Thai lion air เลื่อนตั๋ว โทร

เกี่ยวกับ ไลอ้อนแอร์

ไลอ้อนแอร์ (รหัส IATA: JT) เป็นสายการบินระดับชาติของอินโดนีเซีย ที่ก่อตั้งโดยบริษัท PT Lion Mentari Airlines ในวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1999 และเริ่มดำเนินงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2000 หลังให้บริการมาทั้งสิ้น 17 ปี ไลอ้อนแอร์ ก็เติบโตจนเป็นหนึ่งในสายการบินเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย และเป็นที่รู้จักในฐานะสายการบินราคาย่อมเยา อันเป็นจุดขายสำคัญที่ทำให้คนจำนวนมากเลือกเดินทางกับ ไลอ้อนแอร์ เบื้องหลังความมุ่งมั่นที่จะแสดงให้ทุกคนเห็นว่า การโดยสารเครื่องบินไม่จำเป็นต้องแพง คือสโลแกน “We make people fly” ของ ไลอ้อนแอร์ ทุกคนที่เดินทางกับสายการบิน ไลอ้อนแอร์ จะมีความสุขไปกับการโดยสารเครื่องบินในราคาถูก แต่แม้ราคาจะถูก ทางสายการบินก็ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและคุณภาพเป็นอันดับแรก ไลอ้อนแอร์ ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในสายการบินเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย จึงไม่น่าแปลกที่ ไลอ้อนแอร์ จะมีศูนย์กลางการบินอยู่มากมาย ได้แก่ สนามบินนานาชาติโซคาร์โน ฮัตตา ในกรุงจาการ์ต้า สนามบินนานาชาติจูอันดา ในสุราบายา สนามบินนานาชาติฮังนาดิม ในบาตัม สนามบินนานาชาติฮาซานุดดิน ในมาคาสซ่า สนามบินแซมราทูลานจิ ในมานาโด และสนามบินอาดิ เซียวมาร์โม ในสุราการ์ตา นอกจากนี้ ทางสายการบินยังได้ให้ความสนใจกับเมืองอีกหลายแห่งทั่วอินโดนีเซียเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นบันดาอาเจะห์ บันจามสิน เดนปาซาร์ เมดาน ปาดัง ปาเล็มบัง ปีคันบารู เซมารัง ตารากัน ยอคยาการ์ต้า รวมถึงจาการ์ต้า ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ ไลอ้อนแอร์ ไลอ้อนแอร์ ภายใต้การบริหารของประธานผู้อำนวยการ Rudi Lemiwengkas และ ผู้อำนวยการทั่วไป Edward Sirait ไม่เพียงให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ไปยังหลายจุดหมายปลายทางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลางเท่านั้น แต่ยังเป็นทางเลือกสำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปยังประเทศจีนและฮ่องกงอีกด้วย ฝูงบินของ ไลอ้อนแอร์ ประกอบด้วยเครื่องบินหลากหลาย โดยใช้เครื่องบินทั้งหมด 4 ประเภทในการให้บริการ 3 ในนั้นเป็นเครื่องบินของ Boeing ส่วนประเภทสุดท้ายนั้นเป็นเครื่องบิน Airbus เครื่องบินทั้ง 4 ประเภทถูกเลือกใช้ เพราะมีการจัดวางที่นั่งแบบ 1 และ 2 ช่องทางเดินที่เปี่ยมประสิทธิภาพ เครื่องบินแบบ 1 ช่องทางเดินนั้นใช้ในการบินภายในประเทศ ส่วนเครื่องบินแบบ 2 ช่องทางเดินใช้ในการบินต่างประเทศ ในเดือนธันวาคมของปีค.ศ. 2004 สายการบิน ไลอ้อนแอร์ ก็ถูกสั่งห้ามปฏิบัติการในน่านฟ้ายุโรป อันมีสาเหตุมาจากความกังวลใจ ที่ทางคณะกรรมาธิการยุโรปมีต่อกรมการบินพลเรือนของอินโดนีเซีย (DGCA) เนื่องจากทาง DGCA ไม่สามารถพิสูจน์ตัวเองได้ว่า สามารถกำกับดูแลอุตหกรรมการบินพาณิชย์ในประเทศได้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สายการบิน ไลอ้อนแอร์ พร้อมด้วยสายการบินลักษณะเดียวกันอีกหลายแห่ง ได้พยายามเพิ่มมาตรฐานด้านความปลอดภัยของสายการบิน จนในที่สุด เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 ทางสหภาพยุโรปก็มีประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามดังกล่าว และอนุญาตให้สายการบิน ไลอ้อนแอร์ และสายการบินสัญชาติอินโดนีเซียอื่นๆ ทำการบินเข้าประเทศในสหภาพยุโรปได้ ความพยายามของ ไลอ้อนแอร์ ที่จะพัฒนาบริการและมาตรฐานด้านความปลอดภัยนั้น ได้รับการยอมรับจากอุตสาหกรรมการบินนานาชาติเป็นอย่างดี โดยในปีค.ศ. 2016 สายการบิน ไลอ้อนแอร์ สามารถคว้ารางวัลจาก Skytrax ได้ถึง 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลห้องโดยสารระดับพรีเมี่ยมที่ดีที่สุดของสายการบินต้นทุนต่ำ และรางวัลที่นั่งระดับพรีเมี่ยมที่ดีที่สุดของสายการบินต้นทุนต่ำ ในปีเดียวกันนั้นเอง ไลอ้อนแอร์ ก็ได้รับใบรับรองจาก ISSA และ IATA เพื่อยืนยันว่าสายการบินแห่งนี้ได้มาตรฐานความปลอดภัยระดับนานาชาติ สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางบ่อย ไลอ้อนแอร์ ก็มีโปรแกรมสะสมไมล์เรียกว่า ไลอ้อนแอร์ พาสปอร์ต ที่แบ่งสมาชิกเป็นสองกลุ่ม นั่นคือ ไลอ้อนแอร์ พาสปอร์ต การ์ด (LPC) บลู และ ไลอ้อนแอร์ พาสปอร์ต การ์ด โกลด์ ทั้งสองกลุ่มสามารถใช้บริการห้องรับรอง ไลอ้อนคิง เลาน์จในสนามบินนานาชาติโซคาร์โน ฮัตตา ได้ แต่มีเพียงสมาชิกแบบ โกลด์ เท่านั้นที่จะได้สิทธิน้ำหนักสัมภาระเพิ่มอีก 10 กิโลกรัม นอกจากนี้ โปรแกรม ไลอ้อนแอร์ พาสปอร์ต ยังมอบโอกาสให้ผู้โดยสารได้บินฟรีผ่านการแลกคะแนนสะสมได้ด้วย คะแนนจะถูกสะสมจากจำนวนไมล์ที่เดินทางกับ ไลอ้อนแอร์ โดยทุกไมล์ที่เดินทางนับเป็น 1 คะแนน ยิ่งผู้โดยสารเดินทางกับ ไลอ้อนแอร์ มาก ก็จะยิ่งได้คะแนนสะสมมากขึ้น และเมื่อสะสมถึงระดับหนึ่ง ก็สามารถนำไปแลกเป็นของสมนาคุณ ที่มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิพิเศษในการโหลดสัมภาระ หรือตั๋วโดยสารเครื่องบินฟรี ยิ่งไปกว่านั้น สมาชิก ไลอ้อนแอร์ Passport จะได้รับบริการก่อนใครเมื่อเช็คอินและขึ้นเครื่องด้วย เพื่อทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้ในสโลแกน ซึ่งก็คือการมอบบริการด้านการบินในราคาย่อมเยา สายการบิน ไลอ้อนแอร์ ได้แบ่งระดับชั้นโดยสารออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ชั้นประหยัด และชั้นธุรกิจ ผู้โดยสารชั้นประหยัดจะได้รับสิทธิโหลดสัมภาระน้ำหนัก 15 กิโลกรัม สำหรับการเดินทางภายในประเทศ และ 20 กิโลกรัม สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ ส่วนผู้โดยสารชั้นธุรกิจจะได้รับสิทธิโหลดสัมภาระขนาด 35 กิโลกรัม นอกจากสิทธิในการโหลดสัมภาระแล้ว ผู้โดยสารสายการบิน ไลอ้อนแอร์ ทุกคนยังสามารถนำสัมภาระและของใช้ส่วนตัวติดตัวขึ้นเครื่องได้ด้วย โดยน้ำหนักรวมของทั้งสองต้องไม่เกิน 7 กิโลกรัม สำหรับการเช็คอิน ผู้โดยสารสามารถทำได้ 2 วิธี คือเช็คอินด้วยตนเองที่เคาน์เตอร์เช็คอินในสนามบิน หรือเช็คอินออนไลน์ โดยเคาน์เตอร์จะปิดให้บริการเช็คอินทุกระดับชั้นโดยสาร 30 นาทีก่อนเวลาเครื่องออก กรณีเป็นเที่ยวบินภายในประเทศ และ 45 นาทีก่อนเวลาเครื่องออก กรณีเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ ในขณะที่ประตูทางออกขึ้นเครื่องจะปิดก่อนเครื่องออก 15 นาที ผู้โดยสารสามารถประหยัดเวลาในการเช็คอินด้วยการเช็คอินออนไลน์ ซึ่งทำได้ก่อนเวลาบินสูงสุด 24 ชั่วโมง และต่ำสุด 4 ชั่วโมง

ประวัติของสายการบินไลอ้อนแอร์

ไลอ้อนแอร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ.​1999 และได้เติบโตเป็นหนึ่งในสายการบินต้นทุนต่ำที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ ไลอ้อนแอร์ ทาวเวอร์ เลขที่ 7 ถนนกาจา มาด้า กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย และมีศูนย์กลางการบินอยู่หลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือสนามบินนานาชาติโซคาร์โน ฮัตตา ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ไลอ้อนแอร์ ยังมีจุดหมายปลายทางที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษอีกด้วย ได้แก่ บันดาอาเจะห์ บันจามสิน เดนปาซาร์ เมดาน ปาดัง ปาเล็มบัง ปีคันบารู เซมารัง ตารากัน และยอคยาการ์ต้า ในปีค.ศ. 2013 ไลอ้อนแอร์ ได้เปิดตัวสายการบินลูก Batik Air ซึ่งคล้ายกับ ไลอ้อนแอร์ ตรงที่เป็นสายการบินต้นทุนต่ำระดับประเทศของอินโดนีเซียเหมือนกัน ในปีเดียวกันนี้ ไลอ้อนแอร์ ยังได้ร่วมมือกับ Malaysian National Aerospace & Defence Industries Sdn Bhd เพื่อจัดตั้งสายการบินใหม่อีกหนึ่งแห่ง ชื่อ Malindo Airways สายการบิน ไลอ้อนแอร์ เคยโดนมาตรการลงโทษระงับใช้เครื่องบิน 13 ลำ เนื่องจากความด้อยประสิทธิภาพในการตรงต่อเวลา (OTP/on-time performance) แม้ทางสายการบินจะต้องการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ IATA แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะติดปัญหาด้านความปลอดภัย แถมการบริหารจัดการยังเคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าแย่มาก ทั้งในด้านการจัดตารางบินและความปลอดภัย เป็นเหตุให้โดนสั่งห้ามบินเข้าน่านฟ้ายุโรปอยู่พักหนึ่ง ถึงกระนั้น สายการบิน ไลอ้อนแอร์ ก็ไม่ได้เพิกเฉย ลงมือพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของสายการบินอย่างจริงจัง จนในที่สุด ไลอ้อนแอร์ ก็ได้ใบรับรองจาก IATA เมื่อต้นปีค.ศ.​2016 และสหภาพยุโรปก็ได้ยกเลิกคำสั่งห้ามบินในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน วันนี้ สายการบิน ไลอ้อนแอร์ ให้บริการเที่ยวบินกว่า 183 เส้นทางทั้งในและระหว่างประเทศ โดยในประเทศนั้น ไลอ้อนแอร์ สามารถนำผู้โดยสารไปทุกจุดหมายปลายทางทั่วอินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็นจาการ์ต้า เบงกูลู จัมบี โกรอนตาโล ฟาคฟาค ไคมานา เคนดาริ กูปัง มาคาสซ่า มานาโด ปีคันบารู โซโล เซมารัง อัมบน อาเจะห์ บาลิกปาปัน เมดาน บาตัม และจายาปุระ ส่วนต่างประเทศก็มีให้บริการไปยังประเทศสิงคโปร์ นครโฮจิมินห์ซิตี้ ในเวียดนาม กรุงกัวลาลัมเปอร์ เกาะปีนัง รวมไปถึงประเทศซาอุดิอาราเบีย และจีนด้วย ในช่วงแรกนั้น ไลอ้อนแอร์ เปิดให้บริการเพียงเส้นทางเดียว นั่นคือจากจาการ์ต้าไปปอนเตียนัค ด้วยเครื่องบิน Boeing 737-2000 หลังจากนั้น ในปีค.ศ.​2009 ไลอ้อนแอร์ ก็ตัดสินใจซื้อเครื่องบิน Boeing 747-400 ลำใหม่เพื่อเริ่มบินไปยังเมืองเจดดาห์ในปีถัดมา ในปีค.ศ. 2011 ทางสายการบินก็ซื้อเครื่องบิน Boeing 737 MAX มาอีก 201 ลำ และเครื่องบิน Boeing 737-900ER อีก 29 ลำ เพื่อขยายการให้บริการ ทำให้ในปัจจุบัน ฝูงบินของ ไลอ้อนแอร์ ประกอบไปด้วยเครื่องบิน Boeing และ Airbus จำนวนทั้งสิ้น 112 ลำ แบ่งเป็นเครื่องบิน Boeing 737-900ER เครื่องบิน Boeing 737-800NG เครื่องบิน Boeing 747-400 และเครื่องบิน Airbus A330-300 ที่สามารถรองรับความต้องการโดยสารเครื่องบินที่เพิ่มมากขึ้น ทาง ไลอ้อนแอร์ เองก็พิจารณาอย่างรอบคอบในการจัดซื้อเครื่องบินพาณิชย์ ทั้งแบบ 1 และ 2 ช่องทางเดินเหล่านี้ โดยเครื่องบินที่จัดวางห้องโดยสารแบบทางเดินเดี่ยว อันเป็นการใช้สอยพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ จะถูกนำไปใช้ในการบินภายในประเทศ ส่วนเครื่องบินที่มีการวางที่นั่งระบบทางเดินคู่ จุผู้โดยสารได้มากกว่า ก็จะใช้ในการบินระหว่างประเทศ ในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 2007 สายการบิน ไลอ้อนแอร์ ได้รับมอบเครื่องบิน Boeing 737-900ER ลำแรก ที่ภายนอกถูกตกแต่งมาเป็นพิเศษ ด้วยการนำดีไซน์ 2 แบบมาผสมผสานกัน นั่นคือ มีโลโก้ของ ไลอ้อนแอร์ เด่นเป็นสง่าอยู่ตรงแพนหางแนวดิ่ง ในขณะที่ลำตัวเครื่องโชว์ดีไซน์ของ Boeing แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ เครื่องบิน Boeing 737-900ER สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 4% จึงทิ้งรอยเท้าคาร์บอนที่เล็กกว่าทุกครั้งที่เครื่องขึ้นบิน สมกับที่เป็นสายการบินแรกในเอเชียที่ใช้เครื่องบิน Boeing แบบไฮบริด ทั้งนี้ เครื่องบิน Boeing 737-900ER สามารถบินได้ไกลกว่าปกติ 500 ไมล์ทะเล หรือบินได้ไกลถึง 3,200 ไมล์ทะเล (5,925 กิโลเมตร) และได้ถูกออกแบบมาให้จุผู้โดยสารชั้นประหยัดได้ถึง 215 ที่นั่ง นับตั้งแต่รับมอบเครื่องลำแรกจนถึงวันนี้ ไลอ้อนแอร์ มีเครื่องบิน Boeing 737-900ER แล้วทั้งหมด 71 ลำ สมรรถนะในการประหยัดน้ำมันของเครื่องบิน Boeing 737-900ER นั้นเป็นที่น่าพอใจสำหรับ ไลอ้อนแอร์ ทำให้สายการบินเริ่มหันมาใช้เครื่องบิน Boeing 737-800 เพิ่มเติมในปีค.ศ. 2012 เครื่องบินดังกล่าวจัดให้มีชั้นโดยสารได้เพียงระดับเดียว ทำให้บรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 189 คน ซึ่งปัจจุบัน ไลอ้อนแอร์ มีเครื่องบิน Boeing 737-800NG อยู่ในครอบครองทั้งสิ้น 32 ลำ นอกจากอากาศยานลำตัวแคบแล้ว ไลอ้อนแอร์ ก็มีเครื่องบิน Boeing 747-400 เป็นเครื่องบินขนาดใหญ่ลำแรกที่ซื้อมาในปีค.ศ. 2009 เครื่องบินจัมโบ้นี้มีเครื่องยนต์ทั้งหมด 4 เครื่อง และสามารถบินด้วยความเร็วถึง 909 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ครอบคลุมระยะทางสูงสุด 13,750 ถึง 15,000 กิโลเมตร ทางสายการบิน ไลอ้อนแอร์ เป็นเจ้าของเครื่องบิน Boeing 747-400 จำนวน 2 ลำ แต่ละลำสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 506 คน นอกจาก Boeing 747-400 แล้ว ไลอ้อนแอร์ ยังมีฝูงบินอากาศยานลำตัวแคบใหม่ ประกอบด้วยเครื่องบิน Airbus A330-300 ที่ใช้เครื่องบนต์ Rolls-Royce Trent 700 และได้รับการออกแบบมาเพื่อลำเลียงผู้โดยสารถึง 440 คนในชั้นโดยสารเพียงระดับเดียว นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2015 เป็นต้นมา ไลอ้อนแอร์ ได้ซื้อเครื่องบินรุ่นนี้มาใช้งานแล้วถึง 3 ลำ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการเดินทางที่เพิ่มขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย และทวีปเอเชีย

เลื่อนตั๋วไลออนแอร์ กี่บาท

เปลี่ยนเที่ยวบินด้วยตนเอง 1. ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนแปลงวันเดินทางได้ 1 ครั้ง เปลี่ยนแปลงวันเดิน โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลง และไม่เก็บค่าส่วนต่าง 2. ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินด้วยตัวเอง โดยเข้าสู่เว็บไซต์ของสายการบิน http://www.lionairthai.com และคลิ๊กที่เมนู (Manage Booking)

Thai Lion Air ปิดกี่โมง

(+66) 2-529-9999. อีเมล์ : [email protected]. วันและเวลาทำการ : 07:00 - 20:00 (GMT+7) | จันทร์ - อาทิตย์

จองตั๋วเครื่องบินสามารถเลื่อนวันได้ไหม

เที่ยวบิน・จอง・ชำระเงิน・เปลี่ยนแปลง ตั๋วประเภทใดก็ตามสามารถเปลี่ยนเเปลงการจองได้ก่อนออกเวลาเดินทาง1ชั่วโมง (สามารถกำหนดที่นั่งได้ก่อนออกเวลาเดินทาง3ชั่วโมงเท่านั้น)

Booking Number Thai Lion Air อยู่ตรงไหน

หมายเลขอ้างอิงการจอง/PNR อยู่ที่ไหน หากคุณได้รับ eTicket ทางอีเมล หมายเลขอ้างอิงการจองของคุณ คือรหัสตัวอักษรและตัวเลขหกหลักที่อยู่ทางด้านขวาของช่อง 'หมายเลขอ้างอิงการจอง' eTicket (ใบเสร็จที่สายการบินพิมพ์ให้) บนคูปองเที่ยวบิน/บัตรโดยสารของคุณ PNR คืออักษรหกตัวแรกที่พิมพ์ไปทางขวาตามที่แสดงด้านล่างนี้