สรุป เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ม. 5

        ในยุคโลกาภิวัตน์ประเทศต่าง ๆ ต้องประสานประโยชน์และพึ่งพากันอย่างเป็นระบบ จึงต้องรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และปัจจุบันเป็นโลกไร้พรมแดนมีการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต มีเครือข่ายโยงถึงกันได้สะดวกรวดเร็ว ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยและโลก แต่ทุกประเทศมีปัญหาเศรษฐกิจแตกต่างกัน ประเทศไทยก็มีปัญหาเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา 

        1.การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) หมายถึง การรวมตัวของประเทศต่างๆ เพื่อ ร่วมมือกันในการเสริมสร้างและรักษาผลประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจที่เน้นด้านการค้าโดยการพยายามหาวิธีการหาลู่ทางขยายการค้าระหว่างกัน มีการกำหนดปริมาณนำเข้า เป็นต้น

     ความจำเป็นในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

            หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ความเสียหายจากสงครามทำให้ประเทศต่างๆ อยู่ในภาวะความอดอยาก ประเทศเหล่านั้นจึงพยายามร่วมมือฟื้นฟูเศรษฐกิจของโลก ทำให้เศรษฐกิจและการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศขยายตัวมากขึ้น แต่เนื่องจากประเทศด้อยพัฒนามีทรัพยากรจำกัดและศักยภาพในการผลิตต่ำ และแต่ละประเทศก็พยายามตั้งกำแพงภาษี กำหนดโควตาสำหรับสินค้านำเข้าหรือใช้นโยบายคุ้มครองสินค้าที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ ซึ่งเป็นการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ได้ยึดหลักการค้าเสรี จึงทำให้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการค้าระหว่างประเทศลดน้อยลง

จากความไม่เป็นธรรมในด้านการค้าระหว่างประเทศซึ่งมีการได้เปรียบและเสียเปรียบกันประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ที่ผลิตสินค้าคล้ายคลึงกัน และประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจร่วมกัน ได้มีการรวมกลุ่มกันและขยายการรวมกลุ่มเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านเศรษฐกิจสำคัญโดยมีหลักการและเป้าหมายของการรวมกลุ่ม ดังนี้

      1. การแก้ไขระบบภาษีศุลกากร เพื่อปรับปรุงระบบภาษีศุลกากรของประเทศสมาชิกให้เหมือนกันและเพื่อเลือกปฏิบัติกับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก

      2. การจัดตั้งเขตการค้าเสรี เพื่อยกเลิกข้อจำกัดทางการค้าในด้านปริมาณสินค้านำเข้าและการตั้งกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิก

      3. การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตอย่างเสรี เพื่อให้ปัจจัยการผลิตของบรรดาประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี เช่น แรงงานของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ สามารถไปหางานทำในประเทศสมาชิกได้ทุกประเทศ เป็นต้น

      4. การกำหนดนโยบายร่วมกันเพื่อให้มีการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจในด้านการค้า การเงินและการคลัง การขนส่ง อุตสาหกรรมการเกษตร ตลอดจนนโยบายทางเศรษฐกิจในด้านการเมืองและสังคมเพื่อให้สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยให้ประเทศสมาชิกเลือกทำการผลิตสินค้าที่ถนัดที่สุดและทำความตกลงจะไม่ผลิตสินค้าแข่งขันกัน

         2.องค์การระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

        องค์การระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะนำมากล่าวในที่นี้จะเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคที่ไทยมีความสัมพันธ์ด้วยที่สำคัญ ได้แก่

      2.1องค์การการค้าโลก ( The World Trade Organization : WTO)จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 อันเป็นผลมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยภายใต้  ความตกลงทั่วไปว่าด้วยศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) ภายหลังที่นานาประเทศได้พยายามมากว่า 40 ปี เพื่อก่อสร้างองค์กรขึ้นมาดูแลเกี่ยวกับการค้าโลกในนามองค์การการค้าโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ดูแลการค้าโลกให้เป็นไปโดยเสรีและเป็นธรรม จัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อตกลงทางการค้า การต่อรองทางการค้าทบทวนนโยบายทางการค้าของประเทศ ยุติปัญหาข้อขัดแย้ง และช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในด้านนโยบายการค้า โดยสรุปแล้วบทบาทที่เด่นชัดที่สุดของการค้าโลก คือ การแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าเพื่อให้เสรีทางการค้ามากขึ้น

ประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 59 ถือว่าเป็นประเทศที่ร่วมในการก่อตั้งองค์การการค้าโลก การเป็นสมาชิกองค์การค้าโลกทำให้ประเทศไทยมีพันธะต้องปฏิบัติตามกฏและระเบียบขององค์การการค้าโลก ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายระหว่างประเทศในรูปแบบความตกลงพหุภาคี กฎและระเบียบดังกล่าวนี้มีผลเหนือกฏหมายภายในของประเทศสมาชิก ซึ่งสมาชิกแต่ละประเทศมีหน้าที่ที่จะไปแก้กฏหมายภายในให้สอดคล้องกัน

       2.2สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน (Association of Southeast Asia Nations : ASEAN)ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีสมาชิก เริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกเพิ่มเติม อีก 5 ประเทศ คือ บรูไน (พ.ศ. 2527) เวียดนาม (พ.ศ. 2528) ลาว พม่า (พ.ศ. 2540) และกัมพูชา (พ.ศ. 2542)

เมื่อ พ.ศ. 2534 ได้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการค้าในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ ทำให้อาเซียนเริ่มตระหนักว่าความร่วมมือดังกล่าวจะส่งผลทำให้การค้าและการลงทุนในภูมิภาคเกิดการขยายตัวและเกิดมาตรการการกีดกันทางค้าจากประเทศนอกกลุ่ม ดังนั้นเมื่อกลางปี พ.ศ. 2534 อาเซียนจึงได้เริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา ( SEAN Free Area : AFTA) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมาสู่ภูมิภาคนี้ โดยสามารถดำเนินการได้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 ในการลดอัตราภาษีศุลการกร สินค้านำเข้าให้เหลือ 0-

5 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลา 15 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 สิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ต่อมาได้มีมติให้ลดยะยะเวลาดำเนินการจาก 15 ปี โดยเหลือ 10 ปี และให้นำสินค้าเกษตรไม่แปรรูปเข้ามาลดภาษี รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งเคยได้รับการยกเว้นการลดภาษีชั่วคราวเข้ามาร่วมลดภาษีนี้ด้วย

      3.กลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

      3. 1ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย - แปซิฟิก (Asia Pacific Economic Corporation : APEC) เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก จัดตั้งขี้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 เพื่อตอบสนองการเพิ่มขึ้นของภาวะการพึงพาทางเศรษฐกิจ (Enterdependence) ที่มุ่งเน้นความเจริญเติบโต และการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาคและโลกกลุ่มเอเปกมีลักษณะการเป็นภูมิภาคเปิด (Open Bigionalism) ซึ่งแตกต่างไปจากความร่วมมือของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเดียวกันและยังส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่ายด้วยพร้อมกัน

      3.2 สหภาพยุโรป (European Union : EU)พัฒนามาจากประชาคมยุโรปที่จัดตั้งขึ้นเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปให้ดีขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของประเทศสมาชิก โดยเป็นกลุ่มที่รวมองค์การทางเศรษฐกิจ 3 องค์การเข้าด้วยกันคือ ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปหรือตลาดร่วมยุโรป (EEC) ประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป (EAEC) และประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป (ECSE) ซึ่งปัจจุบันสหภาพยุโรปมีสมาชิกรวม 25 ประเทศ คือ เยอรมัน ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก อิตาลี สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ กรีซ สเปน โปรตุเกส สวีเดน ออสเตรีย ฟินแลนด์ ฮังการี เอสโตเนีย ไซปรัส เช็ก ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย สโลวัก ซึ่งการรับสมาชิกใหม่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 อีก 10 ประเทศ นับเป็นการขยายสมาชิกภาพครั้งใหญ่ที่สุด จึงต้องยกเลิกมาตรการระเบียบและกฎหมายที่ใช้อยู่เดิม แล้วมาใช้มาตราการและระเบียบกฎหมายของสหภาพยุโรป ซึ่งทั้ง 10 ประเทศที่เป็นสมาชิกใหม่นี้จะยังไม่ได้รับสิทธิเทียบเท่าสมาชิกเดิม เช่น เรื่องการอพยพย้ายถิ่นของประชาชน 10 ประเทศนี้จะทำได้ต่อเมื่อประเทศเหล่านี้จะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปผ่านไปแล้ว 7 ปี

      4.ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

        ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศในเรื่องการค้า เศรษฐกิจและการ ดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจจะมีผลต่อรายได้ประชาชาติโดยตรง หน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ต่างมีส่วนกำหนดให้ระบบเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาโดยการพึ่งพาต่างประเทศกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ การค้าระหว่างประเทศ การชำระเงินระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

        การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง

    สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ

        1. ปริมาณและชนิดของปัจจัยการผลิต การค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ มีปัจจัยหรือทรัพยากรการผลิตในปริมาณไม่เท่ากัน หรือไม่ เหมือนกัน ปัจจัยการผลิตใด ถ้ามีมากจะมีผลทำให้ราคาปัจจัยนั้นต่ำและจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้า ต่ำลงไปด้วย

        2. ความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต ปัจจัยการผลิตมิได้มีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด เช่น ประเทศที่มีแรงงานมาก มิได้หมายความว่า จะต้องสามารถผลิตและส่งออกสินค้าทุกชนิดที่เน้นแรงงาน สินค้าบางชนิดต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ หรือความชำนาญเป็นพิเศษ

        3. ปริมาณการผลิต การผลิตในปริมาณมาก จะมีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง แต่การผลิตในปริมาณมาก ๆ นั้น จะต้องมีตลาดรองรับผลผลิต ตลาดภายในประเทศ อาจจะมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตทั้งหมดได้ จึงต้องมีตลาดต่างประเทศไว้รองรับผลผลิตส่วนเกิน

        4. ต้นทุนการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบ และค่าขนส่งสินค้าสำเร็จรูปเป็นต้นทุนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสินค้า ดังนั้นความแตกต่างในต้นทุนการขนส่งจะก่อให้เกิดความแตกต่างในราคาสินค้าเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการค้าระหว่างประเทศ

       การลงทุนระหว่างประเทศ หมายถึง การที่รัฐบาลหรือเอกชนของประเทศหนึ่งนำเงินไปลงทุนดำเนินธุรกิจ เพื่อแสวงผลกำไรในอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

            1. การลงทุนโดยตรง ( Direct Investment ) ในปัจจุบันการลงทุนโดยตรงส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของการดำเนินงานโดยวิสาหกิจ และมีสถาบันการเงินของเอกชนเป็นผู้จัดหาเงินทุนสำหรับโครงการต่าง ๆ ให้

            2. การลงทุนโดยอ้อม ( Indirect Investment ) เป็นการลงทุนที่ผู้ลงทุนต่างชาติไม่ได้เข้ามามีส่วนดำเนินกิจการโดยตรง ได้แก่ การลงทุนในรูปเงินกู้ ( Loan ) , การลงทุนแบบรับสินเชื่อจากผู้ขายและอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากเป็นการลงทุนโดยการซื้อหลักทรัพย์หรือพันธบัตรของต่างประเทศ 

      การโยกย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ

      1. เพื่อปรับดุลการชำระเงินให้สมดุล

      2. เพื่อชำระหนี้สินต่างประเทศซึ่งจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

      3. แบบโดยตรงเพื่อหวังผลกำไรที่เกิดจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศ ต้นทุนการผลิต ภาวะการตลาด และนโยบายของรัฐบาลที่รับการลงทุน

         6.ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ (Intemation : Balance of Payment) หมายถึง บัญชีบันทึกยอดรับ รายจ่ายทางด้านการค้าและการลงทุนทั้งสิ้น ที่ประเทศได้จ่ายให้หรือรายรับจากต่างประเทศในระยะเวลา 1 ปี

       บัญชีดุลการค้าชำระเงินเป็นการเก็บรวบรวมสถิติการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศโดยจัดแบ่งเป็น การแลกเปลี่ยนสำหรับสินค้าที่ประเทศเราต้องการ เรียกว่า เดบิต (Debits)

การแลกเปลี่ยนสำหรับสินค้าและบริการที่จัดส่งให้กับคนในต่างประเทศสำหรับสิ่งที่เขาต้องการ เรียกว่า เครดิต (Credit) ดุลการค้าชำระเงินแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

         1. ดุลการชำระเงินเกินดุล หมายถึง ยอดรายรับรวมของประเทศมากกว่ารายจ่ายรวมจากการค้าขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ เช่น มูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า เป็นต้น

         2. ดุลการชำระเงินขาดดุล หมายถึง ยอดรายรับรวมของประเทศน้อยกว่ารายจ่ายรวมจากการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศ เช่น มูลค่าการนำเข้าสินค้ามากกว่ามูลค่าการส่งออก เป็นต้น

          3. ดุลการชำระเงินสมดุล หมายถึง ภาวะที่ประเทศมีรายรับรวมเท่ากับรายจ่ายรวมจากการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศ

       ดุลการชำระเงิน ประกอบด้วยบัญชีสำคัญ 3บัญชี คือ

       1. บัญชีเดินสะพัด (Current Account) ประกอบด้วย

- ดุลการค้า หมายถึง บัญชีที่แสดงการเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าของสินค้านำเข้า เช่นถ้า มูลค่าการส่งออกสินค้ามากกว่ามูลค่าการนำเข้า หมายความว่า ประเทศนั้นจะมีรายรับจากการส่งออกสินค้ามากกว่ารายจ่ายในการสั่งสินค้าเข้า เรียกว่า ดุลการค้าเกินดุล แต่ในกรณีที่มูลค่าการส่งออกสินค้าน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้า นั้นคือ ประเทศนั้นมีรายรับจากการส่งออกสินค้าน้อยกว่ารายจ่ายในการสั่งสินค้าเข้า เราเรียกว่า ดุลการค้าขาดดุล แต่ถ้าหากว่าผลต่างทั้งสองมีค่าเป็นศูนย์ เราก็จะเรียกว่า ดุลการค้าสมดุล

- ดุลการบริการ หมายถึงบัญชีที่แสดงถึงการค้าระหว่างประเทศในด้านบริการ เช่น ค่าระวางประกันภัย ค่าขนส่ง รายได้จากการท่องเที่ยว รายได้จากการลงทุน รายได้จากแรงงานและบริการอื่น ๆ

- รายได้ เป็นผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน และประกอบกิจการในต่างประเทศ เช่น ดอกเบี้ย เงินเดือน เงินปันผล เป็นต้น

       2. บัญชีทุนเคลื่อนย้าย (Capital Movement Account) การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ 2 แบบ คือ

 2.การลงทุนโดยตรง เช่นญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ใน

2.2 การลงทุนโดยทางอ้อม เช่น การนำเงินไปซื้อหุ้นหรือฝากธนาคาร พาณิชย์ ผลตอบแทนที่ได้ คือ เงินปันผลหรือดอกเบี้ย

3. บัญชีเงินบริจาคหรือเงินโอน (Transfer Payment) เป็นบัญชีที่บันทึกรายการเกี่ยวกับเงินบริจาค เงินช่วยเหลือ และเงินโอนต่าง ๆ ที่ได้รับหรือที่ประเทศโอนไปให้ต่างประเทศ

       7.การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

        อัตราแลกเปลี่ยนเงิน (Exchange rate) คือค่าของเงินสกุลหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับค่าของเงินสกุลอื่นๆ โดยเปรียบเทียบกับเงินสกุลเดียวหรือหลายสกุลก็ได้ ตัวอย่างเช่น อัตราแลกเปลี่ยน 33 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หมายความว่า เงิน 1 ดอลลาร์ สามารถแลกเป็นเงินไทยได้ 33 บาท

การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศแต่เดิม ประเทศไทยมีระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่แบบตะกร้าเงิน (Basket of Currencies) อัตราแลกเปลี่ยนเงินอยู่ประมาณ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

หลังจากนั้นประเทศไทยได้ประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 (วิกฤตต้มยำกุ้ง) ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ประกาศ ปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัวกำหนดโดยกลไกตลาด (Managed Float) ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงไปเป็น 30 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ และ อ่อนตัวลงเรื่อยๆ จนแตะ 57 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐในปีถัดมา หลังจากนั้นค่าเงินจึงค่อยๆปรับแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

จากกราฟ เห็นได้ว่าในปี 1996-กลางปี1997 นั้นไทยยังคงใช้ระบบแลกเปลี่ยนคงที่แบบตะกร้าเงินอยู่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินอยู่ที่ประมาณ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

กลางปี 1997( พ.ศ.2540) อัตราแลกเปลี่ยนได้สูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก มีนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ทำให้คนไทยไปกู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุน

ทำให้เกิดหนี้สินเป็นจำนวนมาก และมีการเก็งกำไรค่าเงินบาทจากต่างชาติ จนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้ามาปกป้องค่าเงินบาท จนทุนสำรองระหว่างประเทศหมด

และต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาทตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

กลางปี 1998(พ.ศ.2541) เศรษฐกิจประเทศไทยเริ่มฟื้นตัว ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนตกลงมาอยู่ที่ประมาณ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ตั้งแต่ปี1999 อัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นไปตามกลไกตลาด มีการแซกแซงจากธนาคารแห่งประเทศไทยบ้าง ให้เงินบาออ่อนตัวเพื่อธุรกิจการส่งออกและท่องเที่ยว

หลังจากปี2006 ค่าเงินดอลลาร์เริ่มตก ประกอบกับค่าเงินหยวนของจีนที่แข็งค่าขึ้น ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

       8.ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย Click for full-size image

 สรุปการค้าระหว่างประเทศของไทย

เดือนมีนาคม และในช่วงมกราคม – มีนาคม 2554

1.1 เดือนมีนาคม 2554 ส่งออกมูลค่า 646,280.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 20.8 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาร้อยละ 12.8 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 21,259.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 30.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ร้อยละ 12.7

1.2 ในช่วงมกราคม – มีนาคม ปี 2554 ส่งออกมูลค่า 1,720,375.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 18.0 และเมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ส่งออกมูลค่า 56,874.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3

2.1 เดือนมีนาคม 2554 นำเข้ามูลค่า 599,372.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 18.6 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาร้อยละ 14.0 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ นำเข้ามูลค่า 19,472.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 28.4 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาร้อยละ 13.9

2.2 ในช่วงมกราคม – มีนาคม ปี 2554 นำเข้ามูลค่า 1,658,615.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 17.8 และเมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ นำเข้ามูลค่า 54,177.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0

3.1 เดือนมีนาคม 2554 ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 46,907.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 58.2 และเมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 1,786.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 54.7

3.2 ในช่วงมกราคม – มีนาคม ปี 2554 ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 61,760.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 23.4 และเมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 2,697.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 34.