สถิติการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย 2564

บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า : ภัยคุกคามเยาวชนทำลายสุขภาพ ทำร้ายคนรอบข้าง

ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดในปี 2564 โดยร่วมกับ สสส. ทำการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของคนในประเทศทั้งในเรื่องการสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ การขับรถเร็ว ฯลฯ ซึ่งในที่นี้เราจะพูดถึงในเรื่องของการสูบบุหรี่ทั้งบุหรี่ทั่วไป และบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งกำลังเป็นที่นิยม โดยกลุ่มตัวอย่าง 73,654 ครัวเรือนครอบคลุม 164,406 คน พบว่า คนไทยสูบบุหรี่ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2552 – 2553 มีคนสูบบุหรี่ประมาณ 20.7% แต่ในปี 2560 พบว่า ปริมาณการสูบลดลงเหลือ 19.6% จนปี 2564 ด้วยสถานการณ์โควิดและสภาพเศรษฐกิจ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนไทยทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 19% โดยผู้ชายจะมีอัตราการสูบบุหรี่มากกว่าผู้หญิง กลุ่มที่สูบเยอะจะเป็นกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 25-44 ปี) มีปริมาณคนสูบประมาณ 3,800,000 คน ในวัยรุ่น (อายุ 20-24 ปี) 837,646 คน และวัยเด็ก (อายุ 15-19 ปี) กลุ่มนี้ถือเป็นนักสูบหน้าใหม่ 328,579 คน ซึ่งกลุ่มวัยรุ่นและวัยเด็ก จะเป็นกลุ่มลูกค้าประจำของธุรกิจยาสูบในอนาคต และจำนวนบุหรี่ที่สูบกันเฉลี่ยอยู่ที่ 8-11 มวนต่อวัน โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีการสูบเยอะสุด ประมาณ 2,700,000 คน รองมาเป็นภาคกลาง (ไม่รวม กทม.) 2,500,000 คน และพื้นที่ กทม. 1,300,000 คน จากสถิติตัวเลขก็จะพบว่าแนวโน้มของการสูบบุหรี่ทั่วไปมีแนวโน้มลดลง

Show

    สำหรับบุหรี่ไฟฟ้า เริ่มมีการสำรวจล่าสุดปี 2564 จากกลุ่มตัวอย่าง 57 ล้านคน (กลุ่มคนที่อายุ 15 ปี ขึ้นไป) พบว่ามีคนสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึง  78,742 คนคิดเป็น 0.14% ของกลุ่มตัวอย่าง และเกินครึ่งของผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่และส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพและภาคกลาง อาจเป็นเพราะพื้นที่นี้มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่เข้มแข็ง ทำให้การลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าผ่านสื่อออนไลน์เป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นสิ่งของผิดกฎหมาย เมื่อถามทัศนคติผู้สูบบุหรี่และรู้จักบุหรี่ไฟฟ้า เชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีความอันตรายมากกว่าบุหรี่ธรรมดา ทั้งที่บุหรี่ไฟฟ้าพยายามที่จะโฆษณาว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นช่องทางที่ปลอดภัยในการเลิกบุหรี่ จากการวิเคราะห์รายละเอียดพบว่า 62% ของผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า รู้ว่าบุหรี่ทั่วไปและบุหรี่ไฟฟ้านำมาซึ่งอันตรายและนำไปสู่การเสพติดไม่สามารถทำให้เลิกบุหรี่ได้เพียงแต่ย้ายจากการติดนิโคตินในบุหรี่ทั่วไปมาติดในบุหรี่ไฟฟ้าแทน สิ่งที่พบและน่าเป็นห่วงที่สุดคือ “บุหรี่ไฟฟ้าทำให้คนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยคิดจะสูบบุหรี่เลย เริ่มต้นอยากสูบบุหรี่เร็วขึ้น” เมื่อสูบเร็วขึ้นเท่าไร โอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านสมองและสติปัญญาของผู้สูบเอง

    สถิติการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย 2564

    20 ธ.ค. 2564- นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ (คผยช.) ครั้งที่ 2/2564 ซึ่งมีผู้บริหารจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สสส. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ เข้าร่วมประชุม

    นพ.โอภาส กล่าวว่า จากผลการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากรในปี 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 57 ล้านคน พบ ผู้สูบบุหรี่ 9.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.4 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบจากปี 2560 ซึ่งสูงถึงร้อยละ 19.1 อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาตลอด 4 ปี คผยช. ได้กำหนดนโยบายและมาตรการสำคัญในการควบคุมการบริโภคยาสูบในทุกมิติ พร้อมทั้งถ่ายทอดสู่พื้นที่เพื่อสร้างความตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา นำไปสู่การผลักดันให้เกิดการปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการประสานพลังกับภาคีเครือข่าย พร้อมทั้งร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนสังคมไทยปลอดบุหรี่อย่างเข้มแข็ง ซึ่งความสำเร็จที่น่าพอใจในการควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทยครั้งนี้ ต้องขอบคุณภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และภาคประชาสังคมที่ร่วมแรงร่วมใจ สนับสนุนทุ่มเทสรรพกำลังเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานควบคุมยาสูบอย่างเอาจริงมาโดยตลอด

    ทั้งนี้ ในที่ประชุมมีความห่วงกังวลกับสถานการณ์กลยุทธ์การตลาดของบุหรี่ไฟฟ้า ที่สร้างความเชื่อที่ผิดให้กับกลุ่มลูกค้าเยาวชน รวมถึงคนที่กำลังตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่ให้หันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทน จึงขอเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับมาตรการเฝ้าระวัง และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ เพื่อป้องกันการโฆษณาส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ พร้อมเร่งสร้างความตระหนักเพื่อเป็นเกราะป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค โทร. 0 2590 3852 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

    สถิติการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย 2564

    สถิติการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย 2564

    สถิติการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย 2564

    เผยผลสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 64 พบคนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเกือบ 8 หมื่นคน ไม่ใช่ 2 ล้านกว่าคนตามที่กล่าวอ้าง 62% รู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดาอันตรายเท่ากัน อีก 26.7% รู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายมากกว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมนำผลสำรวจใช้กำหนดนโยบายควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไป

    เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ผศ.ดร.ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 ที่พบว่า ประชากรไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีจำนวน 78,742 คน คิดเป็นอัตรา 0.14 % ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มีจำนวนทั้งหมด 57 ล้านคน เป็นคนที่สูบทุกวัน 40,724 คน และสูบแบบไม่ทุกวัน 38,018 คน  โดยผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า 24,050 คน อายุระหว่าง 15-24 ปี และส่วนใหญ่   อยู่ในกรุงเทพฯ และภาคกลาง  47,753 คน ขณะที่คนไทยที่รู้จักบุหรี่ไฟฟ้า เชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายมากกว่าบุหรี่ธรรมดา 26.7% เชื่อว่าอันตรายน้อยกว่า 11.3% และเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดามีอันตรายเท่ากัน 62.0% ทั้งนี้ ข้อมูลจำนวนและอัตราคนไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพประชากร ปี 2564 ที่เก็บข้อมูลจากทั้งสิ้น 73,654 ครัวเรือนทั่วประเทศ ครอบคลุมประชากรตัวอย่าง 164,406 คน นับเป็นการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

    สถิติการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย 2564

    ผศ.ดร.ศรัญญา กล่าวต่อว่า นอกจากสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่แล้ว ยังครอบคลุมพฤติกรรมการดื่มสุรา การกินอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ในการกำหนดนโยบายควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งรวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคปอดเรื้อรัง ที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทั้ง 4 ปัจจัยที่ทำการสำรวจในครั้งนี้ โดยทำการสำรวจระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ทั้งนี้ จำนวนและอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า รวมอยู่ในอัตราและจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั่วประเทศ ที่เท่ากับ 17.4% และจำนวนคนสูบบุหรี่ 9.9 ล้านคน

    สถิติการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย 2564

    ด้าน ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ที่ผ่านมาการสำรวจเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีพียงไม่กี่การสำรวจ และล้วนเป็นการสำรวจในกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กในประชากรกลุ่มเฉพาะ  ขณะที่เครือข่ายที่รณรงค์สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ที่ล่าสุดออกข่าวว่า มีคนไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามากกว่า 2 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ประเมินเกินจริงไปเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ มีหลักฐานชัดเจนว่า เครือข่ายรณรงค์สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นสมาชิกขององค์กรเครือข่ายผู้บริโภคนิโคตินนานาชาติ (International Network of Nicotine Consumer Organizations : INNCO) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.2016 ก่อนที่บริษัทฟิลลิป มอร์ริส จะวางตลาดบุหรี่ไฟฟ้าชนิดใช้ความร้อนโดยไม่มีการเผาไหม้ยี่ห้อโอคอส ในปี 2017 โดยองค์กรดังกล่าว รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อโลกปลอดควันบุหรี่ (Foundation for a Smoke Free World) ซึ่งตั้งขึ้นและให้ทุนสนับสนุนโดยบริษัทบุหรี่ฟิลลิป มอร์ริส ที่ขายทั้งบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้าไอคอส และกำลังพยายามวิ่งเต้นที่จะให้ยกเลิกกฏหมายห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยผ่านฝ่ายต่างๆ

     “รายงานความคืบหน้าการระบาดของยาสูบระดับโลก ขององค์การอนามัยโลกที่เปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ที่เจาะลึกเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ระบุชัดเจนว่า บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้าและเครือข่าย ได้มีการรณรงค์ให้ข้อมูลที่บิดเบือนเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เช่นอันตรายน้อยกว่าและช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ธรรมดา ซึ่งเป็นข้ออ้างที่รายงานองค์การอนามัยโลกระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานจากฝ่ายที่เป็นกลาง สนับสนุนข้ออ้างของบริษัทบุหรี่และเครือข่ายรณรงค์สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า จึงอยากขอให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้กำหนดนโยบายของประเทศ ใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ที่มาจากเครือข่ายที่สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า ที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทบุหรี่ข้ามชาติที่ผลิดและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า”        ดร.พญ.เริงฤดี กล่าว

    อ้างอิง

    WHO report on the global tobacco epidemic 2021: addressing new and emerging products: https://www.who.int/publications/i/item/9789240032095

    Successful countering of tobacco industry efforts to overturn Thailand's ENDS ban: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33229463/