ภูมิปัญญาไทยภาคใต้มี อะไร บาง

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้

  • ด้ง

ภูมิปัญญาไทยภาคใต้มี อะไร บาง

ด้ง คือ กระด้ง มีหลายชนิด ที่สำคัญมี ๒ อย่าง คือ กระด้งฝัดข้าวกับกระด้งมอน กระด้งฝัดข้าวสานด้วยไม้ไผ่รูปร่างกลมหรือกลมรีหัวเลี่ยม กระด้งนอกจากใช้ฝัดข้าว ร่อนข้าวแล้ว ยังใช้ตากอาหาร ตากปลา กุ้ง ตากสิ่งของต่างๆได้สารพัด แม้กระทั่งใช้เป็นที่นอนของเด็กอ่อนแรกเกิด ที่เรียกกระด้งมอนสานขึ้นจากไม้ไผ่เหมือนกัน ภาษาพื้นเมือง “มอน” แปลว่า กลม แปลว่า เฝ้าวนเวียนที่จะมาทำมิดีมิร้าย แล้วในที่นี้มีความหมายว่า กระด้งทรงกลม ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากระด้งฝัดข้าวมาก ใช้ฝัดข้าวไม่ได้จึงนิยมใช้งานอื่น เช่น ตากข้าว ตากอาหาร ตากยาสูบ พริก ฯลฯ และตากสิ่งของอื่นๆ โดยเฉพาะดังมีคำพังเพยว่า “สานด้งใส่ข้าวเจาะน้ำเต้าใส่น้ำ” เป็นต้น

  • เกี่ยว

ภูมิปัญญาไทยภาคใต้มี อะไร บาง

เกี่ยว หรือ “เคียว” ก็เรียกเป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าวมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับ “กรูด” แต่มีหางยาวกว่า ใบมีดก็มีลักษณะต่างกันเล็กน้อย เวลาเก็บเกี่ยวมือแทนที่จะจับตรงกลางเหมือนกรูด กลับจับส่วนปลายของด้ามสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้รวดเร็วทีละหลายๆ กอ นิยมใช้กันทาง ต.ท่างิ้ว อ.เมือง ต.อินคีรี ต.บ้านเกาะ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช

  • เครื่องใช้ในครัว

ภูมิปัญญาไทยภาคใต้มี อะไร บาง

       เครื่องใช้ในครัว นอกจากมีหม้อ มีกระทะ หลายชนิดและหลายรูปทรง เช่น เผล้ง (ใช้ใส่ข้าวสาร ใส่น้ำกิน) และเป็นเครื่องปั้นดินเผาตามแบบโบราณแล้วชาวปักษ์ใต้ยังมี “สวด” ลักษณะใกล้เคียงกับ “หวด” ในภาคกลาง คือ ลักษณะคล้ายเป็นหม้อ ๒ ใบ แฝดติดต่อกัน ตรงกลางจึงคอดกิ่ว ส่วนบนเรียก “ตัวผู้” ส่วนลูกล่างเรียก “ตัวเมีย” ตรงคอดกิ่วนั้นเองมีตะแกรงหรือ“เพดาน” เจาะรูเล็กๆ หลายรูสำหรับให้ไอน้ำจากด่านล่างระเหยขึ้นมาได้ เพราะเป็นหม้อสำหรับนึ่งข้าวเหนียวและอื่นๆ
       จำพวก “หวัก” (จวัก) ใช้ตักแกง แล่ง (ใช้ตวงข้าวสาร) ป้อย (ใช้ตวงข้าวสารใส่หม้อหุงข้าว) โหลก (กะโหลก) ใช้ใส่ของขนาดเล็กๆ จิปาถะ พรกเคย (ใช้ละลายกะปิ) พรกลอด (ทำขนมลอดช่อง) พรกลา (ทำขนมลา) ฯลฯ อุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้มักทำด้วยกะลามะพร้าว (พรก) เนื่องจากภาคใต้มีสวนมะพร้าวทั่วไปหาได้ง่ายไม่มีวันจบสิ้น และถือเป็นวัสดุประเภท “สารพัดประโยชน์” เลือกลูกแก่ๆ ขัดให้เป็นมันดำ มีการตกแต่งยิ่งเป็นลวดลายสวยงามน่าใช้และมีคุณภาพคงทนดี

  • เครื่องมือจับปลา

ภูมิปัญญาไทยภาคใต้มี อะไร บาง

       เครื่องมือจับปลา มีมากหมายหลายอย่างทำด้วยไม้ไผ่เป็นหลัก เช่นสุ่ม (จับปลา) นาง (ชนาง ก็เรียกใช้ช้อนดักจับกุ้งปูปลาขนาดเล็ก) เชงเลง (ปากกว้างหางเรียวใช้ดักปลา) เจ้ย (ตะแกรง ใช้ตากกุ้งปลา ตากพริก ร่อนข้าวสาร) นั่งได้นอนได้ (หรือหญดก็เรียก คือ อีจู้ทั้งแบบตั้งและแบบนอนใช้ดักปลา) โลด – เล่ (เครื่องดักปลาแบบให้ปลากระโดดขึ้นมาค้างบนรางร้าน) ส้อน (รูปร่างเล็กยาวคล้ายกระบอกกรวยใช้ดักกุ้งปลาขนาดเล็ก) ไซ (มีหลายแบบเช่น ไซลาว มีรูปร่างเล็กยาวใช้ดักกุ้ง ไซดักปลา ไซหัวหมู) รูปร่างของไซแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่ส่วนที่เหมือนกันคือมี “งา” อยู่ข้างในดังคำปริศนาคำทำนายที่ว่า “ช้างตายในนางอกงาในพุง” ตะข้องหรือ “ข้อง” สำหรับขังปู ปลา กุ้ง หอย มีหลายชนิดและลางชนิดก็เรียกชื่อกับการใช้งานต่างออกไป เช่น จง หรือข้องจงมีขนาดเล็กทรงชะลูดปากเรียว (ใช้ใส่กุ้ง ปู ปลา) ข้อง (ทั่วไปใช้ใส่หอย ปู ปลา) ข้องไหล (ใช้ดักปลาไหล) ไซขังปลา (ไซทนก็เรียก) ข้องบา (คือตะข้องแบบมีบ่า ๒ ข้าง มักมีขนาดใหญ่ ใช้ใส่ปลา) ข้องนั่งได้ คืออีจู้นั่นเอง

  • ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว

ภูมิปัญญาไทยภาคใต้มี อะไร บาง

ประวัติความเป็นมา
ก่อนปี พ.ศ. 2525 นายปลื้ม ชูคง ได้เริ่มงานหัตกรรม โดยได้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ภายในครัวเรือน เครื่องมือเพื่อการเกษตร โดยนำไปขายตามหมู่บ้านและงานวัดทั่วไปพ.ศ.2525ได้เริ่มจัดทำผลิตภัณฑ์ กะลามะพร้าว โดยทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนไม่กี่ประเภท เช่น ทัพพี ตะหลิว ตะบวย จวัก พ.ศ.2526 หน่วยงานทางราชกาลหลายหน่วย ได้เข้ามาแนะนำส่งเสริมอุตสาหกรรม ในครัวเรือนนายปลื้ม ได้เป็นวิทยากรแนะนำให้ความรู้และชักจูงให้ประชาชนในหมู่เข้ามาร่วมมือสร้างผลงานหัตกรรม ผลิตภัณจากกะลามะพร้าวประชาชนเริ่มตื่นตัวและเล็งเห็นความสำคัญในงานอาชีพหัตกรรมกะลามะพร้าวเนื่องจากงานประเภทนี้ประชาชนเคยได้ทำใช้ในครัวเรือนมาก่อน พ.ศ.2528-2529 ได้รวมกลุ่มสมาชิก ฝึกทำผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว16คนปี2530 ขยายมากขึ้นเป็น 25 คนได้ร่วมกันผลิตส่งออกจำหน่าย มียอดขาดมาขึ้นกว่าปีก่อนๆ ปี 2531 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพัทลุงให้ความช่วยเหลือการจัดสรรเครื่องมือการผลิต ปี 2533 มีการจักส่งผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวไปจำหน่ายต่างประเทศ มีการจัดตั้งกลุ่มอย่างเป็นรูปธรรมมีคณะกรรมการดำเนินงานนายปลื้มเป็นประธาน และผู้ประสานงานติดต่อการค้าขาย ปัจุบันสมาชิกกลุ่มหัตกรรมเพิ่มขึ้นถึง200 กว่าคน จำนวน63 ครัวเรือน ได้ทำผลิตภัณจากกะลามะพร้าวออกจำหน่ายทั้งประเทศภายในประเทศแต่ละประเทศ
กระบวนการ
1.การคัดเลือกกะลามะพร้าว ควรเลือกกะลามะพร้าวที่ทมีรูปทรง และสีผิว คล้ายหรือใกล้เคียงกัน กับแบบมากที่สุดรูปทรงส่วนใหญ่ที่พบมีเพียง 2 แบบ คือ รูปทรงกลมกับรูปทรงรี
2.การเตรียมกะลามะพร้าว คัลเลือกมะพร้าวที่มีกะลาหนารูปทรงเหมาะสม นำผลมะพร้าวมาปลอกเปลือกขูดผิดด้านนอกให้เรียบร้อน แล้วผ่าซีกผลกะลามะพร้าวแกะเนื้อมะพร้าวออกจากกะลา ตกแต่งสีด้านในด้านนอกให้เรียบร้อยตัดเป็นชิ้นงานตามรูปแบบที่ต้องการ
3.การทำด้านผลิตภัณฑ์ ไม้ที่นำมาทำด้านติดกับตัวกะลา ควรเป็นไม้เนื้อแข่งปานกลาง และมีสีสันคล้ายกับตัวกะลา เช่น ไม้จากต้นมะพร้าว ประดู่ ไม้ขี้เหล็ก
4.การประกอบชิ้นส่วน และการตกแต่งมีส่วนที่เป็นกลางกับส่วนที่เป็นด้าม

  • ผลิตภัณฑ์กระจูด

ภูมิปัญญาไทยภาคใต้มี อะไร บาง

ประวัติความเป็นมา
ในหมู่บ้านมีทุ่งกระจูด( ชื่อท้องถิ่น ) ขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้นำมาสานเป็นเสื่อไว้ใช้เองและจำหน่ายแต่ทำในลักษณะต่างคนต่างทำ ต่อมากลุ่มพัฒนาชุมชนได้รวมกลุ่มสมาชิกขึ้นและประสานงานกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาทำการสอนแปรรูป ตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น หมวก กระเป๋า แบบต่างๆ ของใช้เบ็ดเตล็ด ที่รองแก้ว ที่รองจาน ตู้เสื้อผ้า แฟ้ม ฯลฯ
กระบวนการผลิต
นำกระจูดตากแห้ง ย้อมสี เข้าเครื่องรีด จักรสานตามลายที่ต้องการแล้วนำมาตัดเย็บ ใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยี

  • ผลิตภัณฑ์จักสานใบเตย

ภูมิปัญญาไทยภาคใต้มี อะไร บาง

ประวัติความเป็นมา

ต้นเตย เป็นต้นไม้ที่คนในชุมชนนิยมปลูกกันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจเริ่มมีมากขึ้น มีปัญหาการว่างงานและบางส่วนว่างจากการประกอบอาชีพหลักจึงเกิดแนวคิดที่จะหารายได้เสริม โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น และเป็นงานฝีมือที่ใช้เส้นใยจากธรรมชาติ คือ ใบเตยหนาม หรือปาหนัน

กระบวนการผลิต
การจักสานมใช้ใบเตยหนาม หรือปาหนัน จะนำมาจักสานเป็นของใช้ ของที่ระลึก รูปแบบต่างๆ โดยการนำใบเตยมาตากแดด แล้วนำเข้าเครื่องจักตอกให้ได้ขนาดเส้นตามที่ต้องการ ถ้าต้องการย้อมสีก็สามารถทำได้ จากนั้นนำมาจักสานขึ้นรูปตามแบบที่ต้องการอย่างประณีต และสวยงาม เสร็จแล้วทาแลคเกอร์ชิ้นงานให้ขึ้นเงาและเป็นการป้องกันรา  อ่านต่อ

แหล่งที่มา

http://sineenach.blogspot.com/

ภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่นภาคใต้มีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญาและประเพณีของภาคใต้ การแสดงโนรา เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร่ายรำ บทร้องประกอบดนตรี บทเจรจา และบางทีก็มีการแสดงเรื่องด้วย เครื่องดนตรีของโนราคล้ายกับเครื่องดนตรีของหนังตะลุง คือมี ทับ กลอง ปี่ โหม่ง ฉิ่ง และแตระ เครื่องดนตรีเหล่านี้จะใช้ประกอบจังหวะและเสียงร้องให้เข้ากันกับการรำ

ข้อใด เป็นหัตถกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคใต้

กระบวนการคิดและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ่าน 9 แนวความคิดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ที่มีเอกลักษณ์เด่นชัด ได้แก่สิบสองเมืองนักษัตร หัตถกรรมแกะหนังตะลุง หัตถกรรมลูกปัดโนราห์ หัตถกรรมผ้า มัดย้อม หัตถกรรมผ้าบาติก หัตถกรรมหางอวน หัตถกรรมจักสานกระจูด หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา ศิลปะ ลวดลายสถาปัตยกรรมมาลายู

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนราธิวาสมีอะไรบ้าง

ข้อมูลพื้นฐานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนราธิวาส ภูมิปัญญาท้องถิ่น ... .
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนราธิวาส มีดังนี้ 1. ใบไม้สีทอง ... .
2. ผ้าบาติก ... .
3. กระจูด ... .
4. เรือกอและ เรือกอและจาลอง ... .
5. เครื่องจักสานย่านลิเภา ... .
ข้อมูลพื้นฐานด้านปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดนราธิวาส ปราชญ์ชาวบ้าน.

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราชมีอะไรบ้าง

1. ด้านการเกษตร การทำการเกษตรแบบพอเพียง ด้านปลูกยาเส้น (ยากลาย) การทำนา 2. ด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน การทำกรงนก การทำหางอวน การทำเครื่องปั้นดินเผา การทำอิฐมอญ การจักรสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ การทำว่าว 3. ด้านประมง การต่อเรือประมงพื้นบ้าน การอนุรักษ์พันธ์ปูม้า การสร้างบ้านปลา