รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

     ในกรณีที่เพื่อนๆไม่สะดวกแวะเข้ามาลองที่หน้าร้าน เราได้รวบรวมคำแนะนำเรื่องไซส์รองเท้าก่อนที่เพื่อนๆจะตัดสินใจซื้อเพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าเราจะได้ไซส์ทีต้องการจริงๆ หากยังไม่เข้าใจหรืออยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทางเรายินดีเป็นอย่างยิ่งในการให้คำแนะนำเพิ่มเติมครับ

     กรณีที่1ถ้าเพื่อนๆได้เคยลองใส่รองเท้ายี่ห้อนั้นๆมาแล้ว ก็สามารถอิง size รองเท้าคู่ที่ท่านเคยใส่ได้กับยี่ห้อนั้นๆได้ ตัวอย่างเช่นถ้าเคยใส่รองเท้ารุ่น1 ยี่ห้ออาดิดาสไซส์ 8 UK เพื่อนๆอาจจะสามารถอิง ไซส์ 8 UK ในรองเท้าอาดิดาสรุ่นที่2 ที่เรากำลังตัดสินใจสั่งซื้อ แต่ว่ารองเท้ายี่ห้อเดียวกันแต่คนละรุ่นป้ายแสดงไซส์เท่ากันแต่ขนาดก็อาจไม่เท่ากัน ( ความยาวเท่าแต่ความกว้างไม่เท่ากัน ) ดังนั้นถ้าจะให้ชัวร์ที่สุดในการอิงไซส์เดิม จะเป็นรองเท้ายี่ห้อเดียวกันรุ่นเดียวกันแต่แค่คนละสี ( ในกรณีนี้สามารถอิงไซส์เก่าได้เลย )

     กรณีที่2ท่านเพื่อนๆไม่เคยลองใส่รองเท้ายี่ห้อนั้นๆมาก่อน ทางเราแนะนำให้ลูกค้าวัดขนาดของเท้าของท่านลูกค้าเอง จากปลายสุดนิ้วโป้งไปถึงปลายส้นเท้าตามแนวเส้นตรงตามภาพ ในหน่วย เซนติเมตร ( CM ) แล้วบวกเพิ่ม 0.5 เซนติเมตรหรือ 1 เซนติเมตรสำหรับท่านที่คิดจะเผื่อพื้นที่สำหรับใส่ถุงเท้า ( 0.5 หรือ 1 เซนติเมตรแล้วแต่ความหนาของถุงเท้าและความสบายในการสวมใส่ ถ้าไม่คิดจะใส่ถุงเท้าแล้วอยากใส่พอดีก็ไม่ต้องเผื่อก็ได้ ) แล้วนำตัวเลขที่ท่านได้ ( ในหน่วยเซนติเมตร ) ไปเทียบกับตารางเทียบไซส์ของรองเท้าแต่ละแบรนด์ด้านล่าง อย่างไรก็ดีเราควรสำรวจตัวเองด้วยว่าตัวเองเป็นคนหน้าเท้ากว้างไหมถ้าหน้าเท้ากว้างก็อาจจะต้องบวกเพิ่มไปอีก 0.5 หรือ 1 เซนติเมตร ตัวอย่างเช่น ถ้าเราวัดความยาวได้ 26 เซนติเมตร ก็อาจจะบวก 0.5 เซนติเมตรเป็น 26.5 เซนติเมตรและถ้าสำรวจดูแล้วคิดว่าตัวเองเป็นคนหน้าเท้ากว้างก็อาจจะเพิ่มอีก 0.5หรือ1 เซนติเมตร ก็ได้แล้วไปดูในช่อง JP/CM  ของแต่ละแบรนด์

** JP/CM ของบางแบรนด์ ใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร และบางแบรนด์ใช้หน่วยเป็นเซนติเมตร 

**ข้อควรระวัง**

1. เพื่อนๆห้ามนำไซส์ EU, UK หรือ US มาเทียบกันระหว่างยี่ห้อเพราะไซส์ EU, UK หรือ US ของแต่ละยี่ห้ออาจมีการคลาดเคลื่อนกันได้ ถ้าจะให้ชัวร์สุดให้เรา นำไซส์ CM/JP  เป็นไซส์กลางในการตัดสินใจซื้อ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราใส่ รองเท้า Nike ไซส์ 8 US  แล้วอยากเปลี่ยนมาใส่รองเท้ายี่ห้อ Adidas แล้วสั่งเป็นไซส์ 8 US เหมือนกัน เราอาจจะไม่ได้รองเท้าที่ขนาดพอดีกับเท้า

2. รองเท้ายี่ห้อเดียวกันแต่คนละรุ่น ป้ายแสดงไซส์เท่ากัน แต่ขนาดจริงก็อาจแต่งต่างกันได้ ( ความยาวเท่ากันแต่ความกว้างของหน้าเท้าไม่เท่ากัน )  เพราะฉะนั้นทางที่ดีที่สุดถ้าเรามีโอกาสได้ลองสินค้าจริงจะดีที่สุดครับ

3. ถ้าเพื่อนๆมีโอกาสได้ลองสินค้าไม่ว่าจะเป็นที่ห้างสรรพสินค้าหรือยืมของเพื่อนมาลองเพื่อหาไซส์ของตัวเอง ท่านลูกค้าควรทำการลองในตอนเย็นจะดีที่สุดเพราะในตอนเย็นเท้าของคนเราจะขยายเต็มที่ แล้วไซส์ที่เราลองก็จะเป็นไซส์ที่เราใส่ได้พอดี

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

วิธีการ เทียบเบอร์รองเท้า ถือเป็นสิ่งที่ผู้ชายหลายคนยังสับสนและไม่ค่อยแน่ใจนักในการเลือกซื้อรองเท้าสำเร็จรูปหรือ Made to Order สักคู่หนึ่ง ซึ่งรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหนังคุณภาพดีนั้น บางครั้งก็มีราคาสูงจนเราไม่อยากที่จะเสี่ยงซื้อมาแล้วใส่ไม่พอดี วันนี้ MenDetails จึงขอหยิบวิธีการ เทียบไซส์รองเท้า 3 แบบที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในโลกของรองเท้าสากล มาแนะนำให้ผู้ชายทุกคนทำความเข้าใจ รวมถึงบอก “สูตรการคำนวณ” เทียบไซส์รองเท้า ในแต่ละแบบ ว่าเบอร์ไหนไซส์ใดกันแน่ที่จะเหมาะกับเท้าของเราด้วยนะครับ

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

– เรื่องราวการซื้อรองเท้าของคุณจะง่ายขึ้น หากเทียบไซส์ EUR – US – UK ได้ด้วยตนเอง –


ความยาวเท้าจริงของตัวเอง คือสิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ชาย “ต้องรู้”

ก่อนจะไปถึงสูตรและวิธีการ เทียบเบอร์รองเท้า นั้น สิ่งสำคัญแรกสุดที่ผู้ชายเราควรจะรู้ก็คือ ความยาวของเท้าจริงของเราเอง ว่าเรามีเท้าที่ยาวแค่ไหนกันแน่ ซึ่งเราควรจะวัดทั้งจากเท้าเปล่า และขณะที่ใส่ถุงเท้าที่เราชอบใส่เป็นประจำ เพราะความหนาของถุงเท้าอาจทำให้ความยาวของเท้าเราเปลี่ยนแปลงไปได้บ้างเช่นกัน หากใครยังไม่รู้ว่าเท้าของตัวเองยาวเท่าไหร่กันแน่ ลองเข้าไปอ่านวิธีการวัดเท้าที่เราเคยอธิบายไว้ในบทความก่อนหน้านี้ได้เลยครับ

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

– ภาพสาธิตการวัดความยาวของเท้า แบบคร่าว ๆ หากชอบใส่ถุงเท้า ก็อย่าลืมใส่ก่อนวัดด้วยนะครับ –


เทียบเบอร์รองเท้า EUR

ไซส์รองเท้า EUR มีที่มาจากมาตรฐานหน่วยวัดความยาวรองเท้าที่เรียกว่า “The Paris Point” ที่คิดค้นในประเทศฝรั่งเศสช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และกลายเป็นมาตรฐานของเบอร์รองเท้าทั่วยุโรป จึงมีตัวย่อว่า EUR ที่ย่อมาจากชื่อทวีป Europe แม้บางครั้งเราอาจเห็นบางแบรนด์รองเท้าจากยุโรปใช้ตัวย่อว่า FR (France) หรือ GER (Germany) หรือ IT (Italy) แต่หลักการวัดเบอร์รองเท้าก็เป็นแบบเดียวกันคือ EUR นั่นเอง

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

– รองเท้า Belgian Loafers จาก Berwick ใช้ระบบ EUR คู่นี้เป็นไซส์ 43 EUR –

ที่มาของหน่วยวัด The Paris Point มาจากความยาวของรอยเย็บรองเท้า 1 ฝีเย็บ ที่มีความยาวประมาณ 2/3 เซ็นติเมตร หรือ 6.6667 มิลลิเมตร โดยเบอร์รองเท้า EUR จะเริ่มต้นที่ 15 ฝีเย็บ และมีวิธีคำนวณด้วยการเอา เบอร์รองเท้า EUR คูณกับ 6.6667 มิลลิเมตร ก็จะได้ความยาวของพื้นรองเท้าด้านใน (Insole Length) ของรองเท้าคู่นั้น ๆ ซึ่งควรจะยาวกว่าความยาวเท้าจริงของเรา (Foot Length) ประมาณ 15 มิลลิเมตร สรุปเป็นสูตรคำนวนได้ว่า

สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า EUR
(ความยาวเท้าจริง (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 6.6667 

ตัวอย่าง : หากความยาวเท้าจริงของเราเท่ากับ 265 มิลลิเมตร เมื่อบวก 15 มิลลิเมตร แปลว่าเราควรจะใส่รองเท้าที่มีความยาวของพื้นในประมาณ 280 มิลลิเมตร ซึ่งไซส์ EUR ที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือเบอร์ 42 (มาจากการคำนวณ (265+15)/6.6667 = 41.999 นั่นเอง)

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

– ความยาว 1 Paris Point Stitch เท่ากับประมาณ 6.6667 มิลลิเมตร (credit : sioux-shop.co.uk) –

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

– CQP รุ่น RACQUET เบอร์ 41 EUR –


เทียบเบอร์รองเท้า UK

ข้อดีของเบอร์รองเท้า EUR คือความตรงไปตรงมาและคำนวณได้ง่าย ในขณะที่การ เทียบไซส์รองเท้า UK จะมีความซับซ้อนกว่า EUR ค่อนข้างมาก เพราะมีประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งแต่ยุคที่หน่วยวัดยังไม่ชัดเจนนัก และถูกปรับเปลี่ยนดัดแปลงเสริมรายละเอียดจนบางครั้งทำให้เรา “งง” เอาได้ง่าย ๆ ตำนานกล่าวว่า กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงบัญญัติให้ความยาวของเม็ดข้าวบาร์เลย์ (Barleycorn) จำนวน 3 เม็ดเรียงกัน จะมีขนาดเท่ากับความกว้างของนิ้วหัวแม่โป้งเฉลี่ยของชายชาวอังกฤษจำนวน 1 นิ้ว เป็นอีกหนึ่งที่มาของหน่วยวัด “นิ้ว” (Inch) หรือประมาณ 25.4 มิลลิเมตรในปัจจุบัน

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

เบอร์รองเท้า UK ขยับความยาวขึ้นเบอร์ละ 1 Barleycorn หรือประมาณ 8.46 มิลลิเมตร (credit sioux-shop.co.uk)

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

รองเท้า Carmina Shoemaker จากสเปน ใช้ระบบไซส์ UK คู่นี้ขนาด 8.5 UK

เบอร์รองเท้า UK แต่ละเบอร์จะมีความยาวเพิ่มขึ้นเบอร์ละ 1 Barleycorn หรือ 1/3 นิ้ว เทียบได้ประมาณ 8.46 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าแต่ละเบอร์มีความยาวห่างกันค่อนข้างเยอะ ในช่วงปี ค.ศ. 1880 จึงมีการเพิ่มขนาด “ครึ่งเบอร์” เพื่อให้ความยาวของเบอร์รองเท้า UK ขยับขึ้นทีละ 4.23 มิลลิเมตรแทน ช่วยทำให้ไซส์ UK ละเอียดขึ้น

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

รองเท้า Crockett & Jones รุ่น Cavendish 2 ไซส์ 8 UK มีความยาว Insole 280 มิลลิเมตร

เบอร์รองเท้า UK สำหรับผู้ชายจะเริ่มต้นที่ “ไซส์เด็ก” ก่อน (UK Child Size) โดยเริ่มที่เบอร์ศูนย์ (ประหลาดมาก) หรือ 0 UK Child Size ซึ่งจะมีความยาวของพื้นรองเท้าด้านใน (Insole) ที่ 12 Barleycorns หรือประมาณ 101.6 มิลลิเมตร แล้วเพิ่มไปเรื่อย ๆ จนถึงเบอร์ 13.5 UK Child Size ที่มีความยาวพื้นในประมาณ 220 มิลลิเมตร ซึ่งเมื่อถึงเบอร์ 13.5 UK สำหรับเด็กนี้เอง ระบบไซส์ UK จะปรับให้เทียบเท่ากับเบอร์ 0 สำหรับผู้ใหญ่ หรือ 0 UK Adult Size (เพื่อ!!??) จากนั้นก็เพิ่ม Barleycorn ไปเรื่อย ๆ เช่นเดิม จนถึงเบอร์ 14 UK Adult Size ที่จะมีความยาวพื้นรองเท้าด้านในประมาณ 330 มิลลิเมตร

สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า UK ผู้ใหญ่ (สำหรับผู้ชาย)
(((ความยาวเท้าจริง (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 25.4) x 3) – 25 

ตัวอย่าง : หากความยาวเท้าจริงของเราเท่ากับ 265 มิลลิเมตร เมื่อบวกอีก 15 มิลลิเมตร แปลว่าเราควรจะใส่รองเท้าที่มีความยาวของพื้นในประมาณ 280 มิลลิเมตร ซึ่งไซส์ UK ที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือเบอร์  8 UK Adult Size (มาจากการคำนวณ (((265+15)/25.4) x3) -25 = 8.07 นั่นเอง)

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร


เทียบเบอร์รองเท้า US

เบอร์รองเท้า US ใช้พื้นฐานการวัดมาจากเบอร์รองเท้า UK เป็นหลัก อีกทั้งมีการแบ่งเป็นเบอร์เด็กและเบอร์ผู้ใหญ่เช่นกัน แตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่เบอร์รองเท้า US จะเริ่มต้นที่เบอร์ 1 US Child Size ที่มีความยาว 13 15/16 นิ้ว (เทียบเท่า 15 EUR) ส่วนไซส์ผู้ใหญ่เริ่มต้นที่ 1 US Adult Size มีความยาวพื้นในที่ 7 13/16 นิ้ว หรือราว 194.7 มิลลิเมตร จากนั้นเพิ่มทีละครึ่งไซส์ด้วยการเพิ่มความยาว 4.23 มิลลิเมตร ต่อครึ่งไซส์ ใกล้เคียงกับระบบ UK

สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า US ผู้ใหญ่ (สำหรับผู้ชาย)
(((ความยาวเท้าจริง (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 25.4) x 3) – 24 

ตัวอย่าง : หากความยาวเท้าจริงของเราเท่ากับ 265 มิลลิเมตร เมื่อบวกอีก 15 มิลลิเมตร แปลว่าเราควรจะใส่รองเท้าที่มีความยาวของพื้นในประมาณ 280 มิลลิเมตร ซึ่งไซส์ US ที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือเบอร์  9 US Adult Size (มาจากการคำนวณ (((265+15)/25.4) x3) -24 = 9.07 นั่นเอง)

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

รองเท้า Alden ระบุไซส์เป็นระบบ US คู่นี้ไซส์ 9 US ความกว้างส้นรองเท้า B และความกว้างตัวรองเท้า D

ด้วยความที่ระบบ UK กับ US มีวิธีวัดที่ใกล้เคียงกัน ทำให้มีหลักการง่าย ๆ ที่นิยมใช้กันก็คือการเอาเบอร์รองเท้า UK ของตัวเอง “บวก  1” ก็จะได้เป็นเบอร์รองเท้า US ไปเลย แต่ MenDetails ต้องขอหมายเหตุเล็กน้อยว่า “มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น” เพราะบางแบรนด์อาจมีการเทียบไซส์ที่แตกต่างออกไป ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์รองเท้าหนัง Edward Green ของอังกฤษ ที่จะบวกเบอร์รองเท้า US เพียงแค่ 0.5 จากเบอร์รองเท้า UK ของพวกเขาเท่านั้น ดังนั้นเราต้องพิจารณาแยกกันไปเป็นแบรนด์ต่อแบรนด์ด้วยนะครับ

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

Charles F. Brannock ผู้คิดค้นเครื่องมือวัดเท้า Brannock Device ที่กลายเป็นมาตรฐานให้เบอร์รองเท้า US ในปัจจุบัน

วิธีการหาเบอร์รองเท้า US อีกวิธีหนึ่งคือการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Brannock Device ที่คิดค้นโดย Charles F. Brannock ซึ่งมีประโยชน์ในการหาความยาวของเท้า รวมทั้งความกว้างเพื่อเทียบเป็นเบอร์ US ได้อย่างเป็นมาตรฐานตามแบบที่แบรนด์รองเท้าจากฝั่งสหรัฐอเมริกายึดถือ แต่หากใครไม่มี หรือหาเครื่องมือนี้ไม่ได้ การเทียบเคียงด้วยสูตรข้างต้นที่ MenDetails นำมาฝาก ก็ช่วยให้เราสามารถเทียบเบอร์รองเท้า US คร่าว ๆ ได้ดีพอสมควรแล้วครับ


สไตล์ของรองเท้ามีส่วนกับความยาวพื้นในเช่นกัน

ถึงแม้ตัวเลขที่เราคำนวณได้จากสูตรอาจจะแม่นยำและเป็น “มาตรฐานสากล” ก็จริงอยู่ แต่เมื่อเราวัดความยาวของพื้นด้านในของรองเท้าแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ “จากตัวรองเท้าจริง ๆ” เราจะพบว่ารองเท้ายี่ห้อเดียวกัน เบอร์เดียวกัน แต่ถ้าหากใช้หุ่นรองเท้าคนละหุ่นกัน ความยาวรวมของ Insole อาจไม่เท่ากัน ซึ่งสิ่งที่กำหนดเรื่องนี้คือ “สไตล์การใช้งาน” ของรองเท้าแต่ละแบบ

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

รองเท้า Loafers จาก Alden ที่ใช้ last Aberdeen มักจะมีความยาวของ Insole ที่ “ตรงสูตรมาตรฐาน”

ยกตัวอย่างเช่น ที่เบอร์รองเท้าเท่ากัน รองเท้าประเภท Sneakers หรือรองเท้าหนังแบบสวมในสไตล์ Loafers ที่มีความลำลอง ได้รับการออกแบบให้เหมาะกับการใส่กับกางเกงชีโน่ หรือ กางเกงยีนส์ พื้นด้านในของรองเท้าสไตล์นี้มักจะใกล้เคียงกับตัวเลขที่เราคำนวณได้จากสูตรข้างต้น แต่ในทางกลับกัน รองเท้าประเภท Oxfords ที่ดูสุภาพและเป็นทางการกว่า อาจจะมีความยาวของ Insole ที่ยาวกว่า Loafers เพื่อให้เท้าดูเรียวยาวกว่า และเหมาะกับการใส่กับชุดสูทมากกว่า แต่ที่สำคัญความยาวของรองเท้าจะยาวขึ้นเฉพาะตรงปลายหัวรองเท้า ในขณะที่ช่วงอื่นของรองเท้าซึ่งมีผลต่อ fitting จะคงรูปแบบที่ใกล้เคียงกันครับ

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร

รองเท้าประเภท Sneakers มักให้ความยาว insole ที่ “ตรงตามมาตรฐาน” แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางรุ่นอย่าง Onitsuka Tiger ‘Mexico 66 Nippon Made’ ที่ทำหัวรองเท้าให้ยื่นยาวมากกว่าเดิมอีกเล็กน้อยเพื่อเป็นสไตล์เฉพาะตัว


ครบถ้วนเรียบร้อยสำหรับการ เทียบเบอร์รองเท้า ตามความยาวเท้า จากต่างระบบไซส์ ตั้งแต่ EUR ถึง UK และ US ซึ่ง MenDetails เชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือการหา “ความยาวเท้าจริง” ของเราให้ได้เสียก่อน เพื่อนำไปเปรียบเทียบว่าเราควรจะใส่รองเท้าขนาดใดกันแน่ และถ้าจะให้ปลอดภัยจริง ๆ ควรจะได้ลองสวมใส่รองเท้าตัวจริงเพื่อเช็คฟิตติ้งอีกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อนะครับ

ข้อควรระวังอย่างหนึ่งสำหรับผู้ชายไทยและชาวเอเชียตะวันออกส่วนใหญ่ คือเรื่องของ “ความกว้างของรองเท้า” เพราะการที่พวกเรามักมีเท้าที่ค่อนข้าง “บาน” และ “แบน” เมื่อเทียบกับรูปร่างเท้าของคนตะวันตก ในขณะที่เบอร์รองเท้าที่เป็นตัวเลข ไม่ว่าจะเป็น EUR, UK หรือ US คือการบอกเพียง “ความยาวของเท้า” เท่านั้น

รองเท้า เบอร์ 40 เทียบ กับ โอ นิ ซึ กะ เท่าไร
รูปเท้าที่กว้าง อาจทำให้เราต้องผูกเชือกรองเท้าหนังประเภท Derbyให้ห่างออกจากกันพอสมควร แต่ถ้าเพิ่มไซส์ รองเท้าก็ยิ่งดูยาวกว่าเดิมอีก ต้องดูสัดส่วนให้ดี ก่อนตัดสินใจซื้อด้วยนะครับ

ดังนั้นหากความยาวของรองเท้าที่เราเลือกนั้นถูกต้อง แต่ใส่แล้วยังรู้สึกคับแน่นไม่สบายที่ด้านกว้างหรือตรงหน้าเท้า นั่นแปลว่าเท้าเราบานหรืออ้วนกว่าขนาดปกติของหุ่นรองเท้านั้น ข้อแนะนำที่ถูกต้องคือให้เราหาวิธีขยายความกว้างออก โดยที่ความยาวควรจะอยู่เท่าเดิม ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่ “ยาวเกินไปจนดูเหมือนมีเรือหางยาวอยู่ที่เท้า” และในคราวหน้าเราจะมาพูดถึงความกว้างของรองเท้ากันอีกครั้ง ครั้งนี้เฉพาะเรื่อง “ความยาว” ก็ละเอียดสุด ๆ แล้วครับ MenDetails หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับคนที่กำลังตัดสินใจซื้อรองเท้ากันทุกคนนะครับ

Related Topics
  • EUR
  • mendetails
  • mendetails.com
  • Size EUR
  • Size UK
  • Size US
  • uk
  • US
  • เทียบเบอร์รองเท้า
  • เทียบไซส์รองเท้า
  • เบอร์รองเท้า
  • ไซส์รองเท้า
  • ไซส์รองเท้าผู้ชาย
  • ไซส์รองเท้าหนัง

You May Also Like