ดาวเทียมไทพัฒ – ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร

ดาวเทียมไทยโชต (Thaichote) หรือ ดาวเทียมธีออส (THEOS) ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศ ในวันพุธที่ 1 ตุลาคม 2551 ตามเวลาประเทศไทย 13:37:16 น. หรือ 6.37:16 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (UTC) โดยจรวดนำส่ง "เนปเปอร์" (Dnepr) จากฐานส่งจรวดเมืองยาสนี (Yasny) ประเทศรัสเซีย

ดาวเทียมไทยโชต ถูกออกแบบให้เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี ทำงานโดยอาศัย แหล่งพลังงาน จากดวงอาทิตย์ สามารถบันทึกภาพได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพแบบ ออฟติคคอล (Optical Imagery) ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลภาพ ในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น (Visible band) จนถึงช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (Near Infrared) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบช่วงคลื่นของดาวเทียมธีออสกับดาวเทียม อื่นๆ พบว่า 3 ช่วงคลื่นของดาวเทียมธีออส มีความคล้ายคลึงกับช่วงคลื่นของดาวเทียม SPOT ยกเว้นช่วงคลื่น สีน้ำเงิน ที่มีเพิ่มมากกว่าของดาวเทียม SPOT และมีความคล้ายคลึงกันกับช่วงคลื่นของดาวเทียม Landsat ระบบ TM

หมายเหตุ:
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อดาวเทียมสำรวจทรัพยากร THEOS ว่า “ดาวเทียมไทยโชต” ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thaichote” ซึ่งแปลว่า ดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยรุ่งเรือง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผู้บริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ตลอดจนเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง สทอภ. ล้วนปลาบปลื้มและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ รายละเอียดเพิ่มเติม

คุณลักษณะดาวเทียม

น้ำหนัก715 กิโลกรัมขนาด2.1 เมตร x 2.1 เมตร (Sun Synchronous)แผงรับแสงอาทิตย์840 วัตต์เชิ้อเพลิงและความจุของถังเชื้อเพลิง (Hydrazine)80 กก.วงโคจรแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous)ความสูงของวงโคจร822 กิโลเมตร จากพื้นโลกความเอียงของแนวการโคจร98.7 องศาจำนวนวงโคจรต่อวัน14+5/26 วงโคจรต่อวันเวลาท้องถิ่นที่โคจรผ่าน10:00 น.ระยะเวลาโคจรรอบโลก 1 รอบ101.4 นาทีการโคจรกลับมาแนวเดิมทุก 26 วัน (369 วงโคจร)ความเร็วเมื่อเทียบกับพื้นโลก6.6 กม./วินาทีความจุของอุปกรณ์เก็บข้อมูล40 Gbit solid-state memoryการประมวลผลข้อมูลบนดาวเทียม

อัตราส่วนของการบีบอัดข้อมูล

2.80 or 3.75 for PAN

2.95 or 3.75 for MS

อัตราการส่งข้อมูลภาพ
(Image Telemetry)120 Mbit/s (X band)ช่องว่างระหว่างแนวโคจร
(ที่เส้นศูนย์สูตร)108 กิโลเมตร ระหว่างแนวการโคจร 2 แนวที่ใกลที่สุดที่ ดาวเทียมผ่าน
2800 กิโลเมตร ระหว่างแนวโคจร 2 วงที่ต่อเนื่องกันขอบเขตการบันทึกข้อมูลทั่วทั้งโลกขอบเขตการรับสัญญาณรัศมีมากกว่า 2000 กิโลเมตร จากสถานีรับภาคพื้นดิน (ที่มุมเงย 5 องศา)เวลาในการโคจรมาถึงเป้าหมาย2 วัน เมื่อดาวเทียมเอียงถึง 50 องศา
5 วัน เมื่อดาวเทียมเอียงถึง 30 องศาอุปกรณ์บันทึกข้อมูลPanchromatic (ช่วงคลื่นเดียว)
รายละเอียดภาพ 2 เมตร, ความกว้างแนวภาพ 22 กิโลเมตร
Multispectral (หลายช่วงคลื่น)
รายละเอียดภาพ 15 เมตร, ความกว้างแนวภาพ 90 กิโลเมตรอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี

อุปกรณ์บันทึกข้อมูล

 
ดาวเทียมไทพัฒ – ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร
ดาวเทียมไทพัฒ – ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร
 Panchromatic
(ช่วงคลื่นเดียว)Multispectral
(หลายช่วงคลื่น)ช่วงคลื่นP : 0.45 - 0.90 ไมครอนB0 (น้ำเงิน) : 0.45 - 0.52 ไมครอน
B1 (เขียว) : 0.53 - 0.60 ไมครอน
B2 (แดง) : 0.62 - 0.69 ไมครอน
B3 (อินฟราเรดใกล้) : 0.77 - 0.90 ไมครอนรายละเอียดภาพ2 เมตร15 เมตรความกว้างแนวภาพ22 กิโลเมตร (ในแนวดิ่ง)90 กิโลเมตร (ในแนวดิ่ง)จำนวน pixel ต่อแถว12,000 pixels6,000 pixelsความกว้างของแนวที่สามารถบันทึกภาพ1,000 กิโลเมตร
(มุมเอียง ± 30 องศา)1,100 กิโลเมตร
(มุมเอียง ± 30 องศา)
ดาวเทียมไทพัฒ – ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร

การถ่ายภาพจากดาวเทียม Thaichote

ดาวเทียมไทพัฒ – ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร

การถ่ายภาพในแนวดิ่ง (Nadir)

ดาวเทียมธีออสถ่ายภาพในแนวดิ่ง (Nadir) หรือภายในมุมเอียงไม่เกิน 11 องศา (Near Nadir) ตามแนวการโคจร มีขนาดความกว้างของแนวถ่ายภาพ 22 กิโลเมตร สำหรับกล้อง Panchromatic และ90 กิโลเมตร สำหรับกล้อง Multispectral

ดาวเทียมไทพัฒ – ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร
การถ่ายภาพต่อเนื่องเป็นแนวยาว (Strip Imaging)
ดาวเทียมธีออสสามารถถ่ายภาพเป็นแนวยาวต่อเนื่องได้สูงสุดถึง 4,000 กิโลเมตร
ดาวเทียมไทพัฒ – ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร

ความสามารถในการถ่ายภาพซ้ำในพื้นที่เดิม

ดาวเทียมธีออสสามารถปรับเอียงมุมกล้องโดยการเอียงมุมกล้องโดยการเอียงดาวเทียมไปทางซ้ายหรือขวา หรือเพิ่มความกว้างของพื้นที่ที่ถ่ายภาพ เป็นการเพิ่มความถี่ในการถ่ายภาพพื้นที่เป้าหมายได้บ่อยครั้งขึ้น การเพิ่มความถี่ในการถ่ายภาพซ้ำที่เดิมขึ้นกับมุมเอียงของดาวเทียมและตำแหน่งภูมิศาสตร์ตามแนวเส้นละติจูดของพื้นที่นั้น ๆ มุมเอียงของกล้องที่สามารถบันทึกได้ภาพที่มีคุณภาพดีในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ต้องไม่เกิน 30 องศา อย่างไรก็ตามกรณีเร่งด่วนดาวเทียมธีอสสามารถปรับมุมเอียงได้ถึง 50 องศา ซึ่งจะเพิ่มความถี่ในการถ่ายภาพซ้ำที่เดิม เช่น ประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร สามารถถ่ายภาพได้ซ้ำที่เดิมเฉลี่ยทุก 3 วัน สำหรับมุมเอียงไม่เกิน 30 องศา แต่ถ้าปรับมุมเอียงถึง 50 องศา ความถี่ในการถ่ายภาพซ้ำที่เดิมเพิ่มขึ้นเป็นทุก 2 วัน

ดาวเทียมไทพัฒ – ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร

การถ่ายภาพสเตอริโอ (Stereo Imaging)

ดาวเทียมธีออสสามารถถ่ายภาพสเตอริโอได้ 2 วิธี
1. การถ่ายภาพในแนวโคจรเดียวกัน (Along track stereo imaging)
2. การถ่ายภาพพื้นที่เดียวกันจากสองแนวโคจร (Across track stereo imaging)

 

ผลิตภัณฑ์ข้อมูลดาวเทียม Thaichote

ผลิตภัณฑ์ข้อมูลจากดาวเทียม Thaichote นั้นมีให้เลือกหลายแบบ โดยแต่ละแบบจะใช้การผสมช่วงคลื่นที่แตกต่างกัน ทำให้รายละเอียดจุดภาพของผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน

ชนิดของผลิตภัณฑ์ขาว–ดำน้ำเงินเขียวแดงอินฟราเรดใกล้รายละเอียดภาพแบบช่วงคลื่นเดียว (PAN)x----2 เมตรภาพสีเชิงคลื่น ( MS)-xxxx15 เมตรPan-Sharpenedxxxxx2 เมตร

ดาวเทียมไทพัฒ – ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร

ผลิตภัณฑ์ภาพสีเชิงคลื่น
(Multispectral Products)ผลิตภัณฑ์แบบช่วงคลื่นเดียว
(Panchromatic Products)ผลิตภัณฑ์ Pan-Sharpend
(Pan-Sharpened Products)ผลิตภัณฑ์ภาพสีเชิงคลื่นของดาวเทียม Thaichote ให้รายละเอียดภาพ 15 เมตร (ที่การบันทึกภาพแนวดิ่ง) และมีข้อมูล 8 บิตต่อจุดภาพ โดยในหนึ่งแฟ้มข้อมูลของผลิตภัณฑ์จะประกอบด้วยข้อมูลทั้ง 4 ช่วงคลื่น ภาพที่ได้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรรัสมีขนาด 90 กม. x 90 กม.

ผลิตภัณฑ์แบบช่วงคลื่นเดียวของดาวเทียม Thaichote ให้รายละเอียดภาพ 2 เมตร (ที่การบันทึกภาพแนวดิ่ง) และมีข้อมูล 8 บิตต่อจุดภาพ ภาพที่ได้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 22 กม. x 22 กม.

ผลิตภัณฑ์แบบ Pan-Sharpened รวมข้อมูลที่ตามองเห็นจาก 4 ช่วงคลื่น (น้ำเงิน เขียว แดง อินฟราเรดใกล้) เข้ากับข้อมูลเชิงพื้นที่ของช่วงคลื่นขาว-ดำ ผลิตภัณฑ์แบบ Pan-Sharpened มีให้เลือกได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ในระดับ 2A เท่านั้น ภาพที่ได้เป็นภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 22 กม. x 22 กม.

ระดับการผลิต

ผลิตภัณฑ์ข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชตมีการปรับแก้ 2 ระดับ ได้แก่

  • ระดับการปรับแก้โดยระบบ (1A): ภาพระดับ 1A นั้นจะได้รับการปรับแก้เชิงคลื่น ปรับระดับการตอบสนองสัมพัทธ์ของตัวตรวจวัด ( Detector equalization) และกำจัดความผิดพลาดเชิงคลื่น ช่วงคลื่น PAN และช่วงคลื่นสีแดงของระบบ MS ซึ่งเรียกว่า “ ช่วงคลื่นอ้างอิง ” จะไม่ได้รับการปรับแก้เชิงเรขาคณิต ส่วนช่วงคลื่น 3 ช่วงคลื่นที่เหลือจะได้รับการขยับ (Shifted) เพื่อทดแทนการเยื้องกันของข้อมูลในแต่ละช่วงคลื่น (รายละเอียด)
  • ระดับการปรับแก้เชิงภูมิศาสตร์ (2A): ภาพระดับ 2A จะได้รับการปรับแก้เชิงคลื่นเหมือนกับระดับ 1 A นอกจากนี้ยังได้รับการแก้ไขความผิดพลาดเชิงเรขาคณิตของแต่ละช่วงคลื่น (Registed) และการปรับแก้ความบิดเบือนเชิงภูมิศาสตร์ (Geocoded) นั่นคือได้รับการจัดข้อมูลใหม่บนระบบพิกัดเชิงแผนที่ (Carthographic grid) (รายละเอียด)

ชนิดของพื้นที่ภาพ

  1. แนวยาว (Single Strip)
    • ชนิดของผลิตภัณฑ์: PAN (ความกว้าง 22 กม.) หรือ MS (ความกว้าง 90 กม.) หรือ PAN Sharpened (ความกว้าง 22 กม.)
    • ผู้ใช้ระบุจุดศูนย์กลาง (ละติจูด/ลองจิจูด เป็นองศา) และความยาว (กม.) ของภาพ
    • ขนาดของภาพต้องไม่น้อยกว่า 1 ภาพ (PAN หรือ PAN Sharpened: 22 X 22 กม. MS: 90 X 90 กม.)
  2. แนวยาว: สเตริโอ หน้า/หลัง (Single Strip: Stereo Forward/After)
    • ชนิดของผลิตภัณฑ์: PAN (ความกว้าง 22 กม.) หรือ MS (ความกว้าง 90 กม.)
    • ผู้ใช้ระบุจุดศูนย์กลาง (ละติจูด/ลองจิจูด เป็นองศา) และความยาว (กม.) ของภาพ
    • ขนาดของภาพต้องไม่น้อยกว่า 1 ภาพ (PAN หรือ PAN Sharpened: 22 X 22 กม. MS: 90 X 90 กม.)
  3. แนวยาว: สเตริโอ ขวา/ซ้าย (Single Strip: Stereo Right/Left)
    • ชนิดของผลิตภัณฑ์: PAN (ความกว้าง 22 กม.) หรือ MS (ความกว้าง 90 กม.)
    • ผู้ใช้ระบุจุดศูนย์กลาง (ละติจูด/ลองจิจูด เป็นองศา) และความยาว (กม.) ของภาพ
    • ขนาดของภาพต้องไม่น้อยกว่า 1 ภาพ (PAN หรือ PAN Sharpened: 22 X 22 กม. MS: 90 X 90 กม.)
  4. สี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangle)
    • ชนิดของผลิตภัณฑ์: PAN หรือ MS หรือ PAN Sharpened
    • ผู้ใช้ระบุพิกัดของมุมบนซ้ายและมุมล่างขวา (องศา) เป็นอย่างน้อย
    • ขนาดของภาพต้องไม่น้อยกว่า 1 ภาพ (PAN หรือ PAN Sharpened: 22 X 22 กม. MS: 90 X 90 กม.)
  5. รูปหลายเหลี่ยม (Polygon)
    • ชนิดของผลิตภัณฑ์: PAN หรือ MS หรือ PAN Sharpened
    • ผู้ใช้ระบุพิกัดทั้งหมดของพื้นที่ (ไม่เกิน 20 จุด) ตามลำดับทวนเข็มนาฬิกา
    • ขนาดของภาพต้องไม่น้อยกว่า 1 ภาพ (PAN หรือ PAN Sharpened: 22 X 22 กม. MS: 90 X 90 กม.)
  • ดาวน์โหลดคู่มือผู้ใช้ข้อมูลดาวทียมไทยโชต

การสั่งซื้อข้อมูลจากดาวเทียม Thaichote

ในการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ข้อมูลจากดาวเทียมธีออส สามารถเลือกสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากข้อมูลที่มีอยู่แล้วในคลังข้อมูล หรือข้อมูลที่ขอให้รับสัญญาณใหม่ สำหรับการสั่งซื้อข้อมูลใหม่ที่ไม่มีอยู่ในคลังข้อมูล มีขั้นตอนการขอรับสัญญาณดังต่อไปนี้

  1. ผู้ใช้กรอกข้อมูลลงใน แบบฟอร์มการสั่งซื้อ โดยระบุ ชนิดของการบันทึกภาพ พื้นที่เชิงภูมิศาสตร์ที่ต้องการ รูปแบบและชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
  2. กรณีที่การสั่งบันทึกภาพผ่านการศึกษาความเป็นไปได้ (รายละเอียดการสั่งบันทึกภาพใหม่) ศูนย์วางแผนการบันทึกภาพทำการวางแผนการรับสัญญาณ โดยคำนึงถึงแผนการรับสัญญาณที่มีอยู่ และการใช้ประโยชน์สูงสุดของดาวเทียม
  3. สถานีรับสัญญาณภาคพื้นดิน (IGS) ดำเนินการรับสัญญาณ และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ตามที่ผู้ใช้ระบุทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของการบันทึกภาพ ข้อมูลที่จะนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ จะได้รับการรับประกันว่ามีปริมาณเมฆปกคลุมโดยรวมต่ำกว่า 25 %

รายละเอียดในการสั่งซื้อสามารถสอบถามได้ที่ฝ่ายบริการข้อมูล สำนักบริการและพัฒนาธุรกิจ สทอภ. ทั้งนี้ตั้งแต่ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป สามารถติดต่อฝ่ายบริการข้อมูลได้ตามที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ข้างล่างนี้

ฝ่ายบริการข้อมูล
สำนักบริการและพัฒนาธุรกิจ
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
120 หมู่ 3 อาคาร B ชั้น 6 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 0-2141-4470 โทรสาร 0-2143-9586
e-mail: [email protected]

ระยะเวลาโดยประมาณ ในการผลิตผลิตภัณฑ์ข้อมูลจากดาวเทียมThaichote

ชนิดของการสั่งซื้อระยะเวลาในการดำเนินการ (วัน)ตรวจสอบความเป็นไปได้
ก่อนตอบรับการสั่งซื้อการสั่งบันทึกภาพStandard10-15ใช่Priority3-5ใช่Urgent1-2ใช่Reservedตามที่ผู้ใช้ระบุใช่การสั่งจากคลังข้อมูลStandard3-4ไม่Priority1-3ไม่Urgent1-2ไม่Reserved1-2ไม่

การจัดส่งผลิตภัณฑ์

  • ผู้ใช้มารับด้วยตนเอง
  • ส่งทางไปรษณีย์ หรือบริษัทรับ - ส่งสินค้า ( Courier )
  • ถ่ายโอนข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย ( File transfer—FTP)

การสั่งบันทึกภาพแบบฉุกเฉิน (Urgent Tasking)

            สทอภ. ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่อนุญาติให้มีการยกเลิก หรือรับคืนข้อมูล

 

การสั่งบันทึกภาพข้อมูลดาวเทียม Thaichote

ในการสั่งให้ดาวเทียม Thaichote บันทึกภาพนั้นมีชนิดของการสั่งให้เลือก 4 แบบ ได้แก่

  • แบบปกติ (Standard) - ลำดับความสำคัญ คือ 3
  • แบบเร่งด่วน (Priority) - ลำดับความสำคัญ คือ 2
  • แบบฉุกเฉิน (Urgent) - ลำดับความสำคัญ คือ 1
  • แบบจอง (Reserved) - ลำดับความสำคัญ คือ 1

การสั่งให้บันทึกภาพนั้นมีทั้งแบบรับสัญญาณครั้งเดียว และรับสัญญาณหลายครั้งขึ้นอยู่กับตัวแปรที่กำหนด ความเป็นไปได้ในการบันทึกภาพขึ้นกับความเป็นไปได้ทางเชิงกายภาพ (มุมมอง, พื้นที่ และช่วงเวลาการบันทึกภาพ) และความเป็นไปได้เชิงการแข่งขัน (พิจารณาจากการสั่งบันทึกภาพที่มีอยู่แล้วในระบบ และการสั่งบันทึกภาพที่มีลำดับความสำคัญสูงกว่า)

การสั่งบันทึกภาพแบบปกติ (Standard Tasking)

  • ต้องสั่งอย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนวันที่เริ่มการบันทึกภาพ
  • ผู้ใช้ระบุช่วงเวลาการบันทึกภาพ สูงสุดไม่เกิน 365 วัน ช่วงเวลาการบันทึกภาพนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ โดยแนะนำให้อยู่ที่ 90 วันเพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการบันทึกภาพให้ได้ตรงตามข้อกำหนดของผู้ใช้ พื้นที่ใหญ่ขึ้นจำเป็นต้องมีช่วงเวลาที่นานขึ้น
  • จำนวนครั้งในการบันทึกภาพไม่จำกัดภายในช่วงเวลาการบันทึกภาพที่ผู้ใช้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมออกจากจุดแนวดิ่ง ละติจูด ลำดับความสำคัญ และความยาวของช่วงเวลาการบันทึกภาพ ช่วงเวลาการบันทึกภาพที่ยาวขึ้นจะมีผลให้มีโอกาสบันทึกภาพได้มากขึ้นและเพิ่มความเป็นไปได้ในการบันทึกภาพได้สำเร็จ
  • การประมวลผลภาพเป็นแบบปกติ
ตัวแปรในการสั่งบันทึกภาพ - แบบปกติผู้ใช้เลือกพื้นที่น้อยที่สุดในการบันทึกภาพ1 ภาพไม่วันที่เริ่มการบันทึกภาพ≥ 48 ชั่วโมงนับจากวันสั่งซื้อใช่วันที่สิ้นสุดการบันทึกภาพผู้ใช้กำหนด (แนะนำ 90 วัน)ใช่ปริมาณเมฆสูงสุด25 %ไม่มุมออกจากจุดแนวดิ่งจุดแนวดิ่ง ( Nadir): < 12 º
ทฤษฎี ( Nominal ) : 30 º
สูงสุด ( Full ) : 50 º
ผู้ใช้ระบุ ( User ) : 0 º ถึง 50 ºใช่จำนวนครั้งสูงสุดในการบันทึกภาพจำกัดโดยความยาวของระยะเวลาการบันทึกภาพและลำดับความสำคัญไม่จำนวนครั้งในการบันทึกภาพบันทึกครั้งเดียว : การบันทึกที่ได้ข้อมูลภาพตรงตามความต้องการเพียงครั้งเดียว บันทึกหลายครั้ง : ผู้ใช้ระบุความถี่ในการบันทึกและจำนวนวันที่น้อยที่สุดระหว่างการบันทึกสองครั้งที่ติดกันใช่การบีบอัดข้อมูลสูง หรือ ต่ำ (ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ข้อมูลของผู้ใช้)ใช่

การสั่งบันทึกภาพแบบเร่งด่วน (Priority Tasking)

  • ต้องสั่งอย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนวันที่เริ่มการบันทึกภาพ
  • ผู้ใช้ระบุช่วงเวลาการบันทึกภาพ สูงสุดไม่เกิน 365 วัน ช่วงเวลาการบันทึกภาพนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้
  • จำนวนครั้งในการบันทึกภาพไม่จำกัดในช่วงเวลาการบันทึกภาพที่ผู้ใช้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมออกจากจุดแนวดิ่ง ละติจูด ลำดับความสำคัญ และความยาวของช่วงเวลาการบันทึกภาพ ช่วงเวลาการบันทึกภาพที่ยาวขึ้นจะมีผลให้มีโอกาสบันทึกภาพได้มากขึ้นและเพิ่มความเป็นไปได้ในการบันทึกภาพได้สำเร็จ
  • การประมวลผลภาพเป็นแบบเร่งด่วน
ตัวแปรในการสั่งบันทึกภาพ - แบบเร่งด่วนผู้ใช้เลือกพื้นที่น้อยที่สุดในการบันทึกภาพ1 ภาพไม่วันที่เริ่มการบันทึกภาพ≥ 48 ชั่วโมงนับจากวันสั่งซื้อใช่วันที่สิ้นสุดการบันทึกภาพผู้ใช้กำหนด (แนะนำ 90 วัน)ใช่ปริมาณเมฆสูงสุด25 %ไม่มุมออกจากจุดแนวดิ่งจุดแนวดิ่ง ( Nadir): < 12 º
ทฤษฎี ( Nominal ) : 30 º
สูงสุด ( Full ) : 50 º
ผู้ใช้ระบุ ( User ) : 0 º ถึง 50 ºใช่จำนวนครั้งสูงสุดในการบันทึกภาพจำกัดโดยความยาวของระยะเวลาการบันทึกภาพและลำดับความสำคัญไม่จำนวนครั้งในการบันทึกภาพบันทึกครั้งเดียว : การบันทึกที่ได้ข้อมูลภาพตรงตามความต้องการเพียงครั้งเดียว บันทึกหลายครั้ง : ผู้ใช้ระบุความถี่ในการบันทึกและจำนวนวันที่น้อยที่สุดระหว่างการบันทึกสองครั้งที่ติดกันใช่การบีบอัดข้อมูลสูง หรือ ต่ำ (ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ข้อมูลของผู้ใช้)ใช่

การสั่งบันทึกภาพแบบฉุกเฉิน (Urgent Tasking)

  • ต้องสั่งอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนวันที่เริ่มการบันทึกภาพ
  • ผู้ใช้ระบุช่วงเวลาการบันทึกภาพได้สูงสุด 14 วัน ช่วงเวลาการบันทึกภาพขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้
  • บันทึกภาพเพียงครั้งเดียวในช่วงเวลาการบันทึกภาพที่ผู้ใช้กำหนด
  • การประมวลผลภาพเป็นแบบฉุกเฉิน
ตัวแปรในการสั่งบันทึกภาพ - แบบฉุกเฉินผู้ใช้เลือกพื้นที่น้อยที่สุดในการบันทึกภาพ1 ภาพไม่พื้นที่มากที่สุดในการบันทึกภาพต้องบันทึกได้ภายในแนวการโคจรแนวเดียวไม่วันที่เริ่มการบันทึกภาพ≥ 24 ชั่วโมงนับจากวันสั่งซื้อใช่วันที่สิ้นสุดการบันทึกภาพ1 – 14 วัน หลังจากวันที่เริ่มการบันทึกภาพใช่ปริมาณเมฆสูงสุด25-100 %ไม่มุมออกจากจุดแนวดิ่งจุดแนวดิ่ง ( Nadir): < 12 º
ทฤษฎี ( Nominal ) : 30 º
สูงสุด ( Full ) : 50 º
ผู้ใช้ระบุ ( User ) : 0 º ถึง 50 ºใช่จำนวนครั้งสูงสุดในการบันทึกภาพจำกัดโดยความยาวของระยะเวลาการบันทึกภาพและลำดับความสำคัญไม่จำนวนครั้งในการบันทึกภาพบันทึกครั้งเดียว : การบันทึกที่ได้ข้อมูลภาพตรงตามความต้องการเพียงครั้งเดียวไม่การบีบอัดข้อมูลสูง หรือ ต่ำ (ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ข้อมูลของผู้ใช้)ใช่

การสั่งบันทึกภาพแบบจอง (Reserved Tasking)

  • ต้องสั่งอย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนวันที่เริ่มการบันทึกภาพ
  • ผู้ใช้ระบุวันที่ที่ต้องการจองและหมายเลขวงโคจรที่ต้องการบันทึกภาพ โดยต้องไม่ขัดกันกับการจองที่มีอยู่แล้วในตารางการจอง ช่วงเวลาบันทึกภาพขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้
  • ผู้ใช้ไม่สามารถระบุปริมาณเมฆปกคลุมได้
  • ดำเนินการรับสัญญาณตามช่วงเวลาที่ผู้ใช้กำหนดหนึ่งครั้ง
  • กระบวนการผลิตภาพเป็นแบบปกติ
ตัวแปรในการสั่งบันทึกภาพ - แบบจองผู้ใช้เลือกพื้นที่น้อยที่สุดในการบันทึกภาพ1 ภาพไม่พื้นที่มากที่สุดในการบันทึกภาพแนวยาว 1 แนวไม่วันที่เริ่มการบันทึกภาพ≥ 48 ชั่วโมงนับจากวันสั่งซื้อใช่วันที่สิ้นสุดการบันทึกภาพผู้ใช้กำหนดวันที่ต้องการจองที่ผ่านการศึกษาความเป็นไปได้แล้วใช่ปริมาณเมฆสูงสุด25-100 %ไม่มุมออกจากจุดแนวดิ่งจุดแนวดิ่ง ( Nadir): < 12 º
ทฤษฎี ( Nominal ) : 30 º
สูงสุด ( Full ) : 50 º
ผู้ใช้ระบุ ( User ) : 0 º ถึง 50 ºใช่จำนวนครั้งสูงสุดในการบันทึกภาพจำกัดโดยความยาวของระยะเวลาการบันทึกภาพและลำดับความสำคัญไม่จำนวนครั้งในการบันทึกภาพบันทึกครั้งเดียว : บันทึกภาพเพียงครั้งเดียวไม่การบีบอัดข้อมูลสูง หรือ ต่ำ (ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ข้อมูลของผู้ใช้)ใช่

 

วงโคจรของดาวเทียม THEOS

ดาวเทียมไทพัฒ – ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร

  • โปรแกรม THEOS Orbit Number (ดาวน์โหลด)

เป็นโปรแกรมพัฒนาบน Microsoft Excel  เพื่อใช้ดูแนวโคจรของดาวเทียมธีออส โดยใส่วันที่กำหนด

  • คู่มือวงโคจรดาวเทียมธีออส (ดาวน์โหลด)

เป็นคู่มืออธิบายการใช้โปรแกรม THEOS Orbit Number และการแสดงแนวการผ่านของวงโคจรดาวเทียมธีออสผ่านโปรแกรม Google Earth

ดาวเทียมไทพัฒสำรวจอะไร

ขณะเดียวกัน "ไทพัฒ-2" ยังได้รับการพัฒนาต่อยอดจากการเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากร หรือสำรวจสภาพดินฟ้าอากาศ หรือสภาพภูมิประเทศ ให้มีประสิทธิภาพใช้งานด้านความมั่นคงด้วย เช่น ค้นหาพื้นที่ในบริเวณที่มีการบุกรุกพื้นที่ป่า การหาพิกัดพื้นที่ หรือบริเวณที่ปลูกยาเสพติด การค้นหาพิกัดของโรงงาน แหล่งค้ายาบ้า เป็นต้น

ดาวเทียมที่คนไทยสร้างสำเร็จมีชื่อว่าอะไร

ชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ

ดาวเทียมไทยพันธุ์จัดเป็นดาวเทียมประเภทใด

ดาวเทียมไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์ ปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เป็นดาวเทียมประเภท High Throughput หรือ HTS ดวงแรกของโลก ประจำอยู่ที่วงโคจรตำแหน่ง 119.5 องศาตะวันออก ให้บริการเพื่อภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคโทรคมนาคม นำเสนอบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านดาวเทียมที่คุ้มค่า ...

ดาวเทียมที่ถูกออกแบบและสร้างด้วยฝีมือคนไทยและได้รับพระราชทานนามว่าอะไร

ดาวเทียมไทยโชต หรือดาวเทียมที่มีชื่อเดิมว่า ดาวเทียมธีออส THEOS (Thailand Earth Observation Systems) เป็นดาวเทียมเพื่อสำรวจทรัพยากร โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดาวเทียมไทยโชต เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก ทำงานโดยอาศัยแหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ สามารถบันทึกภาพได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกเพื่อสำรวจ และถ่ายภาพ ...