งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ
                 ภาคเหนือมีลักษณะเป็นเทือกเขา สลับกับที่ ราบ ผู้คนจะกระจายตัวอยู่เป็นกลุ่ม มีวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง แต่ก็มีการ ติดต่อระหว่างกัน วัฒนธรรมของภาคเหนือหรือ อาจเรียกว่า “กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา” ซึ่งเป็น วัฒนธรรมเก่าแก่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้ง สำเนียงการพูด การขับร้อง ฟ้อนรำ หรือการจัด งานฉลองสถานที่สำคัญที่มีแต่โบราณ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ วัดเจดีย์หลวง เป็นต้น

วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ

ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี ชาวเหนือหรือที่เรียกกันว่า
“ชาวล้านนา”มีความเชื่อในเรื่องการนับถือผีตั้งแต่เดิม โดย เชื่อว่าสถานที่แทบทุกแห่ง มีผีให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ความเชื่อนี้จึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เห็นได้ จากขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ ของชาว เหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย

ผีที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา เช่น                                                                

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

  • ผีบรรพบุรุษ มีหน้าที่คุ้มครองเครือญาติและครอบครัว
  • ผีอารักษ์ หรือผีเจ้าที่เจ้าทาง มีหน้าที่คุ้มครองบ้านเมืองและชุมชน
  • ผีขุนน้ำ มีหน้าที่ให้น้ำแก่ไร่นา
  • ผีฝาย มีหน้าที่คุ้มครองเมืองฝาย
  • ผีสบน้ำ หรือผีปากน้ำ มีหน้าที่คุ้มครองบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน
  • ผีวิญญาณประจำข้าว เรียกว่า เจ้าแม่โพสพ
  • ผีวิญญาณประจำแผ่นดิน เรียกว่า เจ้าแม่ธรณี

              ในทุกวันนี้เรื่องในการนับถือผีและประเพณีที่เกี่ยวข้อง มีการเปลี่ยนแปลงและเหลือน้อยลง โดยเฉพาะใน เขตเมือง แต่ในชนบทยังคงมีการปฏิบัติกันอยู่

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

              คนล้านนามีความผูกพันเกี่ยวเนื่องอยู่กับการนับถือผี สามารถพบเห็น ได้จากการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเมืองเอง เช่น เมื่อเวลาที่ต้องเข้า ป่าไปหาอาหาร หรือต้องค้างพักแรมอยู่ในป่า มักจะต้องบอกกล่าวเจ้าที่ เจ้าทางเสมอ และเมื่อเวลาที่กินข้าวในป่า ก็มักจะแบ่งอาหารให้เจ้าที่ด้วย เช่นกัน นอกจากนั้นเมื่อเวลาจะอยู่ ที่ไหนก็ตามไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือใน ป่า เมื่อเวลาที่ต้องถ่ายหรือปัสสาวะ ก็มักจะต้องขออนุญาตจากเจ้าที่ก่อน อยู่เสมอ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตของคนเมืองผูกผันอยู่กับการนับ ถือผี

               การเลี้ยงผีของคนล้านนาจะอยู่ในช่วงระหว่างเดือน 4 เหนือ จน ถึงเดือน 8 เหนือ ช่วงเวลานี้เราจะพบว่าตามหมู่บ้านต่างๆ ในภาค เหนือจะมีการเลี้ยงผีบรรพบุรุษกันอย่างมากมาย เช่น ที่อำเภอเชียง คำ จังหวัดพะเยา ก็จะมีการเลี้ยงผีเสื้อบ้านเสื้อเมือง ซึ่งเป็นผีบรรพ บุรุษของชาวไทลื้อ พอหลังจากนี้อีกไม่นานก็จะมีการเลี้ยงผีลัวะ หรือ ประเพณีบูชาเสาอินทขิล ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ของคนเมือง และยัง ไม่นับรวมถึงการ เลี้ยงผีมด ผีเม็ง และการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะของ ชาวลัวะ ซึ่งจะทยอยทำกันต่อจากนี้

                 ในช่วงกลางฤดูร้อนจะมีการลงเจ้าเข้าทรงตามหมู่บ้านต่างๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความเชื่อของชาวบ้านที่ ว่า การลงเจ้าเป็นการพบปะพูดคุยกับผีบรรพบุรุษ ซึ่งในปีหนึ่งจะมีการลงเจ้าหนึ่งครั้ง และในการลงเจ้าครั้ง นี้ จะถือโอกาสทำพิธีรดน้ำดำหัวผีบรรพบุรุษไปด้วย ยังมีพิธีเลี้ยงผีอยู่พิธีหนึ่งที่มักจะกระทำกันในช่วงเวลา นี้ และที่สำคัญในปีหนึ่งจะทำพิธีนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ “การเลี้ยงผีมดผีเม็ง” ชาวบ้านที่ประ กอบพิธีนี้ขึ้นบอกว่า การเลี้ยงผีมดผีเม็งจะเลี้ยงอยู่ 2 กรณี คือ เมื่อเวลามีคนเจ็บป่วย ไม่สบายในหมู่บ้าน จะ ทำพิธีบนผีเม็ง เพื่อขอใช้ช่วยรักษา เมื่อเวลาที่หายแล้วจะต้องทำพิธีเชิญวิญญาณผีเม็งมาลง และจัดหา ดนตรีมาเล่น เพื่อเพิ่มความสนุกสนานแก่ผีมด ผีเม็งด้วย อีกกรณีหนึ่งเมื่อไม่มีคนเจ็บป่วยในหมู่บ้านจะต้อง ทำพิธีเลี้ยงผีมดผีเม็งทุกปี โดยจะต้องหาฤกษ์ยามที่เหมาะสม และจะต้องกระทำระหว่างช่วงเวลาเดือน 4 เหนือ ถึงเดือน 8 เหนือ ก่อนเข้าพรรษา เพราะถ้าไม่ทำพิธีผีมดผีเม็งอาจจะไม่คุ้มครองคนในหมู่บ้านก็ได้ ดัง นั้นเมื่อใกล้ถึงช่วงเวลาดังกล่าว เรามักจะพบภาพพิธีเหล่านี้ตามหมู่บ้านต่างๆ

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

                   คนล้านนากับความเชื่อในการเลี้ยงผี ถือได้ว่าเป็นพิธีกรรมที่สำคัญของพวกเรา แม้ว่าการดำเนินชีวิตของ พวกเขาจะราบรื่นไม่ประสบปัญหาใด แต่ภายใต้จิตสำนึกที่แท้จริงแล้ว คนล้านนาเหล่านี้ไม่อาจลืมเลือน วิญญาณของผีบรรพบุรุษ ที่เคยช่วยเหลือให้พวกเขามีชีวิตที่ปกติสุขมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า แม้กาลเวลาจะแปร เปลี่ยนไปอย่างไร ภาพที่เรายังคงพบเห็นได้เสมอเมื่อเวลาเดินทางไปยังหมู่บ้านต่างๆ ในชนบท ก็คือ เรือน เล็กๆ หลังเก่าตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน นั่นก็คือ “หอเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน” ที่ยังย้ำเตือนให้พวกเขาไม่ให้หลงไหล ไปกับกระแสสังคมนั่นเอง

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับประเพณีพื้นเมือง

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

                  ประเพณีของภาคเหนือ มีลักษณะเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิต ที่เกิดจากการผสมผสาน ระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อ ในเรื่องการนับถือผี ทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ และลักษณะของ ประเพณีจะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล คือ

                 ช่วงแรก (เดือนเมษายนถึงมิถุนายน) เป็นช่วงการเริ่มต้นปีใหม่หรือ สงกรานต์งานประเพณี จึงเกี่ยวกับการทำบุญ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต้อนรับชีวิตใหม่ และอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้แก่บรรพบุรุษ มีการเลี้ยง ผีและฟ้อนผี เพื่อขอฝนช่วยให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ภายในไร่นา

                ช่วงที่สอง (เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม) เป็นช่วงของการเพาะปลูก และเป็นเทศกาลเข้าพรรษา ประเพณีจึงเกี่ยวข้องกับการประกอบ อาชีพและศาสนา

                ช่วงที่สาม (เดือนตุลาคมถึงเมษายน) เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวพืช ผลและเทศกาลออกพรรษา ถือว่าเป็นเวลาแห่งการพักผ่อนงาน ประเพณี จึงเป็นงานรื่นเริงและการทำบุญที่เกี่ยวศาสนา

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ


ประเพณีสงกรานต์

                  ชาวเหนือมีประเพณีสงกรานต์ที่เหมือนกับชาวไทยภาคอื่น คือ มี การทรงน้ำพระพุทธรูป มีประเพณีขนทรายเข้าวัด ประเพณีรดน้ำ ดำรง ขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ สิ่งที่เป็นประเพณีท้องถิ่น คือ มีการทำ บุญถวายขันข้าวที่ถวายตุง และไม้ค้ำสะหลีหรือไม้ค้ำโพธิ์ เพื่ออุทิศ ส่วนกุศลให้แก่วิญญาณผีบรรพบุรุษ และเป็นผลบุญสำหรับตนเอง

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ
 


ประเพณีสืบชะตา

                   ชาวล้านนามีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตน เอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง
และความเป็นสิริมงคล โดยแบ่งการสืบชะตาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. การสืบชะตาคน นิยมทำกันหลายโอกาส เช่น วันเกิด วันที่ ได้รับยศตำแหน่ง วันขึ้นบ้านเมือง
  2. การสืบชะตาบ้าน เป็นการสืบชะตาชุมชนหรือหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดสิริมงคลปัดเป่าทุกภัยต่างๆ นิยม จัดเมื่อผ่านช่วงสงกรานต์ไปแล้ว
  3. การสืบชะตาเมือง เป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นด้วยความเชื่อว่าเทวดาจะช่วยอำนวยความสุขให้บ้านเมือง เจริญรุ่งเรือง อุดมสมบูรณ์ ในสมัยโบราณพระเจ้าแผ่นดินเป็นประธานในพิธีสืบชะตาเมือง
  4. 4.              วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับประเพณีพื้นเมือง
  5. 5.              ประเพณีปอยน้อย
  6.      เป็นประเพณีบวช หรือการบรรพชาของชาวเหนือจะมีชื่อเรียกต่างกันในบางท้องถิ่น เช่น ปอยน้อย ปอย บวช ปอยลูกแก้ว ปอยส่างลอง นิยมจัดภายในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม ซึ่งเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว ใน พิธีบวชจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ มีการแห่งลูกแก้วหรือผู้บวชที่จะแต่งตัวอย่างสวยงามแบบ กษัตริย์หรือเจ้าชาย เพราะถือคตินิยมว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบวชจนตรัสรู้

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

                 การแห่นิยมให้ลูกแก้วขี่ม้าหรือขี่ขอคน มีการร้องรำกันอย่างสนุก สนาน ในงานนี้จะทำให้เด็กชายธรรมดากลายเป็น “ลูกแก้ว” หรือ“เด็กมีค่าเหมือนแก้ว” บางท้องถิ่นการบวชลูกแก้วเป็นการเปิด โอกาสให้ผู้ที่ไม่ใช่พ่อแม่หรือเครือญาติร่วมกันเป็นเจ้าภาพด้วย เพื่อ เป็นการแบ่งบุญและช่วยสนับสนุนค่าใช่จ่ายในการจัดงาน เจ้าภาพ จะเรียกว่า “พ่อออก หรือบิดาแห่งการจากไป” จากชีวิตทางโลก ของผู้บวช และผู้บวชจะปฏิบัติตนต่อพ่อออกเหมือนเป็นพ่อแม่จริงๆ พ่อออกและลูกแก้วจึงเกิดความผูกพันกัน กล่าวได้ว่าเป็นการสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างคนในสังคม

  1.     ปัจจุบันประเพณีบวชลูกแก้วที่มีชื่อเสียงคือ ประเพณีบวชลูกแก้ว ที่จังหวัดแม่ฮองสอน เมื่อข้าวเหนียวสุก แล้วจะนำออกมาจากหวดมาผึ่งบนภาชนะที่เรียกว่า “กั๊ว หรือกระโบม” ซึ่งเป็นภาชนะที่คล้ายรูปกระจาดที่ ทำด้วยไม้ เพื่อให้ข้าวเหนียวไม่แฉะ และบรรจุข้าวเหนียวลงภาชนะจักสานที่เรียกว่า ก่องหรือกระติบ ในภาค อีสาน ทำให้ข้าวเหนียวอุ่นอยู่ได้นานจนถึงเวลารับประทาน
  1. 9.              ประเพณีแห่นางแมว (ช่วงเวลา ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม)
  2.       การประกอบอาชีพทางเกษตรในสมัยก่อนนั้น  ต้องพึ่งพาสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าปีไหนฝนดีข้าวกล้าในนาก็เจริญงอกงามดี  หากปีใดฝนแล้ง หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนา ก็จะเสียหาย ไม่มีน้ำจะทำนาชาวบ้านไม่มีวิธีการอื่นใดที่จะช่วยได้ จึงพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติต่างๆ นาๆ เป็นต้นว่า ทำพิธีขอฝนโดยการแห่นางแมว เชื่อกันว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้วจะช่วยให้ฝนตกลงมาได้

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

  1. พิธีกรรม
  2.      นำชลอมมาตกแต่งให้สวยงาม ใส่แมวไว้ข้างในมัดผูกให้เรียบร้อย หลังใส่คานหามหัวท้ายสองคนแห่ไป รอบๆ หมู่บ้านโดยมีกลองยาวนำขบวน พร้อมกับร้องเพลงแห่นางแมว ผ่านหน้าบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะเอา กระบวยตักน้ำมาสาดรดแมว พร้อมทั้งให้รางวัลแก่พวกแห่ เช่น เหล้า ข้าวปลา หรือของกินอื่นๆ แล้วเคลื่อน ต่อไปเรื่อยๆ จนหมดเขตหมู่บ้าน ก็นำของนั้นมาเลี้ยงกัน กระทำดังนี้จนกว่าฝนจะตก เนื้อร้องเพลงแห่นาง แมว มีดังต่อไปนี้
  3. “นางแมวเอย  ขอฟ้าขอฝน  ขอน้ำมนต์รดแมวข้ามั่ง ค่าเบี้ยค่าจ้าง  ค่าหาแมวมา  ถ้าไม่ให้กินปลา  ขอให้ปูกัดข้าว                                                              
    งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

    ถ้าไม่ให้กินข้าว  ขอให้ข้าวตาฝอย  ถ้าไม่ให้กินอ้อย  ขอให้อ้อยเป็นแมง

    ถ้าไม่ให้กินแตง  ขอให้แตงคอคอด  ถ้าไม่ให้นอนกอด  ขอให้มอดเจาะเรือน

    ถ้าไม่ให้นอนเพื่อน  ขอให้เรือนทลาย  แม่ยายหอยเอย  กะพึ่งไข่ลูก

    ลูกไม้จะถูก  ลูกไม้จะแพง ฝนตกพรำๆ  มาลำกระแชง

    ฝนตกเขาน้อย  มาย้อยชายคา  ฝนตกเขาหลวง  เป็นพวงระย้า

    ไอ้เล่  เหล  เล่  ฝนก็เทลงมา  เอ้า  ฝนก็เทลงมา  เอ้า  ฝนก็เทลงมา ๆๆๆๆ”

วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

                   ลักษณะเด่นชัดในทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชุมชนในภาคเหนือ ที่ไม่เหมือนกับภาคอื่นๆ ก็ คือ บรรดาชุมชนหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ในหุบเขาเดียวกันนั้น จะต้องมี ความสัมพันธ์กันทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด จึง จะอยู่ร่วมกันได้ สิ่งนี้แลเห็นได้จากการร่วมมือกันในการทำให้มีการ ชลประทาน เหมืองฝายขึ้น นั่นก็คือแต่ละชุมชนจะต้องมาร่วมกันทำ ฝายหรือเขื่อนกั้นน้ำ และขุดลอกลำเหมืองเพื่อระบาย น้ำจากฝายที่ กั้นลำน้ำไปเลี้ยงที่นาของแต่ละชุมชน ทั้งนี้เป็นเพราะในแต่ละหุบ เขานั้น ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลาดลงสู่บริเวณที่เป็นแอ่งตอน กลางที่มีลำน้ำไหลผ่าน ลำน้ำดังกล่าวนี้เกิดจากลำธาร หรือลำน้ำ สาขาที่ไหลลงจากที่สูงทั้งสองข้างหุบเขามาสมทบด้วย จำนวนลำ น้ำเหล่านี้มีจำกัดไม่เพียงพอแก่การเพาะปลูกของผู้คนทั่วไป จึงจำ เป็นต้องทำฝายทดน้ำและขุดเหมืองจากบริเวณลำน้ำหรือธารน้ำนั้น เข้าไปเลี้ยงที่นาและเพื่อการใช้น้ำของ ชุมชน จึงต้องมีการออกแรงร่วมกัน เกิดมีกฎเกณฑ์และแบบแผนในการร่วมแรงกันทำเหมืองฝายมาแต่ โบราณ จึงเป็นกิจกรรมที่กษัตริย์เจ้าเมืองหรือนายบ้าน จะต้องคอยควบคุมดูแลให้มีการร่วมมือกัน และลง โทษผู้ที่ไม่ร่วมมือแต่ทว่าลักน้ำขโมยน้ำจากผู้อื่น จึงเกิดมีกฎหมายโบราณขึ้นที่เรียกว่า “กฎหมายมังราย”เชื่อว่าพญามังรายผู้สร้างแคว้นล้านนาเป็นผู้บัญญัติขึ้น

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

ที่อยู่อาศัย วัฒนธรรมประเพณี สภาพดินฟ้าอากาศ มีส่วนกำหนดลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้คน บ้านเรือน ในภาคเหนือ นิยมสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นสอดคล้องกับวิถีชีวิต ตัวเรือนมีขนาดเล็กใต้ถุน สูง หลังคาทรงจั่ว ประดับยอดหลังคาด้วยไม้แกะสลักไขว้กัน เรียกว่า “กาแล” ชาวเหนือที่มีฐานะดีจะอยู่ เรือนที่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่และประณีตมาก

กาแล คือ ไม้ประดับยอดจั่วหลังคาของบ้านล้านนาภาคเหนือ ของเรา มีประวัติและความเป็นมาหลาก หลายอย่าง แต่หากพิจาร ณาในเชิงช่างแล้ว กาแลนี้เป็นตัวกันไม่ ให้ “อีกา” หรือนกทั่วไปมาเกาะที่กลางจั่ว หน้าบ้าน (กลางปั้นลม) ทำให้นกเหล่านั้นไม่มา ถ่ายมูลรดหลังคาบ้านให้เป็นคราบน่าเกลียดจะทำความสะอาดก็ยากเย็น ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคล

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

 วัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรม

                  คนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่ โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ 1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าวและพืชอื่นๆ ได้ดี คือ พื้น
ที่ราบแอ่งเชียงใหม่ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่างสินค้า มีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี “กาดมั่ว”ใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

คำว่า “กาดมั่ว” เป็นภาษาพื้นบ้านของทางล้านนา ซึ่งหมายถึง ตลาดที่คนเรานิยมไปซื้อทั้งของกินของใช้ ของกินพื้นบ้านทางภาคเหนือ และของใช้ที่ชาวบ้านประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา แล้วจะออกนำมาขายไม่ว่าจะเป็น น้ำพริก แกงฮังเล แกงโฮะ ใส้อั่ว จิ้นปิ้ง (หมูปิ้ง) ขนมจีนน้ำเงี้ยว เป็นต้น ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ในชีวิต ประจำวัน ซึ่ง ‘กาดมั่ว’ จะเป็นตลาดที่ขายของปนเปกันไปอย่างไม่มีระเบียบเรียบร้อยชาวเหนือส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำไร่ทำนา การทำนาส่วนใหญ่ก็่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมากๆ จึงทำนาหว่านคน เหนือมักจะปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือว่าเป็นข้าวที่มี  คุณภาพดี นึ่งสุกแล้วก็จะขาวสะอาดอ่อน และนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธุ์ที่มีชื่อเสียง คือ “ข้าวสันป่าตอง”นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่นๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้วอาชีพทำ สวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่ง ขายต่างประเทศอีกด้วย

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

                    ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นวัฒนธรรมของชาวบ้านภาคเหนือ คือ “การทำเมี่ยง” ซึ่งชาวเหนือชอบ กินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนนำมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอมก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกิน หรืออย่างอื่นแล้วแต่จะชอบ

นอกจากการอมเมี่ยงของคนล้านนา ทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่ มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือและยาวเกือบคืบ ชาว บ้านภาคเหนือเรียกบุหรี่ชนิดนี้ ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยม สูบกันมาก อาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงจะทำให้ ร่างกายอบอุ่นขึ้น

นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่นอีก อาจ เรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิง จะทอผ้า เมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลักไม้หรือ เทียน การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับอาหาร

                   ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการกินที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น นิยมรับประทาน ข้าวเหนียวเป็นหลัก จึงมีภาชนะใส่ข้าวเหนียวในขั้นตอนต่างๆ เช่น ใช้ภาชนะที่เรียกว่า “หวด” ในการนึ่งข้าวเหนียว ซึ่งมีใช้กันทั่วไปใน ภาคเหนือตอนบน คือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ตาก สานด้วยตอกไม้ไผ่ โดยทั่วไปใช้ไผ่เรี้ย หรือ ไผ่บง การใช้ตอกเรี้ยและตอกบงมีข้อดีข้อเสียต่างกัน หวดที่สานด้วย ไผ่เรี้ยจะมีความเหนียว ยืดหยุ่นอ่อนตัวได้ดี เวลาบีบปากหวดจะอ่อน ตัวตามไม่หัก ส่วนหวดที่สานด้วยไผ่บง มีความแข็งแรงกว่า ข้อเสีย คือหักง่าย ส่วนใหญ่นิยมใช้หวดที่ทำด้วยไผ่บงมากกว่า ลักษณะของ หวดส่วนที่เป็นก้นจะสานให้ตาห่าง กันพอเมล็ดข้าวสารไม่หลุดลอดออกได้ มีมุม 4 มุม ส่วนลำตัวของหวด จะเป็นทรงกรวย ปากผายออกกว้างกว่าส่วนก้น ขนาดของหวดมีตั้งแต่ 20 เซนติเมตรไปจนถึง 40-50 เซน ติเมตร

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

เมื่อข้าวเหนียวสุกแล้วจะนำออกมาจากหวดมาผึ่งบนภาชนะที่เรียกว่า “กั๊ว หรือกระโบม” ซึ่งเป็นภาชนะ ที่คล้ายรูปกระจาดที่ทำด้วยไม้เพื่อให้ข้าวเหนียวไม่แฉะ และบรรจุข้าวเหนียวลงภาชนะจักสาน ที่เรียกว่า“ก่อง หรือกระติบ” ในภาคอีสาน ทำให้ข้าวเหนียวอุ่น อยู่ได้นานจนถึงเวลารับประทาน

                    อาหารของภาคเหนือประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำ พริกชนิดต่างๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมี แหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่างๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญ ที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตก ต่างจากภาคอื่นๆ คือ การที่อากาศหนาวเย็น เป็นเหตุผลให้อาหาร ส่วนใหญ่มีไขมันมาก

                                                                                                                                                                      

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

อาหารภาคเหนือ ส่วนใหญ่รสชาดไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลใน อาหาร ความหวานจะได้จากส่วนผสมของ อาหารนั้นๆ เช่น ผัก ปลา และนิยมใช้ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร คนเหนือมีน้ำพริกรับประทาน
หลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผัก นึ่ง ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญ ขาดไม่ได้คือ “ดอกงิ้ว” ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง ถือเป็นเครื่องเทศ พื้นบ้านที่มีกลิ่นหอม หรืออย่าง ตำขนุน แกงขนุน ที่มีส่วนผสมเป็น ผักชนิดอื่น เช่น ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

  วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้าน

                    เพลงพื้นบ้านในของภาคเหนือ เป็นเพลงสนุกสนาน เช่น เพลง ค่าว ซึ่งเป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำ ไพเราะ เพลงซอ เป็นการ ขับร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน จ๊อย หรือการขับลำนำในโอกาสต่างๆ และทำฮ่ำหรือคำฮ่ำ ซึ่งเป็นการขับร้องหมู่ เป็นต้น

เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส โดยไม่ จำกัดฤดูหรือ เทศกาลใดๆ ซึ่งจะใช้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ และการพักผ่อนหย่อนใจ โดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะ อ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวล สอดคล้องกับเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถจัดประเภทของเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือได้ 3 ประเภท คือ

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

  1. เพลงซอ ใช้ร้องโต้ตอบกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึงคลอไปด้วย
  2. เพลงจ๊อย เป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือ นำมาขับร้องเป็นทำนองสั้นๆ โดยเนื้อหาของคำ ร้องจะเป็นการระบายความในภายในใจ แสดงอารมณ์ความรัก ความเงียบเหงา มีนักร้องเพียงคน เดียว และจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ เช่น จ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจ จ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อน ฝูง และจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่างๆ หรือจ๊อยอำลา
  3. เพลงเด็ก มีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่นๆ คือเพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก และเพลงที่ เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุง จา

สิกจุ่งจา หรือเล่นชิงช้า สิกจุ่งจาเป็นการละเล่นของภาคเหนือ ผู้เล่นมีกี่คนก็ได้ ตามจำนวนชิงช้าที่มี หากผู้เล่นมากกว่าชิงช้าที่มี ก็อาจจะเปลี่ยนกัน เล่นอุปกรณ์การเล่น ชิงช้าทำด้วยเชือกเส้นเดียวสอดเข้าไปในรูกระบอกไม้ซาง แล้วผูกปลายเชือกทั้งสองไว้กับต้นไม้หรือพื้นเรือน

                วิธีเล่น แกว่งชิงช้าไปมาให้สูงมากๆ บทร้องประกอบผู้เล่นจะร้องตาม จังหวะที่ชิงช้าแกว่งไกวไปมา ดังนี้

“สิกจุ่งจา อีหล้าจุ่งจ๊อย ขึ้นดอยน้อย ขึ้นดอยหลวง เก็บผักขี้ขวง ใส่ซ้าทังลุ่ม เก็บฝักกุ่ม ใส่ซ้าทั้งสนเจ้านายตน มาปะคนหนึ่ง ตีตึ่งตึง หื้ออย่าสาวฟังควักขี้ดัง หื้ออย่าสาวจูบ แปงตูบน้อย หื้ออย่าสาวนอน ขี้ผองขอน หื้ออย่าสาวไหว้ ร้อยดอกไม้ หื้ออย่าสาวเหน็บ จักเข็บขบหู ปูหนีบข้าง ช้างไล่แทง แมงแกงขบเขี้ยว เงี้ยวไล่แทง ตกขุมแมงดิน ตีฆ้องโม่งๆ”

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

นอกจากนี้ยังมีเพลงกล่อมลูกที่ภาคเหนือใช้ในการกล่อมลูกหรือเด็ก ลักษณะเด่นของเพลงกล่อมเด็ก ภาคเหนือนอกจากจะขึ้นต้นด้วยคำว่าสิกจุ้งจาโหนแล้วยังมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “อื่อจา” เป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกเพลงกล่อมเด็กนี้ว่า เพลงอื่อลูกทำนองและลีลาอื่อลูกจะเป็นไป ช้าๆ ด้วยน้ำเสียงทุ้มเย็นตามถ้อยคำที่
สรรมาเพื่อสั่งสอนพรรณาถึงความรัก ความห่วงใยลูกน้อยจนถึงคำขู่ คำปลอบ ขณะยังไม่ยอมหลับ ถ้อยคำ ต่างๆ ในเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมต่างๆ ของ คนในภาคเหนือในอดีตจนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี นับเป็นประโยชน์ ทางอ้อมที่ได้รับนอกเหนือจากความอบ อุ่น ใจของลูกที่เป็นประโยชน์โดยตรงของเพลงกล่อมเด็ก

งาน ประดิษฐ์ เอกลักษณ์ ไทย ภาคเหนือ

อ้างอิงจากhttp://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/social03/01/contents/culture_north.html