บริษัท ไม่จ่าย เงินเดือน เดือน สุดท้าย

บริษัท ไม่จ่าย เงินเดือน เดือน สุดท้าย

Show

กระทรวงยุติธรรม เสนอกฎหมายน่ารู้ ตอน : “ถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย”


เงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ และตามกฎหมายลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย ดังนี้
1. ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป (รวมถึงการเลิกจ้าง เพราะสถานการณ์โควิด - 19)
• หากลูกจ้างทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 120 วัน - 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 1 - 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 3 - 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 - 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 - 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย


2. ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า
•ค่าเสียหายนี้เกิดในกรณีหากนายจ้าง "ไล่ออก" ทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า ถือว่า นายจ้างทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไป ตามข้อ 1 แล้ว (มาตรา 118) ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ตามมาตรา 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนเสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนออกจากงาน แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้จะคิดอย่างมากที่สุด ไม่เกินค่าจ้างสามเดือน

ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และมาตรา 17/1

เอกสารแนบ

  • กฎหมายน่ารู้ ตอนที่ 289: “ถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย” ดูแล้ว 1922 ครั้ง

ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของกระทรวงยุติธรรม

ท่านคิดว่าข้อมูลข่าวสารนี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย
ท่านมีความเข้าใจในข้อมูลข่าวนี้มากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย
ท่านพึงพอใจในรูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ส่งข้อมูล

กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน ฟ้องร้องกับกรมแรงงานอย่างไรให้เรื่องจบ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง!? บทความนี้มีคำตอบ

บริษัท ไม่จ่าย เงินเดือน เดือน สุดท้าย

สิ่งหนึ่งที่น่ากลัวอย่างมากในสังคมการทำงานคือ..

วันดี คืนดี อยู่ๆนายจ้างก็ไม่ยอมจ่ายเงินเดือนให้กับลูกจ้างด้วยสารพัดเหตุผล ทำให้ลูกจ้างที่รอคอยรับเงินเดือนอยู่เกิดความเดือดร้อนไปตามกัน

ในกรณีนี้ หลายคนคงเกิดความสงสัยว่าถ้าหากนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนให้ควรทำอย่างไร ไปฟ้องร้องต่อศาลหรือกรมแรงงานดีกว่ากัน!?

ถ้าหากใครกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาที่แก้ไม่ตกนี้ รับรองว่าบทความในวันนี้จะช่วยไขความกระจ่าง ขจัดม่านหมอกแห่งความสงสัยให้กันได้อย่างแน่นอน

เล่ห์กลหลอกกรมแรงงานของนายจ้าง ที่มักทำให้ลูกจ้างแพ้การฟ้องร้อง

บริษัท ไม่จ่าย เงินเดือน เดือน สุดท้าย

กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน ถ้าหากกล่าวกันตามกฎหมายก็คือการ “เลิกจ้างแบบไม่ยอมออกหนังสือเลิกจ้างอย่างเป็นทางการ” เพียงแต่การสร้างสถานการณ์ หรือใช้วาจาทำให้ลูกจ้างเข้าใจผิดว่าตัวเองถูกเลิกจ้างจนไม่มาทำงานอีก แต่เมื่อไปฟ้องร้องกับกรมแรงงานและศาล นายจ้างก็จะใช้กลยุทธ์บอกว่าไม่ได้ทำการเลิกจ้างอย่างเป็นทางการ ในขณะที่ลูกจ้างที่เข้าใจผิดไม่มาทำงานหลายวัน หรือเป็นเดือนก็จะถูกนายจ้างยกมาเป็นเหตุผลในชั้นศาลว่าหนีงานทำให้บริษัทเสียหาย ทำให้ลูกจ้างมักแพ้คดีฟ้องร้องขึ้น

กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน = การเลิกจ้าง หรือเปล่า!?

บริษัท ไม่จ่าย เงินเดือน เดือน สุดท้าย

ตามกฎหมายแล้วการเลิกจ้างไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานอะไร (*แต่ควรมีพยาน) สามารถทำการเลิกจ้างทางวาจาได้ หรือ ถ้านายจ้าง “ไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานต่อไปหรือไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง” ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย

การสร้างหลักฐานสนับสนุนการฟ้องร้องกับกรมแรงงาน กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน

บริษัท ไม่จ่าย เงินเดือน เดือน สุดท้าย

ถ้าหากนายจ้างทำการเลิกจ้างด้วยวาจา ไม่ยอมจ่ายเงินเดือน ขอแนะนำว่าควรเดินทางไปพบพนักงานตรวจแรงงานของกรมแรงงานทันที ทางกรมจะทำการโทรศัพท์สอบถามนายจ้างว่ามีการเลิกจ้างงานจริงหรือไม่ หากเป็นจริงให้ทำการยื่นคำร้องต่อกรมแรงงานเพื่อนำเรื่องสู่กระบวนการฟ้องศาล หรือเดินทางไปยังสถานีตำรวจท้องที่เพื่อลงบันทึกประจำวันเอาไว้เป็นหลักฐาน

ต้องการร้องเรียนกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนกับกรมแรงงาน ติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ใดได้บ้าง!?

บริษัท ไม่จ่าย เงินเดือน เดือน สุดท้าย

สำหรับกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน แล้วมีความต้องการที่จะฟ้องกรมแรงงาน รวมไปถึงสอบถามข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ สามารถโทรสอบถามสถานที่ร้องเรียนได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1546 หรือ 0 2246 3192

กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน หรือจ่ายค่าแรงไม่เป็นธรรมหากถูกกรมแรงงานฟ้องร้องโทษหนักแค่ไหน!?

บริษัท ไม่จ่าย เงินเดือน เดือน สุดท้าย

กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน ค่าแรงหรือการจ่ายค่าแรงที่ต่ำกว่ากฎหมายได้กำหนดเอาไว้ เช่น ค่าจ้างในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่จ่ายค่าล่วงเวลา เป็นต้น ถือว่าเป็นความผิดที่สามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะต้องเสียค่าดอกเบี้ยให้กับลูกจ้าง และต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับจำนวนของอัตราดอกเบี้ยที่ทางกรมแรงงานกำหนดเอาไว้กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน แล้วเกิดการฟ้องร้องกันขึ้น คือ ร้อยละ 15 ต่อปี และถ้าหากเป็นกรณีจงใจไม่จ่าย ต้องจ่ายเพิ่มอีกร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างทุก 7 วัน

อ้างอิง : คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ฎ.6020/2545

“ลูกจ้างยื่นใบลาออกต่อนายจ้าง ย่อมถือเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้าง และการเลิกสัญญาจ้างมีผลในวันที่ลูกจ้างแจ้งไว้ในใบลาออกนั้น การเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้น นายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างได้แต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่จำเป็นต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือตกลงหรืออนุมัติแต่อย่างใด

ความรับผิดในดอกเบี้ย

เมื่อนายจ้างกระทำผิดหน้าที่โดยไม่จ่ายค่าจ้างเงินเดือนตามเวลาที่กำหนดไว้ตามวันแห่งปฏิทิน หรือเมื่อถึงเวลาจ่ายอื่นๆ ถือว่านายจ้างผิดนัดชำระหนี้ (มาตรา 204 วรรค 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) ซึ่งลูกจ้างสามารถ กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้นายจ้างชำระหนี้หากยังไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดดังกล่าว ลูกจ้างชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ (มาตรา 387) และกรณีนี้เป็นกรณีที่นายจ้างผิดหน้าที่หลักในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ซึ่งทำให้ต้องรับผิดในดอกเบี้ย ตามอัตราร้อยละ 7 ต่อปี(มาตรา 224 ) หรืออัตราร้อยละ 15 ต่อปี กรณีเป็นนายจ้างที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานด้วย นอกจากนั้นยังอาจต้องรับผิดในเงินเพิ่มตามกฎหมายร้อยละ 15 ทุกระยะ 7 วัน นับแต่วันผิดนัด หากนายจ้างจงใจผิดนัดโดยปราศจากเหตุอันสมควร (มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541)

กำหนดให้สิทธิพิเศษแก่ลูกจ้าง

กฎหมายแพ่งกำหนดให้ลูกจ้างเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ ในลำดับเดียวกับค่าภาษีอากร(มาตรา 253(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) เพื่อคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอกว่าในทางเศรษฐกิจให้ได้รับชำระค่าจ้างเงินเดือนก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์สามัญ (มาตรา 257) หรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษ (มาตรา 259 (7) หรือ 272 ) แล้วแต่กรณี ดังที่จะได้กล่าวในเรื่องสิทธิของลูกจ้าง ความเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์นี้มีได้สำหรับค่าจ้างเงินเดือนที่ค้างชำระ รวมถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หรือเงินประเภทอื่นด้วยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่นายจ้าง

บทสรุปส่งท้าย : กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน ฟ้องร้องกับกรมแรงงานได้หรือเปล่า!?

บริษัท ไม่จ่าย เงินเดือน เดือน สุดท้าย

กรมแรงงานเป็นหน่วยงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างให้ได้รับสิทธิที่เหมาะสมตามกฎหมาย…

ดังนั้น เมื่อเกิดกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนก็สามารถที่จะฟ้องกรมแรงงานได้ในทันที อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกรมแรงงานเองเป็นหน่วยงานราชการและขั้นตอนการฟ้องศาลก็ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน

การฟ้องร้องกับนายจ้างจึงอาจจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาสักหน่อยกว่าที่จะสำเร็จตามวัตถุประสงค์ จึงควรใจเย็นสักนิด เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถขับเคลื่อนไปจนเสร็จสิ้นกระบวนการ…