เงินชดเชยประกันสังคม กรณีเลิกจ้าง 2564

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

03 ก.ค. 2565 เวลา 10:00 น. 5.6k

“ถูกเลิกจ้าง” เปิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข สิทธิประโยชน์ เเละการจ่ายเงินชดเชยเป็นอย่างไร ต้องเสียภาษีอย่างไรบ้าง

หากถูกเลิกจ้าง หลายคนยังมีคำถามว่า ถูกเลิกจ้างต้องทำอย่างไร สิทธิประโยชน์และค่าชดเชยอะไรที่ควรได้รับบ้าง ไปดูคำตอบกันเลย

การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดหน้าที่ของนายจ้างและสิทธิของลูกจ้างกรณีการเลิกจ้าง ทั้งนี้โดยอาศัยหลักการตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่158 ที่กำหนดเรื่องการเลิกจ้าง คือ

  1. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรที่เกี่ยวข้องกับความสามารถหรือพฤติกรรมของ ลูกจ้าง
  2. ลูกจ้างจะต้องได้รับการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างหรือได้รับค่าชดเชยหรือการชดเชยแบบอื่นๆ เว้นแต่ลูกจ้างจะกระทำความผิดอย่างร้ายแรง
  3. ในกรณีที่มีการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม หากนายจ้างไม่สามารถรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ลูกจ้างต้องได้รับเงินชดเชยอย่างเพียงพอ

หลักการเรื่องการเลิกจ้างตามอนุสัญญา ILO  พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ทั้งนี้การเลิกจ้างได้แก่

  • การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด
  • การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป โดยมีเจตนารมณ์ในการให้ความคุ้มครองลูกจ้างซึ่งต้องถูกเลิกจ้างให้ ได้รับค่าชดเชย ไม่ว่าจะเป็นกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายให้ลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างเลิกกิจการ หรือ ลูกจ้างต้องออกจากงานเพราะสัญญาจ้างสิ้นสุดลง ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้
  1. ลูกจ้างลาออกจากงานโดยสมัครใจ
  2. ลูกจ้างที่ทำสัญญากับนายจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้างตามกำหนด ระยะเวลานั้น สำหรับงานที่ต้องแล้วเสร็จภายใน 2 ปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง และเป็นการจ้างงานใดงานหนึ่งที่ทำชั่วคราวในช่วงเวลาอันสั้นแล้วเสร็จสิ้นไป ซึ่งการว่าจ้างถือเอาความแล้วเสร็จของ งานเป็นสาระสำคัญในการกำหนดระยะเวลาการจ้าง ได้แก่งานดังต่อไปนี้
  3. งานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและ สิ้นสุดของงานที่แน่นอน เช่น งานค้นคว้าทดลอง หรืองานสำรวจวิจัยซึ่งอาจเป็นการทำลองผลิตสินค้าชนิดใหม่ก่อน นำเข้าสู่กระบวนการผลิตตามปกติของธุรกิจนายจ้าง หรือการสำรวจหาแหล่งขุดเจาะน้ำมันในกิจการโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่ง งานเหล่านี้มิใช่งานที่ทำเป็นปกติธุระในกิจการของนายจ้างนั้น
  4. งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน เช่น จ้างลูกจ้างเป็นช่างไม้ ช่างปูน ช่างผูกเหล็กในงานรับเหมาก่อสร้างซึ่งงานจะเสร็จตามหน้างาน หรือนายจ้างประกอบกิจการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ได้จ้างลูกจ้างมาต่อเติมอาคารหรือซ่อมกำแพงโรงงานจนแล้วเสร็จ
  5. งานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น เช่น จ้างลูกจ้างทำงานในการผลิตซึ่งอาศัย พืชผลตามฤดูกาล เช่นโรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง

 การจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนในงานอื่นซึ่งมิใช่งาน 3 ประเภทนี้ ก็ไม่ใช่กรณียกเว้นเรื่อง ค่าชดเชย ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างและไม่อยู่ในกรณียกเว้นข้างต้น รวมทั้งไม่อยู่ในกรณียกเว้นตามมาตรา 119 ด้วย จะมีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยต่อเมื่อมีอายุงานตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้

  1. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน
  2. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วัน
  3. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 180 วัน
  4. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วัน
  5. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 10ปี ขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 300 วัน

 สิทธิผู้ประกันตน กรณีถูกเลิกจ้าง

  • จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

ผู้ที่ได้รับเงินชดเชยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยไหม

  • เงินค่าชดเชยที่ไม่เกิน 300,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี 
  • หากเงินชดเชยที่ได้รับมากกว่า 300,000 บาท ส่วนที่เกินจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  

ข้อมูล : กระทรวงเเรงงาน 

ผู้ประกันตนต้องรู้ วิธีคํานวณเงินชดเชยเลิกจ้าง

เงินชดเชยประกันสังคม กรณีเลิกจ้าง 2564

เขียนเมื่อวันที่ 19/10/2021

เงินชดเชยเลิกจ้างประกันสังคม ได้เท่าไหร่

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย ยังคงเผชิญกับการระบาดอย่างหนักถึงแม้จะมีการเร่งให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีน แต่จากความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นทำให้ส่งผลกระทบทั้งระบบเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว หรือธุรกิจหลากหลายประเภทที่ต้องประสบปัญหาทางด้านการเงินและการแบกรับภาระจนสู้ต่อไม่ไหวทำให้ต้องปิดกิจการหรือเลิกจ้างพนักงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้สามารถหมุนเวียนได้คล่องตัวมากที่สุด บางกิจการถึงแม้จะยังเปิดให้บริการหรือดำเนินต่อไปได้แต่ก็ต้องมีการปรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของบริษัทลง ปรับช่วงเวลาในการทำงานของพนักงาน ส่งผลให้มีคนจำนวนไม่น้อยต้องตกงานและอยู่ในสภาพว่างงาน ซึ่งหลายคนอาจยังไม่ทราบถึงสิทธิประโยชน์ของตัวเองจากการเป็นผู้ประกันตนหรือผู้มีประกันสังคมทั้งกรณีลูกจ้างประจำหรือผู้ประกันตนเอง สามารถรับสิทธิประกันสังคมในกรณีว่างงานและเงินชดเชยเลิกจ้างได้เช่นเดียวกัน เพื่อไม่ให้เสียสิทธิที่พึงได้รับฮักส์ได้รวบรวมข้อมูลสิทธิประโยชน์ทดแทนในกรณีเลิกจ้างมาฝากกัน 

ใครสามารถรับสิทธิเงินชดเชยเลิกจ้างประกันสังคมได้บ้าง 

เงินชดเชยเลิกจ้างช่วงโควิด

ทางด้านประกันสังคมมีการกำหนดหลักเกณฑ์สิทธิเงินชดเชยเลิกจ้างเงื่อนไขทั้งในกรณีถูกเลิกจ้างและกรณีว่างงาน ดังนี้ 

  1. เป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานหรือถูกเลิกจ้าง
  2. ระยะเวลาในการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
  3. ต้องทำการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบบนเว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ของสำนักงานจัดหางานของภาครัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง 
  4. ต้องทำการรายงานตัวตามกำหนดการนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ของสำนักงานจัดหางานไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
  5. เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน พร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้
  6. ไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
  7. สำหรับผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้าง จากกรณีดังนี้
  • ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานในกรณี ร้ายแรง
  • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุ
  • ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
  • ต้องไม่ใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

เงินชดเชยเลิกจ้าง คิดยังไง

สำหรับกรณีผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งจะมีการคำนวณจากฐานเงินสมทบพื้นฐานขั้นต่ำจำนวน 1,650 บาทต่อเดือน และมีฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน 

ตัวอย่างการคำนวณเงินชดเชยเลิกจ้าง

ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ยเดือนละ 12,000 บาท ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย ผู้ประกันตนจะได้รับเงินเดือนละ 6,000 บาท 

ในกรณียื่นคำขอรับเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างหรือว่างงาน มากกว่า 1 ครั้งภายในระยะเวลา 1 ปี จะได้รับสิทธิเงินชดเชยทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นกรณียื่นคำขอรับเงินชดเชยกรณีลาออก เกินกว่า 1 ครั้งภายในระยะเวลา 1 ปีจะมีสิทธิได้รับเงินชดเชยรวมกันไม่เกิน 90 วัน สามารถยื่นเรื่องผ่านช่องทางออนไลน์หรือยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ได้ที่ สนง.ประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ

กฎหมายแรงงาน เลิกจ้าง 2564

การถูกเลิกจ้างหรือตกงาน

ทางด้านกระทรวงยุติธรรมได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับการถูกให้ออกจากงาน ซึ่งลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงานฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และ มาตรา 17/1 เงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้ 

1.ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป รวมถึงจากสถานการณ์โควิด-19 

  • สำหรับลูกจ้างที่ทำงานยังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย 
  • ลูกจ้างทำงาน 120 วันถึง 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน 
  • ลูกจ้างที่ทำงานมาแล้ว 1 - 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน 
  • หากทำงานมาแล้ว 3 - 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน
  • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 - 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับอัตราจ้างงาน 240 วัน 
  • ลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 - 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน 
  • หากทำงานมาแล้วมากกว่า 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับอัตราจ้างทำงาน 400 วัน

2. ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าหรือไล่ออกโดยไม่บอกล่วงหน้า

ถือว่านายจ้างมีการทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไปตามมาตรา 118 (เงื่อนไขข้อ 1) ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่แจ้งลูกจ้างล่วงหน้าตามมาตรา 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในอัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนโดยค่าเสียหายจะถูกคำนวณมากที่สุดไม่เกินค่าจ้าง 3 เดือนของลูกจ้าง

สำหรับผู้ที่มีสิทธิประกันสังคมและเป็นผู้ประกันตนไม่ควรละเลยข้อมูลเกี่ยวกับการถูกเลิกจ้างหรือสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานโดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นอกจากการคำนวณเงินชดเชยว่างงานแล้วควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงห่างไกลโรคและห่างไกลเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยการเลือกทำประกันภัยสุขภาพและการเลือกทำประกันภัยโควิดที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งในส่วนของค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายจะได้อุ่นใจในเรื่องของค่าใช้จ่ายแม้ยามเจ็บป่วย Hugs Insurance มีกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพและประกันภัยโควิดหลากหลายที่ตอบโจทย์สถานการณ์ในปัจจุบัน สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงยุติธรรม