เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๑.เสียงเออจากทรวงอก
เสียงเออจากลำคอ
เสียงเออขึ้นนาสิก
เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๒.เสียงเอย

เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๓.เสียงอือ

เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๔.เสียงอึ

เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๕.เสียงเอ๋ย

เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๖.เสียงเออะ

เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๗.เสียงเฮอ

เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๘.เสียงฮือ

เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๙.เสียงฮึ

เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๑๐.เสียงหือ

เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๑๑.เสียงเอิงเงอ

เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๑๒.เสียงเอื้อนตามทำนองเพลง

เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๑๓.ครั่นเสียง


ครั่นคำร้อง ครั่นทำนอง
เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

๑๔.เสียงกระทบ
  เสียงกระทบคำ

เสียงกระทบทำนอง

เสียง เออ ลักษณะ การ ทำ เสียง

            การขับร้องเพลงไทย เป็นศิลปะที่มีความประณีตมากแขนงหนึ่ง มีเทคนิคต่าง ๆ มากมายที่ผู้ร้องจะต้องเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เสียงเพลงที่ออกมามีความไพเราะ น่าฟัง และสามารถถ่ายทอดความรู้สึกและอารมณ์ได้ถูกต้องตามบทเพลง อันจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับเสียงเพลงนั้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพียงเทคนิคบางอย่างที่ใช้กันมากในการขับร้อง ดังนี้

            1.   เอื้อน หมายถึง การออกเสียงเป็นทำนองโดยไม่มีเนื้อร้อง เสียงเอื้อนเป็นเสียงที่ผ่านออกมาจากลำคอโดยตรง มีอยู่มากมายหลายเสียง และมีที่ใช้ต่างกัน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพียงบางเสียงที่ใช้กันมาก ได้แก่

                   1)   เสียงเออ เป็นเสียงสำคัญมาก มีหน้าที่เป็นเสียงนำ วิธีทำเสียง “เออ” เผยอริมฝีปาก

เล็กน้อย แล้วเปล่งเสียงออกจากคอให้ดังพอสมควร บังคับเสียงให้มีน้ำหนักที่คอแรงหน่อยโดยไม่ต้องขยับคาง

                   2)   เสียงเอย มีที่ใช้ในตอนสุดวรรคหรือหมดเอื้อน หรือหมดวรรคของเอื้อน จะขึ้นบทร้องวิธีทำเสียง “เอย” มีวิธีทำเช่นเดียวกับเสียง “เออ” แต่เมื่อจะให้เป็นเสียง “เอย” ก็ให้เน้นที่มุมปาก ออกเสียงท้ายให้เป็นเช่นเดียวกับตัวสะกดแม่เกยในภาษาไทยโดยให้ปลายลิ้นแตะฟันล่าง

                  3)   เสียงเอ๋ย เสียง “เอ๋ย” นี้ใช้ในการขับร้องที่มีลักษณะของบทร้องเป็นบทชมหรือบทเกี้ยว หรือบทเพลงที่แต่งเป็นสร้อย เช่น ดอกเอ๋ย อกเอ๋ย น้องเอ๋ย ฯลฯ วิธีทำเสียง “เอ๋ย” เหมือนกับการทำเสียง “เอย”แต่ผันเสียงให้สูงขึ้นโดยไม่หุบปาก เปลี่ยนน้ำเสียงในช่วงหางเสียงให้ไปทางนาสิกอย่างช้า ๆพร้อมกับทำเสียง “หือ” ต่อท้าย

                   4)   เสียงหือ เสียง “หือ” จะใช้เฉพาะขับร้องในทางเสียงสูง มักจะใช้ในตอนสุดท้ายของวรรค หรือตอนของทำนองเพลง หรือตามความต้องการของผู้ขับร้องที่จะใช้หางเสียงเพื่อให้เกิดความไพเราะตามความเหมาะสม วิธีทำเสียง “หือ” ให้เผยอริมฝีปากเล็กน้อย แล้วเปล่งเสียงออกมาจากคอเบา ๆ พร้อมกับผันเสียงขึ้นในทางสูงเรื่อยไป ให้เสียงออกมาทางจมูกอย่างช้า ๆ จนสุดหางเสียง

                  5)   เสียงอือ ใช้ในระหว่างรอจังหวะ หรือสุดวรรคหรือลงสุดท้ายของเพลง วิธีทำเสียง “อือ” เผยอริมฝีปากออกเล็กน้อย เปล่งเสียงออกจากลำคอแรงมาก ๆ โดยไม่ต้องขยับคาง ยกโคนลิ้นขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้เสียงออกมาทั้งทางจมูกและทางปาก

            2.   ครั่น เป็นวิธีทำให้เสียงสะดุดสะเทือนเพื่อความเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน วิธีทำเสียง “ครั่น” เปล่งเสียงออกจากลำคอให้แรงมาก ๆ จนเสียงที่คอเกิดความสะเทือนเป็นระยะ ๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้ขับร้องที่เห็นว่าไพเราะ น่าฟัง

              3. โปรย เสียง “โปรย” ใช้ได้ทั้งการขับร้องและการดนตรี คือ เมื่อร้องจวนจะจบท่อนก็โปรยเสียงให้ดนตรีสวมรับและเมื่อดนตรีรับจนจะจบท่อนก็จะโปรยให้ร้องรับช่วงไป คำว่า “โปรย” นี้คล้ายกับศัพท์ทางดนตรีว่า “ทอด” นั่นเอง เป็นการผ่อนจังหวะให้ช้าลงเมื่อจะจบเพลง หรือเมื่อจะให้ผู้ขับร้องร้อง

                 4.   ปริบ เสียง “ปริบ” วิธีทำเหมือนเสียง “ครั่น” แต่เบากว่า

                5.   เสียงกรอก เสียง “กรอก” เป็นลักษณะที่เกิดจากการทำเสียงที่คอให้คล่องกลับไปกลับมา เพื่อความเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน วิธีทำเสียง “กรอก” เผยอริมฝีปากเล็กน้อย เปล่งเสียงจากคอให้แรงพอสมควรสลับกับเสียงทางจมูก ทำเสียงให้กลับไปกลับมาระหว่างคอกับจมูก 2–3 ครั้ง หรือมากกว่าตามความเหมาะสม

               6.   เสียงกลืน ใช้ในการร้องลงต่ำ คือ เมื่อต้องการให้เสียงต่ำก็กลืนเสียงลงในลำคอ วิธีทำเสียง “กลืน” เผยอริมฝีปากเล็กน้อย เปล่งเสียงออกจากลำคอให้แรงพอสมควร ขยับคอเล็กน้อย เพื่อให้กลืนเสียงลงไปในลำคอได้สะดวก จะกลืนเสียงมากน้อยขึ้นอยู่กับผู้ขับร้องจะเห็นสมควร

                7.   หลบเสียง หลบเสียง หมายถึง การร้องที่ดำเนินทำนองเปลี่ยนจากเสียงสูงลงมาเป็นเสียงต่ำ หรือจากเสียงต่ำเป็นเสียงสูงในทันทีทันใดการร้องเพลงตอนใดที่เสียงไม่สามารถจะร้องให้สูงขึ้นไปได้อีกแล้ว ก็ให้หลบเสียงเป็นเสียงต่ำ (เสียงคู่แปด) โดยการผ่อนเสียงเดิมให้ค่อย ๆ เบาลงมาหาเสียงต่ำ หรือถ้าตอนใดเสียงร้องนั้นจะต้องลงต่ำต่อไปอีก แต่เสียงร้องไม่สามารถจะต่ำลงไปได้อีก ก็ร้องหักเสียงให้สูงขึ้นด้วยวีธีการเช่นเดียวกัน

         เนื่องจากการขับร้องเพลงไทยมีเทคนิคในการขับร้องที่สูงมาก ดังนั้นเทคนิคต่าง ๆ ในการร้องเพื่อตบแต่งทำนองให้ไพเราะ น่าฟัง ดังกล่าวแล้วนี้ อาจแตกต่างกันไปบ้างตามสติปัญญา ความสามารถที่เห็นว่าไพเราะของแต่ละบุคคลซึ่งลักษณะอย่างนี้เป็นการแสดงออกถึงความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ของนักร้องเพลงไทยที่สามารถประดิษฐ์ทำนองหรือทางในการร้องได้ โดยยึดแกนร่วมเดียวกัน

         ในส่วนของเพลงพื้นบ้านนั้น เทคนิคต่าง ๆ ในการร้องก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าการร้องกลอนเพลงพื้นบ้าน จะมีการร้องเอื้อน หรือร้องคำซ้ำ ๆ เพื่อช่วยยืดเวลาให้คิดกลอนได้ทัน สำหรับการร้องประกอบวงดนตรี การเอื้อนหรือเทคนิคต่าง ๆ ดังกล่าวจะเป็นแบบแผนมากขึ้น

หลักการร้องเพลงเสียงต่ำ แบ่งออกเป็น 6 ข้อคือ

(1) ใช้เลียนแบบเช่นเดียวกับการพูด เสียงจะอยู่ที่ริมฝีปาก พยัญชนะและสระอยู่ที่ริมฝีปากไม่ใช่อยู่ในคอ

(2) เมื่อจะเริ่มร้องเสียงต่ำจะต้องเริ่มคิดเสียงสูงไว้

(3) ยิ่งเสียงลงต่ำช่องในปากจะเล็กลง ถ้าปากกว้างไปเสียงจะไม่มีกำลัง

(4) เวลาร้องเสียงต่ำไม่ควรร้องเสียงดัง

(5) บังคับลมและกำลังไว้ไม่ให้พลังออกมามากพร้อมกับเสียง เพราะจะทำให้เสียงหนักเกินไป

(6) ให้เสียงต่ำมีลักษณะก้องหรือสะท้อนกังวานออกมาคล้ายเสียงฮัม

หลักการร้องเพลงเสียงสูง แบ่งออกเป็น 5 ข้อคือ

(1) ใช้สมองหรือใช้ความคิดช่วยในการร้องเสียงสูง เช่น จะร้องเสียงซอลสูง ให้สมมุติว่าจะร้องเสียงสูงเท่ากับที่เคยร้องมาก่อน