สรุป บทละครนอกเรื่อง สังข์ ทอง

บทที่    บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

            บทละครเรื่องสังข์ทองนี้ เป็นวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจในการศึกษา  มีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีลักษณะของละครนอก มีตัวละครที่เป็นรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เจ้าเงาะซึ่งคือพระสังข์ กับนางรจนา เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและเป็นนิยม จึงมีการนำเนื้อเรื่องบางบทที่นิยม ได้แก่ บทพระสังข์ได้นางรจนา เพื่อนำมาประยุกต์เป็นการแสดงชุดรจนา-เสี่ยงพวงมาลัย

สังข์ทองเป็นเรื่องที่ได้มาจากสุวัณสังขชาดก เป็นหนึ่งใน ชาดกพุทธประวัติ เป็นนิทานพื้นบ้านในภาคเหนือและภาคใต้โดยที่สถานที่ที่กล่าวถึงเนื้อเรื่องในสังข์ทอง
วัตถุประสงค์

           ๑. เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของละครนอก เรื่องสังข์ทอง

            ๒. เพื่อประโยชน์แก่ผู้ชมหรือผู้ฟัง

สมมติฐานของการศึกษา

            บทละครนอกเรื่องสังข์ทองมีประโยชน์ที่ดีและเหมาะสำหรับเก็บไว้อ่านสอบ

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

๑.      ศึกษาตามวิธีการของหนังสือเรียนวิวิธภาษา เรื่อง โครงงานเด่น เขียนเน้นกระบวนการ เป็นหนังสือเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

๒.    ศึกษาในอินเทอร์เน็ตของเว็บ http://th.wikipedia.org และ http://www.st.ac.th/

นิยามคำศัพท์ การเลือกสรรคำ
          คำที่ใช้เป็นคำง่าย  แต่กลั่นกรองอย่างประณีต  เหมาะสมกับตัวละครและเนื้อเรื่อง  ในบทละครนอกส่วนใหญ่ใช้คำที่เป็นภาษาชาวบ้าน  เพราะแลดงให้ชาวบ้านชม  เดิมจะใช้ภาษาง่ายแต่อาจหยาบโลนไม่ไพเราะ  บทพระราชนิพนธ์จะใช้คำที่เป็นลักษณะเดียวกันแต่ขัดเกลาให้เรียบร้อยไพเราะกว่า  ใช้ภาษากวีได้ดีแม้ว่าจะเป็นการแต่งละครนอกซึ่งไม่มุ่งความงดงามองภาษามากนัก  การเลือกสรรคำมาใช้แบงออกได้เป็น    ลักษณะคือ
          ๑.การใช้คำให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง  คือ  ใช้คำจำนวนน้อย  กินใจความมาก  ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย  บทละครนอกจะดำเนินเรื่องไปอย่างรวดเร็ว  การแต่งจึงค่อนข้างรวบรัดใช้คำที่เข้าใจง่าย 
          ๒.การใช้คำให้เหมาะกับบุคคล  เรื่องสังข์ทองมีบทบาทของบุคคลที่ต่างสถานภาพกันมากมาย  รัชกาลที่     สามารถเลือกใช้ถ้อยคำได้เหมาะสมกับสถานภาพของบุคคล
เสียงเสนะ
          ความไพเราะในคำกลอนได้จากสัมผัสอักษรและสัมผัสสระ
                                                                                                                 

จินตนาการ
          การบรรยายบางตอนทำให้ผู้อ่านนึกเห็นภาพตามไปด้วย  เช่น  การบรรยายภาพทะเล                                                                    

กวีโวหาร
          กวีโวหาร  คือการใช้ชั้นเชิงในการแต่งให้มีรสของถ้อยคำลึกซึ้งประทับใจ  ได้แก่
          ๑.การใช้ภาษาให้เกิดภาพพจน์  คือ  กลวิธีในการใช้ภาษาให้ข้อความนั้นกินใจ  ชวนคิด  ชวนให้จดจำ  โดยไมใช่การบอกเล่าอย่างตรงไปตรงมา  มีหลายวิธี เช่น
                    ๑.๑  วิธีอุปมาอุปไมย  คือ  การกล่าวเปรียบเทียบของสองสิ่งว่าสิ่งหนึ่ง  เหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง  ทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมให้เห็นความรู้สึกชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าคำอธิบายตามธรรมดา  โดนใช้คำที่บ่งบอกว่าเปรียบเทียบอย่างชัดเจน  คือ  คำว่า  อุปมา  เล่ห์  ดุจ  กล  เฉก  เช่น  เหมือน  ราว  ประดุจ  เพียง  เสมอ  คล้าย
                    ๑.๒  วิธีอุปลักษณ์  คือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง  ไม่มีคำที่บ่งบอกการเปรียบให้เห็นเหมือนอุปมา  บางครั้งเรียกว่า  เปรียบเป็น  เพราะใช้คำว่า  เป็น เท่า  คือ    
                    ๑.๓  บุคลาธิษฐาน  คือ  การสมมติให้สิ่งที่กล่าวถึงมีชีวิตเหมือนมนุษย์
          ๒.  การพรรณนาและการบรรยายที่แจ่มแจ้งชัดเจน  การพรรณนาแบบนี้ผู้อ่านจะสามารถนึกตาม  เห็นภาพ  เข้าใจถ้อยคำและข้อความอย่างแจ่มแจ้งลึกซึ้ง  ซึ่งมีหลายวิธี  เช่น  
                    ๒.๑  การพรรณนาที่ทำให้เห็นภาพอย่าสงตรงไปตรงมา  
                    ๒.๒  การบรรยายให้เห็นนาฏการ  คือ  ภาพความเคลื่อนไหวและบทบาททางอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของตัวละคร


รสในวรรณคดี
   รสในวรรณคดี  คือ  ลีลาอันไพเราะที่เกิดจากการแงคำประพันธ์  ซึ่งมี ดังนี้
๑.เสาวรจนี  (ถ้อยคำชมโฉม)  คือ  บทที่ชมความงาม  ส่วนใหญ่เป็นการชมความงามของตัวละคร
๒.นารีปราโมทย์  (ถ้อยคำเกี้ยวหรือบทโอ้โลม)  เป็นบทที่แสดงความรักใคร่  หรือพูดจาโอ้โลมให้อีกฝ่ายหนึ่งชื่นชอบ
๓.พิโรธวาทัง  (ถ้อยคำแสดงความโกรธหรือบทตัดพ้อ)  เป็นบทแสดงความโกรธ  เคียดแค้น  ตัดพ้อ  เหน็บแนม  เสียดสี  ด้วยประการต่างๆ ๔.สัลลาปังคพิสัย  (ถ้อยคำแสดงความโศก)  เป็นบทพรรณนาความโศกเศร้า  หรือคร่ำครวญ
ความไพเราะหรือความดีเด่นของถ้อยคำในบทละครนอกนั้นเน้นหนักที่สำนวนโวหารอันคมคาย  การใช้ถ้อยคำโต้ตอบกันอย่างเผ็ดร้อนแต่ก็น่าฟัง  เพราะเป็นคารมที่เฉียบแหลม  ทำให้มองเห็นลักษณะของ  “ละครชาวบ้าน”   ซึ่งการใช้ภาษาไม่ละเมียดละไม ประณีตบรรจงเท่ากับละครใน ซึ่งละครนอกจะใช้คำง่าย ตรงไปตงมา และสนุกแบบ สาแก่ใจผู้ชม

บทที่ ๒   เอกสาร

เรื่องย่อ

 ท้าวยศวิมลมีมเหสีชื่อนางจันท์เทวี มีสนมเอกชื่อนางจันทาเทวี ไม่มีโอรสธิดา จึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร และประกาศแก่พระมเหสีและนางสนมว่าถ้าใครมีโอรสก็จะมอบเมืองให้ครอง

อยู่มานางจันท์เทวีทรงครรภ์ เทวบุตรจุติมา เป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูติมาเป็นหอยสังข์ นางจันทาเทวีเกิดความริษยาจึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความหายนะ ท้าวยศวิมลหลงเชื่อนางจันทาเทวี จึงจำใจต้องเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง

นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยตายายช่าวไร่ ช่วยงานตายายเป็นเวลา 5 ปี พระโอรสในหอยสังข์แอบออกมาช่วยทำงาน เช่น หุงหาอาหาร ไล่ไก่ไม่ให้จิกข้าว เมื่อนางจันท์เทวีทราบก็ทุบหอยสังข์เสีย

ในเวลาต่อมา พระนางจันทาเทวีได้ไปว่าจ้างแม่เฒ่าสุเมธาให้ช่วยทำเสน่ห์เพื่อที่ท้าวยศวิมลจะได้หลงอยู่ในมนต์สะกด และได้ยุยงให้ท้าวยศวิมลไปจับตัวพระสังข์มาประหาร ท้าวยศวิมลจึงมีบัญชาให้จับตัวพระสังข์มาถ่วงน้ำ แต่ท้าวภุชงค์(พญานาค) ราชาแห่งเมืองบาดาลก็มาช่วยไว้ และนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ก่อนจะส่งให้นางพันธุรัตเลี้ยงดูต่อไปจนพระสังข์มีอายุได้ 15 ปีบริบูรณ์

วันหนึ่ง นางพันธุรัตได้ไปหาอาหาร พระสังข์ได้แอบไปเที่ยวเล่นที่หลังวัง และได้พบกับบ่อเงิน บ่อทอง รูปเงาะ เกือกทอง(รองเท้าทองนั้นเอง) ไม้พลอง และพระสังข์ก็รู้ความจริงว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์ เมื่อพระสังข์พบเข้ากับโครงกระดูก จึงได้เตรียมแผนการหนีด้วยการสวมกระโดดลงไปชุบตัวในบ่อทอง สวมรูปเงาะ กับเกือกทอง และขโมยไม้พลองเหาะหนีไป

เมื่อนางพันธุรัตทราบว่าพระสังข์หนีไป ก็ออกตามหาจนพบพระสังข์อยู่บนเขาลูกหนึ่ง จึงขอร้องให้พระสังข์ลงมา แต่พระสังข์ก็ไม่ยอม นางพันธุรัตจึงเขียนมหาจินดามนตร์ที่ใช้เรียกเนื้อเรียกปลาได้ไว้ที่ก้อนหิน ก่อนที่นางจะอกแตกตาย ซึ่งพระสังข์ได้ลงมาท่องมหาจินดามนตร์จนจำได้ และได้สวมรูปเงาะออกเดินทางต่อไป

พระสังข์เดินทางมาถึงเมืองสามล ซึ่งมีท้าวสามลและพระนางมณฑาปกครองเมือง ซึ่งท้าวสามลและพระนางมณฑามีธิดาล้วนถึง 7 พระองค์ โดยเฉพาะ พระธิดาองค์สุดท้องที่ชื่อ รจนา มีสิริโฉมเลิศล้ำกว่าธิดาทุกองค์ จนวันหนึ่ง ท้าวสามลได้จัดให้มีพิธีเสี่ยงมาลัยเลือกคู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด ซึ่งธิดาทั้ง 6 ต่างเสี่ยงมาลัยได้คู่ครองทั้งสิ้น เว้นแต่นางรจนาที่มิได้เลือกเจ้าชายองค์ใดเป็นคู่ครอง ท้าวสามลจึงได้ให้ทหารไปนำตัวพระสังข์ในร่างเจ้าเงาะซึ่งเป็นชายเพียงคนเดียวที่เหลือในเมืองสามล ซึ่งนางรจนาเห็นรูปทองภายในของเจ้าเงาะ จึงได้เสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ทำให้ท้าวสามลโกรธมาก เนรเทศนางรจนาไปอยู่ที่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ

ท้าวสามลคิดจะกำจัดเจ้าเงาะทุกวิถีทาง จึงได้ให้เขยทั้งหมดไปจับปลามาให้ได้คนละร้อยตัว พระสังข์จึงได้ถอดรูปเงาะออก และท่องมหาจินดามนตร์จนได้ปลามานับร้อย ส่วนหกเขยจับปลาไม่ได้เลยสักตัว จึงเข้ามาขอพระสังข์เพราะคิดว่าเป็นเทวดา พระสังข์ก็ยินดีให้ แต่ต้องแลกกับปลายจมูกของหกเขยด้วย

ต่อมา ท้าวสามลได้ให้เขยทั้งหมดไปหาเนื้อมาให้ได้คนละร้อยตัว พระสังข์ก็ใช้มหาจินดามนตร์จนได้เนื้อมานับร้อย ส่วนหกเขยก็หาไม่ได้อีกตามเคย และได้เข้ามาขอพระสังข์ พระสังข์ก็ยินดีให้ แต่ต้องแลกกับปลายหูของหกเขยด้วย

ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์ อาสน์ที่ประทับของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้าง อันเป็นสัญญาณว่ามีผู้มีบุญกำลังเดือดร้อน จึงส่องทิพยเนตรลงไปพบเหตุการณ์ในเมืองสามล จึงได้แปลงกายเป็นกษัตริย์เมืองยกทัพไปล้อมเมืองสามล ท้าให้ท้าวสามลออกมาแข่งตีคลีกับพระองค์ หากท้าวสามลแพ้ พระองค์จะยึดเมืองสามลเสีย

ท้าวสามลส่งหกเขยไปแข่งตีคลีกับพระอินทร์ แต่ก็แพ้ไม่เป็นท่า จึงจำต้องเรียกเจ้าเงาะให้มาช่วยตีคลี ซึ่งนางรจนาได้ขอร้องให้สามีช่วยถอดรูปเงาะมาช่วยตีคลี เจ้าเงาะถูกขอร้องจนใจอ่อน และยอมถอดรูปเงาะมาช่วยเมืองสามลตีคลีจนชนะในที่สุด

หลังจากเสร็จภารกิจที่เมืองสามลแล้ว พระอินทร์ได้ไปเข้าฝันท้าวยศวิมล และเปิดโปงความชั่วของพระนางจันทาเทวี พร้อมกับสั่งให้ท้าวยศวิมลไปรับพระนางจันท์เทวีกับพระสังข์มาอยู่ด้วยกันดังเดิม ท้าวยศวิมลจึงยกขบวนเสด็จไปรับพระนางจันท์เทวีกลับมา และพากันเดินทางไปยังเมืองสามลเมื่อตามหาพระสังข์

ท้าวยศวิมลและพระนางจันท์เทวีปลอมตัวเป็นสามัญชนเข้าไปอยู่ในวัง โดยท้าวยศวิมลเข้าไปสมัครเป็นช่างสานกระบุง ตะกร้า ส่วนพระนางจันท์เทวีเข้าไปสมัครเป็นแม่ครัว และในวันหนึ่ง พระนางจันท์เทวีก็ปรุงแกงฟักถวายพระสังข์ โดยพระนางจันท์เทวีได้แกะสลักชิ้นฟักเจ็ดชิ้นเป็นเรื่องราวของพระสังข์ตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้พระสังข์รู้ว่าพระมารดาตามมาแล้ว จึงมาที่ห้องครัวและได้พบกับพระมารดาที่พลัดพรากจากกันไปนานอีกครั้ง

หลังจากนั้น ท้าวยศวิมล พระนางจันท์เทวี พระสังข์กับนางรจนาได้เดินทางกลับเมืองยศวิมล ท้าวยศวิมลได้สั่งประหารพระนางจันทาเทวี และสละราชสมบัติให้พระสังข์ได้ครองราชย์สืบต่อมา

 ลักษณะของบทละคร     บทละครมีทั้งหมด 9 ตอนดังนี้

1.   กำเนิดพระสังข์

2.   ถ่วงพระสังข์

3.   นางพันธุรัตน์เลี้ยงพระสังข์

4.   พระสังข์หนีนางพันธุรัต

5.   ท้าวสามลให้นางทั้งเจ็ดเลือกคู่

6.   ท้าวสามลให้ลูกเขยหาปลาหาเนื้อ

7.   พระสังข์ตีคลี

8.   ท้าวยศวิมลตามพระสังข์

ลักษณะตัวละครในเรื่อง สังข์ทอง       ตัวละครที่สำคัญในเรื่องสังข์ทองมีอยู่ ๕ กลุ่ม  คือ ตัวเอก  ตัวโกง พระราชา พระมเหสี และตัวละครอมนุษย์ 
ตัวเอก 
          ตัวเอกฝ่ายชายมักเป็นกษัตริย์หรือบุคคลชั้นสูง  เพราะไทยเราได้เค้าเรื่องมาจากวรรณคดีฮินดูซึ่งนิยมเล่าเรื่องราวของชนชั้นสูง  และยังได้เค้าเรื่องมาจากชาดกซึ่งเชื่อว่าพระโพธิสัตว์เป็นผู้มีบุญญาธิการกว่ามนุษย์ธรรมดา  ตัวเอกในนิทานมักมีบุคลิกภาพเดียวกัน  คือเป็นผู้มีบุญมาเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ  และชดใช้หนี้เวรอันเป็นผลกรรมของชาติที่แล้ว  ดังนั้นตัวเอกจึงต้องรับผลวิบากกรรมในชาตินี้  คือถูกตัวละครฝ่าย                             

พระสังข์ 
          พระสังข์เป็นตัวเอกที่มีรูปงามตามแบบการสร้างตัวเอกในวรรณคดีไทย ทั่วไป  แต่ในตอนเด็กปรากฏเป็น    รูป คือ รูปหอยสังข์กับรูปกุมาร ส่วนตอนเป็นหนุ่มก็มี    รูปเช่นเดียวกัน คือ รูปเงาะกับรูปทอง ทั้งรูปหอยสังข์และรูปเงาะเปรียบเสมือน  “ เกาะ”  คุ้มครองพระสังข์  ในตอนเด็กเมื่อนางจันท์เทวีต่อยหอยสังข์แตกแหลกไป  พระสังข์ร้องไห้คร่ำครวญ  ต่อว่าพระมารดาว่า  พระแม่ต่อยสังข์ดังชีวิต  จะชมชิดลูกนี้สักกี่วัน   ซึ่งเป็นการบอกเป็นนัยๆ  ถึงภัยที่จะมาถึงและต่อมาพระองค์ก็ถูกจับไปถ่วงน้ำ  เพราะเมื่อไม่ได้ซ่อนตัวอยู่ในหอยสังข์  ชาวบ้านก็เห็นและเล่าลือกันต่อๆไป  จนท้าวยศวิมลและนางจันทารู้  ส่วนรูปเงาะนั้นพระสังข์กราบทูลท้าวสามลว่า ซึ่งแปลงมาจะหาคู่ครอง ซึ่งแสดงว่ารูปเงาะนี้นอกจากจะเป็นของวิเศษ  เป็นเกราะกำบังแล้ว  ยังเป็นเครื่องมือในการหาคู่ครองที่เหมาะสมคือมีบุญบารมีเทียบเท่ากันด้วย                 

                            
          การวิเคราะห์ตัวเอกเป็นการเน้นในลักษณะเด่น  อุปนิสัย  และบทบาทดังนี้ 


          ๑.  ความมีบุญญาธิการ  เรื่องชาดกมักจะเน้นความมีบุญของพระโพธิสัตว์  แต่ขณะเดียวกันผู้คนก็มีความเชื่อในไสยศาสตร์ด้วย  การกำจัดพระโอรสท่ามีกำเนิดผิดปรกติเพื่อความปลอดภัยของบ้านเมืองเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางไสยศาสตร์มาก  แต่พระโอรสสังข์ทองเป็นผู้มีบุญจะฆ่าอย่างไรๆ ก็ไม่ตาย  นอกจากนี้ยังมีของวิเศษที่ไม่มีใครทำลายล้างได้  คือ  รูปเงาะ  เกือกแก้ว  และไม้เท้า  ซึ่งช่วยให้พระสังข์กระทำการสำเร็จทุกอย่าง  รวมทั้งมากจินดามนตร์ที่นางพันธุรัต  “เตรียมไว้ให้พระสังข์ในตอนที่ถูกทดสอบ โดยมีชีวิตเป็นเดิมพัน การที่สร้างเรื่องไว้ว่าเทวดาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาจุติเป็นพระสังข์ เป็นการปูพื้นฐานให้ผู้อ่านรู้สึกว่า   ความมีบุญญาธิการของพระสังข์เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล ไม่มหัศจรรย์พ้นวิสัยจนเกินไปนัก 
          ๒.
  ความกตัญญู  พระสังข์มีความกตัญญูต่อพระมารดา ตั้งแต่เล็กก็ได้ออกมาจากหอยสังข์  ช่วยพระมารดาทำงานบ้าน  เนื่องจากพระมารดาไปก็ครุ่นคิดถึงนาง  เป็นห่วงนางอยู่ตลอดเวลา   พอมีโอกาสพบนางโดยไม่คาดฝัน  พระองค์ก็โศกศัลย์จนสิ้นสติไป   และเมื่อนางจันท์เทวีขอให้ยกโทษให้กับท้าวยศวิมลว่าเจ้าอย่าปองจิตคิดร้าย พยาบาทมาดหมายแก่บิดาพระสังข์ก็ไม่ได้ถือโทษโกรธเคือง 
สำหรับนางพันธุรัตนั้น  นางเป็นแม่ที่อุ้มชูเลี้ยงดูพระสังข์มาแต่เล็กจนโต  ให้ความรักเสมอต้นเสมอปลาย  แต่การที่นางไม่ยอมเปิดเผยความจริงให้รู้ว่านางเป็นยักษ์  ทำให้พระสังข์ เกิดความไม่ไว้วางใจ ประกอบกับความต้องการที่จะไปตามหาแม่จริง  ที่จากกันไปถึงสิบปีมีมากกว่า  พระสังข์จึงต้องทิ้งนางไป หากจะกล่าวว่าพระสังข์อกตัญญูต่อนางพันธุรัต   ก็เป็นการกล่าวอย่างไม่ยุติธรรมนัก  เนื่องจากพระองค์หนีนางด้วยความกลัว และถ้าหากจะชั่งน้ำหนักระหว่าง แม่จริง ”  ซึ่งกำลังตกระกำลำบาก  ใช้ชีวิตอย่างสุดลำเค็ญ เสี่ยงต่อการถูกตามฆ่าจากพระสวามีที่ถูกเสน่ห์และเมียน้อยผู้เหี้ยมโหด กับ  “ แม่เลี้ยง ”  ผู้มีอิทธิฤทธิ์  อำนาจ  ข้าราชบริพารพร้อมสรรพแล้ว  ความรู้สึกของพระสังข์ย่อมเอนเอียงไปทางแม่จริงซึ่งอยู่ในฐานะด้อยกว่าอย่างแน่นอน 
          ๓. 
ความฉลาดรอบคอบ  พระสังข์เป็นคนที่ฉลาด  เอาตัวรอด บางครั้งก็ใช้ความลาดนี้มาทดสอบลองใจคนอื่น  ดังที่ผู้นิพนธ์บทละครมักเรียกว่า เจ้าเงาะแสนกล ”  พระองค์แกล้งสวมรูปเงาะทำเป็นบ้าใบ้  จึงได้รู้ซึ้งถึงจิตใจ ของคนรอบข้างว่าคิดกับพระองค์อย่างไร  พระสังข์ย่อมรู้ดีว่าท้าวสามนต์ เกลียดและรังเกียจเจ้าเงาะ  จึงกลั่นแกล้งให้ไปหาปลาหาเนื้อ  แม้หามาได้แล้วก็ไม่ยอมรับ  กลับพยายามหาทางแกล้งต่อไป เพื่อเอาผิดและประหารเจ้าเงาะให้ได้ ขณะเดียวกันก็ลำเอียงเข้าหาหกเขยซึ่งมีรูปงามและมีพวกมาก  พระองค์จึงสั่งสอนหกเขยด้วยการตัดจมูกตัดใบหูหกเขยเพื่อ  “ ประจาน ”  ในฐานะที่ชอบโอ้อวดตัวและเยาะเย้ยคนอื่น ผลที่ได้ก็คือ  หกเขยเปลี่ยนนิสัยไปเป็นทางตรงกันข้าม ไม่หาเรื่องดูถูกดูหมิ่นคนที่ด้อยกว่า  ผลนี้กระทบไปถึงหกนางผู้มักเหยียบย่ำนางรจนาด้วย  การสั่งสอนนี้อาจจะก้าวร้าวรุนแรงไปบ้างในสายตาของคนทั่วไป  แต่ถ้าหากพิจารณาให้ดีแล้ว  หกเขยผู้ทะนงหลงตัวเองว่ารูปงาม  มียศศักดิ์  เมื่อถูกทำลาย ”  รูปงามนั้นเสียแล้ว  ก็คงหมดหนทางที่จะคงความหยิ่งยโสอีกต่อไป 
ตัวเอกฝ่ายหญิงคือนางรจนานั้นเป็นนางแก้วคู่บารมีของพระเอก มีบทบาทในทางส่งเสริมพระเอก
ตัวโกง
 
          ตัวโกง คือตัวละครฝ่ายตรงข้ามกับตัวเอก  มักมีบทบาทร้ายเพียงด้านเดียว  ไม่มีคุณธรรม  ไม่ปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม  บทบาทของตัวโกงจะเป็นไปในทำนองเดียวกัน  คือทำให้คู่รักหรือสามีภรรยาต้องพลัดพรากจากกัน หรือมีพฤติการณ์ไม่ดี  คอยอิจฉาริษยาต