การแต่งกายสมัยสุโขทัยชายหญิง

สมัยสุโขทัย

   ที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยเจริญขึ้นไปบนดินแดนของ อาณาจักรลพบุรี ลักษณะ การแต่งกายของ ชายหญิง สมัยนี้ จึงปฏิรูปมาจากลพบุรี เป็นส่วนใหญ่ การแต่งกาย ของชาวสุโขทัยในชุดนี้ ดำเนินเรื่อง ตามจารึกหลักที่หนึ่งที่กล่าวว่า

“1214 ศก.ปีมะโรงพ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยนี้ เมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้า จึงให้ช่างฟันขะดาร หินตั้งหว่างกลาง ไม้ตาลนี้ วันเดือนดับ เดือนออกแปดวัน ฝูงปู่ครูเถรมหาเถรขึ้นนั่ง เหนือขะดารนี้สวดธรรมแก่อุบาสกฝูง ท่วยจำศีลมิใช่วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่ง เหนือขะดารหิน ให้ฝูงทวยลูกเจ้า ลูกขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมืองกัน วันเดือนดับ เดือนเต็ม ท่านแต่งช้างเผือก กระพัดลยาง เทียรย่อม ทองงานซ้ายขวา ชื่อ รูจาศรี พ่อขุนรามคำแหง ขึ้นขี่ ไปนบพระอรัญญิกแล้วเข้ามา”

การแต่งกายสมัยสุโขทัยชายหญิง

   การแต่งกายสตรีส่วนมากนิยมนุ่งผ้ายาวครึ่งแข้ง รัดกลีบซับซ้อนมากชั้นมีเข็มขัด ขนาดใหญ่คาดทับ ประดับ ด้วย ลวดลายละเอียดมาก ทิ้งชายผ้าเป็นกาบ ขนาดใหญ่ ตรงด้านหน้าหรือยักเยื้องไปทางด้านข้าง บุคคลธรรมดาทั้ง ชายและหญิง มักนิยม นุ่งผ้าโจงกระเบน หวีผมแสกยาวประบ่ามีผ้ารัดต้นคอ ผู้หญิงธรรมดามีผ้าแถบคาดอก ใส่กำไลข้อมือรัดแขน และกำไลข้อเท้ากรองคอทำเป็นสายหยักโดยรอบ

สมัยอยุธยา

    อยุธยาเป็นราชธานีที่ยาวที่สุดของไทยถึง 417 ปี ระยะเริ่มแรก ของกรุงศรีอยุธยา อยู่ในปลายพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นดินแดนที่เคยรับอารยธรรม อันเจริญรุ่งเรือง ล่วงมาแล้ว หลายยุคด้วยกัน ความปะปน ในด้านอารยธรรมต่างๆ ย่อมปรากฏอยู่ เป็นอันมาก แต่ในขณะ ที่กรุงศรีอยุธยาได้เจริญนั้นชั้นแรกทีเดียว ต้องมีอารยธรรมลพบุรี สอดแทรกอยู่เป็น ส่วนใหญ่ แล้วต่อมา ก็ได้รับอารยธรรม ของไทยฝ่ายเหนืออีก คือ อารยธรรมของ ชาวสุโขทัย ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 21 ลงมากล่าวคือ สตรีไทยไว้ผมยาว เกล้ามวย บนศรีษะ สวมเสื้อบาง ผ่าอก คอรูปสามเหลี่ยม แขนสั้นขลิบขอบ สาบเสื้อ ชายเสื้อปรกเอวย้วย รัดกับสะโพก สวมกำไลแขนเป็นปลอก นุ่งผ้าโจงกระเบนยาวครึ่งแข้ง

    ส่วนชาวบ้านไว้ผมยาวประบ่า หวีแสกกลาง ไม่สวมเสื้อ ห่อผ้าสไบเฉียง ปิดอก นุ่งผ้าเชิง ใต้สะดือยาวครึ่งแข้ง จีบหน้านาง ชักชายพกยาวตกลงมาตรงกลาง

การแต่งกายสมัยสุโขทัยชายหญิง
การแต่งกายสมัยสุโขทัยชายหญิง
การแต่งกายสมัยสุโขทัยชายหญิง
การแต่งกายสมัยสุโขทัยชายหญิง

   แบบผมบางแบบ เกล้าขึ้นไปแล้วคาดกลาง ปล่อยให้ปลายบานออก หรือไว้ผมหวี แสกกลาง ไปรวมกัน เป็นพุ่มทรง ด้านหลังใส่สร้อยสังวาล แต่มีผ้าคล้ง อกไหล่ปิดออก ทั้งสองข้าง นุ่งผ้าเชิงยาวครึ่งแข้ง จีบหน้าชักชายพกยาวลงมา ตรงกลางช่วงขา การดำเนินชีวิตไว้ผมยาว เกล้ามวย ไม่สวมเสื้อแต่ห่มผ้าแบบ ตะเบงมานแทน โดยนุ่ง ผ้าโจงกระเบน เพื่อสะดวกแก่การทำงาน บางครั้งก็หยักรั่ง เหนือเข่า แต่มีบางพวก นุ่งผ้าเชิงยาวครึ่งแข้ง จีบหน้านางและไว้ผผมยาว ประบ่า ตอนบนหวีแสกกลาง เป็นรูปปีกนก ( ผมปีก ) ห่มผ้าสะไบเฉียง นุ่งผ้าเชิงจีบ หน้านางยาวครึ่งแข้ง

( หน้าต่อไป )

บทความต่อเนื่อง เรื่อง การแต่งกายของไทย

  • สมัยไทยมุง

  • สมัยอ้ายลาว

  • สมัยน่านเจ้า

  • สมัยทวารวดี

  • สมัยลพบุรีและสมัย เชียงแสน

  • สมัยสุโขทัย

  • สมัยกรุงธนบุรี

  • สมัยรัชกาลที่ 4–5

  • สมัยรัชกาลที่ 6

  • สมัยรัชกาลที่ 7

  • การแต่งกายสมัยรัฐนิยมและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. ( 2480-2500 )

  • การสวมหมวกของสตรีไทย

อ้างอิง : หนังสือพัสตราภรณ์ไทย ถวายไท้ ราชินี

( หน้าต่อไป )

เรื่องของการแต่งกายของคนไทยในสมัยโบราณ ไม่มีจดหมายเหตุบันทึกไว้เป็นหลักฐาน การเขียนประวัติการแต่งกายตั้งแต่สมัยสุโขทัยลงมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงขาดหลักฐานที่ชัดเจน ได้แต่สันนิษฐานจากโบราณวัตถุที่ทำเป็นรูปเทวดาและมนุษย์ในสมัยนั้นๆ แล้วคาดว่า การแต่งกายของคนไทยในสมัยดังกล่าวคงจะเป็นเช่นนั้น

หนังสือสมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามสมัยประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ของกรมศิลปากร ได้สรุปลักษณะการแต่งกายของชาวสุโขทัยไว้ดังต่อไปนี้

"การแต่งกายสตรี ส่วนมากนิยมนุ่งผ้ายาวครึ่งแข้ง รัดกลีบซับซ้อนมากชั้น มีเข็มขัดขนาดใหญ่คาดทับ ประดับด้วยลวดลายละเอียดมาก ทั้งชายผ้าเป็นกาบขนาดใหญ่ ตรงด้านหน้าหรือยักเยื้องไปทางด้านข้าง บุคคลธรรมดาทั้งชายและหญิงมักนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบน หวีผมแสกยาวประบ่า มีผ้ารัดต้นคอ ผู้หญิงธรรมดามีผ้าแถบคาดอก ใส่กำไลข้อมือ รัดแขน และกำไรข้อเท้า กรองคอทำเป็นลายหยักโดยรอบ

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย การนุ่งผ้าเท่าที่ปรากฏหลักฐานในตุ๊กตาสังคโลก และภาพลายเส้นบนแผ่นศิลาวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย มักนิยมมีชายพกด้านหน้า ยาวใหญ่ออกมามาก ทรงผมผู้ชายเกล้าสูงเป็นมวยอยู่เหนือศีรษะ มีเครื่องประดับต่างๆ"ไม่มีผู้ใดได้บันทึกเอกสารที่กล่าวถึงการแต่งกายสมัยสุโขทัยไว้ จึงจำต้องสันนิษฐานจากรูปปั้น รูปจารึกเท่าที่มีอยู่ ซึ่งอาจไม่ตรงตามความจริงทั้งหมดก็ได้ ส่วนในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีเอกสารทั้งของไทย และของต่างประเทศบันทึกไว้หลายแห่ง และมีจิตรกรรมเขียนไว้มาก ทำให้หลักฐานเรื่องการแต่งกายสมัยอยุธยาค่อนข้างจะสมบูรณ์

ตามจดหมายเหตุของเชวาลิเอร์ เดอ ฟอร์บัง กล่าวถึงขุนนางไทยว่า "นุ่งผ้าพื้นคลุมตั้งแต่สะเอวลงไปครึ่งน่อง ใส่เสื้อมัสลินแขนสั้น"ในจดหมายเหตุของโยส เซาเต็น พ่อค้า ชาวฮอลันดาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม และพระเจ้าประสาททอง กล่าวถึงการแต่งกายละเอียดกว่าของเชวาลิเอร์ เดอ ฟอร์บัง คือกล่าวว่า "ทั้งหญิงชายแต่งตัวด้วยผ้าผ่อนน้อยชิ้น เพราะประเทศนี้ เป็นประเทศร้อน เขาชอบผ้าสีต่างๆ นุ่งสำหรับส่วนล่างของร่างกาย ส่วนบนนั้นชายใส่เสื้อชั้นใน แขนครึ่งท่อน ส่วนหญิงนั้นมีผ้าบางๆ พาดไหล่ หรือปิดหน้าอก บนศีรษะมักจะมีปิ่นทองปักผมไว้ และสวมแหวนทองที่นิ้วมือ การแต่งกายเช่นนี้ แต่งด้วยกันทั้งคนจนคนมี จึงยากที่จะดูว่า ใครรวย ใครจน นอกจากจะรู้ราคาชนิดผ้าที่นุ่งห่มนั้น"ในบรรดาชาวต่างประเทศที่เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกถึงเรื่องการแต่งกายของคนไทยไว้มากกว่าคนอื่นๆ ดังปรากฏในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ ต่อไปนี้

"ลางครั้งที่ไม่ใช้ผ้าลายเขียนนุ่ง ก็ใช้ชิ้นผ้าไหมเกลี้ยงๆ บ้าง หรือทอที่ริมเป็นลายทองลายเงินบ้าง

ฝ่ายพวกอำมาตย์ หรือขุนนางนั้น นอกจากนุ่งผ้าแล้ว ยังสวมเสื้อครุยผ้ามัสลินอีกตัวหนึ่ง ใช้เหมือนเสื้อชั้นนอก หรือเสื้อคลุม (ถึงเข่า) เขาจะเปลื้องมันออก แล้วม้วนพันเข้าไว้กับบั้นเอว เมื่อเข้าไปหาขุนนางผู้ใหญ่ที่มียศถาบรรดาศักดิ์สูงกว่าตน เป็นการแสดงว่า เขาเตรียมพร้อมอยู่เสมอ ที่ท่านผู้ใหญ่จะบัญชาให้ไปไหนมาไหนได้ดังใจ เดี๋ยวนั้น...เสื้อครุยนี้ไม่มีคอเสื้อตั้งขึ้นไป และแหวกเปิดทางด้านหน้า โดยผู้แต่งมิได้สนใจที่จะกระชับชายให้ปรกกัน เพื่อปิดหน้าท้องของตน แต่ประการใด แขนเสื้อนั้นยาวทอดลงมาเกือบถึง ข้อมือ กว้างรอบ ๒ ฟุตโดยรอบ ไม่เห็นถกแขนเสื้อตอนต้นแขน หรือปลายแขนอย่างใด อนึ่ง ตัวเสื้อครุยนั้นยังแคบมาก กระทั่งไม่สามารถผ่านลง และคลุมผ้านุ่งให้มิดชิดได้ คงเป็นรอยกลีบซ้อนกันพับอยู่กับบั้นเอวฉะนั้น"

ผ้าคลุมกันหนาว

"ในฤดูหนาว ลางทีชาวสยามก็ใช้ผ้าตามความกว้าง หรือผ้าลินินมีดอกดวงคลุมไหล่ เป็นทำนองเสื้อคลุม หรือผ้าคลุมไหล่ โดยพันชายผ้าเข้าไว้กับลำแขนอย่างค่อนข้างโก้พอใช้"

ฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

"พระเจ้ากรุงสยามทรงใช้ฉลองพระองค์ที่ตัดเย็บด้วยผ้าเยียรบับอย่างงาม แขนฉลองพระองค์นั้นแคบมาก ปรกลงมาถึงข้อพระหัตถ์ ทำนองเดียวกับเสื้อที่เราใช้สวมกันหนาวใต้เสื้อคลุมฉะนั้น พระองค์ทรงฉลองพระองค์นั้นไว้ภายใต้ฉลองพระองค์ครุย ดังที่ข้าพเจ้าได้พรรณนามาแล้ว เป็นฉลองพระองค์ที่ได้รับการปักอย่างวิจิตร ต่างแบบลวดลายกันกับในทวีปยุโรป ชาวสยามคนใดจะใช้เสื้อชนิดนี้มิได้เลย นอกจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ และพระองค์จะทรงพระราชทานบำเหน็จชนิดนี้ให้ ก็เฉพาะแต่ขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์สูงเท่านั้น"

เสื้อยศทหาร

"อนึ่ง ลางทีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็โปรดพระราชทานเสื้อชั้นนอก หรือเสื้ออีกชนิดหนึ่ง สีแดงสด สำหรับใช้ออกงานพระราชสงคราม หรือตามเสด็จพระราชดำเนินประพาสล่าสัตว์เท่านั้น เสื้อชนิดนี้ยาวลงมาถึงหัวเข่า มีดุมขัดทางด้านหน้า ๘ หรือ ๑๐ ลูก แขนเสื้อนั้นกว้างไม่มีปักลวดลายอย่างใด และสั้นมาก จนปรกลงมาไม่ถึงศอก"

เสื้อสำหรับออกศึกและประพาสป่า

ทั้งนี้เป็นธรรมเนียมทั่วไปในกรุงสยาม คือ องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และผู้ที่อยู่ในขบวน โดยเสด็จออกงานพระราชสงคราม หรือประพาสล่าสัตว์ จะต้องแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดสีแดง ในกรณีเช่นนี้ บรรดาเสื้อแสงที่โปรดพระราชทานแก่ข้าทหาร จึงตัดเย็บด้วยผ้ามัสลินย้อมสีแดง และในวันงานพระราชพิธี เช่น วันที่เอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มของสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเข้ามาสู่พระนคร ก็มีการแจกจ่ายเสื้อสีแดงนี้แก่บรรดาชาวสยาม ที่เกณฑ์มาถือศัสตราวุธแห่แหน และนั่งกาลบาตด้วย

ผ้านุ่งที่อนุญาตให้ใช้ได้

"ผ้านุ่งที่มีความงดงามลางชนิด เช่น ผ้า ม่วงไหมยกดอก หรือผ้าม่วงไหมอย่างไม่ยกดอก และเช่นผ้าลายเนื้อดี อนุญาตให้ใช้นุ่งได้แต่เฉพาะบุคคลที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เท่านั้น ส่วนพวกผู้หญิงชั้นสามัญนั้น นิยมนุ่งผ้านุ่งสีดำ และสไบนั้น ก็มักเป็นผ้ามัสลินสีขาวอย่างธรรมดาๆ"

ตามจดหมายเหตุของลาลูแบร์ที่กล่าวมาข้างต้น ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เสื้อผ้าของคนในสมัยอยุธยาค่อนข้างดี แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่า ในสมัยนั้นมีผ้าอะไรใช้กันบ้าง และผ้าอะไรที่เป็นผ้า "ต้องห้าม" ซึ่งบุคคลธรรมดาทั่วๆ ไปจะใช้ไม่ได้

จากจดหมายเหตุต่างๆ เหล่านี้ อาจกล่าวได้ว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีร้านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป และผ้าต่างประเทศ ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง ผ้าเป็นสินค้าต้องห้ามอย่างหนึ่ง เมื่อพ่อค้าบรรทุกผ้าเข้ามาขาย ต้องให้รัฐบาลรับซื้อ เข้าพระคลัง แล้วจำหน่ายไปตามตลาด ฉะนั้น ผ้าจากต่างประเทศจึงมีราคาแพง และหายาก แต่ตามหัวเมืองในชนบท ชาวบ้านทอผ้าใช้เอง การแต่งกายจึงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสมัยเหมือนคนในกรุง ความประณีตสวยงามจึงอยู่ที่ฝีมือการทอผ้าให้มีลวดลายแปลกๆ สีสวยๆ มากกว่ารูปแบบของเสื้อ

ตลาดขายผ้า มีทั้งผ้าพื้นเมือง และผ้าต่างประเทศ ผ้าพื้นเมืองที่ส่งเข้ามาขายในกรุงศรีอยุธยา ตามที่ปรากฏว่า "คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม" กล่าวว่า สินค้ามาจากเมืองนครราชสีมา คือ "ผ้าตาราง ผ้าลายบัวสี่คืบน่าเกบทอง และผ้าตาบัวปอก ตาเลดงา" สินค้าจากเมืองพระตะบองคือ "ผ้าปูมแพรญวน" และในกรุงศรีอยุธยาเอง ก็มีการทอผ้า เช่น "บ้านริมวัดลอดช่อง พวกแขกตานีทอผ้าไหม ผ้าด้ายเป็นผ้าพื้น ผ้าม่วงเกลี้ยงดอกขาย"ในเอกสารฮอลันดา สมัยกรุงศรีอยุธยา (ฉบับกรมศิลปากร) กล่าวว่า ผ้าของเปอร์เซียที่นำมาขายพระเจ้าแผ่นดิน มีผ้าทอง ผ้ากำมะหยี่ ผ้ายกทอง ผ้าแดงเนื้อดี รวมทั้งผ้าระบายสีทุกชนิด แหล่งที่มาของผ้า นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ก็มีที่ "บ้านริมวัดขุนพรม ชาวบ้านย่านนั้น เอาผ้าขาวเทศมาเขียนพิมพ์ ตีพิมพ์เป็นดอก ผ้าลายน้ำจืดขาย" และที่ "ถนนย่านป่าผ้าเขียวหลังคุก มีร้านขายเสื้อเขียว เสื้อขาว เสื้อแดงชมพู เสื้อยี่ปุ่น เสื้อจีบเอว เสื้อฉีกอก เสื้อสวมศีรษะ กังเกงสีต่างๆ" อีกฉบับหนึ่งคือ "ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา" กล่าวว่า "ขายเสื้อเขียว เสื้อขาว เสื้อจีบเอว เสื้อฉีกอก เสื้อกรวมหัว กังเกงเขียว กังเกงขาว" ตามจดหมายเหตุนี้แจ้งให้ทราบว่า มีเสื้ออะไรบ้าง ส่วนกางเกงบอกเฉพาะ ๒ สีเท่านั้น

ในเรื่องรูปแบบของเสื้อผ้า และการแต่งกายของคนไทยสมัยอยุธยา ตามที่กรมศิลปากรตรวจสอบจากจิตรกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา คงสรุปเป็นหลักฐานได้ดังต่อไปนี้

๑. สตรีไว้ผมยาวเกล้ามวยบนศีรษะ สวมเสื้อบางผ่าอก คอรูปสามเหลี่ยม แขนสั้น ขลิบขอบสาบเสื้อ ชายเสื้อปรกเอวย้วยรับกับสะโพก สวมกำไลแขนเป็นปลอก นุ่งผ้าโจงกระเบนยาวครึ่งแข้ง

๒. ส่วนชาวบ้านผมไว้ยาวประบ่าหวีแสกกลาง ไม่สวมเสื้อ ห่มผ้าสไบเฉียงปิดอก นุ่งผ้าเชิงใต้สะดือยาวครึ่งแข้ง จีบหน้านางชักชายพก ยาวตกลงมาตรงกลาง

๓. แบบผมบางแบบเกล้าขึ้นไป แล้วคาดกลาง ปล่อยให้ปลายบานออก หรือไว้ผมหวีแสกกลางไปรวมกันเป็นพุ่มตรงด้านหลัง ใส่สร้อยสังวาล แต่มีผ้าคล้องไหล่ปิดอกทั้งสองข้าง นุ่งผ้าเชิงยาวครึ่งแข้ง จีบหน้าชักชายพกยาวลงมาตรงกลางช่วงขา ไว้ผมยาวเกล้ามวย ไม่สวมเสื้อ แต่ห่มผ้าแบบตะเบ็งมานแทน โดยนุ่งผ้าโจงกระเบน เพื่อสะดวกแก่การทำงาน บางครั้งก็หยักรั้ง เหนือเข่า

๔. มีบางพวกนุ่งผ้าเชิงยาวครึ่งแข้ง จีบหน้านาง และไว้ผมยาวประบ่า ตอนบนหวีแสกกลางเป็นรูปปีกนก (ผมปีก) ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้าเชิงจีบหน้านางยาวครึ่งแข้ง

๕. สำหรับผู้ชาวชาวอยุธยา ไว้ผมสั้นหวีแสกกลางดุจผมรองทรง สวมเสื้อแขนสั้น เป็นเสื้อรัดรูปยาวปรกบั้นเอว ผ่าอก คอสามเหลี่ยม มีลายเกล็ดประดับขอบสาบเสื้อ และขอบแขน สวมกำไรเป็นปลอก นุ่งผ้าโจงกระเบนสั้นเหนือเข่า กับสนับเพลายาวครึ่งแข้ง

๖. ส่วนศิลปินทำทรงผมหวีแสกกลางทรงปีกนก โกนด้านข้างโดยรอบ สวมเสื้อคอกลม แขนสั้นปล่อยชาย พับกางเกงขาวยาวครึ่งแข้งคล้ายสนับเพลา ผ้าคาดพุงปล่อยชาย

๗. ผู้ชายชาวพื้นบ้าน ไว้ผมหวีมีผ้าคาดศีรษะ ปล่อยผมปรกหน้าผาก สวมเสื้อแขนสั้น คอกลม นุ่งผ้าโจงกระเบนหยักรั้งเหนือเข่า ทับชายเสื้อ

 ลักษณะการแต่งกายดังกล่าว เป็นการบรรยายตามภาพจิตรกรรมในสมุดไตรภูมิสมัยอยุธยา ซึ่งมีลักษณะต่างกันอีกหลายรูปแบบ

ดังได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า ในสมัยอยุธยา มีผ้ามากชนิด ผ้าบางอย่างก็สงวนไว้สำหรับขุนนาง อย่างเช่น ผ้าสมปักที่กล่าวมาในตอนต้น นอก จากนี้ยังมีกล่าวไว้ในจดหมายเหตุโหรฉบับพระ ประมวญธนรักษ์ (หอสมุดแห่งชาติ) ตอนหนึ่งว่า

"จุลศักราช ๑๑๕๐ วอกศก ห้ามราษฎร ขุนนาง มิให้ห่มผ้าสีต่างๆ จี้กุดั่น เกี้ยวกำไล เข็มขัดประจำยาม แหวนลงยา กำไลหลังเจียด กำไรเท้าทองลูกประหล่ำลงยา ผ้าปูมเชิงม่วงนุ่งตามฐานาศักดิ์ ขุนหมื่นนุ่งตารางทองแย ตาสมุก ไพร่นุ่งบัวปอกเม็ดงา ดอกส้ม ดอกเทียน ห้ามผ้าลายเป็นขาดทีเดียว"ข้อห้ามการแต่งกายดังกล่าว เป็นระเบียบที่กำหนดขึ้น เมื่อพ.ศ. ๒๓๓๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งห้ามมิให้คนธรรมดาสามัญแต่งตัวเทียมเจ้า ในเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ มีกล่าวถึงเรื่องการแต่งกาย ในตอนท้าวทศวงศ์อภิเษกศรีสุวรรณกับนางเกษราว่า

"ข้าหลวงเหล่าชาววังยังกำดัด     นุ่งสุหรัดซัดแต่ล้วนแพรสี
หนุ่มหนุ่มเหล่าเจ้าชู้ลูกผู้ดี          เห็นสตรีรูปงามตามเป็นพรวน
พวกบัณฑิตศิษย์วัดซัดลายอย่าง   เที่ยวลากหางเดินข้ามตามฉนวน
เขาจับได้ให้แพรแสสีนวล            ออกเดินด่วนเลี้ยวลัดเข้าวัดวา"

การนุ่งผ้าลายอย่างของพวกบัณฑิตศิษย์วัด ผิดข้อห้ามที่กำหนดไว้ ในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา (ซึ่งชำระใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง) มีข้อห้ามเรื่องการแต่งกายไว้ตอนหนึ่งว่า

"อนึ่ง ผู้ใดทัดดอกไม้ และนุ่งผ้าแดง ผ้าชมพูไพรำการะกำหาเชิงมิได้ ห่มผ้านอกเสื้อ ห่มผ้าบ่าเดียว นุ่งผ้าเหน็บหน้า หิ้วชายลอยชาย และเข้าในสนวนประตู สนวนตะพาน สนวนในรั้วไก่ ในกะลาบาต แลหน้าพระธินั่ง ประตูทับเรือก็ดี พระตำหนักก็ดี ฝ่ายผ้าเสื้อไซ้ให้ฉีกเสีย ดอกไม้ไซ้ ให้คลุกฝุ่นโพกหัว ตามโทษหนักโทษเบา" ดังนี้ แสดงว่า การแต่งกายในสมัยโบราณ ต้องรู้จักกาละเทศะ และรู้ระเบียบแบบแผนว่า ควรจะใช้สีอะไร นุ่งผ้าอะไร เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมายบ้านเมือง และประเพณีของราชสำนัก