การจัดการด้านความปลอดภัย คือ

(5) "การปรับปรุงและการพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย" ต้องนำผลที่ได้จากการประเมิบผลและการทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัยมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัยให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

Show

นอกจากนี้ เพื่อให้ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น นายจ้างต้องดำเนินการ ดังนี้
1. ควบคุมดูแลการดำเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
2. เปิดโอกาสให้ลูกจ้างทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
3. จัดให้ลูกจ้างสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยได้ โดยคำนึงถึงการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
4. จัดให้มีช่องทางในการรับความคิดเห็นข้อเสนอแนะ หรือ ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของลูกจ้าง เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม กรณีที่นายจ้างได้จัดให้มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานฯ ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)/มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (ISO)/มาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)/มาตรฐานของสถาบันมาตรฐานสหราชอาณาจักร (BSI)/มาตรฐานของสำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ (OSHA)/มาตรฐานของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (ANSI)/มาตรฐานของประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (AS/NZS)/มาตรฐานของสมาพันธ์การกำหนดมาตรฐานของประเทศแคนาดา (CSA)/มาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่อธิบดีกำหนด โดยให้ถือว่า "ได้จัดให้มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้แล้ว"

ศึกษารายละเอียด และสถานประกอบกิจการที่ต้องดำเนินการ 54 ประเภท แสดงตามไฟล์แนบ กฎหมายฉบับเต็ม ด้านล่างนี้

ความปลอดภัยเป็นกิจกรรม ที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะหากมีการทำงาน ที่มีอันตรายมาก จะมีผล ต่อกำดำเนินกิจกรรมอื่นตามมา ลองคิดดูว่า จะเป็นอย่างไร หากเริ่มทำกิจกรรมแล้ว เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับพนักงาน พนักงานท่านอื่นๆจะคิดอย่างไร คงไม่ได้คิดในแง่ดีอย่างแน่นนอน
กิจกรรมหลักของเสาหลักนี้คือ

1.1 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
การประเมินความเสี่ยง ในพื้นที่ทำงาน เป็นกิจกรรมที่ต้องทำ เพื่อให้ทราบว่า อาจเกิดอันตรายอะไรได้บ้าง ทั้งในแง่ของคน เครื่องจักร หรือผลิตภัณฑ์ การประเมินความเสี่ยง จะทำให้เราสามารถ หามาตรการลดความเสี่ยงลงได้ ด้วยมาตรการที่ต้องถูกกำหนดขึ้นมา

1.2 การจัดการด้านความปลอดภัย (Safety Management)
การบริหารจัดการ ด้านความปลอดภัย เป็นเรื่องที่ต้องทำ เนื่องจากเป็นเรื่องที่กฏหมายกำหนด การทำตามมาตรฐานทางกฎหมายนั้น ยังไม่เพียงพอต่อการทำงาน เพราะเนื่องจากกฎหมาย ที่กำหนดจะเป็นการกำหนดขึ้น เพื่อใช้ร่วมกันในทุกโรงงาน แต่ในโรงงานของเรา เราต้องจัดทำมาตรฐานขึ้นมาเอง เพื่อปกป้องพนักงานของเรา ให้ทำงานได้อย่างปลอดภัย

1.3 พฤติกรรมความปลอดภัย (Safety Behavior)
อุบัตเหตุส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากพฤติกรรมไม่ปลอดภัย ดังนั้นการที่จะทำ ให้เกิดความปลอดภัยนั้น ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงาน เพื่อให้สามารถเห็นถึงความไม่ปลอดภัย และดำเนินการแก้ไข ความไม่ปลอดภัยนั้นเสียก่อน ที่จะทำอันตรายทั้งผู้อื่น และตนเองได้

1.4 Health Care
การตรวจสุขภาพพนักงาน เป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนด ให้ต้องทำ แต่คงไม่ง่ายเพียงแค่ตรวจเท่านั้น แต่หากเราทำผลการตรวจ ของพนักงานมาตรวจสอบ เราอาจพบว่า ผลจากการทำงานในโรงงานของเรานั้น มี หรือไม่ และมันส่งผลต่อพนักงานของเราอย่างไร การที่เราไม่ได้ตรวจสอบ ในจุดนี้อาจส่งผลเสีย ต่อทั้งพนักงาน และโรงงานได้ในภายหลัง

1.5 Work Place Hygiene
การทำงานในที่สกปรก รกรุงรัง คงไม่มีใครต้องการอย่างแน่นอน ดังนั้นเรื่องของการจัดทำสถานที่ทำงาน ให้สะอาด มีการถ่ายเทอากาศที่ดี แสงสว่างที่เพียงพอ เสียงที่เงียบ ไม่มีกลิ่นรบกวน จะทำให้พนักงานสามารถ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่การหยุดงาน การลางานก็จะน้อยลงตามไปด้วย

1.6 การตรวจความปลอดภัย (Safety Audit)
การตรวจความปลอดภัย ก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ในการดำเนินการด้านความปลอดภัย การตรวจนั้น ต้องดำเนินการภายใต้มาตรฐาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่สูงกว่าที่เป็นอยู่ หากเราได้ตามมาตรฐาน ที่เรากำหนดไว้แล้ว เราคงไม่อาจดีใจไปได้ เราจึงต้องทำการขยับมาตรฐานนั้นๆ ให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อให้ความปลอดภัย ในการทำงานมีมากขึ้น

ความปลอดภัยในการทำงาน Occupational health and safety ความปลอดภัยในการทำงานทุกองค์กรถือเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยื่น

ความปลอดภัยในการทำงาน หรือ เรียกกันได้อีกอย่างคือ ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน (OHS) เป็นสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย สุขภาพ ของพนักงานในองกรค์ ป้องไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตราย อุบัติเหตุหรือผลกระทบจากการทำงาน

ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตกว่า 2.78 ล้านคนอันเป็นผลมาจากการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ส่งผลให้ทุกๆ 15 วินาที จะมีผู้เสียชีวิต 1 ราย และ มีการบาดเจ็บที่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิตอีก 375 ล้านคนต่อปี ทำให้องค์กรดังกล่าวนั้นต้องศูนย์เสียพนักงานและเงินชดเชยต่างๆเป็นจำนวนมากต่อการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง

การจัดการด้านความปลอดภัย คือ

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การอนมัยโลก WHO ได้จำกัดความร่วมกันถึงวัตถุประสงค์และขอบเขตของการดำเนินงานด้านความปลอดภัย 3 หลักที่ในองค์กรนั้นควรจัดให้มี

1.มีการส่งเสริมด้านสุภาพของพนักงาน

2.มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้พื้นที่การทำงานนั้นเกิดความปลอดภัย

3.มีการเสริมสร้างวัฒธรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานภายในองค์กร และ สนับสนุนในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้ปลอดภัยโดยให้พนักงานทุกคนนั้นมีส่วนร่วม มีการออกนโยบายจากผู้บริหารเพื่อแสดงจุดยืนด้านความปลอดภัยขององค์กร มีการสนับสนุนในด้านการฝึกอบรมความปลอดภัย

อันตรายจากการทำงาน Workplace hazards

แม้ว่าการทำงานจะให้ผลประโยชน์กับนายจ้างและทางเศษรกิจอื่นๆอย่างมากมาย แต่การทำงานก็แฝงไปด้วยอันตรายในสถานที่ทำงานที่มากมายด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เช่น สารเคมี สารก่อให้เกิดภูมิแพ้ สารชีวภาพ อันตรายจากการรับสัมผัสสารเคมีอันตรายในที่ทำงาน ได้แก่ สารพิษต่อระบบประสาท สารเคมีที่ทำมีผลต่อภูมิคุ้มกัน สารเคมีที่ทำลายผิวหนัง สารเคมีประเภทก่อมะเร็ง สารก่อโรคหอบหืด เป็นต้น ปัจจัยอันตรายทางกายภาพ สภาพการทำงานด้านการยศาสตร์ อันตรายการจากสูญเสียการได้ยินจากเสียงดังซึ่งพบบ่อยที่สุดในประเทศสหัฐอเมริกาโดยมีพนักงานประมาณ 22 ล้าน คนที่สัมผัสกับเสียงดังเกิดมาตรฐาน

พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง  หากป้องกันไม่รัดกุมไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน เครื่องจักร อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเช่นกัน

ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลงตามไปด้วย

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ

การเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากสาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. สภาพการณ์ หรือเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย (hard ware) เช่น เครื่องจักรหรืออุปกรณ์มีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย

2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (soft ware) เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน ไม่มี WI

3. ตัวบุคคลประมาท (human ware) พนักงานไม่มีความระมัดระวัง ทำงานด้วยความประมาท ชอบเสี่ยง ไม่ทำตามกฎระเบียบ เป็นต้น

จากข้อ 3. อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

– การทำงานข้ามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอน
– ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
– การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
– ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
– ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคค PPE
– ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท , ดัดแปลงหรือแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
– การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ ไม่พร้อมปฏิบัติงาน
– ทำงานด้วยความรีบร้อน เร่งรีบ เป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ

  1. การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย source เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยการออกแบบให้เครื่องจักรหรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณและต้นทุนมาก เสียเวลา และ ทรัพยากรค่าใช้จ่ายสูง หรือ การแก้ไขทำได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นบริษัทหรือโรงงานใหญ่ๆที่ให้ความสำคัญด้าน safety จริงๆจึงจะยอมลงทุนแก้ไขด้วยวิธีการนี้
  2. การป้องกันที่ทางผ่าน Path เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตรายกับคนทำงานแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกับเครื่องจักรที่มีจุดหนีบ การแก้ไขคือให้ทำการเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงานสามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น
  3. การแก้ไขที่ตัวบุคคล Receivers เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและรวดเร็วประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่จะจบด้วยการที่ให้พนักงานทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่ PPE แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสียคือมีความปลอดภัยน้อยที่สุดใน 3 วิธีที่กล่าวมาและบ่อยครั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดอยู่ซ้ำตามเดิม

การป้องกันอุบัติเหตุและทำงานให้เกิดความปลอดภัยนั้นยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเข้ามาช่วย เช่น

  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
  • ติดตั้งการ์ดเครื่องจักร                                                                          
  • สวมใส่เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ไม่ใส่เครื่องประดับ หรือ ปล่อยผมยาวขณะทำงานกับเครื่องจักร
  • จัดให้มีแสงสว่างภายในโรงงานที่เพียงพอตามมาตรฐานพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า เพื่อให้ความเข้มส่องสว่างบนโต๊ะทำงานที่เพียงพอและไม่เกิดเงาหรือแสงสะท้อน รวมทั้งการเลือกชนิดของหลอดไฟที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน
  • พื้นที่ทำวานมีการระบายอากาศ พิจารณาของการไหลเวียนอากาศเข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นควันพิษที่มีอยู่ในอากาศนั้น
  • การจัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ หรือทำ 5ส ในบริษัทอย่างจริงจัง เป็นต้น

สรุป: ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรของเราโดยไม่โยนให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่งเพื่อให้เรานั้นทำงานและกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

การจัดการความปลอดภัยคืออะไร

จัดการความปลอดภัยเพื่อให้มั่นใจว่า การดาเนินงาน กิจกรรมและกระบวนการที่เกิดขึ้นทั้งมวล ของหน่วยงาน องค์การ และผู้ประกอบการ มีการระบุอันตราย ประเมินความเสี่ยง และควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ด้วย มาตรการที่ใช้กาจัดอันตรายหรือบรรเทา/ควบคุมความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการดาเนินงาน โดยแบ่งเป็นด้านต่างๆ ดังนี้

การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยมีอะไรบ้าง

การจัดการความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน.
1.1 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ... .
1.2 การจัดการด้านความปลอดภัย (Safety Management) ... .
1.3 พฤติกรรมความปลอดภัย (Safety Behavior) ... .
1.4 Health Care. ... .
1.5 Work Place Hygiene. ... .
1.6 การตรวจความปลอดภัย (Safety Audit).

ความปลอดภัยมีความสําคัญอย่างไร

1.ลดความสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของพนักงาน 2.การมีผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อพนักงานทุกคนมีความปลอดภัย ย่อมจะทำให้พนักงานมั่นใจในการทำงาน ไม่ต้องหวาดระแวงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น 3.การมีกำไรเพิ่มมากขึ้น เมื่อผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ย่อมทำให้กำไรของโรงงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ทำไมต้องมีการบริหารงานความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ

การบริหารจัดการ ด้านความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ต้องทำ เนื่องจากเป็นเรื่องที่กฏหมายกำหนดการทำตามมาตรฐานทางกฎหมายนั้น ยังไม่เพียงพอต่อการทำงาน เพราะเนื่องจากกฎหมายที่กำหนดจะเป็นการกำหนดขึ้น เพื่อใช้ร่วมกันในทุกโรงงาน แต่ในโรงงานของเรา เราต้องจัดทำมาตรฐานขึ้นมาเอง เพื่อปกป้องพนักงานของเราให้ทำงานได้อย่างปลอดภัย