สัปดาห์วิทยาศาสตร์ 2565 ราชภัฏอุบล

"แสงเดือน ชัยเลิศ" ผู้อำนวยการศูนย์บริบาลช้าง จังหวัดเชียงใหม่ และประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นอัศวิน จากประธานาธิบดีฝรั่งเศส ในฐานะผู้อนุรักษ์สัตว์และสิ่งแวดล้อมของโลก จากการดูแลช้างและสัตว์อย่างยาวนาน
.
วันนี้ (20 พ.ย.) เฟซบุ๊ก Emmanuel Macron ของนายเอมมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส โพสต์ภาพถ่ายคู่กับนางแสงเดือน ชัยเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บริบาลช้าง และประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม พร้อมข้อความระบุว่า "เล็ก ชัยเลิศ คุณใช้เวลาตลอดชีวิตของคุณเพื่อป้องกันช้าง คุณทราบดีกว่าใครทั้งสิ้นว่าการอยู่รอดของช้างขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ที่ตั้งบนพื้นฐานของความสมดุลระหว่างเล็กที่สุดกับใหญ่ที่สุด ขอบคุณสำหรับความมุ่งมั่นพันธสัญญาของคุณเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ"
.
ขณะที่เฟซบุ๊ก Saengduean Lek Chailert ตอบกลับเป็นภาษาอังกฤษ มีใจความว่า "เรียนท่านประธานาธิบดี ดิฉันรู้สึกปลื้มปีติอย่างมากที่ได้เปิดโลกของฉันออกสู่ผู้คนในวงกว้าง ดิฉันมีเรื่องมากมายที่จะแบ่งปัน ข้อความของคุณไม่เพียงแต่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้คน แต่เสียงของคุณยังมีอิทธิพลต่อการคุ้มครองสัตว์และสิ่งแวดล้อมระดับโลกอีกด้วย ขอขอบคุณในนามของเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน"
.
ภาพดังกล่าวคาดว่าถูกถ่ายขึ้นเมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่วังจักรพงษ์ ถนนมหาราช เขตพระนคร กรุงเทพฯ นายเอมมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นอัศวิน (THE LEGION OF HONOUR) ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดของสาธารณรัฐฝรั่งเศส แก่นางแสงเดือน ชัยเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บริบาลช้าง และประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม เพื่อยกย่องในฐานะเป็นผู้อนุรักษ์สัตว์และสิ่งแวดล้อมของโลก ซึ่งนายมาครงให้ความสนใจการทำงานช่วยเหลือช้างและสัตว์มาอย่างยาวนาน และจะกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อชมชีวิตช้างที่ศูนย์อภิบาลช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ อย่างใกล้ชิด
.
สำหรับนางแสงเดือน ชัยเลิศ เป็นผู้อำนวยการศูนย์บริบาลช้าง ตั้งอยู่บนพื้นที่ 400 ไร่ ใน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มีช้างที่รับมาดูแลกว่า 80 เชือก ส่วนใหญ่เป็นช้างพิการ ช้างแก่ ช้างดุร้าย ที่ได้รับความทรมานจากการทำงาน และสัตว์ชนิดอื่น เช่น แมวจร สุนัข กระต่าย วัว ควาย รวมกว่า 1,200 ตัว ได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทม์ให้เป็นหนึ่งในวีรสตรีแห่งเอเชียประจำปี 2548 จากบทบาทการทำงานด้านอนุรักษ์และให้ความช่วยเหลือช้างไทย และถูกรับเชิญจากผู้นำหลายประเทศ เพื่อบอกเล่าเรื่องการช่วยเหลือช้างและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการแก้ปัญหาเรื่องช้างป่า ช้างบ้านในหลายประเทศ
.
นางแสงเดือนเป็นชาวเขาเผ่าขมุ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เริ่มต้นเข้าทำงานช่วยเหลือช้างในภูเขา กระทั่งมีกลุ่มอาสาสมัครจากทั่วโลกที่ติดตามเข้าไปด้วย ถ่ายทำสารคดีเผยแพร่ในต่างประเทศ ทำให้มีชาวต่างชาติให้ความสนใจจำนวนมาก กระทั่งมีชาวอเมริกันรายหนึ่งซื้อที่ดิน 50 ไร่ ให้เปิดเป็นศูนย์บริบาลช้าง และได้รับการช่วยเหลือของอาสาสมัครเรื่อยมา ซึ่งที่ผ่านมามีชาวต่างชาติเข้ามาเป็นอาสาสมัครดูแลช้างเป็นระยะ ซึ่งเต็มใจเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเข้ามาเป็นอาสาสมัคร ส่วนคนไทยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีที่พักให้ 7 วัน และอาหารมังสวิรัติ โดยรายได้จำนวนนี้จะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายศูนย์บริบาลช้างตกเดือนละกว่า 3 ล้านบาท
.
รายละเอียดศูนย์บริบาลช้าง อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.elephantnaturepark.org
-------------------------------
แหล่งข่าว
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000110571
-------------------------------
ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
Website : http://www.thailandvision.co
Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision

 

คนอุบลฯ สะท้อนปัญหาน้ำท่วมหนักปี 65 หน่วยงานรัฐทำงานแย่มาก เศรษฐกิจเสียหายกว่า 6,000 ล้านบาท

อุบลราชธานี - ชาวบ้านจังหวัดอุบลฯ สะท้อนความทุกข์ ความเสียหายจากน้ำท่วมปี 2565 เพราะหน่วยงานรัฐแจ้งเตือนทำงานแย่มาก ทำให้ทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก หอการค้าคาดความเสียหายน้ำท่วมครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า
6,000 ล้านบาท กรมชลประทานเข็นโครงการแก้มลิงใช้รองรับน้ำปี 2566 และทำทางเบี่ยงน้ำแก้น้ำท่วมระยะยาว

ที่ห้องบุษยรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเวทีเสวนารับฟังความเห็นจากตัวแทนชุมชน ภาคประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมเมืองอุบลฯ ปี 2565 เพื่อสะท้อนปัญหาน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบกว่า 40 ปี โดยระดับน้ำท่วมปี 2565 มีความสูงถึง 11.51 เมตร รองจากน้ำท่วมปี 2521 เพียง 1 เมตรเศษ

พร้อมให้หน่วยงาน เช่น ผู้แทนศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวแทนกรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง เสนอแผนการแก้ไขปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมในอนาคต

สำหรับเสียงสะท้อนปัญหาน้ำท่วมจากตัวแทนของภาคประชาชนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมส่วนใหญ่ระบุว่า น้ำท่วมปี 2565 ได้รับแจ้งระดับความสูงของน้ำที่ไหลท่วม เส้นทางน้ำที่ไหลมา และพื้นที่ที่ต้องถูกน้ำท่วม ไม่ตรงกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น คือ ได้รับการแจ้งเตือนระดับความสูงของน้ำท่วมต่ำกว่าระดับน้ำที่ท่วมจริง ทำให้อพยพข้าวของไม่พ้นน้ำ จึงเกิดความเสียหายต่อข้าวของเครื่องใช้ ต้องทิ้งไปหลังน้ำลดลง

ต้องอพยพหนีน้ำท่วมปีนี้ 2-4 ครั้ง ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายอพยพแต่ละครั้ง กลายเป็นภาระแก่ชาวชุมชนที่ถูกน้ำท่วม และเกิดน้ำท่วมยาวนานกว่าปกติ 1-3 เดือน

ทำให้กระทบต่อการประกอบอาชีพหาเลี้ยงคนในครอบครัว พร้อมเป็นภาระให้เจ้าของบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมต้องหาเงินมาฟื้นฟูบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย โดยภาครัฐสามารถช่วยเหลือเยียวยาได้ไม่ถึงร้อยละ 50 ของความเสียหายที่เกิดขึ้น

จึงเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีความชัดเจน การแจ้งเตือนของระดับน้ำที่จะไหลท่วม เพื่อให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบเตรียมขนย้ายของข้าวให้พ้นระดับน้ำที่จะไหลท่วม และหาจุดอพยพหนีน้ำไปอยู่ในระดับน้ำที่ท่วมไม่ถึง ไม่ต้องอพยพหนีน้ำซ้ำซากจนเกิดค่าใช้จ่ายหลายครั้ง และการช่วยเหลือเยียวยาต้องใกล้เคียงกับความเสียหายจริง เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฟื้นตัวกลับมาใช้ชีวิตเหมือนปกติได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องแบกรับภาระหนี้สินจำนวนมากหลังน้ำลด

ด้านนางอัฐฌาวรรณ พันธุ์มี ชาวบ้านกุดคูณ 2 เทศบาลนครอุบลราชธานี เสนอแนวทางแก้ปัญหาที่ทำได้รวดเร็ว คือ ควรหาพื้นที่ทำแก้มลิงใช้รองรับปริมาณน้ำที่ไหลท่วมแทนที่จะมีแต่สิ่งก่อสร้าง ทั้งสะพาน ห้างสรรพสินค้าที่ทำลายพื้นที่รองรับน้ำตามธรรมชาติ เพื่อใช้แก้ปัญหาให้ชุมชนที่ต้องถูกน้ำท่วมซ้ำซากด้วย

ขณะที่นายเศรษฐพงศ์ ภิงคารวัฒน์ ผอ.ส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 7 จ.อุบลราชธานี กล่าวถึงการรับมือน้ำท่วมในอนาคต โดยปี 2566 กรมชลประทานมีโครงการทำแก้มลิงเฉลิมพระเกียรติรัฐกาลที่ ๑๐ มาตามลุ่มน้ำชีจำนวน 72 แห่ง เพื่อเก็บน้ำหน้าแล้งและรองรับน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากกว่า 200 ล้านลูกบาศก์เมตร

ส่วนโครงการแก้ปัญหาระยะยาว จะทำทางเบี่ยงน้ำจากแม่น้ำมูลออกไปราว 1,200 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อลดปริมาณน้ำแม่น้ำมูลที่ไหลผ่านลำน้ำของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งรองรับน้ำได้สูงสุด 2,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ก็จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ แต่ปีไหนที่ภาคอีสานต้องเจอกับพายุพร้อมๆ กันหลายลูก ทำให้มีน้ำมาก ก็อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขึ้นอีก แต่ก็ท่วมไม่มาก

หลังการเสวนาภาคประชาชนและชุมชน จะนำเสนอความเห็นที่ได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาที่เกิดจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2565 ให้รัฐบาลรับทราบ แล้วนำไปใช้ช่วยเหลือประชาชนที่ต้องประสบอุทกภัยในครั้งอื่นๆ และป้องกันน้ำท่วมไม่ให้สร้างความเสียหายอย่างมากเหมือนปีนี้

สำหรับแม่น้ำมูลจังหวัดอุบลราชธานีมีระดับน้ำของตลิ่งฝั่งอำเภอวารินชำราบสูง 7 เมตร และของตลิ่งอำเภอเมืองสูง 8 เมตร ที่ผ่านมาเกิดน้ำท่วมสูงสุดในเดือนตุลาคม ปี 2521 น้ำมีความสูง 12.76 เมตร รองลงมาเป็นเดือนตุลาคม ปี 2493 ที่ความสูง 11.56 เมตร ต่อมาคือเดือนตุลาคม ปี 2565 มีน้ำสูง 11.51 เมตร และเดือนกันยายน ปี 2562 น้ำสูง 10.97 เมตร ส่วนปีอื่นๆ ที่เกิดน้ำท่วม ระดับน้ำท่วมมีความสูงไม่ถึง 11 เมตร

ขณะที่ความสูงระดับน้ำที่ไหลท่วมของแม่น้ำมูล ยังมีส่วนเกี่ยวพันความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับน้ำที่สูญเสียไปจากการขยายตัวของชุมชนเมือง และน้ำท่วมปี 2565 หอการค้าจังหวัดอุบลราชธานีคาดจังหวัดได้รับความเสียหายกว่า 6,000 ล้านบาท

ที่มา : NEWS1

 

“หมอปัตพงษ์” เผยความรู้ใหม่กินกัญชาสด มีสรรพคุณรักษาบรรเทาโรคหลายอย่างโดยไม่ทำให้เมา

นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ หน่วยเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยความรู้ใหม่การใช้กัญชารักษาโรคที่กำลังมาแรงคือการกินสด โดยนำใบหรือดอกกัญชามาปั่นคั้นรวมกับผักหรือผลไม้อื่นๆ มีสรรพคุณรักษาบรรเทาและป้องกันโรคต่างๆ อย่างได้ผลโดยไม่ทำให้เมา มีตัวอย่างที่โด่งดังมาแล้วในสหรัฐอเมริกา

วันนี้(20 พ.ย.) รศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ หน่วยเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยแพร่บทความเรื่อง ประโยชน์ของการกินกัญชาสด มีเนื้อหาสรุปได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่อาจรับรู้การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์จากกัญชาโดยวิธีการสูบหรือกินยาสกัดจากกัญชา แต่ความรู้ใหม่ที่กำลังมาแรงตอนนี้ คือการกินกัญชาสด เพราะได้ประโยชน์หลายอย่าง และไม่ทำให้เมา โดยวิธีการกินกัญชาสดที่ได้ผลดีที่สุด คือการนำใบหรือดอกกัญชามาปั่นหรือคั้นรวมกับผักผลไม้อื่นๆ ซึ่งพบว่ามีสรรพคุณช่วยรักษาบรรเทาและป้องกันโรคต่างๆ อย่างได้ผลดีโดยไม่ทำให้เมา

รศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เปิดเผยว่า ผู้นำของโลกเรื่องการกินกัญชาสด คือ นพ.วิลเลียม คอร์ทนีย์ แห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เผยแพร่เรื่องนี้มาตั้งแต่ พ.ศ.2553 หรือ เมื่อ 12 ปี มาแล้ว นพ.วิลเลียมเป็นสมาชิกคนสำคัญของสมาคมที่ศึกษาวิจัยเรื่องกัญชาทางการแพทย์หลายสมาคมและเป็นวิทยากรเดินสายบรรยายเรื่องนี้ให้กับหลายหน่วยงาน

รศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ ยกตัวอย่างผลสำเร็จของการกินกัญชาสดที่โด่งดัง กรณีแรกคือ นางคริสเตน เพสคูสกี ภรรยาของ นพ.วิลเลียม คอร์ทนีย์ นั่นเอง นางคริสเตน ป่วยเป็นโรคพุ่มพวงหรือโรคภูมิแพ้ตนเองมาหลายปี กินยามากกว่า 40 เม็ดต่อวัน แต่อาการกลับทรุดลงเรื่อยๆ จนหมอที่รักษาบอกว่า เธอกำลังจะตาย ยาทุกขนานที่มีอยู่ก็ลองใช้มาหมดทุกตัวแล้ว แต่ก็ไม่ได้ผล เจึงหันมาใช้กัญชา โดยตอนแรกๆ รับประทานกัญชาแห้งบรรจุในแคปซูล ต่อมาเปลี่ยนเป็นน้ำกัญชาปั่นผสมกับผักผลไม้อื่นๆ ทำให้อาการเจ็บป่วยก็ดีวันดีคืนมาตามลำดับ โดยนางเคริสเตนบอกว่า เมื่อดื่มน้ำกัญชาแล้วรู้สึกมีสมาธิมากขึ้นตื่นตัวมากขึ้น หายใจได้ดีขึ้น ไม่มีอาการเสียดท้องหรือโรคกระเพาะ ไม่รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือปวดกระดูกเชิงกรานและหลังอย่างที่เคยเป็นมาก่อน จนตอนนี้หายป่วยแล้ว และสามารถให้กำเนิดลูกสาว 1 คน ทั้งที่แพทย์ที่ดูแลเธอเคยบอกว่าจะไม่สามารถมีลูกได้อีก

กรณีศึกษารายที่ 2 หนูน้อยแอมเบอร์ ผู้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง ขณะที่มีอายุเพียง 2 ขวบ ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ฉายรังสี และให้เคมีบำบัด แต่เนื้องอกยังคงโตขึ้น แพทย์จึงแนะนำให้พ่อแม่ของแอมเบอร์ทำใจยอมรับและพาเธอกลับบ้าน และเมื่อได้รับคำแนะนำจาก นพ.วิลเลียม จึงทำน้ำผลไม้ด้วยใบกัญชาดิบ ปริมาณ 2-3 มิลลิลิตรให้ดื่มทุกวัน หนึ่งเดือนต่อมา พบว่า เนื้องอกมีขนาดลดลง อย่างน่าทึ่ง

กรณีศึกษารายที่ 3 นางสาวเคทีย์ แมช ป่วยเป็นโรครูมาตอยด์ ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ตนเองชนิดหนึ่ง มีอาการหนักจนแทบจะขยับตัวไม่ได้ การเดิน การแต่งตัว หรือแม้แต่การใช้ห้องน้ำนั้นยากและเจ็บปวดมาก มีเพื่อนแนะนำให้เธอใช้น้ำคั้นกัญชา เธอจึงลงมือค้นคว้าเรื่องนี้อย่างจริงจัง จนได้พบงานของ นพ.วิลเลียม คอร์ทนีย์ จึงเริ่มดื่มสมูทตี้น้ำกัญชาสดทุกวัน หลังจากนั้นก็มีอาการดีขึ้นตามลำดับ สามารถลดยาที่กินอยู่ลงได้ และในอีก 10 เดือนต่อมา ก็สามารถหยุดยาได้ทั้งหมด

รศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ ระบุว่า ในทางวิทยาศาสตร์ กัญชาสดอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น ได้แก่ กรดอะมิโนที่จำเป็น เส้นใย เอนไซม์ วิตามิน แร่ธาตุ ฟลาโวนอยด์ แคโรทีนอยด์ เทอร์ปีนส์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีกรดไฟโตแคนนาบินอยด์ เช่น ทีเอชซีเอ (THCA), ซีบีดีเอ (CBDA), ซีบีจีเอ (CBGA) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ไม่ทำให้เมา แต่มีสรรพคุณทางการแพทย์หลายประการ ได้แก่ฤทธิ์แก้ปวด แก้อาเจียน ปกป้องเซลล์ประสาท ต่อสู้กับการกลายพันธุ์ของเซลล์เนื้องอก และที่น่าสนใจมาก คือ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ได้ดีกว่ากัญชาสกัด 2 ถึง 4 เท่า

ทั้งนี้ มีคำแนะนำในการกินน้ำกัญชาสดปั่น โดยถ้ามีดอกกัญชาผสมอยู่ด้วยให้เริ่มจากปริมาณน้อย 1-3 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอาการแพ้หรือเมา ใช้เวลา 3 – 7 วัน เมื่อคุ้นเคยกับขนาดยานี้แล้ว ค่อยๆ เพิ่มปริมาณจนได้ขนาด 10 ถึง 15 กรัมต่อวัน ถ้ามีแต่ใบกัญชาสามารถกินได้ประมาณ 30 กรัมต่อวัน ปรับแต่งรสชาติให้น่ากินโดยผสมกับผักผลไม้อื่นๆ เช่น น้ำมะนาว โยเกิร์ต น้ำมันจากเมล็ดกัญชา ผักและผลไม้สด หอม กระเทียม ขมิ้น และเครื่องเทศอื่นๆ โดยใส่น้ำแข็งด้วยเพื่อไม่ให้กัญชาถูกความร้อนขณะที่ปั่นจนกลายเป็นสารเมา ดื่มครั้งละประมาณ 60 – 100 มิลลิลิตร วันละ 5 – 6 ครั้ง

จากข้อมูลของ นพ.คอร์ทนีย์ พบว่า ผลการรักษาบางอย่างจะดีขึ้นหลังจากดื่มครั้งแรกประมาณ 3 วัน แต่ต้องบริโภคน้ำกัญชาดิบปั่นเป็นเวลาประมาณ 4 ถึง 8 สัปดาห์จึงจะสังเกตเห็นคุณสมบัติอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เนื่องจาก “ไฟโตแคนนาบินอยด์” จะถูกสะสมอย่างช้าๆ ในเนื้อเยื่อไขมัน เช่นเดียวกับวิตามินที่ละลายในไขมัน

รศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ ความเห็นปิดท้ายว่า พืชกัญชารับใช้มนุษยชาติมามากกว่าหนึ่งหมื่นปี ชาวบ้านไทยแต่เดิมก็กินใบสดอ่อนหรือใบเพสลาด เป็นผักกินกับน้ำพริกหรือใส่ข้าวยำ การปลดล็อกกัญชาจากกฎหมายยาเสพติดจึงเป็นเสมือนการเอาหินที่กดทับออก กัญชาพร้อมจะกลับมารับใช้ผู้คนและสังคมอีกครั้ง การกินกัญชาสดปั่นเป็นทางเลือกที่ดีมากอันหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยม เพราะได้ผลดี และไม่มีฤทธิ์เมา ที่สำคัญมาก คือทำให้ชาวบ้านพึ่งตนเองได้ มากขึ้น

ที่มา : NEWS1