพื้นหลัง

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

(Background)

ภาพเคลื่อนไหว (Animations)

แสดงคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดภาพเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนภาพนิ่งแต่ละแผ่นแบ่งเป็นกลุ่มคำสั่ง

ภาพเคลื่อนไหว(Animations) และกลุ่มคำสั่งการเปลี่ยนไปยังภาพนิ่ง(Transitions to This Slide)

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

การนำเสนอภาพนิ่ง(Slid show)

แสดงคำสั่งเกี่ยวกับการนำเสนองาน แบ่งเป็นกลุ่มคำสั่ง เริ่มการนำเสนอภาพนิ่ง(Star slide show) การตั้งค่าการนำเสนอ(Set Up) และกลุ่มคำสั่งจอภาพ

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

ตรวจทาน (Review)

แสดงคำสั่งเกี่ยวกับการนำเสนองาน แบ่งเป็นกลุ่มคำสั่ง เริ่มการนำเสนอภาพนิ่ง(Profling)

ข้อคิดเห็น (Comments) และกลุ่มคำสั่ง ป้องกัน

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

มุมมอง (View)

แสดงคำสั่งเกี่ยวกับการเลือกมุมมองในการทำงานกับสไลด์แบ่งเป็นกลุ่มคำสั่งมุมมองการนำ

เสนอ(Presentation Views) กลุ่มคำสั่ง แสดง/ซ่อน( show/Hide)และกลุ่มคำสั่งย่อ/ขยาย

(Zoom) สี่ระดับสีเท้า (color/Grayscale) กลุ่มคำสั่ง หน้าต่าง(Window)และกลุ่มคำสั่ง แมโคร

(Micros)

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

9. แท็บสลับมุมมองภาพนิ่ง/ เค้าร่าง( Slides/ Outline ) คลิกสลับการแสดงตัวอย่างสไลด์แบบ

ภาพนิ่งหรือแบบเค้าร่างในสไลด์แต่ละแผ่น

10. พื้นที่สไลด์สำหรับออกแบบและแสดงข้อความ รูปภาพ ตัวเลข ตาราง กราฟ ไดอะแกรมเสี่ยงหรือ วีดีโอเป็นตน

11. หน้าต่างบันทึกย่อ ให้ทดลองพิมพ์บันทึกย่อเกี่ยวกับภาพนิ่งปัจจุบัน หรือแจกจ่ายบันทึกย่อให้กับ

ผู้ฟังหรืออ่านบันทึกย่อมุมมองผู้นำเสนอขณะที่กำลังนำเสนอ

12. แถบสถานะ(Status Bar) แสดงการทำงานต่างๆ เช่นภาพนิ่งปัจจุบัน หรือ จำนวนสไลด์ทั้งหมด

แสดงภาษาของแป้นพิมพ์ มุมมองสไลด์การย่อขยายเอกสาร

13. มุมมองสไลด์การเปลี่ยนมุมมองสไลด์การเปลี่ยนมุมมองสไลด์แบบต่างๆ

14. ย่อขยายเอกสาร คลิกบวก + เพื่อขยายเอกสาร คลิกลบ -ย่อเอกสารหรือคลิก เลื่อนทางซ้ายย่อเอกสารและเลื่อนทางขวาขยาย เอกสาร

15. เครื่องหมายเคอร์เซอร (Curser) เส้นตรงกะพริบๆจุดนี้เป็นจุดสำคัญบอกตำแหน่งการพิมพ์

ข้อความเช่นทดลองคลิกเมาส์พิมพ์ข้อความชื่อเรื่องว่า ข้อแนะนำวิธีการนำเสนองานและคลิกช่อง

พิมพ์ชื่อเรื่องใส่ชื่อนักเรียน อีเมล และเว็บไซต์ของนักเรียนหรือเว็บไซต์สถานศึกษาที่ศึกษาอยู่แผนก

วิชาที่เรียน เป็นตน

ตัวอย่างสไลด์แรกของการพิมพ์

1. ชื่อเรื่อง ข้อแนะนำวิธีการเสนองาน

2. ชื่อเรื่องรอง ชื่อนามสกุลนักศึกษา

อีเมลของนักศึกษา

ชื่อเว็บไซต์ของนักศึกษา (ถ้ามี)

หรือสถานศึกษาที่เรียนอยู่

การค้นหาและนำแม่แบบไปใช้
PowerPoint 2010 ทำให้คุณสามารถนำแม่แบบที่มีอยู่แล้วภายในหรือแม่แบบที่คุณกำหนดเองไปใช้ได้ ตลอดจนค้นหาแม่แบบที่หลากหลายได้จากแม่แบบของนักออกแบบที่มีอยู่บน Office.comOffice.com มีแม่แบบ PowerPoint ที่เป็นที่นิยมซึ่งมีให้เลือกอย่างหลากหลาย รวมถึงแม่แบบ งานนำเสนอ และ ภาพนิ่งการออกแบบ
เมื่อต้องการค้นหาแม่แบบใน PowerPoint 2010 ให้ทำดังต่อไปนี้
1.บนแท็บ แฟ้ม ให้คลิก สร้าง
2.ภายใต้ แม่แบบและชุดรูปแบบที่พร้อมใช้งาน ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
- เมื่อต้องการนำแม่แบบที่คุณได้ใช้ล่าสุดไปใช้ใหม่ ให้คลิก แม่แบบล่าสุด คลิกแม่แบบที่คุณต้องการ แล้วคลิก สร้าง

- เมื่อต้องการใช้แม่แบบที่คุณได้ติดตั้งไว้แล้ว ให้คลิก แม่แบบของฉัน จากนั้นเลือกแม่แบบที่คุณต้องการ แล้วคลิก ตกลง

- เมื่อต้องการใช้แม่แบบที่มีอยู่แล้วภายในแม่แบบใดแม่แบบหนึ่งที่ติดตั้งด้วย PowerPoint ให้คลิก แม่แบบตัวอย่าง คลิกแม่แบบที่คุณต้องการ แล้วคลิก สร้าง

- เมื่อต้องการค้นหาแม่แบบบน Office.com ภายใต้ แม่แบบ Office.com ให้คลิกประเภทแม่แบบ แล้วเลือกแม่แบบที่คุณต้องการ จากนั้นคลิก ดาวน์โหลด เพื่อดาวน์โหลดแม่แบบจาก Office.com ลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

หมายเหตุ: นอกจากนี้ คุณยังสามารถค้นหาแม่แบบใน Office.com จากภายใน PowerPoint ได้อีกด้วย ในกล่อง ค้นหาแม่แบบใน Office.com ให้พิมพ์คำที่ใช้ค้นหาอย่างน้อยหนึ่งคำ แล้วคลิกปุ่มลูกศรเพื่อค้นหา

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการค้นหาและนำแม่แบบไปใช้ ให้ดูที่ การนำแม่แบบไปใช้กับงานนำเสนอของคุณ

การสร้างงานนำเสนอ

1.คลิกแท็บ แฟ้ม แล้วคลิก สร้าง
2.เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
3.คลิก งานนำเสนอเปล่า แล้วคลิก สร้าง
4.นำแม่แบบหรือชุดรูปแบบไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นแม่แบบที่มีอยู่แล้วภายในของ PowerPoint 2010 หรือที่ดาวน์โหลดจาก Office.com โปรดดูที่ การค้นหาและนำแม่แบบไปใช้ ในบทความนี้

การเปิดงานนำเสนอ

1.คลิกแท็บ แฟ้ม แล้วคลิก เปิด
2.ในบานหน้าต่างด้านซ้ายของกล่องโต้ตอบ เปิด ให้คลิกไดรฟ์หรือโฟลเดอร์ที่มีงานนำเสนอที่คุณต้องการ
3.ในบานหน้าต่างด้านขวาของกล่องโต้ตอบ เปิด ให้เปิดโฟลเดอร์ที่มีงานนำเสนอ
4.คลิกงานนำเสนอ แล้วคลิก เปิด

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

หมายเหตุ: ตามค่าเริ่มต้นแล้ว PowerPoint 2010 จะแสดงเฉพาะงานนำเสนอ PowerPoint เท่านั้นในกล่องโต้ตอบ เปิด เมื่อต้องการดูแฟ้มชนิดอื่น ให้คลิก งานนำเสนอ PowerPoint ทั้งหมด และเลือกประเภทของแฟ้มที่คุณต้องการดู

การบันทึกงานนำเสนอ

1.คลิกแท็บ แฟ้ม แล้วคลิก บันทึกเป็น
2.ในกล่อง ชื่อแฟ้ม พิมพ์ชื่อสำหรับงานนำเสนอ PowerPoint ของคุณ และคลิก บันทึก
หมายเหตุ: ตามค่าเริ่มต้นแล้ว PowerPoint 2010 จะบันทึกแฟ้มในรูปแบบแฟ้ม PowerPoint Presentation (.pptx) เมื่อต้องการบันทึกงานนำเสนอของคุณในรูปแบบอื่นนอกเหนือจาก .pptx ให้คลิกรายการ บันทึกเป็นชนิด แล้วเลือกรูปแบบแฟ้มที่คุณต้องการ

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการสร้างงานนำเสนอใหม่ ให้ดูที่ การตั้งชื่อและบันทึกงานนำเสนอของคุณ

การแทรกภาพนิ่งใหม่

เมื่อต้องการแทรกภาพนิ่งใหม่ในงานนำเสนอของคุณ ให้ทำดังต่อไปนี้
บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม ภาพนิ่ง ให้คลิกลูกศรด้านล่าง สร้างภาพนิ่ง จากนั้นคลิกที่เค้าโครงภาพนิ่งที่คุณต้องการ

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเพิ่มภาพนิ่งในงานนำเสนอของคุณ ให้ดูที่ การเพิ่ม การจัดเรียงใหม่ และการลบภาพนิ่ง

การเพิ่มรูปร่างในภาพนิ่ง

1.บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม รูปวาด ให้คลิก รูปร่าง

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

2.คลิกรูปร่างที่คุณต้องการ แล้วคลิกที่ใดก็ได้ในภาพนิ่ง และลากเพื่อวางรูปร่างนั้น

- เมื่อต้องการสร้างสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือวงกลมที่สมบูรณ์ (หรือจำกัดขนาดของรูปร่างอื่น) ให้กด SHIFT ค้างไว้ในขณะที่คุณลาก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเพิ่มรูปร่าง ให้ดูที่ การเพิ่ม การเปลี่ยนแปลง หรือการลบรูปร่าง

การดูการนำเสนอภาพนิ่ง

เมื่อต้องการดูงานนำเสนอของคุณในมุมมองการนำเสนอภาพนิ่งตั้งแต่ภาพนิ่งแรก ให้ทำดังต่อไปนี้
- บนแท็บ การนำเสนอภาพนิ่ง ในกลุ่ม เริ่มการนำเสนอภาพนิ่ง ให้คลิก ตั้งแต่ต้น

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

เมื่อต้องการดูงานนำเสนอของคุณในมุมมองการนำเสนอภาพนิ่งตั้งแต่ภาพนิ่งปัจจุบัน ให้ทำดังต่อไปนี้
- บนแท็บ การนำเสนอภาพนิ่ง ในกลุ่ม เริ่มการนำเสนอภาพนิ่ง คลิก จากภาพนิ่งปัจจุบัน

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการดูการนำเสนอภาพนิ่ง ให้ดูที่ ควรใช้มุมมองใน PowerPoint 2010 เมื่อใดและอย่างไร

การพิมพ์งานนำเสนอ

1.คลิกแท็บ แฟ้ม แล้วคลิก พิมพ์
2.ภายใต้ สิ่งที่พิมพ์ ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

- เมื่อต้องการพิมพ์ภาพนิ่งทั้งหมด ให้คลิก ทั้งหมด
- เมื่อต้องการพิมพ์เฉพาะภาพนิ่งซึ่งแสดงในปัจจุบันเท่านั้น ให้คลิกที่ ภาพนิ่งปัจจุบัน
- เมื่อต้องการพิมพ์ภาพนิ่งเฉพาะบางหน้า ให้คลิก ช่วงของภาพนิ่งแบบกำหนดเอง จากนั้นป้อนรายการภาพนิ่งแต่ละภาพ ช่วง หรือทั้งสองอย่าง
หมายเหตุ: ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างตัวเลขโดยไม่ต้องเว้นวรรค ตัวอย่างเช่น 1,3,5-12
3.ภายใต้ การตั้งค่าอื่นๆ ให้คลิกรายการ สี และเลือกการตั้งค่าที่คุณต้องการ
4.เมื่อคุณทำการเลือกเรียบร้อยแล้ว ให้คลิก พิมพ์

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพิมพ์ ให้ดูที่ การพิมพ์ภาพนิ่งหรือเอกสารประกอบคำบรรยายสำหรับงานนำเสนอ

เคล็ดลับสำหรับการสร้างงานนำเสนอที่มีประสิทธิผล

พิจารณาเคล็ดลับต่อไปนี้เพื่อใช้สร้างงานนำเสนอที่โดดเด่นและดึงดูดผู้ชมของคุณ

ใช้ภาพนิ่งจำนวนน้อยๆ

เมื่อต้องการให้ข้อความมีความชัดเจนและทำให้ผู้ชมติดตามและตรึงความสนใจของผู้ชม ให้ใช้จำนวนภาพนิ่งในงานนำเสนอของคุณให้น้อยที่สุด


เลือกขนาดแบบอักษรที่ผู้ชมอ่านได้ง่าย

การเลือกขนาดแบบอักษรที่เหมาะสมจะช่วยให้การสื่อสารข้อความของคุณได้ผลมากยิ่งขึ้น โปรดระลึกไว้อยู่เสมอว่า ผู้ชมต้องสามารถอ่านภาพนิ่งของคุณจากระยะไกลได้ โดยทั่วไป ขนาดแบบอักษรที่เล็กกว่า 30 อาจทำให้มองเห็นได้ยาก

ข้อความในภาพนิ่งของคุณควรเรียบง่าย

คุณต้องการให้ผู้ชมฟังการนำเสนอข้อมูลของคุณแทนที่จะอ่านจากหน้าจอ ใช้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยหรือประโยคแบบสั้น และพยายามให้แต่ละประโยคอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่มีการตัดข้อความ

เครื่องฉายภาพบางเครื่องจะครอบตัดภาพนิ่งที่ขอบ ทำให้ประโยคยาวๆ อาจถูกครอบตัดไปด้วย

ใช้ภาพเพื่อช่วยในการสื่อถึงข้อความของคุณ

รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ และ กราฟิก SmartArt ช่วยในด้านการสื่อสารด้วยภาพที่ทำให้ผู้ชมของคุณสามารถจดจำได้ง่าย เพิ่มภาพที่มีความหมายเพื่อส่งเสริมเนื้อหาและข้อความบนภาพนิ่งของคุณ

อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับข้อความ ควรหลีกเลี่ยงการใช้สื่อด้านภาพจำนวนมากเกินไปในภาพนิ่งของคุณ

สร้างป้ายชื่อสำหรับแผนภูมิและกราฟที่เข้าใจได้ง่าย

ใช้ข้อความที่มีความยาวพอเหมาะที่ทำให้สามารถเข้าใจถึง องค์ประกอบป้ายชื่อในแผนภูมิหรือกราฟ ได้

ใช้พื้นหลังของภาพนิ่งที่เฉียบคมและสอดคล้อง

เลือก เทมเพลต หรือ ธีม ที่ดึงดูดและกลมกลืนกันโดยที่ไม่สะดุดตาเกินไป เนื่องจากคุณคงไม่ต้องการให้พื้นหลังหรือการออกแบบดึงความสนใจไปจากข้อความของคุณ

อย่างไรก็ตาม คุณควรเลือกสีของพื้นหลังและสีของข้อความที่ตัดกัน ชุดรูปแบบที่มีอยู่แล้วภายใน PowerPoint 2010 ตั้งค่าความคมชัดระหว่างพื้นหลังสีอ่อนและข้อความสีเข้ม หรือพื้นหลังสีเข้มและข้อความสีอ่อนโดยอัตโนมัติ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้ชุดรูปแบบ ให้ดูที่ การใช้ชุดรูปแบบเพื่อเพิ่มสีและลักษณะให้กับงานนำเสนอของคุณ

ตรวจสอบการสะกดคำและไวยากรณ์

เพื่อให้ได้การยอมรับนับถือจากผู้ชม ให้ ตรวจสอบการสะกดและไวยากรณ์ในงานนำเสนอของคุณ เสมอ

การทำให้ข้อความหรือวัตถุเคลื่อนไหว
นำไปใช้กับ: PowerPoint 2016 PowerPoint 2013 PowerPoint 2010 PowerPoint 2007
สิ่งสำคัญ: บทความนี้เป็นการแปลด้วยเครื่อง โปรดดู ข้อจำกัดความรับผิดชอบ โปรดดูบทความฉบับภาษาอังกฤษ ที่นี่ เพื่อใช้อ้างอิง
คุณสามารถเคลื่อนไหวข้อความ รูปภาพ รูปร่าง ตาราง กราฟิก SmartArt และวัตถุอื่น ๆ ในงานนำเสนอ PowerPoint ของคุณเพื่อให้พวกเขาเอฟเฟ็กต์เสมือน รวมถึงทางเข้า ออก เปลี่ยนขนาด หรือสี และย้ายคู่
ภาพเคลื่อนไหวเป็นวิธีดีเยี่ยมในการเน้นประเด็นสำคัญ เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูล และเพิ่มดอกเบี้ย viewer ในงานนำเสนอของคุณ คุณสามารถนำเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวไป ยังข้อความหรือวัตถุบนสไลด์แต่ละ ข้อความและวัตถุบนต้นแบบสไลด์ หรือพื้นที่ที่สำรองไว้บนเค้าโครงสไลด์แบบกำหนดเอง
หมายเหตุ: ใน PowerPoint ภาพเคลื่อนไหวจะไม่เหมือนกับการเปลี่ยนภาพ การเปลี่ยนภาพเคลื่อนไหวแบบหนึ่งสไลด์การเปลี่ยนแปลงถัดไป เมื่อต้องการเพิ่มการเปลี่ยนภาพ ดูเพิ่ม เปลี่ยน หรือเอาภาพระหว่างสไลด์
2016, 201320102007
นำไปใช้ภาพเคลื่อนไหว
1.เลือกวัตถุหรือข้อความบนสไลด์ที่คุณต้องการทำให้เคลื่อนไหว
2.บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ให้คลิก เพิ่มภาพเคลื่อนไหว และเลือกเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหว

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

สิ่งสำคัญ: เมื่อต้องการตรวจสอบให้แน่ใจว่า ภาพเคลื่อนไหวเล่นเมื่อคุณนำเสนอสไลด์ของคุณ ให้แน่ใจว่าเมื่อคุณไปยังการนำเสนอสไลด์ >ตั้งค่าการนำเสนอสไลด์ ให้ล้างกล่องแสดง โดยไม่มีภาพเคลื่อนไหว ถ้ามีเลือกกล่องนี้ ภาพเคลื่อนไหวจะแสดงเมื่อคุณแสดงตัวอย่างการนำเสนอสไลด์ของคุณ แต่ไม่ได้เมื่อคุณสร้างงานนำเสนอ

หมายเหตุ: เมื่อต้องการนำเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวเพิ่มเติมไปใช้กับวัตถุเดิม ให้ดูที่ นำเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวหลายรายการไปใช้กับวัตถุเดียว หรือถ้าต้องการเพิ่มเส้นทางการเคลื่อนไหว ให้ดูที่ เพิ่มเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวของเส้นทางการเคลื่อนไหว

เอฟเฟ็กต์บางเข้าและออก (เช่นพลิก ดร และ Whip) และเอฟเฟ็กต์บางเน้น (เช่นระบายสีและคลื่น) จะพร้อมใช้งานสำหรับวัตถุที่ประกอบด้วยข้อความเท่านั้น ถ้าคุณต้องการนำเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวที่ไม่พร้อมใช้งานด้วยเหตุผลนี้ ลองเพิ่มช่องว่างภายในวัตถุของคุณ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำให้ข้อความและวัตถุเคลื่อนไหว
มีเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวอยู่สี่ประเภทด้วยกัน ได้แก่
- เอฟเฟ็กต์ เข้า จะทำให้วัตถุค่อยๆ ปรากฏในโฟกัส หรือลอยเข้ามาจากขอบด้านใดด้านหนึ่งของสไลด์ หรือเด้งเข้ามาก็ได้
- เอฟเฟ็กต์ ออก จะรวมถึงการทำให้วัตถุลอยออกไปจากสไลด์ หายไปจากมุมมอง หรือหมุนตัวออกไปจากสไลด์
- เอฟเฟ็กต์ เน้น จะทำให้วัตถุลดหรือเพิ่มขนาด เปลี่ยนสี หรือหมุนรอบตัวเอง
- คุณสามารถใช้ เส้นทางการเคลื่อนไหว เพื่อเลื่อนวัตถุขึ้นหรือลง ไปทางซ้ายหรือขวา หรือเป็นรูปดาวหรือวงกลม (หรือเอฟเฟ็กต์แบบอื่นๆ ได้) คุณยังสามารถวาดเส้นทางการเคลื่อนไหวด้วยตนเองได้ด้วย

คุณสามารถใช้ภาพเคลื่อนไหวแบบเดี่ยวๆ หรือจะผสมผสานเอฟเฟ็กต์หลายๆ อย่างเข้าด้วยกันก็ได้ ตัวอย่างเช่น ทำให้ข้อความบรรทัดหนึ่งลอยเข้ามาพร้อมกับมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยใช้เอฟเฟ็กต์เข้า ลอยเข้า และเอฟเฟ็กต์เน้น เพิ่ม/ลด คลิก เพิ่มภาพเคลื่อนไหว เพื่อเพิ่มเอฟเฟ็กต์ แล้วใช้บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหวเพื่อตั้งค่าเอฟเฟ็กต์เน้นให้เกิดขึ้น กับก่อนหน้านี้

เคล็ดลับ: แกลเลอรีเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวบนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว จะแสดงเฉพาะเอฟเฟ็กต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเท่านั้น คุณสามารถเพิ่มลูกเล่นได้มากขึ้นด้วยการคลิก เพิ่มภาพเคลื่อนไหว เลื่อนลง แล้วคลิก เอฟเฟ็กต์เข้าเพิ่มเติม, เอฟเฟ็กต์เน้นเพิ่มเติม, เอฟเฟ็กต์ออกเพิ่มเติม หรือ เส้นทางการเคลื่อนไหวเพิ่มเติม

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ
การสร้างไดอะแกรมในรูปแบบต่างๆโปรแกรม PowerPoint ก็สามารถนำเสนอข้อมูลในลักษณะของไดอะแกรมได้เหมือนกับโปรแกรมอื่นๆที่เคยเรียนมาแล้ว มีขั้นตอนดังนี้

1. เปิดสไลด์หน้าใหม่ คลิกลูกศรลงของปุ่ม

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

2. เลือกแบบสไลด์ที่เป็นไดอะแกรมในที่นี้เลือกแบบที่ 2 Title and Content

3. คลิกไอคอน Insert SmartArt Graphic เลือกแบบของไดอะแกรม เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

4. จะแสดงไดอะแกรมตามแบบที่เลือก

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

การใส่ข้อมูลให้กับไดอะแกรม

1. คลิกช่อง [Text] พิมพ์ข้อความที่ต้องการ

2. คลิกช่อง Click to add title พิมพ์หัวข้อเรื่องของไดอะแกรม


ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

การใช้เครื่องมือตกแต่งไดอะแกรม

เพื่อความสวยงามของไดอะแกรมที่สร้าง คุณสามารถจัดรูปแบบไดอะแกรมได้ มีขั้นตอนดังนี้

1. คลิกส่วนของไดอะแกรมที่ต้องการตกแต่ง

2. จะปรากฏแถบ Ribbon ชื่อ SmartArt Tools หัวข้อ Design ให้เลือกใช้ได้เลย

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

การสร้างการเชื่อมโยงหลายมิติใน Microsoft Power Point 2007

ใน Microsoft Office PowerPoint 2007 การเชื่อมโยงหลายมิติ คือการเชื่อมต่อจากภาพนิ่งหนึ่งไปยังอีกภาพนิ่งหนึ่งในงานนำเสนอเดียวกัน (เช่น การเชื่อมโยงหลายมิติไปยังการนำเสนอแบบกำหนดเอง) หรือไปยังภาพนิ่งในงานนำเสนออื่น ที่อยู่อีเมล เว็บเพจ หรือแฟ้ม

การกำหนดจุดเชื่อมโยง (Hyperlink)

งาน Presentation ของคุณ ถ้าต้องการสร้างจุดเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์หรือไฟล์ที่ต้องการ มีขั้นตอนดังนี้

1.  drag เมาส์คลุมช่วงข้อความหรือรูปภาพที่ต้องการ

2. คลิกแท็บ Insert เลือกปุ่ม Hyperlink 

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ
          

         3. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Insert Hyperlink ให้เลือกตำแหน่งที่ต้องการสร้าง link

        

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

         4. จากตัวอย่างต้องการ  link ไปยังไฟล์อื่น แถบทางซ้ายอยู่ที่คำสั่ง Existing File or Web Page ช่อง Look in เลือกไดร์ฟและโฟลเดอร์ที่เก็บข้อมูล 

5. คลิกเลือกชื่อไฟล์ที่ต้องการ link จะปรากฏตำแหน่งไฟล์นั้นในช่อง Address

การกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ของจุดเชื่อมโยง

เมื่อเลือกตำแหน่งชื่อไฟล์ , เว็บไซต์ , E-mail Address , อื่นๆ ที่จะ link แล้ว ต้องการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม มีขั้นตอนดังนี้

คลิกปุ่ม  ScreenTip.. เพื่อกำหนดข้อความอธิบายเพิ่มเติม (จะกำหนดหรือไม่ก็ได้)

คลิกปุ่ม OK

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

การแก้ไขจุดเชื่อมโยง

จุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hyperlink) ที่สร้างไว้ ถ้าต้องการแก้ไขรายละเอียด มีขั้นตอนดังนี้

1.   Drag เมาส์คลุมช่วงข้อมูลที่จะแก้ไข Hyperlink

2. คลิกขวาเลือกคำสั่ง Edit Hyperlink จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ให้เลือกรายละเอียด เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

การลบ/ยกเลิก จุดเชื่อมโยง

จุดเชื่อมโยงเอกสารที่สร้างขึ้น ถ้าไม่ได้ใช้งานแล้วต้องการลบออก มีขั้นตอนดังนี้

1. Drag เมาส์คลุมช่วงข้อมูลที่จะลบ Hyperlink

2. คลิกขวาเลือกคำสั่ง Remove Hyperlink

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

อัลบั้มภาพแบบสไลด์โชว์ ง่ายๆใน Powerpoint 

ขณะที่กำลังศึกษาการทำ animation ใน โปรแกรม PowerPoint ทำให้เหลือบไปเห็นวิธีการสร้างอัลบั้มรูปเป็นแบบสไลด์โชว์  ใน โปรแกรม PowerPoint คาดว่า มันน่าจะมีประโยชน์แน่นอน เพราะลดระยะเวลา ให้สามารถสร้างอัลบั้มภาพแบบง่าย ๆใช้ได้จริง ๆ เอามาร่วมแชร์ค่ะ

การสร้างอัลบั้มรูปภาพแบบสไลด์โชว์ใน PowerPoint มีวิธีการง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

1. เปิดโปรแกรม Powerpoint  2010 ขึ้นมา คลิ๊กที่เมนูแทรก  เลือก สร้างอัลบั้มรูป

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

2. เลือกรูปภาพสำหรับทำอัลบั้มรูปที่ แฟ้ม/ดิสก์   หลังจากนั้นหน้าต่าง แทรกรูปภาพใหม่ จะปรากฏขึ้น

3. เลือกรูปภาพที่ต้องการ คลิ๊ก แทรกเพื่อเพิ่มรูปภาพในอัลบั้ม

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

4. เพิ่มรูปภาพที่ต้องการนำมาสร้างอัลบั้มรูปภาพ จนได้ครบตามที่ต้องการ  อาจเลือกปรับแต่งความสว่าง หรือมืด ลบรูปออก เพิ่มข้อความ  ได้ตามต้องการ  เมื่อเลือกปรับได้แล้ว คลิ๊กสร้างเพื่อเริ่มต้องทำอัลบั้มรุปภาพด้วย PowerPoint

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ

5. หลังจากนั้นจะกลับมาที่หน้าต่าง เมนูหลักอีกครั้งหนึ่ง  เฟรมแรกจะเป็น Title ของอัลบั้มภาพ  เพิ่มเติมข้อความ ปรับแต่งสีสันตามชอบใจ ค่ะ

6.  หลังจากนั้นคลิ๊ก Play 

ค่าเริ่มต้นสำหรับสีที่ใช้ตกแต่งงานนำเสนอ
  play ใน powerpoint  เพื่อทดลองเล่นอัลบั้มรูปภาพที่สร้างขึ้นดูค่ะ  

7.  แค่นี้ก็จะได้อัลบั้มภาพทั้งอัลบั้มแบบง่าย ๆ โดยไม่ต้องเสียเวลายุ่งยากในการสร้าง  หลังสร้างเสร็จแล้วอย่าลืมบันทึกอัลบั้มภาพเก็บไว้ใช้งาน