ผู้พูดแสดงความคิดเห็นควรใช้ภาษาพูด คือ

                การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน  ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม  แสดงความคิดเห็น  หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน  มีวิธีการดังต่อไปนี้

การนำเสนอเป็นหนึ่งในทักษะที่ทุกคนจะต้องฝึกฝนให้เกิดขึ้นแก่ตน เพราะเป็นทางนำมาซึ่งความสำเร็จในการนำผลงาน แผนงาน โครงการและความคิดต่างๆ เสนอเพื่อให้มีการรับรอง หรือ อนุมัติ นับว่าเป็นสิงสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานและการดำเนินชีวิต

ลักษณะการนำเสนอที่ดี

นอกจากการเลือกรูปแบบของการนำเสนอ ให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว จะต้องคำนึงถึงลักษณะของการนำเสนอ ที่จะช่วยให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนอด้วย โดยทั่วไปลักษณะของการนำเสนอที่ดี ควรมีดังต่อไปนี้

1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน กล่าวคือ มีความต้องการที่แน่ชัดว่า เสนอเพื่ออะไร โดย

ไม่ต้องให้ผู้รับรับการนำเสนอต้องถามว่าต้องการให้พิจารณาอะไร

2. มีรูปแบบการนำเสนอเหมาะสม กล่าวคือ มีความกระทัดรัดได้ใจความ เรียง

ลำดับไม่สนใช้ภาษาเข้าใจง่าย ใช้ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ช่วยให้พิจารณาข้อมูลได้สะดวก

3. เนื้อหาสาระดี กล่าวคือ มีความน่าเชื่อถือ เที่ยงตรง ถูกต้อง สมบูรณ์ครบถ้วน

ตรงตามความต้องการ มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันสมัย และมีเนื้อหาเพียงพอแก่การพิจารณา

4. มี ข้อเสนอที่ดี กล่าวคือ มีข้อเสนอที่สมเหตูสมผล มีข้อพิจารณาเปรียบเทียบ

ทางเลือกที่เห็นได้ชัด เสนอแนะแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน

คุณสมบัติของผู้นำเสนอ

ในการนำเสนอด้วยวาจา คุณสมบัติอันเป็นลักษณะประจำตัวของผู้นำเสนอ ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการนำเสนอ เพราะคุณสมบัติของผู้นำเสนอจะมีอิทธิพลต่อการโน้นน้าวชักจูงให้เกิดความสนใจ ความไว้วางใจ เชื่อถือ และการยอมรับได้มาก เท่ากับหรือมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ

ผู้นำเสนอที่ประสพความสำเร็จส่วนใหญ่ จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. มีบุคลิกดี

2. มีความรู้อย่างถ่องแท้

3. มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ

4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง

5. มีภาพลักษณ์ที่ดี

6. มีน้ำเสียงชัดเจน

7. มีจิตวิทยาโน้นน้าวใจ

8. มีความสามารถในการใช้โสตทัศนอุปกรณ์

9. มีความช่างสังเกต

10. มีไหวพริบปฏิภาณในการคำถามดี

ที่มา www.tpa.or.th

ผู้พูดแสดงความคิดเห็นควรใช้ภาษาพูด คือ

jessadaFri Jul 24 2009 00:13:59 GMT+0700 (ICT)

  • การนำเสนอเป็นหนึ่งใน ทักษะที่ทุกคนจะต้องฝึกฝนให้เกิดขึ้นแก่ตน เพราะเป็นทางนำมาซึ่งความสำเร็จในการนำผลงาน แผนงาน โครงการและความคิดต่างๆ เสนอเพื่อให้มีการรับรอง หรือ อนุมัติ นับว่าเป็นสิงสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานและการดำเนินชีวิต

    หลักการนำเสนอ

    ในการนำเสนอเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆก็ตาม ผู้นำเสนอจะต้องพิจารณาถึงหลักการที่จะใช้เป็นข้อยึดถือ คือให้มีความถูกต้องเหมาะสม มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียต่อผู้นำเสนอเองและหน่วยงานของผู้นำเสนอด้วย เพราะการนำเสนอจะส่งผลโดยตรง และ โดยทางอ้อมต่อภาพลักษณ์ของบุคคลและองค์กรที่จัดนำได้ จึงต้องคำนึงถึงหลักการในการกำหนดจุดมุ่งหมายการนำเสนอ การวางโครงสร้างการนำเสนอ และการเตรียมเนื้อหาที่จะนำเสนอ

    · การกำหนดจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ

    1. ต้องก่อประโยชน์ทั้งต่อฝ่ายผู้นำเสนอและผู้รับการนำเสนอ

    2. ต้องคำนึงถึงผู้รับการนำเสนอเป็นหลัก

    3. ต้องมีจุดมุ่งหมายที่มีความเป็นไปได้

    4. ต้องไม่กำหนดจุดมุ่งหมายมากหลากหลายจนคลุมเครือ

    5. ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์

    · การวางโครงการนำเสนอ

    โครงสร้างการนำเสนอ เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การนำเสนอมีความสมรูป ตามเนื้อหาของการนำเสนอ จึงควรจัดโครงสร้างตามหลักการดังนี้

    1. ต้องมีส่วนของการกล่าวนำ ให้รู้ว่าผู้นำเสนอ หรือคณะผู้นำเสนอเป็นใคร หรือ

    ประกอบด้วยผู้ใดบ้าง และนำเสนอในนามของหน่วยงานใด บอกชื่อเรื่องที่นำเสนอ พร้อมด้วยวัตถุประสงค์ บอกระยะเวลาที่จะใช้ในการนำเสนอ และแจ้งให้รู้ถึงข้อมูลที่ได้เสนอให้พิจารณาแล้วล่วงหน้า

    2. ต้องมีส่วนแจ้งให้รู้ถึงสถานการณ์ ความเป็นมาของเรื่อง ให้รู้ถึงความเดิมก่อนที่

    จะนำเสนอว่ามีความสืบเนื่องประการใด

    3. ต้องมีส่วนที่ชี้ถึงสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และ ตัวแปรที่สัมพันธ์เกี่ยวข้อง

    เช่น ข้อกฎหมาย

    4. ต้องมีส่วนที่ชี้ถึงทางเลือกในการแก้ปัญหาพร้อมด้วยการประเมินข้อดีและข้อเสีย

    5. ต้องมีส่วนที่เป็นข้อเสนอในการแก้ปัญหาอันเป็นการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดี

    ที่สุด

    6. ต้องมีส่วนที่เป็นบทสรุป ทั้งข้อเท็จจริง และข้อโต้แย้งที่สำคัญ ถ้าเป็นการนำ

    เสนอเพื่อขออนุมัติ จะต้องกล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป ถ้าได้รับอนุมัติ

    jessadaFri Jul 24 2009 00:15:20 GMT+0700 (ICT)

  • การ นำเสนอเป็นหนึ่งในทักษะที่ทุกคนจะต้องฝึกฝนให้เกิดขึ้นแก่ตน เพราะเป็นทางนำมาซึ่งความสำเร็จในการนำผลงาน แผนงาน โครงการและความคิดต่างๆ เสนอเพื่อให้มีการรับรอง หรือ อนุมัติ นับว่าเป็นสิงสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานและการดำเนินชีวิต

    การตอบคำถามในการนำเสนอ

    การตอบคำถามเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอ แม้ว่าการนำเสนอเรื่องต่างๆจะเป็นการนำเสนอที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการบอกเล่าเรื่องให้ทราบ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียวจากผู้นำเสนอไปยังผู้รับการนำเสนอ แต่ในการที่จะให้เกิดการสื่อสารที่สมบูรณ์ มีความเข้าใจถูกต้องตรงกัน ก็ควรจะมีช่วงเวลาที่เปิดให้มีการซักถามข้อสงสัย หรือสิ่งที่ต้องการคำอธิบายเพิ่มขึ้น เป็นการสื่อสารสองทาง

    ในการนำเสนอส่วนใหญ่ จะมีการเชื้อเชิญให้มีการซักถามในตอนท้ายของการนำเสนอ ดังนั้นผู้นำเสนอจึงต้องมีหลักการเป็นข้อยึดถือในการปฏิบัติดังนี้

    1. ต้องจัดเวลาให้เหมาะสมในการเปิดการซักถาม อย่าให้มีเวลามากเกินไป จนเกิดคำถามที่ไม่มีสาระหรือคำถามที่ตั้งใจให้การนำเสนอเกิดการเสียหาย แต่ก็ควรจะเผื่อเวลาให้เพียงพอ

    2. ต้องคาดคะเนคำถามที่จะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมคำตอบที่เหมาะสม และสามารถเตรียมเอกสาร หรือหลักฐานประกอบคำตอบได้

    3. ต้องแสดงความยินดีต้อนรับคำถาม แม้จะเป็นคำถามที่ไร้สาระ หรือแฝงด้วยความประสงค์ร้าย แต่ก็สามารถจะเลือกตอบ และ สงวนคำตอบไว้ตอบเฉพาะตัวผู้ถามภายหลังก็ได้

    4. ต้องรู้จักการช่วยขัดเกลาคำถามที่วกวน หรือคลุมเครือ หรือช่วยเรียบเรียงคำถาม

    ที่มีข้อความยืดยาว เยิ่นเย้อให้กระชับขึ้น

    5. ต้องตอบให้ตรงประเด็น หมายถึงตรงกับเรื่องที่ถามไม่ตอบเลี่ยง หรือตอบคลุม

    เครือ ตอบเป็นภาษาวิชาการ ตอบเป็นหลักทฤษฎีพูดเป็นนามธรรม พูดยอกย้อน ประชดประชัน ทำให้เกิดประเด็นคำถามตามมาอีกไม่รู้จบสิ้น