วิชา พลังงาน ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม

วิชา พลังงาน ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม

ธันยวัฒน์ เชิญแก้ว Download PDF

  • Publications : 131
  • Followers : 2

วิชาพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

หน่วยที่ 6 ปัญหาจากการใช้พลังงาน : สภาวะโลกร้อน

View Text Version Category : All

  • Follow

  • 0

  • Embed

  • Share

  • Upload

ศึกษาเกี่ยวกับพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ประเภทของพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของพลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมกับการดำรงชีวิตการใช้ประโยชน์ของพลังงาน พลังงานทดแทนและทรัพยากร        สถานการณ์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการใช้พลังงานและทรัพยากร แนวทางป้องกันและแก้ไข ปัญหาพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักการและวิธีการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง

วิชา พลังงาน ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม

  • Teacher: นวพล บัลลังก์


จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้

1.เข้าใจหลักการวิธีการป้องกัน แก้ไขปัญหาและการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม

2.สามารถประยุกต์ใช้หลักการและวิธีการเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาและอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในงานอาชีพ

3.มีเจตคติที่ดีต่อการอนุรักษ์พลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในงานอาชีพ

สมรรถนะรายวิชา

1.แสดงความรู้เกี่ยวกับพลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม หลักการและวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาและอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

2.วิเคราะห์สภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม

3.วางแผนป้องกันแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในงานอาชีพ

4.วางแผนการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในงานอาชีพ

คำอธิบายรายวิชา

            ศึกษาเกี่ยวกับพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ประเภทของพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของพลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมกับการดำรงชีวิตการใช้ประโยชน์ของพลังงาน พลังงานทดแทนและทรัพยากร       สถานการณ์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการใช้พลังงานและทรัพยากร แนวทางป้องกันและแก้ไข            ปัญหาพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักการและวิธีการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง


วิชา พลังงาน ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม

  • Teacher: นวพล บัลลังก์


Sale!

สินค้า / หนังสือเรียนอาชีวศึกษา / หลักสูตรใหม่ / ปวช. / หมวดสมรรถนะวิชาชีพ / กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน / พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม


ISBN: 9786163450128
Itemcode: 3407108100
จำนวนหน้า: 256
ชนิดกระดาษ: อาร์ตการ์ด 210 g
เนื้อในพิมพ์: ปอนด์ 70g 4สี
ผู้เรียบเรียง: อ.ณัฐญา อัมรินทร์

ศึกษาเกี่ยวกับพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ประเภทของพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมกับการดำ รงชีวิต การใช้ประโยชน์ของพลังงาน พลังงานทดแทนและทรัพยากร สถานการณ์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการใช้พลังงานและทรัพยากร แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักการและวิธีการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างหนังสือแผนการจัดการเรียนรู้ข้อสอบ/เฉลย

พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม


ISBN: 9786163450128
Itemcode: 3407108100
จำนวนหน้า: 256
ชนิดกระดาษ: อาร์ตการ์ด 210 g
เนื้อในพิมพ์: ปอนด์ 70g 4สี
ผู้เรียบเรียง: อ.ณัฐญา อัมรินทร์

ศึกษาเกี่ยวกับพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ประเภทของพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมกับการดำ รงชีวิต การใช้ประโยชน์ของพลังงาน พลังงานทดแทนและทรัพยากร สถานการณ์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการใช้พลังงานและทรัพยากร แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักการและวิธีการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างหนังสือแผนการจัดการเรียนรู้ข้อสอบ/เฉลย

จุดประสงค์รายวิชา        

เมื่อนักเรียนเรียนจบบทเรียนนี้  นักเรียนสามารถ

1.  อธิบายความหมายและประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมได้

2.  อธิบายความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมได้

3.  บอกสาเหตุของการสูญเสียและแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมได้

4.  บอกความสำคัญของสิ่งแวดล้อมต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้

วิดีโอ YouTube

    พลังงานเพื่อชีวิต

 พลังงานมนุษย์ นำพลังงานมาใช้ในการดำรงชีวิตตั้งแต่สมัยโบราณ เริ่มจากการใช้ไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีของไม้หรือหินเพื่อให้เกิดความ อบอุ่น แสงสว่างและการหุงต้มอาหาร มนุษย์เริ่มรู้จักทำกังหันวิดน้ำ ทำกังหันลมเพื่อยกของหนักและบดเมล็ดธัญญาพืช พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญ ในการส่งเสริมสวัสดิภาพและความผาสุกของประชาชนแต่ละประเทศทั่วโลก พลังงานมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของประเทศทั้งทางการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันมีการใช้พลังงานมากขึ้น ในการพัฒนาเศรษฐกิจทุกสาขาเช่น อุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง การไฟฟ้า เป็นต้น ปริมาณการใช้พลังงานมีความสัมพันธ์กับฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ

ประโยชน์ของพลังงาน จำแนกประโยชน์ของพลังงานได้ ดังนี้
• พลังงานในอาหาร จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตทำให้เจริญเติบโต สามารถเคลื่อนไหวได้ 
• พลังงานในระบบนิเวศ พลังงานจากแสงอาทิตย์พืชนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง 
• การสาธารณูปโภค เช่น การผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันใช้พลังงานจากน้ำมัน กาซธรรมชาติ เป็นต้น 
• การค้า พลังงานรูปแบบต่าง ๆ เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นสินค้าสำคัญที่ทำรายได้ให้กับประเทศผู้ผลิต 
• การผลิต พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทางเกษตรกรรม เช่น การเก็บเกี่ยวผลผลิต 
• การขนส่งและการสื่อสาร ทำให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น 
• การแพทย์ เช่น การใช้พลังงานจากรังสีเอกซ์เรย์จากแสงเรเซอร์ในการตรวจรักษาและการทำศัลยกรรมโรคต่าง ๆ 
• อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ต้องอาศัยพลังงานเครื่องมือจึงจะทำงานได้ 
• การทหาร ประเทศที่มีความก้าวหน้าในการผลิตพลังงานเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในทางการทหาร เช่น สหรัฐอเมริกา

ความหมายของพลังงาน 
พลังงาน (Energy) หมายถึง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน (Work) เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ เช่น เปลวไฟที่เผากาน้ำจะเปลี่ยนน้ำให้เป็นไอน้ำและแรงดันไอน้ำจะดันฝากาน้ำเผยอ ขึ้นได้ งานเช่นนี้เรียกว่า พลังงาน รถไฟเคลื่อนที่ได้เพราะมีพลังงาน มนุษย์เดินได้เพราะมีพลังงาน

รูปแบบของพลังงาน

1. พลังงานเคมี

พลังงานเคมี เกิดขึ้นเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี ถ้าขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมีนั้นมีความร้อนเกิดขึ้นเรามีชื่อเรียกปฏิกิริยา เช่นนี้ว่า เอกโซเทอร์มิค (exothermic) และในทางตรงกันข้ามเรียก เอนโดเทอร์มิค (endothermic) ถ้าขณะที่เกิดปฏิกิริยาความร้อนหายไปนั่นคือเย็นลงกว่าปกติหรือต้องการความ ร้อนช่วยในปฏิกิริยานั้น

2. พลังงานความร้อน

พลังงานความร้อน ได้จากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงแต่มิใช่ว่าพลังงานความร้อนขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ เพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับมวล หรือปริมาณเนื้อสารด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะอะตอมและโมเลกุลของสารใด ๆ ก็ตามไม่เคยอยู่นิ่งสนิท มีการเคลื่อนไหวเร็วบ้างช้าบ้างตลอดเวลา ถ้าเคลื่อนไหวเร็ว พลังงานจลน์สูง อุณหภูมิของวัตถุก็สูงตามไปด้วย และถ้ามีอะตอมเป็นจำนวนมากพลังงานที่มีอยู่ก็มาก นั่นคือถ้ามวลมากพลังงานมากด้วยนั่นเอง

3. พลังงานกล

พลังงานกล หมายถึงพลังงานที่ได้จากเครื่องกล เช่น เครื่องจักรไอน้ำ เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันต่าง ๆ หรือเครื่องยนต์ดีเซลเป็นต้น จากการศึกษาอย่างละเอียดเราจะพบว่าพลังงานกลจากเครื่องกลนี้เป็นการแปรรูปมา จากพลังงานความร้อน และนอกจากนั้นความฝืดหรือความเสียดทาน (friction) ในเครื่องกลแต่ละชนิดจะก่อให้เกิดความร้อน ซึ่งเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพ (efficiency) ของเครื่องกลตกต่ำ วิศวกรจึงต้องพยายามหาทางลดความเสียดทานของเครื่องกลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

4. พลังงานไฟฟ้าพลังงาน ไฟฟ้า หมายถึง พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาเคมีแบบหนึ่งอันมีผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นได้ และกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะไหลผ่านความต้านทานไฟฟ้าได้ถ้าต่อให้เป็นวงจร ผลจากกระแสไฟฟ้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลต่าง ๆ กันดังเช่น ก่อให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก เกิดความร้อนหรือแสงสว่างเป็นต้น

แหล่งของพลังงาน
แหล่งของพลังงาน การที่มนุษย์สามารถนำพลังงานรูปแบบต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นมาใช้ประโยชน์ มนุษย์สามารถนำพลังงานมาใช้จากสิ่งที่ให้พลังงานหรือสิ่งที่มีพลังงาน สะสมอยู่ ซึ่งเรียกว่าแหล่งของพลังงาน โดยทั่วไปแหล่งพลังงานสามารถจำแนกประเภทได้ ประเภท คือ 
แหล่งพลังงานใช้แล้วหมดไป(non - renewable energy) หรือ พลังงานสิ้นเปลือง เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก เมื่อนำมาใช้แล้วจะหมดสิ้นไปเรื่อยๆ ต้องใช้เวลานานนับล้านๆ ปี จึงจะสามารถเกิดขึ้นอีก เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หินน้ำมัน เป็นต้น 
แหล่งพลังงานใช้ไม่หมด (renewable energy) หรือ พลังงานหมุนเวียน
 เป็นแหล่งพลังงานที่สามารถนำมาใช้ได้เรื่อยๆ เช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ชีวมวล(เช่น ฟืน แกลบ ชานอ้อย และมูลสัตว์) เป็นต้น และที่ว่าใช้ไม่หมดก็เพราะสามารถหามาทดแทนได้ เช่น ปลูกป่าเอาไม้มาทำฟืน หรือปล่อยน้ำจากเขื่อนมาปั่นไฟ แล้วไหลลงทะเล กลายเป็นไอ และเป็นฝนตกลงมาสู่โลกอีก หรือแสงอาทิตย์ที่ได้รับจากดวงอาทิตย์อย่างไม่มีวันหมดสิ้น เป็นต้นเมื่อ พิจารณาการนำพลังงานจากแหล่งพลังงานต่างๆมาใช้ในปัจจุบัน จะพบว่าแหล่งพลังงานที่มนุษย์ใช้มากที่สุดมักเป็นแหล่งพลังงานสิ้นเปลือง ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งพลังงานหลัก ซึ่งพลังงานเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาด้านมลพิษมากมาย และนับวันแหล่งพลังงานเหล่านี้มีแต่จะหมดไปเรื่อยๆ จึงต้องมีการพัฒนาเสาะหาแหล่งพลังงานอื่นเพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อความ ต้องการ เช่น แสงอาทิตย์ น้ำ ชีวมวล ดังนั้นแหล่งพลังงานหมุนเวียนจึงมีอีกชื่อหนึ่งคือ แหล่งพลังงานทดแทน

แหล่งพลังงาน ชนิดต่างๆ
แหล่งพลังงานใช้แล้วหมดไป หรือพลังงานสิ้นเปลือง 
ปิโตรเลียม (น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ) 
ถ่านหิน 
หินน้ำมัน
แหล่งพลังงานใช้ไม่หมด หรือพลังงานหมุนเวียน 
แสงอาทิตย์ - น้ำ 
ลม - ชีวมวล 
ความร้อนใต้พิภพ - ปฏิกิริยานิวเคลียร์

หน่วยพลังงานหน่วยที่ใช้วัดปริมาณพลังงานที่นิยมใช้มี หน่วยคือ

บีทียู ( BTU = British thermal unit)เป็น หน่วยวัดปริมาณพลังงานในระบบอังกฤษ 1บีทียู หมายถึง ปริมาณความร้อนที่พอดีทำให้น้ำบริสุทธิ์มวล 1ปอนด์ มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 14.5 องศาฟาเรนไฮต์ เป็น15องศาเซลเซียล

กิโลแคลอรี หรือแคลอรี่ เป็น หน่วยวัดปริมาณพลังงานในระบบเอสโอ 1กิโลแคลอรี่คือ ปริมาณความร้อนมี่พอดีทำให้น้ำบริสุทธิ์มวล กิโลกรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก15 องศาเซลเซียส เป็น16 องศาเซลเซียสที่ระดับทะเลปกติ

1บีทียู = 252 แคลอรี

พลังงานมาจากไหน

  พลังงานมาจากไหน แหล่งพลังงานมีอยู่หลายชนิดที่สามารถทำให้โลกเราเกิดการทำงาน และหากศึกษาวิเคราะห์ในเชิงลึกแล้วจะพบว่าแหล่งต้นตอของพลังงานที่ใช้ทำงาน ในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ก็ล้วนมาจากพลังงานอันมหาศาลที่แผ่จากดวงอาทิตย์มา สู่โลกเรานี่เอง พลังงานจากดวงอาทิตย์นี้นอกจากจากจะสามารถใช้ประโยชน์จากแสงและความร้อนใน การทำงานโดยตรง เช่น การให้แสงสว่าง การให้ความร้อนความอบอุ่น การตากแห้งต่าง ๆ แล้วก็ยังก่อให้เกิดแหล่งพลังงานอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น

พลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานแสงอาทิตย์ คือ แสงสว่าง และความร้อน ที่ถูกสร้างขึ้นโดยดวงอาทิตย์ ทุกๆวันดวงอาทิตย์จะผลิตพลังงานได้เป็นจำนวนมหาศาล รวมทั้งแหล่งผลิตพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ไม่มีวันหมดอีกด้วย นอกจากนี้ พลังงานแสงอาทิตย์ยังถือเป็นพลังงานสะอาด และเป็นพลังงานทางเลือกสำหรับมนุษย์ใช้แทนที่พลังงานจากฟอสซิล อีกด้วย

พลังงานแสงอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร

ดวงอาทิตย์คือดาวขนาดยักษ์ที่เต็มไปด้วยก๊าซซึ่ง ประกอบด้วย ไฮโดรเจน และ ฮีเลี่ยม ภายในแกนของดวงอาทิตย์ ปฏิบัติการที่เรียกว่า การปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ได้สร้างพลังงานจำนวนมหาศาลที่เกิดจากไฮโดรเจน ภายในแกน และผสมผสานกันกลายเป็นก๊าซฮีเลียม ปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้ทำการปลดปล่อยพลังงานจากแกนของดาวออกมาสู่พื้นผิว ระหว่างที่เดินทางมาสู่พื้นผิวดวงอาทิตย์ พลังงานดังกล่าวจะใช้เวลาในการแปรสภาพเป็นพลังงานแสงสว่าง แสงสว่างนี้คือสิ่งที่พวกเราเรียกว่าแสงอาทิตย์

แสงอาทิตย์ใช้เวลาเท่าไรในการเดินทางจากดวงอาทิตย์มายังโลก

จากบันทึกของ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา (NASA) แสงอาทิตย์เดินทางมายังโลกด้วยความเร็วแสง หรือ ประมาณ 186,000ไมล์ ต่อวินาที ทำให้แสงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางมายังโลกเพียงแค่ นาทีเท่านั้น

พลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้ยังไง?

วิธีการง่ายๆที่นิยมใช้กัน คือใช้ระบบที่อยู่ในรูปแบบ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ และ แบตเตอร์รี่เก็บพลังงาน แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะเก็บแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อแปรสภาพเป็นพลังงาน และเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่ ในขณะที่พลังดังกล่าวถูกเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่ พลังงานนี้ก็จะถูกใช้งานได้ในรูปแบบของความร้อนและพลังงานไฟฟ้า

เมื่อพลังงานถูกแปรสภาพเป็นพลังงานความร้อน พลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำไปใช้งานได้ดังนี้

ทำน้ำร้อน สำหรับห้องอาบน้ำที่บ้าน หรือ สำหรับสระว่ายน้ำ

ใช้สำหรับห้องปรับอุณหภูมิ ภายในบ้าน เรือนต้นไม้ หรือ อาคารพาณิชย์ต่างๆ

พลังงานแสงอาทิตย์ สามารถถูกแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วย 2 วิธี ดังนี้

1. ใช้อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ หรือที่เรียกกันว่า โซล่าร์ เซลล์” เพื่อแปรสภาพแสงอาทิตย์ให้เป็นกระแสไฟฟ้าโดยตรง เซลล์รับแสงอาทิตย์ถูกนำมารวมกันเป็นแผงแล้วถูกจัดให้เป็นระเบียบ ซึ่งช่วยให้รับแสงอาทิตย์ได้เป็นพื้นที่กว้าง เซลล์แสงอาทิตย์นั้นจะเก็บพลังงานได้ตามขนาดของมัน เช่น แผ่นเล็กๆเหมาะสำหรับการสร้างพลังงานให้กับเครื่องคิดเลข และ นาฬิกาข้อมือ แต่เราต้องใช้แผงที่ใหญ่ขึ้นเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่บ้าน และต้องใช้ขนาดใหญ่และกินพื้นที่เป็นไร่ ในการสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า

2. โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบเข้มข้น สามารถ ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ความร้อนจากเครื่องมือรวบรวมความร้อน แล้วแปรสภาพเป็นของเหลว ซึ่งช่วยในการผลิตไอน้ำ เพื่อเป็นพลังงานให้กับเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ประเทศสหรัฐฯ มีโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แบบเข้มข้น อยู่ 11 แห่ง โดยที่มีอยู่ในรัฐ แคลิฟอร์เนีย แห่ง และ ในรัฐเนวาด้า กับ อริโซน่า อีกรัฐละ แห่ง

สรุปพลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานน้ำพลังงาน น้ำจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ต้องมีการกักเก็บน้ำไว้ เพื่อเป็นการสะสมกำลัง โดยการก่อสร้างเขื่อนหรือฝายปิดลำน้ำที่มีระดับความสูงเป็นพลังงานศักย์ และผันน้ำเข้าท่อไปยังเครื่องกังหันน้ำขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ 
กรม พัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ดำเนินงานในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำที่มีอยู่ภายในประเทศ เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า โดยได้ดำเนินการผลิตพลังงานทดแทนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำดังนี้

1. โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล เป็นโครงการเนื่องในพระราชดำริ ตั้งอยู่ในเขตกิ่ง อ.คิชฌกูฏ และ อ.มะขาม จ.จันทบุรี มีขนาดกำลังผลิตรวม9.8 เมกกะวัตต์ เมื่อแล้วเสร็จสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 28.16 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง 
2. โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำลุ่มน้ำน่านตอนบน ตั้งอยู่ที่ อ.เวียงสา จ.น่าน มีกำลังผลิตรวม 10 เมกกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 54.62 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง 
3. โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแม่กะไน ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยปู อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน มีกำลังผลิตรวม0.89 เมกกะวัตต์ เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถ พพ.ได้ดำเนินการจัดตั้งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านโดยดำเนินการในรูป แบบความร่วมมือกับราษฎร ปัจจุบันมีจำนวนโครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านที่ยังสามารถเดินเครื่อง ผลิตพลังงานไฟฟ้าอยู่จำนวน 39 โครงการ มีกำลังผลิตรวม 1,155 กิโลวัตต์ จำนวนครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์จำนวน 3,779 ครัวเรือน สำหรับปีงบประมาณ 2548 มีการก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวน โครงการ คือโครงการบ้านห้วยหมากลาง จ.แม่ฮ่องสอน มีขนาดกำลังผลิต 20 กิโลวัตต์ และ โครงการบ้านสามหมื่นทุ่ง จ.ตาก มีกำลังผลิต 60 กิโลวัตต์ และในปีงบประมาณ 2549 มีโครงการที่กำลังดำเนินการก่อสร้างจำนวน 2โครงการ คือโครงการบ้านมะโอโค๊ะ จ.ตาก มีกำลังผลิต 20 กิโลวัตต์ และโครงการแม่น้ำดะ จ.ตาก มีกำลังผลิต60 กิโลวัตต์

พลังงานลม

พลังงานลม ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก เป็นเทคโนโลยีที่ลวงตาว่าเรียบง่าย เบื้องหลังอาคารสูง เพรียว และใบพัดที่หมุนอย่างสม่ำเสมอ คือ วัสดุน้ำหนักเบาที่ทำงานร่วมกันอย่างซับซ้อน การออกแบบด้านการเคลื่อนไหวของอากาศ และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ พลังงานถูกส่งถ่ายจากปีกหมุน ผ่านเกียร์ ซึ่งบางครั้งปฏิบัติงานในความเร็วที่ไม่แน่นอน จากนั้นส่งไปยังเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (กังหันลมบางตัวไม่ส่งผ่านเกียร์แต่ใช้การขับเคลื่อนโดยตรงแทน)

ข้อดีของพลังงานลม
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน นี่เป็นประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดของการผลิตพลังงานลม นอกจากนี้พลังงานลมยังปราศจากสารก่อมลพิษอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกด้วย

วิชาพลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมศึกษาเกี่ยวกับอะไร

ค าอธิบายรายวิชา ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม แหล่งก าเนิดของพลังงานและสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของพลังงานและสิ่งแวดล้อมกับการด ารงชีวิตอย่างมีคุณภาพ หลักการและวิธีการอนุรักษ์ พลังงานและจัดการสิ่งแวดล้อม ผลกระทบและการป้องกันแก้ไข ปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง

พลังงานและสิ่งแวดล้อมหมายถึงอะไร

คือ การผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด โดยการพัฒนาการผลิตและการใช้พลังงานรูปแบบต่างๆให้เหมาะสมตลอดจนพัฒนาพลังงานจากแหล่งใหม่มาใช้ประโยชน์ทดแทนพลังงานที่สิ้นเปลืองรวมทั้งการป้องกันการสูญเสียพลังงานและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงานมี 5 ขั้นตอน คือ

พลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

พลังงานหมุนเวียน พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม-พลังงานความร้อนใต้พิภพ

ทรัพยากรพลังงานมีอะไรบ้าง

2. ทรัพยากรพลังงาน (Energy Resources) พลังงาน หมายถึง แรงงงานที่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ได้จากน้า แสงแดด คลื่น ลมและเชื่อเพลิงธรรมชาติ (Fossil Fuel) ซึ่งได้แก่ ถ่านหิน น้ามัน และก๊าซ ธรรมชาติ นอกจากนี้ยังได้พลังงานจาก ความร้อนใต้พิภพ แร่นิวเคลียร์ ไม่ฟืน แกลบ และชานอ้อย พลังงานที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ เรียกว่า พลังงานต้นกา ...