โครงสร้าง หน้าที่ และการ ทำงาน ของระบบ กล้าม เนื้อ

1. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษพบเฉพาะที่หัวใจเท่านั้น อยู่นอกอำนาจการควบคุมของจิตใจ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของหัวใจ

2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เป็นองค์ประกอบของอวัยวะภายใน เช่น กระเพาะอาการ ลำไส้ กระเพาะ เป็นต้น กล้ามเนื้อเรียบอยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของจิตใจ ไม่สามารถควบคุมได้ตามใจนึก

3. กล้ามเนื้อลาย หรือ กล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeleton Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีปริมาณมากที่สุดในร่างกายมนุษย์ กล้ามเนื้อประเภทนี้มีหน้าที่หลักคือทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย เคลื่อนไหวแขน ขา ลำตัว การเดิน ยืน ออกกำลัง

ส่วนมาก เมื่อเกิดปัญาหาการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อลาย จะส่งผลต่อการใช้ชิวิตประจำวัน เช่น เกิดอาการปวด ยกของหนักไม่ได้ เคลื่อนไหวไม่สะดวก เป็นต้น

PS Rehab Clinic
Relax, Comfort and Promote Well-Being

มีปัญหาอาการปวด ชา เคลื่อนไหวไม่สะดวกปรึกษาได้ที่
PS Rehab Clinic สุขุมวิท 49/14
คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักกายภาพบำบัด สุขุมวิท 49/14 คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักกายภาพบำบัด

มนุษย์สามารถเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเคลื่อนที่ได้ ด้วยการทำงานประสานกันของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ และระบบโครงร่าง

ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) ของมนุษย์ประกอบด้วยกล้ามเนื้อทั้งหมดราว 650 มัด ยึดติดกันโดยอาศัยพังผืด กระดูก ข้อต่อ และเส้นเอ็นต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่รองรับอวัยวะภายในและคงร่างกายให้มีรูปร่างอย่างที่ควรจะเป็น

นอกจากนี้ ระบบกล้ามเนื้อยังทำหน้าที่ประสานงานร่วมกับ ระบบโครงร่าง และระบบประสาท เพื่อกำหนดการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในต่าง ๆ ทั้งการเต้นของหัวใจ การบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวของปอด ขณะหายใจ

รวมไปถึงมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนที่อย่างอิสระของอวัยวะภายนอกอีกด้วย ทั้งการเอียงคอ การผงกศีรษะ และการขยับแขนขาที่ทำให้ร่างกายสามารถทำการเคลื่อนไหวและตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างเหมาะสม

โครงสร้าง หน้าที่ และการ ทำงาน ของระบบ กล้าม เนื้อ
โครงสร้าง หน้าที่ และการ ทำงาน ของระบบ กล้าม เนื้อ
กล้ามเนื้อโครงร่างของมนุษย์ / ภาพประกอบ : Barroa Artworks

หน้าที่ของระบบกล้ามเนื้อ

  • คงรูปร่างและท่วงท่าต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงรองรับอวัยวะภายในให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • ป้องกันกระดูกและยึดข้อต่อเข้าไว้ด้วยกัน
  • ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในและภายนอกร่างกาย
  • สร้างความร้อนและรักษาอุณหภูมิในร่างกาย
โครงสร้าง หน้าที่ และการ ทำงาน ของระบบ กล้าม เนื้อ
โครงสร้าง หน้าที่ และการ ทำงาน ของระบบ กล้าม เนื้อ
ภาพถ่าย : Alexander Redl

กล้ามเนื้อในร่างกายสามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด คือ

กล้ามเนื้อลาย หรือกล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscle) คือ กล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของร่างกาย เป็นกล้ามเนื้อส่วนนอกของร่างกายทั้งหมด ประกอบขึ้นจากกลุ่มหรือมัดของเส้นใยกล้ามเนื้อ (Muscle Fiber) จำนวนมาก

เซลล์กล้ามเนื้อโครงร่างมีลักษณะเรียวยาวเรียงตัวไปในทิศทางเดียวกัน รูปทรงคล้ายกระบอก มีนิวเคลียสจำนวนมากเรียงตัวอยู่ตามขอบของเซลล์ ทำให้เกิดลวดลายตามขวาง เป็นกล้ามเนื้อที่ยึดติดอยู่กับกระดูก

เมื่อกล้ามเนื้อโครงร่างหดตัวจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยเฉพาะตามบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ทั้งการเคลื่อนไหวของดวงตา การเคี้ยวและการกลืนอาหาร การเคลื่อนไหวของลิ้น หรือการเคลื่อนไหวใบหน้า เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึก

กล้ามเนื้อโครงร่างเป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary Muscle) ที่ควบคุมโดยระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System)

โครงสร้าง หน้าที่ และการ ทำงาน ของระบบ กล้าม เนื้อ
โครงสร้าง หน้าที่ และการ ทำงาน ของระบบ กล้าม เนื้อ

กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) คือ กล้ามเนื้อที่ส่วนใหญ่ประกอบขึ้นเป็นผนังของอวัยวะภายในร่างกาย ทั้งผนังหลอดอาหาร หลอดเลือด และลำไส้

เซลล์ของกล้ามเนื้อเรียบมีลักษณะรูปทรงคล้ายกระสวย พื้นผิวเรียบ ไม่มีลายตามขวาง มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางของเซลล์

เมื่อเกิดการหดตัวจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในที่ช่วยทำให้สสารต่าง ๆ ภายในร่างกายเกิดการเคลื่อนที่

กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกเหนืออำนาจจิตใจ (Involuntary Muscle) ที่ควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) และฮอร์โมนต่าง ๆ

กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) คือ กล้ามเนื้อที่พบได้เฉพาะบริเวณหัวใจ ประกอบขึ้นจากเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายรูปทรงกระบอก มีลายตามขวางจากการเรียงตัวไปในหลากหลายทิศทาง มีหลายนิวเคลียสเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อลาย

กล้ามเนื้อหัวใจมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของหัวใจและการเคลื่อนไหวของโลหิตที่ถูกสูบฉีดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกเหนืออำนาจจิตใจ (Involuntary Muscle) ควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติและฮอร์โมนต่าง ๆ เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ

โครงสร้าง หน้าที่ และการ ทำงาน ของระบบ กล้าม เนื้อ
โครงสร้าง หน้าที่ และการ ทำงาน ของระบบ กล้าม เนื้อ
ภาพถ่าย: Robina Weermeijer

การทำงานของระบบกล้ามเนื้อ

เมื่อสมองสั่งร่างกายให้เคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัวจากการกระตุ้นของกระแสประสาท โดยกล้ามเนื้อจะทำงานกันเป็นคู่ในทิศทางตรงกัน (Antagonism) จากจุดเกาะต้นและจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อที่ยึดเกาะกับส่วนปลายทั้ง 2 ด้านของกระดูก

ดังนั้น กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว เมื่อสมองสั่งให้เรางอแขน กล้ามเนื้อแขนด้านบน (Biceps Brachii Muscle) จะหดตัว ขณะที่กล้ามเนื้อแขนด้านล่าง (Triceps Brachii Muscle) จะคลายตัว ซึ่งโดยปกติแล้ว กล้ามเนื้อสามารถหดตัวได้ราว 1 ใน 3 ส่วนของความยาวปกติ ยิ่งมีการหดตัวมาก กล้ามเนื้อจะยิ่งแข็งและหนามากยิ่งขึ้น