นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

การวัดแบตเตอรี่ ค่าCCA คืออะไร

CCA ย่อมาจาก (Cold Cranking Amp) ซึ่งหมายถึงความสามารถในการจ่ายกระแสเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ในสภาวะอากาศหนาว ยิ่งค่า CCA สูงเท่าไหร่ก็แสดงว่ามีกำลังสำหรับสตาร์ทแรงเท่านั้น อุณหภูมิที่ใช้เป็นตัวกำหนดมาตรฐานการวัดค่า CCA นั้นแตกต่างกันไปตามแต่มาตรฐาน เช่น ตามมาตรฐานของ IEC คือ -18°C เป็นต้น

การวัดค่า CCA นั้นมีการกำหนดมาจากหลายมาตรฐาน

ตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่ 1 ลูก ถ้าวัดตามมาตรฐาน SAE ได้ค่า CCA ที่ 450, วัดตาม EN จะได้ 420, วัดตาม IEC จะได้ค่า 290 และวัดตาม DIN จะได้แค่ 255 ดังนั้น ค่าที่แปะไว้บนแบตเตอรี่เป็นมาตรฐานอะไร?

สิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาในการวัดค่า CCA ก็คือ

ค่าที่วัดได้นี้จะลดน้อยถอยลงตามสภาพแบตเตอรี่ และ สถานะของแบตเตอรี่ เช่น แบตเตอรี่ที่ไฟอ่อนหรือไฟหมด ค่า CCA ที่วัดได้จะน้อยลงแต่เมื่อชาร์จไฟเต็มแล้วค่าที่วัดได้จะมากขึ้น ดังนั้นค่า CCA อย่างเดียวจึงไม่อาจระบุได้ว่าแบตเตอรี่เสียหรือไม่

การวัดค่าต่างๆ ในตัวแบตเตอรี่มีหลายค่าที่ต้องวัด

เพื่อทราบถึงประสิทธิภาพของการทำงานของแบตเตอรี่ นอกเหนือจากการวัดค่าแรงดันไฟ Volatage no-load แล้วค่าอื่นๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน แต่ถ้าจะมาจำเพาะเจาะจงถึงเรื่องกำลังไฟสำหรับการติดหรือการสตาร์ทเครื่องยนต์ สิ่งที่สามารถบอกถึงประสิทธิภาพในเรื่องนี้คือ การวัดค่า CCA (Cool Cranking Ampere)

ค่า CCA ( Cool Cranking Ampere ) คือ

ค่าที่บอกจำนวนกระแสไฟฟ้า ที่แบตเตอรี่ลูกนั้นๆ สามารถส่งออกมาในระยะเวลา 30วินาที (ที่อุณหภูมิ 0 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ -18องศาเซลเซียส) จนกว่าแรงดันไฟของแบตเตอรี่จะตกลงไปที่ 1.2 โวลต์ ต่อเซล หรือต่ำกว่า7.2โวลต์ ในกรณีสำหรับแบตเตอรี่ 12โวลต์ ด้วยเหตุนี้ แบตเตอรี่ 12โวลต์ที่มีค่า CCA 600 บอกเราคือแบตเตอรี่จะปล่อยกระแสไฟ 600แอมป์เป็นเวลา30 วินาทีที่อุณหภูมิ 0 องศาฟาเรนไฮต์ จนกว่าแรงดันไฟของแบตเตอรี่จะตกลงไปที่ 1.2 โวลต์ ต่อเซล หรือ7.2โวลต์

เมื่อค่าที่วัดได้ เปรียบเทียบกับค่าที่ระบุจากแบตเตอรี่ และจากผู้ผลิตรถยนต์ ไม่ตรงกัน อาจก่อปัญหาได้ เช่นถ้าค่าที่วัดได้ต่ำกว่าที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดให้ใช้ อาจทำให้แบตเตอรี่ไม่มีกำลังพอที่จะสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ ซึ่งเหตุการณ์เกิดได้บ่อยกับรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่เป็นเวลานานและไม่มีการตรวจเช็คอย่างถูกต้อง ทำให้ต้องขอพ่วงไฟเพื่อสตาร์ทเครื่อยนต์จารถคันอื่นๆ

ตรวจเช็ครถยนต์ครั้งต่อไปอย่าลืมให้ช่างเช็คค่า CCA ของแบตเตอรี่ด้วย MIDTRONICS MDX-P300 เครื่องทดสอบแบตเตอรี่

CCA (Cool Cranking Ampere) ค่านี้มีความสำคัญอย่างไร

ค่านี้เป็นค่าที่บอกถึงกำลังไฟสำหรับการติดหรือการสตาร์ทเครื่องยนต์นั้นเอง ถ้าค่านี้ลดลงไปอาจทำให้มีกำลังไฟไม่พอสำหรับการสตาร์ทเครื่องยนต์ได้(แต่การสตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ติดก็อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆประกอบด้วยเช่นกัน) ซึ่งค่า CCA จะไม่เท่ากันแตกต่างกันไปตามแต่ขนาดของแบตเตอรี่และรุ่นที่มีกำลังไฟแอมป์ที่ต่างกัน นอกจากนั้นระหว่างแบตเตอรี่ชนิดเติมน้ำกลั่น(แบตน้ำ) กับแบตเตอรี่พร้อมใช้กึ่งแห้งกึ่งน้ำ(แบตแห้ง) ก็อาจมีค่า CCA ที่ต่างกันได้ เราจึงควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งานของเรา

ยกตัวอย่างเช่น: แบตเตอรี่ที่มีกระแสแอมป์เท่ากันคือ 45 แอมป์ ระหว่างแบตแห้งกับแบตน้ำ ค่า CCA ของแบตแห้งจะสูงกว่าคือ 433 ในขณะที่แบตน้ำจะมีค่านี้คือ 325 และถ้าคุณใช้รถไม่บ่อย ต้องจอดทิ้งไว้นานๆ หรือไปต่างประเทศนานๆบ่อยๆ ก็ควรเลือกแบตเตอรี่ชนิดที่มี CCA สูงกว่า หรือควรเลือกใช้แบตเตอรี่กึ่งแห้งกึ่งน้ำนั้นเอง เพราะสามารถเก็บไฟได้นานกว่า และอยู่อึดทนนานกว่า

เพื่อความสะดวก ปลอดภัยและความสบายใจในการใช้รถยนต์ทุกการเดินทาง


วิดีโอ YouTube

มัลติมิเตอร์ (Multimeter ) Multi แปลว่ารวม,  Meter  แปลว่า เครื่องวัด  ดังนั้น Multimeter แปลว่าเครื่องมือวัดรวม ซึ่งประกอบด้วย โวลต์มิเตอร์ โอห์มมิเตอร์ และ  มิลลิแอมมิเตอร์  

ส่วนประกอบของมัลติมิเตอร์
มัลติมิเตอร์ เป็นมิเตอร์ใช้วัดปริมาณไฟฟ้าได้หลายชนิดถูกสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก ต่อผู้ใช้ปริมาณไฟฟ้าที่วัดได้ เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต้านทานไฟฟ้า  และวัดปริมาณ ไฟฟ้าอื่น ๆ ได้อีกซึ่งแล้วแต่รุ่นของมัลติมิเตอร์นั้น มัลติมิเตอร์ซันวานับได้ว่าเป็นมัลติมิเตอร์ที่นิยมใช้งานมากยี่ห้อหนึ่งใน ประเทศไทย การทำความรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ  ของมัลติมิเตอร์จึงเป็นเรื่องจำเป็นจะช่วยให้สามารถใช้งานมัลติมิเตอร์ได้ ถูกต้องและเกิดความปลอดภัยทั้งมัลติมิเตอร์และตัวผู้ใช้มัลติมิเตอร์   รูปร่างและส่วนประกอบของมัลติมิเตอร์

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

แสดงรูปร่างและตำแหน่งของส่วนต่าง ๆ  ของมัลติมิเตอร์ยี่ห้อ SANWA  รุ่น YX-360TR เป็นมัลติมิเตอร์รุ่นที่นิยมใช้งานและมีมัลติมิเตอร์ยี่ห้ออื่น ๆ ที่สร้างเลียนแบบ
มัลติมิเตอร์รุ่นนี้มากมาย ส่วนต่าง ๆ ถูกกำกับไว้ด้วยหมายเลขแต่ละส่วนอธิบายรายละเอียดได้
ดังนี้
หมายเลข 1 คือ สกรูใช้สำหรับปรับแต่งตำแหน่งเข็มชี้ของมิเตอร์ให้ชี้ที่ตำแหน่งด้านซ้ายมือสุดของสเกลพอดี คือชี้ที่เลข 0 หรือเลข ?
หมายเลข 2 คือสวิตซ์ปรับเลือกย่านวัด สามารถหมุนได้รอบตัว ใช้สำหรับการเลือกปริมาณ
ไฟฟ้าที่จะวัด ย่านการตั้งวัดที่เหมาะสม
หมายเลข 3 คือขั้วต่อขั้วบวก (+) ของมิเตอร์หรือขั้ว P ใช้สำหรับต่อสายวัดเส้นสีแดง เพื่อใช้วัดปริมาณไฟฟ้า
หมายเลข 4 คือขั้วต่อขั้วลบ (- COM) ของมิเตอร์หรือขั้ว N ใช้สำหรับต่อสายวัดเส้นสีดำเพื่อใช้วัดปริมาณไฟฟ้า
หมายเลข 5 คือ ขั้วต่อเอาต์พุต (OUTPUT) เป็นขั้วต่อใช้สำหรับวัดความดังของสัญญาณเสียง เช่น จากวงจรขยายเสียง วัดออกมาเป็นเดซิเบล (dB)
หมายเลข 6 คือ ปุ่มสำหรับปรับแต่งให้เข็มชี้ของมิเตอร์ให้ชี้ที่ตำแหน่งศูนย์โอห์มพอดี (0WADJ) ขณะปลายสายวัดของมิเตอร์แตะเข้าด้วยกัน เมื่อใช้ย่านวัดโอห์ม (W) ของมิเตอร์
หมายเลข 7 คือ แผ่นป้ายแสดงชื่อมิเตอร์และรุ่นมิเตอร์
หมายเลข 8 คือ เข็มชี้ของมิเตอร์
1.1.1       การใช้โวลต์มิเตอร์ โวลต์มิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดแรงดันไฟฟ้า หลักการทำงานของโวลต์มิเตอร์ ( แบบแอนะลอก) คือกระแสไฟฟ้าจากแรงดันที่ต้องการวัดไหลผ่าน ตัวต้านทานที่กำหนดย่านวัด (RANGE) ไปเลี้ยง moving coil ที่มีเข็มติดอยู่จะเกิดสนามแม่เหล็กผลักดันกับสนามแม่เหล็กถาวร
นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

แสดงหลักการทำงานของมิเตอร์  

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

แสดงวงจร DCV ของมัลติมิเตอร์รุ่น YX-360 TR, YX-360 TRE

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

แสดงวงจร ACV ของมัลติมิเตอร์รุ่น YX-360 TR, YX-360 TRE

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

สเกลต่างๆบนหน้าปัดของมิเตอร์ยี่ห้อ SANWA รุ่น YX-360TRA

แสดงสเกลหน้าปัดสำหรับแสดงค่าปริมาณไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ของ
มัลติมิเตอร์ ยี่ห้อ ซันวา รุ่น yx-360TR  แต่ละสเกลใช้แสดงปริมาณไฟฟ้าแต่ละชนิด ถูกกำกับไว้ด้วยหมายเลข แต่ละส่วนอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
หมายเลข 1  คือ สเกลใช้แสดงค่าความต้านทาน  ใช้สำหรับอ่านค่าความต้านทาน เมื่อตั้งย่านวัดความต้านทานหรือย่าน W
หมายเลข 2  คือ สเกลใช้แสดงค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DCV) และกระแสไฟตรง (DCA) ใช้สำหรับอ่านค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง เมื่อตั้งย่านวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงหรือย่าน DCV และใช้สำหรับอ่านค่ากระแสไฟตรง เมื่อตั้งย่านวัดกระแสไฟตรงหรือย่าน DCmA

หมายเลข 3  คือ สเกลใช้แสดงค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (ACV) ใช้สำหรับอ่านค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับหรือย่าน ACV
หมายเลข 4  คือ สเกลใช้แสดงค่าอัตราขยายกระแสไฟตรงของตัวทรานซิสเตอร์ (hFE)
ใช้สำหรับอ่านค่าอัตราขยายกระแสไฟตรงของตัวทรานซิสเตอร์ตั้งย่านวัดโอห์ม   ที่ตำแหน่ง R X 10 (hFE)
หมายเลข 5  คือ สเกลใช้แสดงค่ากระแสรั่วไหล (Leakage Current) ของตัวทรานซิสเตอร์ (IDEO) ใช้สำหรับอ่านค่ากระแสรั่วไหลระหว่างขาคอลเลคเตอร์ (C) และขาอิมิเตอร์ (E) ของ ตัวทรานซิสเตอร์เมื่อขาเบส (B) เปิดลอยเมื่อตั้งย่านวัดโอห์ม  ที่ X 1 (150 mA), X 10 (15 mA) และ     X 1 k (150 mA) และยังใช้แสดงค่ากระแสภาระ (Load Current) ในการวัดไดโอด (LI)   ใช้สำหรับอ่านกระแสภาระที่วัดไดโอดด้วยย่านวัดโอห์มเป็นทั้งการวัดกระแสไบ แอสตามและ กระแสไบแอสย้อน
หมายเลข 6  คือสเกลใช้แสดงค่าแรงดันภาระ (Load Voltage) ในการวัดไดโอด (LV)  ใช้สำหรับอ่านแรงดันภาระที่วัดไดโอดด้วยย่านวัดโอห์ม เป็นทั้งการวัดกระแสไบแอสตามและกระแสไบแอสย้อนเช่นเดียวกับการวัด LI
หมายเลข 7  คือ สเกลใช้แสดงค่าความดังของสัญญาณเสียงบอกค่าออกมาเป็นเดซิเบล (dB) ใช้สำหรับอ่านค่าความดังของสัญญาณเสียง เมื่อตั้งย่านวัดที่แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับหรือ   ย่าน ACV
หมายเลข 8  คือกระจกเงาเพื่อทำให้การอ่านค่าบนสเกลที่แสดงด้วยเข็มชี้ของมิเตอร์ถูกต้อง ที่สุด การอ่านค่าที่ถูกต้องคือตำแหน่งที่เข็มชี้ของมิเตอร์จริงกับตำแหน่งเข็มชี้ ของมิเตอร์ในกระจกเงาซ้อนกันพอดี


ข้อควรระวังในการใช้มัลติมิเตอร์
มัลติมิเตอร์เป็นมิเตอร์ที่มีส่วนประกอบของอุปกรณ์หลายชนิด แต่ละชนิดมีขนาดเล็กและบอบบาง ยิ่งในส่วนเคลื่อนไหวประกอบร่วมเป็นเข็มชี้มิเตอร์ยิ่งต้องระมัดระวังอย่างมาก ตลอดจนการนำไปใช้งานก็ต้องระวังในเรื่องปริมาณไฟฟ้าที่ทำการวัด   และอีกหลายสิ่งหลายอย่างสามารถกล่าวโดยสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้


1    ส่วนเคลื่อนไหวของมัลติมิเตอร์ ประกอบด้วยขดลวดเส้นเล็กมาก ๆ และมีส่วนของเดือยและรองเดือยขนาดเล็กเช่นกัน มีความบอบบาง มีโอกาสชำรุดเสียหายได้ง่าย หากได้รับกระแสไหลผ่านมากเกินไป หรือหากได้รับการกระทบกระเทือนแรง ๆ ที่เกิดจากการตกหล่นเกิดจากการถูกกระแทกแรง ๆ ตลอดจนการตั้งย่านวัดปริมาณไฟฟ้าผิดพลาด
2     การวัดปริมาณไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ไม่ทราบค่า ครั้งแรกควรตั้งย่านวัดในย่านสูงสุดไว้ก่อน เมื่อวัดค่าแล้วจึงค่อย ๆ ลดย่านวัดต่ำลงมาให้ถูกต้องกับปริมาณไฟฟ้าที่ทำการวัดค่า และต้องต่อขั้ววัดบวก (+) ลบ (-) ให้ถูกต้อง
3     การตั้งย่านวัดปริมาณไฟฟ้าชนิดหนึ่ง แต่นำไปใช้วัดปริมาณไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่ง  จะมีผลต่อการทำให้มัลติมิเตอร์ชำรุดเสียหายได้ เช่น ตั้งย่านวัดกระแสไฟฟ้า แต่นำไปวัดแรงดันไฟฟ้า เป็นต้น
4     ห้ามวัดค่าความต้านทานด้วยย่านวัดโอห์มมิเตอร์ของมัลติมิเตอร์ ในวงจรที่กำลังไฟฟ้าจ่ายอยู่ เพราะจะทำให้ย่านวัดโอห์มของมัลติมิเตอร์ชำรุดเสียหายได้ต้องตัดไฟจากวงจรก่อน   และปลดขาตัวต้านทานหรือขาอุปกรณ์ตัวที่ต้องการวัดออกจากวงจรเสียก่อน
5    ณะพักการใช้มัลติมิเตอร์ทุกครั้งควรปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไฟที่ย่าน 1,000 VDC เสมอ   เพราะเป็นย่านวัดที่มีค่าความต้านทานภายในมัลติมิเตอร์สูงสุด   เป็นการป้องกันความผิดพลาดในการใช้งานครั้งต่อไป เมื่อลืมตั้งย่านวัดที่ต้องการ ในมัลติมิเตอร์บางรุ่นอาจมีตำแหน่ง OFF บนสวิตซ์เลือกย่านวัด ให้ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ตำแหน่ง DFF เสมอ เพราะเป็นการตัดวงจรมิเตอร์ออกจากขั้วต่อวัด

  • ถ้าต้องการหยุดการใช้งานมัลติมิเตอร์เป็นเวลานาน ๆ หรืองดใช้งานมัลติมิเตอร์ ควรปลดแบตเตอรี่ที่ใส่ไว้ในมัลติมิเตอร์ออกมาจากมัลติมิเตอร์ให้หมด เพื่อป้องกันการเสื่อม ของแบตเตอรี่ และการเกิดสารเคมีไหลออกมาจากแบตเตอรี่ อาจกัดกร่อนอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในมัลติมิเตอร์จนชำรุดเสียหายได้ ในการเก็บมัลติมิเตอร์ไม่ควรเก็บไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง หรือมีความชื้นสูง ตำแหน่งของแบตเตอรี่ในมัลติมิเตอร์ แสดงดังรูปที่ 3.7

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

ภาพที่ 3.7  ตำแหน่งแบตเตอรี่ และฟิวส์ในมัลติมิเตอร์

7     ในกรณีการตั้งย่านวัดผิดพลาด จนทำให้มัลติมิเตอร์วัดค่าปริมาณไฟฟ้าอื่น ๆ ไม่ขึ้น ให้ตรวจสอบฟิวส์ที่อยู่ภายในมัลติมิเตอร์ เป็นตัวป้องกันไฟเกินขาดหรือไม่ หากฟิวส์ขาดให้ใช้ฟิวส์สำรองที่มีอยู่ใส่แทน และทดลองใช้มัลติมิเตอร์อีกครั้ง ตำแหน่งฟิวส์และฟิวส์สำรองแสดงดังภาพที่ 3.7

ขั้นตอนการใช้โวลต์มิเตอร์  ยี่ห้อ SANWA  รุ่น YX 360-TR วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง
DC.-Voltmeterเป็นเครื่องมือวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ค่าที่วัดได้เป็นค่าเฉลี่ย(VRMS) การวัดแรงดันไฟกระแสตรง ตั้งสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ DCV มัลติมิเตอร์   SANWA  รุ่น 
YX-360TR มีทั้งหมด 7 ย่านวัดเต็มสเกลคือย่าน 0.1V, 0.5V, 2.5V, 10V, 50V, 250V และ 1,000V แสดงดังภาพที่ 3.8   การอ่านค่าแรงดันผ่านที่สเกล DCV, A หมายเลข 2 ของรูปที่ 3.6 ขั้นตอนการวัดค่าปฏิบัติดังนี้
1     สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก (+) สายวัดสีดำเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วลบ ของมิเตอร์ การวัดค่าใช้สายวัดทั้งสองเส้นไปวัดค่าแรงดัน
2     ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปย่านที่เหมาะสม คือ ให้ย่านวัดสูงกว่าและใกล้เคียงค่าแรงดันที่บอกไว้มากที่สุด    ถ้าไม่ทราบให้ตั้งย่านวัดที่ย่านสูงสุดไว้ก่อนที่ 1,000 DCV   วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ดังแสดงในภาพที่ 3.8


นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

ภาพที่ 3.8 ตั้งย่านวัด DCV

  • การวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ต้องนำมิเตอร์ไปต่อขนานกับวงจร และขณะวัดต้องคำนึงถึงขั้วของมิเตอร์ให้ตรงกับขั้วของแรงดันที่จะวัดโดยยึดหลักดังนี้ ใกล้บวกแหล่งจ่ายแรงดัน ต่อวัดด้วยขั้วบวกของมิเตอร์ใกล้ลบแหล่งจ่ายแรงดัน ต่อวัดด้วยขั้วลบของมิเตอร์  การต่อมัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง แสดงดังภาพที่ 3.9

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

ภาพที่ 3.9  การต่อมัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟกระแสตรง

  • ก่อนต่อมัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงค่าสูง ๆ  ควรตัดกระแสไฟฟ้าในวงจรก่อน เมื่อต่อ DCV โวลท์มิเตอร์กับจุดที่ต้องการวัดแรงดันเรียบร้อยแล้วจึงต่อกระแสเข้าวงจร
  •   อย่าจับสายวัดหรือ ตัวมัลติมิเตอร์ ขณะวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงค่าสูง  เมื่อวัดเสร็จเรียบร้อยแล้วควรตัดกระแสไฟฟ้าก่อนจึงจับสายวัดได้
  •  การอ่านค่า การใช้สเกล และการตั้งย่านวัด แสดงได้  ดังภาพที่ 3.10

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์


ย่านตั้งวัด

สเกลใช้อ่าน

การอ่านค่า

ค่าที่วัดได้ (VDC)

0.1V
0.5V
2.5V
10V
50V
250V
1,000V

0-10
0-50
0-250
0-10
0-50
0-250
0-10

ใช้ 0.01 คูณค่าที่อ่านได้
ใช้ 0.01 คูณค่าที่อ่านได้
ใช้ 0.01 คูณค่าที่อ่านได้
อ่านโดยตรง
อ่านโดยตรง
อ่านโดยตรง
ใช้ 100 คูณค่าที่อ่านได้

0.086V
0.32V
2.15V
8.6V
43V
215V
860V

ภาพที่ 3.10   ตัวอย่างการอ่านค่า การใช้สเกล และการตั้งย่านวัดแรงดันไฟกระแสตรง
ขั้นตอนการใช้โวลต์มิเตอร์ยี่ห้อ SANWA รุ่น YX 360-TR วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ
AC-Voltmeter เป็นเครื่องมือวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ ค่าที่วัดได้เป็นค่าเฉลี่ย การวัด  แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับตั้งสวิตช์เลือกย่านไปที่ ACV มัลติมิเตอร์ยี่ห้อ SANWAรุ่น  YX-360TR มีทั้งหมด 4 ย่านวัดเต็มสเกลคือย่าน 10V, 50V, 250V และ 1,000V แสดงดังภาพที่ 3.11 การอ่านค่าแรงดันอ่านที่สเกล ACV หมายเลข 3 ของรูปที่ 3.6 ขั้นตอนการวัดค่าปฏิบัติดังนี้
1     สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก (+) สายวัดสีดำเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วลบของมิเตอร์ การวัดค่าใช้สายวัดทั้งสองเส้นไปวัดค่าแรงดัน แต่ขณะวัดค่าแรงดันไม่ต้องคำนึงถึงขั้วบวก ขั้วลบ เหมือนแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง เพราะแรงดันไฟกระแสสลับไม่มีขั้วตายตัวขั้วแรงดันสลับไปสลับมาตลอดเวลา
2     ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปย่านที่เหมาะสม คือให้ย่านวัดสูงกว่าและใกล้เคียงค่าแรงดันที่บอกไว้มากที่สุดหากไม่ทราบ ให้ตั้งย่านวัดที่ย่านสูงสุดไว้ก่อน หากไม่ทราบค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ ให้ตั้งย่านวัดที่ย่านสูงสุดไว้ก่อนคือที่ 1,000V


นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

                 

ภาพที่ 3.11 ตั้งย่านวัด ACV


3     การวัดแรงดันไฟกระแสสลับ ต้องนำมิเตอร์ไปต่อขนานกับวงจรโดยไม่ต้องคำนึงถึง ขั้ววัด การต่อมัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟกระสลับ แสดง   ดังภาพที่ 3.12

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

ภาพที่ 3.12  การต่อมัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ


4   การอ่านค่าการใช้สเกลและการตั้งย่านวัด  ดังแสดงในภาพที่  3.13

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์


ย่านตั้งวัด

สเกลใช้อ่าน

การอ่านค่า

ค่าที่วัดได้ (VAC)

10V
50V
250V
1,000V

0-10
0-50
0-250
0-10

อ่านโดยตรง
อ่านโดยตรง
อ่านโดยตรง
ใช้ 100 คูณค่าที่อ่านได้

7.6V
38V
190V
760V

 

 

 

 

ภาพที่ 3.13   ตัวอย่างการอ่านค่า การใช้สเกล และการตั้งย่านวัดแรงดันไฟกระแสสลับ

1.1.2   การใช้มิลลิแอมมิเตอร์
DC-Milliammeter เป็นเครื่องมือวัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง การวัดกระแสไฟตรง ตั้งสวิตช์เลือกย่านไปที่ DCmA มัลติมิเตอร์ยี่ห้อ SANWAรุ่น YX-360TR มีทั้งหมด4 ย่านวัด  เต็มสเกลคือย่าน 50 mA (0.1VDC), 2.5mA, 25mA และ 0.25A(250mA) แสดงดังภาพที่ 3.14  การอ่านค่ากระแสไฟตรงอ่านที่สเกล DCV, A หมายเลข 2 ของรูปที่ 3.6 ขั้นตอนการวัดค่าปฏิบัติดังนี้
1   เสียบสายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก (+) สายวัดสีดำเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วลบ 
(-COM) ของมิเตอร์ การวัดค่าใช้สายวัดทั้งสองเส้นไปวัดค่ากระแส
2     ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปย่านที่เหมาะสม หากไม่ทราบค่ากระแสไฟตรงให้ตั้ง ย่านวัดที่ย่านสูงสุดไว้ก่อนที่ 0.25A


นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

              

ภาพที่ 3.14  ย่านวัดกระแสไฟตรง (DCmA)

  • การวัดกระแสไฟตรง ต้องนำมิเตอร์ไปต่ออันดับกับวงจร และขณะวัดต้องคำนึงถึง      ขั้วของมิเตอร์ให้ตรงกับขั้วของแรงดันแหล่งจ่ายในวงจร โดยยึดหลักดังนี้ ใกล้บวกแหล่งจ่าย แรงดัน ต่อวัดด้วยขั้วบวกของมิเตอร์ใกล้ลบแหล่งจ่ายแรงดัน ต่อวัดด้วยขั้วลบของมิเตอร์ การต่อ มัลติมิเตอร์วัดไฟฟ้ากระแสตรง แสดงดังรูปที่ 3.15

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์
นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

       

ภาพที่ 3.15  การต่อมัลติมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าตรงโดยตัดวงจรแล้วต่อผ่านมิลลิแอมมิเตอร์

  • ย่านวัดกระแสไฟตรง 50 mA เป็นย่านเดียวกับย่านวัดแรงดันไฟกระแสตรง 0.1V 
    ในย่านนี้ทำหน้าที่เป็นทั้งมิเตอร์วัดแรงดันไฟกระแสตรงเต็มสเกล 0.1V และทำหน้าที่เป็นมิเตอร์วัดกระแสไฟตรงเต็มสเกล 50 mA
  • การอ่านค่า การใช้สเกล และการตั้งย่านวัด แสดงดังภาพที่ 3.16

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์


ย่านตั้งวัด

สเกลใช้อ่าน

การอ่านค่า

ค่าที่วัดได้

50 mA
2.5 mA
25mA
0.25A(250mA)

0-50
0-250
0-250
0-250

อ่านโดยตรงในหน่วย mA
ใช้ 0.01 คูณค่าที่อ่านได้ในหน่วย mA
ใช้ 0.1 คูณค่าที่อ่านได้ในหน่วย mA
อ่านโดยตรงในหน่วย mA

29 mA
1.45 mA
14.5 mA
145 mA

ภาพที่  3.16  การอ่านค่า การใช้สเกล และการตั้งย่านวัดกระแสไฟตรง
1.1.3   การใช้โอห์มมิเตอร์
โอห์มมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดค่าความต้านทานของตัวต้านทาน มีหน่วยวัดเป็นโอห์ม การวัดความต้านทาน ตั้งสวิตช์เลือกย่านไปที่ W มัลติมิเตอร์ยี่ห้อSANWAรุ่น YX-360TR มีทั้งหมด 4 ย่านวัดคือย่าน X 1, X 10, X 1k และ X 10 k แสดงดังภาพที่ 3.17 การอ่านความต้านทานอ่านที่สเกล W หมายเลข 1  ของภาพที่ 3.6 ขั้นตอนการวัดค่าปฏิบัติดังนี้

  • โครงสร้างเบื้องต้นของโอห์มมิเตอร์ในมัลติมิเตอร์ ประกอบด้วยแบตเตอรี่ 
    (ถ่านไฟฉาย) 2 ชุด คือ ชุดแบตเตอรี่ 3 V (1.5 X 2) ใช้กับย่านวัด W ย่าน X 1, X 10 และ X 1k ส่วนชุดแบตเตอรี่ 9 V ถูกต่ออันดับร่วมกับชุดแบตเตอรี่ 3 V เพื่อใช้งานในย่านวัด W ย่าน X 10k แบตเตอรี่ทั้ง 2 ชุด ต่ออันดับร่วมกับตัวต้านทานปรับค่าได้ 0W ADJ และต่ออันดับร่วมกับชุดขดลวดเคลื่อนที่และเข็มชี้ของมิเตอร์โครงสร้างเบื้องต้นของโอห์มมิเตอร์ในมัลติมิเตอร์    แสดงดังภาพที่ 3.17 และภาพที่ 3.18

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

ภาพที่ 3.17 ย่านวัดความต้านทาน

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

ภาพที่ 3.18 วงจรโอห์มมิเตอร์ มัลติมิเตอร์ยี่ห้อ SANWA รุ่น YX-360 TR


2.   หาย่านวัด โอห์มที่เหมาะสม เสียบสายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก (+) สายวัดสีดำเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วลบ  ของมิเตอร์ ใช้สายวัดทั้งสองเส้นไปวัดค่าความต้านทานดังภาพที่ 3.19 แล้วปรับย่านวัดให้เข็มชี้ใกล้กึ่งกลางสเกลมากที่สุด

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์


ภาพที่ 3.19 แสดงการวัดค่าความต้านทานของตัวต้านทาน


3.   ก่อนนำโอห์มมิเตอร์ไปใช้วัดตัวต้านทานทุกครั้ง และทุกย่านที่ตั้งวัดโอห์ม  ต้องปรับแต่งเข็มชี้ของมิเตอร์ชี้ค่าที่ 0 W ก่อน   โดยแตะปลายสายวัด ดำ แดง ของมิเตอร์เข้าด้วยกันปรับแต่งปุ่มปรับ 0 W ADJ จนเข็มชี้ของมิเตอร์ชี้ที่ตำแหน่ง 0 W พอดี ลักษณะการปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ แสดงดังภาพที่ 3.20


นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์


ภาพที่ 3.20  แตะสายวัดเข้าด้วยกันเพื่อปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ได้ 0 W พอดี  (Zero Ohms)

  • เมื่อปรับโอห์มมิเตอร์เรียบร้อยสามารถ  นำโอห์มมิเตอร์ไปวัดค่าความต้านทานของตัวต้านทาน ซึ่งครั้งนี้เป็นการวัดจริง  ดังภาพที่ 3.19 
  • อ่านค่าความต้านทานจากสเกลของโอห์มมิเตอร์ ค่าความต้านทานจะเท่ากับค่าที่อ่านได้จากสเกล คูณกับย่านวัดโอห์ม ดังภาพที่  3.21

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์


ย่านตั้งวัด

สเกลใช้อ่าน

การอ่านค่า

ค่าที่วัดได้

X 1
X 10
X 1k
X 10k

0-¥

อ่านค่าโดยตรง
ใช้ 10 คูณค่าที่อ่านได้
อ่านโดยตรงในหน่วย kW
ใช้ 10 คูณค่าที่อ่านได้ในหน่วย kW

24 W
240 W
24kW
240kW

ภาพที่  3.21  การอ่านค่า การใช้สเกล และการตั้งย่านวัดความต้านทาน

    • ออสซิลโลสโคป (Oscilloscope)

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

 

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

ภาพที่ 3.22  แสดงออสซิลโลสโคปแบบ 2 Channel
ออสซิลโลสโคป หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า สโคป (Scope) ที่ใช้งานกันอยู่ทั่ว ๆ ไป แสดงดังภาพที่ 3.22 สำหรับการใช้งานของออสซิลโลสโคปนั้น จะใช้แสดงรูปคลื่นสัญญาณ   หรือ   ช่วงห่างของสัญญาณ  โดยรูปคลื่นสัญญาณที่ได้อาจเป็นแบบไซน์   แบบสี่เหลี่ยมแบบสามเหลี่ยม หรือแบบฟันเลื่อย เป็นต้น สำหรับความแตกต่างของรูปคลื่นสัญญาณจะขึ้นอยู่กับการวัดที่จุดใด ๆ ภายในวงจร จากนั้นรูปคลื่นสัญญาณที่ได้จะไปปรากฏที่หลอดแคโทด (Cathode Ray Tube, CRT) ซึ่งมีลักษณะเป็นจอแสดงผลเช่นเดียวกับจอของเครื่องรับโทรทัศน์ และจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ จากรูปคลื่นสัญญาณที่ปรากฏบนจอ CRT นี้ ทำให้สามารถวัด หรือคำนวณหาคาบเวลาความถี่ และคุณลักษณะของแอมพลิจูด เช่น  ค่า rms (ค่าเฉลี่ย), ค่า peak และ ค่า peak-to-peak เป็นต้น

                 

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

ภาพที่ 3.23   แสดงรูปสัญญาณที่ได้จากการวัดที่จุดต่าง ๆ ในวงจร

การควบคุมการทำงาน

                ออสซิลโลสโคปที่ใช้ในปัจจุบันได้รับการออกแบบให้มีรูปลักษณะที่แตกต่างกันอย่างไรก็ตามสำหรับการทำงานในฟังค์ชั่นหลัก ๆ จะยังคงลักษณะการใช้งานที่คล้ายกัน ภาพที่ 3.24 แสดงปุ่มฟังก์ชันบริเวณด้านหน้าของออสซิลโลสโคปทั่ว ๆ ไป   ซึ่งประกอบด้วยปุ่มฟังก์ชันควบคุมการทำงานดังนี้

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์

ภาพที่ 3.24 ฟังก์ชันควบคุมของออสซิลโลสโคป

ฟังก์ชันควบคุมทั่วไป

ควบคุมความเข้มของลำแสง (Intensity Control)ช่วยควบคุมความสว่างของรูปคลื่นสัญญาณที่ปรากฏบนจอ CRT
ควบคุมความคมชัด (Focus Control) ปรับความคมชัดของเส้นสัญญาณ และรูปคลื่นสัญญาณที่ปรากฏบนจอ
สวิตช์เปิด/ปิดเครื่อง (Power Off/On)  เป็นสวิตช์ควบคุมการเปิด หรือปิดใช้งาน
ออสซิลโลสโคป พร้อมทั้งแสดงไฟบอกขณะเปิดใช้งาน
ออสซิลโลสโคปบางแบบสามารถที่จะแสดงรูปคลื่นสัญญาณได้มากกว่า 1 รูปคลื่น  ดังแสดงในภาพที่ 3.25 โดยเรียกออสซิลโลสโคปชนิดนี้ว่า ออสซิลโคลสโคปแบบ Dual-trace Oscilloscope ซึ่งออสซิลโลสโคปแบบนี้มีประโยชน์ทำให้เราสามารถทำการเปรียบเทียบ เฟสแอมพลิจูด รูปลักษณะของสัญญาณ และคาบเวลาของ 2 รูปคลื่นสัญญาณ ที่วัดจากจุดทดสอบ 2 จุด โดยการป้อนสัญญาณแรกเข้าที่ช่องรับสัญญาณ A (Channel A) และสัญญาณที่สองเข้าทช่องรับสัญญาณ B (Channel B)

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์


ภาพที่ 3.25รูปคลื่นสัญญาณที่ได้จากออสซิลโลสโคปแบบ Dual-trace Oscilloscope
                        การเลือกช่องต่อสัญญาณ
Mode Switch:   สวิตช์เลือกโหมดการทำงานซึ่งเป็นปุ่มเลือกช่องสัญญาณที่จะให้แสดงบนจอ CRT
CHA:   แสดงเฉพาะรูปคลื่นสัญญาณที่ต่อเข้าที่ช่องรับสัญญาณ A บนจอ CRT
Dual:  แสดงรูปคลื่นสัญญาณที่ต่อเข้าทั้งช่องสัญญาณ A และ B พร้อมกัน บนจอ CRT 
            ดังภาพที่ 3.25


1.2.1       จุดปรับแต่งสัญญาณเอาต์พุต (Calibration Output)
                จุดต่อนี้จะให้สัญญาณเอาต์พุต ที่คงที่แบบ Square-wave ขนาด 1 Vp-p และมีความถี่ 
1 kHz ซึ่งสัญญาณนี้ปกติแล้วจะป้อนเข้าที่ช่องรับสัญญาณ A และ B เพื่อใช้ทดสอบสายโพรบ และการทำงานของตัวออสซิลโลสโคปเอง


1.2.2       ปุ่มควบคุมสัญญาณทางแนวนอน (Channel A and B Horizontal Controls)
           

นำมัลติมิเตอร์ไปวัดค่าแรงดันของแบตเตอรี่รถยนต์
   Position:   ควบคุมการเลื่อนตำแหน่งของรูปคลื่นสัญญาณไปตามแนวนอน (ซ้าย หรือ ขวา) บนจอ CRT
Sweep time/cm switch: ออสซิลโลสโคปประกอบด้วยวงจรกำเนิดลำแสง ซึ่งจะกวาดลำแสงจากซ้ายไปขวาอย่างต่อเนื่องบนจอ CRT เมื่อไม่มีสัญญาณเข้ามา การกวาดของสัญญาณจะเป็นเส้นตรงในแนวแกนนอนตรงตำแหน่งกึ่งกลางของจอ CRT แต่เมื่อมีสัญญาณด้านอินพุตเข้ามาจะไปกระตุ้นการกวาดในแนวแกนนอนโดยทำให้เส้นของการกวาดเคลื่อนที่ขึ้นลงกลายเป็นรูปคลื่นสัญญาณปรากฏบนจอ CRT โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับรูปคลื่นสัญญาณ  ที่ป้อนเข้ามา เช่น คลื่นไซน์ คลื่นสี่เหลี่ยม หรือคลื่นแบบฟันเลื่อย เป็นต้น ดังนั้นสวิตช์ Sweep time/cm จึงใช้สำหรับเลือกอัตราการกวาดของสัญญาณจากซ้ายไปขวาดยสามารถเลือกอัตราการกวาดได้ทั้งแบบเร็ว (0.2 ไมโครวินาทีต่อเซนติเมตร; 0.2 ms/cm) หรือ   แบบช้า (0.5 วินาทีต่อเซนติเมตร; 0.5 s/cm) ดังนั้นการตรวจวัดสัญญาณที่เข้ามาสามารทำได้ตั้งแต่การตั้งค่าเวลาน้อย ๆ นั่นคือ จะแสดงจำนวนรูปคลื่นสัญญาณน้อย จนถึงการตั้งค่าเวลาให้สูงขึ้นซึ่งจำนวนรูปคลื่นสัญญาณก็จะมีจำนวนมากตามไปด้วย


1.2.3       การควบคุมการกระตุ้นของสัญญาณ (Triggering Controls)
การควบคุมลักษณะนี้ จะเป็นการควบคุมคาบเวลาภายในระหว่างอัตราการกวาดของสัญญาณบนจอ CRT และรูปคลื่นสัญญาณที่ป้อนเข้ามา
Triggering level control  :  การหาจุดเริ่มต้นการกวาดของสัญญาณ
Slops switch (+)  :   การกวาดถูกกระตุ้น เริ่มจากขอบด้านบนของรูปสัญญาณ
Slope switch (-)   :   การกวาดถูกกระตุ้น เริ่มจากขอบด้านล่างของรูปสัญญาณ
Source switch, CHA  :   สัญญาณที่จะใช้กระตุ้นเข้ามาที่ช่องสัญญาณ A
CHB  :  สัญญาณที่จะใช้กระตุ้นเข้ามาที่ช่องสัญญาณ B
EXT   :   สัญญาณที่จะใช้กระตุ้นเข้ามาที่ขั้วต่อภายนอก (External Trigger Jack)


1.2.4       ปุ่มควบคุมสัญญาณทางแนวตั้ง (Channel A and B Vertical Controls)
Volts/cm switch      :    จะควบคุมระดับแรงดันไฟฟ้าที่แสดงในแต่ละช่องของสเกลในแนวแกนตั้ง
  Position control    :    จะควบคุมการเลื่อนขึ้นลงของรูปคลื่นสัญญาณเพื่อความสะดวกในการวัด หรือการสังเกตรูปคลื่นสัญญาณ
AC-DC-GND       :     ที่ตำแหน่ง AC ตัวเก็บประจุทางด้านอินพุตจะยอมให้สัญญาณ AC ผ่านเข้าไปได้ แต่จะไม่ให้สัญญาณที่เป็น DC ผ่าน
                              :     ที่ตำแหน่ง GND ด้านอินพุตจะถูกต่อลงกราวด์ (0 V) เพื่อให้สามารถป้อนสัญญาณอ้างอิงเข้าไปได้
                              :     ที่ตำแหน่ง DC จะยอมให้สัญญาณที่เป็นทั้ง AC และ DC ผ่านเข้าไปได้
หมายเหตุ    การควบคุมของช่องสัญญาณ A จะเหมือนกับช่องสัญญาณ B