เศรษฐกิจ พอ เพียง กับการศึกษา

        สำหรับผลข้อ 2. การระเบิดจาก ข้างใน คือ เวลาจะไปพัฒนาท้องถิ่นไหน ต้องทำให้ประชาชนที่นั่นเก่ง ไม่ใช่เอา ความเจริญจากข้างนอกไปพอก ในโรงเรียนก็เช่นกัน สิ่งที่เราจะทำให้เปิดจากภาย ใน คือ ทำให้นักเรียนทุกคนเป็นเทวดาให้ได้ คือทำให้เป็นคนดี คนเก่ง การจะไป พัฒนาโรงเรียน แต่เด็กจน ไม่มีอาหารกลางวันกิน เด็กจะเรียนได้อย่างไร ถามว่า เด็กที่หิวมากๆ จะเรียนรู้ เรื่องหรือ เพราะฉะนั้นถ้าจะพัฒนาโรงเรียนต้องถามก่อน ว่าเด็กสุขภาพเป็นอย่างไร การกิน การอยู่ พอไหม มีความทุกข์หรือเปล่า การจะ พัฒนาอะไรต้องเริ่มต้นจากสิ่งจำเป็นที่สุดของประชาชนเข้ามาก่อน ได้แก่ สุขภาพ สาธารณสุข จากนั้นจึงเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน สิ่งจำเป็นในการประกอบ อาชีพตามมา

หมายถึง สถานศึกษาที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาและจัดการศึกษาในสถานศึกษาในทุกมิติ (Whole School Approach) รวมถึงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้เป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิดหลักปฏิบัติในการทำงานและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดค่านิยมและบ่มเพาะอุปนิสัยและคุณลักษณะ “อยู่อย่างพอเพียง” รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้งทางกายภาพ วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติ

คณะกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภาคการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดยกำหนดเป้าหมายให้มีการพัฒนาและขยายผลให้มี “สถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ไม่ต่ำกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2552 และสถานศึกษาทุกแห่งน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่สถานศึกษาภายในปี พ.ศ. 2554 และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ข้างต้น คณะทำงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภาคการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ร่วมมือกันพัฒนาสื่อเรียนรู้ต่างๆ และวิทยากรขับเคลื่อนขยายผล เพื่อพัฒนาคุณภาพการดำเนินงาน และพัฒนาเครื่องมือประเมิน “สถานศึกษาพอเพียง” สำหรับผู้ประเมินของหน่วยงานต้นสังกัดที่มีสถานศึกษาในการกำกับดูแล เพื่อให้การขับเคลื่อนสถานศึกษาพอเพียงเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ จนสามารถบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนในระยะแรก

โดยมีสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินเป็นสถานพอเพียง 1,261 แห่ง จากทุกสังกัด ในปี พ.ศ. 2552 ต่อมา สพฐ.ได้กำหนดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเพื่อขยายผลสถานศึกษาพอเพียง โดยกำหนดเป้าหมายให้มีสถานศึกษาพอเพียงในสังกัด สพฐ. ไม่น้อยกว่า 9,999 แห่ง ภายในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งก็ได้เกินเป้าหมาย คือ มีสถานศึกษาในสังกัด สพฐ. ผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง 13,837 แห่ง และหน่วยงานอื่นๆ ที่มีสถานศึกษาในสังกัดก็ได้ดำเนินการขยายผลเช่นเดียวกับ สพฐ. อย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปัจจุบันมีสถานศึกษาพอเพียงจากทุกสังกัดทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2559 จำนวน 23,796 แห่ง ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2560)

เศรษฐกิจ พอ เพียง กับการศึกษา

 ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการศึกษานั้น จะต้องมุ่งพัฒนาที่ตัวครูก่อนเป็นอันดับแรก เพราะครูถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ และปลูกฝังสิ่งต่างๆ ให้แก่เด็ก ดังนั้นจึงควรส่งเสริมครูให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ก่อน เพราะเมื่อครูเข้าใจ ครูก็จะได้เป็นแบบอย่างทีดีให้แก่เด็กได้ ครูจะสอนให้เด็กรู้จักพอ ครูจะต้องรู้จักพอก่อน โดยอยู่อย่างพอเพียงและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีสติในการเลือกรับข้อมูลต่างๆ ที่เข้ามา รู้จักเลือกรับและรู้จักต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ หมั่นศึกษา เพิ่มพูนความรู้ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ก้าวกระโดด ในการเลือกรับข้อมูลนั้น ต้องรู้จักพิจารณารับอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รู้จักแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ประเมินความรู้และสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา   จะได้รู้จัก และเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพ และผลจากการเปลี่ยนแปลงในมติต่างๆได้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง
               เป้าหมายสำคัญของการขับเคลื่อน คือ การทำให้เด็กรู้จักความพอเพียง ปลูกฝัง อบรม บ่มเพาะให้เด็กมีความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยสอดแทรกแนวคิดปรัชญาของเศรษฐ กิจพอเพียงให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร สาระเรียนรู้ต่างๆเพื่อสอนให้เด็กรู้จักการใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่างๆ รู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมค่านิยม ความเป็นไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รู้ว่าตนเองเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของโลก การกระทำของตนย่อมมีผลและเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมในโลกที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น สำคัญคือครูจะต้องรู้จักบูรณาการการเรียนการสอนให้เด็กและเยาวชนเห็นถึงความเชื่อมโยงในมิติต่างๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งความเป็นองค์รวมนี้จะเกิดขึ้นได้ ครูต้องโดยใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อน
               นอกจากนี้ ในการส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาฯไปใช้ในสถานศึกษาต่างๆ นั้น อาจจะใช้วิธี “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ตามหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า สำคัญที่สุดครูต้องเข้าใจเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อน โดยเข้าใจว่าแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวคิดที่สามารถเริ่ม ต้น และปลูกฝังได้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน เช่น กิจกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนการกำจัดขยะในโรงเรียนการสำรวจทรัพยากรของชุมชนฯลฯ
               ก่อนอื่น ครูต้องเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี โดยกลับมาพิจารณาและวิเคราะห์ดูว่า ในตัวครูนั้นมีความไม่พอเพียงในด้านใดบ้าง เพราะการวิเคราะห์ปัญหาจะทำให้รู้และเข้าใจปัญหา ที่เกิดจากความไม่พอเพียง รวมทั้งควรให้เด็กมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาด้วย โดยการวิเคราะห์นี้ต้องดำเนินไปบนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรม โดยเฉพาะคุณธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังให้เกิดขึ้นในใจเด็กให้ได้ก่อน ผ่านกิจกรรมที่ครูเป็นผู้คิดขึ้นมา โดยครูในแต่ละโรงเรียนจะต้องมานั่งพิจารณาก่อนว่า จะเริ่มต้นปลูกฝัง แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากจุดไหน ทุกคนควรมาร่วมกันคิดร่วมกันทำ สามัคคีกันในกระบวนการหารือ
    หลังจากที่ครูได้ค้นหากิจกรรมที่จะปลูกฝังแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ครูควรจะต้องตั้ง เป้าหมายการสอนก่อนว่าครูจะสอนเด็กให้รู้จักพัฒนาตนเองได้อย่างไรโดยอาจเริ่มต้นสอนจากกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ ที่สามารถเริ่มต้นจากตัวเด็กแต่ละคนให้ได้ก่อน เช่น การเก็บขยะ  การประหยัดพลังงาน ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัย ที่ตนเองมีต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกในด้านต่างๆ 4 มิติ
              ในส่วนของการเข้าถึงนั้น เมื่อครูเข้าใจแล้ว ครูต้องคิดหาวิธีที่จะเข้าถึงเด็ก พิจารณาดูก่อนว่าจะสอดแทรกกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เข้าไปในวิธีคิดและในวิชาการต่างๆ ได้อย่างไร ทั้งนี้ อาจจัดกิจกรรมกลุ่มให้นักเรียนได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ รู้จักแบ่งหน้าที่กันตามความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงชั้น เช่น ในกิจกรรมการเก็บขยะเพื่อรักษาความสะอาดของโรงเรียนนั้น ครูอาจจัดกิจกรรมสำหรับเด็กในแต่ละช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1 สร้างกิจกรรมที่สนับสนุนให้เด็กช่วยกันเก็บขยะ (ให้เด็กรู้หน้าที่ของตน ในระดับบุคคล)/ ช่วงชั้นที่ 2 สร้างกิจกรรมที่สนับสนุนให้เด็กช่วยกันเก็บขยะและนับขยะ (ให้รู้จักการวิเคราะห์และรู้ถึงความเชื่อมโยงของตนเองกับสมาชิกคนอื่นๆ ในโรงเรียน) / ช่วงชั้นที่ 3 สร้างกิจกรรมที่สอนให้เด็กรู้จักเชื่อมโยงกับชุมชนภายนอกรอบๆ โรงเรียน เช่น สร้างกิจกรรมที่สอนให้เด็กรู้จักแบ่งแยกขยะ ร่วมมือกับชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่โรงเรียนและชุมชนของเขาตั้งอยู่ด้วย
               กิจกรรมทั้งหมดนี้สำคัญคือ ต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยสถานศึกษาควรตั้งเป้าให้เกิดการจัดการศึกษาตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง สอดแทรกเข้าไปในกระบวนการเรียนรู้ สอนให้เด็กพึ่งตนเองให้ได้ก่อนจนสามารถเป็นที่พึ่งของคนอื่นๆในสังคมได้ต่อไป  

การจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
              การจัดการศึกษาตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถดำเนินการได้ใน 2 ส่วน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา และส่วนที่เป็นการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งส่วนที่ 2 นี้ ประกอบด้วย การสอดแทรกสาระเศรษฐกิจพอเพียง ในหลักสูตรและสาระเรียนรู้ในห้องเรียนและประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
               การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาในระยะแรก ได้เริ่มจากการไปค้นหากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณลักษณะ และการจัดการที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือพอประมาณกับศักยภาพของนักเรียน พอประมาณกับภูมิสังคมของโรงเรียนและชุมชนที่ตั้ง เช่น เด็กช่วงชั้นที่ 2 ทำสหกรณ์ได้ เด็กช่วงชั้นที่ 4 ดูแลสิ่งแวดล้อม มีการส่งเสริมให้ใช้ความรู้อย่างรอบคอบระมัดระวัง ฝึกให้เด็กคิดเป็นทำเป็นอย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันส่งเสริมให้เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น มีวินัย มีสัมมาคารวะ ปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนธรรมไทย กล่าวคือ สอนให้ผู้เรียน ยึดมั่นในหลักศีลธรรม พัฒนาคนให้เขารู้จักทำประโยชน์ให้กับสังคมและช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และตัวกิจกรรมเองก็ต้องยั่งยืน โดยมีภูมิคุ้มกันในด้านต่างๆ ถึงจะเปลี่ยนผู้อำนวยการแต่กิจกรรมก็ยังดำเนินอยู่อย่างนี้เรียกว่ามีภูมิคุ้มกัน
               การค้นหาตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ก็เพื่อให้มีตัวอย่างรูปธรรม ในการสร้างความเข้าใจภายในวงการศึกษาว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงหมายความว่าอย่างไร และสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง หลังจากนั้น ก็ส่งเสริมให้บูรณาการการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเหล่านี้     เข้าไปในการเรียนรู้สาระต่างๆ บูรณาการเข้ากับทุกสาระเรียนรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ เพื่อทำให้เกิดสมดุลทางสิ่งแวดล้อม บูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ ในการสอนการคำนวณที่มีความหมายในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง หรือบูรณาการเข้ากับสาระภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษา การงานอาชีพ เทคโนโลยีต่างๆ ได้หมด นอก เหนือ
จากการสอนในสาระหลักคือในกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาวัฒนธรรมเท่านั้น
    สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์ให้ทุกช่วงชั้นเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์ใช้ได้ แต่ถ้ามาตรฐานเรียนรู้ของทุกช่วงชั้นเหมือนกันหมดก็จะมีปัญหาทางปฏิบัติ จึงต้องกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนในการเรียนการสอนของแต่ละช่วงชั้นและแต่ละชั้นปีดังนี้
               ช่วงชั้นที่ 1 เน้นให้เด็กพึ่งตนเองได้ หรือใช้ชีวิตพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว เช่น ประถม 1 ช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ล้างจานชาม เก็บขยะไปทิ้ง กวาดบ้าน จัดหนังสือไปเรียนเอง แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน กินอาหารให้หมดจาน  ประถม 2 วิเคราะห์รายจ่ายของครอบครัว จะมีเป็นตารางกรอกค่าใช้จ่ายต่างๆ ของครอบครัว คุณแม่ซื้ออะไรบ้าง คุณพ่อซื้ออะไรบ้าง เด็กจะได้รู้พ่อแม่หาเงินมายากแค่ไหน เช่น ยาสีฟันหลอดละ 46 บาท จะต้องไม่เอามาบีบเล่น จะต้องสอนให้เด็กเห็นคุณค่าของสิ่งของ ให้เด็กตระหนักถึงคุณค่าของเงินทอง จะได้ฝึกนิสัยประหยัด ครอบครัวมีรายได้และรายจ่ายเท่าไร เด็กจะได้ฝึกจิตสำนึกและนิสัยพอเพียง มีหลายโรงเรียนทำแล้ว ประถม 3 สอนให้รู้จักช่วยเหลือครอบครัวอย่างพอเพียงและรู้จักแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่นมีส่วนร่วมสร้างครอบครัวพอเพียง
               ช่วงชั้นที่ 2 ฝึกให้เด็กรู้จักประยุกต์ใช้หลักความพอเพียงในโรงเรียน สามารถวิเคราะห์วางแผนและจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเองและครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมในการสร้างความพอเพียงระดับโรงเรียน และชุมชนใกล้ตัว โดยเริ่มจากการสำรวจทรัพยากรต่างๆ ในโรงเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ มาเป็นข้อมูลในการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนและเห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
               ช่วงชั้นที่ 3 ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน สามารถสำรวจและวิเคราะห์ความพอเพียงในระดับต่างๆ และในมิติต่างๆ ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมในชุมชนใกล้ตัว เห็นคุณค่าของการใช้หลักพอเพียงในการจัดการชุมชน และในที่สุดแล้วสามารถนำหลักการพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ความพอเพียงได้ในที่สุด
               ช่วงชั้นที่ 4 เตรียมคนให้เป็นคนที่ดีต่อประเทศชาติสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้     ต้องเริ่มเข้าใจความพอเพียงระดับประเทศ และการพัฒนาประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ เช่น  การวิเคราะห์สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ หรือการศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมสภาพปัญหาด้านสังคมเป็นอย่างไรแตกแยกหรือสามัคคีเป็นต้น
               ขณะนี้คณะทำงานขับเคลื่อนด้านการศึกษาและเยาวชน ทำงานร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ และอีกหลายหน่วยงาน วิสัยทัศน์ของการขับเคลื่อน คือ สานเครือข่าย ขยายความรู้ ควบคู่ประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาฯ และให้บุคลากรด้านการศึกษา สามารถนำหลักคิดหลักปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการสู่การเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของทุกระดับได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม ตลอดจนผู้บริหารสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์และความสุข

  และไม่ตระหนี่

เศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร

ระบบการศึกษาบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงจะต้องสอนให้นักเรียนนักศึกษาคำนึงถึง ความพอประมาณในการดำเนินชีวิต ไม่โลภ ไม่ฟุ้งเฟ้อ มีการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ ฝึกให้มีการมองไปข้างหน้า และเตรียมตัวให้พร้อมกับความผันผวนของเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างรู้เท่าทัน รวมถึงการหมั่นแสวงหาความรู้ เพื่อให้เกิดความรอบรู้ในด้าน ...

เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมีอะไรบ้าง

เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน เป็นแนวทางให้ผู้บริหาร ครูผู้สอน สามารถประยุกต์ใช้กับการเรียน การ สอน เป็นแนวการท ากิจกรรมเสริมในโรงเรียน กิจกรรมชุมชนแบบมีส่วนร่วม การพึ่งตนเองเป็นหลัก ที่เน้น ความสมดุลทั้ง 3 คุณลักษณะ คือ พอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกัน เป็นกระบวนการสร้างคนให้กับ สังคม ที่เป็นคนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ...

เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี

อะไรบ้างที่เป็นเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงเริ่มที่ตัวเอง.
- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้.
- ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ.
- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต.
- ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย.
- มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง.
- ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย.