โน๊ตเพลงไทยอัตราจังหวะ2ชั้น

การเรียนรู้เกี่ยวกับตัวโน้ตไทยจะทำให้สามารถอ่านและเขียนโน้ตไทยในอัตราจังหวะต่างๆ ได้ถูกต้องการร้องหรือเล่นเครื่องดนตรีมีทั้งเดี่ยวและรวมวง ซึ่งต้องมีเทคนิคในการแสดงออกเพื่อให้การแสดงออกมามีคุณภาพ



เป้าหมาย

        1.อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากลในอัตราจังหวะต่างๆ


การเรียนรู้โน้ตเพลงมีความสำคัญต่อการศึกษาดนตรีไทยอย่างไร

       ทำให้รู้อัตราส่วนของโน้ตเพลงในแต่ละห้องเพลง ว่ามีอัตราจังหวะอย่างไร


การอ่านโน้ตดนตรีไทย

ก่อนที่จะมีฝึกอ่านโน้ตดนตรีไทยนั้น ผู้ศึกษาจะต้องมีความรู้ในด้านของ จังหวะ และ ทำนอง เสียก่อน

    ทำนอง หมายถึง เสียงสูง กลาง ต่ำ นำมาเรียบเรียงกันจนทำให้เกิดเป็นทำนองที่ไพเราะ

    จังหวะ หมายถึง อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมออย่างมีระบบ โดยจังหวะในที่นี้ยกตัวอย่างให้เป็นจังหวะของการปรบมือจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 จังหวะคือ

                 จังหวะตก  หมายถึงจังหวะหนักหรือจังหวะที่ปรบมือแล้วทำให้เกิดเสียง

                 จังหวะยก  หมายถึง จังหวะที่เรายกมือออกจากันหรือจังหวะที่ไม่เกิดเสียงใดๆ

สัญลักษณ์และองค์ประกอบที่ใช้ในการอ่านโน้ตดนตรีไทย

    การบันทึกโน้ตดนตรีไทย  ดนตรีไทยในหนึ่งบรรทัด มีห้องทั้งหมด 8 ห้อง ในแต่ละห้องสามารถบรรจุโน้ตได้ 4 ตัว

ในหนึ่งห้อง แบ่งออกได้เป็น 4 จังหวะ คือ /_ _ _ _/ เรียงลำดับ จากจังหวะที่ 1 2 3 และ 4  โดยกำหนดให้

                จังหวะที่1 เป็นจังหวะยก

                จังหวะที่2 เป็นจังหวะตก

                จังหวะที่3 เป็นจังหวะยก

                จังหวะที่4 เป็นจังหวะตก

โน๊ตเพลงไทยอัตราจังหวะ2ชั้น


ในการอ่านโน้ตดนตรีไทยนั้น ก่อนอื่นจะต้องฝึกนับจังหวะ 1 ถึง 4 วนกันไปเรื่อยๆ เสียก่อน แล้วให้ทำการปรบมือโดยที่ให้จังหวะตก ไปตกอยู่ที่จังหวะตัวที่ 2 และ 4 นั่นก็แสดงว่าจังหวะที่ 1 และ 3 จะเป็นจังหวะที่ไม่ได้ปรมมือนั้นเอง หรือก็คือจังหวะยกนั้นเอง 

             ทีนี้เราลองมาฝึกอ่านโน้ตของจริงกันดู

ตัวอย่าง /_ _ _ ด/_ _ _ ร/_ _ _ ม/_ _ _ ฟ/_ _ _ ซ/_ _ _ ล/_ _ _ ท/_ _ _ ด/

     เมื่อเราสังเกตจะเห็นได้ว่าในแต่ละห้องนั้นจะมีโน้ตอยู่ตำแหน่งของตัวที่ 4 ของทุกห้อง ส่วน ตำแหน่งที่ 1 2 และ 3 ไม่มีโน้ตอยู่เมื่อเรานับหรือปรมมือในตำแหน่งเหล่านั้น เราจึงไม่ต้องออกเสียงโน้ตตัวใด แต่เมื่่อเรานับหรือปรบมือไปถึงจังหวะที่ 4 เราจะต้องออกเสียงตัวโน้ต เพราะโน้ตทุกตัวอยู่ในจังหวะที่ 4 ของทุกห้อง เพราะฉะนั้นให้เราทำการปรบมือตามปกติพอถึงจังหวะที่มีโน้ตจึงค่อยเปล่งเสียงโน้ตนั้นออกมา

    การอ่านโน้ตดนตรีไทยจึงไม่ค่อยยากมีหลักการง่ายๆ คือ ปรมมือตามปกติ โดยให้คำนึงถึงจังหวะตก และ จังหวะยก แล้วก็ดูโน้ต ถ้ามีโน้ตอยู่จังหวะไหนก็ทำการเปล่งเสียงในจังหวะนั้น


ตัวอย่าง โน้ตเพลงดนตรีไทย

โน๊ตเพลงไทยอัตราจังหวะ2ชั้น




คำถาม ชุดที่ 1

        1.มาตราเสียงของดนตรีไทยมีความแตกต่างจากมาตรา เสียงดนตรีสากลอย่างไร?

        2.เพราะเหตุใด การกำหนดจังหวะของดนตรีไทยกับดนตรี สากลจึงมีความแตกต่างกัน?

        3.จังหวะของดนตรีไทย มีการแบ่งความสั้น-ยาวของเสียง ที่เท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด?

        4.เพลงไทยอัตราจังหวะ 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว มีความ แตกต่างกันอย่างไร?

        5.การบันทึกโน้ตเพลงไทยมีวิธีที่ใช้ในการบันทึกอย่างไร จงอธิบาย?


        การร้องเพลงและเล่นดนตรีประกอบเพลง ต้องอาศัยเทคนิคในการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง เพื่อช่วยให้การร้องและเล่นดนตรีประสบความสำเร็จ
              จากวิธีการบันทึกโน้ตไทยทั้ง 6 แบบถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเริ่มอ่านโน้ตเพลงอัตรา 2 ชั้นที่จะนำมาศึกษาและสามารถครอบคลุมวิธีการอ่านโน้ตเพลงได้ทั้งหมด เพราะการศึกษาเพลงไทยนั้นควรจะต้องทราบถึงวิธีการอ่านโน้ตไทยเสียก่อน

หนึ่งในเพลงไทยเดิมที่เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปนอกจากเพลงที่ได้ยินกันบ่อยๆ เช่น เพลงลาวดวงเดือน 2 ชั้น เพลงเขมรไทรโยค 3 ชั้น ก็มักจะได้ยินคนเอ่ยถามหรือขอให้นักดนตรีไทยบรรเลงให้ฟังเป็นประจำ โดยเฉพาะ”ขิมสาย”มักถูกขอให้บรรเลงเพลงนี้เป็นพิเศษ (แม้ว่าบางครั้งผู้ขออาจไม่รู้จักทำนองเพลงเลยก็ตาม) เพลงที่เรากำลังพูดถึงนี้คือเพลงนางครวญ 2 ชั้น ซึ่งเพลงนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายจากวรรณกรรมชื่อดังเรื่อง”คู่กรรม” ที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครและภาพยนต์ซึ่งได้รับความสนใจและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเพลงนี้เกี่ยวข้องอยู่ในฉากสำคัญฉากหนึ่งของเรื่อง คือตอนที่นางเอก (อังศุมาลิน)นั่งบรรเลงขิมเพลงนี้อยู่บนเรือน จนโกโบริได้ยินและตามขึ้นไปดูนั่นเอง..

ประวัติเพลงนางครวญ ของเก่าเดิมมีอัตราจังหวะ 3 ชั้น สันนิษฐานว่ามีที่มาจากทำนองเพลงมอญรำดาบ 2 ชั้น หรือไม่ก็เพลงนางร่ำ 2 ชั้น(ในตับนเรศวร์ชนช้างตามตำรามโหรี) ซึ่งผู้แต่งน่าจะเป็นคนเดียวกับผู้แต่งเพลง สุดสงวน เพื่อให้มีสำนวนทำนองคู่กันและแต่งในระยะเวลาใกล้เคียงกัน สำเนียงเพลงแสดงความหมายตามชื่อเพลง คือการคร่ำครวญรำพึงรำพันความเศร้าโศกของผู้หญิงส่วนทำนองเพลงนางครวญ 2 ชั้น ในปี 2476 นายมนตรี ตราโมทได้ประพันธ์ขึ้นโดยตัดแต่งจากทำนองเพลงนางครวญ 3 ชั้น(เดิม)โดยประพันธ์อัตราจังหวะชั้นเดียวจนครบเป็นเพลงเถา โดยเลียนทำนอง 2 ชั้นและชั้นเดียวจากเพลงสุดสงวน

เพลงไทยในอัตราจังหวะ 2 ชั้น มีเพลงอะไรบ้าง

เพลงสองชั้น ใช้ขับร้องและบรรเลงเพื่อเป็นการขับกล่อม และประกอบการแสดงมหรสพต่างๆ ตัวอย่างเพลงสองชั้น ได้แก่ เพลงนางนาค บทร้อง มนตรี ตราโมท ศุภฤกษ์เบิกดิถีขึ้นปีใหม่

อัตราจังหวะ 2 ชั้น คืออะไร

น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับปานกลางคือช้ากว่าชั้นเดียวเท่าตัว หรือเร็วกว่าสามชั้นเท่าตัว เรียกเต็มว่า อัตราสองชั้น เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสองชั้น เพลงสองชั้น.

โน้ตดนตรีไทยมีอัตราจังหวะกี่อัตรา

เพื่อความสะดวกในการฝึกหัดอ่านโน้ตเพลงไทย จึงกำหนดให้ใน 1 ห้องเพลงมี 4 จังหวะ โดยให้มีจังหวะยก 2 จังหวะและ จังหวะตก 2 จังหวะ (ผู้ที่ชำนาญแล้วมักจะนับ 1 ห้องเพลง เท่ากับ 1 จังหวะเท่านั้น) โดยกำหนดให้โน้ตตำแหน่งตัวที่ 1 และตำแหน่งตัวที่ 3 เป็นจังหวะยกและโน้ตตำแหน่งตัวที่ 2.

โน๊ตเพลงไทย1ห้องมีกี่จังหวะ

โครงสร้างโน้ตเพลงไทย ๑. โน้ตเพลงไทย อักษรไทย แทน ระดับเสียง เช่น ด ร ม ฟ ซ ล ท ดํ ดังได้กล่าว มาแล้ว ดังนั้นในการบันทึกโน้ตไทยตามมาตรฐานใน ๑ แถว หรือ ๑ บรรทัดจะมีห้องเพลง โดยในแต่ละห้องเพลงจะมีจังหวะ ซึ่งหมายถึงสามารถใส่เสียงหรือใส่ โน้ตไปได้ ๔ ตัวโน้ตในแต่ละห้องเพลงนั่นเอง